พบผลลัพธ์ทั้งหมด 109 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3235/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อสันนิษฐานเบื้องต้นเรื่องการทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และการชำระหนี้โดยสุจริต
ที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145(1) บัญญัติว่า คำสั่งเรื่องล้มละลายอาจใช้ยันบุคคลภายนอกได้นั้น ต้องพิจารณาประกอบกับพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 28 ซึ่งบัญญัติให้มีการประกาศโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ในหนังสือราชกิจจานุเบกษา และในหนังสือพิมพ์รายวันอย่างน้อยหนึ่งฉบับ ในมาตรานี้มิได้บัญญัติไว้ด้วยว่า เมื่อได้มีการประกาศโฆษณาดังกล่าวแล้วให้ถือว่าบุคคลภายนอกทุกคนต้องทราบ จึงจะถือว่าบุคคลภายนอกที่ไม่ทราบ ได้ทราบคำสั่งนั้นแล้ว ย่อมไม่เป็นธรรม แต่ตามเจตนารมณ์ของบทบัญญัติมาตรานี้อนุมานได้ว่าประสงค์จะให้การประกาศโฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาเป็นข้อสันนิษฐานเบื้องต้นว่า บุคคลภายนอกทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดที่ได้ประกาศโฆษณานั้นแล้ว ฉะนั้น เมื่อผู้ใดอ้างว่าตนไม่ทราบก็ย่อมนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานนี้ได้
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ส่งประกาศคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจำเลยซึ่งเป็นข้าราชการกรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง ไปให้กระทรวงการคลังทราบ โดยระบุว่ามีอาชีพค้าขายหัวหน้ากองกลางผู้ได้รับประกาศนั้นไม่รู้จักจำเลย จึงได้สั่งให้รวมเก็บ และทางปฏิบัติเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ส่งประกาศเกี่ยวกับลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ไปให้กระทรวงการคลังทุกราย ไม่ว่าลูกหนี้นั้นจะเป็นข้าราชการหรือไม่ ในพฤติการณ์ดังกล่าว กรมสรรพสามิตและกระทรวงการคลังอาจนำสืบแสดงว่าตนไม่ทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดนั้นได้
กรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง ได้จ่ายเงินสะสมพร้อมด้วยดอกเบี้ยให้แก่จำเลยซึ่งลาออกจากราชการไป โดยไม่ทราบว่าจำเลยถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก่อนวันจ่ายเงิน ย่อมต้องถือว่าเป็นการชำระหนี้โดยสุจริต จึงไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ดังกล่าวอีกครั้งหนึ่งให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ (วรรคแรกและวรรคสอง วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 30/2516)
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ส่งประกาศคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจำเลยซึ่งเป็นข้าราชการกรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง ไปให้กระทรวงการคลังทราบ โดยระบุว่ามีอาชีพค้าขายหัวหน้ากองกลางผู้ได้รับประกาศนั้นไม่รู้จักจำเลย จึงได้สั่งให้รวมเก็บ และทางปฏิบัติเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ส่งประกาศเกี่ยวกับลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ไปให้กระทรวงการคลังทุกราย ไม่ว่าลูกหนี้นั้นจะเป็นข้าราชการหรือไม่ ในพฤติการณ์ดังกล่าว กรมสรรพสามิตและกระทรวงการคลังอาจนำสืบแสดงว่าตนไม่ทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดนั้นได้
กรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง ได้จ่ายเงินสะสมพร้อมด้วยดอกเบี้ยให้แก่จำเลยซึ่งลาออกจากราชการไป โดยไม่ทราบว่าจำเลยถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก่อนวันจ่ายเงิน ย่อมต้องถือว่าเป็นการชำระหนี้โดยสุจริต จึงไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ดังกล่าวอีกครั้งหนึ่งให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ (วรรคแรกและวรรคสอง วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 30/2516)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 800/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในที่ดินเมื่อมีชื่อร่วมในโฉนด ไม่ถือเป็นข้อสันนิษฐานเด็ดขาด เจ้าของสามารถนำสืบเพื่อพิสูจน์กรรมสิทธิ์ของตนได้
การที่มีชื่อร่วมกันในโฉนด เป็นแต่เพียงสันนิษฐานว่ามีกรรมสิทธิ์0ในที่ดินเท่ากันเท่านั้น หาเป็นข้อสันนิษฐานเด็ดขาดไม่ เมื่อได้ความว่าที่ดินครึ่งหนึ่งด้านทิศตะวันออกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้มีชื่อเป็นเจ้าของฝ่ายหนึ่ง เจ้าของอีกฝ่ายหนึ่งย่อมนำสืบว่าที่ดินอีกครึ่งหนึ่งทางด้านทิศตะวันตกรวมทั้งที่พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของฝ่ายที่นำสืบนั้นได้ ซึ่งเป็นการนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายเท่านั้น หาเป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในโฉนดอย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 703/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินไม่มีโฉนด ข้อสันนิษฐานตามกฎหมายและการนำสืบพิสูจน์
โจทก์ฟ้องว่า ได้ที่พิพาทมาโดยจำเลยตีราคาชำระหนี้ให้โจทก์ จำเลยให้การต่อสู้ว่าไม่เคยเอาที่พิพาทตีราคาใช้หนี้โจทก์ โจทก์เข้าไปอยู่ในที่พิพาทโดยอาศัยจำเลย ดังนี้เมื่อที่พิพาทเป็นที่ดินที่ยังไม่มีหนังสือสำคัญสำหรับที่ดิน และโจทก์เป็นฝ่ายครอบครองที่พิพาท จึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าโจทก์เข้ายึดถือที่พิพาทเพื่อตน โจทก์ย่อมได้สิทธิครอบครอบ จำเลยจึงมีหน้าที่จะต้องนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าว เมื่อจำเลยไม่สืบต้องถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายได้สิทธิครอบครองในที่พิพาทจำเลยต้องแพ้คดีโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 703/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: ข้อสันนิษฐานตามกฎหมายและการนำสืบหักล้าง
โจทก์ฟ้องว่า ได้ที่พิพาทมาโดยจำเลยตีราคาชำระหนี้ให้โจทก์จำเลยให้การต่อสู้ว่าไม่เคยเอาที่พิพาทตีราคาใช้หนี้โจทก์โจทก์เข้าอยู่ในที่พิพาทโดยอาศัยจำเลยดังนี้ เมื่อที่พิพาทเป็นที่ดินที่ยังไม่มีหนังสือสำคัญสำหรับที่ดิน และโจทก์เป็นฝ่ายครอบครองที่พิพาทจึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าโจทก์เข้ายึดถือที่พิพาทเพื่อตนโจทก์ย่อมได้สิทธิครอบครองจำเลยจึงมีหน้าที่จะต้องนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าว เมื่อจำเลยไม่สืบต้องถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายได้สิทธิครอบครองในที่พิพาทจำเลยต้องแพ้คดีโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 313-314/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตที่ดินติดกัน-คูน้ำ: ข้อสันนิษฐานเจ้าของร่วมและการพิสูจน์สิทธิ
คูพิพาทเป็นเขตระหว่างที่ของโจทก์และจำเลย จึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1344 ว่าเจ้าของที่ดินทั้งสองข้างเป็นเจ้าของรวมกันเมื่อจำเลยอ้างว่าคูซึ่งเป็นเขตระหว่างที่โจทก์และจำเลยเป็นของจำเลยแต่ผู้เดียว จำเลยจึงมีหน้าที่นำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 313-314/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อสันนิษฐานเจ้าของรวมในที่ดินติดกัน และอำนาจการรุกล้ำคูคลอง
คูพิพาทเป็นเขตระหว่างที่ของโจทก์และจำเลย จึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1344 ว่าเจ้าของที่ดินทั้งสองข้างเป็นเจ้าของรวมกันเมื่อจำเลยอ้างว่าคูซึ่งเป็นเขตระหว่างที่โจทก์และจำเลยเป็นของจำเลยแต่ผู้เดียวจำเลยจึงมีหน้าที่นำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 270/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนหุ้นบริษัทที่ไม่ได้ออกใบหุ้น การโอนทำได้โดยไม่ต้องทำเป็นหนังสือ และชื่อในทะเบียนรายชื่อผู้ถือหุ้นเป็นเพียงข้อสันนิษฐาน
บริษัทจำกัดที่ได้จดทะเบียนจัดตั้งไว้แล้วแต่ไม่ได้ออกใบหุ้นเลยนั้นการโอนขายหุ้นให้แก่กันในระหว่างผู้ถือหุ้นจึงหาจำต้องทำเป็นหนังสือไม่
การมีชื่อเป็นผู้ถือหุ้นในสมุดทะเบียนของทางการนั้นเป็นแต่ข้อสันนิษฐานตามกฎหมายซึ่งอาจนำสืบหักล้างได้
การมีชื่อเป็นผู้ถือหุ้นในสมุดทะเบียนของทางการนั้นเป็นแต่ข้อสันนิษฐานตามกฎหมายซึ่งอาจนำสืบหักล้างได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1114-1115/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อสันนิษฐานตามกฎหมายศุลกากร: พยานหลักฐานเชื่อมโยงผู้ครอบครองกับผู้นำเข้า
มาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2497 กฎหมายมิได้ตั้งข้อสันนิษฐานไว้ว่า เมื่อปรากฏว่าผู้ใดมีสิ่งต้องห้าม หรือสิ่งมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นสิ่งต้องกำกัดหรือเป็นสิ่งลักลอบหนีศุลกากรไว้ในครอบครองก็ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้นั้นได้นำสิ่งนั้นเข้ามาโดยมิชอบด้วยกฎหมาย หรือนำเข้ามาโดยการลักลอบหนีศุลกากรหากแต่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า เป็นความจริงตามข้อเท็จจริงที่จดแจ้งไว้ในบันทึกของพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้พบเห็น ข้อนี้เป็นข้อสันนิษฐานข้อแรกส่วนข้อสันนิษฐานว่าผู้ที่มีสิ่งนั้นไว้ในครอบครอง เป็นผู้นำสิ่งนั้นเข้ามาโดยมิชอบด้วยกฎหมายหรือนำเข้ามาเป็นการลักลอบหนีศุลกากรนั้นเป็นเพียงผลที่สืบเนื่องจากข้อสันนิษฐานข้อแรกนั้น เมื่อแปลความหมายดังนี้ จึงเห็นว่าข้อเท็จจริงที่จะจดแจ้งลงในบันทึกนั้น อย่างน้อยจะต้องเป็นข้อเท็จจริงที่ประกอบกันเป็นพยานพฤติเหตุแวดล้อมพอจะแสดงเค้ามูลว่า ผู้มีไว้ในครอบครองนั้นเป็นผู้นำสิ่งนั้นเข้ามาโดยมิชอบด้วยกฎหมาย หรือนำเข้ามาโดยการลักลอบหนีศุลกากร
บันทึกการดูของกลางว่าได้มีการขายของกลางไปจากร้านจึงมีลักษณะเป็นเพียงบันทึกดูของกลางในคดีอื่นๆทั่วไปหาได้มีลักษณะเป็นบันทึกอันจะก่อให้เกิดข้อสันนิษฐานของกฎหมาย ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2497(ฉบับที่ 12) ไม่ ฉะนั้น เรื่องหน้าที่นำสืบ การวินิจฉัยพยานหลักฐานย่อมเป็นไปตามหลักที่ใช้ทั่วไปแก่คดีอาญาทั้งปวง คือ โจทก์ต้องมีหน้าที่นำสืบพิสูจน์ความผิดของจำเลย และจะลงโทษจำเลยก็ต่อเมื่อพยานหลักฐานพอให้ฟังว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้อง
บันทึกการดูของกลางว่าได้มีการขายของกลางไปจากร้านจึงมีลักษณะเป็นเพียงบันทึกดูของกลางในคดีอื่นๆทั่วไปหาได้มีลักษณะเป็นบันทึกอันจะก่อให้เกิดข้อสันนิษฐานของกฎหมาย ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2497(ฉบับที่ 12) ไม่ ฉะนั้น เรื่องหน้าที่นำสืบ การวินิจฉัยพยานหลักฐานย่อมเป็นไปตามหลักที่ใช้ทั่วไปแก่คดีอาญาทั้งปวง คือ โจทก์ต้องมีหน้าที่นำสืบพิสูจน์ความผิดของจำเลย และจะลงโทษจำเลยก็ต่อเมื่อพยานหลักฐานพอให้ฟังว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1614/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อสันนิษฐานทางกฎหมายศุลกากร: พยานหลักฐานต้องแสดงเค้ามูลความผิดผู้ครอบครองสินค้า
พระราชบัญญัติศุลกากร(ฉบับที่ 12) พ.ศ.2497 มาตรา 10 มิได้ตั้งข้อสันนิษฐานไว้ว่าเมื่อปรากฎว่าผู้ใดมีสิ่งซึ่งต้องห้าม หรือสิ่งมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นสิ่งต้องกำกัดหรือเป็นสิ่งลักลอยหนีศุลกากรไว้ในครอบครอง ก็ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้นั้นได้นำสิ่งนั้นเข้ามาโดยมิชอบด้วยกฎหมายหรือนำเข้ามาโดยลักลอบหนีศุลกากร หากแต่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นความจริงตามข้อเท็จจริงที่จดแจ้งไว้ในบันทึกของพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้พบเห็นข้อนี้เป็นข้อสันนิษฐานข้อแรก ส่วนข้อสันนิษฐานว่าผู้มีสิ่งนั้นไว้ในครอบครองเป็นผู้นำสิ่งนั้นเข้ามาโดยมิชอบ ฯ นั้น เป็นเพียงพอที่สืบเนื่องจากข้อสันนิษฐานข้อแรกนั้น
ข้อเท็จจริงที่จดแจ้งไว้ในบันทึกตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติที่กล่าวนั้น อย่างน้อยจะต้องเป็นข้อเท็จจริงที่ประกอบกันเป็นพยานพฤติเหตุแวดล้อมพอจะแสดงเค้ามูลว่าผู้มีไว้ในครอบครองนั้นเป็นผู้นำสิ่งนั้นเข้ามาโดยมิชอบด้วยกฎหมาย หรือนำเข้ามาโดยการลักลอบหนีศุลกากร
บันทึกของเจ้าหน้าที่ตำรวจแจ้งไว้แต่ว่า ตำรวจได้ตรวจค้นบ้านจำเลย ค้นพบสิ่งของบรรจุอยู่ในกระสอบ ได้สอบถามจำเลย จำเลยว่ารับฝากไว้จากชายไม่ทราบชื่อ บรรทุกรถมา 1 คัน ตอนเช้าวันนั้นเอง ตำรวจสงสัยว่าเป็นสินค้าที่หลบหนีศุลกากร จึงยึดสินค้าและคุมตัวจำเลยมาดำเนินคดี เพียงเท่านี้ย่อมไม่มีลักษณะเป็นบันทึกอันจะก่อให้เกิดข้อสันนิษฐานตามมาตรา 10 ที่กล่าวนั้น และเมื่อเป็นดังนี้ การที่โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยร่วมกับผู้อื่นนำสินค้าเหล่านั้นเข้ามาในราชอาณาจักรโจทก์ก็ต้องมีหน้าที่นำสืบพิสูจน์ความผิดของจำเลย และจะลงโทษจำเลยได้ก็ต่อเมื่อพยานหลักฐานของโจทก์เพียงพอให้ฟังว่าจำเลยกระทำผิดตามข้อหา
ถ้าศาลชั้นต้นถือว่าโจทก์ได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายจึงมิได้พิเคราะห์พยานหลักฐานของโจทก์ คงวินิจฉัยแต่ของจำเลยแล้วฟังว่าจำเลยมีความผิดลงโทษจำคุก 4 ปี ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยพยานหลักฐานของทั้งสองฝ่ายแต่ก็เอาข้อสันนิษฐานนั้นมาประกอบด้วย แล้วจึงฟังว่าจำเลยมีความผิดและพิพากษายืน เมื่อศาลฎีกาเห็นว่ากรณีแห่งคดีนี้ไม่มีข้อสันนิษฐานของกฎหมาย และเห็นว่าศาลล่างทั้งสองมิได้วินิจฉัยพยานหลักฐานของโจทก์จำเลยโดยชอบด้วยวิธีพิจารณา ศาลฎีกาก็ไม่จำต้องฟังข้อเท็จจริงตามศาลล่าง แต่พึงวินิจฉัยข้อเท็จจริงใหม่ตามพยานหลักฐานที่โจทก์จำเลยได้นำสืบมาแล้ว
ข้อเท็จจริงที่จดแจ้งไว้ในบันทึกตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติที่กล่าวนั้น อย่างน้อยจะต้องเป็นข้อเท็จจริงที่ประกอบกันเป็นพยานพฤติเหตุแวดล้อมพอจะแสดงเค้ามูลว่าผู้มีไว้ในครอบครองนั้นเป็นผู้นำสิ่งนั้นเข้ามาโดยมิชอบด้วยกฎหมาย หรือนำเข้ามาโดยการลักลอบหนีศุลกากร
บันทึกของเจ้าหน้าที่ตำรวจแจ้งไว้แต่ว่า ตำรวจได้ตรวจค้นบ้านจำเลย ค้นพบสิ่งของบรรจุอยู่ในกระสอบ ได้สอบถามจำเลย จำเลยว่ารับฝากไว้จากชายไม่ทราบชื่อ บรรทุกรถมา 1 คัน ตอนเช้าวันนั้นเอง ตำรวจสงสัยว่าเป็นสินค้าที่หลบหนีศุลกากร จึงยึดสินค้าและคุมตัวจำเลยมาดำเนินคดี เพียงเท่านี้ย่อมไม่มีลักษณะเป็นบันทึกอันจะก่อให้เกิดข้อสันนิษฐานตามมาตรา 10 ที่กล่าวนั้น และเมื่อเป็นดังนี้ การที่โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยร่วมกับผู้อื่นนำสินค้าเหล่านั้นเข้ามาในราชอาณาจักรโจทก์ก็ต้องมีหน้าที่นำสืบพิสูจน์ความผิดของจำเลย และจะลงโทษจำเลยได้ก็ต่อเมื่อพยานหลักฐานของโจทก์เพียงพอให้ฟังว่าจำเลยกระทำผิดตามข้อหา
ถ้าศาลชั้นต้นถือว่าโจทก์ได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายจึงมิได้พิเคราะห์พยานหลักฐานของโจทก์ คงวินิจฉัยแต่ของจำเลยแล้วฟังว่าจำเลยมีความผิดลงโทษจำคุก 4 ปี ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยพยานหลักฐานของทั้งสองฝ่ายแต่ก็เอาข้อสันนิษฐานนั้นมาประกอบด้วย แล้วจึงฟังว่าจำเลยมีความผิดและพิพากษายืน เมื่อศาลฎีกาเห็นว่ากรณีแห่งคดีนี้ไม่มีข้อสันนิษฐานของกฎหมาย และเห็นว่าศาลล่างทั้งสองมิได้วินิจฉัยพยานหลักฐานของโจทก์จำเลยโดยชอบด้วยวิธีพิจารณา ศาลฎีกาก็ไม่จำต้องฟังข้อเท็จจริงตามศาลล่าง แต่พึงวินิจฉัยข้อเท็จจริงใหม่ตามพยานหลักฐานที่โจทก์จำเลยได้นำสืบมาแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1614/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อสันนิษฐานทางกฎหมายในคดีศุลกากร: พยานหลักฐานต้องแสดงเค้ามูลความผิดของผู้ครอบครอง
พระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2497 มาตรา 10มิได้ตั้งข้อสันนิษฐานไว้ว่า เมื่อปรากฏว่าผู้ใดมีสิ่งซึ่งต้องห้าม หรือสิ่งมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นสิ่งกำกัดหรือเป็นสิ่งลักลอบหนีศุลกากรไว้ในครอบครอง ก็ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้นั้นได้นำสิ่งนั้นเข้ามาโดยมิชอบด้วยกฎหมาย หรือนำเข้ามาโดยการลักลอบหนีศุลกากร หากแต่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นความจริงตามข้อเท็จจริงที่จดแจ้งไว้ในบันทึกของพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้พบเห็นข้อนี้เป็นข้อสันนิษฐานข้อแรก ส่วนข้อสันนิษฐานว่าผู้มีสิ่งนั้นไว้ในความครอบครองเป็นผู้นำสิ่งนั้นเข้ามาโดยมิชอบ นั้น เป็นเพียงผลที่สืบเนื่องจากข้อสันนิษฐานข้อแรกนั้น
ข้อเท็จจริงที่จะจดแจ้งไว้ในบันทึกตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติที่กล่าวนั้น อย่างน้อยจะต้องเป็นข้อเท็จจริงที่ประกอบกันเป็นพยาน พฤติเหตุแวดล้อมพอจะแสดงเค้ามูลว่าผู้มีไว้ในครอบครองนั้นเป็นผู้นำสิ่งนั้นเข้ามาโดยมิชอบด้วยกฎหมาย หรือนำเข้ามาโดยการลักลอบหนีศุลกากร
บันทึกของเจ้าหน้าที่ตำรวจจดแจ้งไว้แต่ว่าตำรวจได้ตรวจค้นบ้านจำเลยค้นพบสิ่งของบรรจุอยู่ในกระสอบ ได้สอบถามจำเลยจำเลยว่ารับฝากไว้จากชายไม่ทราบชื่อบรรทุกรถมา 3 คัน ตอนเช้าวันนั้นเอง ตำรวจสงสัยว่าเป็นสินค้าที่หลบหนีศุลกากร จึงยึดสินค้าและคุมตัวจำเลยมาดำเนินคดีเพียงเท่านี้ย่อมไม่มีลักษณะเป็นบันทึกอันจะก่อให้เกิดข้อสันนิษฐานตามมาตรา 10 ที่กล่าวนั้น และเมื่อเป็นดังนี้ การที่โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยร่วมกับผู้อื่นนำสินค้าเหล่านั้นเข้ามาในราชอาณาจักร โจทก์ก็ต้องมีหน้าที่นำสืบพิสูจน์ความผิดของจำเลย และจะลงโทษจำเลยได้ก็ต่อเมื่อพยานหลักฐานของโจทก์เพียงพอให้ฟังว่าจำเลยกระทำผิดตามข้อหา
ถ้าศาลชั้นต้นถือว่าโจทก์ได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมาย จึงมิได้พิเคราะห์พยานหลักฐานของโจทก์ คงวินิจฉัยแต่ของจำเลย แล้วฟังว่าจำเลยมีความผิดลงโทษจำคุก 4 ปี ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยพยานหลักฐานของทั้งสองฝ่าย แต่ก็นำเอาข้อสันนิษฐานนั้นมาประกอบด้วย แล้วจึงฟังว่าจำเลยมีความผิดและพิพากษายืน เมื่อศาลฎีกาเห็นว่ากรณีแห่งคดีนี้ไม่มีข้อสันนิษฐานของกฎหมาย และเห็นว่าศาลล่างทั้งสองมิได้วินิจฉัยพยานหลักฐานของโจทก์จำเลยโดยชอบด้วยวิธีพิจารณา ศาลฎีกาก็ไม่จำต้องฟังข้อเท็จจริงตามศาลล่าง แต่พึงวินิจฉัยข้อเท็จจริงใหม่ตามพยานหลักฐานที่โจทก์จำเลยได้นำสืบมาแล้ว
ข้อเท็จจริงที่จะจดแจ้งไว้ในบันทึกตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติที่กล่าวนั้น อย่างน้อยจะต้องเป็นข้อเท็จจริงที่ประกอบกันเป็นพยาน พฤติเหตุแวดล้อมพอจะแสดงเค้ามูลว่าผู้มีไว้ในครอบครองนั้นเป็นผู้นำสิ่งนั้นเข้ามาโดยมิชอบด้วยกฎหมาย หรือนำเข้ามาโดยการลักลอบหนีศุลกากร
บันทึกของเจ้าหน้าที่ตำรวจจดแจ้งไว้แต่ว่าตำรวจได้ตรวจค้นบ้านจำเลยค้นพบสิ่งของบรรจุอยู่ในกระสอบ ได้สอบถามจำเลยจำเลยว่ารับฝากไว้จากชายไม่ทราบชื่อบรรทุกรถมา 3 คัน ตอนเช้าวันนั้นเอง ตำรวจสงสัยว่าเป็นสินค้าที่หลบหนีศุลกากร จึงยึดสินค้าและคุมตัวจำเลยมาดำเนินคดีเพียงเท่านี้ย่อมไม่มีลักษณะเป็นบันทึกอันจะก่อให้เกิดข้อสันนิษฐานตามมาตรา 10 ที่กล่าวนั้น และเมื่อเป็นดังนี้ การที่โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยร่วมกับผู้อื่นนำสินค้าเหล่านั้นเข้ามาในราชอาณาจักร โจทก์ก็ต้องมีหน้าที่นำสืบพิสูจน์ความผิดของจำเลย และจะลงโทษจำเลยได้ก็ต่อเมื่อพยานหลักฐานของโจทก์เพียงพอให้ฟังว่าจำเลยกระทำผิดตามข้อหา
ถ้าศาลชั้นต้นถือว่าโจทก์ได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมาย จึงมิได้พิเคราะห์พยานหลักฐานของโจทก์ คงวินิจฉัยแต่ของจำเลย แล้วฟังว่าจำเลยมีความผิดลงโทษจำคุก 4 ปี ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยพยานหลักฐานของทั้งสองฝ่าย แต่ก็นำเอาข้อสันนิษฐานนั้นมาประกอบด้วย แล้วจึงฟังว่าจำเลยมีความผิดและพิพากษายืน เมื่อศาลฎีกาเห็นว่ากรณีแห่งคดีนี้ไม่มีข้อสันนิษฐานของกฎหมาย และเห็นว่าศาลล่างทั้งสองมิได้วินิจฉัยพยานหลักฐานของโจทก์จำเลยโดยชอบด้วยวิธีพิจารณา ศาลฎีกาก็ไม่จำต้องฟังข้อเท็จจริงตามศาลล่าง แต่พึงวินิจฉัยข้อเท็จจริงใหม่ตามพยานหลักฐานที่โจทก์จำเลยได้นำสืบมาแล้ว