คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ข้าราชการ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 278 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6988/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผิดสัญญาชดใช้ทุนการศึกษาและการพิจารณาการรับราชการชดใช้ทุนหลังพ้นจากสมาชิกภาพข้าราชการ
มติคณะรัฐมนตรีข้อ1.4ที่ผ่อนผันให้ผู้ผิดสัญญาไม่ต้องชดใช้เงินฐานผิดสัญญาซึ่งระบุว่าผู้ผิดสัญญาตามข้อ1.1พ้นจากการเป็นข้าราชการการเมืองแต่ยังไม่พ้นระยะเวลาที่ผู้นั้นจะต้องรับราชการชดใช้ทุนตามสัญญาแล้วส่วนราชการหรือกรมเข้าท่าสังกัดเดิมรับกลับเข้ารับราชการภายใน6เดือนนับจากวันพ้นจากสมาชิกภาพดังกล่าวนั้นเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาเรื่องผิดสัญญาเกี่ยวกับการศึกษาหรือฝึกอบรมณต่างประเทศและการศึกษาภายในประเทศหลักเกณฑ์นี้ใช้สำหรับผู้ผิดสัญญาการศึกษาวิชาหรือฝึกอบรมณต่างประเทศและการศึกษาภายในประเทศคำว่าส่วนราชการหรือกรมเจ้าสังกัดเดิมรับกลับเข้ารับราชการภายใน6เดือนนับจากวันพ้นจากสมาชิกภาพดังกล่าวตามข้อ1.4จึงหมายถึงส่วนราชการหรือกรมเจ้าสังกัดที่เป็นคู่สัญญาหรือที่ผู้ผิดสัญญารับราชการอยู่เดิมคือมหาวิทยาลัยโจทก์หาใช่หมายถึงส่วนราชการหรือกรมเจ้าสังกัดที่ผู้ผิดสัญญาไปรับราชการในภายหลังไม่เพราะส่วนราชการหรือกรมเจ้าสังกัดที่ผู้ผิดสัญญาไปรับราชการภายหลังมิใช่ส่วนราชการหรือกรมเจ้าสังกัดที่ผู้ผิดสัญญาต้องรับราชการชดใช้ทุนตามสัญญาเมื่อจำเลยที่1มิได้กลับเข้ารับราชการที่มหาวิทยาลัยโจทก์ภายใน6เดือนนับจากวันพ้นสมาชิกภาพการเป็นข้าราชการการเมืองครั้งที่สองจำเลยที่1จึงไม่ได้รับการผ่อนผันให้ชดใช้เงินฐานผิดสัญญาตามมติคณะรัฐมนตรีข้อ1.4การที่จำเลยที่1ได้รับแต่งตั้งให้เป็นข้าราชการการเมืองครั้งที่สามตั้งแต่วันที่11กุมภาพันธ์2530จึงมิใช่กรณีที่ส่วนราชการหรือกรมเจ้าสังกัดเดิมรับกลับเข้ารับราชการภายใน6เดือนนับจากวันพ้นจากสมาชิกภาพดังกล่าว ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่าถ้าคำว่าส่วนราชการหรือกรมเจ้าสังกัดเดิมคือมหาวิทยาลัยโจทก์แล้วการที่จำเลยที่1ได้รับแต่งตั้งให้เป็นข้าราชการเมืองครั้งที่สองเมื่อวันที่6มิถุนายน2526ก็จะขัดกับมติคณะรัฐมนตรีข้อ1.4นั้นช่วงเวลาระหว่างวันที่6มิถุนายน2526ถึงวันที่13สิงหาคม2529นั้นโจทก์ให้นับเป็นเวลารับราชการชดใช้ทุนตามมติคณะรัฐมนตรีข้อ1วรรคท้ายแล้วอีกทั้งศาลล่างทั้งสองก็มิได้พิพากษาว่าช่วงระหว่างวันดังกล่าวไม่ให้นับเป็นเวลารับราชการชดใช้ทุนกรณีจึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่าการที่จำเลยที่1ได้รับแต่งตั้งให้เป็นข้าราชการการเมืองครั้งที่สองเมื่อวันที่6มิถุนายน2526จะขัดกับมติคณะรัฐมนตรีข้อ1.4หรือไม่ คดีนี้มีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาตามฟ้องแย้งไม่เกินสองแสนบาทต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่งศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าจำเลยที่1ผิดสัญญาต้องรับผิดชดใช้ทุนและค่าใช้จ่ายต่างๆรวมทั้งค่าปรับตามสัญญาโจทก์มีสิทธิหักบำเหน็จของจำเลยที่1และไม่มีบำเหน็จของจำเลยที่1เหลืออยู่อีกจำเลยที่1จึงไม่มีอำนาจฟ้องแย้งจำเลยที่1ฎีกาโต้แย้งว่าจำเลยที่1ไม่ได้ผิดสัญญาขอให้บังคับโจทก์ชดใช้เงินตามฟ้องแย้งจึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้นศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 583/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ-หน้าที่ธนาคารจ่ายเช็ค-ความรับผิดข้าราชการ-ประมาทเลินเล่อ
โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่8จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลคงได้ความแต่เพียงว่าจำเลยที่8เป็นที่ทำการสาขาของจำเลยที่7จำเลยที่8จึงมิได้เป็นนิติบุคคลอันอาจถูกฟ้องให้รับผิดได้ จำเลยที่7เป็นธนาคารมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินตามเช็คที่ผู้เคยค้ากับธนาคารได้ออกเบิกเงินแก่ตนเช็คพิพาทที่จำเลยที่1นำไปขอเบิกเงินไม่เข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา991ที่จำเลยที่7จะไม่จ่ายเงินให้และไม่ใช่กรณีที่หน้าที่และอำนาจของจำเลยที่7ที่จะจ่ายเงินตามเช็คสิ้นสุดลงตามมาตรา992จึงไม่มีเหตุตามกฎหมายที่จำเลยที่7จะปฎิเสธไม่ใช้เงินตามเช็คที่จำเลยที่1นำไปขอเบิกเงินเช็คเป็นตราสารที่ออกใช้แทนเงินสดเพื่อความสะดวกรวดเร็วปลอดภัยและคล่องตัวในการประกอบธุรกิจดังนั้นเมื่อจำเลยที่7ซึ่งเป็นธนาคารผู้จ่ายเงินตามเช็คได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความระมัดระวังตามควรแก่หน้าที่ที่ผู้ปฎิบัติธุรกิจเช่นที่จะพึงปฎิบัติก็นับว่าเป็นการเพียงพอแล้วจำเลยที่9ถึงที่11ลูกจ้างของจำเลยที่7ได้ปฏิบัติหน้าที่ในการจ่ายเงินตามเช็คพิพาทให้จำเลยที่1ด้วยความระมัดระวังตามควรแก่หน้าที่แล้วจะถือว่าจำเลยที่7จ่ายเงินตามเช็คด้วยความประมาทเลินเล่อไม่ได้ พนักงานอัยการจังหวัดร้อยเอ็ดฟ้องจำเลยที่1เป็นคดีอาญาในข้อหา เจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์ซึ่งเป็นเงินตามเช็คพิพาทในคดีนี้ขอให้ลงโทษและให้จำเลยที่1คืนหรือใช้เงินที่ยักยอกไปยังไม่ได้คืนเป็นการฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาเมื่อคดีอาญาถึงที่สุดโดยศาลพิพากษาลงโทษจำเลยที่1กับให้คืนหรือใช้เงินที่ยักยอกไปส่วนที่ยังไม่ได้คืนคำพิพากษาดังกล่าวผูกพันโจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นเจ้าของเงินเป็นผู้เสียหายในคดีอาญาเพราะถือว่าพนักงานอัยการจังหวัดร้อยเอ็ดฟ้องคดีแทนโจทก์ทั้งสามจึงต้องห้ามมิให้โจทก์ทั้งสามนำคดีมารื้อร้องฟ้องจำเลยที่1อีกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา148ปัญหาเรื่องฟ้องซ้ำเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาเห็นควรยกขึ้นวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4911/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งข้าราชการภายใน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ: อำนาจรองอธิการบดีและขอบเขตการสั่งการ
การแต่งตั้งจำเลยที่ 2 ของจำเลยที่ 4 เป็นการแต่งตั้งโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 18 และ 21 แห่ง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒพ.ศ.2517 ซึ่งเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับประโยชน์ในการบังคับบัญชาของรองอธิการบดีที่ให้ถือว่าเป็นอธิการบดี การสั่งแต่งตั้งดังกล่าวจึงเป็นกรณีระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชาสั่งการให้ปฏิบัติราชการในกองธุรการวิทยาเขตสงขลา มิใช่สั่งการให้เข้าดำรงตำแหน่งหัวหน้ากองธุรการวิทยาเขตโดยให้รับอัตราเงินเดือนในตำแหน่งดังกล่าว การที่จำเลยที่ 4 มีคำสั่งแต่งตั้งให้จำเลยที่ 2 เป็นหัวหน้ากองธุรการวิทยาเขตสงขลาอีกตำแหน่งหนึ่ง จึงเป็นการชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3062/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้าราชการผู้มีหน้าที่ดูแลการขายทอดตลาดเข้าสู้ราคาเองถือว่ามีคุณสมบัติถูกห้ามตามกฎหมาย
จำเลยที่ 1 เป็นข้าราชการดำรงตำแหน่งสรรพากรจังหวัด ซึ่งอยู่ในสังกัดกรมสรรพากร จำเลยที่ 2 มีหน้าที่โดยตรงในการดำเนินการนำที่ดินที่ยึดของผู้ค้างชำระค่าภาษีอากรขายทอดตลาด และจำเลยที่ 1 เป็นผู้เสนอจำเลยที่ 3ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งคณะกรรมการจัดการขายทอดตลาดที่ดินของโจทก์ ซึ่งเป็นหนี้ภาษีอากรค้างชำระ และจำเลยที่ 3 ก็แต่งตั้งบุคคลตามที่จำเลยที่ 1 เสนอ การกระทำของจำเลยที่ 1 ถือว่าได้ทำในนามของจำเลยที่ 2ทั้งสิ้น แม้จำเลยที่ 1 มิใช่เป็นกรรมการจัดการขายทอดตลาดด้วยก็ตาม ก็ต้องถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ทอดตลาดตามความหมายแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 511 จำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้มีคุณสมบัติต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าวที่จะเข้าสู้ราคาซื้อที่ดินโจทก์ในการขายทอดตลาดซึ่งตนเป็นผู้อำนวยการเองตามประกาศของจำเลยที่ 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3062/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขรก.ผู้มีหน้าที่จัดการขายทอดตลาด เข้าสู้ราคาเอง เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 511
แม้จำเลยที่1ซึ่งสังกัดจำเลยที่2มิใช่กรรมการจัดการขายทอดตลาดที่ดินของโจทก์ที่จำเลยที่2ยึดมาเพื่อขายทอดตลาดเอาเงินชำระภาษีเงินได้ที่โจทก์ค้างชำระจำเลยที่1ก็ มีหน้าที่โดยตรงในการดำเนินการ ขายทอดตลาด เมื่อได้เสนอจำเลยที่3แต่งตั้งคณะกรรมการจัดการขายทอดตลาดโดยล้วนแต่เป็น ข้าราชการในบังคับบัญชาของจำเลยที่1ถือว่าจำเลยที่1ได้ทำในนามของจำเลยที่2ต้องถือว่าจำเลยที่1เป็น ผู้ทอดตลาดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา511จึงต้องห้าม เข้าสู้ราคาซื้อที่ดินดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2623/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการ กรณีสำนักงานย้ายที่ทำการ
ข้าราชการซึ่งต้องย้ายตามไปทำงานในท้องที่อื่น เพราะสำนักงานเดิมย้ายที่ทำการมีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านตาม พ.ร.ฎ. ค่าเช่าบ้านข้าราชการพ.ศ.2527

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2623/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการ กรณีหน่วยงานย้ายที่ทำการ แม้ไม่มีคำสั่งย้าย
ข้าราชการซึ่งต้องย้ายตามไปทำงานในท้องที่อื่น เพราะสำนักงานเดิมย้ายที่ทำการมีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านตามพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. 2527

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2623/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการ: การย้ายที่ทำการของมหาวิทยาลัยและการตีความ 'ต่างท้องที่'
พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการพ.ศ.2527มาตรา7ประกอบเหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาแสดงว่าทางราชการประสงค์จะช่วยเหลือข้าราชการที่ต้องเสียค่าเช่าบ้านเมื่อต้องไปทำงานในท้องที่อื่นซึ่งมิใช่ท้องที่ที่เริ่มรับราชการครั้งแรก จำเลยเป็นข้าราชการในสังกัดของโจทก์รับราชการครั้งแรกที่กรุงเทพมหานครต่อมาโจทก์ย้ายที่ทำการใหม่ไปอยู่ต่างจังหวัดก็ต้องถือว่าจำเลยได้ไปรับราชการตามที่ทำการในต่างท้องที่จากที่รับราชการณที่เดิมแม้จะไม่มีคำสั่งให้จำเลยเดินทางไปประจำในที่ทำการต่างท้องที่ก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2623/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการเมื่อหน่วยงานย้ายที่ทำการ แม้ไม่มีคำสั่งย้าย
จำเลยรับราชการครั้งแรกในกรุงเทพมหานครแล้วโอนมารับราชการที่มหาวิทยาลัยโจทก์ซึ่งขณะนั้นอยู่ในกรุงเทพมหานครแต่ต่อมาโจทก์ได้ย้ายที่ทำการใหม่ไปอยู่ที่จังหวัดนนทบุรีต้องถือว่าจำเลยได้ไปรับราชการตามที่ทำการในต่างท้องที่จากที่รับราชการณที่เดิมแม้จะไม่มีคำสั่งให้จำเลยเดินทางไปประจำในที่ทำการการต่างท้องที่แต่เป็นเพราะเหตุโจทก์ย้ายที่ทำการใหม่ก็ตามก็ไม่มีผลแตกต่างกันเพราะที่ทำการใหม่ของโจทก์ที่ไม่ใช่ท้องที่ที่จำเลยเข้ารับราชการครั้งแรกจำเลยจึงมีสิทธิได้รับเงินค่าเช่าบ้านตามพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการพ.ศ.2527

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2398/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คุณสมบัติกรรมการอ้อยและน้ำตาล: ข้าราชการ-ผู้แทนฯ การมอบอำนาจประชุม และการตั้งคณะกรรมการ
พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาล พ.ศ. 2427 มาตรา 11 กำหนดให้ผู้แทนชาวไร่อ้อยและผู้แทนโรงงานเท่านั้นที่จะต้องไม่เป็นข้าราชการการเมืองหรือดำรงตำแหน่งในทางการเมือง ส่วนข้าราชการในกระทรวงอุตสาหกรรมที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมแต่งตั้งตามมาตรา 9 ไม่มีข้อห้ามเหมือนกับมาตรา 11 ฉะนั้น แม้ข้าราชการดังกล่าวจะเป็นวุฒิสมาชิกก็ไม่ขาดคุณสมบัติ ไม่ขัดต่อกฎหมาย
กรรมการในคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลบางส่วนเป็นกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งโดยตำแหน่งหน้าที่ราชการ เมื่อการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการดังกล่าวไม่มีกฎหมายกำหนดให้ต้องมาประชุมด้วยตนเองและไม่มีกฎหมายห้ามมิให้แต่งตั้งผู้อื่นปฏิบัติหน้าที่แทน กรรมการดังกล่าวย่อมจะมอบหมายให้ข้าราชการในกระทรวงที่ตนสังกัดอยู่ไปปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยเข้าประชุมแทนในฐานะผู้แทนกระทรวงอุตสาหกรรม และผู้แทนกระทรวงพาณิชย์ได้ การประชุมที่มีผู้มาประชุมแทนดังกล่าวจึงชอบด้วย พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาล พ.ศ.2527 มาตรา 15
คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายมีอำนาจตั้งคณะกรรมการบริหารได้ตามมาตรา 20 และมีอำนาจตั้งคณะกรรมการน้ำตาลทรายได้ตามมาตรา41 ส่วนการแต่งตั้งคณะที่ปรึกษากฎหมายก็เพื่อให้คณะที่ปรึกษากฎหมายให้ความเห็นประกอบการพิจารณาเท่านั้น การตั้งคณะที่ปรึกษากฎหมายจึงไม่ขัดกฎหมายใด
of 28