พบผลลัพธ์ทั้งหมด 291 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 534/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์คดีขับไล่และการเรียกร้องค่าเสียหายที่รวมอยู่ในคำฟ้องเดียวกัน
ในคดีฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์และให้จำเลยใช้ค่าเสียหายจำนวน135,433บาทพร้อมดอกเบี้ยและค่าเสียหายอีกเดือนละ50,000บาทนับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยจะขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากอสังหาริมทรัพย์เมื่อโจทก์มิได้เรียกร้องค่าเสียหายนี้อย่างเอกเทศในข้อหาอื่นคงเรียกมาเป็นส่วนหนึ่งของการฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์เท่านั้นเมื่อได้ความว่าขณะยื่นฟ้องโจทก์ให้เช่าที่ดินพิพาทไม่เกินเดือนละ2,000บาทจึงเป็นคดีต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4807/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องอาญาเบิกความเท็จต้องระบุความสำคัญของคำเบิกความในคดี
ตามคำฟ้องโจทก์บรรยายว่า จำเลยเบิกความอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีอาญาทั้งสามคดีว่าโจทก์เป็นผู้ทำคำแถลงถอนการยึดทรัพย์ อันเป็นการปกปิดข้อความจริง ทั้งที่จำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อในคำแถลงขอถอนการยึดทรัพย์ยื่นต่อเจ้าหน้าที่ศาลและเสียค่าธรรมเนียมยึดทรัพย์เอง คำฟ้องโจทก์พอเข้าใจได้ว่าข้อความที่จำเลยเบิกความเป็นเท็จอย่างไร ความจริงเป็นอย่างไร แต่คำฟ้องโจทก์มิได้บรรยายว่าคำเบิกความของจำเลยในคดีก่อนเป็นข้อสำคัญในคดีอย่างไร ฉะนั้นฟ้องโจทก์จึงมิได้บรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดเท่าที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี จึงเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 158 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4754/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาข้อห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงแยกตามฟ้องโจทก์และฟ้องแย้ง
การพิจารณาว่าคดีตามคำฟ้องของโจทก์และฟ้องแย้งของจำเลยจะต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงหรือไม่ ต้องแยกพิจารณาต่างหากเป็นคนละส่วนกัน
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์มีค่าเช่าในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท คดีตามฟ้องโจทก์จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อ-เท็จจริง ส่วนคดีตามฟ้องแย้งจำเลยเป็นคดีที่จำเลยขอให้บังคับโจทก์ดำเนินการทำสัญญาเช่ากับเทศบาลเมืองเพื่อให้โจทก์ทำสัญญาเช่ากับจำเลยจึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ซึ่งต้องด้วยข้อยกเว้นที่ให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง ตอนต้น
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์มีค่าเช่าในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท คดีตามฟ้องโจทก์จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อ-เท็จจริง ส่วนคดีตามฟ้องแย้งจำเลยเป็นคดีที่จำเลยขอให้บังคับโจทก์ดำเนินการทำสัญญาเช่ากับเทศบาลเมืองเพื่อให้โจทก์ทำสัญญาเช่ากับจำเลยจึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ซึ่งต้องด้วยข้อยกเว้นที่ให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง ตอนต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 405/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความไม่ใช่สภาพแห่งข้อหา โจทก์ไม่จำเป็นต้องกล่าวในฟ้องว่าคดีไม่ขาดอายุความ
อายุความไม่ใช่สภาพแห่งข้อหาตามป.วิ.พมาตรา172วรรคสองโจทก์จึงไม่จำเป็นต้องกล่าวในฟ้องว่าคดีโจทก์ไม่ขาดอายุความเพราะเหตุใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3834/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาที่ ศก.1/2531 และ ศก.7/2531 - ประเด็นการพิจารณาคดีและการวินิจฉัยของศาล
ศก.1/2531 และ ศก.7/2531
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3526/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดีและการขอพิจารณาใหม่: จำเลยจงใจขาดนัดพิจารณาจึงไม่มีสิทธิขอให้พิจารณาคดีใหม่
การที่ศาลจะอนุญาตให้พิจารณาใหม่ได้ต้องเป็นกรณีที่ คู่ความขาดนัดพิจารณาและมีเหตุผลสมควรเชื่อว่าคู่ความ ฝ่ายที่ขาดนั้นมิได้จงใจขาดนัดพิจารณา เมื่อศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติว่าจำเลยจงใจขาดนัดพิจารณา แม้จะฟัง ข้อเท็จจริงด้วยว่าจำเลยมิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การจำเลยก็ไม่มีสิทธิที่จะร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2995/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: ประเด็นข้อพิพาทใหม่ที่ไม่เคยมีคำวินิจฉัยชี้ขาด
โจทก์และจำเลยในคดีนี้เป็นคู่ความเดียวกันกับโจทก์และจำเลยในคดีก่อน คดีก่อนศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทและวินิจฉัยเพียงประเด็นเดียวว่าโจทก์ได้ใช้สิทธิไถ่ถอนการขายฝากภายในระยะเวลาหรือไม่ ส่วนคดีนี้ ประเด็นในคดีมีว่า บันทึกข้อตกลงที่ว่าถ้าโจทก์ชำระหนี้ให้แก่จำเลยครบตามจำนวนหนี้ จำเลยยินยอมโอนที่ดินพิพาทคืนแก่โจทก์ ถือว่าเป็นคำมั่นจะขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์หรือไม่อันไม่ใช่ประเด็นเดียวกันกับประเด็นในคดีก่อน แม้ศาลชั้นต้นจะกล่าวอ้างถึงบันทึกดังกล่าวด้วย แต่ไม่ได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ และแม้โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาว่าบันทึกดังกล่าวจะถือว่าเป็นคำมั่นจะขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์หรือไม่ด้วยก็ตาม แต่ศาลอุทธรณ์เห็นว่าปัญหาดังกล่าวมิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทมาแต่ศาลชั้นต้น จึงไม่รับวินิจฉัยให้ ดังนั้นประเด็นในคดีนี้จึงเป็นประเด็นที่ยังไม่มีคำวินิจฉัยชี้ขาดของศาล คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าคดีนี้ไม่เป็นฟ้องซ้ำ แต่พิพากษากลับนั้นไม่ถูกต้อง ต้องพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (2)
การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าคดีนี้ไม่เป็นฟ้องซ้ำ แต่พิพากษากลับนั้นไม่ถูกต้อง ต้องพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2751/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์: ระยะเวลาการครอบครองระหว่างคดีไม่นับรวมกับระยะเวลาก่อนยื่นคำร้อง
จำเลยที่2ครอบครองที่พิพาทในระหว่างคดีจะอ้างว่าเป็นการครอบครองปรปักษ์ต่อคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งหาได้ไม่จึงไม่อาจนับระยะเวลาดังกล่าวรวมเข้ากับระยะเวลาที่ได้ครอบครองมาก่อนวันยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ได้และเมื่อหลังจากที่คดีดังกล่าวถึงที่สุดแล้วจำเลยที่2ก็เพิ่งครอบครองที่พิพาทมาเพียง7ปีเศษจึงยังไม่ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2538/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในคดีที่มีราคาทรัพย์สินพิพาทเกินสองแสนบาท และประเด็นสิทธิครอบครอง
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยมีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท แม้จะมีคำขอตามฟ้องแย้งขอให้โจทก์คืนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ก็ตาม แต่ประเด็นข้อพิพาทที่แท้จริงของคดีก็คือ โจทก์หรือจำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่พิพาท ส่วนคำขอที่ขอให้ส่งมอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์ก็เป็นผลต่อเนื่องมาจากประเด็นว่าสิทธิครอบครองเป็นของโจทก์หรือจำเลย จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคา-เงินได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง เมื่อคดีนี้เป็นคดีมีราคาทรัพย์สินที่พิพาทกันในชั้นฎีกาสองแสนบาท จำเลยฎีกาโต้เถียงดุลพินิจให้การรับฟังพยานหลักฐานเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง และไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะฎีกาได้ จึงต้องห้ามมิให้ฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 243/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเมื่อมีการโอนทรัพย์สินที่พิพาทระหว่างดำเนินคดี
โจทก์ฟ้องในฐานะผู้จัดการมรดกของ พ. แม้โจทก์จะโอนขายที่ดินพิพาทแก่ ศ.ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น แต่ในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องที่ดินพิพาทยังเป็นมรดกของ พ. อีกทั้งโจทก์ยังมีสิทธิเรียกค่าเสียหายได้ ดังนั้นโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
เมื่อโจทก์ได้โอนที่ดินพิพาทให้แก่ ศ.ไปแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าเสียหายจากจำเลยจนถึงวันที่ได้โอนที่ดินพิพาทไปเท่านั้น
เมื่อโจทก์ได้โอนที่ดินพิพาทให้แก่ ศ.ไปแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าเสียหายจากจำเลยจนถึงวันที่ได้โอนที่ดินพิพาทไปเท่านั้น