พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3,111 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6234/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์คณะผู้พิพากษาคดีอาญา – ศาลชั้นต้นต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อย 2 คน
คำพิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงมีผู้พิพากษานายเดียวลงนามให้จำคุกจำเลย 1 ปี ในความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสไม่ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 (5) ซึ่งจะต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อย 2 คน เป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 26 กรณีจึงเป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายศาลอุทธรณ์ภาค 7 ยังไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี ศาลฎีกาให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้องเสียก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6168/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขฟ้องคดีอาญา, อายุความความผิดฐานพาอาวุธ, และการลดโทษจากประโยชน์ต่อการพิจารณา
โจทก์และโจทก์ร่วมฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาและฐานพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้านและทางสาธารณะ ชั้นสอบสวนพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาแก่จำเลยว่าร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา ชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้นเมื่อสืบพยานโจทก์และโจทก์ร่วมไปได้ 2 ปาก โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องเป็นว่าจำเลยกับพวกกระทำความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน เป็นการบรรยายข้อเท็จจริงอันเป็นส่วนสำคัญเพิ่มเติมว่าจำเลยกับพวกร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนซึ่งมิได้ปรากฏในฟ้องเดิม หาได้เป็นการแก้หรือเพิ่มเติมฐานความผิดที่ต้องแถลงหรือมิได้กล่าวในฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 164 ไม่ เมื่อเป็นดังนี้ ข้อเท็จจริงตามคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องจึงเพิ่งปรากฏในชั้นพิจารณาของศาล หาได้ปรากฏตั้งแต่ในชั้นสอบสวนไม่ ถือว่าพนักงานสอบสวนยังมิได้มีการสอบสวนในความฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน โจทก์ฟ้องคดีในความผิดที่ยังไม่มีการสอบสวนไม่ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120 โจทก์จึงยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องในข้อนี้ไม่ได้
ความผิดฐานพาอาวุธปืนไปในเมืองฯ ตาม ป.อ. มาตรา 371 มีระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาทจึงมีอายุความ 1 ปี นับแต่วันกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 95 (5) ปรากฏว่าโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2543 เมื่อนับแต่วันที่ 17 กันยายน 2535 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยกระทำความผิดแล้วเป็นเวลาเกิน 1 ปี ความผิดฐานนี้จึงขาดอายุความ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้จะไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลล่างทั้งสอง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วย มาตรา 225
ความผิดฐานพาอาวุธปืนไปในเมืองฯ ตาม ป.อ. มาตรา 371 มีระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาทจึงมีอายุความ 1 ปี นับแต่วันกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 95 (5) ปรากฏว่าโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2543 เมื่อนับแต่วันที่ 17 กันยายน 2535 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยกระทำความผิดแล้วเป็นเวลาเกิน 1 ปี ความผิดฐานนี้จึงขาดอายุความ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้จะไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลล่างทั้งสอง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วย มาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5721/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสั่งฟ้องของอัยการสูงสุดในคดีอาญาที่อัยการจังหวัดเคยมีคำสั่งไม่ฟ้อง
พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองภูเก็ตได้ทำสำนวนพร้อมความเห็นสั่งฟ้องจำเลยในความผิดตาม พ.ร.บ. กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนฯ และฐานร่วมกันยักยอกให้อัยการจังหวัดภูเก็ตพิจารณา อัยการจังหวัดภูเก็ตมีความเห็นสั่งฟ้องจำเลยตามความเห็นของพนักงานสอบสวนและสั่งฟ้องในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 267, 268 ด้วย โดยให้พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาดังกล่าวเพิ่มเติมให้จำเลยทราบก่อนฟ้อง แต่อัยการพิเศษประจำเขต 8 มีความเห็นสั่งไม่ฟ้องจำเลยทุกข้อหา ส่วนความผิดตาม ป.อ. มาตรา 267, 268 ผู้เสียหายมิได้แจ้งความให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่จำเลยจึงไม่ต้องดำเนินการในข้อหานี้แก่จำเลย ซึ่งอัยการจังหวัดภูเก็ตได้ดำเนินการตามความเห็นของอัยการพิเศษประจำเขต 8 โดยมีคำสั่งไม่ฟ้องจำเลยทุกข้อหา และยุติการดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 2 ในความผิดฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการ และใช้เอกสารราชการตาม ป.อ. มาตรา 267, 268 เมื่ออัยการจังหวัดภูเก็ตทำสำนวนพร้อมความเห็นเสนอผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตพิจารณา ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตมีความเห็นแย้งให้ฟ้องจำเลยเฉพาะในความผิดตาม พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนและความผิดฐานยักยอก ดังนี้ เห็นได้ว่า ในความผิดฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการและใช้เอกสารราชการนั้น ในชั้นต้นพนักงานสอบสวนยังไม่ได้แจ้งข้อหาให้จำเลยทราบ และมิได้ดำเนินคดีในข้อหานี้มาแต่แรก เมื่ออัยการจังหวัดภูเก็ตมีคำสั่งให้ยุติการดำเนินการแก่จำเลยในข้อหานี้ ย่อมถือได้ว่าอัยการจังหวัดภูเก็ตยังไม่มีคำสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องจำเลยในข้อหาดังกล่าว การที่ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตไม่มีความเห็นเกี่ยวกับข้อหานี้ จึงไม่ถือว่าผู้ว่าราชการจังหวัดมีความเห็นชอบกับคำสั่งไม่ฟ้องจำเลย อันจะทำให้คำสั่งไม่ฟ้องจำเลยในความผิดฐานดังกล่าวเป็นที่สุด เมื่อสำนวนการสอบสวนเสนอไปยังอัยการสูงสุดพิจารณาเนื่องจากผู้ว่าราชการจังหวัดมีความเห็นแย้งให้ฟ้องจำเลยในความผิดทั้งสองฐานดังกล่าว ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 145 วรรคสอง การที่อัยการสูงสุดมีคำสั่งให้ฟ้องจำเลยในความผิดฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จในเอกสารราชการและใช้เอกสารดังกล่าวด้วยนั้น เป็นการใช้อำนาจตาม พ.ร.บ. พนักงานอัยการ พ.ศ. 2498 มาตรา 12 ที่ให้อัยการสูงสุดดำเนินคดีได้ทุกศาล ไม่ใช่เป็นการสั่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 145 วรรคสอง คำสั่งให้ฟ้องจำเลยของอัยการสูงสุดย่อมชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5331/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีอาญาผู้กระทำผิดอายุไม่เกิน 18 ปี และการแก้ไขคำพิพากษาเดิมเมื่อจำเลยพ้นสภาพผู้เยาว์ รวมถึงการริบของกลาง
ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้ส่งตัวจำเลยไปยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จนกว่าจำเลยจะมีอายุครบ 18 ปีบริบูรณ์ แต่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาจำเลยมีอายุครบ 18 ปีแล้ว จึงไม่อาจส่งตัวจำเลยไปฝึกและอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ตาม ป.อ. มาตรา 75 ประกอบมาตรา 74 (5) ได้ จึงเห็นควรมอบตัวจำเลยให้บิดามารดาจำเลยโดยวางข้อกำหนดให้บิดามารดาจำเลยปฏิบัติตามและกำหนดวิธีการดำเนินการและเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติของจำเลย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 80, 288, 371 และขอให้ริบปลอกมีดของกลาง แต่ศาลล่างทั้งสองมิได้วินิจฉัยว่าจะริบของกลางนั้นหรือไม่ คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 186 (9) แม้คู่ความมิได้ฎีกาในปัญหานี้ แต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และการริบทรัพย์สินของกลางไม่เป็นการเพิ่มโทษจำเลย จึงไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225 เมื่อปลอกมีดของกลางเป็นส่วนประกอบของมีดที่จำเลยใช้กระทำความผิด จึงให้ริบ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 80, 288, 371 และขอให้ริบปลอกมีดของกลาง แต่ศาลล่างทั้งสองมิได้วินิจฉัยว่าจะริบของกลางนั้นหรือไม่ คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 186 (9) แม้คู่ความมิได้ฎีกาในปัญหานี้ แต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และการริบทรัพย์สินของกลางไม่เป็นการเพิ่มโทษจำเลย จึงไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225 เมื่อปลอกมีดของกลางเป็นส่วนประกอบของมีดที่จำเลยใช้กระทำความผิด จึงให้ริบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 532/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ไม่ทำให้คดีเสร็จสำนวน และความสมบูรณ์ของคำฟ้องอาญาที่อ้างถึงคำสั่งทางปกครอง
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานโจทก์และพยานจำเลย เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่ทำให้คดีเสร็จสำนวนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 196 ซึ่งมิได้บัญญัติให้คู่ความต้องโต้แย้งคำสั่งไว้ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นได้โดยไม่ต้องโต้แย้งคำสั่งนั้น
โจทก์บรรยายฟ้องว่า นายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีเพื่อมีคำสั่งให้ระงับการเลี้ยงกุ้งกุลาดำระบบความเค็มต่ำ และผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้มีคำส่งระงับการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำเพื่อรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาโดยเด็ดขาด โดยโจทก์ได้แนบคำสั่งของนายกรัฐมนตรีตามคำสั่งดังกล่าวของผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้เท้าความอ้างเหตุว่า มีการดำเนินการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำระบบความเค็มต่ำในเขตพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดมลภาวะและความเสียหายต่อทรัพย์สินของประชาชนและประเทศชาติโดยรวม ในตอนท้ายคำสั่งมีข้อความว่า จึงมีคำสั่งให้ระงับการเลี้ยงกุ้งกุลาดำในเขตพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาโดยเด็ดขาด จากคำสั่งดังกล่าวมีความหมายอยู่ในตัวว่าให้ระงับการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำระบบความเค็มต่ำ แม้ตอนท้ายของคำสั่งจะมิได้ระบุคำว่าระบบความเค็มต่ำตอนท้ายคำว่ากุ้งกุลาดำเอาไว้ แต่ตอนต้นของคำสั่งได้เท้าความอ้างเหตุความเสียหายของการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำเอาไว้ คำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยาดังกล่าวจึงเป็นคำสั่งที่ออกตามที่ได้รับมอบอำนาจจากนายกรัฐมนตรีโดยถูกต้องและเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น ที่โจทก์บรรยายฟ้องต่อมาว่า จำเลยเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำ 9 บ่อ แต่ละบ่อมีเนื้อที่ประมาณ 4 ไร่ ในเขตหมู่ที่ 1 ตำบลหนองน้ำใหญ่ อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อันเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยาย่อมมีความหมายว่า จำเลยเลี้ยงกุ้งกุลาดำระบบความเค็มต่ำซึ่งเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยานั้นเอง คำฟ้องของโจทก์ได้ระบุการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้น ทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้วหาเคลือบคลุมไม่
คำสั่งของนายกรัฐมนตรี และคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยาที่แนบท้ายฟ้อง เป็นข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งที่โจทก์จะต้องนำสืบถึงความมีอยู่จริงของเอกสารและความถูกต้องแท้จริงของเอกสาร หาใช่ข้อกฎหมายที่โจทก์อ้างมาท้ายฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (6) ไม่
โจทก์บรรยายฟ้องว่า นายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีเพื่อมีคำสั่งให้ระงับการเลี้ยงกุ้งกุลาดำระบบความเค็มต่ำ และผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้มีคำส่งระงับการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำเพื่อรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาโดยเด็ดขาด โดยโจทก์ได้แนบคำสั่งของนายกรัฐมนตรีตามคำสั่งดังกล่าวของผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้เท้าความอ้างเหตุว่า มีการดำเนินการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำระบบความเค็มต่ำในเขตพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดมลภาวะและความเสียหายต่อทรัพย์สินของประชาชนและประเทศชาติโดยรวม ในตอนท้ายคำสั่งมีข้อความว่า จึงมีคำสั่งให้ระงับการเลี้ยงกุ้งกุลาดำในเขตพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาโดยเด็ดขาด จากคำสั่งดังกล่าวมีความหมายอยู่ในตัวว่าให้ระงับการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำระบบความเค็มต่ำ แม้ตอนท้ายของคำสั่งจะมิได้ระบุคำว่าระบบความเค็มต่ำตอนท้ายคำว่ากุ้งกุลาดำเอาไว้ แต่ตอนต้นของคำสั่งได้เท้าความอ้างเหตุความเสียหายของการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำเอาไว้ คำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยาดังกล่าวจึงเป็นคำสั่งที่ออกตามที่ได้รับมอบอำนาจจากนายกรัฐมนตรีโดยถูกต้องและเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น ที่โจทก์บรรยายฟ้องต่อมาว่า จำเลยเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำ 9 บ่อ แต่ละบ่อมีเนื้อที่ประมาณ 4 ไร่ ในเขตหมู่ที่ 1 ตำบลหนองน้ำใหญ่ อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อันเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยาย่อมมีความหมายว่า จำเลยเลี้ยงกุ้งกุลาดำระบบความเค็มต่ำซึ่งเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยานั้นเอง คำฟ้องของโจทก์ได้ระบุการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้น ทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้วหาเคลือบคลุมไม่
คำสั่งของนายกรัฐมนตรี และคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยาที่แนบท้ายฟ้อง เป็นข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งที่โจทก์จะต้องนำสืบถึงความมีอยู่จริงของเอกสารและความถูกต้องแท้จริงของเอกสาร หาใช่ข้อกฎหมายที่โจทก์อ้างมาท้ายฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (6) ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5260/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิจำเลยในการได้รับการแต่งตั้งทนายความในคดีอาญา หากจำเลยไม่มีและต้องการทนายความ ศาลต้องดำเนินการตามกฎหมาย
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงฯ มาตรา 4 และ ป.วิ.อ. มาตรา 173 วรรคสอง เป็นบทบัญญัติที่ให้ความคุ้มครองแก่จำเลยในการพิจารณาคดีของศาลคดีนี้เป็นคดีที่มีอัตราโทษจำคุก เมื่อจำเลยไม่มีและแถลงต้องการทนายความ จึงเป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้นที่ต้องตั้งทนายความให้ก่อนเริ่มพิจารณา การที่ศาลชั้นต้นดำเนินคดีไปโดยจำเลยไม่มีทนายความแล้วพิพากษาลงโทษจำเลย จึงเป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณาอันเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยแม้จำเลยไม่ได้ยกขึ้นอุทธรณ์หรือฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้โดยให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาพิพากษาใหม่ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2) ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 516/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล: การพิจารณาคดีอาญาเมื่อจำเลยถูกจำคุกในเรือนจำต่างจังหวัด
แม้เรือนจำกลางบางขวางเป็นภูมิลำเนาของจำเลยทั้งสองในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 47 ถือได้ว่าจำเลยทั้งสองมีที่อยู่ในเขตอำนาจศาลจังหวัดนนทบุรีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 22 (1) แต่บทกฎหมายดังกล่าวไม่เป็นบทบังคับให้ศาลจังหวัดนนทบุรีที่จำเลยมีที่อยู่ในเขตอำนาจต้องรับชำระคดีที่โจทก์ฟ้อง ศาลจังหวัดนนทบุรีจึงใช้ดุลพินิจที่จะรับชำระคดีเช่นว่านั้นหรือไม่ก็ได้ ดังนั้น เมื่อเหตุคดีนี้เกิดขึ้นในท้องที่ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจศาลจังหวัดภูเก็ตและพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองภูเก็ตเป็นผู้สอบสวนคดี ไม่ได้ความว่าหากมีการชำระคดีที่ศาลจังหวัดนนทบุรีแล้วจะสะดวกยิ่งกว่าการชำระคดีที่ศาลจังหวัดภูเก็ต ที่โจทก์อ้างว่าการย้ายจำเลยทั้งสองไปดำเนินคดีที่ศาลจังหวัดภูเก็ตจะไม่ปลอดภัยในการควบคุมและอาจเกิดความเสียหายในระหว่างการย้ายนั้น เป็นเพียงปัญหาในทางปฏิบัติของกรมราชทัณฑ์ที่อาจป้องกันและแก้ไขได้ กรณียังไม่มีเหตุสมควรให้ศาลจังหวัดนนทบุรีรับชำระคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 467/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยประเด็นกรรมสิทธิ์ที่ดินนอกเหนือจากประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนด และการใช้ข้อเท็จจริงจากคดีอาญา
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 2 บุกรุกที่ดินมีโฉนดของโจทก์ จำเลยที่ 2 ให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินมีโฉนดของจำเลยที่ 2 ประเด็นข้อพิพาทจึงมีว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่ ไม่มีประเด็นว่าจำเลยที่ 2 ครอบครองที่ดินของโจทก์จนได้กรรมสิทธิ์หรือไม่ การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 ครอบครองที่ดินพิพาทส่วนนี้จนได้กรรมสิทธิ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น และประเด็นว่าที่ดินพิพาทส่วนนี้เป็นของโจทก์หรือไม่ ภาระการพิสูจน์ตกแก่โจทก์ เมื่อโจทก์ไม่สืบพยานข้อเท็จจริงจึงรับฟังไม่ได้ว่าที่ดินพิพาทส่วนนี้เป็นของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4351/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: โมฆะเฉพาะส่วนคดีอาญา, ส่วนอื่นมีผลผูกพัน, ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
บันทึกข้อตกลงประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์ทั้งสามและจำเลยกับ ว. ที่ให้โจทก์ทั้งสามถอนฟ้องคดีอาญาที่ยื่นฟ้องจำเลยกับ ว. ไว้ ในข้อหาปลอมเอกสารสิทธิ ใช้เอกสารสิทธิปลอม ซึ่งเป็นคดีอาญาแผ่นดินไม่ใช่คดีความผิดอันยอมความได้ เป็นข้อตกลงที่มีวัตถุประสงค์ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150
บันทึกข้อตกลงประนีประนอมยอมความ นอกจากมีข้อตกลงให้ถอนฟ้องคดีอาญาซึ่งเป็นโมฆะแล้ว ยังมีข้อตกลงอื่น ๆ อีกหลายประการ ซึ่งทั้งสองฝ่ายต่างได้ปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวไปเป็นส่วนใหญ่แล้ว คงเหลือเฉพาะข้อ 4 และข้อ 5 เท่านั้น ที่ยังมีปัญหาอยู่ โดยปรากฏว่าฝ่ายโจทก์ได้นำเงินจำนวน 700,000 บาท ไปวางที่สำนักงานวางทรัพย์แล้วแจ้งให้จำเลยทราบ และจำเลยได้ไปขอรับเงินดังกล่าวแล้ว แต่เจ้าพนักงานไม่จ่ายเงินให้เพราะจำเลยไม่สามารถโอนที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสามโดยปราศจากภาระติดพันได้ แสดงว่าฝ่ายจำเลยก็มีความประสงค์จะบังคับให้เป็นไปตามข้อตกลงประนีประนอมยอมความ แสดงให้เห็นเจตนาของคู่กรณีว่าประสงค์ให้ข้อตกลงส่วนอื่นนอกเหนือจากเรื่องการถอนฟ้องคดีอาญาคงมีผลผูกพันคู่กรณีทั้งสองฝ่ายอยู่เช่นเดิม และข้อตกลงส่วนอื่นทั้งหมดก็ล้วนแต่เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับกรณีพิพาททางแพ่งทั้งสิ้น ซึ่งไม่ต้องห้ามโดยกฎหมายไม่เป็นการพ้นวิสัยหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนตามพฤติการณ์แห่งกรณีจึงสันนิษฐานได้ว่าคู่กรณีทั้งสองฝ่ายเจตนาจะให้ส่วนที่ไม่เป็นโมฆะแยกออกจากส่วนที่เป็นโมฆะ จึงไม่ทำให้ข้อตกลงประนีประนอมยอมความดังกล่าวตกเป็นโมฆะทั้งฉบับ ข้อตกลงส่วนอื่น ๆ นอกเหนือจากข้อตกลงเรื่องการถอนฟ้องคดีอาญายังคงมีผลผูกพันคู่กรณีตาม ป.พ.พ. มาตรา 173
จำเลยนำที่ดินไปจดทะเบียนภาระจำยอมให้แก่บุคคลภายนอกหลังจากทำบันทึกข้อตกลงประนีประนอมยอมความกันแล้วโดยจำเลยไม่มีอำนาจกระทำได้ตามข้อตกลง จำเลยย่อมรู้ว่าทำให้โจทก์ทั้งสามเสียเปรียบ จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต และศาลพิพากษาให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวให้โจทก์ทั้งสามโดยปลอดภาระจำยอมได้ไม่เป็นการกระทบสิทธิของบุคคลภายนอก เพราะมิได้เพิกถอนการจดทะเบียนภาระจำยอมในที่ดินดังกล่าว แต่เป็นเรื่องที่ฝ่ายโจทก์จะบังคับเอาแก่จำเลยตามคำพิพากษาโดยลำพังเท่านั้น
ที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องแย้งของจำเลยโดยมิได้สั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมนั้นไม่ชอบ เพราะคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมแม้จะไม่มีคำขอของคู่ความฝ่ายใดก็เป็นหน้าที่ของศาลจะต้องสั่งลงไว้ในคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 167 วรรคหนึ่ง แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นกล่าวอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้
บันทึกข้อตกลงประนีประนอมยอมความ นอกจากมีข้อตกลงให้ถอนฟ้องคดีอาญาซึ่งเป็นโมฆะแล้ว ยังมีข้อตกลงอื่น ๆ อีกหลายประการ ซึ่งทั้งสองฝ่ายต่างได้ปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวไปเป็นส่วนใหญ่แล้ว คงเหลือเฉพาะข้อ 4 และข้อ 5 เท่านั้น ที่ยังมีปัญหาอยู่ โดยปรากฏว่าฝ่ายโจทก์ได้นำเงินจำนวน 700,000 บาท ไปวางที่สำนักงานวางทรัพย์แล้วแจ้งให้จำเลยทราบ และจำเลยได้ไปขอรับเงินดังกล่าวแล้ว แต่เจ้าพนักงานไม่จ่ายเงินให้เพราะจำเลยไม่สามารถโอนที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสามโดยปราศจากภาระติดพันได้ แสดงว่าฝ่ายจำเลยก็มีความประสงค์จะบังคับให้เป็นไปตามข้อตกลงประนีประนอมยอมความ แสดงให้เห็นเจตนาของคู่กรณีว่าประสงค์ให้ข้อตกลงส่วนอื่นนอกเหนือจากเรื่องการถอนฟ้องคดีอาญาคงมีผลผูกพันคู่กรณีทั้งสองฝ่ายอยู่เช่นเดิม และข้อตกลงส่วนอื่นทั้งหมดก็ล้วนแต่เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับกรณีพิพาททางแพ่งทั้งสิ้น ซึ่งไม่ต้องห้ามโดยกฎหมายไม่เป็นการพ้นวิสัยหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนตามพฤติการณ์แห่งกรณีจึงสันนิษฐานได้ว่าคู่กรณีทั้งสองฝ่ายเจตนาจะให้ส่วนที่ไม่เป็นโมฆะแยกออกจากส่วนที่เป็นโมฆะ จึงไม่ทำให้ข้อตกลงประนีประนอมยอมความดังกล่าวตกเป็นโมฆะทั้งฉบับ ข้อตกลงส่วนอื่น ๆ นอกเหนือจากข้อตกลงเรื่องการถอนฟ้องคดีอาญายังคงมีผลผูกพันคู่กรณีตาม ป.พ.พ. มาตรา 173
จำเลยนำที่ดินไปจดทะเบียนภาระจำยอมให้แก่บุคคลภายนอกหลังจากทำบันทึกข้อตกลงประนีประนอมยอมความกันแล้วโดยจำเลยไม่มีอำนาจกระทำได้ตามข้อตกลง จำเลยย่อมรู้ว่าทำให้โจทก์ทั้งสามเสียเปรียบ จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต และศาลพิพากษาให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวให้โจทก์ทั้งสามโดยปลอดภาระจำยอมได้ไม่เป็นการกระทบสิทธิของบุคคลภายนอก เพราะมิได้เพิกถอนการจดทะเบียนภาระจำยอมในที่ดินดังกล่าว แต่เป็นเรื่องที่ฝ่ายโจทก์จะบังคับเอาแก่จำเลยตามคำพิพากษาโดยลำพังเท่านั้น
ที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องแย้งของจำเลยโดยมิได้สั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมนั้นไม่ชอบ เพราะคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมแม้จะไม่มีคำขอของคู่ความฝ่ายใดก็เป็นหน้าที่ของศาลจะต้องสั่งลงไว้ในคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 167 วรรคหนึ่ง แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นกล่าวอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3322/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องคดีเกี่ยวกับยาเสพติด โจทก์ไม่อ้างบทลงโทษที่หนักกว่า ถือเป็นการไม่ประสงค์ให้ลงโทษตามบทนั้น
พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 7 เป็นทั้งบทความผิดและบทลงโทษในมาตราเดียวกัน ส่วนความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 และความผิดฐานพยายามกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 80 เป็นเพียงองค์ประกอบความผิดและบทลงโทษส่วนหนึ่งของมาตรา 7 เท่านั้น ดังนั้น การที่โจทก์ไม่อ้างมาตรา 7 ซึ่งมีโทษสูงกว่าโทษในความผิดฐานพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง (เดิม), 66 วรรคหนึ่ง (ที่แก้ไขใหม่) ประกอบ ป.อ. มาตรา 80 จึงต้องถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยตามมาตรา 7 และเป็นการเกินคำขอตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่งและวรรคสี่