พบผลลัพธ์ทั้งหมด 103 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 177/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การควบคุมตัวบุคคลในข้อหาเป็นอันธพาลและการกระทำโดยมิชอบของเจ้าพนักงาน
การที่โจทก์ถูกจำเลยควบคุมในข้อหาเป็นบุคคลอันธพาลตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 21 นั้น มิใช่เป็นโทษหรือเป็นวิธีการเพื่อความปลอดภัย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 18 และ39 แม้จำเลยจะกระทำเพื่อแกล้งโจทก์ก็ไม่เป็นผิดตาม มาตรา 200
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 637-638/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การควบคุมตัวผู้ต้องหาโดยไม่มีอำนาจตามประกาศคณะปฏิวัติ และการปฏิบัติหน้าที่มิชอบของพนักงานสอบสวน
โจทก์ถูกจับหาว่าวิวาทชกต่อยกัน ตำรวจเปรียบเทียบสั่งปรับไปแล้ว จำเลยซึ่งเป็นนายอำเภอได้สั่งให้ควบคุมตัวโจทก์ไว้ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 21 อีก 30วัน โดยมิได้มีการสอบสวนเกี่ยวกับพฤติการณ์บุคคลอันธพาลแต่อย่างใด ดังนี้ ย่อมเป็นการแสดงว่า ไม่มีการสอบสวนในข้อหาข้อใดแก่โจทก์อีก อำนาจควบคุมตัวโจทก์ 30 วันจึงไม่เกิด จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 310
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 184/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหลบหนีที่คุมขัง: การหนีเป็นสำคัญ ไม่ใช่การควบคุมตัว
จำเลยซึ่งเป็นนักโทษออกไปซื้อของในตลาดตามคำสั่งของพัศดีโดยไม่มีผู้ควบคุมตัวไป และไม่มีพฤติการณ์ที่แสดงว่าจำเลยเจตนาจะหลบหนี จำเลยไม่มีความผิดฐานหลบหนีที่คุมขับ
องค์สำคัญของความผิดฐานหลบหนีที่คุมขังตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 190 อยู่ที่การหนีไป ไม่ใช่อยู่ที่การควบคุมตัวอย่างเดียว
องค์สำคัญของความผิดฐานหลบหนีที่คุมขังตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 190 อยู่ที่การหนีไป ไม่ใช่อยู่ที่การควบคุมตัวอย่างเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1853/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดการควบคุมตัวและการไม่มีอำนาจร้องขอปล่อยตัว
ผู้ร้องร้องขอให้ปล่อยบุตรผู้ร้องซึ่งถูกตำรวจควบคุมไว้โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายขณะไต่สวนคำร้อง บุตรผู้ร้องหนีที่ควบคุมไปบุตรผู้ร้องจึงไม่ได้ถูกควบคุมตัวอยู่โดยเจ้าพนักงานที่ผู้ร้องอ้างว่าควบคุมตัวไว้โดยผิดกฎหมายนั้นแล้ว ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจร้องต่อศาลขอให้ปล่อย ฉะนั้น ที่ศาลชั้นต้นงดการไต่สวนและจำหน่ายคดีผู้ร้อง ชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1668/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีหมิ่นประมาทหลังควบคุมตัวผู้ต้องหาตามประกาศคณะปฏิวัติ การขอผัดฟ้อง/อนุญาตฟ้อง
เจ้าพนักงานจับจำเลยฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ แล้วจำเลยถูกควบคุมตัวในฐานเป็นบุคคลอันธพาลประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 21 ได้ 24 วัน โจกท์นำจำเลยมาฟ้องศาลแขวงอุดรธานีในความผิดฐานหมิ่น เจ้าพนักงานได้โดยไม่ต้องขอผัดฟ้องหรือขออนุญาตฟ้องจากอธิบดีกรมอัยการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1668/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจับกุมและการฟ้องคดีอาญา: อำนาจฟ้องและขอบเขตการควบคุมตัว
เจ้าพนักงานจับจำเลยฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำตามหน้าที่แล้วจำเลยถูกควบคุมตัวในฐานเป็นบุคคลอันธพาล ตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 21 ยังไม่เกิน 30 วันการควบคุมตัวจำเลยจึงเป็นคนละเรื่องกับการควบคุมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 ฉะนั้น การขอผัดฟ้องก็ดี การขออนุญาตฟ้องจากอธิบดีกรมอัยการก็ดี ย่อมไม่อาจจะเกิดขึ้น โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1439-1440/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชอบธรรมของ พ.ร.บ.ควบคุมตัวผู้ต้องหาคดีคอมมิวนิสต์ และผลกระทบต่อสิทธิในการร้องขอปล่อยตัว
พระราชบัญญัติการควบคุมตัวผู้ต้องหาว่ากระทำความผิดต่อกฎหมายว่าด้วยป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ พ.ศ. 2505 ไม่ใช่กฎหมายที่บัญญัติย้อนหลังให้ลงโทษบุคคลในทางอาญา และไม่ใช่เป็นการบัญญัติดังศาลขึ้นใหม่แต่เป็นเพียงวางวิธีการร้องขอให้ผู้ต้องหาว่ากระทำความผิดกฎหมายว่าด้วยป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ปฏิบัติเพื่อความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองเท่านั้น จึงหาขัดต่อธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ.250+ มาตรา 20 ไม่ นอกจากนี้พระราชบัญญัติดังกล่าวยังไม่เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลและวิธีพิจารณาความให้ใช้บังคับเฉพาะคดีและเฉพาะคนกลุ่มหนึ่งเพราะเป็นกรณีที่บัญญัติขึ้นใช้แก่คดีประเภทใดประเภทหนึ่ง เป็นการทั่วไป ฉะนั้น จึงต้องถือว่า ใช้บังคับเป็นกฎหมายได้โดยชอบ หาตกเป็นโมฆะอย่างใดไม่
ฉะนั้น ผู้ร้องซึ่งถูกควบคุมตัวไว้ในข้อหาว่ามีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ ยื่นคำร้องขอให้ศาลปล่อย ระหว่างศาลไต่สวนมีพระราชบัญญัติดังกล่าวประกาศใช้ ศาลย่อมมีคำสั่งให้ยกคำร้องนั้นเสียได้
ฉะนั้น ผู้ร้องซึ่งถูกควบคุมตัวไว้ในข้อหาว่ามีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ ยื่นคำร้องขอให้ศาลปล่อย ระหว่างศาลไต่สวนมีพระราชบัญญัติดังกล่าวประกาศใช้ ศาลย่อมมีคำสั่งให้ยกคำร้องนั้นเสียได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 105/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การควบคุมตัวผู้กระทำผิดอาญาในสถานอบรมฯ ต้องมีคำสั่งคณะกรรมการทุก 3 เดือน หากไม่มีคำสั่งควบคุมต่อไป การควบคุมนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ผู้ว่าราชการจังหวัดอาศัยอำนาจตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 43 ข้อ 1 ส่งตัวจำเลยซึ่งประพฤติตนเป็นอันธพาลไปยังสถานอบรมและฝึกอาชีพแล้ว ต่อไปก็เป็นอำนาจของคณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นตามประกาศดัรงกล่าวข้อ 2 ที่จะต้องมีคำสั่งทุก ๆ สามเดือนว่า จะคงให้ควบคุมจำเลยไว้หรือปล่อยตัวไป การที่ควบคุมตัวจำเลยไว้เมื่อพ้นสามเดือนแล้ว โดยที่คณะกรรมการไม่ได้มีคำสั่ง จึงเป็นการควบคุมที่ไม่ชอบตามประกาศดังกล่าว จำเลยหลบหนีจึงไม่มีผิด หาใช่ว่าเมื่อไม่มีคำสั่งก็ให้ถือว่าควบคุมได้ตลอดไปไม่ เพราะหากตีความเช่นนั้นแล้ว ระยะเวลาที่กำหนดไว้ให้คณะกรรมการมีคำสั่งทุก ๆ สามเดือนก็จะไร้ความหมาย
ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 16-17/2505
ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 16-17/2505
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 105/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การควบคุมตัวผู้กระทำผิดในสถานอบรมฯ ต้องมีคำสั่งคณะกรรมการทุก 3 เดือน หากไม่มีคำสั่ง การควบคุมนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ผู้ว่าราชการจังหวัดอาศัยอำนาจตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 43 ข้อ 1 ส่งตัวจำเลยซึ่งประพฤติตนเป็นอันธพาลไปยังสถานอบรมและฝึกอาชีพแล้ว ต่อไปก็เป็นอำนาจของคณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นตามประกาศดังกล่าวข้อ2 ที่จะต้องมีคำสั่งทุกๆ สามเดือนว่าจะคงให้ควบคุมจำเลยไว้หรือปล่อยตัวไป การที่ควบคุมตัวจำเลยไว้เมื่อพ้นสามเดือนแล้ว โดยที่คณะกรรมการไม่ได้มีคำสั่งจึงเป็นการควบคุมที่ไม่ชอบตามประกาศดังกล่าว. จำเลยหลบหนีจึงไม่มีความผิด หาใช่ว่าเมื่อไม่มีคำสั่งก็ให้ถือว่าควบคุมได้ตลอดไปไม่ เพราะหากตีความเช่นนั้นแล้ว ระยะเวลาที่กำหนดไว้ให้คณะกรรมการมีคำสั่งทุกๆสามเดือนก็จะไร้ความหมาย
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 16-17/2505)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 16-17/2505)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 434-435/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนผู้จัดการนิติบุคคล: เมื่อการกระทำมีมูลความผิดอาญา แม้เป็นกิจการบริษัท ก็สามารถควบคุมตัวผู้ต้องหาได้
เมื่อผู้จัดการของนิติบุคคลกระทำการซึ่งมีมูลเป็นความผิดทางอาญา แม้จะกระทำในกิจการของบริษัทซึ่งเป็นนิติบุคคล ผู้จัดการนั้นก็อาจถูกควบคุมในระหว่างสอบสวนได้ในเมื่อตกเป็นผู้ต้องหา