คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ความคล้ายคลึง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 154 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 892/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า 'ธูปหอมโบตั๋น' การลวงขาย และความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้า
เดิมเครื่องหมายการค้าตามคำขอจดทะเบียนของจำเลยที่ 2 คำว่า"ธูปหอมโบตั๋น"โดยมีรูปดอกกุหลาบในกรอบลายไทยรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสระคนปนอยู่ จะมีลักษณะคล้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์ คำว่า"ธูปดอกกุหลาบ" ซึ่งมีรูปดอกกุหลาบในกรอบลายไทย รูปสี่เหลี่ยมจตุรัสระคนปนอยู่เช่นกัน ต่อมาจำเลยที่ 2 ได้ขอแก้ไขคำขอจดทะเบียนโดยตัดรูปดอกกุหลาบ และลายไทยรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสที่ระคนปนอยู่ออกเสีย คงเหลือแต่เครื่องหมายการค้า คำว่า "ธูปหอมโบตั๋น"อย่างเดียวเท่านั้นแล้ว เครื่องหมายการค้าฉบับที่ขอแก้ไขแล้วของจำเลยที่ 2 จึงไม่มีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าที่โจทก์ได้นำมาจดทะเบียนไว้แล้ว จึงไม่มีเหตุจะห้ามจำเลยที่ 2มิให้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า คำว่า "ธูปหอมโบตั๋น" อย่างเดียวตามคำขอฉบับที่แก้ไขแล้ว แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์และเครื่องหมายการค้าของจำเลยก่อนแก้ไขนั้น จะมีลักษณะคล้ายกันบางประการ แต่เมื่อพิจารณาจากสลากเครื่องหมายการค้าที่ห่อธูปของโจทก์และจำเลยแล้ว มีข้อแตกต่างที่เด่นชัดหลายประการเมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว ดูจากลักษณะภายนอกเห็นความแตกต่างในลักษณะเด่นของเครื่องหมายการค้าทั้งสองอย่างชัดเจนประชาชนผู้บริโภคซึ่งซื้อธูปดังกล่าวไม่อาจเกิดความสับสนหรือหลงผิดได้ และเสียงเรียกขานชื่อสินค้าธูปของโจทก์จำเลยก็ต่างกันเมื่อเลือกซื้อสินค้าผู้บริโภคย่อมบอกความประสงค์ว่าจะซื้อสินค้าของผู้ใดได้โดยง่าย เครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยทั้งสองจึงยังไม่คล้ายกันจนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4585/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้าเหมือน/คล้ายกันจนทำให้สาธารณชนเข้าใจผิด: สิทธิในเครื่องหมายการค้าลำดับก่อนมีน้ำหนักกว่า
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นอักษรญี่ปุ่นและอักษรจีนอ่านออกเสียงตามภาษาญี่ปุ่นได้สองแบบว่า "อายิโนะโมะโต๊ะ" หรือ "อายิโนะมิโซะ"อ่านออกเสียงเป็นภาษาจีนแต้จิ๋วว่า "บีจือซู" ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยซึ่งจำเลยขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเป็นอักษรจีน อักษรไทย และอักษรโรมันว่า"บีซู" ซึ่งเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่เป็นอักษรจีนเหมือนหรือคล้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์ โดยอักษรตัวแรกในเครื่องหมายการค้าของจำเลยเขียนเหมือนกับอักษรตัวแรกในเครื่องหมายการค้าของโจทก์คือคำว่า "ปี" กับ "อายิ" และมีคำแปลเหมือนกันว่า "รส" และอักษรตัวหลังของเครื่องหมายการค้าของจำเลยเขียนเหมือนอักษรตัวหลังของเครื่องหมายการค้าของโจทก์ คือคำว่า "ซู" กับ คำว่า "โมะโต๊ะ"และมีคำแปลเหมือนกันว่า "ส่วนสำคัญ" เครื่องหมายการค้าของจำเลยต่างกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์เพียงเครื่องหมายการค้าของจำเลยไม่มีอักษรตัวกลางแต่เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีอักษรตัวกลางเป็นภาษาญี่ปุ่นอ่านออกเสียงว่า "โนะ"เท่านั้น จำเลยใช้อักษรภาษาจีนคำว่า "บีซู" เน้นเป็นจุดเด่นในเครื่องหมายการค้าของจำเลยเช่นเดียวกับโจทก์ ซึ่งเป็นภาษาญี่ปุ่นก็เน้นจุดเด่นคำว่า "อายิ" กับคำว่า"โมะโต๊ะ" ตัวอักษรญี่ปุนคำว่า "โนะ" มีขนาดเล็กมากมิได้เน้นความเด่นชัดของเครื่องหมายการค้าโจทก์ จึงเป็นอักษรที่ไม่มีความหมายสำคัญแก่บุคคลทั่วไปที่ไม่รู้ภาษาญี่ปุ่น และแม้เครื่องหมายการค้าของจำเลยจะมีอักษรไทยและอักษรโรมันอยู่ด้วยแต่ก็เน้นความเด่นอยู่ที่อักษรจีนเพราะจัดวางไว้ตรงกลาง ความแตกต่างของเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับของจำเลยจึงมีเพียงเล็กน้อย การพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยเหมือนกันหรือคล้ายกันหรือไม่ ต้องพิจารณาส่วนประกอบหลักหรือส่วนประกอบสำคัญเป็นเกณฑ์ เมื่อส่วนประกอบหลักหรือส่วนประกอบสำคัญเป็นตัวอักษรเหมือนกันอย่างเห็นได้โดยเด่นชัด การที่จำเลยนำเครื่อง-หมายการค้าของจำเลยมาใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกัน เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงเหมือนหรือคล้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนทำให้สาธารณชนเข้าใจผิดว่าสินค้าของจำเลยคือสินค้าของโจทก์ได้
การที่โจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้ารายพิพาทมาก่อนจำเลยทั้งได้จดทะเบียนไว้ในประเทศไทยและต่างประเทศหลายประเทศก่อนที่จำเลยจะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้ารายพิพาทดีกว่าจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4269/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้า DIOR และ DANGS' ORIGINAL DESIGNS ทำให้ประชาชนอาจสับสนได้
เครื่องหมายการค้าของจำเลย (DANGS' ORIGINAL DESIGNS)แม้ส่วนใหญ่ของตัวอักษร ตลอดจนการเรียกขานจะต่างกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ (DIOR) ซึ่งเรียกขานว่า ดิออร์ ส่วนของจำเลยเรียกขานว่า แดงส์แต่เครื่องหมายการค้าทั้งสองขึ้นต้นด้วยอักษร D ตัวใหญ่ ในลักษณะประดิษฐ์และมีขนาดไล่เลี่ยกัน นอกจากนั้นตัวอักษร i.o และ r ที่เรียงต่อจาก d ในเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นตัวเล็กมีขนาดไล่เลี่ยกัน มีการวางตัวอักษรเป็นแนวโค้งลงด้านล่าง และกลับโค้งขึ้นด้านบนในลักษณะเหมือนกัน ความสำคัญที่เห็นเด่นชัดอยู่ที่อักษร d ซึ่งมีลักษณะเหมือนกัน ส่วนตัวอักษรอื่นตลอดจนกรอบสี่เหลี่ยมเป็นส่วนประกอบหาใช่เป็นข้อแตกต่างที่เห็นเด่นชัดแต่อย่างใดไม่ และเครื่องหมายการค้าทั้งสองใช้กับสินค้าประเภทเสื้อผ้าอย่างเดียวกันอันอาจทำให้ประชาชนหลงผิดเมื่อโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "dior" อ่านว่า ดิออร์ มาก่อน โจทก์ย่อมมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1929/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกันจนลวงสาธารณชน และความไม่สุจริตของผู้ยื่นขอจดทะเบียน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยมีสาระสำคัญของลักษณะบ่งเฉพาะอยู่ที่ตัวอักษรโรมันคำว่า BROTHER และbrother แม้จำเลยจะจดทะเบียนและยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า brother โดยมีคำว่า triอยู่ด้านหน้า กับคำว่า TRADEMARK อยู่ด้านล่างและมีรูปห่วงวงกลม3ห่วง วางเรียงกันอยู่เหนือคำว่า brotherคำว่า tri และ TRADEMARK เป็นเพียงส่วนประกอบนอกจำนวนว่าเป้ฯ tribrother หรือสามพี่น้อง ส่วนคำว่าTRADEMARK แปลว่า เครื่องหมายการค้า ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะแต่อย่างใด สำหรับรูปห่วงวงกลม3ห่วง ที่วางเรียงกันก็ไม่มีลักษณะพิเศษไม่ถึงกับเป็นลักษณะบ่งเฉพาะอันอาจแสดงให้เห็นว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยแตกต่างไปจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์ได้ และจำเลยได้ใช้หรือจะใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวของจำเลยกับสินค้าจำพวก 6 และชนิดสินค้าจักรเย็บผ้าเช่นเดียวกันกับของโจทก์ และจำเลยเคยเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าจักรเย็บผ้าภายใต้เครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า BROTHER ของโจทก์มาก่อน ทั้งจำเลยเคยยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า brotherใช้กับสินค้าจำพวก 13 ชนิดสินค้า ขาจักรเย็บผ้า จนนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้ยกคำขอของจำเลยมาแล้ว แสดงให้เห็นความไม่สุจริตของจำเลยที่จะทำให้เครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนมาโดยตลอด โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1929/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้าคล้ายกันจนลวงสาธารณชน: ความสุจริตของผู้ประกอบการและผลกระทบต่อผู้บริโภค
เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยมีสาระสำคัญของลักษณะบ่งเฉพาะอยู่ที่ตัวอักษรโรมันคำว่าBROTHERและbrotherแม้เครื่องหมายการค้าของจำเลยจะมีคำว่าtriอยู่ด้านหน้า กับคำว่าTRADEMARKอยู่ด้านล่าง และมีรูปห่วงวงกลม3ห่วง วางเรียงกันอยู่เหนือคำว่าbrotherคำว่าtriและTRADEMARKเป็นเพียงส่วนประกอบบอกจำนวนว่าเป็นtribrotherหรือสามพี่น้องส่วนคำว่าTRADEMARKแปลว่า เครื่องหมายการค้า ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะแต่อย่างใด สำหรับรูปห่วงวงกลม3ห่วง ที่วางเรียงกันก็ไม่มีลักษณะพิเศษไม่ถึงกับเป็นลักษณะบ่งเฉพาะอันอาจแสดงให้เห็นว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยแตกต่างไปจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เมื่อจำเลยได้ใช้หรือจะใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้าเช่นเดียวกับสินค้าของโจทก์ทำให้เห็นได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์อันอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดได้ว่าจักรเย็บผ้าหรือมอเตอร์จักรเย็บผ้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ และจำเลยเคยเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของโจทก์แสดงให้เห็นถึงความไม่สุจริตของจำเลยที่จะทำให้เครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชน โจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5321/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลียนแบบเครื่องหมายการค้าจนลวงสาธารณชน การพิจารณาความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้าและสินค้า
เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนคำว่า LODINE และโลดีน ของ โจทก์กับเครื่องหมายการค้าซึ่งจดทะเบียนภายหลังคำว่า LODINOX และโลดินอกซ์ ของ จำเลย ต่างเป็นเครื่องหมายการค้าประเภทเครื่องหมายคำโดยใช้ตัวอักษรโรมันธรรมดา และตัวอักษรไทยรูปแบบธรรมดาเป็นคำอ่านออกเสียงรูปแบบอักษรโรมันไม่มีลวดลายหรือลักษณะพิเศษแตกต่างกัน การออกสำเนียงในการอ่านคำในสองพยางค์หน้าของเครื่องหมายการค้าทั้งสองคล้ายคลึงและใกล้เคียงกัน แม้จำเลย จะต่อเติมอักษรโรมันในพยางค์หลังและอธิบายว่าคำว่า LODINOX มีที่ มาจากถ้อยคำของสูตรตัวยาแก้ท้องเสีย 2 ตัว คือ LOPERAMIDE และFURASOLIDINE และต่อเติมคำว่า NOX อ้างว่าให้มีความหมายว่า หยุดก็เป็นเพียงความประสงค์ของจำเลยเองที่ไม่ถูกต้องตรงกับความหมายของถ้อยคำและตัวอักษรที่ย่อเอามากล่าวคือ คำว่า NOX เป็นคำที่ไม่ปรากฏความหมายในพจนานุกรม และคำว่า LODINOX ก็ไม่ตรงกับ ตัวอักษรLO และ LID ที่จำเลยอ้างว่านำมาจากสูตรตัวยา 2 ตัว ดังกล่าวแล้วนำมารวมกัน เครื่องหมายการค้าของจำเลยส่อแสดง ให้เห็นว่าจำเลยจงใจเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ทั้งเครื่องหมายการค้าของจำเลย ใช้กับสินค้าจำพวกที่ 3 ตามรายการ จำพวกสินค้าเดียวกันกับสินค้าของโจทก์ สาธารณชนย่อมยากที่จะแยก ได้ว่าสินค้ายาเครื่องหมายการค้าใดเป็นสินค้าของโจทก์หรือ ของจำเลย และอาจทำให้ผู้ซื้อยาเกิดความสับสนหลงผิดว่าสินค้า ของจำเลยเป็นสินค้าที่โจทก์ผลิตขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ที่ไม่มีความรู้ภาษาอังกฤษหรือรู้น้อยย่อมเกิดความสับสนหรือหลงผิดได้ง่าย ถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนตามมาตรา 16 แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1122/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้าเหมือน/คล้ายกัน ผู้ใช้ก่อนมีสิทธิมากกว่า แม้สินค้าต่างจำพวก
โจทก์จำเลยต่างยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในสินค้าจำพวกที่ 5 ซึ่งเป็นคำประดิษฐ์อักษรโรมันออกเสียงเหมือนกันว่านิโคล ต่างกันแต่เพียงว่าของโจทก์เป็นตัวพิมพ์ใหญ่ว่า NICOLEของจำเลยเป็นตัวพิมพ์เล็กว่า nicole เช่นนี้ ถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าทั้งสองมีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกันอันอาจทำให้ประชาชนหรือผู้ซื้อผิดหลงได้ เมื่อจำเลยได้ใช้เครื่องหมายการค้ามาก่อน รวมทั้งได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้แล้วกับสินค้าจำพวก 38 รวมทั้งโฆษณาสินค้าดังกล่าวทางเอกสารสิ่งตีพิมพ์มาตลอดในขณะที่โจทก์มิได้กระทำเลย อีกทั้งโจทก์อ้างว่าได้ลอกเลียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวจากนิตยสารญี่ปุ่น เครื่องหมายการค้าดังกล่าวจึงมิใช่เครื่องหมายการค้าที่โจทก์ประดิษฐ์ขึ้นอันจะถือว่าโจทก์เป็นเจ้าของได้ กรณีจึงถือได้ว่าจำเลยเป็นเจ้าของและมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าโจทก์ ดังนั้น เมื่อโจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวสำหรับใช้กับสินค้าของโจทก์อันอาจทำให้ประชาชนหรือผู้ซื้อหลงเข้าใจว่าสินค้าของโจทก์เป็นของจำเลย แม้จะเป็นสินค้าต่างจำพวกกันก็ตาม ก็ย่อมทำให้จำเลยเสียหายได้ จำเลยย่อมมีสิทธิห้ามโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 629/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความเหมือนหรือความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้า เพื่อวินิจฉัยการลวงสาธารณชน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์แบบหนึ่งเป็นตัวอักษรโรมันอ่านว่าสแตนเล่ย์ อีกแบบหนึ่งเป็นตัวอักษรโรมันอยู่ด้านบนตัวอักษรไทยอยู่ด้านล่างทั้งตัวอักษรโรมันและตัวอักษรไทยอ่านว่า สแตนเล่ย์ ทั้งสองแบบอยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้ารูปคล้ายใบมีดโกน ตัวอักษรสีโปร่ง แต่กรอบสีทึบ ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นอักษรโรมันอ่านว่า แสตนอัพ อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยม รูปร่างคล้ายไม้นวดแป้ง ตัวอักษรสีทึบ ส่วนกรอบสี่เหลี่ยมสีโปร่งเครื่องหมายการค้าของโจทก์ตัวอักษรอยู่ติดกันทั้งหมด ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยตัวอักษรแยกกันเป็นสองส่วน คือคำว่าแสตนกับคำว่า อัพ อยู่ห่างกัน เห็นได้ว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยมีลักษณะแตกต่างกันทั้งตัวอักษร สี และกรอบ คำว่า สแตนเล่ย์เป็นชื่อเฉพาะไม่มีความหมาย ส่วนคำว่าแสตนอัพ นั้น เป็นภาษาอังกฤษแปลว่ายืนขึ้น เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงไม่เหมือนหรือคล้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์ จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้หลงผิดได้ว่า เครื่องหมายการค้าของจำเลยคือเครื่องหมายการค้าของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 629/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้าไม่เหมือนหรือคล้ายกันจนทำให้สาธารณชนหลงผิด ไม่ถือเป็นการละเมิดสิทธิ
เครื่องหมายการค้าของโจทก์แบบหนึ่งเป็นตัวอักษรโรมันอ่านว่าสแตนเล่ย์อีกแบบหนึ่งเป็นตัวอักษรโรมันอยู่บน ตัวอักษรไทยอยู่ด้านล่าง ทั้งตัวอักษรโรมันและตัวอักษรไทย อ่านว่า สแตนเล่ย์ ทั้งสองแบบอยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้า รูปคล้ายใบมีดโกน ตัวอักษรสีโปร่งแต่กรอบสีทึบ ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นอักษรโรมันอ่านว่า แสตนอัพ อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมรูปร่างคล้ายไม้นวดแป้งตัวอักษรสีทึบ ส่วนกรอบสี่เหลี่ยมสีโปร่ง เครื่องหมายการค้าของโจทก์นั้นตัวอักษรอยู่ติดกันทั้งหมด ส่วนตัวอักษรเครื่องหมายการค้าของจำเลยแยกกันเป็นสองส่วนคือคำว่าแสตนกับคำว่าอัพ อยู่ห่างกัน ดังนี้เครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยมีลักษณะแตกต่างกันทั้งตัวอักษรสี และกรอบ ไม่เหมือนหรือคล้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้หลงผิดได้ การกำหนดประเด็นว่า เครื่องหมายการค้าที่จำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนเหมือน หรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ทำให้สาธารณชนหลงผิด หรือไม่นั้น มีความหมายอย่างเดียวกับการกำหนดประเด็นว่า จำเลยร่วมกันกระทำละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์หรือไม่ เมื่อหลักฐานตามคำฟ้องคำให้การ และเอกสารท้ายฟ้องเพียงพอที่จะวินิจฉัยคดีได้แล้วศาลก็ชอบที่จะสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4559/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความเหมือนหรือความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้า ต้องพิจารณาองค์ประกอบทั้งหมดควบคู่กัน และพฤติการณ์แห่งการใช้
เครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นรูปจระเข้มีตัวหนังสืออักษรภาษาไทยว่าแกรนด์แสลม และตัวหนังสืออักษรโรมันว่า GRANDSLAMยื่นขอจดทะเบียนใช้กับสินค้าในจำพวก 48 รายการสินค้ายาสีฟันน้ำยาสระผม ส่วนเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นรูปจระเข้และมีตัวหนังสืออักษรโรมันว่า LACOSTE ได้รับการจดทะเบียนไว้แล้วสำหรับสินค้าจำพวก 48 รายการสินค้าน้ำหอม น้ำหอมชโลมตัวหลังอาบน้ำ น้ำหอมหลังโกนหนวด และน้ำหอมทาผิว แม้เครื่องหมายการค้าของจำเลยจะมีรูปจระเข้เป็นสาระสำคัญส่วนหนึ่งและอาจเรียกได้ว่าตราจระเข้เช่นเดียวกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่การพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าจะเหมือนหรือคล้ายกันหรือไม่ต้องพิจารณาส่วนประกอบต่าง ๆ ทั้งหมดเข้าด้วยกัน จะพิจารณาเพียงส่วนใดส่วนหนึ่งตามลำพังหาได้ไม่ เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีตัวหนังสืออักษรโรมันเป็นชื่อยี่ห้อสินค้าอ่านออกเสียงว่า ลาคอสท์ประกอบด้วยจระเข้อยู่เหนือตัวหนังสือดังกล่าว ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยนอกจากตัวหนังสืออักษรโรมันแล้ว ยังมีตัวหนังสืออักษรภาษาไทยอ่านได้ชัดเจนว่า แกรนด์แสลม อยู่เหนือตัวหนังสืออักษรโรมันด้วย อันเป็นการบอกให้ทราบแน่ชัดว่าสินค้าของจำเลยเรียกชื่อยี่ห้อว่า แกรนด์แสลม ชื่อยี่ห้อและการอ่านออกเสียงเรียกขานเครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงแตกต่างจากของโจทก์เป็นอันมากย่อมเป็นที่สังเกตของสาธารณชนทั่วไป และไม่ทำให้สาธารณชนทั่วไปที่ซื้อสินค้ายี่ห้อ แกรนด์แสลม เข้าใจผิดว่าสินค้านั้นเป็นสินค้ายี่ห้อลาคอสท์ของโจทก์ ส่วนคำว่าจระเข้หรือรูปจระเข้ก็มิใช่สิ่งบ่งเฉพาะ เป็นเพียงคำหรือชื่อสามัญทั่วไปโจทก์ไม่มีสิทธิจะสงวนรูปจระเข้ดังกล่าวไปไว้ใช้สำหรับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ทั้งเครื่องหมายการค้าของจำเลยใช้กับสินค้าคนละชนิดกับของโจทก์สาธารณชนย่อมไม่เกิดความสับสนหรือหลงผิดในเครื่องหมายการค้าของทั้งสองฝ่ายเครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ดังนี้ไม่อาจเพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้
of 16