พบผลลัพธ์ทั้งหมด 120 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3937/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมจากผลละเมิด: การพิสูจน์ความสัมพันธ์ในฐานะลูกจ้างหรือตัวแทนทางการค้า
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดในผลละเมิดของจำเลยที่ 1 ในฐานะที่จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างหรือตัวแทนของบุคคลซึ่งมีการแสวงหาประโยชน์ร่วมกับจำเลยที่ 2 หรือเป็นลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยที่ 2 ทำละเมิดในทางการที่จ้างหรือตามที่ได้รับมอบหมายในชั้นชี้สองสถานศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยที่ 2 ไว้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างขับรถไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 หรือไม่ เพียงประการเดียวโจทก์มิได้โต้แย้งคัดค้านว่าศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไม่ถูกต้อง คดีจึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสองมีประโยชน์ร่วมกันในกิจการขนส่งผู้โดยสารหรือไม่ต่อไปอีก เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 มิใช่ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3937/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิด: การพิสูจน์ความสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้าง หรือการแสวงหาประโยชน์ร่วมกัน เพื่อความรับผิดร่วมกัน
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดในผลละเมิดของจำเลยที่ 1 ในฐานะที่จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างหรือตัวแทนของบุคคลซึ่งมีการแสวงหาประโยชน์ร่วมกับจำเลยที่ 2 หรือเป็นลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยที่ 2 ทำละเมิดในทางการที่จ้างหรือตามที่ได้รับมอบหมายในชั้นชี้สองสถานศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยที่ 2 ไว้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างขับรถไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 หรือไม่ เพียงประการเดียวโจทก์มิได้โต้แย้งคัดค้านว่าศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไม่ถูกต้อง คดีจึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสองมีประโยชน์ร่วมกันในกิจการขนส่งผู้โดยสารหรือไม่ต่อไปอีก เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่1 มิใช่ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2925/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายจากการชนรถไฟ: ศาลพิจารณาค่าแรงซ่อม, โอเวอร์เฮดชาร์จ, และความรับผิดร่วมของจำเลย
จำเลยที่ 3 อุทธรณ์ในเรื่องค่าแรงว่า โจทก์ใช้พนักงานของโจทก์เป็นผู้ทำการซ่อม แม้ไม่เกิดเหตุต้องซ่อมรถในคดีนี้โจทก์ก็ต้องจ่ายให้พนักงานเป็นประจำอยู่แล้ว แต่ในชั้นฎีกากลับฎีกาว่า รถไฟคันเกิดเหตุใกล้จะถึงเวลาซ่อมบำรุงเมื่อเกิดเหตุก็ซ่อมบำรุงเรียบร้อยแล้วโจทก์ไม่ควรได้รับค่าแรงเต็มจำนวนดังนี้ ข้ออ้างของจำเลยที่ 3 ในฎีกาไม่ได้เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ค่าใช้จ่ายทั่วไปในโรงงานหรือค่าโอเวอร์เฮดชาร์จร้อยละ140 ของค่าแรงพอจะถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าซ่อมอันเป็นค่าเสียหายส่วนหนึ่งโจทก์จึงมีสิทธิเรียกจากจำเลยผู้ทำละเมิดได้ซึ่งศาลจะกำหนดให้ตามจำนวนที่เห็นสมควรส่วนค่าควบคุมเพิ่มขึ้นจากราคาทุนเป็นระเบียบภายในของโจทก์เมื่อจำเลยที่ 3 ไม่ทราบระเบียบนี้และไม่ได้ตกลงให้โจทก์ซ่อมอีกทั้งยังเป็นค่าควบคุมที่คิดเพิ่มเป็นพิเศษนอกเหนือไปจากค่าควบคุมธรรมดาซึ่งรวมอยู่ในค่าใช้จ่ายทั่วไปในโรงงานอยู่แล้วโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้ใช้เงินจำนวนนี้
แม้จำเลยที่ 1 ไม่ได้อุทธรณ์ฎีกา แต่กรณีเป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้เมื่อจำเลยที่ 3 ฎีกา และศาลฎีกากำหนดค่าเสียหายต่ำกว่าที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาให้จำเลยที่ 1 รับผิดเท่ากับจำเลยที่3 ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1),247
ค่าใช้จ่ายทั่วไปในโรงงานหรือค่าโอเวอร์เฮดชาร์จร้อยละ140 ของค่าแรงพอจะถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าซ่อมอันเป็นค่าเสียหายส่วนหนึ่งโจทก์จึงมีสิทธิเรียกจากจำเลยผู้ทำละเมิดได้ซึ่งศาลจะกำหนดให้ตามจำนวนที่เห็นสมควรส่วนค่าควบคุมเพิ่มขึ้นจากราคาทุนเป็นระเบียบภายในของโจทก์เมื่อจำเลยที่ 3 ไม่ทราบระเบียบนี้และไม่ได้ตกลงให้โจทก์ซ่อมอีกทั้งยังเป็นค่าควบคุมที่คิดเพิ่มเป็นพิเศษนอกเหนือไปจากค่าควบคุมธรรมดาซึ่งรวมอยู่ในค่าใช้จ่ายทั่วไปในโรงงานอยู่แล้วโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้ใช้เงินจำนวนนี้
แม้จำเลยที่ 1 ไม่ได้อุทธรณ์ฎีกา แต่กรณีเป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้เมื่อจำเลยที่ 3 ฎีกา และศาลฎีกากำหนดค่าเสียหายต่ำกว่าที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาให้จำเลยที่ 1 รับผิดเท่ากับจำเลยที่3 ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1),247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1635/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมของเจ้าของรถและนายจ้างต่อการละเมิดของลูกจ้าง แม้ขับรถนอกเส้นทางสัมปทาน
การที่จำเลยที่ 3 ยอมรับเอาทั้งรถยนต์โดยสารและคนขับของจำเลยที่ 4 มาไว้และร่วมในกิจการเดินรถโดยสารประจำทางขนส่งผู้โดยสาร ด้วยการให้ใช้สีของรถ ตรา และชื่อในนามของบริษัทจำเลยที่ 3 ให้ปรากฏแก่คนทั้งหลายว่าใช้ในกิจการของตน ทั้งในนามและฐานะที่เป็นรถของบริษัทจำเลยที่ 3 โดยมีผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างจำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 4 ในการนี้พฤติการณ์ดังกล่าวย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 3มีฐานะร่วมเป็นเจ้าของรถคันเกิดเหตุและเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1ซึ่งเป็นคนขับรถประจำรถคันดังกล่าวด้วย การที่จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์โดยสารคันเกิดเหตุไปส่งผู้โดยสารแล้วเกิดเหตุขึ้น แม้จะเป็นการขับไปนอกเส้นทางสัมปทานก็ยังถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่ขับรถในกิจการในทางการที่จ้างของนายจ้าง จำเลยที่ 3 จะต้องร่วมรับผิดในผลแห่งการละเมิดของลูกจ้าง ข้ออ้างของจำเลยที่ 3 ที่ว่าจำเลยที่ 1กับจำเลยที่ 4 นำรถไปใช้นอกเส้นทางสัมปทานโดยจำเลยที่ 3 ไม่มีส่วนรู้หรือได้รับอนุญาตจากขนส่งจังหวัดเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับและขัดต่อพระราชบัญญัติการขนส่งนั้น เป็นเรื่องภายในและเฉพาะตัวระหว่างจำเลยด้วยกัน จะนำมาใช้ยันเพื่อปัดความรับผิดต่อบุคคลภายนอกโดยสิ้นเชิงไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1042/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมกันของกรรมการบริษัทในการซื้อขายสินค้า โดยกรรมการสั่งซื้อในนามบริษัทและลงตราสำคัญ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันสั่งสินค้าของโจทก์มาจำหน่ายยังค้างชำระราคาสินค้าโจทก์อยู่ จำเลยที่ 1ปฏิเสธว่าไม่ได้สั่งซื้อ จำเลยที่ 2 ให้การว่าได้สั่งซื้อในนามของจำเลยที่ 1 ศาลล่างพิพากษาให้จำเลยร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าสินค้าที่ค้างชำระจำนวนหนึ่งแก่โจทก์จำเลยที่ 2 ไม่ฎีกา คดียุติชั้นศาลอุทธรณ์ จำเลยที่1 จะฎีกาว่าจำเลยที่ 2 ค้างชำระค่าสินค้าโจทก์อยู่เพียง2 หมื่นบาทเศษ หาได้ไม่ เพราะตนมิได้ต่อสู้เป็นประเด็นไว้ในคำให้การ
จำเลยที่ 2 ติดต่อสั่งซื้อสินค้าหลายรายการหลายครั้งจากโจทก์ขณะเป็นผู้จัดการจำเลยที่ 1 และได้กระทำในนามของจำเลยที่ 1 โดยลงชื่อในตำแหน่งผู้จัดการจำเลยที่ 1กับได้ประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 1 ในเอกสารต่างๆทุกฉบับ ถือว่าได้ซื้อในนามหรือแทนจำเลยที่ 1 ตามหน้าที่ของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่ร่วมกับจำเลยที่ 2 ที่จะต้องชำระราคาที่ค้างชำระอยู่แก่โจทก์ จำเลยที่ 1 จะยกเอาคำสั่งภายในที่โจทก์ไม่รู้มายันโจทก์เพื่อปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้
หมายเหตุในใบส่งของของโจทก์ระบุให้ฟ้องคดีต่อศาลจังหวัดกรุงเทพนั้นเป็นข้อความที่โจทก์พิมพ์ไว้แต่ฝ่ายเดียวไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ตกลงด้วย จึงไม่ใช่ข้อตกลงที่จะผูกพันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา7(4) โจทก์มีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลจังหวัดนครปฐมซึ่งจำเลยทั้งสองมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจได้ตามมาตรา 4(2)
จำเลยที่ 2 ติดต่อสั่งซื้อสินค้าหลายรายการหลายครั้งจากโจทก์ขณะเป็นผู้จัดการจำเลยที่ 1 และได้กระทำในนามของจำเลยที่ 1 โดยลงชื่อในตำแหน่งผู้จัดการจำเลยที่ 1กับได้ประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 1 ในเอกสารต่างๆทุกฉบับ ถือว่าได้ซื้อในนามหรือแทนจำเลยที่ 1 ตามหน้าที่ของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่ร่วมกับจำเลยที่ 2 ที่จะต้องชำระราคาที่ค้างชำระอยู่แก่โจทก์ จำเลยที่ 1 จะยกเอาคำสั่งภายในที่โจทก์ไม่รู้มายันโจทก์เพื่อปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้
หมายเหตุในใบส่งของของโจทก์ระบุให้ฟ้องคดีต่อศาลจังหวัดกรุงเทพนั้นเป็นข้อความที่โจทก์พิมพ์ไว้แต่ฝ่ายเดียวไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ตกลงด้วย จึงไม่ใช่ข้อตกลงที่จะผูกพันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา7(4) โจทก์มีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลจังหวัดนครปฐมซึ่งจำเลยทั้งสองมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจได้ตามมาตรา 4(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 620/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมของเจ้าของเรือและผู้ขับเรือในละเมิด และการพิสูจน์สถานะทางครอบครัวเพื่อสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย
จำเลยที่ 2 ใช้จำเลยที่ 1 นำเรือไปรับจ้างบรรทุกสินค้าแทนจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 ตกลงทำกิจการนั้นถือได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ในละเมิดที่จำเลยที่ 1 ขับเรือทำให้บุตรโจทก์ตาย
เอกสารสูติบัตรที่ว่าบิดามารดาเด็กมิได้จดทะเบียนสมรสกันเมื่อ 20 ปีมาแล้ว เป็นแต่การกะประมาณเมื่อแจ้งการเกิดของบุตรไม่ลบล้างพยานหลักฐานและสำเนาทะเบียนบ้านที่ว่าบิดามารดาอยู่กินด้วยกันมากว่า 40 ปีก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5
เอกสารสูติบัตรที่ว่าบิดามารดาเด็กมิได้จดทะเบียนสมรสกันเมื่อ 20 ปีมาแล้ว เป็นแต่การกะประมาณเมื่อแจ้งการเกิดของบุตรไม่ลบล้างพยานหลักฐานและสำเนาทะเบียนบ้านที่ว่าบิดามารดาอยู่กินด้วยกันมากว่า 40 ปีก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 803/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดของลูกจ้างและเจ้าของรถ กรณีรถถูกใช้ในทางการทำงาน
จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของบริษัทซึ่งเช่ารถยนต์ของจำเลยที่ 2 ไปใช้ จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของและบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ดาราไทยซึ่งบริษัทเป็นผู้จัดการ จำเลยที่ 2 กับสามีเป็นกรรมการบริษัท จำเลยที่ 1 ขับรถคันนี้กลับจากส่งหนังสือพิมพ์ดาราไทยทำให้โจทก์เสียหายโดยละเมิดในทางการที่บริษัทจ้าง บริษัทเป็นนิติบุคคลต่างหากจากจำเลยที่ 2จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1598-1599/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิด, การดำเนินคดีอนาถา, และขอบเขตอำนาจศาลในการวินิจฉัยความรับผิดร่วม
โจทก์ที่ 2 ยื่นฟ้องขอให้จำเลยรับผิดฐานละเมิดภายใน 1 ปีนับแต่วันเกิดเหตุ แต่ศาลชั้นต้นมิได้สั่งรับฟ้องในวันนั้น เพราะโจทก์ที่ 2 ร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา แม้ศาลชั้นต้นสั่งรับฟ้องในภายหลังซึ่งเป็นเวลาเกิน 1 ปี นับแต่วันเกิดเหตุแล้วก็ตาม ก็ถือได้ว่าคดีโจทก์ที่ 2 ได้ฟ้องในวันยื่นฟ้องแล้ว ส่วนการไต่สวนเพื่อประกอบการสั่งอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาได้หรือไม่ เป็นกระบวนพิจารณาของศาล แม้จะเนิ่นนานไปก็หาใช่ความผิดของโจทก์ที่ 2 ไม่ คดีโจทก์ที่ 2 จึงไม่ขาดอายุความ
ศาลทหารพิพากษาคดีส่วนอาญา ถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุกจำเลย 1 ฐานขับรถประมาททำให้โจทก์ทั้งสองบาดเจ็บสาหัสไปแล้ว ต่อมาโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 5 เป็นคดีแพ่ง ให้ร่วมกันรับผิดฐานละเมิด เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยตามข้อต่อสู้และฎีกาของจำเลยที่ 2 ว่า การที่รถชนกันเกิดจากโจทก์ที่ 1ขับรถแล่นเข้าไปชนรถซึ่งจำเลยที่ 1 ขับ หาใช่ความประมาทของจำเลยที่ 1 ไม่ ดังนี้ แม้จำเลยที่ 1 มิได้ฎีกาก็ตาม แต่เมื่อเป็นคดีที่โจทก์ที่ 2 ฟ้องจำเลยที่ 2 ว่าเป็นนายจ้างต้องร่วมกันรับผิดในผลแห่งละเมิดของจำเลยที่ 1 กรณีจึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษายกฟ้องตลอดถึงจำเลยที่ 1 ด้วยได้
ศาลทหารพิพากษาคดีส่วนอาญา ถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุกจำเลย 1 ฐานขับรถประมาททำให้โจทก์ทั้งสองบาดเจ็บสาหัสไปแล้ว ต่อมาโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 5 เป็นคดีแพ่ง ให้ร่วมกันรับผิดฐานละเมิด เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยตามข้อต่อสู้และฎีกาของจำเลยที่ 2 ว่า การที่รถชนกันเกิดจากโจทก์ที่ 1ขับรถแล่นเข้าไปชนรถซึ่งจำเลยที่ 1 ขับ หาใช่ความประมาทของจำเลยที่ 1 ไม่ ดังนี้ แม้จำเลยที่ 1 มิได้ฎีกาก็ตาม แต่เมื่อเป็นคดีที่โจทก์ที่ 2 ฟ้องจำเลยที่ 2 ว่าเป็นนายจ้างต้องร่วมกันรับผิดในผลแห่งละเมิดของจำเลยที่ 1 กรณีจึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษายกฟ้องตลอดถึงจำเลยที่ 1 ด้วยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1115/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งข้อความเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงภาษี และความรับผิดร่วมของหุ้นส่วนผู้จัดการในฐานะตัวแทนของนิติบุคคล
ผู้ใดแจ้งข้อความไม่ตรงต่อความจริง โดยผู้นั้นรู้อยู่แล้วว่า ข้อความที่แจ้งนั้นเป็นเท็จ ทั้งนี้ เพื่อประสงค์จะหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรตามลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร คือภาษีอากรฝ่ายสรรพากร ย่อมมีความผิดตามประมวลรัษฎากร มาตรา 37 แล้ว
จำเลยที่ 1 เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด ได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าทุกเดือนภาษี โดยแสดงรายรับที่ต้องคำนวณเสียภาษีต่ำกว่ารายรับที่ได้รับจากการขายสินค้าประจำเดือนแต่ละเดือน จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ได้รู้เห็นในการยื่นแบบแสดงรายการการค้าเพื่อเสียภาษีทุกฉบับดังนี้ ย่อมถือเป็นการกระทำของจำเลยที่ 2 ด้วย และเป็นการร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 แล้ว แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้เป็นผู้ลงนามในแบบแสดงรายการการค้านั้นทุกฉบับก็ตาม
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ข้อ 2 ซึ่งยกเลิกความในมาตรา 91 แห่งประมวลกฎหมายอาญา และบัญญัติความใหม่นั้น มิได้เป็นคุณแก่ผู้กระทำผิด ฉะนั้นเมื่อจำเลยกระทำความผิดก่อนวันใช้บังคับของประกาศดังกล่าว จึงต้องบังคับตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 เดิม
จำเลยที่ 1 เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด ได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าทุกเดือนภาษี โดยแสดงรายรับที่ต้องคำนวณเสียภาษีต่ำกว่ารายรับที่ได้รับจากการขายสินค้าประจำเดือนแต่ละเดือน จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ได้รู้เห็นในการยื่นแบบแสดงรายการการค้าเพื่อเสียภาษีทุกฉบับดังนี้ ย่อมถือเป็นการกระทำของจำเลยที่ 2 ด้วย และเป็นการร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 แล้ว แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้เป็นผู้ลงนามในแบบแสดงรายการการค้านั้นทุกฉบับก็ตาม
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ข้อ 2 ซึ่งยกเลิกความในมาตรา 91 แห่งประมวลกฎหมายอาญา และบัญญัติความใหม่นั้น มิได้เป็นคุณแก่ผู้กระทำผิด ฉะนั้นเมื่อจำเลยกระทำความผิดก่อนวันใช้บังคับของประกาศดังกล่าว จึงต้องบังคับตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 เดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1931/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมของหน่วยงานต่อการกระทำละเมิดของข้าราชการ: การกระทำส่วนตัว
จำเลยที่ 1 รับราชการเป็นบุรุษไปรษณีย์ ได้ขับรถยนต์ของกรมไปรษณีย์ฯ จำเลยที่ 2 ไปเก็บไปรษณียภัณฑ์ตามตู้ไปรษณีย์ตามหน้าที่ และจอดรถไว้ที่ขอบถนน โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานควบคุมการจราจรบอกให้จำเลยที่ 1 ไปจอดรถบนไหล่ถนน เพราะการจราจรคับคั่ง จำเลยที่ 1 ด่าโจทก์แล้วกลับไปขึ้นรถ โจทก์ตามไปยืนเอามือเท้าขอบประตูรถตรงที่นั่งคนขับและชะโงกศีรษะเข้าไปในรถแจ้งข้อหาว่าดูหมิ่นเจ้าพนักงาน จำเลยที่ 1 ขับรถออกไปโดยเร็วและผลักโจทก์ตกจากรถ ทำให้โจทก์ได้รับบาดเจ็บ การที่จำเลยที่ 1ขัดขวางการจับกุมโดยขับรถเคลื่อนออกไปและผลักโจทก์ตกจากรถขนได้รับบาดเจ็บนี้เป็นเรื่องส่วนตัวของจำเลยที่ 1 และเป็นการทำร้ายร่างกายกันโดยเฉพาะมิได้เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 และไม่ได้เป็นการปฏิบัติราชการตามหน้าที่ จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดร่วมใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ด้วย