พบผลลัพธ์ทั้งหมด 235 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 285/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของฟ้องอาญาคดีอาวุธปืน: การระบุข้อกฎหมายรองในคำฟ้อง
กฎกระทรวงฉบับที่ 11(พ.ศ. 2522) เพียงแต่กำหนดประเภทชนิด และขนาดของอาวุธปืนเครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิดที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ได้เท่านั้น หาใช่บทมาตราที่ว่าการกระทำอย่างใดเป็นความผิดอาญาไม่ การที่โจทก์ไม่ได้ระบุกฎกระทรวงมาในคำขอท้ายฟ้องยังถือไม่ได้ว่าเป็นฟ้องที่ขัดต่อ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(6).(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2597/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่า vs. สัญญาจะซื้อจะขาย: การตีความเจตนาและความสมบูรณ์ของสัญญา
ทำสัญญากันว่า 'ถ้าผู้เช่าประสงค์จะซื้อที่ดินผู้ให้เช่ายินยอมจะขายให้ ในราคา 8,000 บาท ถ้าผู้เช่าทอดเวลาซื้อขายไปนาน ผู้ให้เช่ามีสิทธิที่จะเสนอขายในราคาใหม่ได้ตามสภาพหรือสภาวะของการเงินในขณะนั้น' ดังนี้ เป็นข้อตกลงที่ราคาพิพาทยังไม่ยุติแต่เพียง 8,000 บาทอีกทั้งโจทก์(ผู้ให้เช่า) มีสิทธิที่จะขายในราคาใหม่ได้ถ้าการซื้อขายทอดเวลาออกไป จึงเป็นเพียงการให้คำมั่นว่าจะขายที่พิพาทแก่จำเลยเท่านั้นหาใช่สัญญาจะซื้อจะขายไม่ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้แสดงเจตนาสนองรับจะซื้อที่พิพาทตามคำมั่นของโจทก์ จำเลยย่อมไม่อาจถือเอาประโยชน์จากข้อสัญญานี้ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2422/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความไม่สมบูรณ์ของฟ้องคดีชิงทรัพย์เนื่องจากขาดรายละเอียดเจ้าของทรัพย์และตัวบุคคลที่ถูกข่มขู่
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองฐานชิงทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 ประกอบด้วยมาตรา 340 ตรี โดยมิได้บรรยายว่าทรัพย์ที่ถูกประทุษร้ายเป็นของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย ย่อมเป็นฟ้องที่ขาดสาระสำคัญไม่ครบองค์ประกอบแห่งความผิดของกฎหมายดังกล่าว นอกจากนี้ฟ้องโจทก์ไม่ได้กล่าวถึงตัวบุคคลผู้ถูกจำเลยขู่เข็ญ และเป็นเจ้าของทรัพย์ไว้เลยถือได้ว่าฟ้องโจทก์ไม่มีข้อเท็จจริงเกี่ยวกับตัวบุคคลที่เกี่ยวข้องพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีอีกด้วย ฟ้องโจทก์จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2286/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของคำฟ้องอาญา: การระบุตัวผู้เสียหายและรายละเอียดที่จำเป็น
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยรับราชการเป็นพนักงานของโรงพยาบาลมีหน้าที่รับเงินและออกใบเสร็จให้แก่ผู้มารักษา จำเลยใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริต เรียกเก็บเงินจากผู้ป่วย 500 บาท ทั้งที่ค่ารักษาพยาบาลที่แท้จริงมีเพียง 250 บาท โดยบรรยายฟ้องว่าจำเลยได้รับเงินจำนวน 500 บาท จากผู้มีชื่อซึ่งเป็นค่ายาของผู้ป่วย แม้คำฟ้องจะไม่ได้ระบุว่าผู้มีชื่อ หรือผู้ป่วยนั้นเป็นใครมีชื่อว่าอย่างไร มีกี่คน แต่ก็ได้ระบุเล่มและเลขที่ของใบเสร็จรับเงินที่จำเลยออกให้แก่ผู้ป่วยไว้ชัดแจ้ง จำเลยย่อมจะทราบดีว่าจำเลยได้รับเงินจากผู้ป่วยหรือผู้ชำระเงินรายใด เพราะจำเลยเป็นผู้ออกใบเสร็จรับเงินดังกล่าวเอง และในใบเสร็จรับเงินที่จำเลยออกก็มีรายการว่าได้รับเงินจากใครไว้ด้วย คำร้องของโจทก์ได้บรรยายถึงบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องพอสมควรที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว เป็นคำฟ้องที่สมบูรณ์ไม่เคลือบคลุม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2286/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของคำฟ้องอาญา: การระบุตัวบุคคลในฐานะผู้ชำระเงิน
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยรับราชการเป็นพนักงานของโรงพยาบาลมีหน้าที่รับเงินและออกใบเสร็จให้แก่ผู้มารักษา จำเลยใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริต เรียกเก็บเงินจากผู้ป่วย 500 บาททั้งที่ค่ารักษาพยาบาลที่แท้จริงมีเพียง 250 บาท โดยบรรยายฟ้องว่าจำเลยได้รับเงินจำนวน 500 บาทจากผู้มีชื่อซึ่งเป็นค่ายาของผู้ป่วย แม้คำฟ้องจะไม่ได้ระบุว่าผู้มีชื่อ หรือผู้ป่วยนั้นเป็นใครมีชื่อว่าอย่างไร มีกี่คน แต่ก็ได้ระบุเล่มและเลขที่ของใบเสร็จรับเงินที่จำเลยออกให้แก่ผู้ป่วยไว้ชัดแจ้ง จำเลยย่อมจะทราบดีว่าจำเลยได้รับเงินจากผู้ป่วยหรือผู้ชำระเงินรายใด เพราะจำเลยเป็นผู้ออกใบเสร็จรับเงินดังกล่าวเอง และในใบเสร็จรับเงินที่จำเลยออกก็มีรายการว่าได้รับเงินจากใครไว้ด้วย คำร้องของโจทก์ได้บรรยายถึงบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องพอสมควรที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว เป็นคำฟ้องที่สมบูรณ์ไม่เคลือบคลุม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4770/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของคำฟ้องคดีไม้แปรรูปและการห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย3ปีริบของกลางทั้งหมดศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้คืนของกลางบางส่วนแก่จำเลยเป็นการแก้ไขเล็กน้อยศาลอุทธรณ์คงลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน5ปีจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา218 บรรยายฟ้องว่าจำเลยมีไม้แปรรูปไว้ในความครอบครองในเขตควบคุมการแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาตโดยจำเลยได้ทราบประกาศเขตควบคุมการแปรรูปไม้ของทางราชการแล้วดังนี้โจทก์ได้ระบุมาในฟ้องแล้วว่าสถานที่ซึ่งจำเลยมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองอยู่ในเขตควบคุมการแปรรูปไม้แม้โจทก์มิได้แนบประกาศเขตควบคุมการแปรรูปไม้มาพร้อมฟ้องก็เป็นคำฟ้องที่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา158(5)เขตควบคุมมีอาณาบริเวณเพียงใดจำเลยกระทำผิดภายในเขตควบคุมหรือไม่เป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ อำนาจของพนักงานสอบสวนจะมีประการใดย่อมเป็นไปตามกฎหมายและข้อบังคับทั้งหลายของทางราชการที่ระบุถึงอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนนั้นๆไว้ดังนั้นการที่จะฟังว่าพนักงานสอบสวนผู้ใดมีอำนาจในการสอบสวนหรือไม่จึงเป็นปัญหาข้อเท็จจริง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4476/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้จากสัญญาซื้อขายหลักทรัพย์เป็นสัญญากู้ยืมเงิน และความสมบูรณ์ของสัญญา
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกู้เงินโจทก์ไปตามสัญญากู้เงินต่อมาจำเลยได้นำเงินที่ได้จากการขายหุ้น เงินปันผล และเงินสดมาชำระหนี้ให้โจทก์บางส่วนนับถึงวันที่ 11 กันยายน 2523 จำเลยชำระเงินต้นให้โจทก์ 831,333 บาท 67 สตางค์ กับดอกเบี้ยอีก 583,642บาท 99 สตางค์ ซึ่งโจทก์ได้มีหนังสือถึงจำเลยให้ชำระเงินต้นส่วนที่เหลือพร้อมดอกเบี้ยตามเอกสารท้ายฟ้องอันเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องซึ่งได้ระบุยอดเงินต้นที่ค้างตรงตามฟ้อง คำฟ้องของโจทก์จึงแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 พอที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาได้ดีและสามารถต่อสู้คดีได้แล้ว ส่วนข้อที่ว่ายอดเงินที่จำเลยชำระคืนบางส่วนเป็นเงินเท่าใด เป็นเงินอะไร และมีการชำระเงินเมื่อใดนั้น เป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์จะต้องนำสืบต่อไป หาจำต้องบรรยายในคำฟ้องไม่ จึงไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้เงินโจทก์และได้ชำระเงินคืนบางส่วนแล้วจำเลยต้องรับผิดชำระหนี้ที่เหลือให้โจทก์ จำเลยให้การปฏิเสธว่าไม่ได้กู้เงินโจทก์และไม่ได้รับเงินตามฟ้อง ดังนี้การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในคำพิพากษาโดยตั้งประเด็นพิพาทว่าจำเลยกู้เงินโจทก์หรือไม่และจะต้องรับผิดเพียงใดนั้น ย่อมมีความหมายทำนองเดียวกับประเด็นเดิมที่ตั้งไว้ในชั้นพิจารณาที่ว่า จำเลยได้ทำสัญญากู้เงินและรับเงินไปตามฟ้องหรือไม่จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องแต่อย่างใด และไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นหรือขยายประเด็นเดิม
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้เงินโจทก์ การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าสัญญากู้เงินตามฟ้องมีมูลหนี้มาจากการซื้อขายหลักทรัพย์ จึงเป็นการแปลงหนี้ใหม่จากหนี้ซื้อขายหลักทรัพย์มาเป็นหนี้เงินกู้ เป็นการวินิจฉัยถึงที่มาแห่งการทำสัญญากู้เงินระหว่างโจทก์จำเลย จึงไม่ถือเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องแต่อย่างใด
จำเลยได้กู้ยืมเงินโจทก์เพื่อนำไปซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ฯ จำเลยเป็นหนี้โจทก์ 3,500,000 บาทเศษ จำเลยจึงได้ทำสัญญากู้ยืมเงินจากโจทก์ ดังนี้การทำสัญญากู้ยืมเงินระหว่างโจทก์และจำเลยเป็นการแปลงหนี้ใหม่อันชอบด้วยกฎหมายจึงบังคับตามสัญญากู้ยืมเงินได้
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินต้น 2,760,896.67 บาทกับดอกเบี้ยอีก 864,221.48 บาท ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยให้จำเลยชำระเฉพาะเงินต้น อันเป็นหนี้ส่วนใหญ่ที่จำเลยค้างชำระ ดังนี้ที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยชำระค่าฤชาธรรมเนียมโดยกำหนดค่าทนายความเป็นเงิน 10,000 บาทแทนโจทก์ และศาลอุทธรณ์กำหนดค่าทนายความในชั้นอุทธรณ์เป็นเงิน 6,000 บาท จึงเหมาะสมแล้ว
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้เงินโจทก์และได้ชำระเงินคืนบางส่วนแล้วจำเลยต้องรับผิดชำระหนี้ที่เหลือให้โจทก์ จำเลยให้การปฏิเสธว่าไม่ได้กู้เงินโจทก์และไม่ได้รับเงินตามฟ้อง ดังนี้การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในคำพิพากษาโดยตั้งประเด็นพิพาทว่าจำเลยกู้เงินโจทก์หรือไม่และจะต้องรับผิดเพียงใดนั้น ย่อมมีความหมายทำนองเดียวกับประเด็นเดิมที่ตั้งไว้ในชั้นพิจารณาที่ว่า จำเลยได้ทำสัญญากู้เงินและรับเงินไปตามฟ้องหรือไม่จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องแต่อย่างใด และไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นหรือขยายประเด็นเดิม
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้เงินโจทก์ การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าสัญญากู้เงินตามฟ้องมีมูลหนี้มาจากการซื้อขายหลักทรัพย์ จึงเป็นการแปลงหนี้ใหม่จากหนี้ซื้อขายหลักทรัพย์มาเป็นหนี้เงินกู้ เป็นการวินิจฉัยถึงที่มาแห่งการทำสัญญากู้เงินระหว่างโจทก์จำเลย จึงไม่ถือเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องแต่อย่างใด
จำเลยได้กู้ยืมเงินโจทก์เพื่อนำไปซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ฯ จำเลยเป็นหนี้โจทก์ 3,500,000 บาทเศษ จำเลยจึงได้ทำสัญญากู้ยืมเงินจากโจทก์ ดังนี้การทำสัญญากู้ยืมเงินระหว่างโจทก์และจำเลยเป็นการแปลงหนี้ใหม่อันชอบด้วยกฎหมายจึงบังคับตามสัญญากู้ยืมเงินได้
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินต้น 2,760,896.67 บาทกับดอกเบี้ยอีก 864,221.48 บาท ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยให้จำเลยชำระเฉพาะเงินต้น อันเป็นหนี้ส่วนใหญ่ที่จำเลยค้างชำระ ดังนี้ที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยชำระค่าฤชาธรรมเนียมโดยกำหนดค่าทนายความเป็นเงิน 10,000 บาทแทนโจทก์ และศาลอุทธรณ์กำหนดค่าทนายความในชั้นอุทธรณ์เป็นเงิน 6,000 บาท จึงเหมาะสมแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4476/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้จากซื้อขายหลักทรัพย์เป็นหนี้เงินกู้ และความสมบูรณ์ของสัญญา
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกู้เงินโจทก์ไปตามสัญญากู้เงินต่อมาจำเลยได้นำเงินที่ได้จากการขายหุ้นเงินปันผลและเงินสดมาชำระหนี้ให้โจทก์บางส่วนนับถึงวันที่11กันยายน2523จำเลยชำระเงินต้นให้โจทก์831,333บาท67สตางค์กับดอกเบี้ยอีก583,642บาท99สตางค์ซึ่งโจทก์ได้มีหนังสือถึงจำเลยให้ชำระเงินต้นส่วนที่เหลือพร้อมดอกเบี้ยตามเอกสารท้ายฟ้องอันเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องซึ่งได้ระบุยอดเงินต้นที่ค้างตรงตามฟ้องคำฟ้องของโจทก์จึงแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172พอที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาได้ดีและสามารถต่อสู้คดีได้แล้วส่วนข้อที่ว่ายอดเงินที่จำเลยชำระคืนบางส่วนเป็นเงินเท่าใดเป็นเงินอะไรและมีการชำระเงินเมื่อใดนั้นเป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์จะต้องนำสืบต่อไปหาจำต้องบรรยายในคำฟ้องไม่จึงไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้เงินโจทก์และได้ชำระเงินคืนบางส่วนแล้วจำเลยต้องรับผิดชำระหนี้ที่เหลือให้โจทก์จำเลยให้การปฏิเสธว่าไม่ได้กู้เงินโจทก์และไม่ได้รับเงินตามฟ้องดังนี้การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในคำพิพากษาโดยตั้งประเด็นพิพาทว่าจำเลยกู้เงินโจทก์หรือไม่และจะต้องรับผิดเพียงใดนั้นย่อมมีความหมายทำนองเดียวกับประเด็นเดิมที่ตั้งไว้ในชั้นพิจารณาที่ว่าจำเลยได้ทำสัญญากู้เงินและรับเงินไปตามฟ้องหรือไม่จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องแต่อย่างใดและไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นหรือขยายประเด็นเดิม โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้เงินโจทก์การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าสัญญากู้เงินตามฟ้องมีมูลหนี้มาจากการซื้อขายหลักทรัพย์จึงเป็นการแปลงหนี้ใหม่จากหนี้ซื้อขายหลักทรัพย์มาเป็นหนี้เงินกู้เป็นการวินิจฉัยถึงที่มาแห่งการทำสัญญากู้เงินระหว่างโจทก์จำเลยจึงไม่ถือเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องแต่อย่างใด จำเลยได้กู้ยืมเงินโจทก์เพื่อนำไปซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ฯจำเลยเป็นหนี้โจทก์3,500,000บาทเศษจำเลยจึงได้ทำสัญญากู้ยืมเงินจากโจทก์ดังนี้การทำสัญญากู้ยืมเงินระหว่างโจทก์และจำเลยเป็นการแปลงหนี้ใหม่อันชอบด้วยกฎหมายจึงบังคับตามสัญญากู้ยืมเงินได้ โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินต้น2,760,896.67บาทกับดอกเบี้ยอีก864,221.48บาทศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยให้จำเลยชำระเฉพาะเงินต้นอันเป็นหนี้ส่วนใหญ่ที่จำเลยค้างชำระดังนี้ที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยชำระค่าฤชาธรรมเนียมโดยกำหนดค่าทนายความเป็นเงิน10,000บาทแทนโจทก์และศาลอุทธรณ์กำหนดค่าทนายความในชั้นอุทธรณ์เป็นเงิน6,000บาทจึงเหมาะสมแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3467/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของฟ้องอาญาเช็ค: วันที่ปฏิเสธการจ่ายเงินจากเอกสารท้ายฟ้อง
คำฟ้องของโจทก์มิได้กล่าวไว้โดยตรงว่าธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเมื่อวันใด แต่ก็ได้กล่าวไว้แล้วว่าธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามกฎหมายใบคืนเช็คเอกสารท้ายฟ้องซึ่งในเอกสารดังกล่าวมีวัน เดือน ปี ระบุไว้ให้เห็นเป็นการชัดเจนว่า ปฏิเสธการจ่ายเงินเมื่อใด เอกสารท้ายฟ้องนั้นถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องจึงถือว่าคำฟ้องของโจทก์ได้กล่าวถึงวันที่ที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินอันเป็นวันที่การกระทำผิดได้เกิดขึ้นแล้ว เป็นการครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3099/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของฟ้อง: การระบุตัวผู้ว่าจ้างในนามนิติบุคคลเพียงพอแล้ว แม้ไม่ได้ระบุตัวบุคคล
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเป็นนิติบุคคล เมื่อประมาณกลางปี พ.ศ. 2523 จำเลยโดยโรงพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง ว่าจ้างโจทก์เข้าปกหนังสือรวม 10 ครั้ง ซึ่งหมายความถึงว่าทางโรงพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหงว่าจ้างโจทก์ในนามของจำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคล หาจำเป็นต้องบรรยายไม่ว่าตัวบุคคลของโรงพิมพ์ที่ว่าจ้างนี้เป็น ใครส่วนเวลาที่จ้างก็ระบุในฟ้องแล้ว แม้ไม่ได้บรรยายว่าตัวบุคคลผู้ว่าจ้างนั้นเป็นใคร วันเวลาจ้างทั้ง 10 ครั้งตามฟ้องเป็นวันเวลาใดบ้างก็เป็นเพียงรายละเอียดที่จะต้องนำสืบในชั้นพิจารณา ดังนี้ฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับรวมทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาสมบูรณ์ครบถ้วนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 แล้ว