พบผลลัพธ์ทั้งหมด 72 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3995/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดเครื่องหมายการค้า: การใช้เครื่องหมายที่คล้ายกันทำให้สับสน และเป็นเหตุให้ต้องถอนทะเบียน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์และเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองเครื่องหมายมีลักษณะคล้ายกันหลายประการ คือ จำเลยใช้เลขอารบิคเช่นเดียวกัน การวางตำแหน่งเลข 9 วางอยู่ด้านหน้าอักษรโรมัน M และติดกับอักษรโรมัน M และจำเลยใช้อักษรโรมัน M เช่นเดียวกันกับของโจทก์ เครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองเครื่องหมายจึงมีสาระสำคัญหรือลักษณะเด่นเช่นเดียวกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แม้เครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองเครื่องหมายดังกล่าวนอกจากมีคำว่า 9M และมีลวดลายประดิษฐ์ก็ตาม แต่ส่วนแตกต่างดังกล่าวเป็นเพียงรายละเอียดมิใช่ส่วนสาระสำคัญ และแม้สาธารณชนอาจไม่สับสนว่า 9M เป็น 3M เพราะเสียงเรียกขานต่างกัน แต่เครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองเครื่องหมายที่ใช้เลขอารบิค อยู่ด้านหน้า M เหมือนกับของโจทก์ย่อมทำให้สาธารณชนสับสนได้ว่า เครื่องหมายการค้า 9M เป็นเครื่องหมายอีกเครื่องหมายของโจทก์ หรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับโจทก์ในทางใดทางหนึ่ง
โจทก์ใช้โฆษณาและจำหน่ายสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้า 3M อย่างแพร่หลายทั่วโลกจนทำให้สาธารณชนในประเทศไทยรู้จักเป็นอย่างดีและมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับอย่างสูงในหมู่ผู้บริโภค เครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงเป็นเครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไป เครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองเครื่องหมายดังกล่าวจึงเป็นเครื่องหมายที่ต้องห้ามมิให้รับจดทะเบียนตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 8 (10) และเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองเครื่องหมายยังเป็นเครื่องหมายการค้าที่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 13
จำเลยเคยผลิตและเคยจำหน่ายสินค้าโดยใช้เครื่องหมายการค้า 9M แม้กล่องสินค้าของจำเลยไม่ได้พิมพ์ชื่อโจทก์หรืออ้างถึงความเกี่ยวข้องหรือเกี่ยวพันกับโจทก์ แต่การใช้เครื่องหมายการค้า 9M ย่อมทำให้เกิดความสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าได้ โดยผู้พบเห็นเครื่องหมายการค้าดังกล่าวบนกล่องสินค้าของจำเลยอาจเข้าใจไปได้ว่า จำเลยมีความเกี่ยวข้องหรือเกี่ยวพันกับโจทก์ได้ อันถือเป็นละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการตลอดชื่อทางการค้าของโจทก์แล้วย่อมทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายในช่วงที่จำเลยผลิตและจำหน่ายสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าดังกล่าว
โจทก์ใช้โฆษณาและจำหน่ายสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้า 3M อย่างแพร่หลายทั่วโลกจนทำให้สาธารณชนในประเทศไทยรู้จักเป็นอย่างดีและมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับอย่างสูงในหมู่ผู้บริโภค เครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงเป็นเครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไป เครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองเครื่องหมายดังกล่าวจึงเป็นเครื่องหมายที่ต้องห้ามมิให้รับจดทะเบียนตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 8 (10) และเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองเครื่องหมายยังเป็นเครื่องหมายการค้าที่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 13
จำเลยเคยผลิตและเคยจำหน่ายสินค้าโดยใช้เครื่องหมายการค้า 9M แม้กล่องสินค้าของจำเลยไม่ได้พิมพ์ชื่อโจทก์หรืออ้างถึงความเกี่ยวข้องหรือเกี่ยวพันกับโจทก์ แต่การใช้เครื่องหมายการค้า 9M ย่อมทำให้เกิดความสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าได้ โดยผู้พบเห็นเครื่องหมายการค้าดังกล่าวบนกล่องสินค้าของจำเลยอาจเข้าใจไปได้ว่า จำเลยมีความเกี่ยวข้องหรือเกี่ยวพันกับโจทก์ได้ อันถือเป็นละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการตลอดชื่อทางการค้าของโจทก์แล้วย่อมทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายในช่วงที่จำเลยผลิตและจำหน่ายสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9798/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้าปลอม - การคุ้มครองเครื่องหมายการค้าต่างประเทศ - การใช้เครื่องหมายการค้าที่ทำให้สับสน
แม้ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มีบทบัญญัติในมาตรา 110(1) ประกอบมาตรา 108 บัญญัติให้เฉพาะการเสนอจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักรเท่านั้นเป็นความผิดทางอาญา โดยมิได้คุ้มครองสิทธิของเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้นอกราชอาณาจักรที่จะดำเนินคดีอาญาแก่ผู้เสนอจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าดังกล่าวปลอมดังเช่นบทบัญญัติใน ป.อ. มาตรา 275 ประกอบมาตรา 273 ซึ่งออกมาใช้บังคับก่อน พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ให้ความคุ้มครองไว้ กรณีก็ไม่อาจถือได้ว่าบทบัญญัติใน ป.อ. ดังกล่าวขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติใน พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 และเมื่อ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 3 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ยกเลิกเฉพาะ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 และ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2504 เท่านั้น ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 275 ประกอบมาตรา 273 มิได้ถูกยกเลิกด้วย
สินค้าและภาชนะบรรจุสินค้าของกลางมีเครื่องหมายการค้าคำว่า "POSH" ประกอบอยู่ด้วย ส่วนคำอื่นที่ประกอบเพิ่มเติมมีขนาดเล็กจนมองแทบไม่เห็นความแตกต่าง แสดงว่าสาระสำคัญของเครื่องหมายการค้ามีคำว่า "POSH" เช่นเดียวกันกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วม และเครื่องหมายการค้าที่ตัวผลิตภัณฑ์ใช้เครื่องหมายการค้าแตกต่างจากที่จำเลยจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ แม้ป้ายหุ้มห่อผลิตภัณฑ์ใช้เครื่องหมายการค้าที่จำเลยกับพวกร่วมกันจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ แต่ไม่มีฉลากสินค้าแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับตัวผู้ผลิตสินค้าที่จะเป็นองค์ประกอบเพิ่มเติมให้ประชาชนผู้บริโภคหรือผู้ซื้อสินค้าสามารถแยกความแตกต่าง จึงมีโอกาสที่จะทำให้ประชาชนผู้ซื้อสินค้าหลงเชื่อไปได้ว่าสินค้าของกลางเป็นสินค้าของโจทก์ร่วมหรือโจทก์ร่วมมีส่วนเกี่ยวข้องด้วย อันส่อให้เห็นเจตนาไม่สุจริตว่าประสงค์จะใช้หรือแสวงหาประโยชน์จากเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น ถือได้ว่าสินค้าของกลางเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วนอกราชอาณาจักร
สินค้าและภาชนะบรรจุสินค้าของกลางมีเครื่องหมายการค้าคำว่า "POSH" ประกอบอยู่ด้วย ส่วนคำอื่นที่ประกอบเพิ่มเติมมีขนาดเล็กจนมองแทบไม่เห็นความแตกต่าง แสดงว่าสาระสำคัญของเครื่องหมายการค้ามีคำว่า "POSH" เช่นเดียวกันกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วม และเครื่องหมายการค้าที่ตัวผลิตภัณฑ์ใช้เครื่องหมายการค้าแตกต่างจากที่จำเลยจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ แม้ป้ายหุ้มห่อผลิตภัณฑ์ใช้เครื่องหมายการค้าที่จำเลยกับพวกร่วมกันจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ แต่ไม่มีฉลากสินค้าแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับตัวผู้ผลิตสินค้าที่จะเป็นองค์ประกอบเพิ่มเติมให้ประชาชนผู้บริโภคหรือผู้ซื้อสินค้าสามารถแยกความแตกต่าง จึงมีโอกาสที่จะทำให้ประชาชนผู้ซื้อสินค้าหลงเชื่อไปได้ว่าสินค้าของกลางเป็นสินค้าของโจทก์ร่วมหรือโจทก์ร่วมมีส่วนเกี่ยวข้องด้วย อันส่อให้เห็นเจตนาไม่สุจริตว่าประสงค์จะใช้หรือแสวงหาประโยชน์จากเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น ถือได้ว่าสินค้าของกลางเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วนอกราชอาณาจักร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6938/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: การใช้เครื่องหมายที่คล้ายกันจนทำให้เกิดความสับสนแก่ผู้บริโภค
ในการพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าคำว่า "ARON" และเครื่องหมายการค้าตัวอักษร "AR" และคำว่า "ARON" ของจำเลยร่วมทั้งสามเครื่องหมายดังกล่าวคล้ายกับเครื่องหมายการค้าคำว่า "AVON" ของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าหรือไม่นั้น ต้องพิจารณาจากภาพรวมของลักษณะเครื่องหมายการค้าดังกล่าวทั้งหมด ลักษณะเด่นของเครื่องหมายการค้า และสำเนียงเรียกขานเครื่องหมายการค้านั้นว่าเหมือนกันหรือคล้ายกันเพียงใด ตลอดจนต้องพิจารณาว่าสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวเป็นสินค้าจำพวกเดียวกันหรือต่างจำพวกกันที่มีลักษณะอย่างเดียวกันหรือไม่ ปรากฏว่า เครื่องหมายการค้าคำว่า "AVON" ของโจทก์ ได้รับการจดทะเบียนเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2504 ก่อนที่ บ. จะขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "ARON" เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2532 เป็นเวลานานเกือบ 28 ปี และก่อนที่ บ. มาจะขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตัวอักษร "AR" และคำว่า "ARON" เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2535 และวันที่ 17 พฤศจิกายน 2535 เป็นเวลานานถึง 31 ปี 2 เดือนเศษ แม้เครื่องหมายการค้าของจำเลยร่วมคำว่า "ARON" จะเขียนตัวอักษร "A" ติดกับตัวอักษร "R" และตัวอักษร "O" ติดกับตัวอักษร "N" และมีตัวอักษร "R" แตกต่างจากตัวอักษร "V" ในเครื่องหมายการค้าคำว่า "AVON" ของโจทก์ก็ตาม แต่ตัวอักษร "A, O และ N" ในเครื่องหมายการค้าคำว่า "ARON" ของจำเลยร่วมก็อยู่ในตำแหน่งเดียวกับตัวอักษร "A, O และ N" ในเครื่องหมายการค้าคำว่า "AVON" ของโจทก์และตัวอักษร "A, O และ N" ในเครื่องหมายการค้าคำว่า "ARON" ของจำเลยร่วมก็มีลักษณะการเขียนที่มองเห็นได้ว่าเป็นตัวอักษรพิมพ์ใหญ่เช่นเดียวกับตัวอักษร "A, O และ N" ในเครื่องหมายการค้าคำว่า "AVON" ของโจทก์ หากประชาชนผู้ซื้อสินค้าของจำเลยร่วมและสินค้าของโจทก์ไม่สังเกตความแตกต่างของเครื่องหมายการค้าทั้งสองที่มีตัวอักษรแตกต่างกันเพียงตัวอักษรเดียวให้ดีพอ ย่อมเกิดความสับสนและหลงผิดในการซื้อสินค้าไม่เป็นไปตามความประสงค์ของผู้ซื้อได้ แม้สำเนียงเรียกขานเครื่องหมายการค้าคำว่า "ARON" ของจำเลยร่วมจะอ่านว่า "อารอน" หรือ "อาร่อน" ส่วนเครื่องหมายการค้าคำว่า "AVON" ของโจทก์จะอ่านว่า "เอวอน" หรือ "เอว่อน" ก็เป็นสำเนียงเรียกขานที่คล้ายกัน ไม่ถึงกับแตกต่างกันอย่างชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ซื้อที่ไม่คุ้นเคยกับภาษาต่างประเทศโอกาสที่จะเรียกขานเครื่องหมายการค้าคำว่า "ARON" ของจำเลยร่วมคลาดเคลื่อนไปโดยอ่านว่า "เอรอน" หรือ "เอร่อน" ได้ เมื่อนำเครื่องหมายการค้าคำว่า "ARON" ของจำเลยร่วมไปใช้กับสินค้าลิปสติกตามที่จำเลยร่วมขอจดทะเบียนไว้ซึ่งเป็นสินค้าชนิดเดียวกันกับสินค้าลิปสติกของโจทก์ที่ได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "AVON" เพื่อใช้กับสินค้าของโจทก์ดังกล่าวย่อมก่อให้เกิดความสับสนหรือหลงผิดแก่ผู้ซื้อในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าได้ ส่วนเครื่องหมายการค้าตัวอักษร "AR" และคำว่า "ARON" ของจำเลยร่วมแม้จะมีตัวอักษร "AR" ในลักษณะอักษรประดิษฐ์รวมอยู่ในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวด้วย แต่ก็เป็นเพียงส่วนประกอบของเครื่องหมายการค้านั้นไม่ใช่ส่วนที่เป็นสาระสำคัญหรือเป็นลักษณะเด่นของเครื่องหมายการค้า ส่วนที่เป็นสาระสำคัญและเป็นลักษณะเด่นของเครื่องหมายการค้าอยู่ที่คำว่า "ARON" ซึ่งมีตัวอักษร "A, O และ N" อยู่ในตำแหน่งเดียวกับตัวอักษร "A, O และ N" ในเครื่องหมายการค้าคำว่า "AVON" ของโจทก์ ทั้งลักษณะการเขียนคำว่า "ARON" ก็สามารถมองเห็นได้ว่ามีลักษณะเป็นตัวอักษรพิมพ์ใหญ่เช่นเดียวกับเครื่องหมายการค้าคำว่า "AVON" ของโจทก์ การที่ บ. ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าโดยเพิ่มตัวอักษรประดิษฐ์ "AR" เข้าไปด้วยยังไม่เพียงพอที่จะทำให้ผู้ซื้อสินค้าเห็นถึงความแตกต่างระหว่างเครื่องหมายการค้าของจำเลยร่วมกับเครื่องหมายการค้าคำว่า "AVON" ของโจทก์ จนไม่เกิดความสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า เมื่อนำเครื่องหมายการค้า ของจำเลยร่วมไปใช้กับสินค้าครีมทาผิว และไปใช้กับสินค้าแป้งทาหน้า อายแชโดว์ ดินสอเขียนคิ้ว ดินสอเขียนขอบตา โฟมล้างหน้า ครีมล้างหน้า ครีมนวดหน้า ครีมทากันแดด น้ำหอม และน้ำหอมดับกลิ่นที่ บ. ขอจดทะเบียนไว้ซึ่งเป็นสินค้าที่มีลักษณะอย่างเดียวกันกับสินค้าเครื่องสำอางสำหรับแต่งหน้า ครีมทาตัวและทาหน้า แป้ง อายแชโดว์ เครื่องสำอางใช้เขียนขอบปาก เครื่องสำอางใช้เขียนขอบตา เครื่องสำอางใช้ทำความสะอาดใบหน้า และเครื่องสำอางระงับกลิ่นตัวของโจทก์ที่ได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "AVON" เพื่อใช้กับสินค้าของโจทก์ดังกล่าวย่อมก่อให้เกิดความสับสนหรือหลงผิดแก่ผู้ซื้อในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าได้ การที่ บ. ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2532 เพื่อใช้กับสินค้าลิปสติกซึ่งเป็นสินค้าชนิดเดียวกับสินค้าที่โจทก์ได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "AVON" เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2504 อันเป็นการที่ บ. ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวหลังจากที่โจทก์ได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "AVON" เป็นเวลานานถึง 28 ปีเศษ กับการที่ บ. ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า จำนวน 2 คำขอเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2535 และวันที่ 17 พฤศจิกายน 2535 ตามลำดับ เพื่อใช้กับสินค้าครีมทาผิว และเพื่อใช้กับสินค้า แป้งทาหน้า อายแชโดว์ ดินสอเขียนคิ้ว ดินสอเขียนขอบตา โฟมล้างหน้า ครีมล้างหน้า ครีมนวดหน้า ครีมทากันแดด น้ำหอม และน้ำหอมดับกลิ่น ตามลำดับ ซึ่งเป็นสินค้าที่มีลักษณะอย่างเดียวกันกับที่โจทก์ได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "AVON" เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2504 อันเป็นการที่ บ. ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ตามคำขอจำนวน 2 คำขอดังกล่าวหลังจากที่โจทก์ได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "AVON" เป็นเวลานานถึง 31 ปีเศษ นั้น เป็นการที่ บ. ได้อาศัยชื่อเสียงในเครื่องหมายการค้าคำว่า "AVON" ของโจทก์ที่ใช้กับสินค้าประเภทเครื่องสำอางสำหรับสตรีมาเป็นเวลานานจนเป็นที่รู้จักแพร่หลาย แล้วเลียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "AVON" ของโจทก์โดยเปลี่ยนเพียงตัวอักษร "V" ในเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นตัวอักษร "R" ในเครื่องหมายการค้าของจำเลยร่วมและนำไปยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าจำนวน 3 คำขอประกอบกับปรากฏว่าสินค้าของโจทก์และสินค้าของจำเลยร่วมที่เป็นลูกกลิ้งน้ำหอมระงับกลิ่นกายอันเป็นสินค้าเครื่องสำอางระงับกลิ่นตัวที่โจทก์ได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "AVON" ชนิดเดียวกับสินค้าน้ำหอมดับกลิ่นที่จำเลยร่วมได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า รวมจำนวน 7 แบบ จำนวน 7 สี มีลักษณะเป็นขวดพลาสติกขนาดเท่ากัน ฝาปิดขวดเหมือนกัน ขวดมีสีเดียวกัน รอบขวดพลาสติกมีข้อความต่าง ๆ ที่เป็นตัวอักษรอยู่ในตำแหน่งเดียวกัน มีเครื่องหมายการค้าคำว่า "AVON" และคำว่า "ARON" วางอยู่ในตำแหน่งเดียวกันและเป็นตัวอักษรพิมพ์ใหญ่เหมือนกัน ตลอดจนใช้สีของตัวอักษรเหมือนกัน กล่าวคือ ขวดบรรจุสินค้าสีน้ำตาลของโจทก์กับของจำเลยร่วมมีเครื่องหมายการค้าคำว่า "AVON" กับคำว่า "ARON" อยู่บนฝาขวดภายในรูปวงกลมในตำแหน่งเดียวกัน มีคำว่า "25% FREE" กับคำว่า "MORE 25%" ที่ด้านบนของขวดอยู่ในตำแหน่งเดียวกัน ถัดลงมาใช้รูปหัววัวในรูปวงกลมที่กลางขวดเหมือนกันโดยขวดมีคำว่า "AVON WILD COUNTRY" เขียนภายในวงกลมล้อมรอบรูปหัววัว ส่วนขวดสินค้าของจำเลยร่วมมีคำว่า "ARON NEW COUNTRY" เขียนภายในวงกลมล้อมรอบรูปหัววัว และมีข้อความว่า "ROLL-ON ANTI-PERSPIRANT DEODORANT 75 ml" อยู่ใต้รูปหัววัวเหมือนกันและที่ด้านหลังขวดสินค้าของโจทก์มีคำว่า "AVON" พร้อมกับคำบรรยายสินค้าเหมือนกับที่ด้านหลังขวดสินค้าของจำเลยร่วมที่มีคำว่า "ARON" พร้อมกับคำบรรยายสินค้า รอบขวดบรรจุสินค้าสีแดงของโจทก์กับของจำเลยร่วมมีคำว่า "25% FREE" กับคำว่า "MORE 25%" ที่ด้านบน ถัดลงมาเป็นตัวอักษร "a" ในวงกลมเหมือนกัน ใต้อักษร "a" ดังกล่าว ขวดสินค้าของโจทก์มีเครื่องหมายการค้าคำว่า "AVON" ส่วนขวดสินค้าของจำเลยร่วมเป็นเครื่องหมายการค้าคำว่า "ARON" และของโจทก์มีข้อความว่า "ariane ROLL-ON ANTI-PERSPIRANT DEODORANT 75 ml" ส่วนของจำเลยร่วมมีข้อความว่า "aria ROLL-ON ANTI-PERSPIRANT DEODORANT 75 ml" ซึ่งมีข้อความคล้ายคลึงกันมาก และที่ด้านหลังขวดสินค้าของโจทก์มีคำว่า "AVON" พร้อมกับคำบรรยายสินค้าเหมือนกับที่ด้านหลังขวดสินค้าของจำเลยร่วมที่มีคำว่า "ARON" พร้อมกับคำบรรยายสินค้า รอบขวดบรรจุสินค้าสีม่วงของโจทก์กับของจำเลยร่วมมีคำว่า "25% FREE" กับคำว่า "MORE 25%" ที่ด้านบน ถัดลงมาเป็นรูปผีเสื้อกำลังบินคล้ายกัน ใต้รูปผีเสื้อขวดสินค้าของโจทก์มีคำว่า "Butterfly" ส่วนขวดสินค้าของจำเลยร่วมเป็นคำว่า "Beautiful" และถัดลงมาของโจทก์มีข้อความว่า "ROLL-ON ANTI-PERSPIRANT DEODORANT 75 ml" ส่วนของจำเลยร่วมมีข้อความว่า "ROLL-ON ANTI-PERSPIRANT DEODORANT 75 ml" เหมือนกันและที่ด้านหลังขวดสินค้าของโจทก์มีคำว่า "AVON" พร้อมกับคำบรรยายสินค้าเหมือนกับที่ด้านหลังขวดสินค้าของจำเลยร่วมมีคำว่า "ARON" พร้อมกับคำบรรยายสินค้า รอบขวดบรรจุสินค้าสีชมพูของโจทก์กับของจำเลยร่วมมีคำว่า "25% FREE" กับคำว่า "MORE 25%" ที่ด้านบน ถัดลงมาเป็นรูปดอกไม้สีเหลืองคล้ายกัน ด้านข้างดอกไม้สีเหลืองในแนวดิ่งของโจทก์มีคำว่า "Sweet Honesty" ส่วนของจำเลยร่วมใต้รูปดอกไม้สีเหลืองมีคำว่า "ARON Sweet Harmony" และของโจทก์มีข้อความว่า "ROLL-ON ANTI-PERSPIRANT DEODORANT 75 ml" ส่วนของจำเลยร่วมมีข้อความว่า "ROLL-ON ANTI-PERSPIRANT DEODORANT 75 ml" เหมือนกัน และที่ด้านหลังขวดสินค้าของโจทก์มีคำว่า "AVON" พร้อมกับคำบรรยายสินค้าเหมือนกับที่ด้านหลังขวดสินค้าของจำเลยร่วมมีคำว่า "ARON" พร้อมกับคำบรรยายสินค้า รอบขวดบรรจุสินค้าสีฟ้าของโจทก์กับของจำเลยร่วมมีคำว่า "25% FREE" กับคำว่า "MORE 25%" ที่ด้านบน ถัดลงมาเป็นคำว่า "pretty Blue" กับคำว่า "Lovable Blue" คล้ายกัน และถัดลงมาที่ด้านล่างสุดมีข้อความ "ROLL-ON ANTI-PERSPIRANT DEODORANT 75 ml" เหมือนกัน ส่วนที่ด้านหลังขวดสินค้าของโจทก์มีคำว่า "AVON" พร้อมกับคำบรรยายสินค้าเหมือนกับที่ด้านหลังขวดสินค้าของจำเลยร่วมที่มีคำว่า "ARON" พร้อมกับคำบรรยายสินค้า รอบขวดบรรจุสินค้าสีขาวของโจทก์กับของจำเลยร่วมมีคำว่า "25% FREE" กับคำว่า "MORE 25%" ที่ด้านบน ถัดลงมาเป็นคำว่า "AVON" กับคำว่า "ARON" ใต้คำว่า "AVON" มีคำว่า "feelin' fresh" พร้อมรูปใบไม้ในกรอบสี่เหลี่ยมและคำว่า "white" ส่วนใต้คำว่า "ARON" มีคำว่า "feel fresh" พร้อมกับรูปเส้นโค้งสามเส้นคล้ายปลายใบไม้ในกรอบสี่เหลี่ยมและคำว่า "Whitening" คล้ายกัน และถัดลงมาที่ด้านล่างสุดมีข้อความว่า "ROLL-ON ANTI-PERSPIRANT DEODORANT 75 ml" เหมือนกัน ส่วนที่ด้านหลังขวดสินค้าของโจทก์มีคำว่า "AVON" พร้อมกับคำบรรยายสินค้าเหมือนกับที่ด้านหลังขวดสินค้าของจำเลยร่วมที่มีคำว่า "ARON" พร้อมกับคำบรรยายสินค้า และรอบขวดบรรจุสินค้าสีดำของโจทก์และของจำเลยร่วม มีคำว่า "25% FREE" กับคำว่า "MORE 25%" ที่ด้านบน ถัดลงมาของโจทก์เป็นคำว่า "BLACK SUEDE" ในกรอบสี่เหลี่ยม ส่วนของจำเลยร่วมเป็นคำว่า "BLACK SUEZ" ในกรอบสี่เหลี่ยมคล้ายกัน และถัดลงมาที่ด้านล่างสุดมีข้อความว่า "ROLL-ON ANTI-PERSPIRANT DEODORANT 75 ml" เหมือนกัน ส่วนที่ด้านหลังขวดสินค้าของโจทก์มีคำว่า "AVON" พร้อมกับคำบรรยายสินค้าเหมือนกับที่ด้านหลังขวดสินค้าของจำเลยร่วมที่มีคำว่า "ARON" พร้อมกับคำบรรยายสินค้า การที่จำเลยร่วมได้ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "ARON" กับสินค้าลูกกลิ้งน้ำหอมระงับกลิ่นกายดังกล่าว โดยไม่ได้ใช้เครื่องหมายการค้า ตามที่ได้จดทะเบียนไว้กับสินค้าดังกล่าวโดยทำให้ขวดบรรจุสินค้าคล้ายกับขวดบรรจุสินค้าของโจทก์ดังกล่าว ซึ่งหากประชาชนผู้ซื้อไม่สังเกตให้ดีและไม่ได้ใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษย่อมสับสนและหลงผิดซื้อสินค้าไม่ตรงตามความประสงค์ของผู้ซื้อได้ การกระทำดังกล่าวของจำเลยร่วมแสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยร่วมอย่างแจ้งชัดว่าจำเลยร่วมประสงค์ที่จะอาศัยชื่อเสียงในเครื่องหมายการค้าคำว่า "AVON" ของโจทก์โดยเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดังกล่าวเป็นเครื่องหมายการค้าคำว่า "ARON" เพื่อประโยชน์ในการจำหน่ายสินค้าของตน ซึ่งโจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียผู้มีสิทธิขอให้คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยร่วมทั้งสามเครื่องหมายดังกล่าวตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 61 (4) ได้
ตามหนังสือแจ้งคำสั่งคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าระบุว่า โจทก์ได้รับหนังสือดังกล่าวเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2550 ดังนั้น เมื่อโจทก์ฟ้องคดีวันที่ 27 มิถุนายน 2550 จึงเป็นการฟ้องภายใน 90 วัน นับแต่วันที่โจทก์ได้รับหนังสือแจ้งคำสั่งของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 65 วรรคสอง โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีนี้
ตามหนังสือแจ้งคำสั่งคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าระบุว่า โจทก์ได้รับหนังสือดังกล่าวเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2550 ดังนั้น เมื่อโจทก์ฟ้องคดีวันที่ 27 มิถุนายน 2550 จึงเป็นการฟ้องภายใน 90 วัน นับแต่วันที่โจทก์ได้รับหนังสือแจ้งคำสั่งของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 65 วรรคสอง โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22312/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายบริการ: การใช้ชื่อทางการค้า 'Hôtel Plaza Athénée' ไม่เป็นการละเมิดสิทธิ และไม่มีความสับสนในทางการค้า
โจทก์กล่าวอ้างว่าผลของสัญญาซื้อขายหุ้นทำขึ้นโดยคู่สัญญาที่มิได้มีสัญชาติไทยและมิได้ทำขึ้นในประเทศไทยจึงต้องใช้กฎหมายต่างประเทศบังคับ โจทก์มิได้นำสืบว่ากฎหมายต่างประเทศที่เกี่ยวกับคดีนี้มีอยู่อย่างไร ศาลจึงต้องใช้กฎหมายภายในของประเทศไทยบังคับ
เมื่อสัญญาดังกล่าวทำขึ้นระหว่างฟอร์เต้ ฟรานซ์ เอสเอ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของโจทก์และผู้ถือหุ้น ส่วนที่เหลือของบริษัทโจทก์ในฐานะผู้ขาย กรานาด้า กรุ๊ป พีแอลซี ในฐานะผู้รับประกัน และพีเอโฮลดิงส์ (แอล) ฟรานซ์ เอสอา ในฐานะผู้ซื้อ โดยฟอร์เต้ ฟรานซ์ เอสเอ เป็นนิติบุคคลจดทะเบียนในประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศส ส่วนฟอร์เต้ ยูเอสเอ อิงค์. จดทะเบียนในประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นนิติบุคคลจดทะเบียนคนละประเทศกัน ย่อมมีความเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากกัน เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงใดว่าฟอร์เต้ ฟรานซ์ เอสเอ มีอำนาจกระทำการแทนฟอร์เต้ ยูเอสเอ อิงค์. สัญญาซื้อขายหุ้นจึงไม่มีผลผูกพันฟอร์เต้ ยูเอสเอ อิงค์.
เมื่อบริษัท พ. เป็นเจ้าของกิจการโรงแรมที่ใช้ชื่อ เป็นชื่อทางการค้าในประเทศสหรัฐอเมริกาและเป็นเจ้าของเครื่องหมายบริการ และรูปลวดลายประดิษฐ์ จึงมีสิทธิทำสัญญาอนุญาตให้จำเลยใช้สิทธิในเครื่องหมายบริการดังกล่าวในประเทศไทยได้ สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิดังกล่าวทำขึ้นหลังจาก บริษัท พ. ซื้อสินทรัพย์รวมทั้งสิทธิการใช้เครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการในกรุงนิวยอร์ก การทำสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในเครื่องหมายบริการที่จดทะเบียนในต่างประเทศก่อนจดทะเบียนในประเทศไทยเป็นการอนุญาตให้ใช้สิทธิในเครื่องหมายบริการที่ยังไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทยจึงไม่ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 80 ประกอบมาตรา 68 วรรคสอง สัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายบริการจึงมีผลใช้บังคับได้
ระหว่างพิจารณาคดีนี้ คณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีคำสั่งให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายบริการคำว่า ของโจทก์ ไม่ปรากฏว่าโจทก์อุทธรณ์คำสั่งหรือฟ้องเพิกถอนคำสั่งดังกล่าว คำสั่งดังกล่าวจึงเป็นที่สุด และพยานหลักฐานของอื่นโจทก์ไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้ว่า สาธารณชนทั่วไปหรือสาธารณชนในสาขาที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยรู้จักโรงแรมของโจทก์ก่อนที่จำเลยจะยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายบริการหรือใช้ชื่อ ในประเทศไทย ส่วนจำเลยได้นำสืบถึงการโฆษณาในประเทศไทยเกี่ยวกับโรงแรมที่ใช้ชื่อดังกล่าวในกรุงนิวยอร์กของบริษัท พ. ตั้งแต่ปี 2541 เมื่อโรงแรมของจำเลยเปิดให้บริการในประเทศไทยจำเลยโฆษณาประชาสัมพันธ์และโรงแรมของจำเลยในประเทศไทยยังได้รับรางวัลและจัดอันดับโดยหนังสือท่องเที่ยวของต่างประเทศ เห็นว่า จำเลยใช้ชื่อทางการค้าและเครื่องหมายบริการโดยสุจริตโดยอาศัยสิทธิของบริษัท พ. การประกอบกิจการโรงแรมของจำเลยจึงเป็นการใช้สิทธิโดยสุจริตโดยมิได้อาศัยชื่อเสียงของโรงแรมของโจทก์ที่กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส ทั้งโจทก์ก็มิได้ประกอบกิจการโรงแรมของโจทก์ในประเทศสหรัฐอเมริกาและในประเทศไทย จึงไม่ทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของกิจการโรงแรม ชื่อทางการค้าหรือเครื่องหมายบริการดังกล่าว พยานหลักฐานโจทก์จึงรับฟังไม่ได้ว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายบริการในประเทศไทยดีกว่าจำเลย
เมื่อสัญญาดังกล่าวทำขึ้นระหว่างฟอร์เต้ ฟรานซ์ เอสเอ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของโจทก์และผู้ถือหุ้น ส่วนที่เหลือของบริษัทโจทก์ในฐานะผู้ขาย กรานาด้า กรุ๊ป พีแอลซี ในฐานะผู้รับประกัน และพีเอโฮลดิงส์ (แอล) ฟรานซ์ เอสอา ในฐานะผู้ซื้อ โดยฟอร์เต้ ฟรานซ์ เอสเอ เป็นนิติบุคคลจดทะเบียนในประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศส ส่วนฟอร์เต้ ยูเอสเอ อิงค์. จดทะเบียนในประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นนิติบุคคลจดทะเบียนคนละประเทศกัน ย่อมมีความเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากกัน เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงใดว่าฟอร์เต้ ฟรานซ์ เอสเอ มีอำนาจกระทำการแทนฟอร์เต้ ยูเอสเอ อิงค์. สัญญาซื้อขายหุ้นจึงไม่มีผลผูกพันฟอร์เต้ ยูเอสเอ อิงค์.
เมื่อบริษัท พ. เป็นเจ้าของกิจการโรงแรมที่ใช้ชื่อ เป็นชื่อทางการค้าในประเทศสหรัฐอเมริกาและเป็นเจ้าของเครื่องหมายบริการ และรูปลวดลายประดิษฐ์ จึงมีสิทธิทำสัญญาอนุญาตให้จำเลยใช้สิทธิในเครื่องหมายบริการดังกล่าวในประเทศไทยได้ สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิดังกล่าวทำขึ้นหลังจาก บริษัท พ. ซื้อสินทรัพย์รวมทั้งสิทธิการใช้เครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการในกรุงนิวยอร์ก การทำสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในเครื่องหมายบริการที่จดทะเบียนในต่างประเทศก่อนจดทะเบียนในประเทศไทยเป็นการอนุญาตให้ใช้สิทธิในเครื่องหมายบริการที่ยังไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทยจึงไม่ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 80 ประกอบมาตรา 68 วรรคสอง สัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายบริการจึงมีผลใช้บังคับได้
ระหว่างพิจารณาคดีนี้ คณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีคำสั่งให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายบริการคำว่า ของโจทก์ ไม่ปรากฏว่าโจทก์อุทธรณ์คำสั่งหรือฟ้องเพิกถอนคำสั่งดังกล่าว คำสั่งดังกล่าวจึงเป็นที่สุด และพยานหลักฐานของอื่นโจทก์ไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้ว่า สาธารณชนทั่วไปหรือสาธารณชนในสาขาที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยรู้จักโรงแรมของโจทก์ก่อนที่จำเลยจะยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายบริการหรือใช้ชื่อ ในประเทศไทย ส่วนจำเลยได้นำสืบถึงการโฆษณาในประเทศไทยเกี่ยวกับโรงแรมที่ใช้ชื่อดังกล่าวในกรุงนิวยอร์กของบริษัท พ. ตั้งแต่ปี 2541 เมื่อโรงแรมของจำเลยเปิดให้บริการในประเทศไทยจำเลยโฆษณาประชาสัมพันธ์และโรงแรมของจำเลยในประเทศไทยยังได้รับรางวัลและจัดอันดับโดยหนังสือท่องเที่ยวของต่างประเทศ เห็นว่า จำเลยใช้ชื่อทางการค้าและเครื่องหมายบริการโดยสุจริตโดยอาศัยสิทธิของบริษัท พ. การประกอบกิจการโรงแรมของจำเลยจึงเป็นการใช้สิทธิโดยสุจริตโดยมิได้อาศัยชื่อเสียงของโรงแรมของโจทก์ที่กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส ทั้งโจทก์ก็มิได้ประกอบกิจการโรงแรมของโจทก์ในประเทศสหรัฐอเมริกาและในประเทศไทย จึงไม่ทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของกิจการโรงแรม ชื่อทางการค้าหรือเครื่องหมายบริการดังกล่าว พยานหลักฐานโจทก์จึงรับฟังไม่ได้ว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายบริการในประเทศไทยดีกว่าจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4861/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ชื่อทางการค้าและเครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกันในธุรกิจที่แตกต่างกัน ไม่ถือเป็นการละเมิด
คำว่า "เทวารัณย์" เป็นคำที่มีความหมายตามพจนานุกรมว่าสวนสวรรค์ จึงเป็นคำที่มีอยู่แล้วและใช้กันได้เป็นการทั่วไป ดังนี้ย่อมไม่มีเหตุอันควรที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งจะถือสิทธิในการใช้คำนี้แต่ผู้เดียวโดยเด็ดขาด บุคคลอื่นย่อมยังสามารถใช้คำคำนี้ได้ เพียงแต่ต้องกระทำโดยสุจริตโดยไม่ทำให้เกิดความสับสนหลงผิดหรือเกิดความเสียหายแก่ผู้ที่ได้ใช้คำคำนี้เป็นเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการหรือชื่อทางการค้ามาก่อน
ก่อนที่จำเลยจะใช้ชื่อทางการค้าคำว่า "บ้านเทวารัณย์" และ "Baan Dhewaran" กับโครงการที่ดินและบ้านจัดสรรของจำเลย ในเดือนมกราคม 2547 นั้น แม้โจทก์จะได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการโดยใช้คำว่า "เทวารัณย์" และ "DEVARANA" แต่ก็เป็นการจดทะเบียนไว้สำหรับบริการประเภทอื่นคนละประเภทกับกิจการของจำเลย ซึ่งโจทก์ย่อมมีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการใช้เครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการสำหรับสินค้าและบริการที่จดทะเบียนไว้นั้นเท่านั้น ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 44 และมาตรา 80 ประกอบมาตรา 44 จึงยังไม่มีสิทธิหวงกันไม่ให้จำเลยใช้คำว่า "เทวารัณย์" และ "Dhewaran" ในกิจการจัดสรรที่ดินและบ้านของจำเลยได้
โจทก์ใช้คำ "เทวารัณย์" และ "DEVARANA" ประกอบกับคำว่า "สปา" และ "SPA" ซึ่งช่วยสื่อความหมายถึงกิจการให้บริการด้านสุขภาพโดยวิธีธรรมชาติอันเป็นกิจการหลักของโจทก์ที่ดำเนินการอยู่ ส่วนจำเลยใช้คำว่า "บ้าน" และ "Baan" ประกอบกับคำว่า "เทวารัณย์" และ "Dhewaran" ซึ่งก็สื่อความหมายถึงการจัดสรรที่ดินและบ้านของจำเลยที่เป็นกิจการคนละประเภทกับโจทก์ จึงไม่มีเหตุผลที่ประชาชนที่สนใจใช้บริการของโจทก์หรือบริการของจำเลยจะสับสนหลงผิดว่ากิจการของจำเลยเป็นกิจการของโจทก์หรือเกี่ยวข้องกับโจทก์แต่อย่างใด
ตามหนังสือรับรองนิติบุคคลของโจทก์ บริษัทโจทก์มีทุนจดทะเบียน 8,000,000 บาท ส่วนตามหนังสือรับรองนิติบุคคลของจำเลย จำเลยมีทุนจดทะเบียนมากถึง 90,000,000 บาท ลักษณะกิจการของจำเลยที่ปรากฏในเอกสารการโฆษณาที่จัดสรรที่ดินและบ้านขายในราคาสูงมาก แสดงให้เห็นได้ว่าเป็นกิจการที่ต้องลงทุนสูงและเป็นกิจการขนาดใหญ่ ขณะที่กิจการของโจทก์กลับไม่ปรากฏพยานหลักฐานให้เห็นว่าเป็นกิจการขนาดใหญ่ดังเช่นกิจการของจำเลย ย่อมไม่มีเหตุผลให้น่าเชื่อว่า จำเลยประกอบกิจการที่ใช้ชื่อโครงการหมู่บ้านของจำเลยโดยมุ่งแสวงหาประโยชน์จากชื่อเสียงโจทก์ ไม่ว่าจะเป็นชื่อเสียงที่มีอยู่ในชื่อทางการค้า หรือเครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการดังที่โจทก์กล่าวอ้าง การที่จำเลยใช้ชื่อโครงการหมู่บ้านจัดสรรดังกล่าวย่อมไม่เป็นการละเมิดเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการของโจทก์และไม่เป็นการทำให้เสียหายต่อการใช้ชื่อทางการค้าของโจทก์
เมื่อการใช้คำว่า "เทวารัณย์ สปา" และ "DEVARANA SPA" ของโจทก์กับการใช้คำว่า "บ้านเทวารัณย์" และ "Baan Dhewaran" ของจำเลยไม่ว่าจะใช้เป็นชื่อทางการค้าหรือเครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการในกิจการค้าของโจทก์และจำเลยแตกต่างกันและลักษณะคำที่ใช้ประกอบกันเป็นคำรวมดังกล่าวของแต่ละฝ่ายก็แตกต่างกัน จึงเชื่อได้ว่าการใช้ชื่อทางการค้าหรือเครื่องหมายบริการของแต่ละฝ่ายไม่ทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของกิจการของผู้ให้บริการแต่ละฝ่าย ก็ย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยมีสิทธิในอันที่จะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการที่โจทก์ได้จดทะเบียนไว้ดีกว่าโจทก์ จำเลยจึงไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการของโจทก์ ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 80 ประกอบมาตรา 67
ก่อนที่จำเลยจะใช้ชื่อทางการค้าคำว่า "บ้านเทวารัณย์" และ "Baan Dhewaran" กับโครงการที่ดินและบ้านจัดสรรของจำเลย ในเดือนมกราคม 2547 นั้น แม้โจทก์จะได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการโดยใช้คำว่า "เทวารัณย์" และ "DEVARANA" แต่ก็เป็นการจดทะเบียนไว้สำหรับบริการประเภทอื่นคนละประเภทกับกิจการของจำเลย ซึ่งโจทก์ย่อมมีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการใช้เครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการสำหรับสินค้าและบริการที่จดทะเบียนไว้นั้นเท่านั้น ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 44 และมาตรา 80 ประกอบมาตรา 44 จึงยังไม่มีสิทธิหวงกันไม่ให้จำเลยใช้คำว่า "เทวารัณย์" และ "Dhewaran" ในกิจการจัดสรรที่ดินและบ้านของจำเลยได้
โจทก์ใช้คำ "เทวารัณย์" และ "DEVARANA" ประกอบกับคำว่า "สปา" และ "SPA" ซึ่งช่วยสื่อความหมายถึงกิจการให้บริการด้านสุขภาพโดยวิธีธรรมชาติอันเป็นกิจการหลักของโจทก์ที่ดำเนินการอยู่ ส่วนจำเลยใช้คำว่า "บ้าน" และ "Baan" ประกอบกับคำว่า "เทวารัณย์" และ "Dhewaran" ซึ่งก็สื่อความหมายถึงการจัดสรรที่ดินและบ้านของจำเลยที่เป็นกิจการคนละประเภทกับโจทก์ จึงไม่มีเหตุผลที่ประชาชนที่สนใจใช้บริการของโจทก์หรือบริการของจำเลยจะสับสนหลงผิดว่ากิจการของจำเลยเป็นกิจการของโจทก์หรือเกี่ยวข้องกับโจทก์แต่อย่างใด
ตามหนังสือรับรองนิติบุคคลของโจทก์ บริษัทโจทก์มีทุนจดทะเบียน 8,000,000 บาท ส่วนตามหนังสือรับรองนิติบุคคลของจำเลย จำเลยมีทุนจดทะเบียนมากถึง 90,000,000 บาท ลักษณะกิจการของจำเลยที่ปรากฏในเอกสารการโฆษณาที่จัดสรรที่ดินและบ้านขายในราคาสูงมาก แสดงให้เห็นได้ว่าเป็นกิจการที่ต้องลงทุนสูงและเป็นกิจการขนาดใหญ่ ขณะที่กิจการของโจทก์กลับไม่ปรากฏพยานหลักฐานให้เห็นว่าเป็นกิจการขนาดใหญ่ดังเช่นกิจการของจำเลย ย่อมไม่มีเหตุผลให้น่าเชื่อว่า จำเลยประกอบกิจการที่ใช้ชื่อโครงการหมู่บ้านของจำเลยโดยมุ่งแสวงหาประโยชน์จากชื่อเสียงโจทก์ ไม่ว่าจะเป็นชื่อเสียงที่มีอยู่ในชื่อทางการค้า หรือเครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการดังที่โจทก์กล่าวอ้าง การที่จำเลยใช้ชื่อโครงการหมู่บ้านจัดสรรดังกล่าวย่อมไม่เป็นการละเมิดเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการของโจทก์และไม่เป็นการทำให้เสียหายต่อการใช้ชื่อทางการค้าของโจทก์
เมื่อการใช้คำว่า "เทวารัณย์ สปา" และ "DEVARANA SPA" ของโจทก์กับการใช้คำว่า "บ้านเทวารัณย์" และ "Baan Dhewaran" ของจำเลยไม่ว่าจะใช้เป็นชื่อทางการค้าหรือเครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการในกิจการค้าของโจทก์และจำเลยแตกต่างกันและลักษณะคำที่ใช้ประกอบกันเป็นคำรวมดังกล่าวของแต่ละฝ่ายก็แตกต่างกัน จึงเชื่อได้ว่าการใช้ชื่อทางการค้าหรือเครื่องหมายบริการของแต่ละฝ่ายไม่ทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของกิจการของผู้ให้บริการแต่ละฝ่าย ก็ย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยมีสิทธิในอันที่จะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการที่โจทก์ได้จดทะเบียนไว้ดีกว่าโจทก์ จำเลยจึงไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการของโจทก์ ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 80 ประกอบมาตรา 67
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2504/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้า ต้องพิจารณาองค์ประกอบทุกด้านและสินค้าที่เกี่ยวข้อง
การพิจารณาเครื่องหมายการค้าว่าเหมือนหรือคล้ายกันหรือไม่ ต้องพิจารณาจากเครื่องหมายนั้นทั้งเครื่องหมาย มิใช่พิจารณาเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่ง และต้องพิจารณาเสียงเรียกขานเครื่องหมายดังกล่าวตลอดจนจำพวกและรายการสินค้าที่ขอจดทะเบียนโดยคำนึงถึงกลุ่มผู้บริโภคสินค้านั้นๆ ว่าสามารถแยกแยะเจ้าของสินค้าหรือแสดงความเชื่อมโยงระหว่างสินค้ากับเจ้าของสินค้านั้นได้หรือไม่
เครื่องหมายสินค้าของโจทก์เป็นอักษรโรมันคำว่า MAGNUM ส่วนเครื่องหมายการค้าของบริษัท อ. ซึ่งได้จดทะเบียนไว้แล้วเป็นอักษรไทยคำว่า แมกนั่มแม้เสียงเรียกขานเครื่องหมายการค้าทั้งสองเหมือนหรือคล้ายกันมากและโจทก์กับบริษัท อ. ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของตนเพื่อใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกันแต่รายการสินค้าที่ขอจดทะเบียนนั้นแตกต่างกัน โดยของโจทก์เป็นไอศกรีมหวานเย็นขนมแช่แข็งและสิ่งที่ใช้ผสมในการทำขนมดังกล่าว ส่วนของบริษัท อ. เป็นชา กาแฟซึ่งลักษณะของการวางจำหน่ายสินค้าดังกล่าวในร้านค้าโดยทั่วไปไม่ได้วางใกล้ชิดกันกลุ่มผู้บริโภคสินค้าของโจทก์และบริษัท อ. ไม่น่าจะเกิดความสับสนได้ เครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงไม่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบริษัท อ. จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า ไม่มีลักษณะต้องห้ามมิให้รับจดทะเบียน
เครื่องหมายสินค้าของโจทก์เป็นอักษรโรมันคำว่า MAGNUM ส่วนเครื่องหมายการค้าของบริษัท อ. ซึ่งได้จดทะเบียนไว้แล้วเป็นอักษรไทยคำว่า แมกนั่มแม้เสียงเรียกขานเครื่องหมายการค้าทั้งสองเหมือนหรือคล้ายกันมากและโจทก์กับบริษัท อ. ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของตนเพื่อใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกันแต่รายการสินค้าที่ขอจดทะเบียนนั้นแตกต่างกัน โดยของโจทก์เป็นไอศกรีมหวานเย็นขนมแช่แข็งและสิ่งที่ใช้ผสมในการทำขนมดังกล่าว ส่วนของบริษัท อ. เป็นชา กาแฟซึ่งลักษณะของการวางจำหน่ายสินค้าดังกล่าวในร้านค้าโดยทั่วไปไม่ได้วางใกล้ชิดกันกลุ่มผู้บริโภคสินค้าของโจทก์และบริษัท อ. ไม่น่าจะเกิดความสับสนได้ เครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงไม่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบริษัท อ. จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า ไม่มีลักษณะต้องห้ามมิให้รับจดทะเบียน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2504/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้า ต้องพิจารณาทั้งรูปลักษณ์ เสียงเรียกขาน และประเภทสินค้า เพื่อประเมินความสับสนของผู้บริโภค
ในการพิจารณาเปรียบเทียบเครื่องหมายการค้าว่าเหมือนหรือคล้ายกันและทำให้สาธารณชนหลงผิดหรือไม่ ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 6 (3) และมาตรา 13 ศาลจะต้องพิจารณาจากเครื่องหมายการค้าทั้งเครื่องหมาย มิได้พิจารณาเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งเท่านั้น และยังต้องพิจารณาในส่วนของเสียงเรียกขาน ตลอดจนจำพวกและรายการสินค้าที่ขอจดทะเบียนด้วย เพราะศาลต้องคำนึงถึงกลุ่มผู้บริโภคสินค้านั้น ๆ เป็นสำคัญว่า เครื่องหมายการค้าดังกล่าวจะช่วยให้กลุ่มผู้บริโภคสามารถแยกแยะเจ้าของสินค้า หรือแสดงความเชื่อมโยงระหว่างสินค้ากับเจ้าของสินค้านั้นได้หรือไม่
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นอักษรโรมันคำว่า MAGNUM ส่วนของบริษัท อ. เป็นอักษรไทยคำว่า แมกนั่ม จึงไม่เหมือนหรือคล้ายกันในเรื่องรูปลักษณะของเครื่องหมายการค้าแม้เสียงเรียกขานเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับของบริษัท อ. มีเสียงเรียกขานที่เหมือนหรือคล้ายกันมาก เพราะเครื่องหมายการค้าคำว่า แมกนั่ม ของบริษัท อ. เป็นอักษรไทยที่สะกดเลียนเสียงภาษาอังกฤษคำว่า MAGNUM แต่สินค้าของโจทก์และบริษัท อ. เป็นรายการสินค้าที่แตกต่างกัน ซึ่งลักษณะของการวางจำหน่ายในร้านค้าโดยทั่วไปน่าจะไม่ได้วางใกล้ชิดกันหรือบนชั้นวางสินค้าเดียวกัน ดังนั้น กลุ่มผู้บริโภคสินค้าของโจทก์กับของบริษัท อ. แม้จะเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันบ้าง แต่ก็ไม่น่าจะเกิดความสับสนได้
สินค้าส่วนใหญ่ของบริษัท อ. ภายใต้เครื่องหมายการค้าที่เกี่ยวกับคำว่า MAGNUM เป็นสินค้าประเภทเครื่องดื่มบำรุงกำลัง เมื่อไม่ปรากฏว่าเครื่องหมายการค้าของบริษัท อ. เป็นเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไป ย่อมจะไม่ได้รับความคุ้มครองในสินค้าต่างจำพวกที่ขอจดทะเบียนไว้ และปรากฏต่อไปว่า บริษัท อ. ไม่เคยนำสินค้าประเภทชา หรือกาแฟออกจำหน่ายภายใต้เครื่องหมายการค้านี้ ความสับสนในหมู่ผู้บริโภคจึงไม่มี ประกอบกับโจทก์ได้ใช้คำว่า MAGNUM เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้ากับสินค้าไอศกรีมของตนในประเทศไทยมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว มิได้ประสงค์ที่จะใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า MAGNUM เพื่อแอบอิงหรือแสวงหาประโยชน์จากชื่อเสียงเกียรติคุณในเครื่องหมายการค้าของบริษัท อ.
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นอักษรโรมันคำว่า MAGNUM ส่วนของบริษัท อ. เป็นอักษรไทยคำว่า แมกนั่ม จึงไม่เหมือนหรือคล้ายกันในเรื่องรูปลักษณะของเครื่องหมายการค้าแม้เสียงเรียกขานเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับของบริษัท อ. มีเสียงเรียกขานที่เหมือนหรือคล้ายกันมาก เพราะเครื่องหมายการค้าคำว่า แมกนั่ม ของบริษัท อ. เป็นอักษรไทยที่สะกดเลียนเสียงภาษาอังกฤษคำว่า MAGNUM แต่สินค้าของโจทก์และบริษัท อ. เป็นรายการสินค้าที่แตกต่างกัน ซึ่งลักษณะของการวางจำหน่ายในร้านค้าโดยทั่วไปน่าจะไม่ได้วางใกล้ชิดกันหรือบนชั้นวางสินค้าเดียวกัน ดังนั้น กลุ่มผู้บริโภคสินค้าของโจทก์กับของบริษัท อ. แม้จะเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันบ้าง แต่ก็ไม่น่าจะเกิดความสับสนได้
สินค้าส่วนใหญ่ของบริษัท อ. ภายใต้เครื่องหมายการค้าที่เกี่ยวกับคำว่า MAGNUM เป็นสินค้าประเภทเครื่องดื่มบำรุงกำลัง เมื่อไม่ปรากฏว่าเครื่องหมายการค้าของบริษัท อ. เป็นเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไป ย่อมจะไม่ได้รับความคุ้มครองในสินค้าต่างจำพวกที่ขอจดทะเบียนไว้ และปรากฏต่อไปว่า บริษัท อ. ไม่เคยนำสินค้าประเภทชา หรือกาแฟออกจำหน่ายภายใต้เครื่องหมายการค้านี้ ความสับสนในหมู่ผู้บริโภคจึงไม่มี ประกอบกับโจทก์ได้ใช้คำว่า MAGNUM เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้ากับสินค้าไอศกรีมของตนในประเทศไทยมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว มิได้ประสงค์ที่จะใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า MAGNUM เพื่อแอบอิงหรือแสวงหาประโยชน์จากชื่อเสียงเกียรติคุณในเครื่องหมายการค้าของบริษัท อ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11315/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ชื่อทางการค้าที่สอดคล้องกับชื่อที่จดทะเบียนไว้แล้วของผู้อื่น และการละเมิดสิทธิในชื่อทางการค้า
จำเลยนำคำว่า "โต๊ะกัง" ซึ่งเป็นชื่อนิติบุคคลโจทก์ที่ 1 และเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทั้งสองไปจดทะเบียนเป็นส่วนหนึ่งของชื่อนิติบุคคลจำเลยตั้งแต่วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2535 และยังคงใช้ชื่อดังกล่าวต่อเนื่องมาจนถึงวันฟ้อง อันเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ทั้งสอง การกระทำของจำเลยจึงเป็นการละเมิดต่อเนื่องกันฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ เมื่อโจทก์ทั้งสองใช้คำว่า "โต๊ะกัง" และ "ตั้งโต๊ะกัง" ซึ่งเป็นชื่อปู่โจทก์ที่ 2 เป็นชื่อนิติบุคคลและเครื่องหมายการค้ากับการค้าทองมานานกว่า 50 ปี จนมีชื่อเสียงก่อนที่จะจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำเลย โจทก์ที่ 1 แม้เป็นนิติบุคคลย่อมมีสิทธิในการใช้นามว่า "โต๊ะกัง" และ "ตั้งโต๊ะกัง" ตาม ป.พ.พ. มาตรา 67 และมาตรา 18 การที่จำเลยประกอบกิจการค้าทองโดยใช้ชื่อว่า "บริษัทห้างค้าทองโต๊ะกังเยาวราช ดิ โอล์ด สยาม จำกัด" ซึ่งมีคำว่า "โต๊ะกัง" เป็นส่วนสาระสำคัญของชื่อบริษัทจำเลย ย่อมทำให้เกิดความสับสนหลงผิดว่ากิจการค้าของจำเลยเกี่ยวข้องกับการค้าทองของโจทก์ทั้งสอง อันทำให้โจทก์ทั้งสองต้องเสื่อมเสียประโยชน์แม้ว่าชื่อนิติบุคคลจำเลยจะประกอบด้วยคำอื่นนอกเหนือจากคำว่า "โต๊ะกัง" และโจทก์ที่ 1 กับจำเลยจะเป็นนิติบุคคลคนละประเภทก็ตาม ก็ไม่ใช่ข้อสาระสำคัญที่จะทำให้จำเลยมีสิทธิใช้คำว่า "โต๊ะกัง" เป็นส่วนสาระสำคัญของชื่อบริษัทจำเลย และการที่นายทะเบียนของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครยินยอมจดทะเบียนตั้งบริษัทจำเลยเป็นนิติบุคคลโดยใช้ชื่อดังกล่าว ก็เป็นการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่และความเห็นของนายทะเบียน แต่ไม่ได้หมายความว่าการดำเนินการของนายทะเบียนดังกล่าวจะก่อให้เกิดสิทธิแก่จำเลยที่จะใช้ชื่อบริษัทจำเลยเสมอไป หากการใช้ชื่อบริษัทจำเลยก่อให้เกิดปัญหาข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิของบุคคลและนิติบุคคลอื่นที่จะใช้นามอันชอบที่จะใช้ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 18 และ 67 และมีการฟ้องร้องต่อศาลเพื่อขอความคุ้มครองแล้ว ก็เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาตามบทบัญญัติ ป.พ.พ. โจทก์ทั้งสองย่อมมีสิทธิเรียกให้จำเลยระงับความเสียหายและร้องขอต่อศาลให้สั่งห้ามจำเลยกระทำการดังกล่าวได้ โดยมีอำนาจฟ้องห้ามมิให้จำเลยใช้ชื่อที่มีคำว่า "โต๊ะกัง" รวมอยู่ด้วย และการที่จำเลยนำคำว่า "โต๊ะกัง" ซึ่งเป็นชื่อนิติบุคคลห้างโจทก์ที่ 1 มาใช้เป็นส่วนหนึ่งของชื่อบริษัทจำเลยโดยมิได้รับอำนาจให้ใช้ได้จนเป็นเหตุให้เสื่อมประโยชน์ของโจทก์ทั้งสอง ย่อมเป็นการละเมิดต่อโจทก์ทั้งสองตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 ประกอบมาตรา 18 จำเลยจึงต้องใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5202/2552 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดลิขสิทธิ์และเครื่องหมายการค้า การเลียนแบบบรรจุภัณฑ์และการสร้างความสับสนแก่ผู้บริโภค
งานที่จะได้รับความคุ้มครองในลักษณะของงานศิลปกรรม แม้กฎหมายจะไม่ได้มุ่งประสงค์ให้งานนั้นต้องมีคุณค่าทางศิลปะ แต่ก็ต้องเป็นงานที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นด้วยตนเอง (Originality) ในลักษณะที่ควรจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย หาใช่เป็นเพียงงาน (Work) ซึ่งทำขึ้นโดยทั่วไปเท่านั้น
ภาพกราฟฟิครูปประกายดาว (Starburst) ของโจทก์ทั้งสอง แม้นาย ม. จะเป็นผู้สร้างขึ้นด้วยตนเอง โดยอ้างว่าสร้างสรรค์จากมโนภาพการระเบิดของดาวหางพุ่งชนกับวัตถุที่โคจรอยู่ในระบบบจักรวาลแต่พยานหลักฐานที่จำเลยทั้งสองนำสืบ จะเห็นได้ว่าสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการทำความสะอาดต่างก็ใช้รูปประกายดาวเป็นภาพประกอบเช่นกันซึ่งน่าจะเป็นการสื่อให้เห็นถึงคุณสมบัติในการทำความสะอาดของสินค้านั่นเอง แนวคิดหรือมโนภาพที่นาย ม. กล่าวอ้างจึงเป็นแนวคิดที่ใช้กันอยู่สำหรับสินค้าประเภทนี้นอกจากนี้ภาพกราฟฟิครูปประกายดาวของโจทก์ทั้งสอง แม้จะมีความแตกต่างจากรูปประกายดาวตามที่จำเลยทั้งสองนำสืบมา แต่ความแตกต่างดังกล่าวยังเป็นเพียงส่วนเล็กน้อยและไม่เป็นสาระสำคัญถึงขนาดที่จะเป็นงานสร้างสรรค์อันควรได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย
ส่วนภาพกราฟฟิคบลูเพาเวอร์แม้จะเป็นรูปทรงกลมอันเป็นรูปทางเรขาคณิตทั่วไปและภาพวาดรูปมือมีลักษณะของการจัดวางมือสองข้างที่จับอยู่บนเสื้อ ก็เป็นงานสร้างสรรค์รูปทางที่ประกอบด้วยเส้นและสี โดยไม่ปรากฏว่าได้ลอดเลียนหรือดัดแปลงมาจากงานที่มีอยู่เดิม จึงแสดงให้เห็นถึงความเป็นงานสร้างสรรค์ที่สร้างขึ้นด้วยตนเองงานดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นงานศิลปกรรมลักษณะงานจิตรกรรม อันได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์แล้ว แม้ต่อมามีการนำงานนี้ไปใช้ในทางการค้า ก็ไม่เป็นเหตุให้งานดังกล่าวขาดคุณสมบัติที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย
ส่วนข้อความที่ว่า สูตรมาตรฐาน สำหรับซักมือ เป็นเพียงคำสามัญทั่วไปที่ระบุถึงคุณสมบัติของสินค้าผลซักฟอก ทั้งลักษณะที่ใช้ก็มุ่งเน้นสื่อให้เห็นถึงคุณสมบัติของสินค้ามากกว่าที่จะสร้างคำบรรยายดังกล่าวในแง่งานศิลปกรรมลักษณะงานจิตรกรรมในตัวเอง จึงไม่อาจได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย
ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ ฯ มาตรา 4 บัญญัติเกี่ยวกับงานศิลปประยุกต์ไว้ โดยวัตถุประสงค์ของการให้ความคุ้มครองงานศิลปประยุกต์ คือการนำงานศิลปกรรมลักษณะต่าง ๆ มาใช้ในลักษณะที่เกิดประโยชน์อย่างอื่นนอกเหนือจากการชื่นชมในคุณค่าของตัวงานดังกล่าว เมื่อรับฟังได้ว่า ภาพกราฟฟิคบลูเพาเวอร์กับภาพวาดรูปมือเป็นงานศิลปกรรมลักษณะงานจิตรกรรม และเมื่อภาพดังกล่าวถูกนำไปใช้ประกอบกันบนซองบรรจุภัณฑ์เพื่อประกอบเครื่องหมายการค้า อันเป็นการนำเอางานศิลปกรรมไปใช้เพื่อประโยชน์ทางการค้า การออกแบบซองบรรจุภัณฑ์ดังกล่าวจึงเป็นงานศิลปประยุกต์
ข้อเท็จจริงปรากฏว่า สินค้าของโจทก์ทั้งสองอยู่ในกลุ่มที่มีคุณภาพและราคาสูง ส่วนของจำเลยทั้งสองอยู่ในกลุ่มที่มีคุณภาพและราคาต่ำกว่า กลุ่มผู้บริโภคจึงแตกต่างกัน และเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 1 กับของจำเลยที่ 1 แตกต่างกันทั้งในรูปลักษณะและเสียงเรียกขานอย่างชัดเจนแล้ว โอกาสที่สาธารณชนจะสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าอันจะเป็นการลวงขายสินค้าจึงเป็นไปได้น้อย คดีจึงไม่อาจรับฟังว่า จำเลยทั้งสองเจตนาเอารูป รอยประดิษฐ์ลวดลายและข้อความใด ๆ ในการประกอบการค้าของโจทก์ที่ 2 มาใช้ หรือทำให้ปรากฏในสินค้าบรรจุภัณฑ์ของจำเลยทั้งสองเพื่อเป็นการลวงขายสินค้าว่าสินค้าของจำเลยทั้งสองเป็นสินค้าของโจทก์ทั้งสอง
ภาพกราฟฟิครูปประกายดาว (Starburst) ของโจทก์ทั้งสอง แม้นาย ม. จะเป็นผู้สร้างขึ้นด้วยตนเอง โดยอ้างว่าสร้างสรรค์จากมโนภาพการระเบิดของดาวหางพุ่งชนกับวัตถุที่โคจรอยู่ในระบบบจักรวาลแต่พยานหลักฐานที่จำเลยทั้งสองนำสืบ จะเห็นได้ว่าสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการทำความสะอาดต่างก็ใช้รูปประกายดาวเป็นภาพประกอบเช่นกันซึ่งน่าจะเป็นการสื่อให้เห็นถึงคุณสมบัติในการทำความสะอาดของสินค้านั่นเอง แนวคิดหรือมโนภาพที่นาย ม. กล่าวอ้างจึงเป็นแนวคิดที่ใช้กันอยู่สำหรับสินค้าประเภทนี้นอกจากนี้ภาพกราฟฟิครูปประกายดาวของโจทก์ทั้งสอง แม้จะมีความแตกต่างจากรูปประกายดาวตามที่จำเลยทั้งสองนำสืบมา แต่ความแตกต่างดังกล่าวยังเป็นเพียงส่วนเล็กน้อยและไม่เป็นสาระสำคัญถึงขนาดที่จะเป็นงานสร้างสรรค์อันควรได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย
ส่วนภาพกราฟฟิคบลูเพาเวอร์แม้จะเป็นรูปทรงกลมอันเป็นรูปทางเรขาคณิตทั่วไปและภาพวาดรูปมือมีลักษณะของการจัดวางมือสองข้างที่จับอยู่บนเสื้อ ก็เป็นงานสร้างสรรค์รูปทางที่ประกอบด้วยเส้นและสี โดยไม่ปรากฏว่าได้ลอดเลียนหรือดัดแปลงมาจากงานที่มีอยู่เดิม จึงแสดงให้เห็นถึงความเป็นงานสร้างสรรค์ที่สร้างขึ้นด้วยตนเองงานดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นงานศิลปกรรมลักษณะงานจิตรกรรม อันได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์แล้ว แม้ต่อมามีการนำงานนี้ไปใช้ในทางการค้า ก็ไม่เป็นเหตุให้งานดังกล่าวขาดคุณสมบัติที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย
ส่วนข้อความที่ว่า สูตรมาตรฐาน สำหรับซักมือ เป็นเพียงคำสามัญทั่วไปที่ระบุถึงคุณสมบัติของสินค้าผลซักฟอก ทั้งลักษณะที่ใช้ก็มุ่งเน้นสื่อให้เห็นถึงคุณสมบัติของสินค้ามากกว่าที่จะสร้างคำบรรยายดังกล่าวในแง่งานศิลปกรรมลักษณะงานจิตรกรรมในตัวเอง จึงไม่อาจได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย
ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ ฯ มาตรา 4 บัญญัติเกี่ยวกับงานศิลปประยุกต์ไว้ โดยวัตถุประสงค์ของการให้ความคุ้มครองงานศิลปประยุกต์ คือการนำงานศิลปกรรมลักษณะต่าง ๆ มาใช้ในลักษณะที่เกิดประโยชน์อย่างอื่นนอกเหนือจากการชื่นชมในคุณค่าของตัวงานดังกล่าว เมื่อรับฟังได้ว่า ภาพกราฟฟิคบลูเพาเวอร์กับภาพวาดรูปมือเป็นงานศิลปกรรมลักษณะงานจิตรกรรม และเมื่อภาพดังกล่าวถูกนำไปใช้ประกอบกันบนซองบรรจุภัณฑ์เพื่อประกอบเครื่องหมายการค้า อันเป็นการนำเอางานศิลปกรรมไปใช้เพื่อประโยชน์ทางการค้า การออกแบบซองบรรจุภัณฑ์ดังกล่าวจึงเป็นงานศิลปประยุกต์
ข้อเท็จจริงปรากฏว่า สินค้าของโจทก์ทั้งสองอยู่ในกลุ่มที่มีคุณภาพและราคาสูง ส่วนของจำเลยทั้งสองอยู่ในกลุ่มที่มีคุณภาพและราคาต่ำกว่า กลุ่มผู้บริโภคจึงแตกต่างกัน และเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 1 กับของจำเลยที่ 1 แตกต่างกันทั้งในรูปลักษณะและเสียงเรียกขานอย่างชัดเจนแล้ว โอกาสที่สาธารณชนจะสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าอันจะเป็นการลวงขายสินค้าจึงเป็นไปได้น้อย คดีจึงไม่อาจรับฟังว่า จำเลยทั้งสองเจตนาเอารูป รอยประดิษฐ์ลวดลายและข้อความใด ๆ ในการประกอบการค้าของโจทก์ที่ 2 มาใช้ หรือทำให้ปรากฏในสินค้าบรรจุภัณฑ์ของจำเลยทั้งสองเพื่อเป็นการลวงขายสินค้าว่าสินค้าของจำเลยทั้งสองเป็นสินค้าของโจทก์ทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4598-4599/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เครื่องหมายการค้า 'เสือ' และ 'TIGER' ไม่ถือว่าเหมือนหรือคล้ายกันจนทำให้สาธารณชนสับสน
โจทก์ใช้ "เสือ" เป็นเครื่องหมายการค้าซึ่ง "เสือ" เป็นสัตว์ตามธรรมชาติที่มีอยู่และพบเห็นทั่วไป ดังนั้น บุคคลต่างๆ ย่อมสามารถใช้ "เสือ" เป็นเครื่องหมายการค้าได้เช่นกัน โจทก์ไม่อาจหวงกันห้ามบุคคลอื่นที่จะใช้ "เสือ" เป็นเครื่องหมายการค้า เว้นแต่ว่าเป็นการนำ "เสือ" ในลักษณะเดียวกันหรือคล้ายกันกับของโจทก์ไปใช้จนอาจทำให้สาธารณชนเกิดความสับสนหลงผิด เมื่อส่วนของรูป "เสือ" โจทก์ใช้ภาพวาดรูป "เสือ" เสมือนจริงในลักษณะกระโจนไปทางซ้าย ในขณะที่จำเลยใช้ภาพวาดรูป "เสือ" ในลักษณะที่เป็นการ์ตูนคล้ายคนยืน ขาหน้าซ้ายไขว้หลังส่วนขาหน้าขวาจับสิ่งของลักษณะสี่เหลี่ยมผืนผ้า จึงเห็นได้ว่า แม้จะมีแนวคิดในการใช้ "เสือ" เป็นเครื่องหมายการค้าเหมือนกัน แต่รูปลักษณะของ "เสือ" ตามที่ปรากฏต่อสายตาของสาธารณชนแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ไม่ทำให้สาธารณชนเกิดความสับสนหลงผิดไปได้ ทั้งการพิจารณาว่าผู้บริโภคเกิดความสับสนหลงผิดหรือไม่นั้น ก็จะต้องพิจารณาถึงความสับสนหลงผิดในความทรงจำเกี่ยวกับ "รูปเครื่องหมายการค้า" เป็นสำคัญด้วย หาใช่ว่ารูป "เสือ" ในลักษณะที่แตกต่างกันเช่นใด ก็ถือว่าก่อให้เกิดความสับสนหลงผิดได้
สำหรับอักษรโรมันคำว่า "TIGER" นั้น เป็นคำสามัญทั่วไปที่มีความหมายในพจนานุกรม บุคคลต่างๆ สามารถนำไปใช้ได้ตราบเท่าที่ไม่ได้ใช้ในลักษณะที่เป็นการลอกเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เมื่อเครื่องหมายการค้าของจำเลยไม่ได้ใช้อักษรโรมันคำว่า "TIGERPLAST" โดยลำพัง แต่ใช้ควบคู่กับรูป "เสือ" ดังกล่าวจึงไม่ทำให้เครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกันเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่มีอักษรโรมันคำว่า "TIGER" แต่อย่างใด
ในส่วนของเสียงเรียกขานเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยนั้นแม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์อาจมีเสียงเรียกขานว่า "ตรา-เสือ" หรือ "ไท-เกอร์" แต่เครื่องหมายการค้าของจำเลยก็อาจเรียกว่า "ไท-เกอร์-ปลาส" ได้ เพราะไม่ใช่เสียงเรียกขานที่ยากลำบากนัก อย่างไรก็ดี แม้จะมีการเรียกขานว่า "เสือ" หรือ "ไท-เกอร์" เหมือนกัน แต่เนื่องจาก "เสือ" เป็นสัตว์ตามธรรมชาติ โจทก์จะอ้างเพียงเรื่องเสียงเรียกขานคล้ายกันเพื่อห้ามบุคคลอื่นใช้เครื่องหมายการค้าไม่ได้ เมื่อพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดสินค้าเช่นนี้ก็ไม่จำเป็นต้องพิจารณาเกี่ยวกับสินค้าที่ใช้กับเครื่องหมายการค้าดังกล่าวอีกต่อไป
สำหรับอักษรโรมันคำว่า "TIGER" นั้น เป็นคำสามัญทั่วไปที่มีความหมายในพจนานุกรม บุคคลต่างๆ สามารถนำไปใช้ได้ตราบเท่าที่ไม่ได้ใช้ในลักษณะที่เป็นการลอกเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เมื่อเครื่องหมายการค้าของจำเลยไม่ได้ใช้อักษรโรมันคำว่า "TIGERPLAST" โดยลำพัง แต่ใช้ควบคู่กับรูป "เสือ" ดังกล่าวจึงไม่ทำให้เครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกันเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่มีอักษรโรมันคำว่า "TIGER" แต่อย่างใด
ในส่วนของเสียงเรียกขานเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยนั้นแม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์อาจมีเสียงเรียกขานว่า "ตรา-เสือ" หรือ "ไท-เกอร์" แต่เครื่องหมายการค้าของจำเลยก็อาจเรียกว่า "ไท-เกอร์-ปลาส" ได้ เพราะไม่ใช่เสียงเรียกขานที่ยากลำบากนัก อย่างไรก็ดี แม้จะมีการเรียกขานว่า "เสือ" หรือ "ไท-เกอร์" เหมือนกัน แต่เนื่องจาก "เสือ" เป็นสัตว์ตามธรรมชาติ โจทก์จะอ้างเพียงเรื่องเสียงเรียกขานคล้ายกันเพื่อห้ามบุคคลอื่นใช้เครื่องหมายการค้าไม่ได้ เมื่อพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดสินค้าเช่นนี้ก็ไม่จำเป็นต้องพิจารณาเกี่ยวกับสินค้าที่ใช้กับเครื่องหมายการค้าดังกล่าวอีกต่อไป