คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คัดค้าน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 361 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4206/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยสละสิทธิคัดค้านอำนาจฟ้องแล้ว ไม่อาจยกขึ้นฎีกาได้อีก
การที่จำเลยยกปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องว่า ป.ผู้รับมอบอำนาจไม่มีอำนาจฟ้องเพราะเป็นการมอบอำนาจทั่วไป ซึ่งเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การแล้ว แต่ต่อมาได้แถลงไม่ติดใจที่จะต่อสู้ต่อไป ประเด็นข้อพิพาทเรื่องอำนาจฟ้องจึงยุติไปตามคำแถลงของจำเลย จำเลยไม่มีสิทธิยกขึ้นฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคสองได้อีก เพราะกรณีตามกฎหมายมาตราดังกล่าว จะต้องเป็นกรณีที่จำเลยมิได้ยกปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนขึ้นต่อสู้ในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์และเมื่อประเด็นข้อพิพาทเรื่องอำนาจฟ้องยุติไปตามคำแถลงของจำเลยดังกล่าวแล้วจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3750/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกาศให้ที่ดินเป็นสาธารณะต้องพิสูจน์สิทธิให้ชัดเจน การคัดค้านต่อเนื่องย่อมไม่ถือเป็นความผิด
ที่ดินพิพาทไม่ได้เป็นที่สาธารณประโยชน์มาแต่เดิม แต่กรณีเป็นเรื่องที่ ท.ผู้ใหญ่บ้านกับคณะกรรมการหมู่บ้านต้องการจะให้เป็นที่สาธารณะเมื่อปี 2525 และทางราชการยังไม่ได้มีการสอบเขตที่แน่นอน หลังจาก ท.ได้ประกาศให้เป็นที่ดินสาธารณะแล้ว ก็ถูก ส.คัดค้าน แม้จะมีการไกล่เกลี่ยกัน ส.ก็ไม่ยินยอมและไม่ปรากฏว่า ส.ออกจากที่ดินพิพาทตามคำสั่งของอำเภอแต่อย่างใด ต่อมาเมื่อมีการสร้างวัดในที่ดินพิพาทอีก ภริยาจำเลยซึ่งเป็นบุตร ส.ทำการคัดค้านจนไม่สามารถสร้างวัดได้ ดังนี้เห็นได้ว่านับแต่ ท.ได้ประกาศจะให้ที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณะฝ่ายจำเลยก็ได้ทำการคัดค้านมาโดยตลอด และยังไม่ได้มีการดำเนินคดีทางแพ่งพิสูจน์สิทธิในที่ดินพิพาทกันให้เสร็จเด็ดขาดแต่อย่างใด เมื่อข้อเท็จจริงเกี่ยวกับที่ดินพิพาทฟังไม่ได้ว่าเป็นที่สาธารณะ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม ป.ที่ดิน มาตรา 9, 108 ทวิ วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3182/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจมติที่ประชุมเจ้าหนี้และการร้องคัดค้านมติในคดีล้มละลาย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 37 บัญญัติให้ที่ประชุมเจ้าหนี้อาจลงมติตั้งกรรมการเจ้าหนี้ไว้เพื่อแทนเจ้าหนี้ทั้งหลายในกิจการเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ กรรมการเจ้าหนี้ย่อมอยู่ในฐานะเป็นตัวแทนของเจ้าหนี้ทั้งหลายในการจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ เมื่อที่ประชุมกรรมการเจ้าหนี้มีมติเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ประการใดแล้ว มติดังกล่าวจึงต้องถือว่าเป็นมติของที่ประชุมเจ้าหนี้ทั้งหลายนั้นเอง ดังนั้น คำร้องของผู้ร้องที่ขอให้แก้ไขมติที่ประชุมกรรมการเจ้าหนี้ดังกล่าวเท่ากับเป็นการกล่าวอ้างว่ามติที่ประชุมเจ้าหนี้ขัดต่อประโยชน์อันร่วมกันของเจ้าหนี้ทั้งหลาย ซึ่งตามมาตรา 36ให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้นที่จะร้องต่อศาลเพื่อให้มีคำสั่งห้ามมิให้ปฏิบัติตามมตินั้นได้ โดยต้องยื่นคำร้องต่อศาลภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ที่ประชุมเจ้าหนี้ลงมติ ผู้ร้องหามีสิทธิเช่นว่านั้นไม่ และหากถือว่าคำร้องดังกล่าวเป็นการใช้สิทธิตาม มาตรา 146 ผู้ร้องก็มิได้บรรยายให้เห็นว่าผู้ร้องได้รับความเสียหายอย่างไรจากการที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จัดให้มีการประชุมกรรมการเจ้าหนี้ดังกล่าวจึงมิใช่กรณีที่ผู้ร้องอาจใช้สิทธิตาม มาตรา 146 ได้ ดังนี้ จึงไม่มีเหตุแก้ไขมติที่ประชุมเจ้าหนี้นั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3055/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำขอพิจารณาใหม่ต้องระบุข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลอย่างชัดแจ้งและเหตุผลสนับสนุน
คำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยที่1กล่าวแต่เพียงว่าพยานหลักฐานของโจทก์ยังไม่พอฟังตามที่ศาลพิพากษาหากมีการพิจารณาใหม่แล้วจำเลยที่1จะมีโอกาสแสดงพยานหลักฐานว่าจำเลยที่1ไม่ต้องรับผิดตามฟ้องและชนะคดีได้โดยมิได้กล่าวว่าพยานหลักฐานใดของโจทก์ที่ไม่พอฟังให้จำเลยที่1ต้องรับผิดตามฟ้องและมิได้กล่าวถึงพยานหลักฐานของจำเลยที่1ว่ามีอย่างใดบ้างที่จะทำให้จำเลยที่1ชนะคดีได้อีกทั้งไม่กล่าวถึงคำตัดสินชี้ขาดของศาลว่าไม่ชอบประการใดคำขอพิจารณาใหม่ของจำเลยที่1เป็นคำขอที่มิได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งซึ่งข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลจึงไม่ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา208วรรคสองศาลไม่อาจมีคำสั่งอนุญาตให้พิจารณาใหม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1677/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการอนุญาตให้ถอนฟ้องและการใช้ดุลพินิจเมื่อจำเลยคัดค้าน โดยไม่จำต้องแสดงเหตุผล
การที่ทนายจำเลยแถลงคัดค้านการถอนฟ้องของโจทก์โดยอ้างเหตุว่าคำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์ไม่บอกเหตุว่าไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยอย่างไรก่อนศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องนั้นย่อมถือได้ว่าศาลชั้นต้นได้ฟังจำเลยแล้วก่อนมีคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา175วรรคสองทั้งบทบัญญัติดังกล่าวก็มิได้ระบุว่าโจทก์จะต้องแสดงเหตุผลในการถอนฟ้องในคำร้องหรือต้องแถลงเหตุผลในการถอนฟ้องให้จำเลยทราบแต่อย่างใดเพราะแม้จำเลยจะคัดค้านหรือไม่ก็ตามศาลก็มีอำนาจที่จะอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้เพราะเป็นดุลพินิจของศาลดังนั้นเมื่อศาลชั้นต้นได้พิจารณาข้อคัดค้านของทนายจำเลยที่แถลงต่อศาลและรูปคดีของทั้งสองฝ่ายแล้วเห็นว่าไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบหากถูกโจทก์ฟ้องใหม่ศาลก็อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1677/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการอนุญาตให้ถอนฟ้องและการใช้ดุลพินิจโดยชอบ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา175วรรคสองที่บัญญัติว่า"ภายหลังจำเลยยื่นคำให้การแล้วโจทก์อาจยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลชั้นต้นเพื่ออนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้"บทบัญญัติดังกล่าวมิได้ระบุว่าโจทก์จะต้องแสดงเหตุผลในการถอนฟ้องในคำร้องหรือต้องแถลงเหตุผลในการถอนฟ้องให้จำเลยทราบแต่อย่างใดเพราะแม้จำเลยจะคัดค้านหรือไม่ก็ตามศาลก็มีอำนาจตามบทบัญญัติดังกล่าวที่จะอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้เพราะเป็นดุลพินิจของศาล ศาลชั้นต้นได้พิจารณาข้อคัดค้านของทนายจำเลยที่แถลงต่อศาลและรูปคดีของทั้งสองฝ่ายแล้วเห็นว่าไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบหากถูกโจทก์ฟ้องใหม่จึงอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้เป็นการใช้ดุลพินิจในการสั่งโดยชอบแล้วแม้โจทก์นำคดีมาฟ้องใหม่จำเลยก็มีสิทธิต่อสู้คดีได้เต็มที่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 949/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีทรัพย์สินของลูกหนี้ล้มละลาย: อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และกระบวนการคัดค้าน
โจทก์ฟ้องและบังคับคดีแก่จำเลยในระหว่างจำเลยเป็นบุคคลล้มละลายแล้วการจัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของจำเลยจึงอยู่ในอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา22,109และเมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอให้ศาลชั้นต้นเปิดคดีและขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ยึดไว้ในคดีนี้แล้วโอนเงินที่เหลือภายหลังหักค่าใช้จ่ายส่งเข้ากองทรัพย์สินของจำเลยในคดีล้มละลายกรณีถือได้ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้ปฏิบัติการแทนตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา22ประกอบกับมาตรา6การยึดทรัพย์สินเพื่อบังคับคดีในคดีนี้จึงมีผลเท่ากับเป็นการยึดทรัพย์สินของจำเลยในคดีล้มละลายซึ่งผู้ใดจะคัดค้านจะต้องยื่นคำคัดค้านต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา158ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขัดทรัพย์ในคดีนี้และปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้แม้ไม่มีผู้ใดยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(5)ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา153

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4416/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคัดค้านการขายทอดตลาดต้องยื่นเป็นคำร้องตามมาตรา 296 วรรคสอง หากมิได้ยื่นภายในกำหนด สิทธิอุทธรณ์ฎีกาจึงไม่เกิด
การที่จำเลยที่1ยื่นคำแถลงคัดค้านว่า ส.เป็นผู้ประมูลทรัพย์ได้ครั้งก่อนแล้วไม่วางเงินต่อศาลภายในกำหนดจึงไม่มีเจตนาซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดและ ส. ต้องการนำทรัพย์ที่ประมูลได้ขายต่อให้แก่ผู้อื่นกับทั้งราคาที่ประมูลสูงสุดต่ำกว่าความเป็นจริงมากนั้นเป็นเพียง คำแถลงประกอบการใช้ดุลพินิจของศาลที่จะพิจารณาอนุญาตให้ขายทรัพย์แก่ ส. หรือไม่เท่านั้นหาใช่เป็นคำร้องคัดค้านที่กล่าวอ้างว่าการบังคับคดีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการไปฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งลักษณะว่าด้วยการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งแต่อย่างใดไม่ดังนั้นการที่จำเลยที่1ยื่นอุทธรณ์ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีนับหนึ่งถึงสามแล้วเคาะไม้เลยโดยมิได้ขออนุญาตศาลชั้นต้นก่อนเคาะไม้การขายทอดตลาดจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายและราคาทรัพย์ที่ขายต่ำกว่าราคาเป็นจริงโดยมิได้ยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลชั้นต้นก่อนภายใน8วันนับแต่ทราบการฝ่าฝืนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา296วรรคสองจำเลยที่1จะใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกาหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4334/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีราคาที่ดินพิพาทมีผลต่อการอุทธรณ์ฎีกา หากโจทก์ไม่คัดค้านราคาที่ศาลกำหนด ย่อมไม่อาจอุทธรณ์ฎีกาในภายหลังได้
ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น ปรากฏว่าในวันนัดสืบพยานโจทก์จำเลยได้เสียค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ฟ้องแย้งโดยตีราคาที่ดินพิพาท 32,000 บาท ศาลชั้นต้นสอบโจทก์แล้ว โจทก์ไม่ค้านราคานี้ประกอบกับเมื่อโจทก์ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์เพราะคดีมีทุนทรัพย์พิพาทชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาท และเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงศาลอุทธรณ์ก็ได้มีคำสั่งยกคำร้องของโจทก์ยืนตามคำสั่งศาลชั้นต้น คำสั่งศาลอุทธรณ์ดังกล่าวจึงเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ.มาตรา 236 โจทก์จะมายื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นตีราคาที่ดินพิพาทให้สูงขึ้นเพื่อใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกาต่อไปหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2478/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้คัดค้านการขายทอดตลาดทรัพย์สินลูกหนี้ในคดีล้มละลาย ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 146
เมื่อผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้เห็นว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทำการขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ในราคาต่ำผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลภายในกำหนดเวลา14วันนับแต่วันที่ได้ทราบการขายทอดตลาดนั้นขอให้ศาลเพิกถอนการขายทอดตลาดและประกาศขายทอดตลาดใหม่ได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา146กรณีนี้ไม่อยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา296วรรคสองที่จะอนุโลมนำมาใช้ในคดีล้มละลายตามพระราชบัญญัติ ล้มละลายฯมาตรา153เพราะพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา146บัญญัติไว้โดยเฉพาะอยู่แล้ว
of 37