คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คำนวณ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 140 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 792/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าหลังการเลิกจ้าง โดยหักวันหยุดประจำสัปดาห์
โจทก์เป็นลูกจ้างประจำของจำเลย ได้รับค่าจ้างเป็นรายวันกำหนดจ่ายค่าจ้างในวันที่ 1 และ 16 ของเดือน วันทำงานตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันเสาร์วันอาทิตย์เป็นวันหยุดประจำสัปดาห์ จำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2529 แม้วันที่ 16 พฤศจิกายน 2529 จะเป็นวันหยุดประจำสัปดาห์และมีการจ่ายสินจ้างในวันที่ 17 ก็ตาม การเลิกจ้างก็ย่อมมีผลในวันที่ 16 ธันวาคม 2529 ซึ่งเป็นวันถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวถัดไปและต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าถึงงวดวันที่ 16 ธันวาคม 2529 รวมเป็น 29 วัน แต่โดยที่ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวมีวันหยุดประจำสัปดาห์ 4 วัน จำเลยจึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ 25 วัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 792/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าหลังการเลิกจ้าง โดยหักวันหยุดประจำสัปดาห์
โจทก์เป็นลูกจ้างประจำของจำเลย ได้รับค่าจ้างเป็นรายวันกำหนดจ่ายค่าจ้างในวันที่ 1 และ 16 ของเดือน วันทำงานตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันเสาร์วันอาทิตย์เป็นวันหยุดประจำสัปดาห์ จำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2529 แม้วันที่ 16 พฤศจิกายน 2529 จะเป็นวันหยุดประจำสัปดาห์และมีการจ่ายสินจ้างในวันที่ 17 ก็ตามการเลิกจ้างก็ย่อมมีผลในวันที่ 16 ธันวาคม 2529 ซึ่งเป็นวันถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวถัดไปและต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าถึงงวดวันที่ 16 ธันวาคม 2529 รวมเป็น 29 วัน แต่โดยที่ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวมีวันหยุดประจำสัปดาห์ 4 วัน จำเลยจึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ 25 วัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6378/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลคดีครอบครองปรปักษ์: การคำนวณค่าฤชาธรรมเนียมที่ถูกต้องตามประเภทคดี
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ครอบครองที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของจำเลยโดยสงบ เปิดเผยและด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันมาเกินกว่า 10 ปีแล้วโจทก์จึงได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองขอให้บังคับจำเลยโอนที่ดินแก่โจทก์ เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์คือราคาที่ดินซึ่งโจทก์ก็เสียมาถูกต้องแล้ว แม้ต่อมาศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยเหตุที่ว่าที่ดินตามฟ้องยังไม่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ โจทก์จึงขอบังคับให้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์มิได้ ก็ไม่ทำให้คดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้กลายเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับโดยไม่คืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกิน 200 บาทแก่โจทก์ จึงมิใช่เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นเรียกเก็บค่าขึ้นศาลเกินอัตราที่บัญญัติไว้ในตาราง 1 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์ฟ้องเสียค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ราคาที่ดิน ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องแล้วพิพากษายกฟ้อง โดยสั่งให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับ การที่โจทก์อุทธรณ์เฉพาะในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมว่าเมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่า ไม่ใช่เรื่องโต้แย้งสิทธิแต่เป็นการใช้สิทธิทางศาล ศาลก็ชอบที่จะเรียกค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ขอให้คืนค่าฤชาธรรมเนียมส่วนที่เกิน เป็นการอุทธรณ์ว่าการที่ศาลชั้นต้นสั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมดังกล่าวมีผลเป็นการเรียกเก็บค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ราคาที่ดินอันเป็นการกำหนดหรือคำนวณค่าฤชาธรรมเนียมไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ถือได้ว่าโจทก์ได้อุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว และในกรณีอุทธรณ์ว่าค่าฤชาธรรมเนียมมิได้กำหนดหรือคำนวณให้ถูกต้องตามกฎหมายเช่นนี้ แม้จะมิได้อุทธรณ์ในเนื้อหาโดยตรงของคดีด้วย ก็ไม่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 168

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3800/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โบนัสคำนวณจากรายได้ประจำ: ค่าล่วงเวลา/เบี้ยขยันไม่รวม
รายได้ตลอดปีของพนักงานที่จะใช้คำนวณเงินโบนัสให้แก่พนักงานตามข้อบังคับของจำเลย หมายถึง เฉพราะรายได้ที่ลูกจ้างได้รับเป็นประจำตามปกติและมีจำนวนแน่นอนอันได้แก่ค่าจ้างรายเดือนหรือเงินเดือน ฉะนั้นค่าล่วงเวลาและเบี้ยขยันซึ่งเป็นเงินที่ลูกจ้างได้รับในระหว่างปีเป็นบางครั้งบางคราว และมีจำนวนไม่แน่นอน จึงไม่เป็นรายได้ของพนักงานที่จะนำมารวมเป็นหลักฐานคำนวณเงินโบนัส

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3042/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าจ้าง: การคำนวณเริ่มจากวันสิ้นเดือนที่ค้างจ่าย ไม่ใช่แค่วันออกจากงาน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า กำหนดจ่ายค่าจ้างทุกวันสิ้นเดือนหมายความว่าหากไม่จ่ายค่าจ้างของเดือนใด นับแต่วันสิ้นเดือนนั้นโจทก์อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้อง ให้จำเลยจ่ายค่าจ้างได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 169 อายุความเรียกร้องค่าจ้างมีกำหนด 2 ปี ตามมาตรา 165(9) โจทก์ฟ้องเรียกค่าจ้างค้างจ่ายเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2531 ค่าจ้างค้างจ่ายเดือนสุดท้ายที่โจทก์อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้ย้อนหลังไป 2 ปี คือค่าจ้างเดือนมีนาคม 2529 ค่าจ้างนอกจากนั้นขาดอายุความ
พ. กรรมการบริษัทจำเลยเบิกความต่อศาลแรงงานกลางว่า จำเลยค้างค่าจ้างโจทก์ตั้งแต่ปลายปี 2527 เป็นเพียงการเบิกความในฐานะพยานจำเลยจึงไม่ใช่เป็นการรับสภาพหนี้อันจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1922/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณทุนทรัพย์คดีขับไล่ต้องแยกรายจำเลย/อสังหาริมทรัพย์ และใช้มูลค่าตามฟ้อง ไม่ใช่ในชั้นพิจารณา
คดีฟ้องขับไล่ผู้อาศัยออกจากอสังหาริมทรัพย์ซึ่งจำเลยมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์นั้น การคำนวณทุนทรัพย์หรือค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ ต้องคำนวณเป็นรายจำเลยแต่ละคน หรือรายอสังหาริมทรัพย์แต่ละแห่งที่จำเลยอาศัยอยู่ และการคำนวณค่าเช่าดังกล่าวต้องคำนวณขณะฟ้อง มิใช่ในชั้นพิจารณา
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองออกจากตึกแถว 3 ชั้นที่โจทก์เช่ามาจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ โดยบรรยายฟ้องว่าตึกแถวชั้นที่จำเลยที่ 1 อยู่อาศัยอาจให้เช่าไม่เกินเดือนละ1,200 บาท ส่วนชั้นล่างของตึกแถวดังกล่าวที่จำเลยที่ 2 อยู่อาศัยโจทก์มิได้คำนวณเป็นค่าเช่าแต่อ้างว่า หากโจทก์ประกอบการค้าเองจะมีรายได้ประมาณเดือนละ 3,000 บาท ดังนี้ศาลย่อมมีอำนาจคำนวณค่าเช่าตึกแถวชั้นที่จำเลยที่ 2 อยู่อาศัยโดยอาศัยข้อเท็จจริงตามฟ้องดังกล่าวได้ ซึ่งเมื่อคำนวณเป็นค่าเช่าไม่น่าจะเกินเดือนละ 2,000 บาท จึงเป็นคดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1922/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณทุนทรัพย์คดีขับไล่ ต้องแยกรายจำเลย/อสังหาริมทรัพย์ และคำนวณตามฟ้อง มิใช่ในชั้นพิจารณา
คดีฟ้องขับไล่ผู้อาศัยออกจากอสังหาริมทรัพย์ซึ่งจำเลยมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์นั้น การคำนวณทุนทรัพย์หรือค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ต้องคำนวณเป็นรายจำเลยแต่ละคนหรือรายอสังหาริมทรัพย์แต่ละแห่งที่จำเลยอาศัยอยู่ และการคำนวณค่าเช่าดังกล่าวต้องคำนวณขณะฟ้องมิใช่ในชั้นพิจารณา โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองออกจากตึกแถว 3 ชั้นที่โจทก์เช่ามาจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ โดยบรรยายฟ้องว่าตึกแถวชั้นที่จำเลยที่ 1 อยู่อาศัยอาจให้เช่าไม่เกินเดือนละ 1,200บาท ส่วนชั้นล่างของตึกแถวดังกล่าวที่จำเลยที่ 2 อยู่อาศัยโจทก์มิได้คำนวณเป็นค่าเช่าแต่อ้างว่า หากโจทก์ประกอบการค้าเองจะมีรายได้ประมาณเดือนละ 3,000 บาท ดังนี้ศาลย่อมมีอำนาจคำนวณค่าเช่าตึกแถวชั้นที่จำเลยที่ 2 อยู่อาศัยโดยอาศัยข้อเท็จจริงตามฟ้องดังกล่าวได้ ซึ่งเมื่อคำนวณเป็นค่าเช่าไม่น่าจะเกินเดือนละ 2,000 บาท จึงเป็นคดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1922/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณทุนทรัพย์คดีขับไล่ ต้องแยกคำนวณรายจำเลย/อสังหาริมทรัพย์ และใช้ค่าตามฟ้อง ไม่ใช่ชั้นพิจารณา
คดีฟ้องขับไล่ผู้อาศัยออกจากอสังหาริมทรัพย์ซึ่งจำเลยมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์นั้น การคำนวณทุนทรัพย์หรือค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ ต้องคำนวณเป็นรายจำเลยแต่ละคน หรือรายอสังหาริมทรัพย์แต่ละแห่งที่จำเลยอาศัยอยู่ และการคำนวณค่าเช่าดังกล่าวต้องคำนวณขณะฟ้อง มิใช่ในชั้นพิจารณา
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองออกจากตึกแถว 3 ชั้นที่โจทก์เช่ามาจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ โดยบรรยายฟ้องว่าตึกแถวชั้นที่จำเลยที่ 1 อยู่อาศัยอาจให้เช่าไม่เกินเดือนละ1,200 บาท ส่วนชั้นล่างของตึกแถวดังกล่าวที่จำเลยที่ 2 อยู่อาศัยโจทก์มิได้คำนวณเป็นค่าเช่าแต่อ้างว่า หากโจทก์ประกอบการค้าเองจะมีรายได้ประมาณเดือนละ 3,000 บาท ดังนี้ศาลย่อมมีอำนาจคำนวณค่าเช่าตึกแถวชั้นที่จำเลยที่ 2 อยู่อาศัยโดยอาศัยข้อเท็จจริงตามฟ้องดังกล่าวได้ ซึ่งเมื่อคำนวณเป็นค่าเช่าไม่น่าจะเกินเดือนละ 2,000 บาท จึงเป็นคดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1354/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุดไม่รวมคำนวณค่าชดเชย เพราะไม่ใช่ค่าจ้างตามกฎหมาย
เงินค่าล่วงเวลา และเงินค่าทำงานในวันหยุดนั้น มิใช่ค่าจ้างเพราะมิใช่เงินหรือเงินและสิ่งของที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานตามปกติของวันทำงานหรือจ่ายให้โดยคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ ฉะนั้นเงินค่าล่วงเวลาและเงินค่าทำงานในวันหยุดจึงมิใช่ค่าจ้างที่จะนำมารวมเป็นฐานคำนวณค่าชดเชยได้.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1030/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าครองชีพเป็นส่วนหนึ่งของเงินเดือน ต้องนำมารวมคำนวณเงินบำเหน็จ
แม้ข้อบังคับของนายจ้างระบุว่า 'เงินเดือน' หรือ 'ค่าจ้าง'หมายถึงเงินที่จ่ายให้แก่ผู้ปฏิบัติงานเป็นรายเดือนหรือรายวันเพื่อตอบแทนการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน แต่ไม่รวมถึงเงินตอบแทนในลักษณะค่าล่วงเวลา โบนัส หรือประโยชน์อย่างอื่นก็ตาม เมื่อได้ความว่านายจ้างได้จ่ายค่าครองชีพให้ลูกจ้างเป็นประจำทุกเดือนมีจำนวนแน่นอนทำนองเดียวกับเงินเดือน ค่าครองชีพที่ลูกจ้างได้รับจึงเป็นส่วนหนึ่งของเงินเดือน ซึ่งถือว่าเป็นเงินเดือนหรือค่าจ้าง หาใช่ประโยชน์อย่างอื่นตามข้อบังคับดังกล่าวไม่ นายจ้างต้องนำค่าครองชีพมารวมเป็นฐานในการคำนวณบำเหน็จเพื่อจ่ายแก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างตามที่ลูกจ้างมีสิทธิตามข้อบังคับด้วย.
of 14