พบผลลัพธ์ทั้งหมด 129 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 940/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินพิพาทหลังการรับมรดกและการจำนอง: คำพิพากษาตามยอมไม่ผูกพันบุคคลภายนอก
แม้ผู้ร้องจะรับโอนที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 2 ตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลพิพากษาตามยอมแล้วก็ตาม คำพิพากษาตามยอมก็ไม่ผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก เมื่อปรากฏว่าโจทก์รับจำนองที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 2 โดยสุจริต ในขณะที่จำเลยที่ 2 มีชื่อเป็นเจ้าของทางทะเบียน จำนองก็ติดที่ดินพิพาทไปด้วย ผู้ร้องหามีสิทธิร้องขอให้ถอนการยึดเพื่อบังคับชำระหนี้จำนองของโจทก์ไม่.(ที่มา-เนติ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3023/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้มละลาย: หนี้เดิมแปลงเป็นหนี้ใหม่ตามคำพิพากษาตามยอม แม้ทรัพย์สินถูกยึดโดยรัฐ ก็ไม่หลุดพ้นจากหนี้
การรับช่วงทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 226 ได้แก่การเอาทรัพย์สินอันหนึ่งเข้าแทนที่ทรัพย์สินอีกอันหนึ่งในฐานะนิตินัยอย่างเดียวกันกับทรัพย์สินอันก่อน การที่ทรัพย์สินของสามีจำเลยและของจำเลยตกไปเป็นของรัฐตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรีนั้นเป็นไปตามกฎหมาย และนโยบายของรัฐบาลไม่ใช่เป็นการช่วงทรัพย์และไม่ใช่เหตุสุดวิสัยจำเลยจึงหาหลุดพ้นจากความรับผิดที่จะต้อง ชำระหนี้แก่โจทก์ไม่
มูลหนี้เดิมในคดีล้มละลายเกิดจากสัญญาจ้างเหมาให้โจทก์ก่อสร้างบ้านพักของจำเลยอันเป็นหนี้ที่ชอบด้วยกฎหมายแม้โจทก์ได้ฟ้องบังคับจำเลยให้ชำระหนี้ เพื่อโจทก์จะได้อาศัยหนี้ตามคำพิพากษาไปยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จากกระทรวงการคลัง ก็เป็นสิทธิอันชอบที่จะกระทำเช่นนั้นได้ การที่โจทก์จำเลยตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความชำระหนี้แก่โจทก์ ในคดีแพ่งดังกล่าว มิใช่เกิดจากการสมยอมโดยปราศจากมูลหนี้อันต้องห้ามตามพระราชบัญญัติล้มละลายพุทธศักราช 2483 มาตรา 94 เมื่อหนี้เดิมได้แปลงมาเป็นหนี้ใหม่ตามคำพิพากษาตามยอมจึงหาทำให้หนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความกลายเป็นหนี้ที่ไม่อาจขอชำระได้ไม่และแม้จำเลยจะได้ชำระหนี้ให้โจทก์แล้วถึงร้อยละ 79.01 เมื่อปรากฏว่าจำเลยค้างชำระหนี้แก่โจทก์ทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยเป็นเงินถึงหนึ่งล้านสามแสนบาทเศษ และจำเลยได้แจ้งให้โจทก์ทราบแล้วว่าไม่สามารถชำระหนี้ได้ และทรัพย์สินของจำเลยถูกยึดไปเป็นของรัฐหมดแล้วเช่นนี้ย่อมถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 8, 9 จำเลยนำสืบไม่ได้ว่า อาจชำระหนี้ได้ทั้งหมด ทั้งไม่เป็นการแน่นอนว่าสามีจำเลยและจำเลยจะได้รับทรัพย์สินที่ถูกยึดคืนตามที่ร้องขอหรือไม่ คดีจึงมีเหตุสมควรให้ลูกหนี้ (จำเลย) ล้มละลายได้
มูลหนี้เดิมในคดีล้มละลายเกิดจากสัญญาจ้างเหมาให้โจทก์ก่อสร้างบ้านพักของจำเลยอันเป็นหนี้ที่ชอบด้วยกฎหมายแม้โจทก์ได้ฟ้องบังคับจำเลยให้ชำระหนี้ เพื่อโจทก์จะได้อาศัยหนี้ตามคำพิพากษาไปยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จากกระทรวงการคลัง ก็เป็นสิทธิอันชอบที่จะกระทำเช่นนั้นได้ การที่โจทก์จำเลยตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความชำระหนี้แก่โจทก์ ในคดีแพ่งดังกล่าว มิใช่เกิดจากการสมยอมโดยปราศจากมูลหนี้อันต้องห้ามตามพระราชบัญญัติล้มละลายพุทธศักราช 2483 มาตรา 94 เมื่อหนี้เดิมได้แปลงมาเป็นหนี้ใหม่ตามคำพิพากษาตามยอมจึงหาทำให้หนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความกลายเป็นหนี้ที่ไม่อาจขอชำระได้ไม่และแม้จำเลยจะได้ชำระหนี้ให้โจทก์แล้วถึงร้อยละ 79.01 เมื่อปรากฏว่าจำเลยค้างชำระหนี้แก่โจทก์ทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยเป็นเงินถึงหนึ่งล้านสามแสนบาทเศษ และจำเลยได้แจ้งให้โจทก์ทราบแล้วว่าไม่สามารถชำระหนี้ได้ และทรัพย์สินของจำเลยถูกยึดไปเป็นของรัฐหมดแล้วเช่นนี้ย่อมถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 8, 9 จำเลยนำสืบไม่ได้ว่า อาจชำระหนี้ได้ทั้งหมด ทั้งไม่เป็นการแน่นอนว่าสามีจำเลยและจำเลยจะได้รับทรัพย์สินที่ถูกยึดคืนตามที่ร้องขอหรือไม่ คดีจึงมีเหตุสมควรให้ลูกหนี้ (จำเลย) ล้มละลายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2868/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินหลังคำพิพากษาตามยอม: โจทก์ได้สิทธิเรียกร้องให้จดทะเบียน ไม่ได้กรรมสิทธิ์
การที่ศาลพิพากษาตามยอมให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินมีโฉนดให้โจทก์ทำให้โจทก์ได้แต่สิทธิตามคำพิพากษาที่จะบังคับให้จดทะเบียนสิทธิได้ก่อนตามป.พ.พ.มาตรา1300เท่านั้นโจทก์หาได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวไม่โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิติดตามเอาคืนโฉนดสำหรับที่ดินดังกล่าวจากบุคคลผู้ยึดถือโฉนดนั้นไว้ตามมาตรา1336.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2127/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันของคำพิพากษาตามยอม: สิทธิการเช่าที่ดินหลังประนีประนอมยอมความ
โจทก์จำเลยมีคดีพิพาทกันด้วยเรื่องสิทธิการเช่าที่ดินพิพาทต่อมาโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดยโจทก์ยอมให้จำเลยเช่าที่ดินพิพาทมีกำหนดระยะเวลา 10 ปีศาลพิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุดแล้ว คำพิพากษานั้นมีผลผูกพันคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคแรก เมื่อสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งมีคำพิพากษาตามยอม ระบุว่าจำเลยมีสิทธิที่จะอยู่ในที่เช่าต่อไปจนครบ 10 ปี จำเลยย่อมได้สิทธิมาโดยผลแห่งคำพิพากษานั้นโดยสมบูรณ์ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยให้มีผลบังคับคดีผิดไปจากคำพิพากษาที่ผูกพันโจทก์อยู่ ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับการเช่าที่มีผลบังคับกันได้เพียงสามปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 538
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1739/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำพิพากษาตามยอม: อำนาจทนาย, ความผูกพันคำพิพากษา, และกรณีพิเศษ
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระราคาสินค้าที่จำเลยซื้อไปจากโจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7 ครึ่งต่อปีนับแต่วันรับสินค้าจนกว่าจะชำระเสร็จ ทนายจำเลยซึ่งตามใบแต่งทนายระบุให้มีอำนาจประนีประนอมยอมความได้ด้วย ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ว่า จำเลยยอมชำระราคาสินค้าตามฟ้องแก่โจทก์ภายในวันที่ 15 กันยายน 2525 หากผิดนัดยอมให้บังคับคดีทันทีและยอมเสียดอกเบี้ยในอัตรา ร้อยละ 15 ต่อปีนับแต่วันผิดนัดจนกว่าจะชำระเสร็จ ศาลพิพากษาตามยอม ดังนี้ จำเลยจะมาร้องขอให้ศาลแก้คำพิพากษาตามยอมโดยอ้างว่าทนายจำเลยทำสัญญายอมให้ดอกเบี้ยแก่ โจทก์เกินคำขอหาได้ไม่ เพราะมิใช่เป็นการขอแก้ข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอื่นๆตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143. และที่จำเลยอ้างว่า จำเลยไม่มีความรู้ไม่ทราบว่าคำพิพากษาชอบหรือไม่จึง เป็นกรณีพิเศษที่จะขอให้แก้คำพิพากษาได้นั้น ก็ไม่มีกฎหมายใดบัญญัติว่า กรณีของจำเลยเป็นกรณีพิเศษที่จะให้แก้คำพิพากษาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1739/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำพิพากษาตามยอม: อำนาจทนาย, การผูกพันตามสัญญา, และข้อจำกัดในการขอแก้ไข
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระราคาสินค้าที่จำเลยซื้อไปจากโจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7 ครึ่งต่อปีนับแต่วันรับสินค้าจนกว่าจะชำระเสร็จ ทนายจำเลยซึ่งตามใบแต่งทนายระบุให้มีอำนาจประนีประนอมยอมความได้ด้วย ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ว่า จำเลยยอมชำระราคาสินค้าตามฟ้องแก่โจทก์ภายในวันที่ 15 กันยายน 2525 หากผิดนัดยอมให้บังคับคดีทันทีและยอมเสียดอกเบี้ยในอัตรา ร้อยละ 15 ต่อปีนับแต่วันผิดนัดจนกว่าจะชำระเสร็จ ศาลพิพากษาตามยอม ดังนี้ จำเลยจะมาร้องขอให้ศาลแก้ คำพิพากษาตามยอมโดยอ้างว่าทนายจำเลยทำสัญญายอมให้ดอกเบี้ยแก่ โจทก์เกินคำขอหาได้ไม่ เพราะมิใช่เป็นการขอแก้ข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอื่นๆ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143. และที่จำเลยอ้างว่า จำเลยไม่มีความรู้ไม่ทราบว่าคำพิพากษาชอบหรือไม่ จึงเป็นกรณีพิเศษที่จะขอให้แก้คำพิพากษาได้นั้น ก็ไม่มีกฎหมายใดบัญญัติว่า กรณีของจำเลยเป็นกรณีพิเศษที่จะให้แก้คำพิพากษาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3810/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันคำพิพากษาตามยอมและการบังคับคดี ผู้ร้องไม่มีสิทธิเพิกถอนการบังคับคดีที่ชอบด้วยกฎหมาย
ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุดแล้ว คำพิพากษาย่อมผูกพันคู่ความ เมื่อไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งลักษณะ 2 ว่าด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง จึงไม่มีเหตุที่ผู้ร้อง (ซึ่งมิได้เป็นคู่ความในคดี) จะร้องขอให้ยกหรือแก้ไขหมายนั้น หากการกระทำของจำเลยกระทบถึงสิทธิของผู้ร้อง ผู้ร้องชอบที่จะใช้สิทธิดำเนินการฟ้องร้องเป็นคดีใหม่ ผู้ร้องจะขอให้ศาลเพิกถอนการบังคับคดีนี้หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3810/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำพิพากษาตามยอมผูกพันคู่ความ การบังคับคดีชอบด้วยกฎหมาย ผู้ร้องไม่มีสิทธิเพิกถอน
ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุดแล้ว คำพิพากษาย่อมผูกพันคู่ความ เมื่อไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งลักษณะ 2 ว่าด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง จึงไม่มีเหตุที่ผู้ร้อง(ซึ่งมิได้เป็นคู่ความในคดี)จะร้องขอให้ยกหรือแก้ไขหมายนั้น หากการกระทำของจำเลยกระทบถึงสิทธิของผู้ร้อง ผู้ร้องชอบที่จะใช้สิทธิดำเนินการฟ้องร้องเป็นคดีใหม่ผู้ร้องจะขอให้ศาลเพิกถอนการบังคับคดีนี้หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2208/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันของคำพิพากษาตามยอมต่อทายาทผู้รับมรดก: สิทธิในทรัพย์สินร่วม
โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะส่วนตัวและทายาทผู้รับมรดกของ ก.ขอให้พิพากษาว่าที่พิพาท 2 แปลงเป็นของโจทก์มีสิทธิครอบครอง เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าที่พิพาททั้ง 2 แปลงดังกล่าวมีบุคคลอื่นซึ่งเป็นทายาทผู้รับมรดกของ ก. มีสิทธิครอบครองรวมอยู่ด้วยการที่จำเลยตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ยอมรับว่าที่พิพาททั้ง 2 แปลงเป็นของโจทก์ยินยอมเปลี่ยนแปลงชื่อทางทะเบียนในเอกสารสิทธิให้โจทก์ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการที่เจ้าของรวมคนหนึ่งใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อต่อสู้บุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1359 และการ ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาเสร็จเด็ดขาดไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความก็มิใช่คำพิพากษาที่วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์ของที่พิพาทอันจะมีผลใช้ยันทายาทของ ก.ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้คำพิพากษาตามยอมมีผลผูกพันเฉพาะจำเลยซึ่งเป็นคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคแรกเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2450/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอพิจารณาคดีใหม่ต้องเป็นเหตุแพ้คดีเพราะขาดนัดพิจารณา มิใช่เรื่องลายเซ็นปลอม หรือคำพิพากษาตามยอม
การที่คู่ความจะขอให้พิจารณาคดีใหม่ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 207 นั้น ต้องเป็นกรณีที่คู่ความฝ่ายนั้นแพ้คดีเพราะขาดนัดพิจารณา จำเลยขอให้พิจารณาคดีใหม่โดยอ้างว่าลายเซ็นในใบแต่งทนายความของตนเป็นลายเซ็นปลอม สัญญาประนีประนอมยอมความที่ทนายจำเลยทำไปจึงตกเป็นโมฆะนั้นไม่ใช่เรื่องจำเลยแพ้คดี เพราะขาดนัดพิจารณาจำเลยจึงไม่มีสิทธิขอให้พิจารณาคดีใหม่
การขอเพิกถอนการพิจารณาคดีที่ผิดระเบียบนั้นประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 วรรคสอง บังคับอยู่ในตัวว่าข้อคัดค้านเรื่องผิดระเบียบต้องยื่นก่อนพิพากษา การที่จำเลยขอเพิกถอนคำพิพากษาตามยอม ซึ่งเห็นได้ชัดว่าจะกระทำไม่ได้นั้นมิใช่การขอเพิกถอนการพิจารณา จะถือว่าเป็นการขอเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบไม่ได้
การขอเพิกถอนการพิจารณาคดีที่ผิดระเบียบนั้นประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 วรรคสอง บังคับอยู่ในตัวว่าข้อคัดค้านเรื่องผิดระเบียบต้องยื่นก่อนพิพากษา การที่จำเลยขอเพิกถอนคำพิพากษาตามยอม ซึ่งเห็นได้ชัดว่าจะกระทำไม่ได้นั้นมิใช่การขอเพิกถอนการพิจารณา จะถือว่าเป็นการขอเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบไม่ได้