คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คำฟ้อง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 886 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5224/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตฟ้องแย้ง: การฟ้องแย้งเรื่องละเมิดไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมต้องฟ้องเป็นคดีต่างหาก
แม้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม รับรองให้จำเลยฟ้องแย้งมาในคำให้การได้ แต่มีเงื่อนไขว่าหากฟ้องแย้งเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมก็ให้ศาลสั่งให้จำเลยฟ้องเป็นคดีต่างหาก จำเลยอาศัยเหตุที่โจทก์ฟ้องจำเลยเรียกหนี้เงินกู้และบังคับจำนองเป็นข้ออ้างว่าทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย มูลกรณีที่จำเลยกล่าวอ้างเป็นเรื่องที่โจทก์หาเหตุแกล้งฟ้องร้องจำเลยโดยไม่มีมูลอันเป็นเรื่องละเมิดไม่เกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิมที่โจทก์ขอให้บังคับให้จำเลยรับผิดตามเนื้อความในสัญญา จำเลยชอบที่จะฟ้องร้องเป็นคดีใหม่ต่างหาก ไม่อาจขอรวมมาในคำให้การได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4340-4341/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดยื่นคำให้การ, ประเด็นข้อเท็จจริงที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้ว, การรุกล้ำที่ดิน, และการพิจารณาคำฟ้องตามหน้าที่
ศาลชั้นต้นจะไม่มีคำสั่งว่าจำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การหากโจทก์ไม่มีคำขอต่อศาลภายใน 15 วัน นับแต่ระยะเวลาที่กำหนดให้จำเลยทั้งสองยื่นคำให้การได้สิ้นสุดลง อย่างไรก็ตาม การที่โจทก์มิได้มีคำขอให้ศาลสั่งว่าจำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การ มิได้หมายความว่าจำเลยทั้งสองไม่ขาดนัดยื่นคำให้การ เพราะเมื่อจำเลยทั้งสองมิได้ให้การภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ ทั้งมิได้แจ้งเหตุขัดข้องต่อศาลภายในกำหนดเช่นว่านั้น ต้องถือว่าจำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การโดยผลของกฎหมายดังที่บัญญัติไว้ในป.วิ.พ. มาตรา 197 วรรคแรก (เดิม) แล้วผลของการที่โจทก์มีคำขอดังกล่าวมีผลเพียงว่าโจทก์ประสงค์จะดำเนินคดีต่อไปเท่านั้น หากโจทก์ไม่ยื่นคำขอภายในกำหนดระยะเวลาดังว่านั้น ก็เป็นผลทำให้ศาลชั้นต้นอาจมีคำสั่งจำหน่ายคดีนั้นออกเสียจากสารบบความได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 198 วรรคแรกและวรรคสอง (เดิม) ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับโจทก์โดยเฉพาะ มิได้เกี่ยวข้องกับปัญหาว่าจำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การหรือไม่แต่อย่างใด เหตุนี้การขออนุญาตยื่นคำให้การตาม ป.วิ.พ. มาตรา 199 (เดิม) จึงไม่ต้องให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การตามมาตรา 198 วรรคแรก (เดิม) ก่อน ข้อเท็จจริงในการพิจารณาว่าจะอนุญาตให้จำเลยทั้งสองซึ่งขาดนัดยื่นคำให้การยื่นคำให้การได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยทั้งสองจงใจขาดนัดหรือไม่เท่านั้น หากจำเลยทั้งสองมิได้ขาดนัดยื่นคำให้การโดยจงใจหรือมีเหตุอันสมควรประการอื่นศาลชั้นต้นย่อมอนุญาตให้จำเลยทั้งสองยื่นคำให้การภายในกำหนดเวลาตามที่ศาลจะเห็นสมควรได้แต่ถ้าการขาดนัดนั้นเป็นไปโดยจงใจหรือไม่มีเหตุสมควร ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะไม่อนุญาตให้จำเลยทั้งสองยื่นคำให้การตาม ป.วิ.พ. มาตรา 199 วรรคแรกและวรรคสอง (เดิม)
ส่วนปัญหาที่จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การดังกล่าวจะถือเท่ากับเป็นการขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งขยายระยะเวลายื่นคำให้การแก่จำเลยทั้งสองได้หรือไม่นั้น ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่เห็นว่า กรณีนี้เป็นการขออนุญาตยื่นคำให้การเมื่อพ้นกำหนดเวลายื่นคำให้การแล้ว ซึ่งหากจะถือว่าเป็นการขอขยายระยะเวลา จำเลยทั้งสองจะต้องอ้างทั้งพฤติการณ์พิเศษที่ไม่อาจยื่นคำให้การภายในกำหนดระยะเวลายื่นคำให้การด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 แต่ปรากฏตามคำร้องขอของจำเลยทั้งสองว่า จำเลยทั้งสองอ้างเหตุที่มิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การเท่านั้น หาได้อ้างพฤติการณ์พิเศษและเหตุสุดวิสัยแต่อย่างใด ไม่ ดังนี้ ที่จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การดังกล่าวจึงไม่อาจถือเท่ากับเป็นการขอให็ศาลชั้นต้นมีคำสั่งขยายระยะเวลายื่นคำให้การแก่จำเลยทั้งสองได้
จำเลยทั้งสองได้รับหมายเรียกให้ให้การและสำเนาคำฟ้องโดยชอบแล้ว โดยอาจอ้างเหตุที่หลงลืมเพราะจำเลยที่ 2 มีธุระส่วนตัวต้องรีบเดินทางไปประกอบพิธีไหว้บรรพบุรุษ ไปดูแลพี่ชายซึ่งป่วยหนัก และติดต่อหาสถานที่ศึกษาให้แก่บุตรจึงไม่อาจยื่นคำให้การทันภายในกำหนดว่ามีเหตุผลอันสมควรได้ทั้งจำเลยที่ 2 ก็มีทนายความในคดีอาญาที่เกี่ยวกับคดีที่ตนถูกฟ้องเป็นคดีแพ่งนี้อยู่แล้วซึ่งจำเลยที่ 2 อาจติดต่อกับทนายความของตนเพื่อยื่นคำให้การต่อสู้คดีได้ก่อนสิ้นระยะเวลายื่นคำให้การหรืออาจขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การโดยอ้างพฤติการณ์พิเศษอย่างใดอย่างหนึ่งได้ แต่จำเลยที่ 2 หาได้เอาในใส่ในการดำเนินการดังกล่าวหรือแจ้งให้จำเลยที่ 1 ดำเนินการไม่ พฤติการณ์ดังกล่าวของจำเลยทั้งสองยังถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การโดยมีเหตุอันสมควรที่ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยทั้งสองยื่นคำให้การได้
แม้ปัญหาตามข้อฎีกาของจำเลยทั้งสองที่ว่าจำเลยทั้งสองปลูกสร้างอาคารพาณิชย์รุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์หรือไม่ จะมิใช่ประเด็นพิพาท เพราะจำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การโดยไม่ได้ให้การต่อสู้คดีเป็นประเด็นไว้ก็ตาม แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นประเด็นแห่งคดีตามคำฟ้องของโจทก์ โจทก์ยังคงมีหน้าที่ต้องนำพยานหลักฐานเข้าสืบให้รับฟังได้ตามคำฟ้อง และในกรณีที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยทั้งสองยื่นคำให้การเช่นคดีนี้ จำเลยทั้งสองมีสิทธิที่จะสาบานตนให้การเป็นพยานเอง และถามค้านพยานโจทก์ได้ ตามมาตรา 199 วรรคสอง (เดิม) ซึ่งจำเลยทั้งสองได้สาบานตนให้การเป็นพยาน และถามค้านพยานโจทก์ในปัญหาดังกล่าวไว้แล้ว ฎีกาของจำเลยทั้งสองในข้อนี้จึงถือได้ว่าเป็นข้อเท็จจริงที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 8 ไม่ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคแรก
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 4 / 2545)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3801-3802/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ ดอกเบี้ยต้องชำระก่อนเงินต้น และการบังคับจำนองเกินคำฟ้อง
ในการชำระหนี้แต่ละครั้งนั้นเมื่อไม่มีการตกลงเป็นอย่างอื่นต้องชำระดอกเบี้ยที่ค้างอยู่เสียก่อน หลังจากนั้นเหลือเงินเท่าใดจึงนำไปชำระเงินต้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 329 วรรคหนึ่ง การที่จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ให้โจทก์แต่ละคราวจึงต้องคำนวณเสียก่อนว่ามีดอกเบี้ยที่ค้างชำระมาจนถึงวันชำระเป็นเงินเท่าใด เมื่อมีเงินเหลือจากการชำระดอกเบี้ยแล้วก็นำไปชำระเงินต้นซึ่งอาจทำให้เงินต้นเหลือลดลงไปและดอกเบี้ยต่อจากนั้นก็ลดลงไปด้วยเช่นเดียวกัน
จำเลยที่ 1 ผ่อนชำระหนี้ด้วยการออกและโอนเช็คให้โจทก์รวม 20 ครั้ง ต้องถือว่าหนี้ส่วนที่ชำระด้วยเช็คระงับสิ้นไปเมื่อเช็คได้ใช้เงินแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 วรรคสาม เช็คดังกล่าว จึงถือเป็นการชำระหนี้ให้แก่โจทก์ในวันที่เรียกเก็บเงินจากธนาคาร
คดีสำหรับจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 โจทก์แยกฟ้องมาเป็นคนละสำนวนซึ่งมีคำขอบังคับจำเลยแต่ละคนแยกต่างหากจากกัน แม้ศาลชั้นต้นจะรวมพิจารณาเข้าด้วยกันแล้ว เมื่อจะพิจารณาคดีรวมกันก็ต้องคำนึงถึงคำขอของแต่ละสำนวนด้วยว่ามีอยู่อย่างไร คดีสำนวนของจำเลยที่ 1 โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ชำระเงินให้โจทก์เพียงอย่างเดียว ไม่ได้มีคำขอบังคับจำนองด้วย ส่วนคดีสำนวนของจำเลยที่ 2 โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 2 ชำระเงินให้โจทก์ ถ้าไม่ชำระจึงขอให้บังคับจำนอง เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ผู้เดียวเท่านั้นที่กู้ยืมเงินจากโจทก์ แต่จำเลยที่ 2 มิได้กู้ยืมเงินจากโจทก์ ย่อมไม่มีกรณีที่จะต้องบังคับจำนองแก่ที่ดินของจำเลยที่ 2 การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้แก่โจทก์ หากไม่ชำระให้บังคับจำนองแก่ที่ดินของจำเลยที่ 2 และศาลอุทธรณ์มิได้แก้ไขจึงเป็นการพิพาทเกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้องสำนวนคดีของจำเลยที่ 1 อันเป็นการมิชอบ กรณีเช่นนี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอุทธรณ์หรือฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3171-3172/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดี, หนังสือมอบอำนาจ, คำฟ้องเคลือบคลุม, สัญญาทรัสต์รีซีท, การชำระหนี้
นาย อ. ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกาไปปฏิบัติราชการที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ออกประกาศใช้ข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2540 ในฐานะ อธิบดีผู้พิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางโดยได้รับคำสั่งจากรัฐมนตรีว่า การกระทรวงยุติธรรมให้ไปช่วยทำงานชั่วคราวในตำแหน่งดังกล่าวตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ พ.ศ. 2521 มาตรา 21 ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น ดังนั้น อ. จึงมีอำนาจออกข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและ การค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2540 โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 30 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 ได้ เมื่อข้อกำหนดดังกล่าวได้รับอนุมัติจากประธานศาลฎีกาและได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดไว้โดยชอบแล้ว ข้อกำหนดดังกล่าวจึงมีผลใช้บังคับได้
แม้ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์จะเป็นตัวแทนซึ่งได้รับมอบหมายอำนาจทั่วไปเกี่ยวกับกิจการในสำนักงานสาขาชลบุรีของโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 801 วรรคหนึ่งก็ตาม แต่ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ก็ไม่ถูกจำกัดอำนาจในการ ยื่นฟ้องคดีต่อศาลตามมาตรา 801 วรรคสอง (5) เพราะหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวได้ระบุให้อำนาจแก่ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ฟ้องคดีไว้โดยชัดแจ้งแล้ว และเป็นการมอบอำนาจทั่วไปให้ดำเนินคดีสำหรับคดีต่าง ๆ ซึ่งเกิดขึ้นที่สาขาชลบุรีของโจทก์มิใช่เป็นการมอบอำนาจแต่เฉพาะการตามมาตรา 800 โจทก์จึงไม่จำต้องกล่าวในหนังสือมอบอำนาจโดยระบุชื่อนิติบุคคลหรือบุคคลที่จะต้องถูกดำเนินคดีหรือถูกฟ้องมาด้วย และการมอบอำนาจทั่วไปให้ดำเนินคดีดังกล่าวย่อมหมายถึงให้ดำเนินคดีต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสาขาชลบุรีของโจทก์ ไม่ว่าคดีนั้นจะได้เกิดขึ้นก่อนหรือหลังวันทำหนังสือมอบอำนาจ ดังนั้น แม้หนังสือมอบอำนาจจะมิได้ระบุชื่อจำเลยทั้งสี่ว่าเป็นผู้จะต้องถูกฟ้องก็ดี ขณะโจทก์ทำหนังสือมอบอำนาจ จำเลยที่ 1 ยังมิได้ทำสัญญาทรัสตรีซีทกับโจทก์และข้อพิพาทคดีนี้เพิ่งเกิดขึ้นหลังวันทำหนังสือมอบอำนาจก็ดี ก็หาใช่ข้อสำคัญไม่ ป. ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ซึ่งมีอำนาจดำเนินคดีแทนโจทก์โดยสมบูรณ์ในขณะยื่นฟ้องจึงมีอำนาจแต่งตั้ง น. ทนายความยื่นฟ้องจำเลยทั้งสี่เป็นคดีนี้ได้
ตามคำฟ้องของโจทก์ แม้โจทก์จะมิได้บรรยายว่าอัตราแลกเปลี่ยนเงิน 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับเงินไทยเท่าใดในวันที่หนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทแต่ละฉบับถึงกำหนดชำระมาโดยชัดแจ้ง แต่โจทก์ก็ได้แนบสำเนาใบแจ้งการครบกำหนดชำระหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทแต่ละฉบับมาท้ายคำฟ้อง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องโดยเอกสารดังกล่าวได้ระบุถึงอัตราแลกเปลี่ยนเงินในวันครบกำหนดชำระหนี้แต่ละจำนวนไว้โดยชัดแจ้งแล้ว จำเลยที่ 1 สามารถตรวจดูเพื่อต่อสู้คดีให้ถูกต้องได้ คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวได้แสดงให้พอเข้าใจได้ถึงสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว ถือว่าเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย ตามข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2540 ข้อ 6 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2963/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลพิพากษาดอกเบี้ยเกินคำฟ้องต้องมีเหตุสมควรตามมาตรา 142(6) หากไม่มีเหตุผลรองรับ การพิพากษาแก้เป็นอื่นนอกเหนือคำฟ้องย่อมไม่ชอบ
การที่ศาลจะพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราที่สูงเกินกว่าที่ปรากฏในคำฟ้องหรือสูงกว่าที่โจทก์มีสิทธิได้รับตามกฎหมายนั้นต้องเป็นกรณีที่ศาลใช้ดุลพินิจโดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(6)
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินดาวน์และเงินค่างวดคืนโจทก์พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ซึ่งศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ตามคำฟ้อง แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ในส่วนดอกเบี้ยเป็นอัตราร้อยละ 15 ต่อปี โดยตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ไม่ได้มีข้อวินิจฉัยว่า จำเลยไม่สุจริตในการสู้ความหรือในการดำเนินคดีนี้อย่างไร ทั้งตามสำนวนก็ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า จำเลยสู้ความโดยไม่สุจริตอย่างไร จึงไม่มีเหตุตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(6) ที่จะพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยอัตราที่สูงเกินกว่าที่ปรากฏในคำฟ้องได้ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนดอกเบี้ยดังกล่าวเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้อง จึงไม่ชอบด้วยมาตรา 142 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2905/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องไม่เคลือบคลุม แม้เอกสารท้ายฟ้องเป็นหลักฐานมูลหนี้ การบรรยายรายละเอียดเอกสารในคำฟ้องไม่จำเป็น
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยสั่งซื้อปูนสำเร็จรูปและน้ำยาผสมปูนไปจากโจทก์รวม13 ครั้ง เป็นเงิน 236,871.25 บาท โดยบรรยายรายละเอียดของการสั่งซื้อสินค้าแต่ละครั้งพร้อมจำนวนเงินค่าสินค้าตามเอกสารท้ายฟ้องและจำเลยได้รับสินค้าไปจากโจทก์แล้ว จำเลยไม่ชำระราคาค่าสินค้าภายในกำหนด ขอให้จำเลยชำระราคาค่าสินค้าพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ คำฟ้องของโจทก์จึงแสดงสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาโดยแจ้งชัดแล้ว แม้โจทก์จะแนบเอกสารใบกำกับภาษี อันเป็นหลักฐานแห่งมูลหนี้มาท้ายฟ้องก็เป็นเพียงเอกสารประกอบคำบรรยายฟ้อง โจทก์สามารถนำสืบถึงรายละเอียดของรายการตามเอกสารดังกล่าวได้ในชั้นพิจารณา ไม่จำเป็นต้องบรรยายรายละเอียดของเอกสารไว้ให้ปรากฏในคำฟ้อง คำฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2686/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งต้องเกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิม หากกล่าวอ้างเรื่องอื่นไม่เกี่ยวข้องกัน ศาลไม่รับพิจารณา
โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระหนี้เงินที่กู้ยืม จำเลยฟ้องแย้งขอให้โจทก์คืนเงินที่จำเลยชำระเกินจากการชำระหนี้ เงินกู้ครั้งก่อนไม่ใช่ครั้งนี้ ฟ้องแย้งของจำเลยเป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2213/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาอนุญาตใช้สิทธิช่วงเครื่องหมายการค้า: ศาลฎีกาพิพากษาเกินคำฟ้อง
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระค่าสิทธิและส่วนต่างของค่าธรรมเนียมจากยอดขาย และค่าสิทธิขั้นต่ำตามสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิช่วงในเครื่องหมายการค้าคำว่า PUMA คดีไม่มีประเด็นข้อพิพาทเรื่องการคืนทรัพย์อันเกิดจากโมฆะกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 วรรคสอง ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยว่าจำเลยต้องจ่ายค่าใช้สิทธิแก่โจทก์ตามควรในฐานลาภมิควรได้ จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องอันเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142 คำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1423/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแพ่ง, คำฟ้องไม่เคลือบคลุม, การเรียกร้องค่าเสียหายเกินคำขอ
โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดมี ก. เป็นกรรมการเพียงคนเดียวก. จึงมีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ รวมทั้งมีอำนาจแต่งตั้งทนายความให้ฟ้องคดีและแม้ว่าวัตถุประสงค์ของโจทก์จะไม่ได้ระบุว่าโจทก์มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินคดีแต่อำนาจในการฟ้องคดีแพ่งย่อมเป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 55 เมื่อปรากฏว่าโจทก์มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายแพ่งโจทก์จึงชอบที่จะเสนอคดีของตนต่อศาลส่วนแพ่งที่มีเขตอำนาจได้
โจทก์ระบุข้อหาหรือฐานความผิดว่าเอกเทศสัญญา และบรรยายฟ้องว่าจำเลยทำสัญญาสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์ แต่โจทก์ได้บรรยายฟ้องมีรายละเอียดว่าจำเลยมอบแม่พิมพ์ให้โจทก์ผลิตสินค้ากล่องพลาสติกรูปบ้าน รูปหุ่นยนต์ และรูปโทรศัพท์เป็นชุดโจทก์ผลิตสินค้าดังกล่าวให้จำเลยแล้ว และโจทก์ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซ่อมแม่พิมพ์ให้จำเลย แต่จำเลยไม่ชำระค่าสินค้าและค่าซ่อมแม่พิมพ์ให้โจทก์ จึงขอให้บังคับจำเลยชำระค่าสินค้าและค่าซ่อมแม่พิมพ์ดังกล่าว ซึ่งจำเลยสามารถเข้าใจคำฟ้องของโจทก์และต่อสู้คดีได้ถูกต้อง ส่วนจะเข้าลักษณะข้อหาหรือฐานความผิดใดนั้น ศาลสามารถวินิจฉัยได้เอง คำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
แม่พิมพ์ที่จำเลยมอบให้โจทก์ผลิตสินค้ามีสภาพชำรุดบกพร่อง จำเลยยินยอมให้โจทก์นำช่างมาซ่อมได้เสียค่าซ่อมเป็นเงิน 103,000 บาท จำเลยชำระค่าซ่อมให้โจทก์แล้ว 87,500 บาท ค้างชำระอีก 15,500 บาท ซึ่งโจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้ แต่โจทก์เรียกร้องเงินในส่วนนี้เพียง 15,000 บาท ฉะนั้น ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชำระค่าซ่อมแม่พิมพ์ที่ค้างเป็นเงิน 15,500 บาท จึงเกินคำขอต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 และเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงใช้อำนาจตามมาตรา 142(5)ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247 หยิบยกขึ้นวินิจฉัยแก้ไขเสียให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1416/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียก/คำฟ้อง การปิดเอกสารต้องแน่นหนา การขาดนัดยื่นคำให้การ/พิจารณา
การปิดคำคู่ความหรือเอกสารตามบทบัญญัติ ป.วิ.พ. มาตรา 79 วรรคหนึ่ง หมายถึงการนำคำคู่ความหรือ เอกสารไปติดไว้ที่ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของคู่ความ ซึ่งต้องกระทำให้มีลักษณะแน่นหนา ไม่หลุดออกไป โดยง่าย การที่เจ้าพนักงานศาลผู้ส่งเพียงแต่นำหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง พร้อมหมายนัดสืบพยานโจทก์ไปเสียบไว้ที่เหล็กที่ใช้เป็นมือจับสำหรับปิดเปิดประตูเหล็กยืดที่บ้านจำเลยเท่านั้น ซึ่งอาจหลุดและปลิวไปได้โดยง่าย จึงยังไม่อาจถือได้ว่าเป็นการปิดคำคู่ความหรือเอกสารโดยชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 79 วรรคหนึ่ง ดังนั้น เมื่อยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้รับหมายเรียกให้ยื่นคำให้การและหมายกำหนดวันนัดสืบพยานโดยชอบ จำเลยจึงไม่จงใจขาดนัดยื่นคำให้การและ ขาดนัดพิจารณา สมควรที่ศาลชั้นต้นจะต้องพิจารณาคดีใหม่
of 89