คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คำร้อง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 497 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำร้องข้ามขั้นตอนในคดีแพ่ง: ผลกระทบต่อการพิจารณาคดีและการอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาแล้วสืบพยานโจทก์ไปฝ่ายเดียวจนเสร็จ จำเลยจึงมาศาลและยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การ ขณะอยู่ระหว่างนัดฟังคำพิพากษา ซึ่งก็คืออยู่ระหว่างพิจารณาคดีฝ่ายเดียวจึงล่วงเลยขั้นตอนที่จำเลยจะยื่นคำร้องเช่นนั้นได้ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ.มาตรา 199แล้ว สิ่งที่จำเลยพึงกระทำในตอนนั้น คือการยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ ตามป.วิ.พ.มาตรา 205 วรรคสอง แล้วจึงจะเชื่อมโยงไปบังคับเรื่องขออนุญาตยื่นคำให้การ ตามมาตรา 199 ต่อไป จริงอยู่การที่จำเลยไม่ทราบว่าศาลสืบพยานโจทก์ในการพิจารณาคดีฝ่ายเดียวเสร็จไปแล้ว จำเลยจึงยื่นคำร้องผิดขั้นตอน เป็นเรื่องน่าเห็นใจ แต่เมื่อจำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การ ศาลชั้นต้นได้สั่งคำร้องนั้นชัดเจนว่า ศาลสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาและพิจารณาคดีฝ่ายเดียวไปจนเสร็จสิ้นแล้วพร้อมทั้งมีคำพิพากษา คำสั่งศาลเช่นนี้ย่อมช่วยให้จำเลยทราบขั้นตอนของกระบวนพิจารณาที่ผ่านไปแล้ว และจำเลยสามารถที่จะยื่นคำร้องขอเสียใหม่ให้ตรงตามเรื่อง แต่จำเลยหาได้กระทำไม่ จำเลยกลับยื่นอุทธรณ์ฎีกายืนยันให้รับคำร้องที่ข้ามขั้นตอนนั้นไว้พิจารณาเมื่อคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การของจำเลยเป็นคำร้องที่ไม่ชอบด้วยขั้นตอน ศาลจึงไม่อาจรับไว้พิจารณาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1340/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องขอพิจารณาใหม่ต้องแสดงเหตุผลความไม่ชอบด้วยกฎหมายและโอกาสชนะคดี มิฉะนั้นศาลมีอำนาจเพิกถอนคำสั่งรับคำร้องได้
จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่อ้างว่า จำเลยไม่ได้มีภูมิลำเนาอยู่บ้านเลขที่ตามฟ้อง การส่งหมายเรียกสำเนาคำฟ้อง หมายนัดและคำบังคับแก่จำเลยที่บ้านเลขที่ตามฟ้อง จึงไม่ชอบ จำเลยมิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา หากจำเลยได้ทราบถึงการฟ้องคดีแต่ต้น จำเลยย่อมต้องยื่นคำให้การต่อสู้คดีเนื่องจากเป็นคดีมีทุนทรัพย์สูง และจำเลยมีหลักฐานเอกสารที่จะเสนอต่อศาลเพื่อหักล้างข้อกล่าวอ้างของโจทก์อันอาจเป็นเหตุให้ศาลพิพากษาคดีเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม และเหตุที่จำเลยยื่นคำร้องล่าช้าเพราะจำเลยเพิ่งทราบว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีจะทำการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลย คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยกล่าวอ้างแต่เหตุที่จำเลยขาดนัดและเหตุแห่งการที่ยื่นคำขอล่าช้าเท่านั้นจำเลยไม่ได้กล่าวอ้างหรือแสดงเหตุโดยละเอียดชัดแจ้งว่าคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยแพ้คดี ไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องในส่วนใด อย่างไร และไม่ได้แสดงเหตุผลว่าหากมีการอนุญาตให้พิจารณาใหม่ จำเลยจะชนะคดีได้อย่างไร จำเลยไม่ได้กล่าวว่าพยานหลักฐานใดของโจทก์ที่รับฟังไม่ได้ว่า จำเลยต้องรับผิดตามฟ้อง และมิได้กล่าวถึงพยานหลักฐานของจำเลยว่ามีอย่างใดบ้างที่จะทำให้จำเลยชนะคดีได้ จึงไม่ชอบด้วยป.วิ.พ.มาตรา 208 วรรคท้าย
แม้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยและได้ทำการไต่สวนพยานจำเลยไปบ้างแล้ว แต่เมื่อต่อมาได้ปรากฏต่อศาลชั้นต้นเองว่า การสั่งรับคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยนั้น มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งป.วิ.พ.มาตรา 208 วรรคท้าย ศาลชั้นต้นก็มีอำนาจเพิกถอนคำสั่งเดิมและสั่งไม่รับคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยเพื่อให้ถูกต้องได้ เพราะเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมในการพิจารณาคดีดังที่บทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาตรา 27 ให้อำนาจไว้
การสั่งให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้น ศาลย่อมมีอำนาจที่จะสั่งได้เมื่อเห็นสมควรหรือเมื่อคู่ความฝ่ายที่เสียหายเนื่องจากการที่มิได้ปฏิบัติเช่นว่านั้นยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้อง แม้โจทก์จะมิได้คัดค้านว่าคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยบรรยายไม่ครบถ้วนตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาตรา 208ก็หาเป็นการลบล้างอำนาจของศาลในเรื่องนี้ไม่ การที่ศาลชั้นต้นอาศัยอำนาจตามป.วิ.พ.มาตรา 27 สั่งเพิกถอนคำสั่งเดิมที่ให้รับคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยและสั่งไม่รับคำร้องดังกล่าวของจำเลย จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1331/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอพิจารณาใหม่ต้องยื่นภายในกำหนด หากพ้นกำหนดต้องแสดงเหตุสุดวิสัย มิเช่นนั้นคำร้องจะไม่รับ
จำเลยทราบว่าถูกฟ้องเมื่อมีการส่งคำบังคับให้แก่จำเลย จึงต้องถือว่ามีการส่งคำบังคับให้แก่จำเลยแล้ว หากจำเลยประสงค์จะให้ศาลพิจารณาใหม่จะต้องยื่นคำขอต่อศาลภายในสิบห้าวันนับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งให้แก่จำเลยตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคหนึ่ง
ศาลชั้นต้นส่งคำบังคับให้แก่จำเลยโดยวิธีปิดหมายเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2539 จำเลยต้องยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่อย่างช้าที่สุดภายในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2539 แต่จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ในวันที่3 มิถุนายน 2541 ล่วงพ้นระยะเวลาดังกล่าวแล้ว ในกรณีเช่นนี้จำเลยจะต้องแสดงให้เห็นว่ามีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ ทำให้จำเลยไม่สามารถยื่นคำขอภายในระยะเวลาดังกล่าวจำเลยอาจยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ได้ภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่พฤติการณ์นั้นได้สิ้นสุดลง แต่ข้ออ้างของจำเลยที่ว่าหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว ผู้เช่าซื้อได้นำรถยนต์ที่เช่าซื้อส่งมอบคืนให้แก่โจทก์ก็ดี และผู้เช่าซื้อได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์บางส่วนแล้วก็ดี หาใช่พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ทำให้จำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันไม่สามารถยื่นคำขอภายในระยะเวลาที่กฎหมายบัญญัติไว้ไม่ คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1304/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการยื่นคำร้องในคดีประนีประนอม และการบังคับคดีนอกเหนือคำพิพากษา
ศาลมีคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ซึ่งจำเลยทั้งสามยอมชำระหนี้ให้โจทก์โดยผ่อนชำระเป็นรายเดือน หากผิดนัดงวดใดถือว่าผิดนัดทั้งหมด ยอมให้โจทก์บังคับคดีได้ทันที ระหว่างการผ่อนชำระหนี้จำเลยที่ 1 ได้รับอนุญาตให้ลาออกจากการทำงานและได้ยื่นคำร้องว่าที่โจทก์ขอให้ต้นสังกัดซึ่งเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 หักเงินบำเหน็จโดยอาศัยสิทธิตามสัญญากู้ยืมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นการไม่ชอบเพราะจำเลยที่ 1 ยังไม่ผิดนัด ศาลชั้นต้นไม่รับวินิจฉัยคำร้องของจำเลย เนื่องจากจำเลยไม่มีสิทธิยื่นคำร้องเข้ามาในคดีให้ศาลกำหนดวิธีการอย่างใด ๆ ที่บัญญัติไว้ในภาค 4 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เพื่อคุ้มครองประโยชน์ของคู่ความในระหว่างการบังคับตามคำพิพากษา อุทธรณ์ของจำเลยแม้พอจะถือได้ว่าเป็นการอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้น แต่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยในประเด็นเบื้องต้นก่อนว่าจำเลยมีสิทธิยื่นคำร้องเข้ามาในคดีนี้เพื่อให้ศาลกำหนดวิธีการอย่างใด ๆ ที่บัญญัติไว้ในภาค 4 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง หรือไม่ ซึ่งศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยไว้และเป็นประเด็นที่ว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้น แต่ศาลอุทธรณ์กลับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยโดยตั้งประเด็นว่าโจทก์มีสิทธิขอให้ต้นสังกัดของลูกจ้างหักเงินบำเหน็จที่จำเลยที่ 1 จะได้รับ เพื่อนำเงินมาชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความหรือไม่ ซึ่งปัญหานี้ศาลชั้นต้นไม่รับวินิจฉัยเพราะเป็นเพียงประเด็นต่อจากประเด็นที่ศาลชั้นต้นได้ยกคำร้องของจำเลย การที่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยประเด็นหลักในเบื้องต้นก่อนเช่นนี้จึงไม่ชอบ แม้โจทก์จะมิได้ฎีกาในปัญหานี้แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5),246 และ 257และแม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ตามที่จำเลยที่ 1 อ้าง ก็เป็นเรื่องที่โจทก์มิได้มีการบังคับคดีจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ภาค 4 และเป็นเรื่องที่โจทก์โต้แย้งสิทธิของจำเลยที่ 1 นอกเหนือการบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอม จำเลยที่ 1 ต้องไปว่ากล่าวโจทก์เป็นอีกคดีหนึ่ง ไม่มีสิทธิยื่นคำร้องเข้ามาในคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1279/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา: การคัดค้านคำวินิจฉัยศาลต้องอุทธรณ์ ไม่ใช่ยื่นคำร้องใหม่
ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องขออนุญาตดำเนินคดีอย่างคนอนาถาของโจทก์แล้วมีคำสั่งยกคำร้อง โจทก์ยื่นคำร้องขอสืบพยานเพิ่มเติมแต่ข้ออ้างตามคำร้องของโจทก์เป็นการคัดค้านข้อวินิจฉัยของศาลชั้นต้นที่วินิจฉัยโดยคำสั่งหลังเสร็จการไต่สวนแล้ว ข้อวินิจฉัยดังกล่าวหากโจทก์ไม่เห็นด้วยและประสงค์จะคัดค้าน โจทก์ชอบที่จะคัดค้านโดยการอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้น มิใช่โดยการยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นพิจารณาใหม่อีกครั้งหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8735/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับระยะเวลาขยายฎีกา: เริ่มนับจากวันสุดท้ายเดิม ไม่ใช่วันยื่นคำร้อง
คดีแพ่ง ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟังเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2542 ครบกำหนดยื่นฎีกาวันที่ 17 เมษายน 2542เป็นวันเสาร์หยุดราชการ แม้โจทก์จะมีสิทธิยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาในวันที่ 19 เมษายน 2542 ซึ่งเป็นวันที่เริ่มทำการใหม่ได้ก็ตาม แต่การนับระยะเวลาที่ขอขยายออกไปก็ต้องนับต่อจากวันสุดท้ายที่ครบกำหนดระยะเวลาเดิม คือเริ่มนับหนึ่งตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน 2542 หาใช่นับตั้งแต่วันที่ 19 เมษายน 2542 อันเป็นวันที่โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาไม่ เมื่อโจทก์ขอขยายระยะเวลายื่นฎีกา 3 วัน และศาลชั้นต้นอนุญาตตามที่โจทก์ขอ จึงครบกำหนดในวันที่ 20 เมษายน 2542 โจทก์ยื่นฎีกาในวันที่ 21 เมษายน 2542 จึงล่วงพ้นกำหนดระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นขยายให้แล้วต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 247 ประกอบมาตรา 23 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8107/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดี: การยื่นคำร้องขัดแย้งที่ล่าช้าเกินกำหนดตามกฎหมาย
คำร้องของโจทก์ที่ยื่นต่อศาลชั้นต้น ขอให้เพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีที่สั่งโดยผิดระเบียบ อ้างว่าคู่ความและศาลตกลงกันให้ยกเลิกวันนัดวันที่ 29กรกฎาคม 2540 แล้ว ข้อความตกเติมในรายงานกระบวนพิจารณาของศาลที่ให้นัดวันที่ 29 กรกฎาคม 2540 ได้กระทำขึ้นภายหลังหลังจากที่คู่ความและศาลได้ลงชื่อในรายงานกระบวนพิจารณา ต่อมาโจทก์และจำเลยมาศาลในวันนัดวันที่ 24 พฤศจิกายน2540 จึงทราบเรื่องศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดี คำร้องของโจทก์ดังกล่าวต้องด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 27 ซึ่งโจทก์ต้องยกขึ้นกล่าวไม่ช้ากว่า 8 วัน นับแต่ทราบพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างตาม ป.วิ.พ.มาตรา 27 วรรคสอง โจทก์ทราบว่าถูกศาลสั่งจำหน่ายคดีโดยผิดระเบียบเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2540 แต่โจทก์ยื่นคำร้องดังกล่าวเมื่อวันที่ 12ธันวาคม 2540 ช้ากว่ากำหนดตามกฎหมาย โจทก์จึงหมดสิทธิยื่น และศาลไม่มีอำนาจรับวินิจฉัยให้โจทก์
ข้อที่โจทก์กล่าวอ้างเหตุล่าช้าตาม ป.วิ.พ.มาตรา 208 วรรคท้ายในฎีกาว่า ต้องเสียเวลาหลายวันในการขอดูสำนวน จนกระทั่งวันที่ 4 ธันวาคม 2540โจทก์จึงได้ดูสำนวน นั้น โจทก์ไม่ได้อ้างเหตุล่าช้าดังกล่าวนี้ไว้ในคำร้องที่ยื่นต่อศาลชั้นต้นและในศาลอุทธรณ์ จึงไม่เป็นประเด็นในชั้นฎีกา ทั้งโจทก์สามารถที่จะเรียงคำร้องได้เมื่อโจทก์ทราบว่าถูกจำหน่ายคดีผิดระเบียบโดยโจทก์ไม่จำต้องขอดูสำนวนหรือหากโจทก์มีความจำเป็นจะต้องดูสำนวน โจทก์ก็ชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอขยายเวลาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 23 ได้ แต่โจทก์ก็หาได้กระทำไม่ จึงไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8107/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดี: การยื่นคำร้องเกินกำหนดและเหตุล่าช้าที่ไม่แจ้งต่อศาล
คำร้องของโจทก์ที่ยื่นต่อศาลชั้นต้น ขอให้เพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีที่สั่งโดยผิดระเบียบ อ้างว่าคู่ความและศาลตกลงกันให้ยกเลิกวันนัดวันที่ 29 กรกฎาคม2540 แล้ว ข้อความตกเติมในรายงานกระบวนพิจารณาของศาลที่ให้นัดวันที่ 29 กรกฎาคม 2540 ได้กระทำขึ้นภายหลังจากที่คู่ความและศาลได้ลงชื่อในรายงานกระบวนพิจารณา ต่อมาโจทก์และจำเลยมาศาลในวันนัดวันที่ 24 พฤศจิกายน 2540 จึงทราบเรื่องศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดี คำร้องของโจทก์ดังกล่าวต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 ซึ่งโจทก์ต้องยกขึ้นกล่าวไม่ช้ากว่า 8 วัน นับแต่ทราบพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 วรรคสอง โจทก์ทราบว่าถูกศาลสั่งจำหน่ายคดีโดยผิดระเบียบเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2540 แต่โจทก์ยื่นคำร้องดังกล่าวเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2540 ช้ากว่ากำหนดตามกฎหมาย โจทก์จึงหมดสิทธิยื่น และศาลไม่มีอำนาจรับวินิจฉัยให้โจทก์
ข้อที่โจทก์กล่าวอ้างเหตุล่าช้าตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 208 วรรคท้าย ในฎีกาว่า ต้องเสียเวลาหลายวันในการขอดูสำนวน จนกระทั่งวันที่ 4 ธันวาคม 2540 โจทก์จึงได้ดูสำนวน นั้น โจทก์ไม่ได้อ้างเหตุล่าช้าดังกล่าวนี้ไว้ในคำร้องที่ยื่นต่อศาลชั้นต้นและในศาลอุทธรณ์ จึงไม่เป็นประเด็นในชั้นฎีกา ทั้งโจทก์สามารถที่จะเรียงคำร้องได้เมื่อโจทก์ทราบว่าถูกจำหน่ายคดีผิดระเบียบโดยโจทก์ไม่จำต้องขอดูสำนวนหรือหากโจทก์มีความจำเป็นจะต้องดูสำนวน โจทก์ ก็ชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอขยายเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ได้ แต่โจทก์ก็หาได้กระทำไม่ จึงไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6556/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาข้อเท็จจริงและการปฏิบัติตามขั้นตอนการยื่นคำร้องขออนุญาตฎีกาที่ถูกต้องตามกฎหมาย
คดีต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จำเลยฎีกาพร้อมกับยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งเป็นเจ้าของสำนวนอนุญาตให้ฎีกาปัญหาข้อเท็จจริง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ข้อความที่ตัดสินไม่ควรสู่ศาลสูงสุดจะวินิจฉัยไม่อนุญาตให้ฎีกา ยกคำร้องของจำเลย และไม่รับฎีกา
จำเลยอุทธรณ์คำสั่ง โดยขอให้ ส. ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ฎีกา ศาลชั้นต้นเห็นว่า ตามเนื้อหาเป็นเรื่องขอให้ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ลงลายมือชื่อในคำพิพากษาอนุญาตให้ฎีกา จึงให้ส่งไปให้ ส. พิจารณาสั่ง ต่อมาศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า คดีนี้ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยฟังเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2541 จำเลยยื่นคำร้องลงวันที่ 25 ธันวาคม 2541 ต่อศาลชั้นต้นระบุขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาคดีนี้ในศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยฎีกา เมื่อปรากฏว่าผู้พิพากษาที่พิจารณาคดีในศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้ฎีกาและสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยแล้ว ย่อมถือได้ว่าคำร้องของจำเลยดังกล่าวได้สิ้นสุดลงแล้ว หากจำเลยประสงค์จะให้ผู้พิพากษาคนอื่นอนุญาตให้ฎีกาจำเลยต้องยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นใหม่ภายในกำหนดเวลายื่นฎีกา แต่จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งซึ่งเนื้อหาคือยื่นคำร้องเป็นกรณีนี้ต่อศาลชั้นต้นเมื่อล่วงเลยกำหนดเวลายื่นฎีกาแล้ว การยื่นคำร้องดังกล่าวของจำเลย จึงเป็นการปฏิบัติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้ยกคำร้อง กรณีเช่นว่านี้ไม่มีกฎหมายให้อำนาจศาลฎีกาที่จะรับฎีกาของจำเลยได้ จำเลยจึงฎีกาคัดค้านคำสั่งศาลอุทธรณ์ขอให้ศาลฎีการับฎีกาของจำเลยไม่ได้
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า หากจำเลยประสงค์จะให้ผู้พิพากษาคนอื่นอนุญาตให้ฎีกา จำเลยต้องยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นใหม่ภายในกำหนดเวลายื่นฎีกา หาได้วินิจฉัยว่าจำเลยนี้มิได้ยื่นฎีกาใหม่ภายในกำหนดเวลายื่นฎีกาดังจำเลยฎีกาไม่ ดังนี้จึงถือไม่ได้ว่าฎีกาของจำเลยเป็นการคัดค้านคำสั่งศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 216 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6556/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาที่ล่าช้าและการไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการยื่นคำร้องขออนุญาตฎีกา ทำให้ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คดีต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จำเลยฎีกาพร้อมกับยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งเป็นเจ้าของสำนวนอนุญาตให้ฎีกาปัญหาข้อเท็จจริง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ข้อความที่ตัดสินไม่ควรสู่ศาลสูงสุดจะวินิจฉัย ไม่อนุญาตให้ฎีกา ยกคำร้องของจำเลย และไม่รับฎีกา จำเลยอุทธรณ์คำสั่ง โดยขอให้ ส. ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ฎีกาศาลชั้นต้นให้ส่งไปให้ ส. พิจารณาสั่ง ต่อมาศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า คดีนี้ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยฟังเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2541 จำเลยยื่นคำร้องลงวันที่ 25 ธันวาคม 2541 ต่อศาลชั้นต้นระบุขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาคดีนี้ในศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยฎีกา เมื่อปรากฏว่าผู้พิพากษาที่พิจารณาคดีในศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้ฎีกาและสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยแล้ว ย่อมถือได้ว่าคำร้องของจำเลยดังกล่าวได้สิ้นสุดลงแล้ว หากจำเลยประสงค์จะให้ผู้พิพากษาคนอื่นอนุญาตให้ฎีกาจำเลยต้องยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นใหม่ภายในกำหนดเวลายื่นฎีกา แต่จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งซึ่งเนื้อหาคือยื่นคำร้องเป็นกรณีนี้ต่อศาลชั้นต้นเมื่อล่วงเลยกำหนดเวลายื่นฎีกาแล้ว จึงเป็นการปฏิบัติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ยกคำร้อง กรณีเช่นว่านี้ไม่มีกฎหมายให้อำนาจศาลฎีการับฎีกาของจำเลยได้ จำเลยจึงฎีกาขอให้ศาลฎีการับฎีกาของจำเลยไม่ได้
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า หากจำเลยประสงค์จะให้ผู้พิพากษาคนอื่นอนุญาตให้ฎีกา จำเลยต้องยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นใหม่ภายในกำหนดเวลายื่นฎีกา ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยว่าจำเลยนี้มิได้ยื่นฎีกาใหม่ภายในกำหนดเวลายื่นฎีกาดังจำเลยฎีกา ฎีกาของจำเลยไม่เป็นการคัดค้านคำสั่งศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 216
of 50