พบผลลัพธ์ทั้งหมด 140 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4776/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำวินิจฉัยอธิบดีกรมสรรพากรเป็นที่สุดตามกฎหมาย โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องต่อศาลภาษีอากร
คำวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากรที่กฎหมายบัญญัติให้ถือเป็นที่สุดตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่30)พ.ศ.2534มาตรา17นั้นเมื่อไม่ปรากฏว่าอธิบดีกรมสรรพากรได้กลั่นแกล้งหรือไม่สุจริตผู้ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยจะอุทธรณ์ต่อศาลภาษีอากรตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ.2528มาตรา7(1)ไม่ได้โจทก์ผู้ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยจึงไม่มีอำนาจฟ้อง การอุทธรณ์คำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานตามกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากรตามมาตรา7(1)แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ.2528หมายถึงกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้คำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานดังกล่าวเป็นที่สุดเท่านั้นหากมีกฎหมายบัญญัติให้คำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานตามกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากรถือเป็นที่สุดก็ต้องบังคับตามบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติเป็นพิเศษเฉพาะกรณีนั้นๆ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3432/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับระยะเวลาอุทธรณ์คำวินิจฉัย คชก.ตำบล และผลของการอุทธรณ์พ้นกำหนด
พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524มาตรา 56 วรรคแรก ไม่ได้บัญญัติถึงวิธีการในการแจ้งให้ทราบคำวินิจฉัยของคชก.ตำบล ว่าจะต้องปฏิบัติอย่างไร หรือจะต้องทำเป็นหนังสือทางการหรือไม่ฉะนั้น หากผู้เช่านาทราบคำวินิจฉัย คชก.ตำบล แล้วไม่ว่าด้วยเหตุใด ก็ต้องเริ่มนับเวลาที่ต้องยื่นอุทธรณ์ภายใน 30 วัน
โจทก์ที่ 1 ร่วมประชุมอยู่จนกระทั่ง คชก.ตำบล ลงมติวินิจฉัยโจทก์ที่ 1 ย่อมทราบคำวินิจฉัยในขณะนั้นแล้ว และโจทก์ที่ 1 ก็บอกให้โจทก์ที่ 2ทราบคำวินิจฉัย จึงบ่งชี้ว่าโจทก์ที่ 2 ได้ทราบคำวินิจฉัยเช่นเดียวกัน โจทก์ทั้งสองต้องยื่นอุทธรณ์ต่อ คชก.จังหวัด ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ทราบคำวินิจฉัยของคชก.ตำบล แม้ต่อมา คชก.ตำบล จะมีหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยให้โจทก์ทั้งสองทราบในภายหลังอีก โจทก์ทั้งสองจะอ้างเป็นเหตุให้เริ่มนับระยะเวลาอุทธรณ์ใหม่นับแต่วันได้รับหนังสือดังกล่าวไม่ได้
การที่ คชก.จังหวัด ได้ลงมติและวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสองซึ่งยื่นเมื่อพ้นกำหนด เป็นคำวินิจฉัยที่ปราศจากอำนาจ ไม่ชอบด้วยกฎหมายต้องถือว่าคำวินิจฉัยของ คชก.ตำบล ที่ให้โจทก์ทั้งสองเลิกการเช่านาเป็นที่สุดแล้วโจทก์ทั้งสองไม่มีอำนาจฟ้องหรือร้องขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์ทั้งสองทำนาต่อไป
โจทก์ที่ 1 ร่วมประชุมอยู่จนกระทั่ง คชก.ตำบล ลงมติวินิจฉัยโจทก์ที่ 1 ย่อมทราบคำวินิจฉัยในขณะนั้นแล้ว และโจทก์ที่ 1 ก็บอกให้โจทก์ที่ 2ทราบคำวินิจฉัย จึงบ่งชี้ว่าโจทก์ที่ 2 ได้ทราบคำวินิจฉัยเช่นเดียวกัน โจทก์ทั้งสองต้องยื่นอุทธรณ์ต่อ คชก.จังหวัด ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ทราบคำวินิจฉัยของคชก.ตำบล แม้ต่อมา คชก.ตำบล จะมีหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยให้โจทก์ทั้งสองทราบในภายหลังอีก โจทก์ทั้งสองจะอ้างเป็นเหตุให้เริ่มนับระยะเวลาอุทธรณ์ใหม่นับแต่วันได้รับหนังสือดังกล่าวไม่ได้
การที่ คชก.จังหวัด ได้ลงมติและวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสองซึ่งยื่นเมื่อพ้นกำหนด เป็นคำวินิจฉัยที่ปราศจากอำนาจ ไม่ชอบด้วยกฎหมายต้องถือว่าคำวินิจฉัยของ คชก.ตำบล ที่ให้โจทก์ทั้งสองเลิกการเช่านาเป็นที่สุดแล้วโจทก์ทั้งสองไม่มีอำนาจฟ้องหรือร้องขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์ทั้งสองทำนาต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2995/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: ประเด็นข้อพิพาทใหม่ที่ไม่เคยมีคำวินิจฉัยชี้ขาด
โจทก์และจำเลยในคดีนี้เป็นคู่ความเดียวกันกับโจทก์และจำเลยในคดีก่อน คดีก่อนศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทและวินิจฉัยเพียงประเด็นเดียวว่าโจทก์ได้ใช้สิทธิไถ่ถอนการขายฝากภายในระยะเวลาหรือไม่ ส่วนคดีนี้ ประเด็นในคดีมีว่า บันทึกข้อตกลงที่ว่าถ้าโจทก์ชำระหนี้ให้แก่จำเลยครบตามจำนวนหนี้ จำเลยยินยอมโอนที่ดินพิพาทคืนแก่โจทก์ ถือว่าเป็นคำมั่นจะขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์หรือไม่อันไม่ใช่ประเด็นเดียวกันกับประเด็นในคดีก่อน แม้ศาลชั้นต้นจะกล่าวอ้างถึงบันทึกดังกล่าวด้วย แต่ไม่ได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ และแม้โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาว่าบันทึกดังกล่าวจะถือว่าเป็นคำมั่นจะขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์หรือไม่ด้วยก็ตาม แต่ศาลอุทธรณ์เห็นว่าปัญหาดังกล่าวมิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทมาแต่ศาลชั้นต้น จึงไม่รับวินิจฉัยให้ ดังนั้นประเด็นในคดีนี้จึงเป็นประเด็นที่ยังไม่มีคำวินิจฉัยชี้ขาดของศาล คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าคดีนี้ไม่เป็นฟ้องซ้ำ แต่พิพากษากลับนั้นไม่ถูกต้อง ต้องพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (2)
การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าคดีนี้ไม่เป็นฟ้องซ้ำ แต่พิพากษากลับนั้นไม่ถูกต้อง ต้องพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2259/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับตามคำวินิจฉัยคชก.ที่ดิน เกินกำหนดสิทธิซื้อนา และผลกระทบต่ออำนาจฟ้อง
ฟ้องโจทก์เป็นการร้องขอต่อศาลให้บังคับกรณีมีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยหรือคำสั่งอันเป็นที่สุดของคชก.ตำบลหรือคชก.จังหวัดซึ่งพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯมาตรา58วรรคแรกให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาพิพากษาตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลมและตามพระราชบัญญัติ อนุญาโตตุลาการฯมาตรา24วรรคแรกให้ศาลมีอำนาจทำคำสั่งปฏิเสธไม่รับบังคับตามคำชี้ขาดในกรณีที่ศาลเห็นว่า คำชี้ขาด ไม่ชอบด้วยกฎหมายที่ใช้บังคับแก่ข้อพิพาทนั้นเมื่อพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯมาตรา56วรรคแรกบัญญัติให้ ผู้เช่านาต้องใช้สิทธิซื้อนาพิพาทภายในกำหนดเวลา2ปีนับแต่วันที่ผู้เช่านารู้หรือควรจะรู้หรือภายในกำหนดเวลา3ปีนับแต่ผู้ให้เช่านาโอนนานั้นแต่ตามฟ้องปรากฏว่าจำเลยที่1โอนขายนาพิพาทให้แก่จำเลยที่2เมื่อวันที่27สิงหาคม2538และโจทก์ทั้งสองทราบเรื่องเมื่อประมาณเดือนมกราคม2532หลังจากนั้นจึงดำเนินการยื่นเรื่องราวต่อคชก.ตำบลเพื่อวินิจฉัยข้อพิพาทมีความหมายอยู่ในตัวว่าโจทก์ทั้งสองมิได้ใช้สิทธิซื้อนาภายในกำหนดเวลา3ปีนับแต่จำเลยที่1โอนขายนาพิพาทให้แก่จำเลยที่2คำวินิจฉัยของคชก.ตำบลที่ชี้ขาดให้โจทก์ทั้งสองมีสิทธิซื้อนาพิพาทจากจำเลยที่2จึงไม่ชอบแม้จำเลยที่1ยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำวินิจฉัยของคชก.ตำบลเกินกำหนดเวลาตามมาตรา56และจำเลยที่2มิได้ยื่นอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคชก.ตำบลศาลก็ต้องปฏิเสธไม่รับบังคับตาม คำชี้ขาดของคชก.ตำบลและเป็นเรื่อง อำนาจฟ้องซึ่งเป็น ข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนทั้งจำเลยที่2ก็ได้กล่าวแก้ในคำแก้ฎีกาด้วยศาลฎีกาวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2198/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การเพิกถอนการจดทะเบียนหลังมีคำวินิจฉัย
แม้โจทก์กับจำเลยจะโต้เถียงกันในชั้นพิจารณาคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมาย-การค้าของจำเลยหรือไม่ จนคณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีคำวินิจฉัยให้จำเลยชนะซึ่งถึงที่สุดแล้วตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 22 วรรคสี่ (1)แต่ฟ้องโจทก์คดีนี้โจทก์อ้างว่ามีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลยผู้ที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย ซึ่งเป็นการใช้สิทธิตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 41 (1) โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1195/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หมดอายุความฟ้อง: คำวินิจฉัย คชก. ถึงที่สุดเมื่อไม่ฟ้องภายใน 60 วัน
ตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา56 วรรคสอง ที่บัญญัติว่า "คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลที่มิได้อุทธรณ์ตามวรรคหนึ่งให้เป็นที่สุด" และมาตรา 57 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติว่า "คู่กรณีหรือผู้มีส่วนได้เสียในการเช่านาที่ไม่พอใจคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัด มีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลได้ภายในสามสิบวันนับแต่ที่ทราบคำวินิจฉัย คชก.จังหวัด แต่จะต้องไม่เกินหกสิบวันนับแต่วันที่คชก.จังหวัดมีคำวินิจฉัย" และวรรคสอง ที่บัญญัติว่า "ให้นำมาตรา 56 วรรคสองวรรคสี่ และวรรคห้า มาใช้บังคับแก่การมีคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดโดยอนุโลม"นั้น หมายความว่า หากคู่กรณีหรือผู้มีส่วนได้เสียจะฟ้องหรืออุทธรณ์คำวินิจฉัยของคชก.จังหวัดต่อศาลต้องฟ้องหรืออุทธรณ์ต่อศาลภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัด หรืออย่างช้าต้องไม่เกินหกสิบวันนับแต่วันที่ คชก.จังหวัดมีคำวินิจฉัย หากไม่ได้ฟ้องหรืออุทธรณ์ต่อศาลภายในกำหนดเวลาดังกล่าว คำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดย่อมเป็นที่สุด คู่กรณีหรือผู้มีส่วนได้เสียไม่มีอำนาจฟ้องหรืออุทธรณ์คำวินิจฉัยดังกล่าวได้อีก การที่โจทก์ร้องเรียนต่อ คชก.ตำบลว่า โจทก์เช่าที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 เพื่อทำนาตั้งแต่ พ.ศ.2524 จำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยไม่ได้มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบก่อน ครั้นวันที่ 19 ตุลาคม 2532 คชก.ตำบลได้มีคำวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่ได้เช่านาตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 21, 63 จึงไม่อยู่ในอำนาจของ คชก.ตำบล ตามมาตรา 13 โจทก์ยื่นอุทธรณ์ต่อ คชก.จังหวัด คชก.จังหวัดได้มีคำวินิจฉัยเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2533 ยืนยันตามคำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลโจทก์จึงมาฟ้องคดีต่อศาลเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2533 ซึ่งพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2533 ที่ คชก.จังหวัดมีคำวินิจฉัย ต้องถือว่าคำวินิจฉัยของคณะกรรมการดังกล่าวถึงที่สุดแล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง เกี่ยวกับอำนาจฟ้องของโจทก์ แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ไม่ได้ยกขึ้นวินิจฉัย แต่ปัญหาดังกล่าวจำเลยทั้งสามได้ให้การต่อสู้คดี และจำเลยที่ 2 กับที่ 3 ก็ได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำแก้อุทธรณ์และคำแก้ฎีกา ถือได้ว่ามีประเด็นที่ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้ทั้งปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องของโจทก์ดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247 อีกด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1195/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หมดอายุความฟ้องร้องคำวินิจฉัย คชก. และผลกระทบต่ออำนาจฟ้องคดีเช่านา
โจทก์ซึ่งอ้างว่าเป็นผู้เช่านาตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯจะต้องฟ้องหรืออุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำจังหวัดต่อศาลภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำวินิจฉัยหรืออย่างช้าต้องไม่เกินหกสิบวันนับแต่วันที่มีคำวินิจฉัยมิฉะนั้นคำวินิจฉัยย่อมเป็นที่สุดตามมาตรา56,57เมื่อโจทก์มิได้ดำเนินการดังกล่าวจึงไม่มีอำนาจฟ้องหรืออุทธรณ์คำวินิจฉัยได้อีกและแม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ไม่ได้ยกขึ้นวินิจฉัยแต่จำเลยทั้งสามได้ให้การต่อสู้คดีและจำเลยที่2กับที่3ก็ได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำแก้อุทธรณ์และคำแก้ฎีกาถือว่ามีประเด็นที่ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้ทั้งเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(5)ประกอบมาตรา246และ247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 968/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานในคดีชำเรา ความเชื่อมโยงระหว่างข้อเท็จจริงในฟ้องและคำวินิจฉัยของศาล
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายไม่สำเร็จเพราะอวัยวะเพศของผู้เสียหายมีขนาดเล็กและผู้เสียหายหนีบขาไว้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายแต่ผลการตรวจของแพทย์ไม่พบร่องรอยการร่วมประเวณีคงเป็นเพราะอวัยวะเพศของผู้เสียหายเล็กเกินไปจนอวัยวะเพศของจำเลยล่วงล้ำเข้าไปลึกเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และตรวจหลังเกิดเหตุถึง 3 วัน ดังนี้ ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ จึงหาแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้องไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 47/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำวินิจฉัย คชก. และผลของการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งอันเป็นที่สุดตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดิน
พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 56บัญญัติให้มีการอุทธรณ์คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบล ต่อ คชก.จังหวัด ได้โดยทำเป็นหนังสือยื่นต่อประธาน คชก.ตำบล การที่จำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคชก.ตำบล ต่อนายอำเภอและประธาน คชก.ตำบล ผ่านนายอำเภอ โดยปลัดอำเภอซึ่งเป็นกรรมการและเลขานุการ คชก.ตำบล เป็นผู้รับหนังสือก็ตาม เมื่อปรากฏว่าประธาน คชก.ตำบลไม่ได้รับหนังสืออุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1ได้ยื่นอุทธรณ์คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบล ต่อ คชก.จังหวัด คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลจึงเป็นที่สุด เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ยอมขายนาพิพาทให้โจทก์จึงเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งอันเป็นที่สุดดังกล่าว โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองได้ตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 58 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 47/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำวินิจฉัย คชก. ต้องยื่นต่อประธาน คชก. หากไม่ถึงประธาน ถือว่าไม่อุทธรณ์คำวินิจฉัยเป็นที่สุด
การอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบล(คชก.ตำบล) จะต้องยื่นอุทธรณ์โดยทำเป็นหนังสือต่อประธานคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบลในกำหนดสามสิบวัน นับแต่วันที่ทราบคำวินิจฉัย แต่ไม่เกินหกสิบวันนับแต่คณะกรรมการฯ ได้มีคำวินิจฉัย เมื่อประธานคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบลไม่ได้รับหนังสืออุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ยื่นอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบล ต่อคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำจังหวัด (คชก.จังหวัด) คำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบลจึงเป็นที่สุด เมื่อจำเลยที่ 2 ผู้ซื้อที่นาพิพาทจากจำเลยที่ 1 ไม่ยอมขายนาพิพาทให้โจทก์จึงเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งอันเป็นที่สุดของคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบล โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองได้ ตาม พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ. 2524 มาตรา 58 วรรคแรก