คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คำสั่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 377 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2624/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจของผู้คัดค้านในการแจ้งให้ผู้รับซื้อทรัพย์สินโอนกรรมสิทธิ์คืนแก่ลูกหนี้ในคดีล้มละลาย และการที่หนังสือแจ้งนั้นไม่ถือเป็นคำสั่งที่สามารถร้องคัดค้านได้
++ เรื่อง ล้มละลาย (ชั้นคัดค้านคำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์)
++ โปรดดูย่อจากหนังสือคำพิพากษาศาลฎีกา สำนักงานศาลยุติธรรม
++ เล่มที่ 8 หน้า 87 ++
++ ขอดูชุดพิเศษโปรดติดต่อห้องบริการเอกสารสำเนาคำพิพากษา (ห้องสมุด) ชั้น 4, 5 ++

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2624/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือแจ้งให้โอนทรัพย์สินจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ไม่ถือเป็นคำสั่งที่ผู้ร้องต้องปฏิบัติตาม
การที่ผู้คัดค้านมีหนังสือแจ้งให้ผู้ร้องโอนที่ดินคืนแก่ลูกหนี้ที่ 1 เป็นการกระทำในขั้นตอนของการจัดกิจการและทรัพย์สิน ของลูกหนี้ที่ 1 ซึ่งเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านแต่ผู้เดียวตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 22 และ 24 แต่ตามหนังสือของผู้คัดค้านดังกล่าวเป็นเพียงแจ้งข้อเท็จจริงประกอบข้อกฎหมายให้ผู้ร้องทราบ แม้ในตอนท้ายจะมี ข้อความขอให้ผู้ร้องโอนกรรมสิทธิ์ ที่ดินคืนแก่ลูกหนี้ที่ 1 หาก ไม่ปฏิบัติตาม ผู้คัดค้านจะดำเนินการตามกฎหมายก็ตาม ก็มีลักษณะเป็นเพียงคำชี้แนะของผู้คัดค้าน มิใช่เป็นคำสั่ง หรือคำวินิจฉัยชี้ขาดที่ผู้ร้องต้องปฏิบัติตาม ถ้าผู้ร้องเห็นว่า คำชี้แนะไม่ถูกต้อง ผู้ร้องจะไม่ปฏิบัติตามก็ได้ ฉะนั้น ลำพัง หนังสือของผู้คัดค้านที่แจ้งไปยังผู้ร้องดังกล่าว จึงยังไม่เป็นการ กระทำหรือคำวินิจฉัยของผู้คัดค้านที่ทำให้ผู้ร้องได้รับความเสียหาย ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 146 ผู้ร้องจึงไม่มี อำนาจร้องขอต่อศาลให้สั่งกลับหรือแก้ไขได้ ฎีกาผู้ร้องที่ว่า ภายหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ที่ 1 เด็ดขาด ผู้คัดค้านมิได้ตรวจสอบอายัดที่ดินของลูกหนี้ที่ 1โดยเร็ว เป็นเหตุให้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับซื้อที่ดินในภายหลังได้ รับความเสียหาย และผู้คัดค้านไม่มีอำนาจร้องขอให้เพิกถอน การโอนที่ดินดังกล่าวโดยอ้างว่าเป็นโมฆะเพราะคดีขาดอายุความ เป็นข้อที่ผู้ร้องมิได้ยกขึ้นกล่าวอ้างไว้เป็นประเด็นประกอบ กับคดีนี้ศาลชั้นต้นงดไต่สวนคำร้องโดยเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้ แล้วมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องโดยข้อกฎหมาย จึงเป็นการที่ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายตามคำร้องขอของ ผู้คัดค้านซึ่งทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 153 คดีจึงเสร็จไปทั้งเรื่องตามปัญหาข้อกฎหมายดังที่วินิจฉัยแล้ว ไม่จำต้องวินิจฉัยปัญหาอื่นตามฎีกาผู้ร้องอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1260/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งย้ายงานและการเลิกจ้าง: การไม่ปฏิบัติตามคำสั่งย้ายถือเป็นความสมัครใจ ไม่ถือเป็นการเลิกจ้าง
โจทก์ป่วยเป็นโรคไตอักเสบและโจทก์ได้ลาป่วยหลายครั้งเหตุที่จำเลยมีคำสั่งย้ายโจทก์เนื่องจากมีปัญหาจากความเจ็บป่วยและสุขภาพของโจทก์ จำเลยชอบที่จะย้ายโจทก์ไปทำงานตามความเหมาะสมได้หากโจทก์เห็นว่างานประชาสัมพันธ์ประจำสำนักงานใหญ่ไม่เหมาะกับโจทก์ทั้งงานใหม่ดังกล่าวทำให้โจทก์ได้รับค่าจ้างลดลงจากเดิม อันเป็นการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงในสัญญาจ้างแรงงานโจทก์ชอบที่จะตกลงกับจำเลยเพื่อขอเปลี่ยนงานใหม่ หรือดำเนินการฟ้องเพิกถอนคำสั่งย้ายดังกล่าวในภายหลังดังนี้การที่จำเลยมีคำสั่งย้ายโจทก์เนื่องจากเหตุดังกล่าว คำสั่งของจำเลยจึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
ที่โจทก์อุทธรณ์ว่าเมื่อจำเลยมีคำสั่งย้ายโจทก์ แต่โจทก์เห็นว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงไม่ไปปฏิบัติงานที่สำนักงานใหญ่ตามคำสั่ง โจทก์มีความประสงค์จะทำงานกับจำเลยต่อไปโดยติดต่อกับ ป. เรื่องตำแหน่งงานใหม่ภายหลังรายงานตัวกลับเข้าทำงาน จำเลยยังไม่จัดหาตำแหน่งงานใด ๆ ให้โจทก์ต่อมาโจทก์หายป่วยได้กลับมารายงานตัวเข้าปฏิบัติงานต่อจำเลย แต่จำเลยไม่ได้จัดหาตำแหน่งงานหรือมอบงานใด ๆ ให้โจทก์ ทำให้โจทก์ไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้าง การกระทำของจำเลยจึงเป็นการเลิกจ้างโจทก์นั้น ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า ระหว่างโจทก์ลาป่วยจำเลยมีคำสั่งย้ายโจทก์ไปทำงานประจำที่สำนักงานใหญ่ โจทก์ทราบคำสั่งดังกล่าว แต่โจทก์ไม่ประสงค์จะทำงานที่สำนักงานใหญ่เนื่องจากรายได้ของโจทก์ลดลงจากเดิม โจทก์ติดต่อกับนางเปรมจิตรเกี่ยวกับตำแหน่งงานใหม่ของโจทก์ที่จะทำหลังจากที่โจทก์ได้รายงานตัวกลับเข้าทำงานแล้ว การที่โจทก์ไม่ไปทำงานที่สำนักงานใหญ่ของจำเลย จึงเป็นความสมัครใจของโจทก์ จำเลยไม่ได้เลิกจ้างโจทก์ อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงาน เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7695/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล: คำสั่งให้มีการเลือกตั้ง
พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พ.ศ. 2482 มาตรา 57 และ 58

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7475/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ จำเลยต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขการชำระเงินหรือหาประกันตาม ป.วิ.พ.มาตรา 234
การอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 234 นั้นแม้จะเป็นการอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์คำสั่ง จำเลยก็ต้องนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาล หาใช่ต้องนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันเฉพาะกรณีอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์คำพิพากษาแต่เพียงอย่างเดียวไม่คดีนี้แม้จำเลยจะอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขอเลื่อนคดี และงดสืบพยานจำเลยไม่ใช่อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นก็ตาม จำเลยก็ต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาตรา 234

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6124/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งปลดข้าราชการอาศัยผลการสอบสวนทางวินัยที่มีพยานหลักฐานสนับสนุน ย่อมชอบด้วยกฎหมาย
ตามสำนวนการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงและการสอบสวนทางวินัย ปรากฎว่าทางราชการได้ดำเนินการสืบสวนความผิดของโจทก์ไปตามระเบียบและขั้นตอนของกฎหมายเริ่มตั้งแต่มีการตั้งคณะกรรมการสืบสวนสอบสวนหาข้อเท็จจริงคณะกรรมการได้สอบปากคำพยานบุคคลและเอกสารผู้เกี่ยวข้อง เมื่อเห็นว่ามีมูลความจริงแล้ว จำเลยจึงอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 86 แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2518 ที่แก้ไขแล้ว แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยแก่โจทก์ ซึ่งคณะกรรมการก็ได้สอบสวนทั้งพยานบุคคลจำนวนหลายปากและพยานเอกสารได้ความสอดรับกันตั้งแต่ต้น แล้วจำเลยมีคำสั่งปลดโจทก์ออกจากราชการ เมื่อเป็นคำสั่งที่อาศัยผลจากการสอบสวนทางวินัยของคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยที่จำเลยตั้งขึ้นตามกฎหมาย ซึ่งมีทั้งพยานบุคคลและพยานเอกสารยืนยันกันว่าโจทก์มีส่วนร่วมในการเรียกเอาทรัพย์ตามที่ถูกกล่าวหา แม้ต่อมาโจทก์จะได้อุทธรณ์คำสั่งของจำเลยต่อคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) แต่ในที่สุดนายกรัฐมนตรีในฐานะประธานคณะกรรมการดังกล่าวก็มีคำสั่งให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์เสีย ดังนี้ ที่โจทก์อ้างว่าคำสั่งของจำเลยเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฏหมายเพราะเป็นคำสั่งที่ปราศจากพยานหลักฐานที่จะยืนยันว่าโจทก์ได้กระทำผิดตามที่ถูกกล่าวหาจึงไม่เป็นความจริงจึงชอบที่ศาลจะพิพากษายกฟ้องโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3848/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณา: คำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นเป็นที่สุด
จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ปฏิเสธ ไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยเนื่องจากเป็นการอุทธรณ์คำสั่ง ระหว่างพิจารณา ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นที่สั่งไม่รับอุทธรณ์ คำสั่งของศาลอุทธรณ์นี้ย่อมเป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 236 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8238/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ไม่ทันกำหนดระยะเวลา ทำให้ต้องห้ามอุทธรณ์ตามกฎหมาย
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอฟ้องอุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลย จำเลยอาจอุทธรณ์คำสั่งนั้นไปยังศาลอุทธรณ์ โดยยื่นคำขอเป็นคำร้องต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันมีคำสั่ง ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ.มาตรา156 วรรคท้าย แต่จำเลยกลับยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นเมื่อเกินกำหนดระยะเวลา7 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง ยกคำร้องดังกล่าว จึงต้องห้ามอุทธรณ์ตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7499/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะเจ้าพนักงานคุมประพฤติ: การแต่งตั้งโดยคำสั่งกระทรวงยุติธรรมเพียงพอ แม้ไม่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
จำเลยเป็นลูกจ้างชั่วคราวได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติราชการในกรมคุมประพฤติ เป็นพนักงานคุมประพฤติตามคำสั่งกระทรวงยุติธรรมจำเลยเป็นพนักงานคุมประพฤติประจำศาลและได้รับมอบหมายจากหัวหน้าสำนักงานคุมประพฤติประจำศาลให้ไปสืบเสาะความประพฤติของ ว. เมื่อตามพระราชบัญญัติวิธีดำเนินการคุมความประพฤติตามประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ.2522 มาตรา 4บัญญัติว่า "พนักงานคุมประพฤติ" หมายความว่า ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้มีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา 5 บัญญัติให้รัฐมนตรีหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีเป็นผู้แต่งตั้งและถอดถอนพนักงานคุมประพฤติตามพระราชบัญญัตินี้ และมาตรา 10 บัญญัติว่าในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ให้พนักงานคุมประพฤติเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา และไม่มีบทบัญญัติบทใดบัญญัติให้การแต่งตั้งพนักงานคุมประพฤติต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษาดังนั้น คำสั่งแต่งตั้งจำเลยให้เป็นพนักงานคุมประพฤติจึงไม่จำต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษา แม้จำเลยไม่ได้ลงชื่อรับทราบคำสั่งแต่งตั้งดังกล่าว แต่จำเลยได้ปฏิบัติหน้าที่ต่อมา ถือได้ว่าจำเลยทราบคำสั่งแล้ว จำเลยจึงเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6968/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอุทธรณ์คำสั่งให้ชำระค่าขึ้นศาล: จำเลยมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งก่อนศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่กำหนดให้จำเลยนำค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์มาชำระนั้น แม้จะพ้นระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดแล้วก็ตาม แต่คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าว จำเลยยังโต้แย้งโดยการอุทธรณ์อยู่ว่าเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งจำเลยย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ได้โดยไม่จำต้องรอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์อีกครั้งหนึ่งก่อน เมื่อยังไม่มีข้อวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาเป็นที่สุดประการใด ศาลชั้นต้นก็ยังไม่อาจจะมีคำสั่งรับหรือไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยได้
of 38