คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คู่สมรส

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 194 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3460/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินหลังจดทะเบียนสมรส: สิทธิของคู่สมรสในทรัพย์สินที่ได้มาในช่วงชีวิตสมรส
โจทก์จำเลยและจำเลยร่วมท้ากันให้ศาลวินิจฉัยข้อกฎหมายเพียงข้อเดียวโดยไม่สืบพยานว่า จำเลยมีสิทธิจะไม่ขายที่ดินตามสัญญาจะซื้อขายเพราะไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยร่วมหรือไม่ โดยคู่ความแถลงรับกันว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ที่ดินมาก่อนจดทะเบียนสมรสกับจำเลยร่วม อันถือได้ว่าคู่ความสละประเด็นข้ออื่นในคดีแล้ว จำเลยและจำเลยร่วมจะโต้แย้งว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันมาในฐานะหุ้นส่วน จำเลยร่วมจึงมีสิทธิในที่ดินพิพาทรวมอยู่ด้วย ซึ่งเป็นการตั้งเป็นประเด็นใหม่นอกคำท้าอีกหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2457/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดของคดีฟ้องแย้งเกี่ยวกับการจดทะเบียนหย่าหลังคู่สมรสเสียชีวิต
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้งของจำเลยที่ขอให้บังคับโจทก์ไปจดทะเบียนหย่าให้จำเลยตาม ข้อตกลง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนจำเลยยื่นฎีกาขอให้รับฟ้องแย้งไว้พิจารณา เมื่อจำเลยถึง แก่กรรมการสมรสระหว่างโจทก์จำเลยสิ้นสุดลง จึงไม่มีประโยชน์ที่จะพิจารณาฎีกาของจำเลยต่อ ไป ศาลฎีกาย่อมมีคำสั่งให้จำหน่ายคดี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2557/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจากหนี้สินล้นพ้นตัว แม้มีทรัพย์สินส่วนตัวของคู่สมรส
จำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาคดีแพ่ง จำนวน 200,000 บาทพร้อมดอกเบี้ย เมื่อครบกำหนดตามคำบังคับแล้ว จำเลยไม่ได้ชำระหนี้ศาลออกหมายบังคับคดี ปรากฏว่าจำเลยมีเงินฝากในบัญชีกระแสรายวันและบัญชีออมทรัพย์เหลือประมาณ 400 บาท และ 200 บาทตามลำดับ และไม่มีทรัพย์สินอื่นใดที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้ จึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 8(5) ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2375/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการขายฝากสินส่วนตัวของคู่สมรสที่ทำไปโดยความยินยอมของอีกฝ่ายหนึ่งในคดีล้มละลาย
จำเลยกับ ล. อยู่กินด้วยกันเมื่อปี 2507 แล้วจึงได้จดทะเบียนการสมรสเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2519 ล. ซื้อ ที่พิพาทเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2518 แล้วจึงออกโฉนด ที่ดินเมื่อวันที่19 มกราคม 2522 โดย มีชื่อ ล. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ดังนี้ที่พิพาทจึงเป็นทรัพย์สินที่ได้ มาก่อนที่จำเลยกับ ล. จดทะเบียนการสมรสกัน หาใช่เป็นทรัพย์สินที่จำเลยกับ ล. ได้ มาระหว่างสมรสอันจะทำให้เป็นสินสมรสตาม ที่ ป.พ.พ. มาตรา 1466เดิม บัญญัติไว้ไม่
ที่พิพาทเป็นทรัพย์สินที่จำเลยกับ ล. ทำมาหาได้ ร่วมกันก่อนจดทะเบียนการสมรสกัน จำเลยกับ ล. จึงเป็นเจ้าของที่พิพาทร่วมกันคนละส่วน เมื่อได้ จดทะเบียนการสมรสที่พิพาทย่อมเป็นสินเดิมของแต่ละฝ่าย อันเป็นสินบริคณห์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา1462 1463(1) เดิม ซึ่งตาม พ.ร.บ. ให้ใช้ บทบัญญัติบรรพ 5แห่ง ป.พ.พ. ที่ได้ตรวจ ชำระใหม่ พ.ศ. 2519 มาตรา 7 ให้ถือว่าสินเดิมของแต่ละฝ่ายดังกล่าวเป็นสินส่วนตัวของแต่ละฝ่ายนั้นตาม บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ. ที่ได้ตรวจ ชำระใหม่ จำเลยกับ ล. ไม่ได้ทำสัญญาก่อนสมรสเป็นอย่างอื่น ล. ซึ่ง เป็นสามีจึงเป็นผู้จัดการที่พิพาทอันเป็นสินบริคณห์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1468 เดิม และตาม พ.ร.บ. ให้ใช้ บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งป.พ.พ. ที่ได้ตรวจ ชำระใหม่ มาตรา 7 ฉะนั้นการที่ ล.จดทะเบียนขายฝากที่พิพาทให้แก่ผู้คัดค้านเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน2524 ในขณะที่จำเลยกับ ล. ยังเป็นสามีภรรยากันอยู่ จึงถือได้ว่าจำเลยยินยอมให้ ล. ขายฝากที่พิพาทอันเป็นสินส่วนตัวของจำเลยกึ่งหนึ่งด้วย เมื่อผู้คัดค้านยอมรับว่าจำเลยขายฝากที่พิพาทเฉพาะ ส่วนของจำเลยให้แก่ผู้คัดค้านซึ่ง เป็นเจ้าหนี้คนหนึ่งได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น ศาลมีอำนาจที่จะสั่งเพิกถอนการโอนที่พิพาทเฉพาะ ส่วนของจำเลยได้ ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 115
การเพิกถอนการโอนตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 115 เป็นไปโดย ผลของคำพิพากษา ตราบใด ที่ยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลให้เพิกถอนก็ยังถือว่าเป็นการโอนโดยชอบอยู่ กรณียังถือไม่ได้ว่าได้ มีการผิดนัดนับแต่วันยื่นคำร้องอันจะเป็นเหตุให้ผู้รับโอนต้อง รับผิดในเรื่องดอกเบี้ย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 949/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสที่ฝ่าฝืนกฎหมายเนื่องจากมีคู่สมรสอื่นอยู่แล้ว ถือเป็นโมฆะ แม้จำเลยอ้างสำคัญผิด
โจทก์ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากจำเลย จำเลยให้การปฏิเสธและฟ้องแย้งว่า โจทก์สมรสกับจำเลยในขณะโจทก์ยังเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของชายอื่นอยู่ จดทะเบียนสมรสกันตามสำเนาภาพถ่ายทะเบียนสมรสท้ายคำให้การและฟ้องแย้ง จำเลยสมรสกับโจทก์โดยสำคัญผิด หลงเชื่อโดยสุจริตตามคำบอกกล่าวของโจทก์ว่าโจทก์ได้หย่าขาดจากชายอื่นแล้วและไม่ได้เป็นคู่สมรสของบุคคลอื่น โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งเพียงว่า ข้อความตามคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยไม่เป็นความจริงเพราะจำเลยจดทะเบียนสมรสกับโจทก์โดยความยินยอมและสมัครใจมิใช่เนื่องจากกลฉ้อฉลหรือสำคัญผิดแต่อย่างใด โจทก์ไม่ได้ให้การปฏิเสธถึงข้อที่ว่าโจทก์ยังเป็นคู่สมรสของบุคคลอื่นอยู่ในขณะสมรสกับจำเลยและไม่ได้ให้การปฏิเสธถึงความถูกต้องแท้จริงของสำเนาทะเบียนสมรสท้ายคำให้การและฟ้องแย้ง ประกอบกับตามคำให้การแก้ฟ้องแย้งในข้อสุดท้ายของโจทก์ที่ว่าจำเลยทราบข้อเท็จจริงดังกล่าวดีตั้งแต่ต้น หากการสมรสไม่ชอบ ก็ต้องถือว่าจำเลยเป็นผู้ก่อเช่นนี้ เท่ากับโจทก์ยอมรับในข้อเท็จจริงที่ว่าโจทก์ทำการสมรสกับจำเลยในขณะที่โจทก์ยังเป็นคู่สมรสของบุคคลอื่น ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดการชี้สองสถานและการสืบพยานโจทก์จำเลยแล้ววินิจฉัยว่าการสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นโมฆะ ชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 949/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสที่ขัดต่อกฎหมายเนื่องจากมีคู่สมรสแล้ว ศาลไม่จำเป็นต้องสืบพยานเมื่อโจทก์ยอมรับ
โจทก์ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากจำเลย จำเลยให้การปฏิเสธและฟ้องแย้งว่า โจทก์สมรสกับจำเลยในขณะโจทก์ยังเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของชายอื่นอยู่ จดทะเบียนสมรสกันตามสำเนาภาพถ่ายทะเบียนสมรสท้ายคำให้การและฟ้องแย้ง จำเลยสมรสกับโจทก์โดยสำคัญผิดหลงเชื่อโดยสุจริตตามคำบอกกล่าวของโจทก์ว่าโจทก์ได้หย่าขาดจากชายอื่นแล้วและไม่ได้เป็นคู่สมรสของบุคคลอื่น โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งเพียงว่า ข้อความตามคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยไม่เป็นความจริงเพราะจำเลยจดทะเบียนสมรสกับโจทก์โดยความยินยอมและสมัครใจมิใช่เนื่องจากกลฉ้อฉลหรือสำคัญผิดแต่อย่างใด โจทก์ไม่ได้ให้การปฏิเสธถึงข้อที่ว่า โจทก์ยังเป็นคู่สมรสของบุคคลอื่นอยู่ในขณะสมรสกับจำเลยและไม่ได้ให้การปฏิเสธถึงความถูกต้องแท้จริงของสำเนาทะเบียนสมรสท้ายคำให้การและฟ้องแย้ง ประกอบกับคำให้การแก้ฟ้องแย้งในข้อสุดท้ายของโจทก์ที่ว่าจำเลยทราบข้อเท็จจริงดังกล่าวดีตั้งแต่ต้น หากการสมรสไม่ชอบ ก็ต้องถือว่าจำเลยเป็นผู้ก่อ เช่นนี้ เท่ากับโจทก์ยอมรับในข้อเท็จจริงที่ว่าโจทก์ทำการสมรสกับจำเลยในขณะที่โจทก์ยังเป็นคู่สมรสของบุคคลอื่นศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดการชี้สองสถานและการสืบพยานโจทก์จำเลยแล้ววินิจฉัยว่า การสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นโมฆะ ชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 949/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสที่ขัดต่อกฎหมายเนื่องจากมีคู่สมรสอื่นแล้ว ศาลพิพากษาให้การสมรสเป็นโมฆะ
โจทก์ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากจำเลย จำเลยให้การปฏิเสธและฟ้องแย้งว่า โจทก์สมรสกับจำเลยในขณะโจทก์ยังเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของชายอื่นอยู่ จดทะเบียนสมรสกันตามสำเนาภาพถ่ายทะเบียนสมรสท้ายคำให้การและฟ้องแย้ง จำเลยสมรสกับโจทก์โดยสำคัญผิด หลงเชื่อโดยสุจริตตามคำบอกกล่าวของโจทก์ว่าโจทก์ได้หย่าขาดจากชายอื่นแล้วและไม่ได้เป็นคู่สมรสของบุคคลอื่นโจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งเพียงว่า ข้อความตามคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยไม่เป็นความจริงเพราะจำเลยจดทะเบียนสมรสกับโจทก์โดยความยินยอมและสมัครใจมิใช่เนื่องจากกลฉ้อฉลหรือสำคัญผิดแต่อย่างใด โจทก์ไม่ได้ให้การปฏิเสธถึงข้อที่ว่าโจทก์ยังเป็นคู่สมรสของบุคคลอื่นอยู่ในขณะสมรสกับจำเลยและไม่ได้ให้การปฏิเสธถึงความถูกต้องแท้จริงของสำเนาทะเบียนสมรสท้ายคำให้การและฟ้องแย้ง ประกอบกับตามคำให้การแก้ฟ้องแย้งในข้อสุดท้ายของโจทก์ที่ว่าจำเลยทราบข้อเท็จจริงดังกล่าวดีตั้งแต่ต้น หากการสมรสไม่ชอบ ก็ต้องถือว่าจำเลยเป็นผู้ก่อเช่นนี้ เท่ากับโจทก์ยอมรับในข้อเท็จจริงที่ว่าโจทก์ทำการสมรสกับจำเลยในขณะที่โจทก์ยังเป็นคู่สมรสของบุคคลอื่นศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดการชี้สองสถานและการสืบพยานโจทก์จำเลยแล้ววินิจฉัยว่าการสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นโมฆะ ชอบแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4358/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจำกัดสิทธิทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสเป็นโมฆะหรือไม่ และทรัพย์สินที่จำกัดสิทธิถือเป็นมรดกหรือไม่
ศ. กับจำเลยทำสัญญาเกี่ยวกับทรัพย์สินไว้ในระหว่างเป็นสามีภรรยากันว่า ศ. จะไม่นำเอาสินบริคณห์ใด ๆ ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบัน หรือจะมีขึ้นในอนาคตไปจำหน่ายหรือทำนิติกรรมใด ๆ ซึ่งไม่เป็นประโยชน์ในการอุปการะเลี้ยงดูครอบครัวและการศึกษาของบุตรอันเกิดจากจำเลย จะไม่เกี่ยวข้องสร้างภาระผูกพัน หรือเรียกร้องสิทธิใด ๆ ในทรัพย์สินซึ่งมีชื่อจำเลยถือกรรมสิทธิ์เว้นแต่จะได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากจำเลย สัญญาดังกล่าวไม่มีวัตถุประสงค์เป็นการขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน คู่สัญญามีอำนาจกระทำได้ เพียงแต่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสิทธิบอกล้างในเวลาใดที่เป็นสามีภริยากันอยู่หรือภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ขาดจากการเป็นสามีภริยาทั้งการทำสัญญาจำกัดสิทธิบางอย่างในระหว่างกันเองในเรื่องทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ของครอบครัวด้วยความสมัครใจและการสละทรัพย์สินให้แก่กันในระหว่างสามีภริยาด้วยความสมัครใจ ก็ไม่เป็นการขัดกับบทบัญญัติของกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 114 และเป็นการใช้สิทธิโดยชอบตาม มาตรา 1336 จึงเป็นสัญญาที่ชอบด้วยกฎหมายใช้บังคับได้
ทรัพย์พิพาทมีชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ซึ่งตามสัญญาระหว่าง ศ. กับจำเลย ระบุว่า ศ. จะไม่เข้าเกี่ยวข้องหรือเรียกร้องสิทธิใด ๆ ในทรัพย์สินซึ่งมีชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ถือได้ว่า ศ. ได้สละกรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาทให้แก่จำเลยแล้ว ทรัพย์พิพาทจึงเป็นสินส่วนตัวของจำเลย ศ. ไม่มีอำนาจทำพินัยกรรมยกให้แก่ผู้ใดและไม่เป็นมรดกของ ศ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4358/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจำกัดสิทธิในทรัพย์สินระหว่างคู่สมรส: การสละสิทธิและผลกระทบต่อมรดก
ศ.กับจำเลยทำสัญญาเกี่ยวกับทรัพย์สินไว้ในระหว่างเป็นสามีภรรยากันว่า ศ.จะไม่นำเอาสินบริคณห์ใด ๆ ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบัน หรือจะมีขึ้นในอนาคตไปจำหน่ายหรือทำนิติกรรมใด ๆ ซึ่งไม่เป็นประโยชน์ในการอุปการะเลี้ยงดูครอบครัวและการศึกษาของบุตรอันเกิดจากจำเลย จะไม่เกี่ยวข้อง สร้างภาระผูกพัน หรือเรียกร้องสิทธิใด ๆ ในทรัพย์สินซึ่งมีชื่อจำเลยถือกรรมสิทธิ์ เว้นแต่จะได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากจำเลย สัญญาดังกล่าวไม่มีวัตถุประสงค์เป็นการขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน คู่สัญญามีอำนาจกระทำได้เพียงแต่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสิทธิบอกล้างในเวลาใดที่เป็นสามีภริยากันอยู่หรือภายในกำหนดหนึ่งปี นับแต่วันที่ขาดจากการเป็นสามีภริยากันทั้งการทำสัญญาจำกัดสิทธิบางอย่างในระหว่างกันเองในเรื่องทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ของครอบครัวด้วยความสมัครใจและการสละทรัพย์สินให้แก่กันในระหว่างสามีภริยาด้วยความสมัครใจ ก็ไม่เป็นการขัดกับบทบัญญัติของกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 114และเป็นการใช้สิทธิโดยชอบตามมาตรา 1336 จึงเป็นสัญญาที่ชอบด้วยกฎหมายใช้บังคับได้ ทรัพย์พิพาทมีชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ซึ่งตามสัญญาระหว่างศ.กับจำเลยระบุว่าศ.จะไม่เข้าเกี่ยวข้องหรือเรียกร้องสิทธิใด ๆ ในทรัพย์สินซึ่งมีชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ถือได้ว่า ศ.ได้สละกรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาทให้แก่จำเลยแล้วทรัพย์พิพาทจึงเป็นสินส่วนตัวของจำเลย ศ.ไม่มีอำนาจทำพินัยกรรมยกให้แก่ผู้ใดและไม่เป็นมรดกของ ศ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3608/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องหย่าจากพฤติกรรมไม่ช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดู และการกระทำที่สร้างความเดือดร้อนอย่างมากต่อคู่สมรส
หลังจดทะเบียนสมรสแล้ว จำเลยเป็นฝ่ายก่อเหตุให้เกิดความระหองระแหงในครอบครัว ด้วยการไปรับบุตรสาวซึ่งเกิดจากภริยาเก่ามามาเลี้ยงดูอยู่ในบ้านเดียวกัน อันเป็นการผิดถ้อยคำพูดที่จำเลยเคยให้ไว้แก่โจทก์ว่าจำเลยไม่เคยมีภริยาและบุตรมาก่อน แล้วหลังจากนั้นจำเลยก็ไม่จ่ายเงินเป็นค่าอุปการะเลี้ยงดูโจทก์และครอบครัวเช่นที่เคยปฏิบัติมา เป็นเหตุให้โจทก์ต้องนำเงินเดือนแต่ละเดือนของโจทก์มาใช้จ่ายเลี้ยงดูครอบครัวจำเลยเกือบหมด ทั้งจำเลยยังติดต่อกับภริยาเก่าและแสดงกิริยาวาจาเหยียดหยามมารดาของโจทก์จนกระทั่งโจทก์ไม่สามารถอยู่ร่วมกับจำเลยต่อไปได้ เช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูโจทก์ตามสมควรอันประกอบด้วยเหตุอื่น ๆ อีกถึงขนาดที่โจทก์เดือดร้อนเกินสมควรที่โจทก์จะอยู่กินร่วมกันฉันสามีภริยากับจำเลยต่อไปได้ อันเป็นเหตุฟ้องหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516 (6)
การหย่าโดยคำพิพากษานั้น พระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ.2478 มาตรา 16 บัญญัติให้ผู้มีส่วนได้เสียยื่นสำเนาคำพิพากษาอันถึงที่สุดที่รับรองถูกต้องต่อนายทะเบียน และขอให้นายทะเบียนบันทึกการหย่านั้นไว้ในทะเบียน โดยคู่สมรสไม่จำต้องไปแสดงเจตนาขอจดทะเบียนการหย่าต่อนายทะเบียนอีก ศาลจึงไม่ต้องสั่งให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา
of 20