คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ค่าขาดไร้อุปการะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 76 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1648/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดนายจ้างต่อละเมิดของลูกจ้าง, ค่าปลงศพ, ค่าขาดไร้อุปการะ, และดอกเบี้ย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นบิดาผู้ปกครองผู้ตายซึ่งมีอายุ 19 ปี จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธหรือยกเป็นข้อต่อสู้ว่าโจทก์ไม่ใช่บิดาผู้ปกครองผู้ตาย ข้อที่ว่าผู้ตายเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์หรือไม่ จึงไม่เป็นประเด็นโต้เถียงกัน
ผู้มีชื่อนำรถยนต์เข้ามาวิ่งร่วมในเส้นทางสัมปทานของบริษัทจำเลยที่ 2 โดยโอนกรรมสิทธิ์รถให้จำเลยที่ 2 ต้องพ่นสีและตีตราเป็นรถของจำเลยที่ 2 คนเก็บเงินค่าโดยสารต้องแต่งเครื่องแบบของจำเลยที่ 2 ถ้าประพฤติตนไม่ดี ผู้จัดการบริษัทจำเลยที่ 2 มีอำนาจพิจารณาลงโทษได้ ตั๋วที่จำหน่ายแก่ผู้โดยสารก็เป็นตั๋วของจำเลยที่ 2 นอกจากนี้จำเลยที่ 2 ยังได้ผลประโยชน์ตอบแทนเป็นค่าบริการเมื่อรถเข้าจอดเทียบสถานีของจำเลยที่ 2 เที่ยวละ 3 บาท พฤติการณ์ดังกล่าวนี้ชี้ชัดว่าจำเลยที่ 2 ยอมรับว่ารถยนต์ดังกล่าวเป็นรถของจำเลยที่ 2 หรือจำเลยที่ 2 ได้ร่วมกับเจ้าของรถมีรถยนต์ดังกล่าวเพื่อใช้ในกิจการหารายได้ของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 คนขับรถปฏิบัติกิจการของจำเลยที่ 2 โดยมีสินจ้าง จำเลยที่ 2 จึงเป็นนายจ้างต้องร่วมรับผิดในผลละเมิดของจำเลยที่ 1 ซึ่งขับรถชนบุตรโจทก์ในระหว่างขับรถขนส่งคนโดยสารในกิจการของจำเลยที่ 2 (อ้างฎีกาที่ 1576/2506)
ค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นจะต้องพิจารณาตามความสมควร ตามความจำเป็น และตามฐานะของผู้ตายและบิดามารดา ทั้งต้องพิจารณาถึงประเพณีการทำศพตามลัทธินิยมประกอบด้วย และต้องไม่ใช่รายการที่ฟุ่มเฟือยเกินไป
การที่บุตรตายลงทำให้บิดาต้องขาดไร้อุปการะ บิดาชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนจากการต้องขาดไร้อุปการะ โดยไม่ต้องพิจารณาว่าปัจจุบันผู้ตายจะได้อุปการะเลี้ยงดูบิดาหรือไม่ (อ้างฎีกาที่ 1742/2499)
ค่าสินไหมทดแทนค่าขาดไร้อุปการะเป็นหนี้ค่าเสียหายในอนาคตซึ่งมีจำนวนกำหนดแน่นอน โจทก์สามารถบังคับได้ในวันที่ศาลชั้นต้นพิพากษา โจทก์จึงมีสิทธิจะได้รับดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นพิพากษา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1648/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดของนายจ้างต่อการกระทำของลูกจ้าง, ค่าปลงศพ, ค่าขาดไร้อุปการะ และดอกเบี้ย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นบิดาผู้ปกครองผู้ตายซึ่งมีอายุ 19 ปีจำเลยมิได้ให้การปฏิเสธหรือยกเป็นข้อต่อสู้ว่าโจทก์ไม่ใช่บิดาผู้ปกครองผู้ตาย ข้อที่ว่าผู้ตายเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์หรือไม่ จึงไม่เป็นประเด็นโต้เถียงกัน
ผู้มีชื่อนำรถยนต์เข้ามาวิ่งร่วมในเส้นทางสัมปทานของบริษัทจำเลยที่ 2 โดยโอนกรรมสิทธิ์รถให้จำเลยที่ 2 ต้องพ่นสีและตีตราเป็นรถของจำเลยที่ 2 คนเก็บเงินค่าโดยสารต้องแต่งเครื่องแบบของจำเลยที่ 2 ถ้าประพฤติตนไม่ดี ผู้จัดการบริษัทจำเลยที่ 2 มีอำนาจพิจารณาลงโทษได้ ตั๋วที่จำหน่ายแก่ผู้โดยสารก็เป็นตั๋วของจำเลยที่ 2 นอกจากนี้จำเลยที่ 2 ยังได้ผลประโยชน์ตอบแทนเป็นค่าบริการเมื่อรถเข้าจอดเทียบสถานีของจำเลยที่ 2 เที่ยวละ 3 บาท พฤติการณ์ดังกล่าวนี้ชี้ชัดว่าจำเลยที่ 2 ยอมรับว่ารถยนต์ดังกล่าวเป็นรถของจำเลยที่ 2 หรือจำเลยที่ 2 ได้ร่วมกับเจ้าของรถมีรถยนต์ดังกล่าวเพื่อใช้ในกิจการหารายได้ของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 คนขับรถปฏิบัติกิจการของจำเลยที่ 2 โดยมีสินจ้าง จำเลยที่ 2 จึงเป็นนายจ้างต้องร่วมรับผิดในผลละเมิดของจำเลยที่ 1 ซึ่งขับรถชนบุตรโจทก์ในระหว่างขับรถขนส่งคนโดยสารในกิจการของจำเลยที่ 2 (อ้างฎีกา ที่ 1576/2506)
ค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นจะต้องพิจารณาตามความสมควร ตามความจำเป็น และตามฐานะของผู้ตายและบิดามารดา ทั้งต้องพิจารณาถึงประเพณีการทำศพตามลัทธินิยมประกอบด้วย และต้องไม่ใช่รายการที่ฟุ่มเฟือยเกินไป
การที่บุตรตายลงทำให้บิดาต้องขาดไร้อุปการะบิดาชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนจากการต้องขาดไร้อุปการะ โดยไม่ต้องพิจารณาว่าปัจจุบันผู้ตายจะได้อุปการะเลี้ยงดูบิดาหรือไม่ (อ้างฎีกาที่ 1742/2499)
ค่าสินไหมทดแทนค่าขาดไร้อุปการะเป็นหนี้ค่าเสียหายในอนาคตซึ่งมีจำนวนกำหนดแน่นอน โจทก์สามารถบังคับได้ในวันที่ศาลชั้นต้นพิพากษา โจทก์จึงมีสิทธิจะได้รับดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นพิพากษา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 440/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าขาดไร้อุปการะจากการตายของผู้อุปถัมภ์ การยื่นคำร้องสอดและการฟ้องคดีใหม่
โจทก์ร่วมทั้งสองบรรยายในคำร้องสอดว่า โจทก์ร่วมทั้งสองเป็นบิดามารดา ส. จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 โดยประมาทเฉี่ยวชนกับรถยนต์กระบะที่ ส. ขับ เป็นเหตุให้ ส. ถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 3 เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์ดังกล่าว โจทก์ร่วมทั้งสองต้องขาดไร้อุปการะ โจทก์ร่วมทั้งสองเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดี จึงยื่นคำร้องสอดเข้ามาในคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (2) ขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์ร่วมทั้งสองได้รับค่าขาดไร้อุปการะดังที่โจทก์ทั้งสามเรียกร้องเอาแก่จำเลยทั้งสามตามคำขอท้ายฟ้อง เห็นได้ว่าโจทก์ร่วมทั้งสองบรรยายคำร้องว่า การกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ทำให้โจทก์ร่วมทั้งสองขาดไร้อุปการะ จึงยื่นคำร้องสอดเข้ามาเพื่อยังให้ได้รับความรับรองหรือบังคับตามสิทธิของตนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) ซึ่งมีผลเท่ากับโจทก์ร่วมทั้งสองได้ฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีเรื่องใหม่ โดยไม่ได้อาศัยสิทธิของโจทก์ทั้งสามแต่ประการใด แม้โจทก์ร่วมทั้งสองจะกล่าวในท้ายของคำร้องสอดว่า ขอให้พิพากษาให้โจทก์ร่วมทั้งสองมีสิทธิได้รับค่าขาดไร้อุปการะ ดังที่โจทก์ทั้งสามเรียกร้องเอาแก่จำเลยทั้งสามตามคำขอท้ายฟ้อง ก็มีความหมายเพียงว่า โจทก์ร่วมทั้งสองเรียกค่าขาดไร้อุปการะจากจำเลยทั้งสามเท่ากับที่โจทก์ทั้งสามเรียกร้อง หาใช่โจทก์ร่วมทั้งสองไม่ได้เรียกร้องค่าขาดไร้อุปการะในส่วนของโจทก์ร่วมทั้งสองแต่อย่างใดไม่ ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระค่าขาดไร้อุปการะแก่โจทก์ร่วมทั้งสองชอบแล้ว ไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกเหนือจากที่ปรากฏในคำฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 842/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจจัดการศพ, ค่าเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์, ค่าขาดไร้อุปการะ, และการกำหนดค่าเสียหายที่เหมาะสม
ป.พ.พ. มาตรา 1649 วรรคหนึ่งและวรรคสอง บัญญัติไว้โดยชัดแจ้งแล้วว่าผู้จัดการมรดกของผู้ตายที่จะมีอำนาจและหน้าที่จัดการทำศพผู้ตายได้ จะต้องเป็นผู้จัดการมรดกที่ผู้ตายได้ตั้งไว้ คดีนี้ ปรากฏว่าศาลได้ตั้งโจทก์ที่ 3 เป็นผู้จัดการมรดกผู้ตาย หาใช่ผู้ตายตั้งโจทก์ที่ 3 ไม่ ดังนั้น โจทก์ที่ 3 จึงไม่มีอำนาจและหน้าที่จัดการทำศพผู้ตาย แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าโจทก์ที่ 3 จัดการและใช้จ่ายในการปลงศพผู้ตาย โจทก์ที่ 3 ก็ไม่มีสิทธิที่จะฟ้องบังคับให้จำเลยทั้งห้าร่วมกันจ่ายค่าทำศพให้โจทก์ที่ 3 ส่วนโจทก์ที่ 1 และที่ 2 เป็นทายาทโดยธรรมผู้มีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกจึงเป็นผู้มีอำนาจและตกอยู่ในหน้าที่ต้องจัดการทำศพ
ป.พ.พ. มาตรา 433 บัญญัติให้ผู้ทำละเมิดรับผิดใช้ค่าปลงศพรวมทั้งค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอย่างอื่นด้วย ซึ่งการกำหนดค่าเสียหายดังกล่าวศาลจะต้องพิเคราะห์ถึงค่าปลงศพตามประเพณีและตามฐานานุรูปของผู้ตาย มิใช่ผู้ทำละเมิดต้องรับผิดทั้งหมด
การกำหนดค่าขาดไร้อุปการะศาลย่อมกำหนดตามฐานะของผู้ตายและฐานะของผู้มีสิทธิได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดู และต้องพิจารณาว่าหากผู้ตายมีชีวิตอยู่จะให้อุปการะเลี้ยงดูได้เพียงใดและเป็นเวลานานเท่าใด
อนึ่ง ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ทั้งสามสำหรับจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 โดยมิได้สั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมเป็นการไม่ชอบ และศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มิได้พิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ทั้งสามตามสิทธิของแต่ละคน ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5245/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: การคำนวณค่าขาดไร้อุปการะหลังคู่กรณีเสียชีวิตระหว่างพิจารณาคดี
โจทก์เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายมีสิทธิได้รับค่าขาดไร้อุปการะตามกฎหมายเพราะเหตุละเมิด ข้อเท็จจริงปรากฏว่า โจทก์ถึงแก่ความตายระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 7 เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2556 หน้าที่ในการอุปการะของผู้ตายในฐานะสามีของโจทก์ที่มีต่อโจทก์จึงสิ้นสุดลงในวันดังกล่าว ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 กำหนดค่าเสียหายในส่วนนี้ตามที่โจทก์เรียกร้องเป็นเวลา 7 ปี นับแต่วันทำละเมิดคือ วันที่ 17 มกราคม 2554 จึงมากเกินสมควร กรณีมีเหตุสมควรกำหนดค่าขาดไร้อุปการะที่จำเลยทั้งสองต้องรับผิดต่อโจทก์ใหม่ตามส่วนที่โจทก์เรียกร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10927/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายจากอุบัติเหตุทางถนน: การคำนวณค่าขาดไร้อุปการะ, ทุนทรัพย์, และค่าฤชาธรรมเนียม
โจทก์ฎีกาขอให้จำเลยทั้งสองรับผิดต่อโจทก์เพิ่มเติมจากที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษามา แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกามาตามทุนทรัพย์ในศาลชั้นต้น จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาตามทุนทรัพย์ที่โจทก์เสียเกินมา และที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาให้คืนค่าขึ้นศาลแก่จำเลยทั้งสอง 4,800 บาท เพราะเห็นว่าจำเลยทั้งสองอุทธรณ์ทำนองว่าค่าเสียหายที่จำเลยทั้งสองต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นเงินเพียง 240,000 บาท ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์จึงเป็นเงินเพียง 360,000 บาท นั้น แม้อุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองมีข้อความว่า จำเลยที่ 1 เห็นว่าค่าขาดไร้อุปการะที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้เดือนละ 5,000 บาท สูงเกินส่วน ที่เหมาะสมควรจะเป็นเงินเดือนละ 2,000 บาท เป็นเวลา 10 ปี เป็นเงิน 240,000 บาท แต่จำเลยทั้งสองมีคำขอท้ายอุทธรณ์ว่าขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายกฟ้อง อุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองจึงมิได้ยอมรับผิดชดใช้ค่าขาดไร้อุปการะจำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์ ซึ่งศาลอุทธรณ์ก็ได้พิพากษายกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 2 ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์จึงเป็นเงิน 600,000 บาท ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาให้คืนค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์จำนวนดังกล่าวแก่จำเลยทั้งสองจึงไม่ชอบ นอกจากนี้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 2 โดยไม่ได้สั่งค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นสำหรับจำเลยที่ 2 ใหม่ก็เป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246 และมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18859/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขาดไร้อุปการะจากละเมิด: การคำนวณตามฐานะผู้ตายและผู้รับประโยชน์ แม้ไม่มีการช่วยเหลือโดยตรง
โจทก์ร่วมยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนว่าโจทก์ร่วมเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย โจทก์ร่วมจึงมีสิทธิได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูเพราะเป็นค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์ร่วมมีสิทธิได้รับตามกฎหมาย แม้โจทก์ร่วมบรรยายคำร้องเพียงว่าผู้ตายมีรายได้จากการทำงานทั้งสิ้น 8,603,813.25 บาท โดยไม่ได้บรรยายว่าในระหว่างที่ผู้ตายมีชีวิตอยู่ได้ช่วยเหลือหรือส่งเสียหรือให้การช่วยเหลือโจทก์ร่วมเป็นเงินจำนวนเท่าใดก็ตาม แต่ก็ถือได้ว่าโจทก์ร่วมระบุจำนวนเงินค่าขาดไร้อุปการะที่เรียกจากจำเลยเท่ากับจำนวนรายได้ที่ผู้ตายจะได้รับหากยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งศาลสามารถพิจารณากำหนดให้ตามที่เห็นสมควรได้ คำร้องของโจทก์ร่วมจึงแสดงรายละเอียดตามสมควรเกี่ยวกับค่าขาดไร้อุปการะของโจทก์ร่วมและจำนวนค่าสินไหมทดแทนที่เรียกร้องตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 44/1 วรรคสอง แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6393/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขาดไร้อุปการะจากการเสียชีวิต: ความคุ้มครองประกันภัยแยกจากค่าเสียหายอื่น
ตามกรมธรรม์ประกันภัยระบุจำนวนเงินจำกัดความรับผิด กรมธรรม์ประกันภัยนี้ให้ความคุ้มครองเฉพาะสัญญาข้อที่มีจำนวนเงินจำกัดความรับผิดระบุไว้เท่านั้น ในข้อสัญญาดังกล่าวไม่ระบุถึงต้องรับผิดในส่วนค่าขาดไร้อุปการะด้วยการที่จำเลยจ่ายเงินไปเห็นได้ชัดว่าเป็นค่าปลงศพเท่านั้น การจ่ายเงินค่าซ่อมรถก็เป็นค่าเสียหายต่อทรัพย์สินซึ่งค่าเสียหายทั้งสองรายการนี้ต้องจ่ายตามกรมธรรม์ประกันภัยที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับจำเลยร่วมเท่านั้น ในการทำละเมิดเป็นเหตุให้บุตรของโจทก์ทั้งสองถึงแก่ความตาย โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นบิดามารดาโดยชอบด้วยกฎหมายย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกค่าขาดไร้อุปการะได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 443 วรรคสาม ประกอบมาตรา 1563 ไม่ว่าในขณะเกิดเหตุผู้ตายจะได้อุปการะเลี้ยงดูโจทก์ทั้งสองจริงหรือไม่ และในอนาคตจะอุปการะกันหรือไม่ การที่โจทก์ทั้งสองถอนฟ้องจำเลยร่วมที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ขอให้ศาลเรียกเข้ามานั้น ไม่มีผลเกี่ยวกับจำเลยทั้งห้าเพราะคดีนี้โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้จำเลยทั้งห้าชดใช้ค่าขาดไร้อุปการะตามกฎหมาย ไม่ใช่ค่าปลงศพและค่าเสียหายต่อทรัพย์สินของกรมธรรม์ประกันภัย จึงไม่เป็นการปลดหนี้ให้แก่จำเลยร่วมอันจะมีผลทำให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 หลุดพ้นจากความรับผิดในส่วนนี้ ทั้งการที่โจทก์ทั้งสองทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยร่วมว่าไม่ติดใจเรียกร้องอะไรอีกนั้น เป็นกรณีเฉพาะการประนีประนอมยอมความกันในเรื่องค่าซ่อมรถเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4751/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าขาดไร้อุปการะของบุตรผู้เยาว์ โดยผู้แทนโดยชอบธรรมฟ้องแทน และการกำหนดจำนวนค่าขาดไร้อุปการะที่เหมาะสม
โจทก์บรรยายฟ้องมีใจความว่า โจทก์เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ส. ผู้ตาย มีบุตรด้วยกัน 3 คน ผู้ตายมีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูโจทก์และบุตรทั้งสามของโจทก์ การที่จำเลยที่ 1 ทำละเมิดเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายทำให้บุตรทั้งสามของโจทก์และโจทก์ต้องขาดไร้ผู้อุปการะ จึงขอเรียกค่าขาดไร้อุปการะของบุตรโจทก์และโจทก์ เช่นนี้ มีความหมายพอเป็นที่เข้าใจได้ว่า บุตรทั้งสามของโจทก์ขอเรียกค่าสินไหมทดแทนตามสิทธิของตนด้วยนั่นเอง แต่เพราะเหตุที่บุตรทั้งสามของโจทก์เป็นผู้เยาว์ยังฟ้องหรือคดีเองไม่ได้ โจทก์ซึ่งเป็นมารดาและผู้แทนโดยชอบธรรมจึงฟ้องแทน ย่อมถือได้ว่าโจทก์ฟ้องในนามของบุตรทั้งสามคนด้วยโดยปริยาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าขาดไร้อุปการะของบุตรผู้เยาว์ทั้งสามได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8271-8272/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐ, การฟ้องจำเลยที่ 2, ค่าปลงศพ, ค่าขาดไร้อุปการะ, ข้อกฎหมายที่ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง
จำเลยที่ 1 เป็นข้าราชการสังกัดกรมทางหลวง จำเลยที่ 2 ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ของทางราชการกลับจากตรวจงานและได้เกิดเหตุชนกับรถยนต์ที่มี ม. เป็นผู้ขับขี่เป็นเหตุให้ ม. กับผู้โดยสารในรถ 2 คน ถึงแก่ความตาย แม้พนักงานสอบสวนมีคำสั่งฟ้อง ม. ด้วยก็ตาม แต่ความเห็นของพนักงานสอบสวนตามรายงานการสอบสวนไม่ใช่ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาจึงไม่ต้องด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 46 ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามความเห็นของพนักงานสอบสวน การวินิจฉัยพยานหลักฐานในคดีนี้ย่อมเป็นไปตามที่คู่ความนำสืบ
กรณีมีผู้ทำละเมิดหลายคน ผู้ทำละเมิดทุกคนก็ต้องร่วมกันรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการละเมิดนั้นต่อโจทก์เต็มจำนวน
ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการทำบุญงานศพ การทำหนังสือประวัติผู้ตายและค่าของชำร่วยแจกในงานศพ เป็นไปตามธรรมเนียมประเพณีจึงเป็นค่าใช้จ่ายอันจำเป็นและเหมาะสมในการจัดการศพของผู้ตายที่โจทก์ที่ 1 มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยทั้งสองได้ แม้โจทก์ที่ 1 จะยังเป็นผู้เยาว์และ พ. ผู้แทนโดยชอบธรรมจะเป็นภริยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับผู้ตายก็ไม่ทำให้ความรับผิดในส่วนนี้ของจำเลยทั้งสองลดน้อยลง
แม้เหตุละเมิดคดีนี้เกิดขึ้นก่อนที่ พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ฯ ใช้บังคับ แต่เมื่อโจทก์ทั้งสี่ฟ้องคดีนี้ในวันที่ พ.ร.บ.ฉบับนี้ใช้บังคับแล้ว สิทธิของโจทก์ในการฟ้องเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานของรัฐให้รับผิดทางละเมิดจึงต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ. ฉบับนี้ ฉะนั้น เมื่อคดีปรากฏว่าการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์เป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 2 โจทก์จึงต้องห้ามมิให้ฟ้องจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ฯ ดังกล่าว ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกาแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
of 8