พบผลลัพธ์ทั้งหมด 114 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2090/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าจ้างกรณีขยายเวลาทำงาน: แม้ไม่มีค่าล่วงเวลา นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับเวลาที่ขยายออกไป
งานที่โจทก์ทำมีลักษณะเป็นงานขนส่ง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 3(2) ซึ่งกำหนดเวลาทำงานปกติของลูกจ้างไว้ 8 ชั่วโมง แต่จำเลยได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมแรงงานให้ลูกจ้างทำงานเกินกำหนดเวลาตามปกติ ถือได้ว่าเป็นการขยายกำหนดเวลาทำงานตามปกติออกไป แม้โจทก์จะไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาตามข้อ 36 แต่จำเลยก็มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์สำหรับเวลาทำงานที่ขยายออกไป 2 ชั่วโมงนั้น หาใช่ลูกจ้างไม่มีสิทธิรับค่าล่วงเวลา แล้วจะถูกตัดสิทธิมิให้รับค่าจ้างธรรมดาไปด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2078/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าล่วงเวลา/ทำงานในวันหยุด: งานเฝ้าระวังความปลอดภัยนอกเหนือจากงานปกติ ไม่เข้าข่ายต้องจ่ายค่าล่วงเวลา
'การทำงาน' ตามคำนิยามของค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุดตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน หมายถึงการทำงานตามปกติที่นายจ้างมอบหมายให้ลูกจ้างทำในกิจการของนายจ้าง เมื่อนายจ้างซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจมีคำสั่งให้ลูกจ้างอยู่เวรเพื่อป้องกันอัคคีภัยตามระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ อันเป็นหน้าที่พิเศษนอกเหนือจากกิจการตามปกติของนายจ้าง ลูกจ้างที่ต้องอยู่เวรเพื่อป้องกันอัคคีภัยจึงไม่มีสิทธิได้ค่าล่วงเวลาหรือค่าทำงานในวันหยุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2078/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอยู่เวรป้องกันอัคคีภัยไม่ใช่การทำงานปกติ จึงไม่เข้าข่ายค่าล่วงเวลาหรือค่าทำงานในวันหยุด
'การทำงาน' ตามคำนิยามของค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุดตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน หมายถึงการทำงานตามปกติที่นายจ้างมอบหมายให้ลูกจ้างทำในกิจการของนายจ้าง เมื่อนายจ้างซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจมีคำสั่งให้ลูกจ้างอยู่เวรเพื่อป้องกันอัคคีภัยตามระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ อันเป็นหน้าที่พิเศษนอกเหนือจากกิจการตามปกติของนายจ้าง ลูกจ้างที่ต้องอยู่เวรเพื่อป้องกันอัคคีภัยจึงไม่มีสิทธิได้ค่าล่วงเวลาหรือค่าทำงานในวันหยุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 828/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณค่าล่วงเวลาจากค่าครองชีพ: มติคณะรัฐมนตรีให้จ่ายเหมาเดือน ไม่ใช่ตามวันทำงานจริง
เมื่อค่าครองชีพซึ่งรัฐวิสาหกิจจ่ายให้ตามมติของคณะรัฐมนตรีเป็นค่าจ้างประเภทหนึ่งซึ่งจะต้องจ่ายในอัตราเหมาเดือนมิได้จ่ายให้เฉพาะวันที่มาทำงานและไม่มีการหักวันหยุดวันลาต่างๆ อันแตกต่างกับการจ่ายค่าจ้างรายชั่วโมงตามปกติของโจทก์ ดังนั้นการคำนวณค่าล่วงเวลารายชั่วโมงของค่าครองชีพให้แก่โจทก์จึงต้องเอาจำนวนค่าครองชีพหารด้วย 30 คูณด้วย 8 (จำนวนชั่วโมงที่โจทก์ทำงานแต่ละวัน) หาใช่เอา 21.75 อันเป็นวันทำงานโดยเฉลี่ยของโจทก์ในแต่ละเดือนคูณด้วย 8 มาเป็นตัวหารไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 414/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณค่าล่วงเวลา: การทำงานนอกเวลาปกติและในวันหยุด จำเป็นต้องพิจารณาเวลาทำงานปกติและช่วงพัก
จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างมีคำสั่งกำหนดเวลาทำงานปกติของพนักงานคือ 8.00 นาฬิกา ถึง 17.00 นาฬิกา การทำงานนอกเวลาดังกล่าวจึงต้องถือว่าเป็นการทำงานนอกเวลาทำงานปกติ โจทก์ได้รับคำสั่งให้ทำงานในวันหยุดตั้งแต่ 13.00 นาฬิกา ถึง 6.00 นาฬิกาของวันรุ่งขึ้น โดยมีช่วงหยุดพักระหว่าง 17.00 นาฬิกา ถึง 18.00 นาฬิกา และ 24.00 นาฬิกา ถึง 1.00 นาฬิกาของวันรุ่งขึ้น เช่นนี้ รวมระยะเวลาที่โจทก์ทำงานล่วงเวลาคือ 11 ชั่วโมง ซึ่งจำเลยต้องจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่โจทก์ในอัตราสามเท่าของค่าจ้างในวันทำงานสำหรับจำนวนชั่วโมงที่ทำงานเกินเวลาทำงานปกติ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 414/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าล่วงเวลา: การคำนวณชั่วโมงทำงานปกติและล่วงเวลาในวันหยุด จำเป็นต้องพิจารณาเวลาทำงานปกติที่นายจ้างกำหนด
จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างมีคำสั่งกำหนดเวลาทำงานปกติของพนักงานคือ 8.00 นาฬิกา ถึง 17.00 นาฬิกา การทำงานนอกเวลาดังกล่าวจึงต้องถือว่าเป็นการทำงานนอกเวลาทำงานปกติ โจทก์ได้รับคำสั่งให้ทำงานในวันหยุดตั้งแต่ 13.00 นาฬิกา ถึง 6.00 นาฬิกาของวันรุ่งขึ้น โดยมีช่วงหยุดพักระหว่าง 17.00 นาฬิกา ถึง18.00 นาฬิกา และ 24.00 นาฬิกา ถึง 1.00 นาฬิกาของวันรุ่งขึ้น เช่นนี้ รวมระยะเวลาที่โจทก์ทำงานล่วงเวลาคือ 11 ชั่วโมง ซึ่งจำเลยต้องจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่โจทก์ในอัตราสามเท่าของค่าจ้างในวันทำงานสำหรับจำนวนชั่วโมงที่ทำงานเกินเวลาทำงานปกติ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3079/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาทำงานและสิทธิค่าจ้าง: ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าจ้างธรรมดา แม้ไม่มีสิทธิค่าล่วงเวลา หากนายจ้างได้รับอนุญาตขยายเวลาทำงาน
เมื่อจำเลยผู้เป็นนายจ้างได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมแรงงาน ให้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างทำงานเกินกำหนดเวลาทำงานปกติ 8 ชั่วโมงออกไปอีก 4 ชั่วโมง โจทก์ย่อมหมดสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาสำหรับการทำงานเกินเวลาปกติดังกล่าว แต่ยังคงมีสิทธิได้รับค่าจ้างธรรมดาสำหรับเวลาทำงานที่ขยายออกไปนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3079/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาทำงานเกิน 8 ชั่วโมงและการจ่ายค่าจ้าง: ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าจ้างธรรมดา แม้ไม่มีสิทธิค่าล่วงเวลา
เมื่อจำเลยผู้เป็นนายจ้างได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมแรงงานให้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างทำงานเกินกำหนดเวลาทำงานปกติ 8 ชั่วโมงออกไปอีก 4 ชั่วโมง โจทก์ย่อมหมดสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาสำหรับการทำงานเกินเวลาปกติดังกล่าว แต่ยังคงมีสิทธิได้รับค่าจ้างธรรมดาสำหรับเวลาทำงานที่ขยายออกไปนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1265/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสั่งงานให้เสร็จทุกวัน ไม่ถือเป็นการมอบหมายให้ทำงานล่วงเวลาหรือวันหยุด นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าล่วงเวลา
ผู้บังคับบัญชาสั่งให้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างที่ยังอยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติงานทำงานในหน้าที่ให้เสร็จทุกวัน โจทก์ประสงค์ให้งานเสร็จตามคำสั่งดังกล่าวเพื่อแสดงถึงผลงานของโจทก์เอง จึงทำงานเกินเวลาทำงานปกติในวันทำงานและทำงานในวันหยุด ถือไม่ได้ว่าจำเลยผู้เป็นนายจ้างให้โจทก์ทำงานเกินเวลาทำงานปกติหรือทำงานในวันหยุด อันจำเลยจะต้องจ่ายค่าล่วงเวลาหรือค่าทำงานในวันหยุดแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3477/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
งานขับรถรองประธานบริษัท ไม่ใช่ขนส่ง ลูกจ้างมีสิทธิค่าล่วงเวลา หากทำงานเกิน 9 ชม./วัน
งานขับรถประจำตำแหน่งรองประธานกรรมการบริษัทไม่ใช่งานขนส่งตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 3(2) แต่เป็นงานอื่นตามข้อ 3(4) ซึ่งนายจ้างจะให้ลูกจ้างทำงานเกินกว่าสัปดาห์ละ 54 ชั่วโมงไม่ได้ เมื่อลักษณะการทำงานตามปกติมีกำหนดเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดแน่นอน การทำงานนอกเหนือเวลาดังกล่าวเป็นการทำงานชั่วครั้งชั่วคราวตามที่นายจ้างสั่ง จึงไม่ใช่การทำงานนอกสถานที่ซึ่งตามสภาพไม่อาจกำหนดเวลาอันแน่นอนตามข้อ 36(7) ลูกจ้างจึงมีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาตามข้อ 3(4) และข้อ 34 การที่ลูกจ้างยินยอมปฏิบัติงานเกินเวลาตลอดมาหาทำให้ลูกจ้างหมดสิทธิเรียกร้องไม่