พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,377 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 810/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องขับไล่จำกัดเฉพาะผู้มีสิทธิครอบครองจริง สัญญาขายฝากอสังหาริมทรัพย์ต้องจดทะเบียน
โจทก์ทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทจากวัด พ. แต่โจทก์ยังไม่เคยเข้าครอบครองที่ดินพิพาทตามสัญญาเช่า ส่วนจำเลยอยู่ในที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิการเช่าของ ส. มารดาจำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าเดิมมาก่อน แม้สัญญาเช่าระหว่าง ส. กับวัด พ. ระงับไปแล้วถือว่าจำเลยอยู่โดยไม่ได้รับอนุญาตก็เป็นการละเมิดต่อเจ้าของที่ดิน มิใช่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่าใหม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกจากที่ดินพิพาทโดยลำพัง
ส่วนที่ ส. ทำสัญญาขายฝากบ้านพิพาทซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินพิพาทแก่ ล. ภริยาโจทก์ แม้ระบุชื่อสัญญาว่าสัญญาขายฝากเฉพาะสังหาริมทรัพย์ แต่เนื้อหาสัญญาระบุขายฝากบ้านพร้อมที่ดินพิพาท ทั้งเมื่อพ้นกำหนดเวลาไถ่ทรัพย์คืน ล. อาศัยสัญญาขายฝากไปทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทจากวัด พ. ทันที และคำฟ้องโจทก์ที่ว่าโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยเพราะประสงค์เข้าอยู่อาศัยในบ้านพิพาทเอง พฤติการณ์มีเหตุผลน่าเชื่อว่า ล. รับซื้อฝากบ้านพิพาทเพื่ออยู่อาศัย มิใช่รื้อถอนไปอย่างสังหาริมทรัพย์จึงเป็นการขายฝากบ้านในลักษณะอสังหาริมทรัพย์ เมื่อคู่สัญญาทำสัญญากันเองโดยไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ย่อมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยมาตรา 491โจทก์ไม่ใช่เจ้าของบ้านพิพาทจึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกจากบ้านพิพาทและเรียกค่าเสียหายจากจำเลย
ส่วนที่ ส. ทำสัญญาขายฝากบ้านพิพาทซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินพิพาทแก่ ล. ภริยาโจทก์ แม้ระบุชื่อสัญญาว่าสัญญาขายฝากเฉพาะสังหาริมทรัพย์ แต่เนื้อหาสัญญาระบุขายฝากบ้านพร้อมที่ดินพิพาท ทั้งเมื่อพ้นกำหนดเวลาไถ่ทรัพย์คืน ล. อาศัยสัญญาขายฝากไปทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทจากวัด พ. ทันที และคำฟ้องโจทก์ที่ว่าโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยเพราะประสงค์เข้าอยู่อาศัยในบ้านพิพาทเอง พฤติการณ์มีเหตุผลน่าเชื่อว่า ล. รับซื้อฝากบ้านพิพาทเพื่ออยู่อาศัย มิใช่รื้อถอนไปอย่างสังหาริมทรัพย์จึงเป็นการขายฝากบ้านในลักษณะอสังหาริมทรัพย์ เมื่อคู่สัญญาทำสัญญากันเองโดยไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ย่อมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยมาตรา 491โจทก์ไม่ใช่เจ้าของบ้านพิพาทจึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกจากบ้านพิพาทและเรียกค่าเสียหายจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7636/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเป็นบุตรบุญธรรมตามกฎหมาย ต้องมีการจดทะเบียนตามขั้นตอนที่ถูกต้อง มิเช่นนั้นไม่ถือเป็นทายาท
เมื่อประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2477 บรรพ 5 และบรรพ 6 แล้ว แม้จะมีบทบัญญัติมาตรา 1586 บัญญัติว่า "บุตรบุญธรรมย่อมมีฐานะอย่างเดียวกับบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้รับบุตรบุญธรรม ฯลฯ" และมาตรา 1627 บัญญัติไว้ด้วยว่า "? บุตรบุญธรรมให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้" ก็ตาม แต่บุตรบุญธรรมในบทบัญญัติดังกล่าวก็หมายความเฉพาะบุตรบุญธรรมที่จดทะเบียนเป็นบุตรบุญธรรมตามมาตรา 1585 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เท่านั้น การที่ผู้ตายรับผู้คัดค้านที่ 1 มาเลี้ยงอย่างบุตรบุญธรรมทั้งไปแจ้งต่อกำนันว่า ผู้คัดค้านที่ 1 เกิดเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2498 ว่า เป็นบุตร แม้จะกระทำก่อนพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 แต่ก็ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 พุทธศักราช 2477 ทั้งการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมนั้น จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขในพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2478 การที่ผู้ตายกับผู้คัดค้านที่ 2 แจ้งการเกิดของผู้คัดค้านที่ 1 ว่าเป็นบุตรต่อกำนันตำบลโคกปีบ จึงมิใช่เป็นการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมตามกฎหมาย อันจะถือว่าผู้คัดค้านที่ 1 เป็นบุตรบุญธรรมของผู้ตาย ผู้คัดค้านที่ 1 จึงมิใช่ทายาทหรือเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการจะร้องต่อศาลขอให้ตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7636/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเป็นบุตรบุญธรรมตามกฎหมาย: การจดทะเบียนตามกฎหมายครอบครัวเป็นสำคัญ
เมื่อประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2477 บรรพ 5 และบรรพ 6 แล้ว แม้จะมีบทบัญญัติมาตรา 1586 บัญญัติว่า "บุตรบุญธรรมย่อมมีฐานะอย่างเดียวกับบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้รับบุตรบุญธรรม ฯลฯ" และมาตรา 1627บัญญัติไว้ด้วยว่า ".....บุตรบุญธรรมให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้" ก็ตาม แต่บุตรบุญธรรมในบทบัญญัติดังกล่าวหมายความเฉพาะบุตรบุญธรรมที่จดทะเบียนเป็นบุตรบุญธรรมตามมาตรา 1585 เท่านั้น
ผู้ตายรับผู้คัดค้านที่ 1 มาเลี้ยงอย่างบุตรบุญธรรมทั้งไปแจ้งต่อกำนันว่าผู้คัดค้านที่ 1 เกิดเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2498 เป็นบุตร แม้จะกระทำก่อนพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 แต่ก็ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พุทธศักราช 2477 ทั้งการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขในพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2478โดยผู้รับบุตรบุญธรรมต้องขอต่อนายทะเบียนเพื่อขอให้จดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2478ประกอบกฎกระทรวงมหาดไทยออกตามความในพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัวพ.ศ. 2478 ข้อ 2 วรรคสอง ดังนั้น การที่ผู้ตายกับผู้คัดค้านที่ 2 แจ้งการเกิดของผู้คัดค้านที่ 1 ว่าเป็นบุตร จึงมิใช่เป็นการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมตามกฎหมายผู้คัดค้านที่ 1 จึงมิใช่ทายาทหรือเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการจะร้องต่อศาลขอให้ตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 วรรคหนึ่ง
ผู้ตายรับผู้คัดค้านที่ 1 มาเลี้ยงอย่างบุตรบุญธรรมทั้งไปแจ้งต่อกำนันว่าผู้คัดค้านที่ 1 เกิดเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2498 เป็นบุตร แม้จะกระทำก่อนพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 แต่ก็ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พุทธศักราช 2477 ทั้งการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขในพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2478โดยผู้รับบุตรบุญธรรมต้องขอต่อนายทะเบียนเพื่อขอให้จดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2478ประกอบกฎกระทรวงมหาดไทยออกตามความในพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัวพ.ศ. 2478 ข้อ 2 วรรคสอง ดังนั้น การที่ผู้ตายกับผู้คัดค้านที่ 2 แจ้งการเกิดของผู้คัดค้านที่ 1 ว่าเป็นบุตร จึงมิใช่เป็นการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมตามกฎหมายผู้คัดค้านที่ 1 จึงมิใช่ทายาทหรือเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการจะร้องต่อศาลขอให้ตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7143/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิความเป็นเจ้าของที่ดินจากการเช่าซื้อ สิทธิยันจำเลยร่วมได้ แม้ยังมิได้จดทะเบียน
จำเลยร่วมซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทกับโจทก์ ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดยโจทก์ยอมทำสัญญาเช่าซื้อที่ดินพิพาททั้งสองแปลงคืนจากจำเลยร่วม หากโจทก์ชำระค่าเช่าซื้อเสร็จสิ้น จำเลยร่วมยอมให้ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ทันที และจำเลยร่วมจะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์ หากไม่ไปให้ถือเอาตามคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุด โจทก์ได้ชำระค่าเช่าซื้อแก่จำเลยร่วมครบถ้วนเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2536 คำพิพากษาตามยอมดังกล่าวจึงผูกพันคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง โดยผลแห่งข้อกำหนดตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวระหว่างโจทก์กับจำเลยร่วม ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงย่อมตกเป็นของโจทก์ และเป็นการได้มาโดยทางนิติกรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1229 วรรคหนึ่ง ผลแห่งนิติกรรมดังกล่าวนี้แม้จะยังไม่ได้มีการจดทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่ ก็หามีผลทำให้นิติกรรม ตกเป็นโมฆะหรือไม่สมบูรณ์ดังเช่นนิติกรรมซื้อขาย แลกเปลี่ยนหรือให้อสังหาริมทรัพย์ตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคหนึ่ง มาตรา 519 และมาตรา 525 บัญญัติไว้เป็นพิเศษไม่ เพียงแต่ทำให้ไม่บริบูรณ์ถึงขั้นเป็นทรัพยสิทธิเท่านั้น แต่ระหว่างคู่กรณีย่อมมีผลผูกพันต่อกันในฐานะเป็นบุคคลสิทธิ ทำให้โจทก์มีสิทธิเข้ายึดถือครอบครองใช้ประโยชน์ในฐานะเจ้าของที่ดินพิพาททั้งสองแปลงใช้ยันจำเลยร่วมได้
ส่วนการที่โจทก์ไม่ใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยร่วมจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทเสียภายในสิบปีตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 193/30 หรือไม่ใช้สิทธิในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมดังเช่นการบังคับคดีภายในสิบปี อันเป็นเหตุให้คดีหมายเลขแดงที่ 525/2532 ของศาลชั้นต้นที่โจทก์ฟ้องจำเลยร่วมให้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงแก่โจทก์ ซึ่งศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องนั้น ก็เป็นเพียงทำให้ความเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทของโจทก์ยังไม่บริบูรณ์เป็นทรัพยสิทธิเท่านั้น แต่ระหว่างโจทก์กับจำเลยร่วมแล้ว จำเลยร่วมหามีสิทธิใดในที่ดินพิพาทที่จะใช้ยันโจทก์ได้ไม่ เมื่อได้ความว่าหลังจากที่ศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5828/2534 ซึ่งพิพากษาให้เพิกถอนการขายที่ดินพิพาททั้งสองแปลงในคดีที่โจทก์ร้องขัดทรัพย์เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2534 แล้ว โจทก์ได้นำครูและนักเรียนเข้าปรับปรุงถางหญ้าในที่ดินพิพาททั้งสองแปลงตลอดมาเพื่อสร้างอาคารเรียนในลักษณะแสดงความเป็นเจ้าของโดยไม่มีผู้ใดโต้แย้งคัดค้าน ดังนี้การที่จำเลยเข้าไปปลูกเพิงในที่ดินพิพาททั้งสองแปลงโดยอ้างว่าอาศัยสิทธิของจำเลยร่วมจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง (วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกา)
คดีนี้ไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีหมายเลขแดงที่ 525/2532 ของศาลชั้นต้น เพราะคดีดังกล่าวมีประเด็นข้อพิพาทเพียงว่าจำเลยร่วมจะต้องดำเนินการจดทะเบียนสิทธิที่ดินพิพาททั้งสองแปลงให้แก่โจทก์หรือไม่เท่านั้น ต่างกับคดีนี้ซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องตั้งประเด็นในฐานะเจ้าของที่ดินพิพาททั้งสองแปลงที่โจทก์ได้มาโดยสัญญาเช่าซื้อตามสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยร่วมขอให้ขับไล่จำเลยซึ่งอ้างว่าอาศัยสิทธิของจำเลยร่วมเข้าไปปลูกสร้างโรงเรือนในที่ดินพิพาททั้งสองแปลง
ส่วนในปัญหาที่ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่นั้น แม้ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงยังมีชื่อจำเลยร่วมเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ก็ตาม แต่สิทธิและหน้าที่ระหว่างโจทก์กับจำเลยร่วมยังคงมีผลผูกพันต่อกันในฐานะเป็นบุคคลสิทธิ เมื่อโจทก์ได้ใช้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทเพื่อเตรียมก่อสร้างอาคารเรียนขึ้นใหม่บนที่ดินพิพาท จนกระทั่งถูกจำเลยซึ่งเป็นบริวารของจำเลยร่วมบุกรุกเข้าไปก่อสร้างอาคารในที่ดินดังกล่าวเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2536 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2537 คดีโจทก์ในส่วนนี้เกี่ยวกับจำเลยร่วมจึงไม่ขาดอายุความ
(ประชุมใหญ่)
ส่วนการที่โจทก์ไม่ใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยร่วมจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทเสียภายในสิบปีตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 193/30 หรือไม่ใช้สิทธิในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมดังเช่นการบังคับคดีภายในสิบปี อันเป็นเหตุให้คดีหมายเลขแดงที่ 525/2532 ของศาลชั้นต้นที่โจทก์ฟ้องจำเลยร่วมให้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงแก่โจทก์ ซึ่งศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องนั้น ก็เป็นเพียงทำให้ความเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทของโจทก์ยังไม่บริบูรณ์เป็นทรัพยสิทธิเท่านั้น แต่ระหว่างโจทก์กับจำเลยร่วมแล้ว จำเลยร่วมหามีสิทธิใดในที่ดินพิพาทที่จะใช้ยันโจทก์ได้ไม่ เมื่อได้ความว่าหลังจากที่ศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5828/2534 ซึ่งพิพากษาให้เพิกถอนการขายที่ดินพิพาททั้งสองแปลงในคดีที่โจทก์ร้องขัดทรัพย์เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2534 แล้ว โจทก์ได้นำครูและนักเรียนเข้าปรับปรุงถางหญ้าในที่ดินพิพาททั้งสองแปลงตลอดมาเพื่อสร้างอาคารเรียนในลักษณะแสดงความเป็นเจ้าของโดยไม่มีผู้ใดโต้แย้งคัดค้าน ดังนี้การที่จำเลยเข้าไปปลูกเพิงในที่ดินพิพาททั้งสองแปลงโดยอ้างว่าอาศัยสิทธิของจำเลยร่วมจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง (วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกา)
คดีนี้ไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีหมายเลขแดงที่ 525/2532 ของศาลชั้นต้น เพราะคดีดังกล่าวมีประเด็นข้อพิพาทเพียงว่าจำเลยร่วมจะต้องดำเนินการจดทะเบียนสิทธิที่ดินพิพาททั้งสองแปลงให้แก่โจทก์หรือไม่เท่านั้น ต่างกับคดีนี้ซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องตั้งประเด็นในฐานะเจ้าของที่ดินพิพาททั้งสองแปลงที่โจทก์ได้มาโดยสัญญาเช่าซื้อตามสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยร่วมขอให้ขับไล่จำเลยซึ่งอ้างว่าอาศัยสิทธิของจำเลยร่วมเข้าไปปลูกสร้างโรงเรือนในที่ดินพิพาททั้งสองแปลง
ส่วนในปัญหาที่ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่นั้น แม้ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงยังมีชื่อจำเลยร่วมเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ก็ตาม แต่สิทธิและหน้าที่ระหว่างโจทก์กับจำเลยร่วมยังคงมีผลผูกพันต่อกันในฐานะเป็นบุคคลสิทธิ เมื่อโจทก์ได้ใช้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทเพื่อเตรียมก่อสร้างอาคารเรียนขึ้นใหม่บนที่ดินพิพาท จนกระทั่งถูกจำเลยซึ่งเป็นบริวารของจำเลยร่วมบุกรุกเข้าไปก่อสร้างอาคารในที่ดินดังกล่าวเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2536 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2537 คดีโจทก์ในส่วนนี้เกี่ยวกับจำเลยร่วมจึงไม่ขาดอายุความ
(ประชุมใหญ่)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 53/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาเช่าก่อนกำหนดและการบังคับใช้สัญญาเช่าที่ไม่ได้จดทะเบียน
สัญญาเช่าอาคารที่โจทก์ทำกับจำเลยมีกำหนดระยะเวลาเช่า 10 ปี โดยมิได้จดทะเบียนการเช่า สัญญาดังกล่าวจึงบังคับได้เพียง 3 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 538 และต้องถือว่าการเช่าใน 3 ปีแรก เป็นการเช่าที่มีกำหนดระยะเวลา การที่โจทก์บอกเลิกสัญญาเช่าหลังจากเช่าไปแล้ว 1 ปีเศษ ถือว่าโจทก์ประสงค์บอกเลิกสัญญาที่มีกำหนดระยะเวลา เมื่อสัญญาดังกล่าวไม่มีข้อความตอนใดให้สิทธิแก่โจทก์ในอันที่จะเลิกสัญญาได้ การที่โจทก์บอกเลิกสัญญาเช่าก่อนกำหนดจึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 386
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4170/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของบันทึกเลิกบริษัท: ข้อตกลงจัดการหนี้สินยังไม่ผูกพันจนกว่าจะจดทะเบียนเลิกบริษัท
จำเลยที่ 2 และที่ 3 กับ ย. ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 ตกลงกันเลิกบริษัทจำเลยที่ 1 ได้ทำบันทึกเลิกบริษัทจำเลยที่ 1 และมีข้อตกลงเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สิน หนี้สิน และภาระความรับผิดต่าง ๆ ของจำเลยที่ 1 ระหว่างจำเลยที่ 2 และที่ 3 ฝ่ายหนึ่ง กับ ย. ฝ่ายหนึ่ง โดยระบุให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 รับภาระในการชำระหนี้การค้าระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นการส่วนตัว บันทึกดังกล่าวจึงถือเป็นข้อตกลงที่กำหนดหน้าที่ของทั้งสองฝ่าย เพื่อประสงค์จะระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับการจัดการแบ่งปันทรัพย์สินและชำระหนี้สินของจำเลยที่ 1 ที่มีอยู่ให้เสร็จสิ้นไปเมื่อมีการจดทะเบียนเลิกบริษัทจำเลยที่ 1 ดังนั้น ตราบใดที่ยังไม่มีการจดทะเบียนเลิกบริษัทจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงยังเป็นนิติบุคคล ข้อตกลงในการจัดการทรัพย์สินและหนี้สินตามบันทึกจึงยังไม่อาจมีผลบังคับได้ และบันทึกเลิกบริษัทดังกล่าวไม่ถือเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกตาม ป.พ.พ มาตรา 374 โจทก์จึงไม่อาจอาศัยข้อตกลงในบันทึกเลิกบริษัทนั้นบังคับให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4170/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเลิกบริษัทกับบุคคลภายนอก: ผลบังคับใช้เมื่อยังไม่ได้จดทะเบียนเลิกบริษัท
บันทึกตกลงเลิกบริษัทจำเลยที่ 1 มีข้อตกลงเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สิน หนี้สินและภาระความรับผิดชอบต่าง ๆ ของจำเลยที่ 1 ระหว่างจำเลยที่ 2 และที่ 3 ฝ่ายหนึ่งกับ ย. อีกฝ่ายหนึ่ง เพื่อประสงค์จะระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับการจัดการแบ่งปันทรัพย์สินและชำระหนี้สินของจำเลยที่ 1 ซึ่งมีอยู่ให้เสร็จสิ้นไปเมื่อมีการจดทะเบียนเลิกบริษัทจำเลยที่ 1 ดังนั้นตราบใดที่ยังไม่มีการจดทะเบียนเลิกบริษัทจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ยังเป็นนิติบุคคล ข้อตกลงในการจัดการทรัพย์สินและหนี้สินจึงยังไม่อาจมีผลบังคับได้ บันทึกตกลงเลิกบริษัทจึงไม่อาจถือเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 โจทก์จะอาศัยข้อตกลงในบันทึกดังกล่าวบังคับให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ชำระหนี้แก่โจทก์หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2802/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: ชื่อทางภูมิศาสตร์ที่ไม่เป็นที่รู้จักทั่วไปและลักษณะบ่งเฉพาะ
พระราชบัญญัติโอนอำนาจหน้าที่และกิจการบริหารบางส่วนของกรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ และของกรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ ไปเป็นของกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ฯ มาตรา 3 ได้บัญญัติให้โอนบรรดาอำนาจหน้าที่เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้าและกฎหมายว่าด้วยสิทธิบัตรไปเป็นของกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์และพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการ กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ฯมาตรา 3 กำหนดให้ส่วนงานของกรมทรัพย์สินทางปัญญา จำเลยที่ 1 มีอำนาจหน้าที่ในการปฏิบัติงานตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้าและทรัพย์สินทางปัญญาอื่นและมาตรา 5 กำหนดให้ส่วนงานในสังกัดของจำเลยที่ 1 มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจสอบเพื่อการจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้าประกาศโฆษณาและการรับจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา และให้คำปรึกษาแนะนำและบริการเกี่ยวกับการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา ดังนั้น การดำเนินการเกี่ยวกับการรับจดทะเบียนหรือไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ จึงอยู่ในกรอบอำนาจหน้าที่และการควบคุมของจำเลยที่ 1 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1
คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า ซึ่งเป็นที่สุดตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง นั้น มีความหมายเพียงว่าผู้อุทธรณ์จะอุทธรณ์คำวินิจฉัยดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานอื่นอีกไม่ได้เท่านั้น หากคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวเป็นคำวินิจฉัยที่ไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้อุทธรณ์ย่อมมีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลเพื่อขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยดังกล่าวได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินฯ มาตรา 26 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งหกเป็นคดีนี้ได้ชื่อเมืองหลวงของประเทศและชื่อทางภูมิศาสตร์อื่น ๆ ที่ประชาชนโดยทั่วไปรู้จักถือว่าเป็นชื่อทางภูมิศาสตร์ ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ แต่คำว่า "PHOENIX" ไม่ถือว่าเป็นชื่อทางภูมิศาสตร์ เพราะเป็นเพียงชื่อเมืองหลวงของมลรัฐหนึ่งในประเทศสหรัฐอเมริกามิใช่ชื่อเมืองหลวงของประเทศสหรัฐอเมริกา และจะถือว่าเป็นชื่อทางภูมิศาสตร์อื่น ๆ เสียทีเดียวหาได้ไม่ เพราะยังจะต้องพิจารณาในรายละเอียดว่าเป็นชื่อเมืองที่ประชาชนทั่วไปรู้จักหรือไม่ หากประชาชนทั่วไปไม่รู้จักแล้วก็ถือว่าเป็นชื่อที่มีลักษณะบ่งเฉพาะซึ่งไม่ต้องห้ามมิให้รับจดทะเบียนแม้โจทก์จะมิได้มีคำขอมาท้ายฟ้องขอให้จำเลยทั้งหกร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ด้วย แต่ความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมเป็นเรื่องที่ศาลจะต้องมีคำสั่งลงไว้ในคำพิพากษาตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินฯ มาตรา 26 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 141(5) และมาตรา 167 ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ มิได้มีคำพิพากษาเกี่ยวกับเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมมาจึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า ซึ่งเป็นที่สุดตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง นั้น มีความหมายเพียงว่าผู้อุทธรณ์จะอุทธรณ์คำวินิจฉัยดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานอื่นอีกไม่ได้เท่านั้น หากคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวเป็นคำวินิจฉัยที่ไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้อุทธรณ์ย่อมมีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลเพื่อขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยดังกล่าวได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินฯ มาตรา 26 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งหกเป็นคดีนี้ได้ชื่อเมืองหลวงของประเทศและชื่อทางภูมิศาสตร์อื่น ๆ ที่ประชาชนโดยทั่วไปรู้จักถือว่าเป็นชื่อทางภูมิศาสตร์ ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ แต่คำว่า "PHOENIX" ไม่ถือว่าเป็นชื่อทางภูมิศาสตร์ เพราะเป็นเพียงชื่อเมืองหลวงของมลรัฐหนึ่งในประเทศสหรัฐอเมริกามิใช่ชื่อเมืองหลวงของประเทศสหรัฐอเมริกา และจะถือว่าเป็นชื่อทางภูมิศาสตร์อื่น ๆ เสียทีเดียวหาได้ไม่ เพราะยังจะต้องพิจารณาในรายละเอียดว่าเป็นชื่อเมืองที่ประชาชนทั่วไปรู้จักหรือไม่ หากประชาชนทั่วไปไม่รู้จักแล้วก็ถือว่าเป็นชื่อที่มีลักษณะบ่งเฉพาะซึ่งไม่ต้องห้ามมิให้รับจดทะเบียนแม้โจทก์จะมิได้มีคำขอมาท้ายฟ้องขอให้จำเลยทั้งหกร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ด้วย แต่ความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมเป็นเรื่องที่ศาลจะต้องมีคำสั่งลงไว้ในคำพิพากษาตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินฯ มาตรา 26 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 141(5) และมาตรา 167 ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ มิได้มีคำพิพากษาเกี่ยวกับเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมมาจึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 265/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: แม้จดทะเบียนแล้ว ผู้มีสิทธิเดิมฟ้องเพิกถอนได้หากพิสูจน์ได้ว่าตนมีสิทธิที่ดีกว่า
ในคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ การพิจารณาคำฟ้องของโจทก์ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาฯ ข้อ 6 วรรคหนึ่ง ที่แสดงให้พอเข้าใจถึงสภาพแห่งข้อหา ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาและคำขอบังคับมิใช่ต้องแสดงโดยแจ้งชัดตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172วรรคสอง ดังนั้น เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์ใช้เครื่องหมายตราเป็ดว่ายน้ำและได้รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้มาตั้งแต่ปี 2521 จนถึงปัจจุบัน ส่วนเครื่องหมายตราเป็ดยืนโจทก์จดทะเบียนรับโอนมาจากผู้ที่จดทะเบียนไว้ก่อน แต่ต่อมาโจทก์ไม่ได้ขอต่ออายุการจดทะเบียนจึงถูกเพิกถอนเครื่องหมายการค้าทั้งสองดังกล่าว จากนั้นจำเลยซึ่งเคยเป็นผู้จัดการของโจทก์ได้นำเครื่องหมายการค้าทั้งสองของโจทก์ไปยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและนายทะเบียนก็รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวให้แก่จำเลย อันเป็นการขอจดทะเบียนโดยไม่สุจริต ซึ่งตามคำฟ้องย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าโจทก์กล่าวอ้างถึงข้อเท็จจริงเพื่อแสดงว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลย อันเป็นเหตุที่จะขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 67 แม้คำขอท้ายฟ้องของโจทก์จะขอให้บังคับจำเลยดำเนินการเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งสองหากไม่ดำเนินการให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาของจำเลยก็ตามแต่ก็เข้าใจได้ว่า โจทก์ประสงค์จะให้มีการเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยนั่นเอง ทั้งการที่โจทก์อ้างว่าตนเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าซึ่งมีสิทธิดีกว่าจำเลย แต่จำเลยนำไปจดทะเบียนการค้าโดยไม่สุจริตก็เป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว และกรณีผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าผู้ได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าฟ้องผู้ที่ได้จดทะเบียนการค้าไว้แล้วนั้นพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 67 ก็ให้อำนาจศาลสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าหากโจทก์แสดงได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่าจำเลย จึงเป็นกรณีที่โจทก์และจำเลยจะต้องนำสืบพยานหลักฐานเพื่อแสดงว่าใครเป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่ากัน ซึ่งไม่ใช่อำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนที่จะสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้ เพราะเมื่อมีคำพิพากษาของศาลถึงที่สุดให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าแล้ว ก็มีผลบังคับเป็นการเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าโดยคำพิพากษาของศาลนั้นเอง โจทก์เพียงแต่นำคำพิพากษาไปแสดงแก่นายทะเบียนเพื่อจดแจ้งทางทะเบียนให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลเท่านั้น ไม่ใช่กรณีที่โจทก์ต้องฟ้องเพื่อให้ศาลบังคับนายทะเบียนแต่อย่างใด
การที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของโจทก์ด้วยเหตุที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 6(3) นั้น เป็นกรณีที่นายทะเบียนพิจารณาสั่งตามมาตรา 16 โดยพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วหรือไม่เท่านั้นซึ่งเป็นคนละปัญหากับการที่ศาลจะวินิจฉัยว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าตามฟ้องดีกว่าจำเลยผู้ที่ได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ ฉะนั้น แม้โจทก์จะอุทธรณ์คำสั่งนายทะเบียนที่ปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์หรือไม่ หรือคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าจะวินิจฉัยเรื่องความเหมือนคล้ายกันของเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับจำเลยอย่างไร ก็ไม่มีผลทำให้โจทก์เสียสิทธิฟ้องจำเลยตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 67 แต่ประการใด
การที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของโจทก์ด้วยเหตุที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 6(3) นั้น เป็นกรณีที่นายทะเบียนพิจารณาสั่งตามมาตรา 16 โดยพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วหรือไม่เท่านั้นซึ่งเป็นคนละปัญหากับการที่ศาลจะวินิจฉัยว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าตามฟ้องดีกว่าจำเลยผู้ที่ได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ ฉะนั้น แม้โจทก์จะอุทธรณ์คำสั่งนายทะเบียนที่ปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์หรือไม่ หรือคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าจะวินิจฉัยเรื่องความเหมือนคล้ายกันของเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับจำเลยอย่างไร ก็ไม่มีผลทำให้โจทก์เสียสิทธิฟ้องจำเลยตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 67 แต่ประการใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 207/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการบังคับคดีและการส่งมอบโฉนดที่ดินเพื่อจดทะเบียนภาระจำยอม แม้ศาลฎีกาไม่ได้สั่งให้ส่งมอบ
ศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันทำทางพิพาทตามรูปแผนที่วิวาทและให้จำเลยที่ 1 ไปจดทะเบียนสิทธิภาระจำยอมทางพิพาทดังกล่าวให้แก่โจทก์ทั้งสองหากจำเลยที่ 1 ไม่ดำเนินการให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยที่ 1ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ไม่ไปจดทะเบียนสิทธิภาระจำยอมในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสองโจทก์ทั้งสองจึงย่อมมีสิทธิที่จะขอดำเนินการบังคับคดีในลำดับต่อไป โดยถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยที่ 1 แต่เมื่อโฉนดที่ดินพิพาทอยู่ที่จำเลยที่ 1ทำให้โจทก์ทั้งสองไม่สามารถจดทะเบียนภาระจำยอมในที่ดินพิพาทได้ โจทก์ทั้งสองย่อมมีสิทธิที่จะร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 ส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทต่อศาลชั้นต้นเพื่อดำเนินการบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาได้ เพราะถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการบังคับคดี หาเป็นการบังคับนอกเหนือไปจากคำพิพากษาแต่อย่างใดไม่แต่เนื่องจากศาลชั้นต้นยกคำร้องของโจทก์ทั้งสองโดยยังมิได้เรียกคู่ความมาสอบถามให้แน่ชัดเสียก่อนว่าโฉนดที่ดินพิพาทอยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 1 จริงหรือไม่และมีเหตุจำเป็นหรือขัดข้องประการใดที่จำเลยที่ 1 ไม่ส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสอง จึงสมควรเรียกคู่ความมาสอบถามให้ได้ความเสียก่อน ไม่ควรรีบด่วนยกคำร้อง