พบผลลัพธ์ทั้งหมด 155 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3445/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รวมในทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยา แม้จดทะเบียนสมรสและหย่าภายหลัง
ผู้ร้องและจำเลยเป็นสามีภริยากันตั้งแต่ปี พ.ศ. 2499 แต่เพิ่งจดทะเบียนสมรสกันในปี พ.ศ. 2518 และจดทะเบียนหย่ากันในปี พ.ศ. 2520 ขณะแต่งงานกันต่างฝ่ายต่างไม่มีทรัพย์สิน ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างที่ผู้ร้องกับจำเลยอยู่กินด้วยกันก่อนจดทะเบียนสมรสจึงเป็นทรัพย์สินที่ผู้ร้องกับจำเลยทำมาหาได้ร่วมกันซึ่งผู้ร้องกับจำเลยมีกรรมสิทธิ์รวม แม้ภายหลับผู้ร้องกับจำเลยได้จดทะเบียนสมรสและหย่าขาดจากกันโดยไม่มีข้อตกลงเกี่ยวกับทรัพย์ดังกล่าวเป็นอย่างอื่น ทรัพย์สินนั้นจึงยังคงเป็นกรรมสิทธิ์รวมระหว่างผู้ร้องกับจำเลยอยู่ ผู้ร้องไม่มีสิทธิร้องขอให้ปล่อยจากการยึด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3057/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการจดทะเบียนสมรสของบุคคลสัญชาติไทยกับชาวต่างชาติที่อยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การที่ผู้ร้องเป็นบุคคลสัญชาติไทย ได้ยื่นคำร้องขอจดทะเบียนสมรสกับนางสาว น. บุคคลเชื้อชาติสัญชาติญวน และเจ้าหน้าที่บันทึกเสนอผู้คัดค้านว่า นางสาว น. ฝ่ายหญิงเป็นคนญวนอพยพเข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย มีบัตรประจำตัวคนญวนอพยพ ปลัดอำเภอบันทึกความเห็นต่อไปว่า เห็นควรแจ้งให้ผู้ร้องฝ่ายหญิงทราบว่าจะต้องมีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวก่อนจึงจะจดทะเบียนสมรสให้ได้ ผู้คัดค้านสั่งในรายการความเห็นของนายอำเภอว่ารายงานจังหวัดขอความเห็นชอบ ให้สารวัตรใหญ่สืบสวน แจ้งให้ผู้ร้องทราบนั้น พระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พุทธศักราช 2478 มาตรา 15 มิได้ระบุว่านายทะเบียนไม่ยอมรับจดทะเบียนสมรสด้วยเหตุใดบ้าง ผู้มีส่วนได้เสียจึงจะยื่นคำร้องต่อศาลได้ ดังนั้นเมื่อผู้คัดค้านซึ่งเป็นนายทะเบียนไม่ยอมรับจดทะเบียนสมรสดังกล่าว จึงเป็นการไม่ยอมรับจดทะเบียนสมรสตามความหมายแห่งบทบัญญัติของกฎหมายมาตราดังกล่าวแล้ว ผู้ร้องย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้จดทะเบียนสมรสให้ผู้ร้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3057/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการจดทะเบียนสมรส: กรณีเจ้าหน้าที่ปฏิเสธเนื่องจากสถานะบุคคลฝ่ายหญิง
การที่ผู้ร้องเป็นบุคคลสัญชาติไทย ได้ยื่นคำร้องขอจดทะเบียนสมรสกับนางสาว น. บุคคลเชื้อชาติสัญชาติญวน และเจ้าหน้าที่บันทึกเสนอผู้คัดค้านว่า นางสาว น. ฝ่ายหญิงเป็นคนญวนอพยพเข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย มีบัตรประจำตัวคนญวนอพยพ ปลัดอำเภอบันทึกความเห็นต่อไปว่า เห็นควรแจ้งให้ผู้ร้องฝ่ายหญิงทราบว่าจะต้องมีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวก่อนจึงจะจดทะเบียนสมรสให้ได้ ผู้คัดค้านสั่งในรายการความเห็นของนายอำเภอว่ารายงานจังหวัดขอความเห็นชอบ ให้สารวัตรใหญ่สืบสวน แจ้งให้ผู้ร้องทราบนั้น พระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พุทธศักราช 2478 มาตรา 15 มิได้ระบุว่านายทะเบียนไม่ยอมรับจดทะเบียนสมรสด้วยเหตุใดบ้าง ผู้มีส่วนได้เสียจึงจะยื่นคำร้องต่อศาลได้ ดังนั้นเมื่อผู้คัดค้านซึ่งเป็นนายทะเบียนไม่ยอมรับจดทะเบียนสมรสดังกล่าว จึงเป็นการไม่ยอมรับจดทะเบียนสมรสตามความหมายแห่งบทบัญญัติของกฎหมายมาตราดังกล่าวแล้ว ผู้ร้องย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้จดทะเบียนสมรสให้ผู้ร้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2528/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดผู้รับผิดในค่าเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ และสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายของคู่สมรสที่ไม่จดทะเบียน
ในคดีละเมิด จำเลยให้การต่อสู้ว่าโจทก์ที่ 2 ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับนายบุญมาก มั่งคั่ง (ลูกจ้างขับรถของโจทก์ที่ 1 ซึ่งถึงแก่ความตายในอุบัติเหตุครั้งนี้) โจทก์ที่ 2 จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนเพราะขาดอุปการะจากจำเลย ในฟ้องแย้งของจำเลยก็ไม่ได้แสดงว่าตนมีสิทธิตามกฎหมายอย่างไรที่จะเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ที่ 2 ทั้งในคำขอก็ไม่ได้กล่าวให้ชัดแจ้งว่าประสงค์จะให้โจทก์ที่ 1 หรือที่ 2 ใช้ค่าเสียหายแก่ตน จึงต้องถือว่าจำเลยประสงค์ให้โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นนายจ้างของนายบุญมาก มั่งคั่ง ใช้ค่าเสียหายแก่ตนเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1744/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ของหมั้นหลังจดทะเบียนสมรส: ประเด็นนอกคำให้การและอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่วินิจฉัย
โจทก์มิได้ให้การว่าได้มอบของหมั้นตามฟ้องแย้งให้กับจำเลยในภายหลังวันที่จดทะเบียนสมรสกันจึงไม่เป็นของหมั้นตามกฎหมาย ชั้นอุทธรณ์ก็มิได้ตั้งประเด็นข้อนี้ในอุทธรณ์ของโจทก์ ฎีกาของโจทก์ในข้อนี้จึงเป็นเรื่องนอกประเด็นตามคำให้การแก้ฟ้องแย้งโจทก์ และไม่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาวินิจฉัยให้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3740/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนสมรสหญิงต่างด้าว: คำสั่งภายในกระทรวงมหาดไทยขัดต่อกฎหมายจดทะเบียนครอบครัว
ผู้ร้องเป็นบุคคลสัญชาติไทยได้ไปยื่นคำร้องขอจดทะเบียนสมรสกับนางสาว ด. บุคคลสัญชาติญวนซึ่งเกิดในประเทศไทย บิดามารดาของนางสาว ด. อพยพเข้ามาในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย นายอำเภอเห็นว่านางสาว ด. มีเชื้อชาติสัญชาติญวน ไม่มีบัตรประจำตัวประชาชนมีแต่บัตรคนญวนอพยพ จึงไม่รับจดทะเบียนสมรสให้ โดยถือปฏิบัติตามคำสั่งของกระทรวงมหาดไทย แต่คำสั่งของกระทรวงมหาดไทยก็มิได้อาศัยอำนาจตามกฎหมายฉบับใดอันจะใช้บังคับเป็นกฎหมายแก่บุคคลทั่วไป นายอำเภอซึ่งมีหน้าที่ตามกฎหมายให้รับจดทะเบียนสมรสแก่ผู้ร้องและนางสาว ด. จะอ้างคำสั่งดังกล่าวเพื่อไม่ยอมปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายที่ตนมีอยู่หาได้ไม่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 720/2505)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3740/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนสมรสหญิงต่างด้าว: คำสั่งภายในกระทรวงมหาดไทยใช้บังคับกับบุคคลทั่วไปไม่ได้
ผู้ร้องเป็นบุคคลสัญชาติไทยได้ไปยื่นคำร้องขอจดทะเบียนสมรสกับนางสาว ด. บุคคลสัญชาติญวนซึ่งเกิดในประเทศไทย บิดามารดาของนางสาว ด. อพยพเข้ามาในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย นายอำเภอเห็นว่านางสาว ด. มีเชื้อชาติสัญชาติญวน ไม่มีบัตรประจำตัวประชาชนมีแต่บัตรคนญวนอพยพ จึงไม่รับจดทะเบียนสมรสให้ โดยถือปฏิบัติตามคำสั่งของกระทรวงมหาดไทย แต่คำสั่งของกระทรวงมหาดไทยก็มิได้อาศัยอำนาจตามกฎหมายฉบับใดอันจะใช้บังคับเป็นกฎหมายแก่บุคคลทั่วไป นายอำเภอซึ่งมีหน้าที่ตามกฎหมายให้รับจดทะเบียนสมรสแก่ผู้ร้องและนางสาว ด. จะอ้างคำสั่งดังกล่าวเพื่อไม่ยอมปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายที่ตนมีอยู่หาได้ไม่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 720/2505)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3557/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสอดและของหมั้น: การให้โดยไม่มีเจตนาจดทะเบียนสมรสไม่ถือเป็นสินสอดตามกฎหมาย
การที่โจทก์ให้เงิน 20,000 บาท ซึ่งเรียกว่าสินสอดและให้แหวนเพชรกับสร้อยทองคำซึ่งเรียกว่าของหมั้นแก่จำเลยนั้นโจทก์หาได้ให้ในฐานะเป็นสินสอดและของหมั้นไม่เพราะสินสอดหรือของหมั้นนั้นต้องเป็นการให้โดยมีเจตนาจะสมรสกันตามกฎหมายเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏชัดว่าทั้งสองฝ่ายเพียงแต่ประกอบพิธีสมรสตามประเพณี โดยไม่มีเจตนาที่จะจดทะเบียนสมรสเพื่อให้มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย เงินและทรัพย์นั้น จึงหาได้ให้ในฐานะเป็นสินสอดและของหมั้นตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1437 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2330/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งสินสมรสก่อน/หลังใช้ พ.ร.บ. บรรพ 5 และอายุความมรดก กรณีสามีภรรยาไม่ได้จดทะเบียนสมรส
ผู้ร้องสอดกับ ล. สมรสกันก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 ดังนั้น หากมีข้อกล่าวอ้างถึงความสมบูรณ์ในเรื่องการสมรสหรือการหย่าขึ้นหลังจากได้มีประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5ใช้บังคับแล้ว การสมรสหรือการหย่าจะมีผลสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อได้ปฏิบัติการให้เป็นไปตามบทกฎหมายขณะที่ใช้อยู่ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าผู้ร้องสอดกับ ล. มิได้จดทะเบียนหย่าให้เป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1499 ข้ออ้างการหย่าที่จำเลยยกขึ้นอ้างจึงไม่มีผลตามกฎหมายแม้จะได้ความว่าคู่สมรสจะได้เลิกร้างแยกกันอยู่ ก็หาทำให้การเป็นสามีภรรยาของคู่สมรสขาดจากกันไม่
ที่ดินโฉนดพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องสอดกับ ล.ที่ไม่ได้มีการแบ่งแยกกันมาก่อน ต่อมา ล. ถึงแก่ความตายความเป็นสามีภรรยาระหว่างคนทั้งสองย่อมขาดจากกันนับแต่วันที่ ล. ตาย สินสมรสจึงต้องแยกจากกันและการแบ่งสินสมรสสำหรับบุคคลทั้งสอง แม้จะเป็นกรณีพิพาทกันหลังจากมีพระราชบัญญัติให้ใช้บัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ใช้บังคับแล้วก็ตาม แต่ก็ไม่มีผลกระทบกระเทือนกับการสมรสและความสัมพันธ์ในครอบครัวอันเกิดแก่การสมรสนั้นๆ ซึ่งได้มีอยู่ก่อนวันใช้ประมวลกฎหมายบรรพนี้ ตามมาตรา 4(1) ของพระราชบัญญัติดังกล่าว การแบ่งสินสมรสของคนทั้งสองจึงต้องเป็นไปตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย
ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ผู้ร้องสอดเป็นฝ่ายที่มีสินเดิมมาฝ่ายเดียวล. ไม่มีสินเดิมที่ดินตามโฉนดพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสจึงตกได้แก่ผู้ร้องสอดผู้เป็นสามีแต่ฝ่ายเดียวไม่เหลือตกเป็นมรดกของ ล.ผู้ตายไว้เลย ด้วยเหตุนี้ผู้ร้องสอดจึงไม่อยู่ในข่ายการนับอายุความมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 คดีของผู้ร้องสอดจึงไม่ขาดอายุความ
ที่ดินโฉนดพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องสอดกับ ล.ที่ไม่ได้มีการแบ่งแยกกันมาก่อน ต่อมา ล. ถึงแก่ความตายความเป็นสามีภรรยาระหว่างคนทั้งสองย่อมขาดจากกันนับแต่วันที่ ล. ตาย สินสมรสจึงต้องแยกจากกันและการแบ่งสินสมรสสำหรับบุคคลทั้งสอง แม้จะเป็นกรณีพิพาทกันหลังจากมีพระราชบัญญัติให้ใช้บัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ใช้บังคับแล้วก็ตาม แต่ก็ไม่มีผลกระทบกระเทือนกับการสมรสและความสัมพันธ์ในครอบครัวอันเกิดแก่การสมรสนั้นๆ ซึ่งได้มีอยู่ก่อนวันใช้ประมวลกฎหมายบรรพนี้ ตามมาตรา 4(1) ของพระราชบัญญัติดังกล่าว การแบ่งสินสมรสของคนทั้งสองจึงต้องเป็นไปตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย
ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ผู้ร้องสอดเป็นฝ่ายที่มีสินเดิมมาฝ่ายเดียวล. ไม่มีสินเดิมที่ดินตามโฉนดพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสจึงตกได้แก่ผู้ร้องสอดผู้เป็นสามีแต่ฝ่ายเดียวไม่เหลือตกเป็นมรดกของ ล.ผู้ตายไว้เลย ด้วยเหตุนี้ผู้ร้องสอดจึงไม่อยู่ในข่ายการนับอายุความมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 คดีของผู้ร้องสอดจึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1036/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหมั้นและการสมรส: เหตุผลสำคัญในการไม่จดทะเบียนสมรสและการคืนของหมั้น
โจทก์เป็นโรคจิตประสาทอย่างอ่อน มีอาการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ สามารถรักษาให้หายได้ และผู้ที่เป็นโรคนี้สามารถแต่งงานได้ จำเลยเคยพาโจทก์ออกไปเที่ยวนอกบ้านทั้งในเวลาก่อนและหลังหมั้นและกว่าโจทก์จำเลยจะแต่งงานกันก็เป็นเวลาภายหลังหมั้นถึง 5 เดือนเศษ เมื่อจำเลยแต่งงานและอยู่กินกับโจทก์เป็นเวลา 3 เดือนเศษแล้วจำเลยปฏิเสธไม่ยอมไปจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าเหตุที่ไม่มีการสมรสนั้นมีเหตุผลสำคัญอันเกิดแต่โจทก์ โจทก์จึงไม่ต้องคืนของหมั้น
โจทก์ฟ้องเรียกของหมั้นที่จำเลยเก็บไว้จำเลยให้การว่าโจทก์ไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องเพราะคดีขาดอายุความตามกฎหมาย โดยมิได้แสดงเหตุแห่งการขาดอายุความมาด้วยนั้นเป็นคำให้การที่ไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสอง จึงไม่มีประเด็นในเรื่องฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่
โจทก์ฟ้องเรียกของหมั้นที่จำเลยเก็บไว้จำเลยให้การว่าโจทก์ไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องเพราะคดีขาดอายุความตามกฎหมาย โดยมิได้แสดงเหตุแห่งการขาดอายุความมาด้วยนั้นเป็นคำให้การที่ไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสอง จึงไม่มีประเด็นในเรื่องฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่