พบผลลัพธ์ทั้งหมด 159 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 284-285/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต: ศาลฎีกาพิพากษายืนตามฟ้อง แม้ไม่มีเจตนาประกอบธุรกิจ แต่การกระทำเข้าข่ายความผิด
โจทก์ฟ้องจำเลยข้อหาฉ้อโกงว่าจำเลยหลอกลวงผู้เสียหายว่าจำเลยสามารถจัดส่งผู้เสียหายไปทำงานยังต่างประเทศได้อันเป็นเท็จทำให้ผู้เสียหายหลงเชื่อและมอบเงินค่าบริการแก่จำเลยไปและฟ้องอีกข้อหาหนึ่งว่าจำเลยกระทำความผิดฐานจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาตแต่ฟ้องของโจทก์ไม่มีข้อความใดที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยไม่มีเจตนาประกอบธุรกิจจัดหางานการกระทำของจำเลยตามฟ้องจึงเป็นความผิดฐานจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาตด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 284-285/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต: ศาลฎีกายืนโทษฐานจัดหางานผิดกฎหมาย แม้ผู้เสียหายถอนฟ้องคดีฉ้อโกง
ฟ้องโจทก์บรรยายถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำผิดแยกกันมาฐานฉ้อโกงตามคำบรรยายฟ้องโจทก์ข้อก.เมื่อจะมีข้อความว่าจำเลยทั้งสองกับพวกไม่สามารถจัดให้ผู้เสียหายทั้งสี่ได้ทำงานในต่างประเทศตามที่จำเลยทั้งสองกับพวกกล่าวอ้างแต่ก็ไม่มีข้อความใดที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองกับพวกไม่มีเจตนาประกอบธุรกิจจัดหางานตามที่บรรยายไว้ในข้อข.การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดฐานจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาตตามฟ้อง หลังจากศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาแล้วจำเลยทั้งสองยื่นฎีกาในข้อหาร่วมกันฉ้อโกงศาลชั้นต้นสั่งไม่รับฎีกาเนื่องจากคดีต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงจำเลยที่2อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับฎีกาคดีข้อหาร่วมกันฉ้อโกงอยู่ในระหว่างอุทธรณ์คำสั่งต่อมาโจทก์ยื่นคำแถลงว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันคืนหรือใช้เงินแก่ผู้เสียหายทั้งสี่จึงขอถอนคำร้องทุกข์ความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา341เป็นความผิดอันยอมความได้เมื่อผู้เสียหายทั้งสี่ถอนคำร้องทุกข์สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา39(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6118/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาตและเรียกเก็บค่าบริการ ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางาน
จำเลยได้ชักชวนผู้เสียหายกับพวกไปทำงานที่ประเทศสิงคโปร์โดยเรียกเงินค่าใช้จ่ายเป็นเงินในการดำเนินการจากพวกผู้เสียหายเป็นค่าตอบแทนแล้วจำเลยได้พาพวกผู้เสียหายเดินทางไปทำงานเป็นกรรมการก่อสร้างที่ประเทศสิงคโปร์ โดยจำเลยไม่ได้รับอนุญาตให้จัดหางานให้คนหางานไปทำงานต่างประเทศ การกระทำของจำเลยย่อมเป็นการประกอบธุรกิจจัดหางานให้แก่คนหางานหรือหาลูกจ้างให้แก่นายจ้างอันเป็นการจัดหางานตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 4 แล้ว เพราะจำเลยรู้อยู่แล้วว่า จำเลยไม่มีใบอนุญาตให้จัดหางาน แต่จำเลยก็ดำเนินการต่าง ๆ เป็นการหางานให้พวกผู้เสียหายโดยมุ่งจะเอาค่าตอบแทนจากพวกผู้เสียหายเป็นรายบุคคล จึงมีความผิดข้อหานี้แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6114/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต: การพิจารณาเจตนาในการประกอบธุรกิจ
ตามคำบรรยายฟ้องโจทก์ฐานฉ้อโกงประชาชน แม้จะมีข้อความว่าจำเลยทั้งสองกับพวกไม่สามารถจัดให้คนหางานได้ทำงานในต่างประเทศโดยได้รับค่าจ้างตามที่จำเลยทั้งสองกับพวกกล่าวอ้าง แต่ก็ไม่มีข้อความใดที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองกับพวกไม่มีเจตนาประกอบธุรกิจจัดหางานตามที่บรรยายไว้ในข้อหาฐานจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต การกระทำของจำเลยทั้งสองตามฟ้องจึงเป็นความผิดฐานจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาตได้ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า แม้จำเลยทั้งสองจะให้การรับสารภาพก็ไม่อาจลงโทษจำเลยทั้งสองตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 มาตรา 30 วรรคหนึ่ง, 82 และยกฟ้องโจทก์ในข้อหาดังกล่าวนั้น จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6114/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาประกอบธุรกิจจัดหางาน แม้จัดส่งคนงานไม่ได้ ก็ยังมีความผิดฐานจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต
ตามคำบรรยายฟ้องโจทก์ฐานฉ้อโกงประชาชน แม้จะมีข้อความ ว่าจำเลยทั้งสองกับพวกไม่สามารถจัดให้คนหางานได้ทำงาน ในต่างประเทศโดยได้รับค่าจ้างตามที่จำเลยทั้งสองกับพวกกล่าวอ้าง แต่ก็ไม่มีข้อความใดที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองกับพวกไม่มีเจตนาประกอบธุรกิจจัดหางานตามที่บรรยายไว้ในข้อหาฐานจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต การกระทำของจำเลยทั้งสองตามฟ้องจึงเป็นความผิดฐานจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาตได้ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า แม้จำเลยทั้งสองจะให้การรับสารภาพก็ไม่อาจลงโทษจำเลยทั้งสองตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 30 วรรคหนึ่ง,82และยกฟ้องโจทก์ในข้อหาดังกล่าวนั้น จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5969/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหลอกลวงจัดหางานต่างประเทศไม่เข้าข่ายฉ้อโกงประชาชนหรือ พ.ร.บ.จัดหางาน
โจทก์บรรยายฟ้องในความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนว่า จำเลยหลอกลวงผู้เสียหายว่าจำเลยสามารถจัดหางานและส่งคนหางานไปทำงานต่างประเทศได้ โดยจะได้รับเงินค่าตอบแทนเป็นเงินจำนวนมาก ซึ่งเป็นความเท็จ ความจริงจำเลยทั้งสามไม่สามารถจัดหางานและส่งคนหางานไปทำงานต่างประเทศได้ เพราะจำเลยทั้งสามไม่ได้รับอนุญาตให้จัดหางานเพื่อให้คนหางานไปทำงานในต่างประเทศจากนายทะเบียนจัดหางานกลาง โดยการหลอกลวงของจำเลยทั้งสามดังกล่าวทำให้ผู้เสียหายหลงเชื่อมอบเงินให้แก่จำเลยทั้งสามไป การบรรยายฟ้องของโจทก์เช่นนี้ได้ความเพียงว่า จำเลยทั้งสามเจตนาหลอกลวงโจทก์ร่วมและผู้เสียหายทั้งหลายเพื่อหวังจะได้รับเงินค่าบริการตอบแทนจากโจทก์ร่วมและผู้เสียหายเท่านั้น จำเลยทั้งสามย่อมไม่มีเจตนาที่จะส่งโจทก์ร่วมและผู้เสียหายที่ถูกหลอกลวงไปทำงานในต่างประเทศดังที่จำเลยทั้งสามกล่าวอ้างแต่ประการใด การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 ตามฟ้อง
โจทก์ร่วมและผู้เสียหายแต่ละคนทราบข่าวจากเพื่อนคนงานคนอื่น ๆ ว่า จำเลยที่ 1 จัดส่งคนหางานไปทำงานในต่างประเทศ โจทก์ร่วมและผู้เสียหายจึงไปที่สำนักงานของจำเลยที่ 1 เพื่อสมัครงาน ได้พบจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ได้หลอกลวงโจทก์ร่วมและผู้เสียหายว่าสามารถจัดส่งโจทก์ร่วมและผู้เสียหายไปทำงานที่ประเทศฝรั่งเศสได้ โจทก์ร่วมและผู้เสียหายต่างหลงเชื่อจึงได้มอบเงินค่าทำวีซ่าและค่าตอบแทนให้แก่จำเลยที่ 2 ไปต่อหน้าจำเลยที่ 3 เป็นการหลอกลวงโจทก์ร่วมและผู้เสียหายแต่ละรายเป็นรายบุคคล หาใช่เป็นการประกาศโฆษณาเชิญชวนต่อประชาชนไม่ แม้ที่หน้าสำนักงานของจำเลยที่ 1 จะมีป้ายชื่อของจำเลยที่ 1ปิดไว้ก็ตาม แต่ป้ายดังกล่าวก็เป็นเพียงป้ายชื่อของจำเลยที่ 1 เท่านั้น ไม่มีข้อความแสดงถึงการประกาศโฆษณาเชิญชวนให้ประชาชนมาสมัครงานกับจำเลยแต่อย่างใดจำเลยทั้งสามจึงไม่มีความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตาม ป.อ.มาตรา 343
โจทก์ร่วมและผู้เสียหายแต่ละคนทราบข่าวจากเพื่อนคนงานคนอื่น ๆ ว่า จำเลยที่ 1 จัดส่งคนหางานไปทำงานในต่างประเทศ โจทก์ร่วมและผู้เสียหายจึงไปที่สำนักงานของจำเลยที่ 1 เพื่อสมัครงาน ได้พบจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ได้หลอกลวงโจทก์ร่วมและผู้เสียหายว่าสามารถจัดส่งโจทก์ร่วมและผู้เสียหายไปทำงานที่ประเทศฝรั่งเศสได้ โจทก์ร่วมและผู้เสียหายต่างหลงเชื่อจึงได้มอบเงินค่าทำวีซ่าและค่าตอบแทนให้แก่จำเลยที่ 2 ไปต่อหน้าจำเลยที่ 3 เป็นการหลอกลวงโจทก์ร่วมและผู้เสียหายแต่ละรายเป็นรายบุคคล หาใช่เป็นการประกาศโฆษณาเชิญชวนต่อประชาชนไม่ แม้ที่หน้าสำนักงานของจำเลยที่ 1 จะมีป้ายชื่อของจำเลยที่ 1ปิดไว้ก็ตาม แต่ป้ายดังกล่าวก็เป็นเพียงป้ายชื่อของจำเลยที่ 1 เท่านั้น ไม่มีข้อความแสดงถึงการประกาศโฆษณาเชิญชวนให้ประชาชนมาสมัครงานกับจำเลยแต่อย่างใดจำเลยทั้งสามจึงไม่มีความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตาม ป.อ.มาตรา 343
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5969/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงประชาชน-จัดหางาน: การหลอกลวงเป็นรายบุคคล ไม่เข้าข่ายฉ้อโกงประชาชนหรือการจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต
โจทก์บรรยายฟ้องในความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนว่าจำเลยหลอกลวงผู้เสียหายว่าจำเลยสามารถจัดหางานและส่งคนหางานไปทำงานต่างประเทศได้ โดยจะได้รับเงินค่าตอบแทนเป็นเงินจำนวนมาก ซึ่งเป็นความเท็จ ความจริงจำเลยทั้งสามไม่สามารถจัดหางานและส่งคนหางานไปทำงานต่างประเทศได้ เพราะจำเลยทั้งสามไม่ได้รับอนุญาตให้จัดหางานเพื่อให้คนหางานไปทำงานในต่างประเทศจากนายทะเบียนจัดหางานกลาง โดยการหลอกลวงของ จำเลยทั้งสามดังกล่าวทำให้ผู้เสียหายหลงเชื่อมอบเงินให้แก่จำเลยทั้งสามไป การบรรยายฟ้องของโจทก์เช่นนี้ได้ความเพียงว่าจำเลยทั้งสามเจตนาหลอกลวงโจทก์ร่วมและผู้เสียหายทั้งหลายเพื่อหวังจะได้รับเงินค่าบริการตอบแทนจากโจทก์ร่วมและผู้เสียหายเท่านั้น จำเลยทั้งสามย่อมไม่มีเจตนาที่จะส่งโจทก์ร่วมและผู้เสียหายที่ถูกหลอกลวงไปทำงานในต่างประเทศดังที่จำเลยทั้งสามกล่าวอ้างแต่ประการใด การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 ตามฟ้อง โจทก์ร่วมและผู้เสียหายแต่ละคนทราบข่าวจากเพื่อนคนงาน คนอื่น ๆ ว่า จำเลยที่ 1 จัดส่งคนหางานไปทำงานในต่างประเทศ โจทก์ร่วมและผู้เสียหายจึงไปที่สำนักงานของจำเลยที่ 1 เพื่อสมัครงาน ได้พบจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ได้หลอกลวงโจทก์ร่วมและผู้เสียหายว่าสามารถจัดส่งโจทก์ร่วมและผู้เสียหายไปทำงานที่ประเทศฝรั่งเศสได้ โจทก์ร่วมและผู้เสียหายต่างหลงเชื่อจึงได้มอบเงินค่าทำวีซ่าและค่าตอบแทนให้แก่จำเลยที่ 2 ไปต่อหน้าจำเลยที่ 3 เป็นการหลอกลวงโจทก์ร่วมและผู้เสียหายแต่ละรายเป็นรายบุคคล หาใช่เป็นการประกาศโฆษณาเชิญชวนต่อประชาชนไม่ แม้ที่หน้าสำนักงานของจำเลยที่ 1 จะมีป้ายชื่อของจำเลยที่ 1 ปิดไว้ก็ตามแต่ป้ายดังกล่าวก็เป็นเพียงป้ายชื่อของจำเลยที่ 1 เท่านั้นไม่มีข้อความแสดงถึงการประกาศโฆษณาเชิญชวนให้ประชาชนมาสมัครงานกับจำเลยแต่อย่างใดจำเลยทั้งสามจึงไม่มีความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2282/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โบนัสจากการจัดหางานถือเป็นค่าจ้างตามกฎหมายแรงงาน แม้เรียกต่าง
สัญญาจ้างระบุว่า โจทก์จะได้รับเงิน 40,000 บาท ต่อเดือนเงินโบนัสประจำปีเท่ากับเงินเดือน 1 เดือน และจะมีเงินโบนัสสำหรับการปฏิบัติหน้าที่จ่ายให้แก่โจทก์สำหรับงานใด ๆ ซึ่งโจทก์จัดการให้ได้มาแก่จำเลยด้วยความ-พยายามของโจทก์เอง โดยจ่ายให้ในอัตราร้อยละ 2.5 ของสินจ้างของงานนั้น ๆดังนั้น นอกจากโจทก์มีสิทธิได้รับเงินค่าจ้างเป็นรายเดือนแล้ว เมื่อโจทก์จัดหางานตามโครงการมาได้ โจทก์ยังมีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทนร้อยละ 2.5 ของสินจ้างที่จำเลยได้รับอันเป็นผลงานที่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างหามาได้ ย่อมถือได้ว่าเงินดังกล่าวเป็นเงินที่จ่ายตอบแทนการทำงานโดยตรง แม้ในสัญญาจ้างจะเรียกเงินดังกล่าวว่าโบนัส ก็เป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 2
เมื่อฟังไม่ได้ว่าจำเลยผิดนัดจ่ายเงินค่าจ้างแก่โจทก์เมื่อใดจึงให้จำเลยจ่ายดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 31 วรรคแรก ตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไป ส่วนเงินเพิ่มนั้นไม่ปรากฏว่าจำเลยจงใจผิดนัดในการจ่ายเงินค่าจ้าง จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดจ่ายเงินเพิ่มแก่โจทก์
เมื่อฟังไม่ได้ว่าจำเลยผิดนัดจ่ายเงินค่าจ้างแก่โจทก์เมื่อใดจึงให้จำเลยจ่ายดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 31 วรรคแรก ตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไป ส่วนเงินเพิ่มนั้นไม่ปรากฏว่าจำเลยจงใจผิดนัดในการจ่ายเงินค่าจ้าง จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดจ่ายเงินเพิ่มแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2282/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าตอบแทนจากการจัดหางาน โบนัส ถือเป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย แม้เรียกชื่ออื่น
ตามสัญญาจ้างมีข้อตกลงว่า นอกจากโจทก์มีสิทธิได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือนแล้วเมื่อโจทก์จัดหางานตามโครงการมาได้ โจทก์ยังมีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทนร้อยละ 2.5 ของสินจ้างที่จำเลยได้รับอันเป็นผลงานที่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างทำมาได้ ย่อมถือได้ว่าเงินดังกล่าวเป็นเงินที่จ่ายตอบแทนการทำงานโดยตรงแม้ในสัญญาจ้างจะเรียกเงินดังกล่าวว่าโบนัสก็เป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2282/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าตอบแทนจากการจัดหางานโครงการเป็นค่าจ้างตามกฎหมายแรงงาน แม้เรียก 'โบนัส' ก็ตาม
สัญญาจ้างระบุว่า โจทก์จะได้รับเงิน 40,000 บาท ต่อเดือนเงินโบนัสประจำปีเท่ากับเงินเดือน 1 เดือน และจะมีเงินโบนัสสำหรับการปฏิบัติหน้าที่จ่ายให้แก่โจทก์สำหรับงานใด ๆ ซึ่งโจทก์จัดการให้ได้มาแก่จำเลยด้วยความพยายามของโจทก์เอง โดยจ่ายให้ในอัตราร้อยละ 2.5 ของสินจ้างของงานนั้น ๆ ดังนั้น นอกจากโจทก์มีสิทธิได้รับเงินค่าจ้างเป็นรายเดือนแล้ว เมื่อโจทก์จัดหางานตามโครงการมาได้ โจทก์ยังมีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทนร้อยละ 2.5 ของสินจ้างที่จำเลยได้รับอันเป็นผลงานที่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างหามาได้ย่อมถือได้ว่าเงินดังกล่าวเป็นเงินที่จ่ายตอบแทนการทำงานโดยตรง แม้ในสัญญาจ้างจะเรียกเงินดังกล่าวว่าโบนัส ก็เป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2 เมื่อฟังไม่ได้ว่าจำเลยผิดนัดจ่ายเงินค่าจ้างแก่โจทก์เมื่อใดจึงให้จำเลยจ่ายดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 31 วรรคแรก ตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไป ส่วนเงินเพิ่มนั้นไม่ปรากฏว่าจำเลยจงใจผิดนัดในการจ่ายเงินค่าจ้าง จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดจ่ายเงินเพิ่มแก่โจทก์