คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
จำกัด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 206 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6366/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง กรณีราคาทรัพย์สินต่ำกว่าสองแสนบาท
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 นำที่ดินของโจทก์ด้านทิศใต้ไปขอออก น.ส.3 ก.แปลงหนึ่ง จำเลยที่ 2 นำที่ดินของโจทก์ด้านทิศเหนือไปขอออก น.ส. 3 ก.อีกแปลงหนึ่ง จำเลยที่ 1 และที่ 2 ต่างให้การว่า ที่พิพาทแต่ละแปลงเป็นของตนทรัพย์ที่พิพาทจึงแยกต่างหากจากกัน เมื่อที่ดินแต่ละแปลงมีราคาไม่เกินสองแสนบาทจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ฎีกาของโจทก์ในปัญหาว่า โจทก์ซื้อที่พิพาทจาก ด. และโจทก์ครอบครองที่พิพาทแทนจำเลยทั้งสองหรือไม่ เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 1 เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ส่วนปัญหาว่า จำเลยทั้งสองไม่ใช่เจ้าของผู้ครอบครองที่พิพาท การออก น.ส. 3 ก. ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นโมฆะนั้นเป็นการเถียงข้อเท็จจริงซึ่งเป็นยุติและต้องห้ามฎีกาเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย จึงมีผลอย่างเดียวกับการฎีกาในข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6084/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อจำเลยยอมรับหนี้บางส่วน และประเด็นทุนทรัพย์ที่พิพาท
โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ตามเช็คจำนวนเงิน 326,470 บาทจำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า สินค้าโจทก์ชำรุดทำให้จำเลยเสียหายคิดเป็นเงิน 81,307 บาท จำเลยมีสิทธิหักกลบลบหนี้จำนวน 81,307 บาทเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินตามเช็คแล้ว จำเลยอุทธรณ์ว่าจำเลยต้องรับผิดเพียง 245,163 บาท โดยมีสิทธิหักเงินจำนวน 81,307บาท และในชั้นฎีกาจำเลยก็ฎีกาทำนองเดียวกัน แสดงว่าจำเลยยอมรับว่าเป็นหนี้โจทก์ 245,163 บาท เท่านั้น การที่จำเลยยังคงฎีกาโต้เถียงว่า จำเลยมีสิทธิหักกลบลบหนี้จำนวน 81,307 บาท ตามฟ้องแย้ง เช่นนี้จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงมีเพียง 81,307 บาทต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6050/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในคดีทุนทรัพย์น้อยกว่า 2 แสนบาท: ฎีกาข้อเท็จจริงต้องห้าม
คดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกิน200,000 บาท คู่ความต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา-ความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง คดีมีประเด็นตามฎีกาของจำเลยเพียงว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาโดยจงใจหรือไม่มีเหตุอันสมควรหรือไม่ ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยไม่ทราบว่าถูกโจทก์ฟ้อง ไม่เคยได้รับหมายเรียกสำเนาคำฟ้องและหมายนัดสืบพยานโจทก์ เพราะจำเลยพักรักษาตัวอยู่ที่อื่น ไม่ได้อยู่ที่บ้านตามที่เจ้าพนักงานศาลนำหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไปปิดนั้น เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ซึ่งต้องห้ามฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5243/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนจำกัด: การร่วมกู้ธนาคารไม่ถือเป็นเจตนาเข้าหุ้นส่วนจัดสรร
โจทก์ทำสัญญาซื้อบ้านพร้อมที่ดินจัดสรรกับจำเลยที่ 1 เป็นการเฉพาะตัว ไม่เกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 2 ชื่อโครงการเป็นชื่อของจำเลยที่ 1 ไม่มีชื่อจำเลยที่ 2 ร่วมด้วย การที่ธนาคารให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้กู้เงินร่วมกับจำเลยที่ 1 ก็เพื่อให้ร่วมรับผิดตามระเบียบของธนาคารเท่านั้น ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2ได้ตกลงเข้ากันกับจำเลยที่ 1 เพื่อกระทำกิจการจัดสรรที่ดินด้วยประสงค์จะแบ่งกำไรอันจะพึงได้จากกิจการดังกล่าว จำเลยที่ 2 จึงไม่ได้เป็นหุ้นส่วนกับจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1012

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5083/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินที่อยู่ภายใต้ข้อจำกัดตามประมวลกฎหมายที่ดิน และการห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง
คดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกา 3,000 บาท จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยได้โต้แย้งสิทธิครอบครองที่พิพาทมาโดยตลอดเป็นการครอบครองเพื่อตน จำเลยย่อมได้สิทธิครอบครอง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้น เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามฎีกา
ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 31 ห้ามโจทก์ผู้ได้สิทธิครอบครองในที่ดินแปลงพิพาทโอนไปยังผู้อื่นภายใน 10 ปี ดังนั้นถึงแม้จะฟังว่าจำเลยซื้อที่ดินพิพาทจากโจทก์ โดยโจทก์สละการครอบครองก็เป็นการซื้อมาและเข้าครอบครองภายในกำหนดเวลาห้ามโอน เป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 113 แม้จะโอนไปเพียงบางส่วนของที่ดินที่ห้ามโอนและมอบการครอบครองแล้ว ทั้งมีข้อตกลงว่าจะจดทะเบียนโอนที่ดินให้จำเลยเมื่อพ้นกำหนดห้ามโอนแล้วก็ไม่อาจทำได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2805/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการนำข้อเท็จจริงจากคดีอาญามาใช้ในคดีแพ่ง: คดีอาญาไม่ถึงที่สุด
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 และผู้ร้องเป็นคดีอาญาข้อหาโกงเจ้าหนี้คดีดังกล่าวศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง เมื่อคดีนั้นยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล-อุทธรณ์ ยังไม่ถึงที่สุด จึงฟังข้อเท็จจริงในคดีอาญาดังกล่าวมาผูกมัดในการพิจารณาคดีส่วนแพ่งนี้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2574/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีที่ทุนทรัพย์น้อยกว่า 50,000 บาท และข้อจำกัดการเสียค่าขึ้นศาล
คู่ความพิพาทกันเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินว่าเป็นของผู้ร้องหรือผู้คัดค้าน หาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนไม่
อุทธรณ์ของผู้คัดค้านที่ว่า พยานผู้ร้องล้วนเป็นเครือญาติกับผู้ร้อง มีการซักซ้อมกันมาเบิกความ ชี้ให้เห็นว่าศาลชั้นต้นรับฟังพยานหลักฐานฝ่าฝืนข้อเท็จจริงตามที่คู่ความนำสืบมาเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา อุทธรณ์ดังกล่าวเป็นอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้น จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์มีราคาไม่เกิน50,000 บาท คดีจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
ผู้คัดค้านฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ที่ให้ยกอุทธรณ์ของผู้คัดค้าน โดยขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิจารณาแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดีจึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามตาราง 1ข้อ 2 ก. ท้าย ป.วิ.พ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2318/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์และฎีกาตามจำนวนทุนทรัพย์ในคดีแพ่ง: การพิจารณาตามมูลค่าความเสียหายของโจทก์แต่ละคน
โจทก์ทั้งสี่ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหายสำหรับโจทก์ที่ 1 จำนวน 73,011 บาท โจทก์ที่ 2 จำนวน 38,000 บาทโจทก์ที่ 3 จำนวน 8,183 บาท และโจทก์ที่ 4 จำนวน 10,368 บาทรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 129,562 บาท ดังนี้ไม่ใช่หนี้ร่วมที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ เป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามจำนวนเงินที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดเท่านั้น คดีในส่วนของโจทก์ที่ 3ที่ 4 มีทุนทรัพย์ไม่เกิน 20,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224แม้ศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยให้ก็ไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา จำเลยที่ 2ไม่มีสิทธิที่จะฎีกาข้อเท็จจริงในส่วนของโจทก์ที่ 3 ที่ 4 ต่อมาได้และคดีในส่วนของโจทก์ที่ 2 มีทุนทรัพย์ไม่เกิน 50,000 บาท เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาจำเลยที่ 2 ในข้อเท็จจริงสำหรับคดีในส่วนของโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 มานั้น จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1926/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทุนทรัพย์พิพาทฎีกา, ข้อจำกัดการฎีกา, การหักเงินจากกองมรดก, สัญญาแบ่งมรดก, ค่าขึ้นศาลเกิน
การคำนวณทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกานั้น จะนำดอกเบี้ยของต้นเงินนับแต่วันฟ้องถึงวันยื่นฎีกามารวมคำนวณด้วยไม่ได้ เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาของจำเลยมีจำนวนไม่เกิน 200,000 บาท จึงต้องห้ามฎีกาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 (วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา)
จำเลยฎีกาว่า เจ้ามรดกเป็นหนี้ พ. และจำเลยได้ใช้หนี้ดังกล่าวให้แก่พ.แล้ว เป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังข้อเท็จจริงของศาลอุทธรณ์ ซึ่งวินิจฉัยว่าจำเลยได้ชำระหนี้จำนองดังกล่าวให้แก่ พ. จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง
จำเลยมิได้ให้การว่า จำเลยได้กันเงินจำนวน 100,000 บาท ไว้เพื่อจัดการทำบุญและจัดงานศพให้แก่เจ้ามรดกในอนาคต อุทธรณ์ของจำเลยที่ว่าจำเลยมีสิทธิกันเงินจำนวน 100,000 บาท ไว้จัดการทำบุญและจัดงานศพให้แก่เจ้ามรดกในอนาคต จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยข้อนี้จึงชอบแล้ว
จำเลยฎีกาว่า ได้ให้การต่อสู้คดีและอุทธรณ์ว่าจำเลยนำมรดกไปจำนองธนาคารก่อนที่จะมีการขายที่ดินนั้น ขณะจำนองมิได้มีการชำระหนี้ดอกเบี้ยและเงินต้นให้แก่ธนาคาร นับแต่วันกู้ถึงวันขายที่ดินและชำระหนี้เงินกู้คิดเป็นดอกเบี้ยจำนวนไม่น้อยกว่า 300,000 บาท ซึ่งเป็นเงินที่จำเลยสามารถนำมาหักหนี้กองมรดกได้ ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ชอบจะหักเงินดอกเบี้ยจำนวนดังกล่าวออกจากกองมรดกด้วย แต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยในประเด็นส่วนที่เกี่ยวกับดอกเบี้ยโดยไม่ชอบนั้น ปรากฏว่าจำเลยมิได้ให้การต่อสู้คดีตามที่ฎีกาดังกล่าว คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทตามที่จำเลยฎีกาแต่อย่างใด ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยให้หักเงินดอกเบี้ยดังกล่าวจึงชอบแล้ว
โจทก์มีหนังสือถึงจำเลยข้อความว่า "วันที่ 14 มีนาคม ถึงกิมเช็งทราบเรื่องเงินเหลือจากจ่ายธนาคาร 1 ล้านบาท เอาทำบุญให้แม่เขา 1 แสนบาทกิมห้องให้ไป 1 แสนห้าหมื่น เฮียเอา 5 หมื่น เหลือนอกนั้นให้แป๊ว, ณีไป เพราะเฮียต้องเอามารักษาตัว ถ้าเฮียไม่เป็นอะไรก็จะไม่เอา เวลานี้ก็มีบ้านอยู่กันไม่เดือดร้อนอะไรแล้ว ถนอม" เอกสารนี้มิได้มีลักษณะเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างทายาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1750 วรรคสอง เป็นแต่หนังสือที่โจทก์มีถึงจำเลยขอเงินส่วนแบ่งมรดกไปรักษาตัวจำนวน 50,000 บาท อันเป็นหนังสือที่โจทก์แสดงเจตนาเพียงฝ่ายเดียวไม่เข้าลักษณะสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850
จำเลยเสียค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกามาสำหรับทุนทรัพย์จำนวน 250,000 บาทเมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาของจำเลยมีจำนวนเพียง 200,000 บาท จำเลยจึงเสียค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกาเกินมา ต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินมา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5399/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลจำกัด: สั่งบังคับเจ้าพนักงานท้องถิ่นลงนามในใบอนุญาตไม่ได้
พระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ไม่มีบทบัญญัติให้อำนาจศาลสั่งบังคับให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นลงนามในใบอนุญาต เพราะการลงนามในใบอนุญาตหรือไม่นั้นเป็นอำนาจของจำเลยโดยเฉพาะ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลพิพากษาตามคำขอของโจทก์ได้
of 21