พบผลลัพธ์ทั้งหมด 329 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 355/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดสิทธิฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อทุนทรัพย์ไม่เกิน 2 แสน และประเด็นนอกฟ้อง
เมื่อจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน200,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่งศาลฎีการับวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ได้แต่เฉพาะในปัญหาข้อกฎหมายสำหรับข้อเท็จจริงนั้นศาลฎีกาจำต้องถือตามที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวนตามมาตรา 238ประกอบมาตรา 247 ปัญหาที่ว่าราคาที่ดินพิพาทซึ่งโจทก์โอนให้แก่จำเลยแทนการชำระหนี้มีราคาเท่ากับราคาในท้องตลาดขณะที่โอนแทนการชำระหนี้ จึงมิใช่ประเด็นพิพาทแห่งคดีคู่ความจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์หรือฎีกาในประเด็นนี้แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3074/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดสิทธิสั่งจ่ายเช็คหลังเสียชีวิต - สัญญาบุคคลสิทธิระงับ - ความรับผิดทางแพ่งจากการกระทำโดยไม่มีอำนาจ
ผู้ตายทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้แก่ธนาคาร โดยมอบหมายให้จำเลยสั่งจ่ายเช็คเบิกเงินจากบัญชีดังกล่าวได้ด้วย ในขณะถึงแก่ความตายผู้ตายยังเป็นหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีแก่ธนาคารเจ้าหนี้แห่งนั้นอยู่จำนวน ในยอดเงินกู้ที่ยังไม่เต็มวงเงิน หลังจากผู้ตายถึงแก่ความตาย จำเลยได้สั่งจ่ายเช็คเบิกเงินจากบัญชีกระแสรายวันไปเข้าบัญชีของจำเลย โดยโจทก์และทายาทอื่นซึ่งมีสิทธิรับมรดกของผู้ตายไม่ทราบ แม้จะเป็นเหตุให้กองมรดกของผู้ตายต้องรับผิดชำระหนี้จำนวนดังกล่าวแก่ธนาคารผู้เป็นเจ้าหนี้ และทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายก็ตาม แต่เงินตามจำนวนที่จำเลยสั่งจ่ายเช็คเบิกไปจากบัญชีกระแสรายวันที่ผู้ตายมีอยู่แก่ธนาคารเจ้าหนี้ไม่ใช่ทรัพย์สินของผู้ตายที่ผู้ตายมีอยู่ในขณะถึงแก่ความตาย เงินจำนวนดังกล่าวจึงไม่ใช่มรดกของผู้ตายย แต่เป็นเงินของธนาคารเจ้าหนี้ที่ตกลงให้ผู้ตายทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้เท่านั้น เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตาย สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีซึ่งเป็นเพียงบุคคลสิทธิก็ระงับหรือสิ้นสุดลง และนับแต่วันที่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระงับหรือนับแต่วันที่ผู้ตายถึงแก่ความตาย จำเลยย่อมไม่มีสิทธิสั่งจ่ายเช็คเบิกเงินจากบัญชีกระแสรายวันในนามของผู้ตายอีก การที่ธนาคารเจ้าหนี้ไม่ทราบถึงการตายของผู้ตายจนทำให้กองมรดกของ ม.ต้องรับผิดชำระหนี้จำนวนดังกล่าวให้แก่ธนาคารก็เป็นเรื่องที่จำเลยกระทำไปโดยไม่มีอำนาจซึ่งจำเลยจะต้องรับผิดในทางแพ่งต่อกองมรดกของผู้ตายเป็นการส่วนตัว การกระทำของจำเลยในกรณีนี้จึงไม่มีความผิดทางอาญาฐานยักยอกมรดกของผู้ตาย ตาม ป.อ. มาตรา 352
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3019/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องบุตรไม่ชอบด้วยกฎหมายคดีแพ่ง: การตีความมาตรา 1562 ป.พ.พ. ที่จำกัดสิทธิ
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1547 โจทก์จะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของจำเลยต่อเมื่อจำเลยและมารดาโจทก์ได้สมรสกันในภายหลัง หรือจำเลยได้จดทะเบียนว่าโจทก์เป็นบุตรหรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร แม้โจทก์เป็นบุตรที่จำเลยรับรองแล้ว แต่จำเลยและมารดาโจทก์มิได้จดทะเบียนสมรสกัน โจทก์จึงเป็นบุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของจำเลย และตามมาตรา 1562 ที่ห้ามฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญานั้น เป็นบทบัญญัติที่จำกัดสิทธิจึงต้องตีความโดยเคร่งครัด ซึ่งต้องหมายความว่าห้ามเฉพาะบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายฟ้องบุพการีของตนเท่านั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1061/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำกัดสิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยตามคำร้องเดิม ผู้ร้องต้องระบุดอกเบี้ยให้ชัดเจนในคำร้องแรก
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้บุริมสิทธิจำนองโดยขอให้ขายทอดตลาดที่ดินที่จำนองโดยปลอดจำนองแล้วนำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดชำระหนี้ให้แก่ผู้ร้องแต่ผู้ร้องคิดคำนวณหนี้เพียงวันที่ 30 มกราคม 2524โดยไม่ได้คิดคำนวณหนี้ถึงวันที่ 8 เมษายน 2524 อันเป็นวันที่ผู้ร้องยื่นคำร้อง เห็นเจตนาได้ว่าผู้ร้องประสงค์จะให้ ศาลชั้นต้นอนุญาตให้นำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดมาชำระหนี้ให้แก่ผู้ร้องตามจำนวนเงินที่ผู้ร้องคำนวณมาในคำร้องเท่านั้นเมื่อศาลชั้นต้นอนุญาต จำเลยก็ได้วางเงินจำนวนดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้ว เมื่อผู้ร้องมิได้คำนวณดอกเบี้ยจนถึงวันที่ 8 เมษายน 2524 ซึ่งเป็นวันยื่นคำร้อง และไม่ได้เรียกดอกเบี้ยนับแต่วันยื่นคำร้องจนถึงวันขายทอดตลาดมาในคำร้องกรณีเช่นนี้ ศาลจึงไม่อาจมีคำสั่งให้ผู้ร้องได้รับชำระเงินจำนวนดังกล่าวได้ เพราะเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำร้องต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1041/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาเรื่องทุนทรัพย์และอายุความมรดก: กรณีฟ้องแบ่งมรดกที่ขาดอายุความ
โจทก์ทั้งห้าฟ้องขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินส่วนที่เป็นมรดกเนื้อที่ 119.45 ตารางวา ราคา 1,000,000 บาท ให้แก่โจทก์ทั้งห้าแม้จะฟ้องรวมกันมาโดยมิได้ระบุส่วนที่โจทก์แต่ละคนจะได้รับในคำฟ้องเดียวกันก็ตามแต่สิทธิของโจทก์แต่ละคนที่จะได้รับมรดกมีจำนวนเพียงคนละ 23.89 ตารางวา ราคา200,000 บาท ดังนั้น ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกันคือคนละ 200,000บาท เพราะเป็นเรื่องที่โจทก์แต่ละคนสามารถใช้สิทธิเฉพาะตัวตาม ป.วิ.พ.มาตรา55 แยกต่างหากจากกันได้ เมื่อราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาของโจทก์แต่ละคนไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยและ ล.เป็นทายาทของเจ้ามรดก จำเลยครอบครองที่ดินโดยเจตนายึดถือเพื่อตน ไม่ได้ครอบครองแทน ล.ล.ไม่ได้ฟ้องเรียกมรดกส่วนของตนภายใน 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายเมื่อโจทก์ทั้งห้าซึ่งเป็นผู้สืบสิทธิจาก ล.นำคดีมาฟ้อง คดีโจทก์ทั้งห้าจึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 1754 ที่โจทก์ทั้งห้าฎีกาว่า จำเลยครอบครองที่ดินไว้แทนทายาทอื่นเพื่อรอแบ่งปันให้แก่ทายาทอื่น มิใช่เป็นการครอบครองโดยเจตนายึดถือเพื่อตนนั้นเป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ข้อกฎหมายว่าคดีโจทก์ทั้งห้าไม่ขาดอายุความ จึงมีผลเป็นอย่างเดียวกับการฎีกาในข้อเท็จจริง
ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยและ ล.เป็นทายาทของเจ้ามรดก จำเลยครอบครองที่ดินโดยเจตนายึดถือเพื่อตน ไม่ได้ครอบครองแทน ล.ล.ไม่ได้ฟ้องเรียกมรดกส่วนของตนภายใน 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายเมื่อโจทก์ทั้งห้าซึ่งเป็นผู้สืบสิทธิจาก ล.นำคดีมาฟ้อง คดีโจทก์ทั้งห้าจึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 1754 ที่โจทก์ทั้งห้าฎีกาว่า จำเลยครอบครองที่ดินไว้แทนทายาทอื่นเพื่อรอแบ่งปันให้แก่ทายาทอื่น มิใช่เป็นการครอบครองโดยเจตนายึดถือเพื่อตนนั้นเป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ข้อกฎหมายว่าคดีโจทก์ทั้งห้าไม่ขาดอายุความ จึงมีผลเป็นอย่างเดียวกับการฎีกาในข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 829/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาจำกัดสิทธิการฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อศาลอุทธรณ์ลดโทษจำคุก และพิพากษาแก้ไขเล็กน้อย
ศาลอุทธรณ์ภาค3เพียงแต่ลดโทษประหารชีวิตจำเลยทั้งสามลงเหลือจำคุกตลอดชีวิตเนื่องจากจำเลยทั้งสามให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมและสอบสวนเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาถือได้ว่าศาลอุทธรณ์ภาค3พิพากษาแก้ไขเพียงเล็กน้อยและลงโทษจำคุกจำเลยเกิน5ปีจึงต้องห้ามมิให้โจทก์และโจทก์ร่วมฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงการที่โจทก์และโจทก์ร่วมฎีกาขอไม่ให้ลดโทษเป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ภาค3ถือเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา218วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6571/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คดีเยาวชนและครอบครัว: การจำกัดสิทธิอุทธรณ์เฉพาะการเปลี่ยนโทษเป็นสถานพินิจ และข้อยกเว้นการห้ามอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริง
คดีที่ศาลเยาวชนและครอบครัวได้พิพากษาหรือมีคำสั่งให้ใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534มาตรา 104(2) โดยให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวไปควบคุมเพื่อฝึกอบรมยังสถานพินิจ ฯลฯ นั้น จะต้องห้ามอุทธรณ์แต่เฉพาะกรณีที่อุทธรณ์เกี่ยวกับการที่ศาลใช้ดุลพินิจเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการส่งตัวไปควบคุมเพื่อฝึกและอบรมยังสถานพินิจเท่านั้นมิได้ห้ามจำเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงว่าจำเลยมิได้กระทำการอันกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิด ฉะนั้น จำเลยทั้งสองจะอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวได้หรือไม่จึงต้องพิจารณาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอย่างคดีธรรมดาซึ่งเมื่อนำพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 6มาประกอบแล้วก็คือบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาที่บัญญัติไว้ในมาตรา 193 ทวิ ซึ่งห้ามมิให้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริง ในคดีซึ่งอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เมื่อคดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277วรรคสอง และวรรคสาม ซึ่งอัตราโทษตามมาตรา 277 วรรคสองระวางโทษจำคุกตั้งแต่เจ็ดปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นสี่พันบาทถึงสี่หมื่นบาท หรือจำคุกตลอดชีวิต และตามมาตรา 277 วรรคสามระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต อันเป็นอัตราโทษสูงกว่าที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 193 ทวิ จำเลยจึงอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงว่าจำเลยมิได้กระทำการอันกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิดได้ไม่ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 121
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4803/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมทางเข้าออก: เจ้าของที่ดินมีภาระผูกพันตามการวางผัง และจำกัดสิทธิในการใช้ประโยชน์
การที่โจทก์วางผังสร้างตึกแถวโดยให้ที่ดินพิพาทเป็นถนนเชื่อมต่อกับทางสาธารณะเป็นทางเข้าออกตึกแถวรายนี้ ย่อมเป็นการแสดงออกโดยปริยายว่าจะจัดให้ถนนเป็นสาธารณูปโภคแก่ตึกแถว โจทก์จึงมีภาระผูกพันโดยถือว่าที่ดินพิพาทตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินและตึกแถวรายนี้แล้ว ที่ดินพิพาทจึงเป็นทางภารจำยอมแก่ที่ดินและตึกแถวของจำเลย โจทก์ในฐานะเจ้าของภารยทรัพย์จะประกอบกรรมใด ๆ อันจะเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกหาได้ไม่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1390 และจำเลยในฐานะเจ้าของสามยทรัพย์ไม่มีสิทธิทำการเปลี่ยนแปลงในภารยทรัพย์หรือในสามยทรัพย์ซึ่งทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์เช่นเดียวกันตามมาตรา 1388 จำเลยไม่มีสิทธิต่อเติมกันสาดและวางแผงหนังสือรุกล้ำเข้าไปในที่ดิน เพราะเป็นการทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์ โจทก์ไม่อาจนำที่ดินพิพาทไปตั้งแผงลอยหรือนำออกให้เช่าได้อีก เพราะเป็นการกระทำอันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวก โจทก์จึงเรียกค่าเสียหายไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2563/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำกัดสิทธิฎีกาในคดีเยาวชนเมื่อศาลอุทธรณ์ยืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นในความผิดฐานพยายามฆ่า
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตและฐานพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต รวมจำคุก 7 ปี เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปฝึกและอบรมยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดสงขลามีกำหนดขั้นต่ำ 2 ปี ขั้นสูง 4 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เป็นว่าให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 ฐานพาอาวุธไปในเมือง ปรับ 100 บาท ยกฟ้องโจทก์สำหรับข้อหาตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น แสดงว่าในความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ส่งตัวจำเลยไปฝึกและอบรมยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดสงขลามีกำหนดขั้นต่ำ 2 ปี ขั้นสูง 4 ปี มิได้ลงโทษจำคุกจำเลยเกิน5 ปี จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงสำหรับความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวพ.ศ. 2534 มาตรา 124 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาว่า คำเบิกความของพยานโจทก์ขัดกันในสาระสำคัญและขาดเหตุผล ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นตัวการร่วมกันใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายนั้น เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงในความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวศาลชั้นต้นรับฎีกาจำเลยมาไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่อาจวินิจฉัยให้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2230/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการยกข้อต่อสู้ใหม่ในชั้นอุทธรณ์และฎีกา กรณีไม่ได้ยกขึ้นในศาลชั้นต้น
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสามเป็นหนี้เงินต้นค่าสินค้าที่สั่งซื้อจากโจทก์พร้อมดอกเบี้ยและค่าบริการสินเชื่อ ค่าทวงถามหนี้และค่าดำเนินการอื่น ๆ คิดถึงวันฟ้อง จำเลยทั้งสามให้การต่อสู้ว่าไม่เคยติดต่อค้าขาย มิได้เป็นหนี้ตามฟ้อง ไม่ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์โดยจำเลยทั้งสามมิได้ให้การต่อสู้เลยว่าจำเลยทั้งสามได้ชำระหนี้ตามฟ้องให้แก่โจทก์แล้ว การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสามเป็นหนี้ค่าท่อระบายน้ำของโจทก์พร้อมดอกเบี้ยนั้น เป็นการที่ศาลชั้นต้นได้ฟังข้อเท็จจริงโดยปริยายแล้วว่าจำเลยทั้งสามได้ซื้อสินค้าตามฟ้องไปจากโจทก์และค้างชำระค่าสินค้าให้แก่โจทก์ดังนี้ ที่จำเลยทั้งสามอุทธรณ์ว่าจำเลยทั้งสามได้ชำระหนี้ตามฟ้องแก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว ซึ่งจำเลยทั้งสามไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบที่ศาลชั้นต้น ทั้งปัญหาดังกล่าวก็ไม่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อดังกล่าวของจำเลยทั้งสามนั้นจึงชอบแล้ว จำเลยทั้งสามได้ให้การไว้เพียงว่า โจทก์ไม่ได้มอบอำนาจให้ส.ฟ้องคดีแทน หนังสือมอบอำนาจท้ายฟ้องเป็นเอกสารท้ายฟ้องเป็นเอกสารปลอม ส.ไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ แต่จำเลยทั้งสามกลับอุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะไม่มีมูลหนี้ค่าซื้อขายท่อระบายน้ำต่อกันระหว่างโจทก์และจำเลย อุทธรณ์ของจำเลยทั้งสามจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225 อีกเช่นกัน