พบผลลัพธ์ทั้งหมด 119 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1637/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คแก้ไขเปลี่ยนแปลงจำนวนเงิน ธนาคารผู้ทรงเช็คต้องคืนเงินส่วนเกินให้ผู้สั่งจ่าย
ผู้สั่งจ่ายออกเช็คล่วงหน้าสั่งธนาคารโจทก์จ่ายเงินจำนวนหนึ่งแก่ ช. ต่อมาได้มีการแก้ไขจำนวนเงินในเช็คให้สูงขึ้น แล้ว ส. ได้นำเช็คดังกล่าวมามอบให้ธนาคารจำเลยเพื่อเป็นประกันหนี้เบิกเงินเกินบัญชีของ ส. ครั้นเช็คถึงกำหนด จำเลยได้เรียกเก็บเงินจากโจทก์หักล้างหนี้ของ ส.ต่อมาผู้สั่งจ่ายทราบจึงเรียกเงินคืนจากโจทก์ โจทก์ได้จ่ายเงินจำนวนที่ถูกแก้ไขให้สูงขึ้นแก่ผู้สั่งจ่ายแล้วมาฟ้องเรียกคืนจากจำเลย ดังนี้ เมื่อการแก้ไขเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าจึงเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงที่ไม่ประจักษ์ในข้อสำคัญเมื่อผู้สั่งจ่ายไม่ได้รู้เห็นยินยอมในการแก้ไขด้วย จำเลยผู้ทรงเช็คย่อมมีสิทธิบังคับการใช้เงินตามเช็คได้เพียงจำนวนเงินเดิมก่อนมีการแก้ไขเท่านั้นจำนวนที่เกินเป็นการรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ เมื่อโจทก์มิได้จ่ายเงินให้จำเลยรับไปตามอำเภอใจ แต่จ่ายไปโดยเชื่อว่าผู้สั่งจ่ายออกเช็คสั่งจ่ายเงินตามจำนวนที่แก้ไข จำเลยจึงต้องคืนเงินส่วนที่รับเกินมาแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันที่โจทก์แจ้งให้ทราบ
แม้ผู้สั่งจ่ายเขียนเช็คเว้นช่องว่างหน้าตัวเลขและตัวหนังสือจำนวนเงินไว้มากเป็นเหตุให้มีการเพิ่มเติมจำนวนเงินได้ง่าย แต่จำนวนเงินส่วนเกินที่จำเลยรับก็เป็นการรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ หากจำเลยได้รับความเสียหายจากความประมาทเลินเล่อของผู้สั่งจ่ายอย่างไรก็เป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องว่ากล่าวเอาแก่ผู้สั่งจ่าย
แม้ผู้สั่งจ่ายเขียนเช็คเว้นช่องว่างหน้าตัวเลขและตัวหนังสือจำนวนเงินไว้มากเป็นเหตุให้มีการเพิ่มเติมจำนวนเงินได้ง่าย แต่จำนวนเงินส่วนเกินที่จำเลยรับก็เป็นการรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ หากจำเลยได้รับความเสียหายจากความประมาทเลินเล่อของผู้สั่งจ่ายอย่างไรก็เป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องว่ากล่าวเอาแก่ผู้สั่งจ่าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 133/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คปลอมแก้ตัวยาแก้ตัวยาก: ผู้สั่งจ่ายต้องรับผิดตามจำนวนเดิม แม้การแก้ไขไม่ประจักษ์
จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทจำนวนเงิน 3,626 บาทให้แก่ ว.ต่อมามีการแก้ไขเพิ่มจำนวนเงินเป็น 903,626 บาท โดยจำเลยมิได้รู้เห็นยินยอม การแก้ไขดังกล่าวหากไม่ตรวจโดยละเอียดก็ยากที่จะสังเกตได้ ดังนี้ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินอันจะพึงใช้นั้นถือว่า เป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญ แต่ความเปลี่ยนแปลงนั้นไม่ประจักษ์ กรณีจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1007 วรรคสอง
ที่โจทก์ฎีกาว่า การที่จะให้ธนาคารโจทก์ผู้ทรงเช็ครับผิด (น่าจะเป็นมีสิทธิ)ตามเนื้อความเดิมแห่งเช็คตามมาตรา 1007 วรรคสอง ต้องไม่ปรากฏว่าผู้สั่งจ่ายได้ละเลยในการระมัดระวังที่จะไม่ให้มีการปลอมแปลงเช็ค ถ้าหากผู้สั่งจ่ายละเลยไม่ระมัดระวังเป็นเหตุให้มีการปลอมแปลงเช็คได้โดยง่าย ผู้สั่งจ่ายต้องรับผิดนั้น คดีไม่มีประเด็นดังกล่าวศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยที่ 2 ที่ 3 กรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อเป็นผู้สั่งจ่าย และประทับตราของบริษัทจำเลยที่ 1 เป็นสำคัญในเช็คพิพาทเพื่อชำระราคาอ้อยให้แก่ ว.เป็นการกระทำตามหน้าที่ภายในขอบวัตถุที่ประสงค์ของบริษัทจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คนั้นแล้ว จำเลยที่ 2 ที่ 3 หาต้องรับผิดเป็นส่วนตัวไม่
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า มีการปลอมจำนวนเงินในเช็คโดยไม่ประจักษ์ จำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดชำระเงินตามเนื้อความเดิมแห่งเช็คนั้น และเนื่องจากไม่ปรากฏว่าจำเลยได้วางเงินชำระหนี้ตามเช็คพิพาท จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยให้โจทก์
ที่โจทก์ฎีกาว่า การที่จะให้ธนาคารโจทก์ผู้ทรงเช็ครับผิด (น่าจะเป็นมีสิทธิ)ตามเนื้อความเดิมแห่งเช็คตามมาตรา 1007 วรรคสอง ต้องไม่ปรากฏว่าผู้สั่งจ่ายได้ละเลยในการระมัดระวังที่จะไม่ให้มีการปลอมแปลงเช็ค ถ้าหากผู้สั่งจ่ายละเลยไม่ระมัดระวังเป็นเหตุให้มีการปลอมแปลงเช็คได้โดยง่าย ผู้สั่งจ่ายต้องรับผิดนั้น คดีไม่มีประเด็นดังกล่าวศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยที่ 2 ที่ 3 กรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อเป็นผู้สั่งจ่าย และประทับตราของบริษัทจำเลยที่ 1 เป็นสำคัญในเช็คพิพาทเพื่อชำระราคาอ้อยให้แก่ ว.เป็นการกระทำตามหน้าที่ภายในขอบวัตถุที่ประสงค์ของบริษัทจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คนั้นแล้ว จำเลยที่ 2 ที่ 3 หาต้องรับผิดเป็นส่วนตัวไม่
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า มีการปลอมจำนวนเงินในเช็คโดยไม่ประจักษ์ จำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดชำระเงินตามเนื้อความเดิมแห่งเช็คนั้น และเนื่องจากไม่ปรากฏว่าจำเลยได้วางเงินชำระหนี้ตามเช็คพิพาท จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 666/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องเคลือบคลุม – จำเป็นต้องระบุรายละเอียดสินค้าและจำนวนเงินที่ชัดเจนในคำฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยได้เบิกสินค้าต่าง ๆ ไปจากโจทก์นำไปขายคิดเป็นเงินทั้งสิ้น 1,551,387.40 บาท แต่จำเลยได้ส่งสินค้าคืนหักค่าใช้จ่ายค่าของแถม และส่งเงินสดให้โจทก์แล้วเป็นเงิน 1,412,710.30บาท จึงเหลือเงินที่จำเลยยังไม่ได้ส่งให้โจทก์รวม 138,677.10 บาทและเงินค่าสินค้าที่จำเลยเบิกไปขายซึ่งยังไม่ได้ส่งให้โจทก์ยกมาจากปีก่อนอีกรวม 39,728 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 177,955.10 บาท ปรากฏตามพยานหลักฐาน(ใบรับของแผนกแคชเซล) ซึ่งโจทก์จะได้นำส่งศาลในวันพิจารณาต่อไปดังนี้ โจทก์มิได้แสดงโดยแจ้งชัดว่าสินค้าที่จำเลยที่ 1 เบิกรับไปจากโจทก์ไปขายนั้น เป็นสินค้าอะไร จำนวนและราคาเท่าใด ได้ส่งสินค้าอะไรจำนวนและราคาเท่าใดคืนจึงรวมเป็นเงินที่จำเลยส่งคืนแล้วและจำนวนเงินที่จำเลยยังไม่ได้ส่งให้โจทก์ตามจำนวนที่โจทก์ฟ้องทั้งมิได้แนบสำเนาเอกสารที่เกี่ยวกับสินค้าที่จำเลยรับไปและส่งคืนมาท้ายคำฟ้องที่โจทก์บรรยายฟ้องต่อไปว่าปรากฏตามพยานหลักฐาน (ใบรับแผนกแคชเซล) ซึ่งโจทก์จะได้นำส่งศาลในชั้นพิจารณาต่อไปนั้น แม้ภายหลังโจทก์จะส่งพยานหลักฐานดังกล่าวต่อศาลพยานหลักฐานนั้นก็มิใช่เป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องจะเอามาพิจารณาประกอบคำฟ้องหาได้ไม่ คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่มิได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเป็นคำฟ้องเคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 424/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐาน (สำเนาเอกสาร) และการพิสูจน์ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับจำนวนเงินที่ถูกต้อง
สำเนาเอกสารเป็นภาพถ่ายติดมาท้ายฟ้อง ไม่ปรากฏว่าถ่ายจาก ต้นฉบับมีข้อความต่างกับต้นฉบับที่โจทก์อ้างมาจากจำเลย จำเลย ไม่รับรองสำเนาเอกสารท้ายฟ้อง จึงรับฟังสำเนาเอกสารท้ายฟ้องเป็นต้น ฉบับไม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3053/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนำเกินหนึ่งหมื่นบาท ไม่คุ้มครองตาม พ.ร.บ.โรงรับจำนำ เจ้าของกรรมสิทธิ์มีสิทธิเรียกคืนได้
จำเลยได้รับอนุญาตให้ตั้งโรงรับจำนำและได้รับจำนำหัวเช็คขัดทองคำของโจทก์ซี่งถูกคนร้ายลักไป จำเลยจะถือเอาประโยชน์ตามพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ. 2505 มาตรา 4 ได้ ก็ต้องเป็นการรับจำนำสิ่งของเป็นประกันหนี้เงินกู้เป็นปกติธุระแต่ละรายมีจำนวนเงินไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท แต่ปรากฏว่าจำเลยรับจำนำทรัพย์รายนี้ไว้เป็นเงินถึงสี่หมื่นบาท จำเลยจึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ. 2505 เป็นเรื่องต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของหัวเข็มขัดดังกล่าวย่อมมีสิทธิที่จะติดตามเอาคืนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336
เมื่อจำเลยรับจำนำทรัพย์ไว้มีจำนวนเงินเกินกว่าหนึ่งหมื่นบาท การรับจำนำนั้นก็ไม่อยู่ในความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ. 2505 ในจำนวนเงินที่รับจำนำไว้ทั้งสี่หมื่นบาท จะแยกเอาแต่จำนวนเงินหนึ่งหมื่นบาทอันเป็นส่วนหนึ่งของการรับจำนำที่ไม่ได้รับความคุ้มครองแล้วว่าได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ. 2505 ย่อมไม่ได้
เมื่อจำเลยรับจำนำทรัพย์ไว้มีจำนวนเงินเกินกว่าหนึ่งหมื่นบาท การรับจำนำนั้นก็ไม่อยู่ในความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ. 2505 ในจำนวนเงินที่รับจำนำไว้ทั้งสี่หมื่นบาท จะแยกเอาแต่จำนวนเงินหนึ่งหมื่นบาทอันเป็นส่วนหนึ่งของการรับจำนำที่ไม่ได้รับความคุ้มครองแล้วว่าได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ. 2505 ย่อมไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2754/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าล่วงเวลา: การตีความ 'คนงาน' ในมาตรา 165(9) และการพิจารณาจำนวนเงินที่ไม่แน่นอน
คำว่า "หัตถกรรม" นั้น ประกอบคำว่า "โรงงาน" เพื่อให้ทราบว่าบุคคลจำพวกที่ 4 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 (9) นี้ หมายถึงผู้ที่ทำงานประจำสถานที่ที่เรียกว่าโรงงานหัตถกรรมเท่านั้น ไม่รวมถึงสถานที่อย่างอื่นด้วย คำว่า "หัตถกรรม" หรือแม้กระทั่งคำว่า "โรงงานหัตถกรรม" หาได้ประกอบคำว่า "คนงาน" "ผู้ช่วยงาน" หรือ "ลูกมือฝึกหัด" ด้วยไม่
การที่ลูกจ้างเรียกร้องเอาค่าล่วงเวลาจากนายจ้าง โดยอ้างว่าจ่ายให้ต่ำกว่าจำนวนที่จะต้องจ่ายเช่นนี้ มีกำหนดอายุความสองปี ตามมาตรา 165 (9) เพราะถือได้ว่าเป็นกรณีคนงานเรียกร้องเอาเงินจ้าง และค่าล่วงเวลานี้ แม้จะมีกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลาแต่จำนวนเงินที่จ่ายให้แก่ลูกจ้างแต่ละคนไม่แน่นอน บางเดือนมากบางเดือนน้อยไม่เท่ากัน จึงมิใช่เงินประเภทที่บัญญัติในมาตรา 166
การที่ลูกจ้างเรียกร้องเอาค่าล่วงเวลาจากนายจ้าง โดยอ้างว่าจ่ายให้ต่ำกว่าจำนวนที่จะต้องจ่ายเช่นนี้ มีกำหนดอายุความสองปี ตามมาตรา 165 (9) เพราะถือได้ว่าเป็นกรณีคนงานเรียกร้องเอาเงินจ้าง และค่าล่วงเวลานี้ แม้จะมีกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลาแต่จำนวนเงินที่จ่ายให้แก่ลูกจ้างแต่ละคนไม่แน่นอน บางเดือนมากบางเดือนน้อยไม่เท่ากัน จึงมิใช่เงินประเภทที่บัญญัติในมาตรา 166
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1897/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้เช็คไม่ครบตามจำนวน แม้ชำระบางส่วนหลังปฏิเสธการจ่ายเงิน ก็ยังถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
ภายหลังจากธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินแล้วจำเลยจึงชำระเงินให้โจทก์ แต่ไม่ครบตามจำนวนเงินในเช็คพิพาท คดีจึงไม่เลิกกันตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497มาตรา 5 วรรคสาม และไม่เป็นผลที่จะทำให้จำเลยพ้นจากความรับผิดตามฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1860/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาปลอมแต่มีผลผูกพันบางส่วน: ศาลใช้สัญญาเดิมก่อนแก้ไขเป็นหลัก
โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามสัญญากู้ 2,000 บาท จำเลยให้การว่าความจริงจำเลยกู้เพียง 1,000 บาท ได้ลงชื่อไว้ในแบบพิมพ์ซึ่งได้ลงจำนวนเงินไว้แล้ว แต่ไม่กรอกข้อความ จำนวนเงินในสัญญากู้ได้มีการแก้ไขจาก 1,000 บาท เป็น 2,000 บาท โดยจำเลยมิได้รู้เห็นยินยอม ดังนี้ แม้เอกสารสัญญากู้ได้ถูกแก้และเป็นเอกสารปลอม แต่ก่อนมีการแก้เอกสารนี้เป็นเอกสารที่สมบูรณ์ศาลพิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวน 1,000 บาท ตามสัญญาที่ทำไว้เดิมก่อนมีการแก้ได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกา 761/2509 ประชุมใหญ่)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2619/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจพนักงานสอบสวนในการกำหนดจำนวนเงินประกันตัวและการบังคับใช้สัญญาประกัน
การที่พนักงานสอบสวนสั่งปล่อยผู้ต้องหาชั่วคราวโดยกำหนดจำนวนเงินให้นายประกันต้องรับผิดชดใช้เมื่อมีการผิดสัญญาประกันเกินจำนวนเงินตามเช็ค อันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 5(2) นั้นเป็นแต่เพียงการกระทำที่เกินอำนาจพนักงานสอบสวน ใช้บังคับนายประกันได้เพียงเท่าที่กฎหมายให้อำนาจไว้คือตามจำนวนเงินในเช็คไม่ทำให้สัญญาประกันมีวัตถุที่ประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายอันจะทำให้นิติกรรมตกเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1133/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกร้องค่าเสียหายจากการกระทำละเมิดของลูกจ้าง: การชดใช้ค่าเสียหายซ้ำซ้อนและความชัดเจนของจำนวนเงินที่ได้รับ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเป็นลูกจ้างของโจทก์ ได้กระทำละเมิดในทางการที่จ้าง โดยขับรถยนต์ประมาทชนนายหนูใบถึงแก่ความตาย โจทก์ในฐานะนายจ้างของจำเลยได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่นางจวงภรรยานายหนูใบผู้ตายไปแล้วเป็นเงิน 30,000 บาท โจทก์จึงฟ้องไล่เบี้ยจำเลยให้ชดใช้เงินคืน โจทก์ได้รับชดใช้คืนบ้างแล้วโดยได้รับชดใช้เงินคืนจากผู้ค้ำประกันจำเลยในการเข้าทำงานกับโจทก์เป็นเงิน 30,000 บาท กับได้รับชดใช้จากการหักเงินเดือนของจำเลยอีก 287 บาท 94 สตางค์คงเหลือที่จำเลยจะต้องใช้คืนอีก 26,712 บาท 06 สตางค์ ดังนี้ เห็นได้ชัดว่าจำนวนเงินที่โจทก์ได้รับชดใช้คืนจากผู้ค้ำประกัน น่าจะมีความผิดพลาดในรายละเอียด เพราะนอกจากโจทก์จะได้ยืนยันถึงจำนวนเงินคงเหลือที่โจทก์จะได้รับชดใช้ไล่เบี้ยเอาจากจำเลยอีกเป็นเงิน 26,712 บาท 06 สตางค์แล้ว ตามคำขอท้ายฟ้องก็ยังระบุให้จำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์อีก กรณีมิใช่โจทก์ได้รับชดใช้ค่าเสียหายครบถ้วนแล้วยังมาฟ้องเรียกค่าเสียหายอีก จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะได้ทำการชี้สองสถานและดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป