พบผลลัพธ์ทั้งหมด 102 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1125/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาทุจริตในการจำนำทรัพย์ที่ยังผ่อนชำระค้างอยู่ ถือเป็นความผิดฐานยักยอกได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเช่าซื้อจักรเย็บผ้า 1 หลัง จากบริษัทซิงเกอร์โซอิงแมชีน จำเลยต้องส่งเงินค่าเช่าซื้อเป็นรายเดือน ได้ผ่อนชำระมาบ้างแล้ว ที่เหลือจำเลยไม่ยอมชำระ และจำเลยได้นำเอาจักรดังกล่าวไปจำนำเสียที่สถานธนานุบาล โดยจำเลยมีเจตนาทุจริตคิดยักยอกเบียดบังเอาจักรเป็นอาณาประโยชน์ส่วนตัว ดังนี้ พอแปลความหมายได้ว่าจำเลยเบียดบังเอาจักรเป็นของตนโดยทุจริต อันเป็นองค์สำคัญในความผิดทางอาญาฐานยักยอกแล้ว ฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ยืนยันข้อเท็จจริงว่าจำเลยได้กระทำผิดทางอาญาฐานยักยอกโดยสมบูรณ์ เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตลอดข้อหาแล้ว ศาลก็ลงโทษจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 776/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าของทรัพย์เมื่อจำนำเกิน 400 บาท: คุ้มครองตาม พ.ร.บ.โรงรับจำนำจำกัดเฉพาะราคาน้อยกว่า 400 บาทเท่านั้น
ผู้รับอนุญาตให้ตั้งโรงรับจำนำจะถือเอาประโยชน์จากพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ.2480 ได้ ก็ต่อเมื่อเป็นการรับจำนำทรัพย์ไว้ในราคารายละไม่เกินสี่ร้อยบาท หากรับจำนำไว้เกินสี่ร้อย ก็เป็นเรื่องที่ต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ในกรณีที่ผู้รับจำนำซึ่งไม่ได้รับความคุ้มครองจากพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ รับจำนำทรัพย์ไว้โดยสุจริตจากบุคคลที่เช่าซื้อทรัพย์มานั้น ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์และทำการโดยสุจริตมีสิทธิติดตามเอาคืนได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336.
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 6/2506)
ในกรณีที่ผู้รับจำนำซึ่งไม่ได้รับความคุ้มครองจากพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ รับจำนำทรัพย์ไว้โดยสุจริตจากบุคคลที่เช่าซื้อทรัพย์มานั้น ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์และทำการโดยสุจริตมีสิทธิติดตามเอาคืนได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336.
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 6/2506)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 961/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนำเรือยนต์เป็นประกันหนี้ การบังคับคดีและการได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่น
จำเลยกู้เงินผู้ร้องไปโดยนำเรือยนต์(ขนาด 3 ตัน) มามอบให้ผู้ร้องยึดถือไว้เป็นประกันการชำระหนี้ แล้วไม่มีเรือใช้ จึงเช่าเรือไปจากผู้ร้อง ต้องถือว่าจำเลยครอบครองเรือแทนผู้ร้องในฐานะเป็นผู้เช่า ย่อมเป็นการจำนำตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 747
คำร้องบรรยายไว้แล้วว่า จำเลยได้มอบเรือยนต์ให้ผู้ร้องยึดถือเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ผู้ร้อง ถือว่าผู้ร้องอ้างสิทธิจำนำแล้ว
สิทธิของผู้ร้องผู้รับจำนำจะเรียกว่าบุริมสิทธิดังที่ผู้ร้องเรียกในคำร้องหรือไม่ก็ตาม เมื่อเห็นความมุ่งหมายของผู้ร้องได้ว่าประสงค์จะขอรับชำระหนี้ของตนให้ครบถ้วนก่อนเจ้าหนี้อื่น และคำขอนี้ก็มีมาตรา 758 สนับสนุนอยู่แล้ว ศาลก็ย่อมมีคำสั่งให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้จากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์ที่จำนำนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นได้.
คำร้องบรรยายไว้แล้วว่า จำเลยได้มอบเรือยนต์ให้ผู้ร้องยึดถือเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ผู้ร้อง ถือว่าผู้ร้องอ้างสิทธิจำนำแล้ว
สิทธิของผู้ร้องผู้รับจำนำจะเรียกว่าบุริมสิทธิดังที่ผู้ร้องเรียกในคำร้องหรือไม่ก็ตาม เมื่อเห็นความมุ่งหมายของผู้ร้องได้ว่าประสงค์จะขอรับชำระหนี้ของตนให้ครบถ้วนก่อนเจ้าหนี้อื่น และคำขอนี้ก็มีมาตรา 758 สนับสนุนอยู่แล้ว ศาลก็ย่อมมีคำสั่งให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้จากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์ที่จำนำนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 961/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าเรือเพื่อชำระหนี้ถือเป็นการจำนำตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
จำเลยกู้เงินผู้ร้องไปโดยนำเรือยนต์(ขนาด 3 ตัน)มามอบให้ผู้ร้องยึดถือไว้เป็นประกันการชำระหนี้ แล้วไม่มีเรือใช้จึงขอเช่าเรือไปจากผู้ร้องต้องถือว่าจำเลยครอบครองเรือแทนผู้ร้องในฐานะเป็นผู้เช่าย่อมเป็นการจำนำตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 747
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1855/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำนำที่ดินที่มีพฤติการณ์คล้ายขายฝาก หากไม่ไถ่ภายใน 10 ปี ที่ดินตกเป็นของผู้นำจำนำ
เมื่อหลักฐานในสำนวนฟังได้ว่าการจำนำที่ดินพิพาทได้ปฏิบัติต่อกันอย่างขายฝาก คือ ผู้จำนำได้มอบที่พิพาทให้ผู้รับจำนำครอบครองทำกินต่างดอกเบี้ย แม้จะได้ทำสัญญาจำนำไว้ก็ดี (ทำสัญญาจำนำที่ดินมีโฉนด โดยจดทะเบียนไว้ที่หอทะเบียนที่ดิน เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2466 โดยมีข้อสัญญาว่าจะชำระดอกเบี้ยให้ชั่งละ 1 บาท 25 สตางค์ ต่อเดือน และยอมให้ผู้รับจำนำถือโฉนดไว้) ก็ต้องถือตามกิริยาที่คู่สัญญาประพฤติต่อกันมาว่า เป็นจำนำหรือขายฝาก เมื่อพฤติการณ์เป็นขายฝากและไม่ไถ่ใน 10 ปี ที่พิพาทย่อมหลุดเป็นสิทธิแก่ผู้รับจำนำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 534/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลักษณะหนี้กู้ยืมมีประกัน vs. จำนำ และการหลีกเลี่ยงเจ้าหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
ทำหนังสือสัญญากู้เงินโจทก์และรับเงินไปโดยนำใบรับของคลังสินค้ามามอบไว้ ดังนี้ เป็นการกู้เงินโดยมีใบรับของคลังสินค้าเป็นประกันมิใช่จำนำ และต่อมาจำเลยก็นำสินค้านั้นขายไปหมดแล้ว โจทก์จึงมิใช่เจ้าหนี้มีประกันตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 10
จำเลยเป็นหนี้โจทก์ แล้วจำเลยย้ายที่อยู่หลายคราวเป็นการถาวร เมื่อจำเลยย้ายไปโดยไม่แจ้งให้เจ้าหนี้ทราบ เวลาโจทก์ฟ้องก็ส่งหมายเรียกและสำเนาฟ้องให้ไม่ได้ ต้องประกาศหนังสือพิมพ์ ก็ต้องถือว่าได้ไปเสียจากเคหสถาที่เคยอยู่เพื่อประวิงการชำระหนี้หรือมิให้เจ้าหนี้ได้รับขำระหนี้ ต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 8(4) ข.
จำเลยเป็นหนี้โจทก์ แล้วจำเลยย้ายที่อยู่หลายคราวเป็นการถาวร เมื่อจำเลยย้ายไปโดยไม่แจ้งให้เจ้าหนี้ทราบ เวลาโจทก์ฟ้องก็ส่งหมายเรียกและสำเนาฟ้องให้ไม่ได้ ต้องประกาศหนังสือพิมพ์ ก็ต้องถือว่าได้ไปเสียจากเคหสถาที่เคยอยู่เพื่อประวิงการชำระหนี้หรือมิให้เจ้าหนี้ได้รับขำระหนี้ ต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 8(4) ข.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1451/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนำทรัพย์สินไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ ผู้รับจำนำมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนบุริมสิทธิ
โจทก์นำยึดสังหาริมทรัพย์เพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษา แต่เป็นทรัพย์ซึ่งจำเลยจำนำไว้กับผู้ร้อง เช่นนี้ เมื่อผู้ร้องร้องเข้ามาหากกองหมายขายทอดตลาดแล้วได้เงินเท่าใดต้องหักใช้หนี้ผู้ร้องก่อน
การจำนำ ไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ(อ้างฎีกาที่ 200/2496)
การจำนำ ไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ(อ้างฎีกาที่ 200/2496)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 490/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยินยอมคืนทรัพย์ที่จำนำเป็นการยกเลิกสภาพการจำนำ ทำให้ไม่เข้าข่ายความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ม. 349
จำเลยกู้เงินโจทก์และในสัญญากู้มีข้อความด้วยว่า จำเลยได้นำโคมาจำนำไว้ เมื่อทำสัญญากู้เงินกันแล้ว โจทก์ได้ยินยอมมอบโคกลับคืนไปสู่การครอบครองของจำเลย แม้จำเลยจะเคยนำกลับไปให้โจทก์บ้างเป็นครั้งคราว แต่ผลที่สุดโจทก์ก็ยินยอมมอบคืนแก่จำเลยอีก เช่นนี้ ย่อมถือว่าจำเลยหาได้มอบโคไว้เป็นประกันการชำระหนี้ตามความหมายในลักษณะจำนำตามประมวลกฎหมายอาญา ม. 349 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 490/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยินยอมมอบทรัพย์คืนหลังทำสัญญากู้ ย่อมไม่ถือเป็นการจำนำทรัพย์เพื่อประกันการชำระหนี้
จำเลยกู้เงินโจทก์และในสัญญากู้มีข้อความด้วยว่า จำเลยได้นำโคมาจำนำไว้เมื่อทำสัญญากู้เงินกันแล้วโจทก์ได้ยินยอมมอบโคกลับคืนไปสู่การครอบครองของจำเลยแม้จำเลยจะเคยนำกลับไปให้โจทก์บ้างเป็นครั้งคราว แต่ผลที่สุดโจทก์ก็ยินยอมมอบคืนแก่จำเลยอีกเช่นนี้ ย่อมถือว่าจำเลยหาได้มอบโคไว้เป็นประกันการชำระหนี้ตามความหมายในลักษณะจำนำตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 349 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1954/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยประเภทสัญญา (จำนำ/ขายฝาก) ให้ดูตามพฤติกรรมของคู่สัญญา แม้ข้อตกลงในสัญญาจะระบุไว้ต่างจากนั้น
ก่อนใช้ ป.พ.พ. บรรพ 3 การวินิจฉัยว่าสัญญาใดเป็นจำนำ หรือขายฝากนั้น ให้ดูกิริยาที่คู่สัญญาประพฤติกันมาว่าเป็นจำนำหรือขายฝาก แม้สัญญาจะมีข้อความเป็นอย่างอื่นก็ต้องถือตามกิริยาที่ประพฤติต่อกัน
มารดาจำเลยจำนำนาพิพาทไว้กับปู่ของโจทก์ อีก 2 ปีต่อมา มารดาจำเลยได้มอบนาพิพาทนั้นให้ปู่ของโจทก์ ทำต่างดอกเบี้ยกิริยาที่มารดาจำเลยกับปู่ของโจทก์ประพฤติต่อกันนี้จึงเป็นกิริยาการขายฝาก เมื่อมารดาจำเลยมิได้ไถ่คืนภายใน 10 ปี ที่พิพาทจึงหลุดเป็นของปู่ของโจทก์.
(ฎีกาที่ 22/117, ที่ 25/123, ที่ 467/2457, ที่ 81/2469, ที่ 790/2469 และที่ 1044/2492)
มารดาจำเลยจำนำนาพิพาทไว้กับปู่ของโจทก์ อีก 2 ปีต่อมา มารดาจำเลยได้มอบนาพิพาทนั้นให้ปู่ของโจทก์ ทำต่างดอกเบี้ยกิริยาที่มารดาจำเลยกับปู่ของโจทก์ประพฤติต่อกันนี้จึงเป็นกิริยาการขายฝาก เมื่อมารดาจำเลยมิได้ไถ่คืนภายใน 10 ปี ที่พิพาทจึงหลุดเป็นของปู่ของโจทก์.
(ฎีกาที่ 22/117, ที่ 25/123, ที่ 467/2457, ที่ 81/2469, ที่ 790/2469 และที่ 1044/2492)