คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ฉ้อโกงประชาชน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 99 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 135/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงประชาชนจากการจัดหางานต่างประเทศ: ตัวการ vs ผู้สนับสนุน, จำนวนกระทง
ก่อนที่ผู้เสียหายทั้งเก้าคนจะไปสมัครงานที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ็ม.เอ็ม.พี พนักงานของห้างหุ้นส่วนดังกล่าวคนหนึ่งได้ไปชักชวนผู้เสียหายทั้งเก้าคนให้มาสมัครงานกับห้างหุ้นส่วน เมื่อผู้เสียหายทั้งเก้าคนมาพบจำเลยทั้งสองซึ่งทำงานอยู่ที่ห้างหุ้นส่วนนั้น ได้ร่วมกันชักชวนผู้เสียหายให้ไปทำงานต่างประเทศ อ้างว่างานดี ค่าจ้างดี ห้างหุ้นส่วนดังกล่าวมีความมั่นคงไม่หลอกลวง ทั้งจำเลยทั้งสองได้ทดสอบฝีมือผู้เสียหายทั้งเก้าคน พาไปตรวจโรคและทำหนังสือเดินทาง จำเลยทั้งสองได้รับค่าบริการจากผู้เสียหายคนละ 31,830 บาท พฤติการณ์แห่งคดีดังกล่าวส่อให้เห็นได้ว่า จำเลยทั้งสองกับพวกได้ร่วมกันฉ้อโกงประชาชนโดยต่างแบ่งหน้าที่กันทำ จึงเป็นความผิดฐานเป็นตัวการฉ้อโกงประชาชน
จำเลยได้พูดชักชวนผู้เสียหายทั้งเก้าคนสมัครงานกับห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ็ม.เอ็ม.พี โดยพูดชักชวนและเรียกค่าบริการจาก ฉ.บ.และถ. เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2526 ป. กับ ม. เมื่อวันที่ 9ธันวาคม 2526 ฉ.กับส.เมื่อวันที่29พฤศจิกายน2526ฐ. เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2526 และ ต. เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2526 รวม 5 วัน จึงเป็นความผิด 5 กระทง
การที่จำเลยพูดจาหลอกลวงชักชวนผู้เสียหายและประชาชนให้มาสมัครงานกับห้างหุ้นส่วน เอ็ม.เอ็ม.พี ซึ่งไม่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งสำนักจัดส่งคนงานไปต่างประเทศ การกระทำของจำเลยมิได้มีเจตนาจะจัดหางานให้แก่พวกผู้เสียหายแต่อย่างใด เพียงแต่อ้างเอาเหตุที่จะส่งผู้เสียหายไปทำงานต่างประเทศมาเป็นข้อหลอกลวงเพื่อให้ได้เงินค่าบริการจากผู้เสียหายเท่านั้น กรณีจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยจัดหางานโดยมิได้รับอนุญาตอันจะเป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 134/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงประชาชนจัดส่งคนงานต่างประเทศ: จำเลยมีความผิดฐานฉ้อโกงตามมาตรา 343 ไม่ต้องปรับบทมาตรา 341
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานฉ้อโกงประชาชนโดยอ้างประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341,343 ดังนี้ เมื่อศาลลงโทษจำเลยตามมาตรา 343 แล้ว ก็ไม่ต้องปรับบทลงโทษตามมาตรา 341 อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 134/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษฉ้อโกงประชาชน: ศาลไม่ต้องปรับบทลงโทษซ้ำหากลงโทษตามมาตราอื่นแล้ว
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานฉ้อโกงประชาชนโดยอ้างประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341,343 ดังนี้ เมื่อศาลลงโทษจำเลยตามมาตรา 343 แล้ว ก็ไม่ต้องปรับบทลงโทษตามมาตรา 341 อีก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4260-4262/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปิดสาขาธุรกิจเงินทุนโดยไม่ได้รับอนุญาต และความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน: ศาลฎีกาแก้ไขการลงโทษกระทงความผิด
นับตั้งแต่วันที่ประกาศกระทรวงการคลัง ฉบับลงวันที่ 19 กันยายน 2519 เรื่อง กำหนดกิจการที่ต้องขออนุญาตตามข้อ 5 (7) แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 และประกาศกระทรวงการคลังฉบับลงวันที่ 19 กันยายน 2519 เรื่องกำหนดเงื่อนไขในการอนุญาตให้ประกอบกิจการที่ต้องขออนุญาต ฯ ใช้บังคับ บริษัทที่ประกอบธุรกิจเงินทุนจะต้องยื่นคำขอรับอนุญาตภายใน 60 วัน และจะมีสาขาไม่ได้เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังถ้าบริษัทใดมีสาขาอยู่แล้วและประสงค์จะมีสาขานั้นต่อไปก็ให้ยื่นคำขอรับอนุญาตไปพร้อมกันด้วย บริษัทจำเลยที่ 2 เปิดสาขาหลังจากวันที่ประกาศดังกล่าวใช้บังคับแล้วโดยไม่ได้รับอนุญาต จึงมีความผิดตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 58 ข้อ 5 (7), 16
การที่โจทก์ร่วมและผู้มีชื่อเป็นผู้ช่วยผู้จัดการและผู้จัดการสาขาของบริษัทจำเลยที่ 2 หลงเชื่อในคำหลอกลวงของจำเลยจึงได้ร่วมกันเปิดกิจการสาขาของบริษัทจำเลยที่ 2 และชักชวนให้ประชาชนนำเงินมาฝากบริษัทจำเลยที่ 2 ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ร่วม ผู้มีชื่อ และประชาชนผู้นำเงินมาฝากมีส่วนร่วมกระทำความผิดและไม่ใช่ผู้เสียหาย
จำเลยฎีกาว่า การที่ผู้เสียหายนำเงินมาฝากเพราะเชื่อถือในบริษัทจำเลยที่ 2 จึงหาใช่มูลกรณีอันจะเป็นความผิดทางอาญาไม่ และบริษัทจำเลยที่ 2 ประกอบธุรกิจด้วยความบริสุทธิ์ มิได้หลอกลวงประชาชนจึงไม่มีความผิดเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินคนละ 5 ปีฎีกาของจำเลยจึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 ที่ศาลชั้นต้นรับฎีกาของจำเลยข้อนี้ไว้จึงไม่ชอบศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ความผิดตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 ข้อ 5 (7), 16 ย่อมสำเร็จเมื่อจำเลยเปิดสาขาประกอบธุรกิจเงินทุนโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นคนละกรรมต่างหากจากความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน แม้โจทก์ไม่อุทธรณ์ฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขเฉพาะการปรับบทเรียงกระทงให้ถูกต้องได้เพราะเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3447/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีฉ้อโกงประชาชนและอั้งยี่: รัฐเป็นผู้เสียหายโดยตรง
ความผิดเกี่ยวกับความสงบสุขของประชาชน มิใช่กระทำโดยเฉพาะเจาะจงแก่บุคคลใดเป็นส่วนตัว รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหายโดยตรง
พระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน เป็นบทบัญญัติที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างไปจากความผิดฐานฉ้อโกง ตามประมวลกฎหมายอาญาดังจะเห็นได้ว่าบทบัญญัติและเจตนารมณ์ของพระราชกำหนดนี้ ตาม มาตรา 4 มาตรา 5 มาตรา 7 และมาตรา 8 บัญญัติถึงวิธีการและลักษณะของการกู้ยืมในกรณีเช่นนี้ไว้ และบัญญัติถึงการที่จะปราบปรามการกระทำที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนกับวางมาตรการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนที่ได้รับความเสียหายจากการถูกหลอกลวง และรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยได้กำหนดมาตรการต่าง ๆ ไว้ เพื่อคุ้มครองประชาชนเป็นส่วนรวม และให้พนักงานเจ้าหน้าที่ของรัฐเท่านั้นมีอำนาจใช้มาตรการดังกล่าวนั้นได้ ทั้งนี้เพื่อให้กรณีเสร็จเด็ดขาดไปทันทีดังนั้น ความผิดตามพระราชกำหนดนี้ รัฐเท่านั้นเป็นผู้มีอำนาจฟ้องคดีได้.
(วรรคสองวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2530)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3447/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีฉ้อโกงประชาชนและการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกง: รัฐเป็นผู้เสียหายแต่เพียงผู้เดียว
ความผิดเกี่ยวกับความสงบสุขของประชาชน มิใช่กระทำโดยเฉพาะเจาะจงแก่บุคคลใดเป็นส่วนตัว รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหายโดยตรง
พระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน เป็นบทบัญญัติที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างไปจากความผิดฐานฉ้อโกง ตามประมวลกฎหมายอาญาดังจะเห็นได้ว่าบทบัญญัติและเจตนารมณ์ของพระราชกำหนดนี้ ตาม มาตรา 4 มาตรา 5 มาตรา 7 และมาตรา 8 บัญญัติถึงวิธีการและลักษณะของการกู้ยืมในกรณีเช่นนี้ไว้ และบัญญัติถึงการที่จะปราบปรามการกระทำที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนกับวางมาตรการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนที่ได้รับความเสียหายจากการถูกหลอกลวง และรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยได้กำหนดมาตรการต่าง ๆ ไว้ เพื่อคุ้มครองประชาชนเป็นส่วนรวม และให้พนักงานเจ้าหน้าที่ของรัฐเท่านั้นมีอำนาจใช้มาตรการดังกล่าวนั้นได้ ทั้งนี้เพื่อให้กรณีเสร็จเด็ดขาดไปทันทีดังนั้น ความผิดตามพระราชกำหนดนี้ รัฐเท่านั้นเป็นผู้มีอำนาจฟ้องคดีได้. (วรรคสองวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่5/2530)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2746/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงประชาชนด้วยการอ้างน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์รักษาโรค โดยหลอกลวงเรียกเก็บเงิน
จำเลยทั้งสองทำน้ำมันมนต์ให้แก่ประชาชนโดยอ้างว่ารักษาโรคได้และเก็บเงินจากประชาชนที่มารับน้ำมนต์ไปคนละ 12 บาท เป็นค่าครู ซึ่งจำเลยทั้งสองก็รู้ว่าน้ำมนต์นั้นไม่ใช่ยารักษาโรค แต่จำเลยทั้งสองกลับอวดอ้างว่าเด็กชาย ว. บุตรของจำเลยทั้งสองเป็นอาจารย์น้อย เป็นคนมีบุญเทพให้มาเกิดทำนองว่าเป็นผู้มีอิทธิฤทธิ์ ทำให้ประชาชนหลงเชื่อว่าน้ำมนต์นั้นศักดิ์สิทธิรักษาโรคได้อันเป็นการหลอกลวงประชาชนเพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์สิน การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน
เมื่อศาลล่างปรับบทลงโทษจำเลยโดยไม่ระบุว่าเป็นความผิดตามวรรคใดในมาตราที่ลงโทษ ศาลฎีกาจึงระบุเสียให้ถูกต้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 609/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทุจริตสำคัญกว่าจำนวนผู้เสียหาย ในความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน
การกระทำใดเป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนหรือไม่มิได้ถือเอาจำนวนผู้เสียหายที่ถูกหลอกลวงแต่ถือเอาเจตนาแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่ประชาชนเป็นข้อสำคัญ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 609/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาหลอกลวงสำคัญกว่าจำนวนผู้เสียหายในการพิพากษาความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน
การกระทำใดเป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนหรือไม่มิได้ถือเอาจำนวนผู้เสียหายที่ถูกหลอกลวงแต่ถือเอาเจตนาแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่ประชาชนเป็นข้อสำคัญ.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3867/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดสิทธิฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อศาลชั้นต้น-อุทธรณ์พิพากษายกฟ้องฐานฉ้อโกงประชาชน แต่ยังคงรับฎีกาในประเด็นความผิดอื่น
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341, 343, 83 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามมาตรา 341, 83, 91 ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้อง ดังนี้เมื่อความผิดตาม มาตรา 343 ฐานฉ้อโกงประชาชน ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์โดยอาศัยข้อเท็จจริง โจทก์ย่อมต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220
of 10