พบผลลัพธ์ทั้งหมด 507 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1398/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งคำบังคับที่ชอบด้วยกฎหมาย: การปิดคำบังคับต้องทำ ณ ที่ทำการจำเลยเท่านั้น
การส่งคำบังคับโดยวิธีอื่นแทนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 79วรรคหนึ่ง นั้น พนักงานเดินหมายผู้ส่งคำบังคับจะต้องทำการปิดคำบังคับไว้ ณบริษัทจำเลยในที่แลเห็นได้ง่ายตามที่กฎหมายบัญญัติไว้เท่านั้น การส่งให้พนักงานบริษัทจำเลยรับไว้มิใช่เป็นการปิดคำบังคับในที่แลเห็นได้ง่ายตามกฎหมาย การส่งคำบังคับในกรณีนี้จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย กรณีจึงยังอยู่ในระยะเวลาที่จำเลยจะยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ได้
อาคาร ท. มีทั้งหมด 9 ชั้น มีบริษัทดำเนินกิจการอยู่ในอาคารดังกล่าวประมาณ 10 บริษัท บริษัทจำเลยมีที่ทำการอยู่ชั้นที่ 7 และ 8ลูกค้าที่จะติดต่อต้องติดต่อที่ชั้นที่ 8 ในการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องและหมายนัดสืบพยานโจทก์ให้จำเลยนั้น เมื่อพนักงานส่งหมายไปถึงอาคาร ท.เข้าใจว่าทั้งอาคารเป็นของบริษัทจำเลยจึงได้ปิดหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไว้ที่บริเวณด้านหน้าอาคารชั้นล่าง การปิดหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องก็ดี การปิดหมายนัดสืบพยานโจทก์ก็ดี พนักงานเดินหมายได้ปิดไว้ที่หน้าอาคารชั้นล่าง ไม่ใช่ที่ทำการของบริษัทจำเลย อาคาร ท.เป็นที่ทำการของบริษัทอื่นอีกประมาณ 10 บริษัท ย่อมมีผู้คนพลุกพล่านพอสมควร หมายเรียกและหมายนัดอาจหลุดหายไปก่อนที่จำเลยจะได้ทราบข้อความ ดังนี้การขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาของจำเลยจึงมิได้เป็นไปโดยจงใจและมีเหตุอันสมควรให้พิจารณาใหม่
อาคาร ท. มีทั้งหมด 9 ชั้น มีบริษัทดำเนินกิจการอยู่ในอาคารดังกล่าวประมาณ 10 บริษัท บริษัทจำเลยมีที่ทำการอยู่ชั้นที่ 7 และ 8ลูกค้าที่จะติดต่อต้องติดต่อที่ชั้นที่ 8 ในการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องและหมายนัดสืบพยานโจทก์ให้จำเลยนั้น เมื่อพนักงานส่งหมายไปถึงอาคาร ท.เข้าใจว่าทั้งอาคารเป็นของบริษัทจำเลยจึงได้ปิดหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไว้ที่บริเวณด้านหน้าอาคารชั้นล่าง การปิดหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องก็ดี การปิดหมายนัดสืบพยานโจทก์ก็ดี พนักงานเดินหมายได้ปิดไว้ที่หน้าอาคารชั้นล่าง ไม่ใช่ที่ทำการของบริษัทจำเลย อาคาร ท.เป็นที่ทำการของบริษัทอื่นอีกประมาณ 10 บริษัท ย่อมมีผู้คนพลุกพล่านพอสมควร หมายเรียกและหมายนัดอาจหลุดหายไปก่อนที่จำเลยจะได้ทราบข้อความ ดังนี้การขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาของจำเลยจึงมิได้เป็นไปโดยจงใจและมีเหตุอันสมควรให้พิจารณาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1260/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งย้ายงานเนื่องจากปัญหาสุขภาพชอบด้วยกฎหมาย หากโจทก์ไม่เห็นด้วยมีสิทธิฟ้องเพิกถอน หรือตกลงเปลี่ยนงานใหม่
จำเลยมีคำสั่งย้ายโจทก์จากงานรักษาความปลอดภัยประจำองค์การสหประชาชาติไปทำงานประชาสัมพันธ์ประจำสำนักงานใหญ่ของจำเลย เนื่องจากมีปัญหาจากความเจ็บป่วยและสุขภาพของโจทก์ จำเลยชอบที่จะย้ายโจทก์ไปทำงานตามความเหมาะสมได้หากโจทก์เห็นว่างานประชาสัมพันธ์ประจำสำนักงานใหญ่ไม่เหมาะกับโจทก์ ทั้งทำให้โจทก์ได้รับ ค่าจ้างลดลงอันเป็นการเปลี่ยนแปลงในสัญญาจ้างแรงงานโจทก์ชอบที่จะตกลงกับจำเลยเพื่อขอเปลี่ยนงานใหม่ หรือ ดำเนินการฟ้องเพิกถอนคำสั่งย้ายดังกล่าวในภายหลังการที่จำเลยมีคำสั่งย้ายโจทก์เนื่องจากเหตุดังกล่าวจึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7622/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียกโดยวิธีปิดหมายชอบด้วยกฎหมาย แม้จำเลยย้ายภูมิลำเนา แต่ยังมีความเกี่ยวข้องกับภูมิลำเนาเดิม
ในการส่งหมายเรียกสำเนาฟ้องให้จำเลยที่ 1 ครั้งแรกนั้น เจ้าพนักงานศาลส่งไม่ได้ โจทก์จึงขอให้ส่งใหม่โดยปิดหมายซึ่งในครั้งหลัง เจ้าพนักงานศาลระบุว่า ไม่พบผู้รับตามหมาย คนในบ้านแจ้งว่าจำเลยที่ 1 ไปธุระและไม่มีผู้รับหมายไว้แทนจึงปิดหมายตามคำสั่งศาล แสดงว่าคนในบ้านยอมรับว่าจำเลยที่ 1 ยังคงอยู่ที่บ้านตามภูมิลำเนาที่โจทก์ระบุในฟ้องที่จำเลยที่ 1 อ้างว่าได้ย้ายภูมิลำเนาโดยมี ส. ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทจำเลยที่ 2 ย้ายไปอยู่ที่เดียวกับจำเลยที่ 1 โดยไม่ปรากฏเหตุผลในการย้ายของจำเลยที่ 1 และ ส. ทั้งที่บริษัทจำเลยที่ 2 ยังมิได้จดทะเบียนเลิกกิจการและมิได้มีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงที่อยู่ของจำเลยที่ 1 ผู้ถือหุ้น จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนาปรากฏชัดแจ้งว่าจะเปลี่ยนภูมิลำเนาเดิมของตน การส่งหมายเรียกสำเนาฟ้อง หมายนัดสืบพยานโจทก์และคำบังคับให้แก่จำเลยที่ 1 โดยวิธีปิดหมายจึงชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 1 จึงทราบว่าตนถูกฟ้องแล้วตั้งแต่เจ้าพนักงานศาลได้ส่งหมายเรียกสำเนาฟ้องให้แก่จำเลยที่ 1 โดยชอบ เมื่อจำเลยที่ 1 จงใจขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา จึงไม่มีเหตุสมควรอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6600/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินเพื่อเวนคืนชอบด้วยกฎหมาย แม้ พ.ร.ฎ.เวนคืนฉบับแรกสิ้นอายุ แต่มีฉบับใหม่ใช้บังคับต่อเนื่อง
พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตพระโขนง? และเขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2530 ได้สิ้นอายุการใช้บังคับ เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2535 แต่ต่อมาได้มี พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตจตุจักร? เขตห้วยขวางและเขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2535 ประกาศใช้อันมีผลบังคับใช้ในวันที่ 29 สิงหาคม 2535 โดยกำหนดให้จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนเช่นเดียวกับ พ.ร.ฎ. ฉบับก่อน และต่อมาวันที่ 12 ตุลาคม 2536 โจทก์กับจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 เพื่อสร้างทางพิเศษโครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน อันอยู่ในระหว่างเวลาบังคับใช้ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตจตุจักร? เขตห้วยขวาง และเขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2535 ซึ่งขณะนั้นจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนตาม พ.ร.ฎ. ฉบับนี้ ดังนั้น การทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ฯนั้น จำเลยที่ 2 กระทำโดยมีฐานะเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนตาม พ.ร.ฎ. ฉบับนี้ จึงเป็นเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจตกลงซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนกับโจทก์ได้ตามมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ฯจึงไม่ฝ่าฝืนต่อกฎหมายและไม่ตกเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6599/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: การกระทำของเจ้าหน้าที่ชอบด้วยกฎหมาย แม้จะเกี่ยวข้องกับทางหลวงคู่ขนาน
พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 5 กำหนดว่าถ้าจะต้องดำเนินการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นสมควรจะมีมติให้ดำเนินการเวนคืนตามบทแห่งพระราชบัญญัตินี้แทนก็ได้และจะตราพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนไว้ก่อนก็ได้ พ.ร.ฎ. กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตลาดพร้าว เขตบึงกุ่ม เขตบางกะปิ เขตห้วยขวาง เขตคลองเตย และเขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2533 จึงเป็นกฎหมายที่ตราขึ้นใช้บังคับตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ซึ่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวได้กำหนดให้จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืน โดยมีมติของคณะรัฐมนตรีให้ดำเนินการสร้างทางพิเศษสายรามอินทรา - อาจณรงค์ ทางหลวงคู่ขนานที่กรุงเทพมหานครสร้างก็อยู่ในแนวที่ดินที่จะต้องเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ การที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้สร้างทางพิเศษในรูปทางด่วนและมีถนนคู่ขนานตลอดแนวทางด่วน ทั้งทางด่วนและถนนคู่ขนานหรือทางหลวงคู่ขนานดังกล่าวถือได้ว่าเป็นทางพิเศษตามความหมายในประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 290 ข้อ 1 ด้วย ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้กำหนดให้การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวเป็นกรณีที่มีความจำเป็นโดยเร่งด่วนโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2534 เพื่อให้จำเลยที่ 1 มีอำนาจเข้าครอบครองหรือใช้อสังหาริมทรัพย์นั้น ซึ่งจำเลยที่ 1 ก็ได้มีหนังสือไปยังโจทก์แจ้งการเข้าครอบครองหรือใช้อสังหาริมทรัพย์ โจทก์ได้รับหนังสือดังกล่าวแล้ว จำเลยที่ 1 แจ้งการวางเงินค่าทดแทนและกำหนดเวลาให้โจทก์รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและโจทก์ได้รับหนังสือนั้นแล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 ได้ดำเนินการตามมาตรา 30 แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 แล้ว การกระทำของจำเลยทั้งสี่จึงเป็นการกระทำที่มีกฎหมายให้อำนาจให้กระทำได้ และได้กระทำการดังกล่าวภายในกรอบที่กฎหมายได้กำหนดไว้ จำเลยทั้งสี่ย่อมมีอำนาจกระทำได้โดยชอบ
แม้ที่ดินและบ้านของโจทก์จะไม่อยู่ในแนวเขตที่ใช้ก่อสร้างทางพิเศษ โดยอยู่พ้นจากแนวเขต 80 เมตร แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 กำหนดแนวเขตและใช้ที่ดินของโจทก์บางส่วนในการเป็นทางระบายน้ำเพื่อสร้างทางหลวง การที่กำหนดให้ที่ดินและบ้านของโจทก์อยู่ในแนวเขตที่จะเวนคืนตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตลาดพร้าว? พ.ศ. 2533 ตรงบริเวณที่กำหนดไว้เพื่อสร้างทางแยกต่างระดับก็ดี ล้วนเกี่ยวข้องกับการก่อสร้างทางพิเศษและเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างทางพิเศษสายรามอินทรา - อาจณรงค์ตาม พระราชกฤษฎีกาจึงมิได้อยู่นอกวัตถุประสงค์ของพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่จะเวนคืนในท้องที่ เขตลาดพร้าว? พ.ศ. 2533
แม้ที่ดินและบ้านของโจทก์จะไม่อยู่ในแนวเขตที่ใช้ก่อสร้างทางพิเศษ โดยอยู่พ้นจากแนวเขต 80 เมตร แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 กำหนดแนวเขตและใช้ที่ดินของโจทก์บางส่วนในการเป็นทางระบายน้ำเพื่อสร้างทางหลวง การที่กำหนดให้ที่ดินและบ้านของโจทก์อยู่ในแนวเขตที่จะเวนคืนตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตลาดพร้าว? พ.ศ. 2533 ตรงบริเวณที่กำหนดไว้เพื่อสร้างทางแยกต่างระดับก็ดี ล้วนเกี่ยวข้องกับการก่อสร้างทางพิเศษและเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างทางพิเศษสายรามอินทรา - อาจณรงค์ตาม พระราชกฤษฎีกาจึงมิได้อยู่นอกวัตถุประสงค์ของพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่จะเวนคืนในท้องที่ เขตลาดพร้าว? พ.ศ. 2533
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6124/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งปลดข้าราชการอาศัยผลการสอบสวนทางวินัยที่มีพยานหลักฐานสนับสนุน ย่อมชอบด้วยกฎหมาย
ตามสำนวนการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงและการสอบสวนทางวินัย ปรากฎว่าทางราชการได้ดำเนินการสืบสวนความผิดของโจทก์ไปตามระเบียบและขั้นตอนของกฎหมายเริ่มตั้งแต่มีการตั้งคณะกรรมการสืบสวนสอบสวนหาข้อเท็จจริงคณะกรรมการได้สอบปากคำพยานบุคคลและเอกสารผู้เกี่ยวข้อง เมื่อเห็นว่ามีมูลความจริงแล้ว จำเลยจึงอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 86 แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2518 ที่แก้ไขแล้ว แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยแก่โจทก์ ซึ่งคณะกรรมการก็ได้สอบสวนทั้งพยานบุคคลจำนวนหลายปากและพยานเอกสารได้ความสอดรับกันตั้งแต่ต้น แล้วจำเลยมีคำสั่งปลดโจทก์ออกจากราชการ เมื่อเป็นคำสั่งที่อาศัยผลจากการสอบสวนทางวินัยของคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยที่จำเลยตั้งขึ้นตามกฎหมาย ซึ่งมีทั้งพยานบุคคลและพยานเอกสารยืนยันกันว่าโจทก์มีส่วนร่วมในการเรียกเอาทรัพย์ตามที่ถูกกล่าวหา แม้ต่อมาโจทก์จะได้อุทธรณ์คำสั่งของจำเลยต่อคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) แต่ในที่สุดนายกรัฐมนตรีในฐานะประธานคณะกรรมการดังกล่าวก็มีคำสั่งให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์เสีย ดังนี้ ที่โจทก์อ้างว่าคำสั่งของจำเลยเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฏหมายเพราะเป็นคำสั่งที่ปราศจากพยานหลักฐานที่จะยืนยันว่าโจทก์ได้กระทำผิดตามที่ถูกกล่าวหาจึงไม่เป็นความจริงจึงชอบที่ศาลจะพิพากษายกฟ้องโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6124/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งปลดข้าราชการชอบด้วยกฎหมาย มีพยานหลักฐานยืนยันการกระทำผิด
ตามสำนวนการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงและการสอบสวนทางวินัย ปรากฏว่าทางราชการได้ดำเนินการสืบสวน ความผิดของโจทก์ไปตามระเบียบและขั้นตอน ของกฎหมายเริ่มตั้งแต่มีการตั้งคณะกรรมการสืบสวนสอบสวน หาข้อเท็จจริงคณะกรรมการได้สอบปากคำพยานบุคคล และเอกสารผู้เกี่ยวข้อง เมื่อเห็นว่ามีมูลความจริงแล้ว จำเลยจึงอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 86 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518 ที่แก้ไขแล้ว แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยแก่โจทก์ ซึ่งคณะกรรมการ ก็ได้สอบสวนทั้งพยานบุคคลจำนวนหลายปากและพยานเอกสาร ได้ความสอดรับกันตั้งแต่ต้น แล้วจำเลยมีคำสั่งปลดโจทก์ ออกจากราชการ เมื่อเป็นคำสั่งที่อาศัยผลจากการสอบสวน ทางวินัยของคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยที่จำเลย ตั้งขึ้นตามกฎหมาย ซึ่งมีทั้งพยานบุคคลและพยานเอกสารยืนยันกัน ว่าโจทก์มีส่วนร่วมในการเรียกเอาทรัพย์ตามที่ถูกกล่าวหาแม้ต่อมาโจทก์จะได้อุทธรณ์คำสั่งของจำเลยต่อคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) แต่ในที่สุดนายกรัฐมนตรีในฐานะประธานคณะกรรมการดังกล่าวก็มีคำสั่งให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์เสีย ดังนี้ ที่โจทก์อ้างว่าคำสั่งของจำเลยเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะเป็นคำสั่งที่ปราศจากพยานหลักฐานที่จะยืนยันว่าโจทก์ได้กระทำผิดตามที่ถูกกล่าวหาจึงไม่เป็นความจริงจึงชอบที่ศาลจะพิพากษายกฟ้องโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5834/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียกและแจ้งการขายทอดตลาดชอบด้วยกฎหมาย แม้จำเลยไม่ได้พักอาศัยที่ภูมิลำเนาตามทะเบียนบ้าน
โจทก์ฟ้องจำเลยโดยบรรยายไว้ในคำฟ้องว่าจำเลย อยู่บ้านเลขที่ 281 เมื่อเจ้าพนักงานศาลนำหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไปส่งให้จำเลยที่บ้านเลขที่ดังกล่าวแต่ไม่พบจำเลย พบเพียงหญิงอายุประมาณ 40 ปี แจ้งว่าไม่เคยมีชื่อจำเลยอยู่ในบ้านดังกล่าว และไม่ยอมรับหมายเรียก และสำเนาคำฟ้องไว้แทน โจทก์จึงต้องยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้อง เกี่ยวกับภูมิลำเนาของจำเลยเป็นบ้านเลขที่ 482/2 ซึ่งการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องในครั้งหลังนี้ จำเลยทราบว่าถูกโจทก์ฟ้องและได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดี แสดงว่าจำเลยถือเอาบ้านเลขที่ 482/2 เป็นภูมิลำเนา ของจำเลยอีกแห่งหนึ่ง ฉะนั้น การปิดหมายแจ้งวันนัด การขายทอดตลาดให้จำเลยทราบที่บ้านเลขที่ดังกล่าว จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 79 และถือว่าจำเลยทราบวันนัดขายทอดตลาดแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5811/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับถือว่าชอบแล้วตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
เมื่อหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้นำส่งโดย เจ้าพนักงานขององค์การสื่อสารแห่งประเทศไทยมีผู้ลงลายมือชื่อรับแทนเป็นเอกสารตามใบตอบรับในประเทศของทางราชการ ทั้งการส่งก็เป็นการส่งตรงตามภูมิลำเนาของโจทก์และทนายโจทก์ที่ได้แจ้งไว้ต่อศาล จึงฟังได้ว่าได้นำส่งให้แก่โจทก์และทนายโจทก์โดยชอบแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 73 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5788/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องสอดต้องมีคำขอบังคับชัดเจน จึงจะชอบด้วยกฎหมาย
ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องสอดว่า ที่โจทก์ฟ้องจำเลยให้นำที่ดินสินสมรสระหว่างโจทก์จำเลยจำนวน 2 แปลงตามฟ้องออกขายแล้วนำเงินมาแบ่งกันคนละครึ่งนั้นความจริงผู้ร้องสอดมีส่วนร่วมในการซื้อที่ดินดังกล่าวมาตั้งแต่แรก ผู้ร้องสอดได้ซื้อทรัพย์สินดังกล่าวโดยกู้ยืมเงินจากบุคคลอื่นมาจ่ายค่าซื้อทรัพย์บางส่วนและบางส่วน ได้ใช้เงินส่วนตัวชำระไป เฉพาะส่วนของจำเลยและโจทก์นั้นรวมราคาทรัพย์สินทั้งสองรายการเป็นเงินไม่เกิน 100,000 บาท จึงขอร้องสอดเข้าเป็นคู่ความเพื่อให้ได้รับความรับรอง คุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1)เมื่อคำร้องสอดเป็นคำฟ้องตามมาตรา 1(3) จึงต้องแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตามมาตรา 172 แต่คำร้องสอดของผู้ร้องไม่มีคำขอให้ศาลบังคับ คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งในกรณีผู้ร้องสอดชนะคดีในประเด็นข้อพิพาท จึงไม่เป็นคำร้องสอดที่ชอบด้วยกฎหมายที่ศาลจะรับไว้พิจารณา แม้ตามคำร้องสอดระบุว่า โจทก์และจำเลยมีสิทธิในทรัพย์สินเพียง 100,000 บาท เท่านั้น การที่โจทก์มาฟ้องขอแบ่งกรรมสิทธิ์กับจำเลย โดยตีราคาทรัพย์สินเป็นเงิน1,600,000 บาท และขอแบ่งกรรมสิทธิ์เป็นเงิน 800,000 บาทคำร้องสอดดังกล่าวแสดงถึงสิทธิของผู้ร้องสอดว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่โจทก์และจำเลยพิพาทกันคิดเป็นเงิน 1,500,000 บาท ก็ตาม ก็มิใช่คำขอบังคับตามความหมายในมาตรา 172 วรรคสอง