พบผลลัพธ์ทั้งหมด 66 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1270/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: การยกเหตุใหม่ในฎีกาที่ไม่เคยกล่าวอ้างในชั้นศาลล่าง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเป็นคนร้ายฆ่าผู้ตาย จำเลยให้การปฏิเสธและนำสืบปฏิเสธอ้างฐานที่อยู่ ศาลชั้นต้นฟังว่าจำเลยเป็นคนร้ายฆ่าผู้ตาย พิพากษาลงโทษจำเลยฐานฆ่าผู้อื่น จำเลยอุทธรณ์อ้างว่าจำเลยมิใช่คนร้าย ศาลอุทธรณ์ฟังตามศาลชั้นต้นว่า จำเลยเป็นคนร้ายฆ่าผู้ตายเช่นกัน แต่จำเลยฎีกากลับอ้างข้อเท็จจริงขึ้นมาใหม่ว่า จำเลยได้ฆ่าผู้ตายจริงเพราะจำเลยถูกผู้ตายข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม จึงกระทำความผิดไปโดยบันดาลโทสะตาม ป.อ. มาตรา 72 ซึ่งเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 452/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยมิโต้แย้งอัตราดอกเบี้ยในชั้นศาลต้นและอุทธรณ์ จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามกฎหมาย
จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ในประเด็นที่ว่า ธนาคารโจทก์คิดดอกเบี้ยในหนี้ที่ค้างชำระไม่เกินไปกว่าอัตราสูงสุดตามประกาศของโจทก์ภายใต้ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยหรือไม่ โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยผิดนัดจากจำเลยในอัตราสูงสุดตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เมื่อชั้นอุทธรณ์จำเลยมิได้ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอุทธรณ์ ปัญหาดังกล่าวย่อมเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น การที่จำเลยฎีกาในปัญหาว่า โจทก์ปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยตามอำเภอใจจึงไม่มีสิทธิ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ทั้งปัญหาดังกล่าวมิใช่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8830/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำเอกสารใหม่เข้าสู่ชั้นศาล: ศาลรับฟังได้แม้ไม่ได้ยื่นในชั้นอุทธรณ์
แม้ในชั้นพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์จะมิได้นำเอกสารไปพิสูจน์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ก็ไม่มีกฎหมายห้ามมิให้นำเอกสารนั้นมาพิสูจน์ในชั้นศาลในประเด็นเดียวกับที่โจทก์อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไว้แล้ว ทั้งข้อกำหนดคดีภาษีอากร พ.ศ.2544 ซึ่งออกตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 20 ข้อ 15 และข้อ 16 ก็กำหนดให้คู่ความอ้างและส่งเอกสารเป็นพยานสนับสนุนข้ออ้างหรือข้อเถียงของตนได้ โดยมิได้บังคับว่าเอกสารนั้นต้องเป็นเอกสารที่ส่งในชั้นพิจารณาอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ฉะนั้น แม้เอกสารที่โจทก์นำมาพิสูจน์ในชั้นศาลจะมิใช่เอกสารที่ได้นำไปพิสูจน์ในชั้นพิจารณาอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ เอกสารนั้นก็รับฟังในชั้นศาลได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1391/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการรับคืนเงินค่าธรรมเนียมที่วางศาลเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คดีบางส่วน และค่าธรรมเนียมในชั้นต้นยังคงมีผล
เงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาที่ผู้อุทธรณ์นำมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 นั้น เป็นเงินที่วางเพื่อเป็นประกันว่าหากในที่สุดศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งหกผู้อุทธรณ์ต้องรับผิดชำระค่าธรรมเนียมแทนคู่ความที่ชนะคดีแล้ว ผู้ชนะคดีจะมีสิทธิได้รับค่าธรรมเนียมที่ได้ออกใช้ก่อนจากเงินที่จำเลยทั้งหกผู้อุทธรณ์วางไว้ได้ โดยผู้ชนะคดีไม่จำต้องดำเนินการบังคับคดี
คดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 ย่อมมีผลเท่ากับว่าศาลอุทธรณ์พิพากษายืนสำหรับคดีในส่วนของจำเลยที่ 1 เมื่อไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นสั่งค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ไม่ถูกต้อง ศาลอุทธรณ์ย่อมไม่อาจก้างล่วงไปเปลี่ยนแปลงคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมของศาลชั้นต้นระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ ทั้งเป็นดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ที่เห็นสมควรไม่แก้ไขคำสั่งศาลชั้นต้นในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่กล่าวว่า ค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งหกให้เป็นพับ นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ย่อมหมายความว่า ค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งหกในชั้นอุทธรณ์เท่านั้นที่เป็นพับ คำพิพากษาศาลชั้นต้นส่วนที่สั่งให้จำเลยทั้งหกร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นแทนโจทก์มิได้ถูกเพิกถอน เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายแพ้คดีในชั้นที่สุด และจำเลยทั้งหกยังมีความรับผิดที่จะต้องร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นแทนโจทก์ตามที่ศาลอุทธรณ์กล่าวไว้ในตอนท้ายของคำพิพากษา โจทก์ย่อมมีสิทธิขอรับเงินค่าธรรมเนียมที่จำเลยทั้งหกผู้อุทธรณ์วางไว้ต่อศาลเพื่อชำระค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้ให้แก่โจทก์ได้
คดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 ย่อมมีผลเท่ากับว่าศาลอุทธรณ์พิพากษายืนสำหรับคดีในส่วนของจำเลยที่ 1 เมื่อไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นสั่งค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ไม่ถูกต้อง ศาลอุทธรณ์ย่อมไม่อาจก้างล่วงไปเปลี่ยนแปลงคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมของศาลชั้นต้นระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ ทั้งเป็นดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ที่เห็นสมควรไม่แก้ไขคำสั่งศาลชั้นต้นในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่กล่าวว่า ค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งหกให้เป็นพับ นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ย่อมหมายความว่า ค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งหกในชั้นอุทธรณ์เท่านั้นที่เป็นพับ คำพิพากษาศาลชั้นต้นส่วนที่สั่งให้จำเลยทั้งหกร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นแทนโจทก์มิได้ถูกเพิกถอน เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายแพ้คดีในชั้นที่สุด และจำเลยทั้งหกยังมีความรับผิดที่จะต้องร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นแทนโจทก์ตามที่ศาลอุทธรณ์กล่าวไว้ในตอนท้ายของคำพิพากษา โจทก์ย่อมมีสิทธิขอรับเงินค่าธรรมเนียมที่จำเลยทั้งหกผู้อุทธรณ์วางไว้ต่อศาลเพื่อชำระค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้ให้แก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1872/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชั้นศาลและการระงับสิทธิฟ้องคดีอาญา ตาม พ.ร.บ.การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ.2562
แม้ขณะที่ผู้เสียหายและจำเลยตกลงกันในคดีอาญาของศาลอาญาธนบุรี ยังไม่มีการประกาศใช้บังคับ พ.ร.บ.การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ.2562 แต่ขณะที่จำเลยยื่นฎีกาคดีนี้พระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลใช้บังคับแล้ว ดังนี้ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปหรือไม่จึงต้องพิจารณาตามกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะที่จำเลยยื่นฎีกา พ.ร.บ.การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ.2562 มาตรา 3 ให้คำนิยาม การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท หมายความว่า การดำเนินการเพื่อให้คู่ความมีโอกาสเจรจาตกลงระงับข้อพิพาททางแพ่งและทางอาญาโดยสันติวิธีและปราศจากการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาท ทั้งนี้ไม่รวมถึงการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่ดำเนินการในชั้นศาลและในชั้นบังคับคดี ดังนั้น การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวจึงไม่รวมถึงการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่ดำเนินการในชั้นศาล เมื่อผู้เสียหายและจำเลยตกลงกันเกี่ยวกับคดีนี้ในคดีอาญาหมายเลขดำที่ อ. 78/2562 ของศาลอาญาธนบุรี ระหว่างการพิจารณาของศาลอาญาธนบุรี จึงเป็นการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่ดำเนินการในชั้นศาล กรณีไม่เป็นการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามคำนิยามดังกล่าว จึงไม่เข้าเงื่อนไขตามมาตรา 35 วรรคสอง สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจึงไม่ระงับไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 224/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ชอบ: จำเลยยกเหตุผลใหม่ในฎีกาที่ไม่เคยกล่าวอ้างในชั้นศาลล่าง
จำเลยให้การว่า ภายหลังจำเลยได้รับเงินมัดจำจากโจทก์จำนวน 3,400,000 บาท จำเลยได้นำเงิน 2,000,000 บาท ที่ได้รับจากโจทก์ไปวางมัดจำแก่ ส. ผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ขายให้แก่จำเลย ข้อเท็จจริงที่จำเลยนำสืบว่า จำเลยไม่ได้รับเงินมัดจำตามเช็คจำนวน 3,000,000 บาท จึงอยู่นอกเหนือประเด็นข้อพิพาท การที่จำเลยยกข้อเท็จจริงที่ตนนำสืบนอกเหนือจากที่ให้การไว้เป็นเหตุผลในฎีกาของจำเลยเพื่อให้ศาลฎีกาวินิจฉัยให้จำเลยชนะคดี ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาที่ไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง (เดิม) ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย