คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ชำระบัญชี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 141 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 809/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความภาษี, การชำระบัญชีบริษัท, และความรับผิดของผู้ชำระบัญชี
ผู้มีเงินได้ต้องยื่นรายการในกุมภาพันธ์ 2502 แสดงเงินได้ในปี 2501 ที่ล่วงมาแล้ว สิทธิเรียกร้องภาษีเงินได้จึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2502กรมสรรพากรโจทก์ยื่นฟ้องเรียกภาษีเงินได้เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2512ยังไม่เกินอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 167
การชำระบัญชีบริษัทจำกัดสิ้นสุดเมื่อจดทะเบียน ตราบใดที่ยังไม่จดทะเบียน อายุความ 2 ปี ตามมาตรา 1272 ยังไม่เริ่มนับ
เจ้าพนักงานของโจทก์ประเมินภาษีเงินได้ให้จำเลยชำระรวมทั้งเงินเพิ่ม จำเลยไม่อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 ภายใน 30 วัน จำเลยต้องเสียภาษีตามนั้น จะอ้างว่าไม่ถูกต้องภายหลังไม่ได้
ผู้ถือหุ้นค้างชำระค่าหุ้นอยู่เพราะกรรมการบริษัทและผู้ชำระบัญชีไม่เรียกเก็บ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เรียกให้ผู้ถือหุ้นชำระได้พร้อมด้วยดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้อง
ผู้ชำระบัญชีบริษัทจำกัดมีหน้าที่ตามมาตรา 1250 แต่ไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวในหนี้ที่บริษัทค้างชำระ ข้อหาว่าทำละเมิดก็ต้องแสดงว่าจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้เสียหายเพียงแต่ไม่เรียกให้ชำระค่าหุ้นให้ครบยังไม่เป็นละเมิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 506-507/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระบัญชีหุ้นส่วนหลังการตายของหุ้นส่วน และสิทธิในการรับส่วนแบ่งกำไร/เงินปันผล
โจทก์ฝ่ายหนึ่ง จำเลยที่ 1 กับ ส. อีกฝ่ายหนึ่งเข้าหุ้นกันลงทุนซื้อหุ้นบริษัท น. เพื่อแบ่งกำไรหรือเงินปันผลจากการถือหุ้น การที่จำเลยที่ 1 กับ ส. มีชื่อถือหุ้นนั้น ถือได้ว่าเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำนวนหุ้นของบริษัท น. จึงเป็นทรัพย์สินของหุ้นส่วนที่จะต้องนำมาแบ่งตามสัญญาเมื่อเลิกกันไม่ใช่จะแบ่งเฉพาะเงินลงทุนค่าหุ้น ตราบใดที่ยังไม่มีการชำระบัญชี หรือตกลงแบ่งกันโดยวิธีอื่นโจทก์ในฐานะหุ้นส่วนย่อมมีสิทธิที่จะได้รับส่วนแบ่งเงินปันผลในปี 2510 และ ปี ต่อๆ ไป จนกว่าจะชำระบัญชีหรือตกลงแบ่งกันเสร็จ
โจทก์ฟ้องเรียกทุนของหุ้นส่วน ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน และขอแบ่งเงินปันผลในปี 2511 ซึ่งศาลล่างก็รับพิจารณาสืบพยานทั้งสองฝ่ายจนสิ้นกระแสความแล้วจึงไม่มีความจำเป็นที่จะรื้อฟื้นให้ชำระบัญชีในเรื่องดังกล่าวอีก ศาลย่อมวินิจฉัยถึงจำนวนทุนและพิพากษาให้แบ่งเงินปันผลในปี 2511 ไปทีเดียวได้และการบังคับให้แบ่งกำไรในปี 2511 ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ซึ่งเป็นผู้จัดการและทายาทผู้รับมรดกของ ส. ต้องรับผิดร่วมกัน
จำเลยมิได้ฟ้องแย้งเรียกเงินภาษีที่อ้างว่าเสียเพิ่มเติมคืนจึงไม่เป็นประเด็นในคดี
เมื่อ พ. ผู้เป็นหุ้นส่วนตาย ห้างย่อมเลิกกันโดยศาลไม่ต้องสั่งอีก และกรณีนี้ศาลไม่ควรพิพากษาให้จำเลยแบ่งเงินปันผลและคืนเงินค่าหุ้นให้โจทก์โดยไม่ตั้งผู้ชำระบัญชี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 490/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความตั๋วสัญญาใช้เงินของผู้รับอาวัลและการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วน
จำเลยที่ 1 เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล มีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์อยู่จำนวนหนึ่ง และต่อมาได้จดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วนและชำระบัญชีโดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ชำระบัญชี ระหว่างการชำระบัญชีจำเลยที่ 1 ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์ยอมรับใช้เงินที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ดังกล่าว โดยจำเลยที่ 2 ในฐานะส่วนตัวได้ลงนามเป็นผู้รับอาวัลในตั๋วสัญญาใช้เงินนั้น ดังนี้ แม้ห้างหุ้นส่วนจำเลยที่ 1 จะจดทะเบียนเลิกกันแล้ว ก็ยังไม่สิ้นสภาพเป็นนิติบุคคล เพราะประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1249 ให้ถือว่ายังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชี เมื่อจำเลยที่ 1 ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้โจทก์ในระหว่างการชำระบัญชี โดยจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำเลยที่ 1 และเป็นผู้ชำระบัญชีด้วยเป็นผู้แทนและเป็นผู้รับอาวัลในฐานะส่วนตัวด้วย จำเลยทั้งสองจึงต้องผูกพันรับผิดตามตั๋วสัญญาใช้เงินนั้น
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1001 บัญญัติเรื่องอายุความฟ้องร้องผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินไว้ห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นเวลาสามปีนับแต่วันตั๋วนั้น ๆ ถึงกำหนดใช้เงิน โดยไม่ได้ระบุถึงอายุความฟ้องร้องผู้รับอาวัล แต่มาตรา 940 วรรคแรก บัญญัติว่าผู้รับอาวัลย่อมต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกันกับบุคคลซึ่งตนประกัน ดังนี้ จึงต้องใช้มาตรา 1001 บังคับแต่จำเลยที่ 2 ผู้รับอาวัลด้วยจะนำมาตรา 1002 ซึ่งใช้บังคับแก่ผู้สั่งจ่ายและผู้สลักหลังตั๋วเงินมาใช้บังคับไม่ได้ เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องยังไม่พ้นเวลา 3 ปี นับแต่วันตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนดคดีของโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 490/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความตั๋วสัญญาใช้เงินของผู้รับอาวัลและการสิ้นสภาพนิติบุคคลของห้างหุ้นส่วนที่ชำระบัญชี
จำเลยที่ 1 เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล มีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์อยู่จำนวนหนึ่งและต่อมาได้จดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วนและชำระบัญชีโดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ชำระบัญชี ระหว่างการชำระบัญชี จำเลยที่ 1 ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์ยอมรับใช้เงินที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ดังกล่าวโดยจำเลยที่ 2 ในฐานะส่วนตัวได้ลงนามเป็นผู้รับอาวัลในตั๋วสัญญาใช้เงินนั้น ดังนี้ แม้ห้างหุ้นส่วนจำเลยที่1 จะจดทะเบียนเลิกกันแล้วก็ยังไม่สิ้นสภาพเป็นนิติบุคคลเพราะประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1249ให้ถือว่ายังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชีเมื่อจำเลยที่ 1 ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้โจทก์ในระหว่างการชำระบัญชีโดยจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำเลยที่ 1 และเป็นผู้ชำระบัญชีด้วยเป็นผู้ทำแทนและเป็นผู้รับอาวัลในฐานะส่วนตัวด้วยจำเลยทั้งสองจึงต้องผูกพันรับผิดตามตั๋วสัญญาใช้เงินนั้น
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1001 บัญญัติเรื่องอายุความฟ้องร้องผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินไว้ห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นเวลาสามปีนับแต่วันตั๋วนั้นๆ ถึงกำหนดใช้เงินโดยไม่ได้ระบุถึงอายุความฟ้องร้องผู้รับอาวัล แต่มาตรา940 วรรคแรก บัญญัติว่า ผู้รับอาวัลย่อมต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกันกับบุคคลซึ่งตนประกันดังนี้ จึงต้องใช้มาตรา 1001 บังคับแก่จำเลยที่ 2 ผู้รับอาวัลด้วยจะนำมาตรา 1002 ซึ่งใช้บังคับแก่ผู้สั่งจ่ายและผู้สลักหลังตั๋วเงินมาใช้บังคับไม่ได้ เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องยังไม่พ้นเวลา 3 ปี นับแต่วันตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนดคดีของโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2183/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ห้างหุ้นส่วนเลิกแล้วแต่ยังชำระบัญชี: อำนาจของผู้ช่วยผู้จัดการในการสั่งซื้อเพื่อป้องกันความเสียหาย
ห้างหุ้นส่วนจำกัดเลิกกันเมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดตาย แต่ยังถือว่าตั้งอยู่ระหว่างชำระบัญชี ผู้ช่วยผู้จัดการห้างสั่งซื้อกระดาษเพื่อดำเนินการที่ค้างมามิให้ห้างหุ้นส่วนเสียหายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2901/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งผู้ชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนจำกัดหลังหุ้นส่วนเสียชีวิต เมื่อทายาทปฏิเสธการชำระบัญชี
โจทก์กับ ต. เป็นหุ้นส่วน ตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด โจทก์เป็นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิด ต. เป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดและเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ เมื่อ ต. ตายห้างหุ้นส่วนจำกัดต้องเลิกกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1055 (5) ประกอบด้วยมาตรา 1080 และจะต้องตั้งผู้ชำระบัญชี ในการนี้จำเลยซึ่งเป็นทายาทและผู้รับมรดกของ ต. จะต้องเข้ามาแทนที่ ต. เพื่อการชำระบัญชี ปรากฏว่าทรัพย์สินตลอดจนบัญชีและเอกสารต่าง ๆ ของห้างหุ้นส่วนอยู่ในมือจำเลยและโจทก์ขอร้องให้จำเลยมาร่วมกันชำระบัญชี และแบ่งคืนเงินทุนแล้วแต่จำเลยเพิกเฉยเสีย ดังนี้ ถือว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้วโจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยขอให้ศาลตั้งผู้ชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนจำกัดได้ (อ้างฎีกาที่ 191/2501)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2454/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ห้างหุ้นส่วนเลิกแล้วยังผูกพันสัญญาได้ หากเป็นการกระทำเพื่อรักษาประโยชน์ของห้างฯ ก่อนการชำระบัญชี
แม้ห้างหุ้นส่วนจำกัดจะต้องเลิกกันโดยผลของกฎหมาย เนื่องจากหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดตาย แต่ก็พึงถือว่าห้างหุ้นส่วนจำกัดดังกล่าวยังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1249 การที่ตัวแทนของห้างหุ้นส่วนจำกัดซึ่งได้รับมอบหมายให้มีอำนาจหน้าที่ดูแลกิจการตลอดจนสั่งซื้อสินค้าต่าง ๆ มาดำเนินการค้าของห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้นได้สั่งซื้อกระดาษมาใช้ดำเนินกิจการด้านโรงพิมพ์ของห้างหุ้นส่วนจำกัดที่ยังค้างอยู่ตามที่ไปรับงานมา แม้จะมิใช่เป็นการกระทำเพื่อชำระบัญชีก็ตาม แต่ก็เป็นการกระทำเพื่อปกปักรักษาประโยชน์อันสมควรมิให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดซึ่งเป็นตัวการต้องเสียหายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 828ห้างหุ้นส่วนจำกัดดังกล่าวจึงต้องผูกพันตามสัญญาซื้อขายนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2216/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกห้างหุ้นส่วนและการชำระบัญชีเป็นเงื่อนไขก่อนฟ้องขอคืนเงินลงทุน
โจทก์จะฟ้องขอคืนเงินที่ลงหุ้นไป โดยมิได้ขอให้มีการเลิกห้างหุ้นส่วนและชำระบัญชี หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2216/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเรียกเงินคืนจากหุ้นส่วนก่อนการชำระบัญชีหลังเลิกหุ้นส่วนไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์จะฟ้องขอคืนเงินที่ลงหุ้นไป โดยมิได้ขอให้มีการเลิกห้างหุ้นส่วนและชำระบัญชี หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 173/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ห้างหุ้นส่วนสามัญเลิกสัญญาหลังผู้เป็นหุ้นส่วนเสียชีวิต และผลกระทบต่ออำนาจฟ้องเรียกชำระบัญชี
สามีโจทก์กับสามีจำเลยร่วมทุนกันจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญโดยไม่จดทะเบียนสามีโจทก์ตาย โจทก์รับมรดกและเข้าสวมสิทธิเป็นหุ้นส่วนแทนโดยความยินยอม ของสามีจำเลย ห้างหุ้นส่วนจึงยังไม่เลิกต่อมาสามีจำเลยตาย จำเลยเป็นผู้รับมรดกกลับปฏิเสธว่าสามีโจทก์มิได้เป็นหุ้นส่วนกับสามีจำเลย ดังนี้ ห้างหุ้นส่วนนั้นย่อมเลิกจากกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1055(5)
เมื่อห้างหุ้นส่วนเลิกกันแล้วก็จะต้องจัดการชำระบัญชี เว้นแต่จะได้ตกลงกันให้จัดการทรัพย์สินโดยวิธีอื่นในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันแม้จำเลยจะเข้าดำเนินการของห้างหุ้นส่วนจำเลยก็มิได้เป็นหุ้นส่วนกับโจทก์โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยแสดงบัญชีรายรับรายจ่าย
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยแสดงบัญชีรายรับรายจ่ายโดยมิได้ฟ้องขอให้ชำระบัญชี ศาลจะพิพากษาให้ชำระบัญชีไม่ได้เพราะเกินคำขอ
of 15