คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ชำระภาษี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 75 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 336/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระภาษีล่วงหน้า การประเมินภาษีใหม่ และสิทธิของเจ้าหนี้ในการรับชำระหนี้ภาษีหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
ประมวลรัษฎากร มาตรา 78 บัญญัติให้ผู้ประกอบการค้ามีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าจากรายรับของทุกเดือนภาษี โดยผู้ประกอบการค้าจะต้องยื่นแบบแสดงรายการต่อเจ้าพนักงานภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไปพร้อมกับชำระค่าภาษีตาม มาตรา 85 ทวิ และ86 ด้วยนั้นเป็นการชำระค่าภาษีการค้าล่วงหน้าไปก่อนตามรายการที่ยื่นไว้เท่านั้น ซึ่งเมื่อเจ้าพนักงานตรวจสอบรายการที่ยื่นเห็นว่าถูกต้องและพอใจ ก็ถือว่าเป็นการชำระหนี้ค่าภาษีโดยสมบูรณ์แล้ว ส่วนเงินค่าภาษีที่มิได้ยื่นแบบแสดงรายการหรือยื่นแบบแสดงรายการไว้ไม่ครบถ้วนบริบูรณ์จะถือว่าค่าภาษีสำหรับรายการดังกล่าวนั้นได้ถึงกำหนดชำระด้วยแล้วหาได้ไม่ เพราะเมื่อยังไม่ได้ยื่นแสดงรายการก็ยังไม่มีค่าภาษีที่ต้องชำระแต่เมื่อเจ้าพนักงานอาศัยอำนาจตาม มาตรา 19,20 ทำการไต่สวนและประเมินค่าภาษีใหม่สำหรับรายการตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องครบถ้วนและสั่งให้นำเงินภาษีไปชำระเพิ่มเติมภายใน 30 วันแล้วค่าภาษีที่จะต้องเสียเพิ่มเติมใหม่นี้ก็ย่อมถึงกำหนดชำระภายใน 30 วันนับแต่วันที่เจ้าพนักงานได้แจ้งไป
หนี้ค่าภาษีอากรลูกหนี้ที่จะต้องเสียและถึงกำหนดชำระภายหลังที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดนั้นกฎหมายยอมให้เจ้าหนี้เข้ามาขอรับชำระหนี้ได้ และเมื่อหนี้ค่าภาษีนี้เป็นหนี้ที่จะได้รับในลำดับก่อนหนี้อื่นๆแล้ว ก็หาทำให้การที่จะได้รับชำระหนี้นั้นเปลี่ยนแปลงไปแต่ประการใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 159/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระภาษีโดยชอบแล้ว ห้ามเรียกเก็บซ้ำ แม้เจ้าหน้าที่ทุจริต
จำเลยได้ชำระเงินภาษีให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ฝ่ายโจทก์โดยชอบด้วยระเบียบแบบแผนของทางราชการแล้ว หากปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ฝ่ายโจทก์ทุจริตเบียดบังเอาเงินรายนี้ไว้เป็นประโยชน์ส่วนตัว โดยทำเอกสารใบเสร็จรับเงินปลอมให้จำเลยไป เช่นนี้กรมสรรพากร โจทก์จะเรียกให้จำเลยชำระหนี้ภาษีรายนี้ซ้ำอีกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1026/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตรวจสอบภาษีและอำนาจสั่งให้ชำระเงินเพิ่ม กรณีผู้เสียภาษีชำระภาษีน้อยเกินจริง
โจทก์ชำระภาษีการซื้อโภคภัณฑ์ไว้ที่อำเภอเป็นจำนวนน้อยผิดสังเกต เจ้าหน้าที่สรรพากรตรวจพบเข้ามีความสงสัย จึงได้สั่งให้หมายเรียกโจทก์มาชี้แจงและนำบัญชีมาให้ตรวจสอบ โจทก์รู้ตัว จึงทำบัญชีขึ้นใหม่และนำภาษีการซื้อโภคภัณฑ์ที่ยังชำระขาดอยู่ไปชำระต่ออำเภอ ซึ่งถ้าเจ้าพนักงานไม่ออกหมายเรียกดังกล่าว โจทก์ก็คงไม่นำเงินภาษีที่ขาดอยู่ไปชำระให้ เช่นนี้เรียกได้ว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบพบว่า โจทก์ยังชำระเงินภาษีการซื้อโภคภัณฑ์ขาดอยู่ตามความหมายในประมวลรัษฎากร มาตรา191แล้ว ทางสรรพากรย่อมมีอำนาจสั่งให้โจทก์เสียเงินเพิ่มอีก 5 เท่าของภาษีที่ชำระขาดไว้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 583/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีภาษีเงินได้ที่เกี่ยวข้องกับการชำระภาษีแล้ว ศาลพิจารณาว่ามีทุนทรัพย์เกินอำนาจศาลแขวง
โจทก์ฟ้องประกอบด้วยคำขอท้ายฟ้อง แสดงให้เห็นว่าเจ้าพนักงานประเมินภาษีเงินได้ประเมินภาษีเงินได้ให้โจทก์ชำระเงิน 71936.10 บาทเป็นการไม่ถูกต้อง จึงขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งที่เจ้าพนักงานประเมินภาษีได้ประเมินให้โจทก์ชำระภาษี 71936.10 บาท ซึ่งโจทก์ได้นำเงินไปชำระแล้วนั้นเสีย ดังนี้ ผลของคำพิพากษาในเมื่อโจทก์ชนะคดีก็คือ โจทก์ย่อมได้รับเงินที่ชำระไว้แล้วคืน จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ตาม ป.ม.วิ.แพ่งมาตรา 150 เกินอำนาจศาลแขวงจะพิจารณาพิพากษาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1393-1394/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระภาษีขาออกสำเร็จเด็ดขาดเมื่อออกใบขนสินค้า แม้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีภายหลัง
ตามพระราชบัญญัติศุลกากร 2486 มาตรา 10 กำหนดเวลาชำระหนี้ค่าภาษีของผู้ส่งของออกต้องถือว่าตกอยู่ในขณะที่พนักงานเจ้าหน้าที่ออกใบขนสินค้าให้
(อ้างฎีกา 476/2492)
ใบขนสินค้านั้น กรมศุลกากรออกให้แก่ผู้ขนส่งสินค้าเมื่อชำระค่าภาษี วิธีการต่อมาก็เป็นแต่เพียงการที่โจทก์ต้องนำใบขนไปให้เจ้าพนักงานของกรมศุลกากรตรวจสอบกับสินค้าว่าตรงตามใบขนนั้นหรือไม่ แล้วควบคุมสินค้านั้นไปจนถึงท่าออกเรือ เพื่อป้องกันการสับเปลี่ยนเพิ่มเติมสินค้านั้นเท่านั้น กรมศุลกากรหามีอำนาจที่จะเพิกถอนใบขนที่ได้ออกให้แล้วนั้นไม่.
โจทก์ผู้ขนส่งสินค้าลงนามในบันทึกหลังใบขนสินค้าขาออกว่า "ถ้าคำนวณตามพิกัดอัตราที่ใช้อยู่ในวันที่ 7/5/89 ข้าพเจ้าได้ชำระเงินเพิ่มเติมอีก" นั้นหาใช่เป็นการรับสภาพหนี้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1393-1394/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระภาษีศุลกากรเสร็จเด็ดขาดเมื่อออกใบขนสินค้า แม้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีภายหลัง
ตามพระราชบัญญัติศุลกากร 2486 มาตรา 10 กำหนดเวลาชำระหนี้ค่าภาษีของผู้ส่งของออกต้องถือว่าตกอยู่ในขณะที่พนักงานเจ้าหน้าที่ออกใบขนสินค้าให้ (อ้างฎีกา 476/2492)
ใบขนสินค้านั้น กรมศุลกากรออกให้แก่ผู้ขนส่งสินค้าเมื่อชำระค่าภาษี วิธีการต่อมาก็เป็นแต่เพียงการที่โจทก์ต้องนำใบขนไปให้เจ้าพนักงานของกรมศุลกากรตรวจสอบกับสินค้าว่าตรงตามใบขนนั้นหรือไม่ แล้วควบคุมสินค้านั้นไปจนถึงท่าออกเรือ เพื่อป้องกันการสับเปลี่ยนเพิ่มเติมสินค้านั้นเท่านั้น กรมศุลกากรหามีอำนาจที่จะเพิกถอนใบขนที่ได้ออกให้แล้วนั้นไม่
โจทก์ผู้ขนส่งสินค้าลงนามในบันทึกหลังใบขนสินค้าขาออกว่า"ถ้าคำนวณตามพิกัดอัตราที่ใช้อยู่ในวันที่ 7/5/89ข้าพเจ้าได้ชำระเงินเพิ่มเติมอีก" นั้นหาใช่เป็นการรับสภาพหนี้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11028/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับผิดในหนี้ภาษีของเจ้าของใหม่หลังโอนทรัพย์สิน และอำนาจฟ้องคดีภาษีที่ต้องชำระภาษีให้ครบก่อน
ตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 45 บัญญัติว่า "ถ้าค่าภาษีค้างอยู่และยังมิได้ชำระขณะเมื่อทรัพย์สินได้โอนกรรมสิทธิ์ไปเป็นของเจ้าของใหม่โดยเหตุใดๆ ก็ตาม เจ้าของคนเก่าและคนใหม่เป็นลูกหนี้ค่าภาษีนั้นร่วมกัน" เมื่อบริษัท บ. เจ้าของโรงเรือนพิพาทคนเก่าผู้รับประเมินเป็นหนี้ค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินและยังมิได้ชำระ โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์จึงเป็นเจ้าของคนใหม่ ต้องรับผิดในหนี้ค่าภาษีร่วมกัน โจทก์ฟ้องคดีนี้ต่อศาลภาษีอากรกลาง โดยประการสำคัญก็เพื่อให้จำเลยยกเลิกการเรียกเก็บภาษีจากโจทก์ตามนัยมาตรา 7 (1) แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 ซึ่งมาตรา 8 บัญญัติไว้ว่า จะฟ้องคดีในศาลภาษีอากรได้ก็ต่อเมื่อได้มีการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลา เช่นว่านั้น คดีโจทก์เป็นเรื่องภาษีโรงเรือนและที่ดินตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 โจทก์เป็นเจ้าของคนใหม่ ย่อมอยู่ในฐานะเดียวกับเจ้าของคนเก่าผู้รับประเมิน โจทก์จึงต้องปฏิบัติตามมาตรา 39 แห่งบทกฎหมายดังกล่าว ซึ่งห้ามมิให้ศาลประทับเป็นฟ้อง เว้นแต่จะเป็นที่พอใจศาลว่าผู้รับประเมินได้ชำระค่าภาษีทั้งสิ้น เมื่อโจทก์ยังมิได้ชำระค่าภาษีเสียก่อน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8310/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนำเข้า: ความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อวางหลักประกันฯ ไม่ใช่เมื่อชำระภาษี
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 78/2 ไม่ได้ให้สิทธิแก่ผู้ประกอบการที่วางหลักประกันโดยได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนไว้เป็นพิเศษ ความรับผิดของโจทก์สำหรับสินค้าเครื่องจักรที่ไม่ได้รับอนุมัติให้ยกเว้นภาษีอากรจึงมีฐานะเช่นเดียวกับผู้นำเข้าที่วางหลักประกันอากรขาเข้าอื่น กล่าวคือ ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในส่วนนี้เกิดขึ้นเมื่อโจทก์วางหลักประกันอากรขาเข้า เมื่อโจทก์ยังไม่ได้ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มในเวลาที่โจทก์วางหลักประกันอากรขาเข้า โจทก์คงนำเงินไปชำระค่าภาษีอากรภายในกำหนดเวลา 30 วัน นับแต่ได้รับแจ้งการประเมิน จึงยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้ชำระค่าภาษีอากรครบถ้วนในกำหนดเวลาตามมาตรา 78/2 โจทก์จึงต้องรับผิดชำระเบี้ยปรับตามมาตรา 89 (3) และรับผิดชำระเงินเพิ่มตามมาตรา 89/1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8301/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนำเข้ากรณีวางหลักประกันและการชำระภาษีล่าช้า
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 78/2 ไม่ได้ให้สิทธิแก่ผู้ประกอบการที่ได้รับบัตรส่งเสริมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนในกรณีนำเข้าสินค้าที่ไม่ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าเป็นการเฉพาะ ความรับผิดของโจทก์สำหรับสินค้าเครื่องจักรที่ไม่ได้รับอนุมัติให้ยกเว้นภาษีอากรจึงมีฐานะเช่นเดียวกับผู้นำเข้าที่วางหลักประกันอากรขาเข้าอื่น กล่าวคือ ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในส่วนนี้เกิดขึ้นเมื่อโจทก์วางหลักประกันอากรขาเข้า แม้โจทก์จะนำเงินไปชำระค่าภาษีอากรภายในกำหนดเวลา 30 วัน นับแต่ได้รับแจ้งการประเมินก็ตาม ก็ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้ชำระค่าภาษีอากรครบถ้วนในกำหนดเวลาตามมาตรา 78/2 โจทก์จึงต้องรับผิดชำระเบี้ยปรับตาม ป.รัษฎากร มาตรา 89 (3) และรับผิดชำระเงินเพิ่มตาม ป.รัษฎากร มาตรา 89/1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9840/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินที่มิได้แสดงเหตุผลตามกฎหมาย และผลของการชำระภาษีตามประเมินก่อนฟ้อง
ที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้จำเลยคืนเงินค่าภาษีจำนวน 2,213,493 บาท แต่หนังสือแจ้งการประเมินและคำชี้ขาดให้โจทก์ชำระค่าภาษี 6,629,281 บาท และโจทก์อุทธรณ์ว่า การที่ศาลภาษีอากรกลางไม่พิพากษาให้จำเลยคืนเงินทั้งหมดย่อมแสดงว่าหนังสือแจ้งการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินและคำชี้แจงของจำเลยไม่ใช่คำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบทั้งหมด แต่เป็นคำสั่งทางปกครองที่ชอบบางส่วน ซึ่งไม่น่าจะเป็นไปได้นั้น เห็นว่า มาตรา 39 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 กำหนดเป็นเงื่อนไขว่าห้ามมิให้ศาลประทับฟ้องเว้นแต่ผู้รับการประเมินจะชำระค่าภาษีเสร็จสิ้นแล้ว โจทก์ต้องชำระค่าภาษีก่อนฟ้องตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด ดังนั้น หากไม่สั่งคืนภาษีส่วนนี้ให้แก่โจทก์ จำเลยอาจไม่มีความจำเป็นต้องดำเนินการให้มีคำสั่งทางปกครองที่ถูกต้องตามกฎหมายต่อไป เพราะโจทก์ได้ชำระค่าภาษีตามประเมินแก่จำเลยแล้ว ฉะนั้น การให้จำเลยคืนเงินเพียงบางส่วนตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ เป็นการพิพากษาให้ไม่เกินกว่าที่โจทก์มีคำขอ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17 มิใช่เป็นกรณีที่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยว่าคำสั่งทางปกครองบางส่วนไม่ชอบด้วยกฎหมาย
of 8