คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ชำระเงิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 189 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6351/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินยังไม่โอนจนกว่าชำระเงินครบถ้วน สัญญาซื้อขายระบุเงื่อนไขชัดเจน
สัญญาซื้อขายรถแทรกเตอร์ระบุว่า กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินยังเป็นของผู้ขายจนกว่าผู้ซื้อจะชำระเงินให้ผู้ขายจนครบถ้วนแล้ว ดังนี้กรรมสิทธิ์ในรถแทรกเตอร์ยังไม่โอนไปยังผู้ซื้อจนกว่าผู้ซื้อจะชำระราคาครบถ้วนแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 387/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงชำระเงินส่วนหนึ่งของราคาที่ดินมีผลเหนือการอ้างว่าเป็นเงินมัดจำ
การที่สัญญาจะซื้อขายที่ดินทั้งสองฉบับระบุไว้ชัดแจ้งว่าจำนวนเงินที่จะชำระในวันที่ 25 พฤษภาคม 2530 หรือเลื่อนกำหนดไปชำระในวันที่ 17 สิงหาคม 2530 เป็นส่วนหนึ่งของราคาที่ดินการที่จำเลยนำสืบพยานบุคคลว่า เงินจำนวนดังกล่าวเป็นเงินมัดจำจึงเป็นการขัดกับข้อความในสัญญาจะซื้อขายที่ดิน ต้องห้ามมิให้รับฟังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2122/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องช่วงและดอกเบี้ยจากการชำระค่าสินไหมทดแทน: ผู้รับประกันภัยมีสิทธิคิดดอกเบี้ยนับแต่วันชำระค่าสินไหมทดแทน
โจทก์จ่ายเงินแทน ป. ผู้เอาประกันภัยครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2530 โจทก์จึงเป็นผู้รับช่วงสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 880 สิทธิของโจทก์ย่อมเกิดขึ้นนับตั้งแต่วันที่โจทก์ได้ชำระค่าสินไหมทดแทนเป็นต้นไปโดยมิต้องบอกกล่าวจึงชอบที่จะคิดดอกเบี้ยได้นับแต่วันที่โจทก์ชำระค่าสินไหมทดแทนเป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2002/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความภาษีอากร: ศุลกากร vs. ภาษีทั่วไป, นับจากวันชำระเงินไม่ใช่คดีอาญา
อายุความในการเรียกค่าภาษีอากรตาม พ.ร.บ. ศุลกากรพ.ศ.2469 เป็นเรื่องอายุความเฉพาะกรณีที่กรมศุลกากรเรียกเงินอากรขาดเพราะเหตุตาม มาตรา 10 วรรคสาม แต่กรณีที่จำเลยเจตนาหลีกเลี่ยงค่าภาษี-อากร ซึ่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ ต้องใช้อายุ-ความทั่วไปเกี่ยวกับการเรียกค่าภาษีอากร ตาม ป.พ.พ. มาตรา 167 เดิม คือสิบปี นับเริ่มแต่ขณะที่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้ ป.พ.พ. มาตรา 169 เดิม
ค่าภาษีการค้าและค่าภาษีบำรุงเทศบาลซึ่งเป็นภาษีการค้าด้วยนั้น ประมวลรัษฎากร มิได้บัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ ต้องบังคับตามป.พ.พ. มาตรา 167 เดิม และ 169 เดิม มีอายุความสิบปี นับเริ่มแต่ขณะที่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้ จำเลยชำระค่าภาษีและวางเงินประกันค่าภาษีวันที่ 24 ธันวาคม 2518 อายุความจึงเริ่มนับแต่วันนี้เป็นต้นไป ตามประมวล-รัษฎากร มาตรา 78 เบญจ (1) และประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยภาษี-การค้า (ฉบับที่ 7)
การกระทำผิดในทางอาญา หาได้ก่อให้เกิดหนี้ค่าภาษีอากรในทางแพ่งในขณะเดียวกับการกระทำผิดทางอาญาโดยตรงไม่ แต่หนี้เกิดเพราะการนำเข้าสำเร็จและกฎหมายให้ถือว่าได้ขายสินค้านั้น ๆ คดีนี้จึงมิใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา อายุความสิบปีนับแต่วันที่ 24 ธันวาคม 2518 หาใช่นับแต่คดีอาญาถึงที่สุดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 793/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขาย: การชำระเงินค่าซื้อขาย vs. เงินมัดจำ และผลของการบอกเลิกสัญญา
สัญญาวางมัดจำจะซื้อจะขายที่ดินระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 2เป็นสัญญาจะซื้อจะขายเพราะมีรายการวางมัดจำเป็นเงิน 100,000 บาท และมีรายการกำหนดวันเวลาชำระเงินไว้ครบถ้วนโดยแบ่งชำระเงิน 2 งวด ตามสัญญาข้อ 2.1 และ 2.2 ต่อมาเมื่อถึงกำหนดชำระเงินงวดแรก ผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาเพิ่มเงินมัดจำขึ้นอีก แต่ข้อความในสัญญาระบุชัดว่าผู้จะขายได้รับเงินจำนวน 2,382,261 บาท ไว้จากผู้จะซื้อซึ่งมีจำนวนเท่ากับจำนวนเงินที่ระบุไว้ในสัญญาวางมัดจำจะซื้อจะขายข้อ 2.1 แม้ผู้ร้องจะมีพยานมาเบิกความสนับสนุนอธิบายสัญญาเพิ่มเงินมัดจำว่าเงินจำนวนดังกล่าวเป็นเงินมัดจำก็ขัดกับข้อความในเอกสารฟังได้ว่าสัญญาเพิ่มเงินมัดจำคือหลักฐานการชำระเงินค่าซื้อขายที่ดินตามสัญญาวางมัดจำจะซื้อจะขายนั่นเอง ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิริบเงิน จำนวน 2,382,261 บาท ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 378(2) ได้ เมื่อได้ความว่าจำเลยที่ 2 บอกเลิกสัญญาวางมัดจำจะซื้อจะขายแล้ว ผู้ร้องและจำเลยที่ 2 ต่างต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมตามมาตรา 391 วรรคแรก ผู้ร้องจึงต้องคืนเงินจำนวนดังกล่าวแก่จำเลยที่ 2 และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรียกให้ผู้ร้องชำระเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับแต่วันที่บอกเลิกสัญญาดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 676/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวางหนังสือค้ำประกันค่าภาษีอากร ไม่ถือเป็นการชำระเงินประกันตามกฎหมาย ทำให้ผู้รับของเข้าต้องรับผิดเสียเงินเพิ่ม
การวางหนังสือค้ำประกันของธนาคารวางเป็นประกันนั้นพระราชบัญญัติศุลกากรฯ ไม่ได้บัญญัติให้มีผลเช่นเดียวกับวางเงินประกัน จึงไม่อาจถือเสมือนว่าผู้นำของเข้าได้ชำระเงินอากรที่ได้แจ้งภายในเวลาที่กำหนดดังเช่น วางเงินประกัน ตามมาตรา 112 ทวิวรรค 2 ดังนั้น เมื่อเจ้าหน้าที่โจทก์เรียกเก็บเงินจากธนาคารแล้วจำเลยไม่ชำระค่าอากรที่ขาดก็ย่อมต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4024/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ชำระค่าขึ้นศาลในอุทธรณ์ ส่งผลให้ศาลไม่รับอุทธรณ์ได้
จำเลยร่วมยื่นอุทธรณ์และนำเงินค่าขึ้นศาลและค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แทนคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมาวางศาลแล้ว ต่อมาจำเลยที่ 1 และที่ 2 ยื่นอุทธรณ์ดังนี้ อุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ที่ 2 กับของจำเลยร่วมแต่ละฉบับต่างเป็นคำฟ้องตามมาตรา1 (3) แห่ง ป.วิ.พ. และเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ของแต่ละคน ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ที่ฟ้องของแต่ละคนในเวลายื่นฟ้องตามตาราง1 ท้าย ป.วิ.พ. เมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 2 ไม่เสียเงินค่าขึ้นศาลภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์จำเลยที่ 1 ที่ 2 จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3932/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอุทธรณ์คำสั่งเพิกถอนการชำระเงินจากการประมูล และค่าขึ้นศาลสำหรับคดีที่คำขอไม่สามารถคำนวณเป็นราคาเงินได้
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องที่ขอให้เพิกถอนคำบังคับที่บังคับให้ผู้ร้องชำระเงินในส่วนที่ขาดไม่คุ้มราคาและค่าขายทอดตลาดเดิมซึ่งผู้ร้องเป็นผู้สู้ราคาสูงสุด ผู้ร้องย่อมมีสิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งดังกล่าวต่อศาลอุทธรณ์ตามป.วิ.พ.มาตรา 223 ได้ กรณีนี้เป็นคดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามข้อ (2) ในตาราง 1ท้าย ป.วิ.พ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2656/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างเหมา: การชำระเงินค่าจ้างเมื่อผลงานเสร็จและผ่านการตรวจรับ แม้จำเลยยังไม่ได้รับเงินจากผู้ว่าจ้าง
ข้อความในสัญญาจ้างเหมาก่อสร้าง ข้อ 5 ที่ว่า "ผู้ว่าจ้าง(จำเลย) ตกลงจ่ายเงินค่าจ้างให้แก่ผู้รับจ้าง (โจทก์) เป็นจำนวนเงิน 36,977 บาท เมื่อผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้างตกลงทำสัญญาจ้างเหมา เงินส่วนที่เหลือจะจ่ายเป็นงวด งวดละ 1 เดือน ตามผลงานที่ผู้รับจ้างทำเสร็จจริงและได้ผ่านการตรวจรับงานจากบริษัท ว. และและวิศวกรผู้ควบคุมงานแล้ว โดยผู้ว่าจ้างจะจ่ายเงินให้แก่ผู้รับจ้างภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ผู้ว่าจ้างได้รับเงินงวดนั้นจากบริษัท ว." นั้น สามารถแยกพิจารณาได้เป็น 2 ส่วน ส่วนแรกที่ว่า "เงินส่วนที่เหลือจะจ่ายเป็นงวด งวดละ 1 เดือน ตามผลงานที่ผู้รับจ้างทำเสร็จจริง และได้ผ่านการตรวจรับงานตามที่ระบุไว้ โจทก์ก็ไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้าง แต่ข้อความส่วนที่สองที่ว่า" โดยผู้ว่าจ้างจะจ่ายเงินให้แก่ผู้รับจ้างภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ผู้ว่าจ้างได้รับเงินงวดนั้นจากบริษัทว." หาใช่เงื่อนไขบังคับก่อนที่จะกำหนดการชำระเงินค่าจ้างไม่ เป็นแต่เพียงข้อตกลงที่มุ่งหมายให้จำเลยเร่งรัดให้บริษัท ว. ชำระค่าก่อสร้างแก่จำเลยตามสัญญาที่จำเลยทำกับบริษัท ว. เพื่อนำเงินมาชำระแก่โจทก์เมื่อโจทก์ทำงานเสร็จและผ่านการตรวจรับงานตามเงื่อนไขในสัญญาส่วนแรกแล้ว เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ทำงานเสร็จส่งมอบงานและมีการตรวจรับงานตามเงื่อนไขแล้ว จำเลยต้องชำระค่าจ้างให้โจทก์ จำเลยจะอ้างว่าจำเลยยังไม่ได้รับเงินงวดจากบริษัท ว. จึงไม่ต้องชำระค่าจ้างให้โจทก์หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2353/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรส: ที่ดินซื้อหลังแต่งงาน แม้ชำระเงินส่วนตัวก่อน แต่ถือเป็นสินสมรส
ที่ดินและบ้านเป็นอสังหาริมทรัพย์ ขณะที่ผู้ร้องทำสัญญาจะซื้อขายกับผู้ขาย ทรัพย์สินดังกล่าวยังเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ขายกรรมสิทธิ์จะตกเป็นของผู้ร้องต่อเมื่อผู้ร้องได้จดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์จากผู้ขายแล้ว เมื่อผู้ร้องได้ชำระเงินส่วนใหญ่และจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทจากผู้ขายภายหลังที่ได้จดทะเบียนสมรสกับจำเลยแล้ว ต้องถือว่าที่ดินและบ้านพิพาทเป็นทรัพย์สินที่ผู้ร้องได้มาในระหว่างสมรสจึงเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1474(1)
of 19