พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3,024 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5521/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาโต้แย้งข้อเท็จจริงขัดกับคำรับสารภาพ และข้อยกเว้นโทษฐานกระทำชำเราเด็ก
ฎีกาของจำเลยที่ 1 ที่เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ขัดกับคำรับสารภาพของจำเลยที่ 1 ในศาลชั้นต้น แม้จำเลยที่ 1 จะยกขึ้นอุทธรณ์ ก็ถือว่าเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ต้องห้ามมิให้จำเลยที่ 1 ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคท้าย ที่บัญญัติให้การกระทำที่จะทำให้ผู้กระทำความผิดไม่ต้องรับโทษนั้นจะต้องเป็นการกระทำชำเราเด็กหญิงอายุกว่าสิบสามปี แต่ยังไม่เกินสิบห้าปี โดยเด็กหญิงนั้นยินยอมและภายหลังศาลอนุญาตให้ชายเด็กหญิงนั้นสมรสกัน การที่จำเลยที่ 1 กระทำชำเราผู้เสียหายอันมีลักษณะเป็นการโทรมเด็กหญิงและเด็กหญิงนั้นไม่ยินยอม จึงไม่รับยกเว้นโทษ
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคท้าย ที่บัญญัติให้การกระทำที่จะทำให้ผู้กระทำความผิดไม่ต้องรับโทษนั้นจะต้องเป็นการกระทำชำเราเด็กหญิงอายุกว่าสิบสามปี แต่ยังไม่เกินสิบห้าปี โดยเด็กหญิงนั้นยินยอมและภายหลังศาลอนุญาตให้ชายเด็กหญิงนั้นสมรสกัน การที่จำเลยที่ 1 กระทำชำเราผู้เสียหายอันมีลักษณะเป็นการโทรมเด็กหญิงและเด็กหญิงนั้นไม่ยินยอม จึงไม่รับยกเว้นโทษ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5244/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำพิพากษาเล็กน้อยโดยศาลอุทธรณ์ ทำให้จำกัดสิทธิในการฎีกาในข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตาม ป.อ. มาตรา 91 คงจำคุกกระทงละ 5 ปี เพิ่มโทษหนึ่งในสามตาม ป.อ. มาตรา 92 เป็นจำคุก 13 ปี 4 เดือน ริบเมทแอมเฟตามีนที่เหลือจากการตรวจพิสูจน์ของกลาง ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้เป็นว่าการกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทให้ลงโทษฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน จำคุก 4 ปี เพิ่มโทษหนึ่งในสามเป็นจำคุก 5 ปี 4 เดือน นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นการแก้ไขเล็กน้อย คดีจึงต้องห้ามโจทก์มิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคสอง ที่โจทก์ฎีกาว่าพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบฟังได้ว่าเมทแอมเฟตามีนอีก 1 เม็ด ที่พบข้างโถส้วมเป็นของจำเลยด้วย ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนตามที่โจทก์ฟ้องนั้น เป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ที่ฟังว่าข้อเท็จจริงยังไม่เพียงพอให้รับฟังว่าเมทแอมเฟตามีนอีก 1 เม็ด ที่พบข้างโถส้วมเป็นของจำเลย เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวข้างต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5189/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทุนทรัพย์คดีแพ่ง: การคำนวณจากสิทธิครอบครองที่ดินแต่ละแปลง และข้อจำกัดการอุทธรณ์/ฎีกาตามมูลค่า
แม้คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ 3 ถึงที่ 6 จะมีทั้งคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้และคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้รวมอยู่ด้วย แต่เมื่อจำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้ว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณประโยชน์ มิใช่ที่ดินที่โจทก์ที่ 3 ถึงที่ 6 มีสิทธิครอบครอง ประเด็นข้อพิพาทที่เป็นประเด็นหลักจึงมีว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ที่ 3 ถึงที่ 6 หรือเป็นที่สาธารณประโยชน์ หากศาลพิพากษาให้โจทก์ที่ 3 ถึงที่ 6 ชนะคดีย่อมมีผลทำให้โจทก์ที่ 3 ถึงที่ 6 ได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทตามคำขอท้ายฟ้อง ซึ่งถือว่าคำขอส่วนนี้เป็นคำขอหลักหรือคำขออันเป็นประธาน ส่วนคำขออื่นถือว่าเป็นคำขอต่อเนื่องหรือคำขอรอง เมื่อคำขอหลักหรือคำขออันเป็นประธานเป็นคำขอที่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ย่อมถือได้ว่าคดีนี้เป็นคดีมีทุนทรัพย์ โดยคำนวณทุนทรัพย์จากราคาที่ดินพิพาทแต่ละแปลงที่โจทก์แต่ละคนครอบครองเพราะตามรูปคดีเป็นเรื่องที่โจทก์แต่ละคนสามารถใช้สิทธิเฉพาะตัวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 แยกต่างหากจากกันได้ มิใช่ถือตามราคาที่ดินพิพาททั้งหมดทุกแปลงที่ฟ้องรวมกันมา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5189/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทุนทรัพย์พิพาทเกินอำนาจศาลอุทธรณ์/ฎีกา, ข้อจำกัดการอุทธรณ์/ฎีกาในข้อเท็จจริง, การคำนวณทุนทรัพย์จากสิทธิเฉพาะตัว
โจทก์ที่ 3 ถึงที่ 6 ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 6 ร่วมกันนำชี้ที่ดินเพื่อออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงโดยไม่ถูกต้อง เป็นเหตุให้มีการออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงทับที่ดินพิพาทส่วนที่โจทก์ที่ 3 ถึงที่ 6 เป็นผู้มีสิทธิครอบครอง และจำเลยที่ 1 และที่ 3 ถึงที่ 6 เข้าไปขุดดินในที่ดินพิพาทส่วนที่โจทก์ที่ 4 ถึงที่ 6 ครอบครอง เป็นเหตุให้โจทก์ที่ 4 ถึงที่ 6 ใช้ประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวไม่ได้และต้นไม้ที่ปลูกไว้เสียหาย ขอให้มีคำสั่งว่าโจทก์ที่ 3 ถึงที่ 6 เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ห้ามจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 6 เกี่ยวข้อง ให้เพิกถอนหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงฉบับดังกล่าวโดยให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 6 นำชี้แนวเขตให้ถูกต้อง และจำเลยที่ 1 และที่ 3 ถึงที่ 6 ใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ที่ 4 ถึงที่ 6 พร้อมกับปรับสภาพที่ดินพิพาทให้ใช้ประโยชน์ได้ตามปกติ หากศาลพิพากษาให้โจทก์ที่ 3 ถึงที่ 6 ชนะคดีย่อมมีผลทำให้โจทก์ที่ 3 ถึงที่ 6 ได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทซึ่งถือว่าคำขอส่วนนี้เป็นคำขอหลักหรือคำขออันเป็นประธาน ส่วนคำขออื่นถือว่าเป็นคำขอต่อเนื่องหรือคำขอรอง เมื่อคำขอหลักเป็นคำขอที่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ย่อมถือได้ว่าเป็นคดีมีทุนทรัพย์โดยคำนวณทุนทรัพย์จากราคาที่ดินพิพาทแต่ละแปลงที่โจทก์แต่ละแปลงที่โจทก์แต่ละคนครอบครอง เพราะเป็นเรื่องที่โจทก์แต่ละคนสามารถใช้สิทธิเฉพาะตัวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 แยกต่างหากจากกันได้และเมื่อรวมกับค่าเสียหายที่โจทก์ที่ 4 ถึงที่ 6 เรียกร้องมาอีกส่วนหนึ่งด้วยแล้วปรากฏว่าคดีในส่วนของโจทก์ที่ 3 ถึงที่ 6 คำนวณทุนทรัพย์ได้เป็นเงิน 25,000 บาท 32,500 บาท 45,000 บาท และ 150,000 บาท ตามลำดับ ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์สำหรับคดีในส่วนของโจทก์ที่ 3 ถึงที่ 5 จึงไม่เกิน 50,000 บาท โจทก์ที่ 3 และที่ 5 ย่อมไม่อาจอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้เพราะต้องห้ามตามมาตรา 224 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5187/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลเพิกถอนการไม่รับฎีกาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเหตุขอขยายระยะเวลาฎีกาที่ไม่เป็นเหตุพิเศษ
วันที่ 25 ตุลาคม 2545 จำเลยที่ 1 ขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาถึงวันที่ 4 พฤศจิกายน 2545 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้อง วันที่ 31 ตุลาคม 2545 จำเลยทั้งสองยื่นฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2545 ว่าจำเลยทั้งสองยื่นฎีกาเกินกำหนดเวลาที่ศาลอนุญาตให้ขยายถึงวันที่ 28 ตุลาคม 2545 จึงไม่รับ วันที่ 25 พฤศจิกายน 2545 จำเลยทั้งสองอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกาต่อมาวันที่ 27 พฤศจิกายน 2545 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำร้องขอขยายระยะเวลาฎีกาฉบับลงวันที่ 25 ตุลาคม 2545 ว่าเพื่อให้คดีเป็นไปโดยรวดเร็ว จึงถือกรณีการสั่งตามคำร้องเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2545 เป็นไปโดยหลงผิด จึงให้เพิกถอนคำสั่งเดิมและอนุญาตให้ขยายระยะเวลาฎีกาถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2545 และสั่งในฎีกาของจำเลยทั้งสองฉบับลงวันที่ 31 ตุลาคม 2545 ว่า เพื่อมิให้การดำเนินคดีล่าช้าเป็นผลเสียแก่คู่ความ จึงถือว่ากรณีเป็นการสั่งโดยผิดหลง อาศัยอำนาจตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 เพิกถอนคำสั่งไม่รับฎีกา สั่งใหม่ให้รับฎีกาของจำเลยทั้งสอง แล้วศาลชั้นต้นสั่งในอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกาว่า เนื่องจากศาลรับฎีกาของจำเลยทั้งสอง กรณีจึงไม่มีเหตุตามอุทธรณ์อีก อุทธรณ์ไม่เป็นสาระแก่คดีจึงไม่รับ การที่ศาลชั้นต้นเพิ่งมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งเดิมที่ยกคำร้องขอขยายระยะเวลาฎีกาของจำเลยที่ 1 และสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยทั้งสองเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2545 มีลักษณะเป็นการเพิกถอนคำสั่งเดิมย้อนหลังแทนที่จะส่งอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวมายังศาลฎีกาเพื่อพิจารณาสั่งตามมาตรา 252 และเหตุผลที่สั่งเพิกถอนคำสั่งเดิมไม่ใช่เกิดจากการผิดหลงไม่ต้องด้วยมาตรา 27 จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยตามมาตรา 247 ประกอบมาตรา 236 และคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกาก็ไม่ชอบด้วยเช่นกัน ศาลฎีกาให้เพิกถอนคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวตามมาตรา 243 (1) และมาตรา 27 ประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 247
จำเลยที่ 1 อ้างเหตุขอขยายระยะเวลาฎีกาว่า ทนายจำเลยที่ 1 จัดทำฎีกาเสร็จแล้ว แต่ต้องนำเสนอกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 1 ตรวจก่อน ปรากฏว่ากรรมการดังกล่าวเดินทางไปประกอบธุรกิจที่ต่างจังหวัด ทนายจำเลยที่ 1 จึงไม่สามารถเสนอให้ตรวจได้เหตุดังกล่าวเป็นเรื่องธุรกิจของจำเลยที่ 1 เอง มิใช่พฤติการณ์พิเศษที่จะขยายระยะเวลาฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23
จำเลยที่ 1 อ้างเหตุขอขยายระยะเวลาฎีกาว่า ทนายจำเลยที่ 1 จัดทำฎีกาเสร็จแล้ว แต่ต้องนำเสนอกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 1 ตรวจก่อน ปรากฏว่ากรรมการดังกล่าวเดินทางไปประกอบธุรกิจที่ต่างจังหวัด ทนายจำเลยที่ 1 จึงไม่สามารถเสนอให้ตรวจได้เหตุดังกล่าวเป็นเรื่องธุรกิจของจำเลยที่ 1 เอง มิใช่พฤติการณ์พิเศษที่จะขยายระยะเวลาฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5187/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนคำสั่งศาลย้อนหลังและการส่งอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับฎีกาไปยังศาลฎีกา
จำเลยทั้งสองอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวพร้อมกับมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งเดิมที่ยกคำร้องขอขยายระยะเวลาฎีกาของจำเลยที่ 1 และไม่รับฎีกาของจำเลยทั้งสองแล้วมีคำสั่งใหม่ให้ขยายระยะเวลาฎีกาและรับฎีกาของจำเลยทั้งสอง โดยอ้างว่า เพื่อให้คดีเป็นไปโดยรวดเร็ว จึงถือว่าคำสั่งเดิมดังกล่าวเป็นไปโดยผิดหลงนั้น มีลักษณะเป็นการเพิกถอนคำสั่งเดิมย้อนหลังหลังจากจำเลยทั้งสองยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับฎีกาของจำเลยทั้งสอง โดยเหตุผลที่สั่งเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวไม่ใช่เกิดจากการผิดหลงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 เมื่อจำเลยทั้งสองอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับฎีกา ศาลชั้นต้นต้องส่งอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับฎีกามายังศาลฎีกาเพื่อพิจารณาสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 252 คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับฎีกาและคำสั่งเพิกถอนดังกล่าวจึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 247 และมาตรา 236
เหตุที่จำเลยที่ 1 อ้างเพื่อขอขยายระยะเวลาฎีกาว่า จัดทำฎีกาเสร็จแล้ว แต่ต้องนำเสนอกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 1 ตรวจก่อน เป็นเรื่องธุรกิจของจำเลยที่ 1 เอง มิใช่พฤติการณ์พิเศษตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23
เหตุที่จำเลยที่ 1 อ้างเพื่อขอขยายระยะเวลาฎีกาว่า จัดทำฎีกาเสร็จแล้ว แต่ต้องนำเสนอกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 1 ตรวจก่อน เป็นเรื่องธุรกิจของจำเลยที่ 1 เอง มิใช่พฤติการณ์พิเศษตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4903/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นฎีกาเกินกำหนดเวลา แม้ศาลชั้นต้นรับคำร้อง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 ให้คู่ความฟังเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2546 ครบกำหนดยื่นฎีกาวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2546 จำเลยยื่นคำร้องลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2546 ขอขยายเวลายื่นฎีกาอีก 30 วัน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในวันดังกล่าวว่า อนุญาตให้ถึงวันที่ 3 มีนาคม 2546 ซึ่งวันที่ 3 มีนาคม 2546 ไม่ใช่วันหยุดประจำสัปดาห์หรือวันหยุดราชการ จำเลยจึงต้องยื่นฎีกาไม่เกินวันที่ 3 มีนาคม 2546 จำเลยยื่นฎีกาวันที่ 4 มีนาคม 2546 ฎีกาของจำเลยจึงยื่นเมื่อพ้นกำหนดเวลาตามที่ศาลชั้นต้นอนุญาตแล้ว แม้ว่าศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งรับฎีกา ฎีกาของจำเลยก็ไม่ชอบด้วยกฎหมายที่ศาลฎีกาจะรับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4903/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากยื่นฎีกาเกินกำหนด แม้ศาลชั้นต้นจะรับเรื่องไว้
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 ให้คู่ความฟังเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2546 ครบกำหนดยื่นฎีกาวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2546 จำเลยยื่นคำร้องลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2546 ขอขยายเวลายื่นฎีกาอีก 30 วัน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในวันดังกล่าวว่า อนุญาตให้ถึงวันที่ 3 มีนาคม 2546 ซึ่งวันที่ 3 มีนาคม 2546 ไม่ใช่วันหยุดประจำสัปดาห์หรือวันหยุดราชการ จำเลยจึงต้องยื่นฎีกาไม่เกินวันที่ 3 มีนาคม 2546 จำเลยยื่นฎีกาวันที่ 4 มีนาคม 2546 ฎีกาของจำเลยจึงยื่นเมื่อพ้นกำหนดเวลาตามที่ศาลชั้นต้นอนุญาตแล้ว แม้ว่าศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งรับฎีกา ฎีกาของจำเลยก็ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 45/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาโดยคนอนาถา ต้องชำระเงินตามคำพิพากษาหรือหาประกัน แม้ยกเว้นค่าธรรมเนียม
การอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 252 ต้องปฏิบัติตามมาตรา 234 ประกอบมาตรา 247 คือนอกจากเสียค่าธรรมเนียมศาลชั้นฎีกา และนำค่าธรรมเนียมทั้งปวงที่ต้องชดใช้ตามมาตรา 229 มาวางศาลแล้ว จะต้องนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลชั้นต้นด้วย จำเลยทั้งสองได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นฎีกาแม้ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลชั้นฎีกา และไม่ต้องนำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงที่ต้องชดใช้มาวางศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 157 แต่บทบัญญัติดังกล่าวไม่ครอบคลุมถึงเงินที่จะต้องชำระตามคำพิพากษาหรือการหาประกันให้ไว้ต่อศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยทั้งสองวางเงินหรือหาประกันภายใน 20 วัน จำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติและไม่ใช่กรณีที่อาจขออนาถาได้ คำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยทั้งสองจึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4289/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาในคดีที่ศาลชั้นต้นและอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องในชั้นไต่สวนมูลฟ้องเป็นเรื่องที่กฎหมายห้าม
ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วเห็นว่าคดีโจทก์ไม่มีมูลพิพากษายกฟ้อง ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกฟ้องโจทก์ซึ่งต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาไม่ว่าจะเป็นปัญหาข้อเท็จจริงหรือปัญหาข้อกฎหมาย และแม้คดีนี้จะเป็นการพิจารณาชั้นไต่สวนมูลฟ้องก็ตาม คดีก็ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220