พบผลลัพธ์ทั้งหมด 247 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6863/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโต้แย้งดุลพินิจศาลในการรอการลงโทษ จำเลยต้องโทษจำคุกไม่เกินสองปี จึงห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 326จำคุกกระทงละ 1 เดือน รวม 3 กระทง จำคุก 3 เดือน ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้เป็นว่าให้ปรับจำเลยกระทงละ 1,000 บาท อีกสถานหนึ่ง รวม 3 กระทง ปรับ3,000 บาท โทษจำคุกให้รอไว้มีกำหนด 2 ปี แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นให้รอการลงโทษแก่จำเลย เป็นการแก้ไขมาก แต่ก็ถือว่าศาลอุทธรณ์ภาค 1 ยังคงลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินสองปี จึงเป็นคดีต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 โจทก์ฎีกาขอให้ไม่รอการลงโทษ เป็นการโต้เถียงดุลพินิจของศาลว่าสมควรลงโทษจำเลยเพียงใด เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 ประกอบด้วยพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวง ฯ มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6443/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดุลพินิจศาลอนุญาตถอนฟ้อง: คำนึงเฉพาะข้อได้เปรียบเสียเปรียบของคำฟ้องและคำให้การ ไม่ต้องคำนึงถึงฟ้องแย้ง
การที่ศาลจะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องหรือไม่ เป็นดุลพินิจของศาลโดยศาลจะคำนึงถึงข้อได้เปรียบเสียเปรียบของคดีในส่วนที่เกี่ยวกับคำฟ้องและคำให้การเท่านั้น ไม่ต้องคำนึงในส่วนที่เกี่ยวกับคำฟ้องแย้ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5276/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามตามมาตรา 248 วรรคหนึ่ง กรณีคดีมีทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสนบาท และการโต้เถียงดุลพินิจศาลชั้นต้น
ฟ้องโจทก์ระบุว่าโจทก์ยื่นคำขอรังวัดที่ดินพิพาทซึ่งโจทก์ได้ครอบครองทำประโยชน์เพื่อออกโฉนดที่ดิน แต่จำเลยได้คัดค้านว่าเป็นการขอออกโฉนดที่ดินทับที่สาธารณประโยชน์ และตามคำขอท้ายฟ้องมีคำขอให้จำเลยออกโฉนดที่ดินให้แก่โจทก์ จึงเป็นการฟ้องเรียกกรรมสิทธิ์ที่ดิน เป็นคดีมีทุนทรัพย์ เมื่อที่ดินพิพาทมีราคาไม่เกินสองแสนบาทคู่ความจึงฎีกาในข้อเท็จจริงไม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2981/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อนุญาตซักค้านพยานในคดีผู้จัดการมรดก ศาลมีดุลพินิจในการวินิจฉัยคดีและตั้งผู้จัดการมรดก
คดีร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ประเด็นมีเพียงว่า สมควรตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายหรือไม่ การที่จะซักค้านพยานผู้ร้องในเรื่องเกี่ยวกับการจัดการมรดกเดิมและการจะจัดการมรดกต่อไปอย่างไรนั้น จึงไม่เป็นประโยชน์แก่การวินิจฉัยคดี ประกอบกับการที่ศาลจะตั้งผู้ใดเป็นผู้จัดการมรดกเป็นดุลพินิจของศาลโดยเฉพาะ ดังนั้น ที่ศาลไม่อนุญาตให้ผู้คัดค้านซักค้านพยานผู้ร้องในเรื่องดังกล่าวนั้นชอบแล้ว
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้ผู้คัดค้านซักค้านพยานผู้ร้องเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา เมื่อผู้คัดค้านไม่ได้โต้แย้งคำสั่งไว้ จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (1) ประกอบมาตรา 247
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้ผู้คัดค้านซักค้านพยานผู้ร้องเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา เมื่อผู้คัดค้านไม่ได้โต้แย้งคำสั่งไว้ จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (1) ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1209/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การเรื่องอายุความ, ฟ้องไม่เคลือบคลุม, การส่งเอกสารสืบพยาน และดุลพินิจศาล
โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2531 โดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์ตามสัญญากู้เงิน 2 ฉบับ เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2518ไม่มีกำหนดเวลาชำระเงินคืน มีจำเลยที่ 4 และที่ 5 เป็นผู้ค้ำประกันตามสำเนาสัญญาค้ำประกันท้ายฟ้อง จำเลยทั้งห้ายื่นคำให้การแล้ว ต่อมาเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2532ซึ่งเป็นเวลาภายหลังวันชี้สองสถาน จำเลยทั้งห้าได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การเพิ่มข้อต่อสู้ว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความเพราะมิได้ใช้สิทธิเรียกร้องภายใน 10 ปีดังนี้ เห็นได้ว่าวันที่โจทก์ยื่นฟ้องและวันที่โจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์ปรากฏอยู่ในฟ้องแล้ว และจำเลยทั้งห้าทราบมาแต่แรกที่ได้รับสำเนาฟ้องแล้วว่าการกู้เงินตามที่กล่าวในฟ้องเป็นการกู้ที่ไม่มีกำหนดเวลาชำระเงินคืน ซึ่งอายุความฟ้องร้องย่อมเริ่มนับทันทีที่โจทก์ให้กู้ไป จึงเป็นกรณีที่จำเลยทั้งห้าอาจยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การเพื่อเพิ่มเติมข้อต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความได้ก่อนวันชี้สองสถาน แม้จำเลย-ทั้งห้าจะยังไม่ได้รับสำเนาสัญญากู้เงินจากโจทก์ก็ตาม ข้อเท็จจริงที่จำเลยอาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความก็ปรากฏอยู่ในคำฟ้องก่อนวันชี้สองสถานแล้วจำเลยทั้งห้าหาจำเป็นต้องตรวจสอบความถูกต้องจากสำเนาสัญญากู้แต่อย่างใดไม่ทั้งเรื่องที่ขอแก้ไขคำให้การนี้ก็ไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน การที่จำเลยทั้งห้ายื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การเพื่อให้มีข้อต่อสู้เกี่ยวกับอายุความภายหลังวันชี้สองสถาน จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งยกคำร้องนั้นเสียตาม ป.วิ.พ. มาตรา180 วรรคสอง (เดิม)
ตามฟ้องโจทก์ปรากฏอยู่แล้วว่า โจทก์ฟ้องบังคับจำเลยทั้งห้าตามสัญญากู้เงิน 2 ฉบับ เป็นเงิน 544,600 บาท และสัญญาค้ำประกันท้ายฟ้องซึ่งจำเลยที่ 1 ผู้กู้ได้ชำระหนี้บางส่วนแล้ว คงค้างอยู่ในวันคิดบัญชีคือวันที่ 4พฤศจิกายน 2531 เป็นต้นเงิน 164,600 บาท และดอกเบี้ย 150,564.09 บาทดังนี้ ฟ้องโจทก์ได้บรรยายแจ้งชัดแล้วว่า หนี้ต้นเงินจำนวน 164,600 บาทที่ค้างชำระคิดมาจากยอดหนี้เงินกู้ตามสัญญากู้ทั้งสองฉบับดังกล่าว และการกล่าวถึงดอกเบี้ยก็เข้าใจได้อยู่แล้วว่าหมายถึงดอกเบี้ยของต้นเงินที่ค้างชำระอยู่ดังกล่าวโดยนับถึงวันที่ 4 พฤศจิกายน 2531 นั่นเอง ส่วนรายละเอียดในการคิดบัญชีนั้นเป็นข้อเท็จจริงที่อาจนำสืบได้ในชั้นพิจารณา คำฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหา และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว จึงไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
โจทก์ได้แสดงความจำนงอ้างสัญญากู้เป็นพยานโดยยื่นบัญชีระบุพยานตามที่กำหนดไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 88 วรรคแรกแล้ว แต่ในการสืบพยาน โจทก์มิได้ส่งสำเนาสัญญากู้ดังกล่าวให้จำเลยทั้งห้าก่อนวันสืบพยานอย่างน้อย 3 วัน ดังที่กำหนดไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 90 (เดิม) อันเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะนั้น แต่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 (2) ถ้าศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นจะต้องสืบพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของมาตราดังกล่าว ก็ให้ศาลมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านั้นได้ ดังนี้ ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจใช้ดุลพินิจรับฟังเอกสารสัญญากู้ดังกล่าวได้
เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นพ้องด้วยกับศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยทั้งห้าแก้ไขคำให้การในข้อที่ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยปัญหาเรื่องอายุความชอบด้วยกระบวนพิจารณาแล้วซึ่งศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย จึงไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาในประเด็นเรื่องอายุความตามที่จำเลยทั้งห้าฎีกาขึ้นมา
ตามฟ้องโจทก์ปรากฏอยู่แล้วว่า โจทก์ฟ้องบังคับจำเลยทั้งห้าตามสัญญากู้เงิน 2 ฉบับ เป็นเงิน 544,600 บาท และสัญญาค้ำประกันท้ายฟ้องซึ่งจำเลยที่ 1 ผู้กู้ได้ชำระหนี้บางส่วนแล้ว คงค้างอยู่ในวันคิดบัญชีคือวันที่ 4พฤศจิกายน 2531 เป็นต้นเงิน 164,600 บาท และดอกเบี้ย 150,564.09 บาทดังนี้ ฟ้องโจทก์ได้บรรยายแจ้งชัดแล้วว่า หนี้ต้นเงินจำนวน 164,600 บาทที่ค้างชำระคิดมาจากยอดหนี้เงินกู้ตามสัญญากู้ทั้งสองฉบับดังกล่าว และการกล่าวถึงดอกเบี้ยก็เข้าใจได้อยู่แล้วว่าหมายถึงดอกเบี้ยของต้นเงินที่ค้างชำระอยู่ดังกล่าวโดยนับถึงวันที่ 4 พฤศจิกายน 2531 นั่นเอง ส่วนรายละเอียดในการคิดบัญชีนั้นเป็นข้อเท็จจริงที่อาจนำสืบได้ในชั้นพิจารณา คำฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหา และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว จึงไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
โจทก์ได้แสดงความจำนงอ้างสัญญากู้เป็นพยานโดยยื่นบัญชีระบุพยานตามที่กำหนดไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 88 วรรคแรกแล้ว แต่ในการสืบพยาน โจทก์มิได้ส่งสำเนาสัญญากู้ดังกล่าวให้จำเลยทั้งห้าก่อนวันสืบพยานอย่างน้อย 3 วัน ดังที่กำหนดไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 90 (เดิม) อันเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะนั้น แต่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 (2) ถ้าศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นจะต้องสืบพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของมาตราดังกล่าว ก็ให้ศาลมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านั้นได้ ดังนี้ ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจใช้ดุลพินิจรับฟังเอกสารสัญญากู้ดังกล่าวได้
เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นพ้องด้วยกับศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยทั้งห้าแก้ไขคำให้การในข้อที่ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยปัญหาเรื่องอายุความชอบด้วยกระบวนพิจารณาแล้วซึ่งศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย จึงไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาในประเด็นเรื่องอายุความตามที่จำเลยทั้งห้าฎีกาขึ้นมา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 113/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับผิดในสัญญาประกันตัว: เจตนาในการทำสัญญาและดุลพินิจศาลในการลดค่าปรับ
ในการประกันตัว ต. ผู้ต้องหานั้น มีผู้ค้ำประกัน2 คน คือ จำเลยที่ 2 เป็นบุคคลค้ำประกัน กับจำเลยที่ 1นำที่ดินมาวางเป็นประกันโดยมอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 มาดำเนินการแทน จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อในสัญญาประกัน 2 ฐานะคือในฐานะนายประกันและในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 1 เหตุที่อนุญาตให้จำเลยที่ 2 ประกันตัว ต. ผู้ต้องหาไปเพราะเชื่อถือตัวบุคคลที่ขอประกันคือจำเลยที่ 2 และเชื่อถือหลักทรัพย์ที่นำมาวางเป็นประกันของจำเลยที่ 1 ตามคำร้องขอประกันก็ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้ลงลายมือชื่อเป็นผู้ยื่นคำร้อง โดยได้รับความยินยอมจาก ร. ภริยาของจำเลยที่ 2ด้วย ทั้งตามสัญญาประกันตอนท้ายจำเลยที่ 2 ก็ได้ลงลายมือชื่อเป็นผู้ประกัน มีรายละเอียดระบุว่าจำเลยที่ 2 ได้นำที่ดินโฉนดเลขที่ 20738 มาเป็นหลักประกันโดยจำเลยที่ 1 ได้มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 นำที่ดินโฉนดดังกล่าวมาเป็นหลักประกันได้เมื่อถึงกำหนดส่งตัว ต. ผู้ต้องหา จำเลยที่ 2 ก็ได้มีหนังสือขอเลื่อนส่งตัวผู้ต้องหา แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 2มีเจตนาเข้าทำสัญญาประกันตัว ต. ผู้ต้องหาในนามของจำเลยที่ 2 เองด้วย หาใช่เป็นเพียงตัวแทนของจำเลยที่ 1 เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 107/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งเพิกถอนการปล่อยชั่วคราวเป็นดุลพินิจศาลระหว่างพิจารณาคดี ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์หลังศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัย
แม้คำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ยืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นให้เพิกถอนการปล่อยชั่วคราวจำเลยที่ 4 จะไม่ถึงที่สุดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 119 ทวิ วรรคสาม ตามที่จำเลยที่ 4 ฎีกาก็ตาม แต่คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้เพิกถอนการปล่อยชั่วคราวจำเลยที่ 4เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นเห็นว่า การปล่อยชั่วคราวจำเลยที่ 4 อาจก่อให้เกิดภัยอันตรายแก่พยานและเกิดความเสียหายแก่การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาล ซึ่งเป็นดุลพินิจของศาลชั้นต้นที่พิจารณาโดยอาศัยหลักเกณฑ์แห่ง ป.วิ.อ. มาตรา 108 เพื่อให้การดำเนินกระบวนพิจารณาเป็นไปโดยไม่เกิดความเสียหายแก่คดีในระหว่างพิจารณาจึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่ทำให้คดีเสร็จสำนวน กรณีจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 196 ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 4 มาจึงเป็นการไม่ถูกต้อง ไม่มีผลให้จำเลยที่ 4 มีสิทธิฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 107/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งเพิกถอนการปล่อยชั่วคราวเป็นดุลพินิจศาลระหว่างพิจารณา ไม่ใช่คำสั่งไม่อนุญาตปล่อยตัว จึงไม่อุทธรณ์ฎีกาได้
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้เพิกถอนการปล่อยชั่วคราว ถือเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 196 ซึ่งเป็นดุลพินิจของศาลชั้นต้นที่จะพิจารณาโดยอาศัยหลักเกณฑ์แห่งมาตรา 108 และไม่ถือว่าเป็นคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวตามมาตรา 119 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 940/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: การขอรอการลงโทษจำคุกหลังศาลอุทธรณ์ยืนตามศาลล่าง
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลย 1 เดือน 15 วัน จำเลยฎีกาขอให้รอการลงโทษจำคุก ดังนี้ปัญหาว่ามีเหตุควรรอการลงโทษจำคุกให้จำเลยหรือไม่ ย่อมเป็นดุลพินิจของศาล ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 860/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลกระทบจากการขาดนัดพิจารณาคดี และการใช้ดุลพินิจศาลในการรับฟังพยานหลักฐาน
การที่จำเลยขาดนัดพิจารณาไม่มาศาลย่อมทำให้เสียประโยชน์คือ ไม่มีสิทธิถามค้านพยานโจทก์ที่สืบไปแล้วหรือคัดค้านการระบุเอกสารหรือคัดค้านคำขอที่ให้ศาลไปทำการตรวจหรือตั้งผู้เชี่ยวชาญของศาลเฉพาะในวันที่ขาดนัดไม่มาศาลเท่านั้น และหากว่าโจทก์สืบพยานหมดในวันนั้น จำเลยก็ไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบได้ในวันหลังอีกเพราะหมดเวลาที่ตนจะนำพยานเข้าสืบแล้ว เมื่อปรากฏว่าในวันนัดแรกโจทก์มีหน้าที่นำพยานเข้าสืบก่อนได้นำตัวโจทก์เข้าเบิกความเพียงปากเดียว การสืบพยานยังไม่เสร็จบริบูรณ์ แล้วเลื่อนไปสืบพยานโจทก์ที่เหลือในนัดต่อไป จำเลยจึงไม่มีสิทธิถามค้านพยานปากตัวโจทก์เท่านั้น ส่วนในนัดต่อไปจำเลยมาศาล จำเลยชอบที่จะถามค้านพยานโจทก์ที่เบิกความในนัดต่อมาได้และนำพยานจำเลยเข้าเบิกความได้เพราะยังไม่พ้นเวลาที่จะนำพยานของตนเข้าสืบ การที่ศาลชั้นต้นให้จำเลยถามค้านพยานโจทก์ที่นำสืบในนัดต่อมา ทั้งนำพยานจำเลยเข้าเบิกความจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 คู่ความจะต้องยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันสืบพยาน 3 วัน แต่ในกรณีที่ศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นจะต้องสืบพยานหลักฐานอันสำคัญเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีโดยฝ่าฝืนต่อมาตรา 88 คือไม่ต้องยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันสืบพยาน 3 วัน ศาลก็มีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานดังกล่าวได้ตามมาตรา 87(2) การที่จำเลยร่วมไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันนัดสืบพยานโจทก์ 3 วัน ศาลชั้นต้นเห็นว่าจำเลยร่วมว่าความด้วยตนเอง จึงใช้ดุลพินิจให้จำเลยร่วมนำพยานเข้าสืบได้ถึงแม้ไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยานไว้นั้น เป็นการใช้ดุลพินิจที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว