พบผลลัพธ์ทั้งหมด 70 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1608/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจตัวแทนและการรับผิดในตั๋วแลกเงิน แม้ตัวแทนปฏิบัติเกินอำนาจก็ไม่ทำให้จำเลยหลุดพ้นความรับผิด
เพียงแต่ตัวแทนไม่ปฏิบัติตามข้อจำกัดอำนาจของตัวการบางอย่าง จำเลยจะอ้างมาปฏิเสธความรับผิดของตน (ในคดีนี้) ไม่ได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์เป็นบริษัทจำกัด แต่ตามสำนวนไม่ปรากฎหลักฐานการเป็นบริษัทจำกัดที่ชอบด้วยกฎหมายและตามคำให้การจำเลยมิได้ต่อสู้ในข้อนี้ไว้ ดังนี้จึงไม่มีประเด็นที่โจทก์จะต้องแสดงหลักฐานการเป็นบริษัทจำกัดของโจทก์.
โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์เป็นบริษัทจำกัด แต่ตามสำนวนไม่ปรากฎหลักฐานการเป็นบริษัทจำกัดที่ชอบด้วยกฎหมายและตามคำให้การจำเลยมิได้ต่อสู้ในข้อนี้ไว้ ดังนี้จึงไม่มีประเด็นที่โจทก์จะต้องแสดงหลักฐานการเป็นบริษัทจำกัดของโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1608/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจตัวแทนจำกัด & การปฏิเสธความรับผิดของจำเลย: แม้ตัวแทนเกินอำนาจ แต่จำเลยยังต้องรับผิดในตั๋วแลกเงิน
เพียงแต่ตัวแทนไม่ปฏิบัติตามข้อจำกัดอำนาจของตัวการบางอย่างจำเลยจะอ้างมาปฏิเสธความรับผิดของตน(ในคดีนี้)ไม่ได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์เป็นบริษัทจำกัด แต่ตามสำนวนไม่ปรากฏหลักฐานการเป็นบริษัทจำกัดที่ชอบด้วยกฎหมาย และตามคำให้การจำเลยมิได้ต่อสู้ในข้อนี้ไว้ ดังนี้จึงไม่มีประเด็นที่โจทก์จะต้องแสดงหลักฐานการเป็นบริษัทจำกัดของโจทก์
โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์เป็นบริษัทจำกัด แต่ตามสำนวนไม่ปรากฏหลักฐานการเป็นบริษัทจำกัดที่ชอบด้วยกฎหมาย และตามคำให้การจำเลยมิได้ต่อสู้ในข้อนี้ไว้ ดังนี้จึงไม่มีประเด็นที่โจทก์จะต้องแสดงหลักฐานการเป็นบริษัทจำกัดของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1245/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตั๋วแลกเงินที่ไม่สมบูรณ์และการโอนโดยส่งมอบ: สิทธิของผู้ทรง
หนังสือตราสารที่ขาดรายการตาม ม.909 ย่อมไม่เป็นตั๋วแลกเงินที่สมบูรณ์และเมื่อไม่มีข้อความว่าให้ใช้เงินแก่ผู้ถืออยู่ด้วยแล้ว เพียงการส่งมอบเท่านั้นยังไม่เป็นการโอนโดยชอบ
หนังสือตราสารซึ่งไม่มีลักษณะว่าผู้ออกตั๋วให้คำมั่นสัญญาว่าจะใช้เงินให้แก่อีกบุคคลหนึ่งหรือตามคำสั่งของอีกบุคคลหนึ่งนั้นย่อมไม่ใช่ตั๋วสัญญาใช้เงิน
หนังสือตราสารซึ่งไม่มีลักษณะว่าผู้ออกตั๋วให้คำมั่นสัญญาว่าจะใช้เงินให้แก่อีกบุคคลหนึ่งหรือตามคำสั่งของอีกบุคคลหนึ่งนั้นย่อมไม่ใช่ตั๋วสัญญาใช้เงิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1245/2499
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตั๋วแลกเงินไม่สมบูรณ์และการโอนโดยส่งมอบ
หนังสือตราสารที่ขาดรายการตาม มาตรา 909 ย่อมไม่เป็นตั๋วแลกเงินที่สมบูรณ์ และเมื่อไม่มีข้อความว่าให้ใช้เงินแก่ผู้ถืออยู่ด้วยแล้ว เพียงการส่งมอบเท่านั้นยังไม่เป็นการโอนโดยชอบ
หนังสือตราสารซึ่งไม่มีลักษณะว่าผู้ออกตั๋วให้คำมั่นสัญญาว่าจะใช้เงินให้แก่อีกบุคคลหนึ่งหรือตามคำสั่งของอีกบุคคลหนึ่งนั้นย่อมไม่ใช่ตั๋วสัญญาใช้เงิน
หนังสือตราสารซึ่งไม่มีลักษณะว่าผู้ออกตั๋วให้คำมั่นสัญญาว่าจะใช้เงินให้แก่อีกบุคคลหนึ่งหรือตามคำสั่งของอีกบุคคลหนึ่งนั้นย่อมไม่ใช่ตั๋วสัญญาใช้เงิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 477/2489 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้เดิมและการปรับตามมาตรา 1005 กรณีจำเลยรับเงินแล้วตั๋วแลกเงินไม่สามารถเรียกเก็บได้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยรับเงินจากโจทก์ แล้วออกตั๋วแลกเงินให้ โจทก์ไปเก็บเงินตามตั๋วแลกเงินไม่ได้ และทำคำคัดค้านไว้ จึงมาฟ้องเรียกเงินคืนดังนี้ เป็นการฟ้องเรียกเงินคืนตามมูลหนี้เดิมคดีเข้าอยู่ในมาตรา 1005 ต้องบังคับให้จำเลยคืนเงินให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 477/2489
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้เดิมและการฟ้องเรียกเงินคืนจากตั๋วแลกเงินที่ไม่สามารถเรียกเก็บได้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยรับเงินจากโจทก์ แล้วออกตั๋วแลกเงินให้ โจทก์ไปเก็บเงินตามตั๋วแลกเงินไม่ได้ และทำคำคัดค้านไว้ จึงมาฟ้องเรียกเงินคืน ดังนี้ เป็นการฟ้องเรียกเงินคืนตามมูลหนี้เดิม คดีเข้าอยู่ในมาตรา 1005 ต้องบังคับให้จำเลยคืนเงินให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19395/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้ด้วยตั๋วแลกเงินที่ซื้อมาในราคาต่ำโดยมีเจตนาไม่สุจริต ถือเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 5
จำเลยมิใช่ผู้รับโอนตั๋วแลกเงินมาจากโจทก์ซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายและรับรองตั๋วแลกเงินโดยตรง แต่รับสลักหลังโอนมาจากผู้ทรงซึ่งรับสลักหลังโอนมาจากผู้ทรงคนเดิมที่โจทก์ได้ปฏิเสธการจ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินดังกล่าวไปแล้วโดยขณะจำเลยรับสลักหลังโอนตั๋วแลกเงินมานั้น จำเลยซึ่งเป็นธนาคารอันเป็นสถาบันการเงินซึ่งอยู่ภายใต้กำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย ย่อมทราบว่า โจทก์ได้ประสบปัญหาด้านการเงินและถูกระทรวงการคลังสั่งระงับการดำเนินกิจการ อันเป็นที่เห็นได้โดยสุจริตว่าตั๋วแลกเงินที่จำเลยรับสลักหลังโอนมาในขณะนั้น มีมูลค่าลดน้อยลงไปกว่าราคาที่ผู้ทรงคนเดิมรับสลักหลังโอนมาเป็นจำนวนมาก หรือนัยหนึ่งตั๋วแลกเงินดังกล่าวน่าจะไม่มีมูลค่าเพียงพอที่จะจูงใจให้มีการซื้อขายเพื่อสลักหลังโอนกันตามปกติแล้ว ทั้งกรณีที่ผู้ทรงประสงค์จะได้รับชำระหนี้ตามตั๋วแลกเงิน ก็ชอบที่จะต้องนำมูลหนี้ตามตั๋วแลกเงินดังกล่าวไปขอรับชำระหนี้ต่อองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) หรือต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในกรณีที่โจทก์ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ซึ่งจักได้ชำระบัญชีหรือดำเนินการรวบรวมทรัพย์สินของโจทก์มาจัดสรรชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายของโจทก์ ให้ได้รับส่วนแบ่งโดยทัดเทียมกันอย่างเป็นธรรมตามสัดส่วนแห่งหนี้ พฤติการณ์การรับสลักหลังโอนตั๋วแลกเงินมาดังกล่าว จึงมีเหตุผลให้น่าเชื่อว่าจำเลย มิได้รับสลักหลังโอนตั๋วแลกเงินดังกล่าวมาตามธุรกรรมที่เป็นปกติธุระของจำเลย แต่เป็นการรับสลักหลังโอนโดยซื้อมาในราคาต่ำ โดยมีเจตนามุ่งหมายจะนำมูลหนี้ตามตั๋วแลกเงินนั้น ไปหักกลบลบหนี้กับหนี้อันเกิดจากการซื้อขายเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องต่อจำเลย อันจะมีผลให้จำเลยได้รับการปลดเปลื้องความรับผิดจากการเป็นลูกหนี้โจทก์ การที่จำเลยรับสลักหลังโอนตั๋วแลกเงินดังกล่าวและขอหักกลบลบหนี้กับโจทก์ ย่อมเป็นการใช้สิทธิแห่งตนโดยไม่สุจริต ไม่ชอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 5 จำเลยจึงไม่อาจนำมูลหนี้ ตามตั๋วแลกเงินทั้ง 11 ฉบับ มาหักกลบหนี้กับหนี้การซื้อขายเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐล่วงหน้าที่จำเลยเป็นลูกหนี้โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3890/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารเปลี่ยนเช็คขีดคร่อมเป็นตั๋วแลกเงิน ละเมิดต่อผู้รับเช็ค เจ้าของเช็คมีส่วนผิด
เช็คขีดคร่อมและห้ามแปลี่ยนมือที่ระบุชื่อโจทก์เป็นผู้รับเงินและขีดฆ่าคำว่า "หรือผู้ถือ" ออก จะเรียกเก็บเงินตามเช็คนั้นได้ก็แต่เฉพาะเข้าบัญชีบัญชีของโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตา 994 การที่ธนาคารจำเลยที่ 1 ผู้รับเช็คต้องปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าว แต่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพนักงานของโจทก์นำเช็คดังกล่าวมาขอเปลี่ยนเป็นตั๋วแลกเงินจากพนักงานของจำเลยที่ 1 โดยแจ้งว่า การนำเช็คที่มีชื่อโจทก์เรียกเก็บเงินตามวิธีการปกติจะทำให้เกิดการล่าช้าเนื่องจากจะต้องใช้เวลาในการเรียกเก็บเงินตามเช็คประมาณ 2 สัปดาห์ และพนักงานของจำเลยที่ 1 ได้ดำเนินการตามที่จำเลยที่ 2 ขอ โดยเปลี่ยนเช็คดังกล่าวเป็นตั๋วแลกเงินจึงเป็นการกระทำที่ผิดต่อกฎหมายและเป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 สามารถนำตั๋วแลกเงินดังกล่าวไปหมุนเวียนชำระค่าสินค้าของลูกค้ารายอื่นของโจทก์ แม้มีการนำเงินตามเช็คดังกล่าวเข้าบัญชีของโจทก์แล้ว แต่การกระทำดังกล่าวของจำเลยที่ 1 ทำให้โจทก์ไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าเป็นการชำระค่าสินค้าของงวดเดือนใด ทั้งเป็นเหตุให้โจทก์ไม่สามารถเรียกเก็บเงินค่าสินค้าในงวดที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ง. ชำระค่าสินค้าได้ เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายจึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 2 เป็นพนักงานของโจทก์เป็นผู้นำเสียเช็คที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ง. สั่งจ่ายเพื่อชำระค่าสินค้าให้แก่โจทก์ไปแลกเปลี่ยนเป็นตั๋วแลกเงินจากจำเลยที่ 1 และแจ้งต่อพนักงานจำเลยที่ 1 ว่าตนเป็นพนักงานของโจทก์ และแจ้งว่าการนำเช็คที่มีชื่อโจทก์เรียกเก็บเงินตามวิธีการปกติจะทำให้เกิดการล่าช้าจนทำให้พนักงานของจำเลยที่ 1 เชื่อตามที่จำเลยที่ 2 แจ้ง ถือได้ว่าโจทก์มีส่วนที่ทำให้เกิดความเสียหายด้วยเนื่องจากไม่ดูแล ตรวจสอบและควบคุมการกระทำของจำเลยที่ 2 ให้ดี ทั้งๆ ที่รู้ว่าจำเลยที่ 2 มีหน้าที่เกี่ยวกับการรับเงินหรือรับชำระด้วยเช็คจากลูกค้า กลับปล่อยปละละเลยจนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายถือได้ว่าความเสียหายได้เกิดขึ้นเพราะความผิดอย่างหนึ่งอย่างใดของโจทก์ผู้ต้องเสีหายประกอบด้วยตามป.พ.พ. มาตรา 442
จำเลยที่ 2 เป็นพนักงานของโจทก์เป็นผู้นำเสียเช็คที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ง. สั่งจ่ายเพื่อชำระค่าสินค้าให้แก่โจทก์ไปแลกเปลี่ยนเป็นตั๋วแลกเงินจากจำเลยที่ 1 และแจ้งต่อพนักงานจำเลยที่ 1 ว่าตนเป็นพนักงานของโจทก์ และแจ้งว่าการนำเช็คที่มีชื่อโจทก์เรียกเก็บเงินตามวิธีการปกติจะทำให้เกิดการล่าช้าจนทำให้พนักงานของจำเลยที่ 1 เชื่อตามที่จำเลยที่ 2 แจ้ง ถือได้ว่าโจทก์มีส่วนที่ทำให้เกิดความเสียหายด้วยเนื่องจากไม่ดูแล ตรวจสอบและควบคุมการกระทำของจำเลยที่ 2 ให้ดี ทั้งๆ ที่รู้ว่าจำเลยที่ 2 มีหน้าที่เกี่ยวกับการรับเงินหรือรับชำระด้วยเช็คจากลูกค้า กลับปล่อยปละละเลยจนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายถือได้ว่าความเสียหายได้เกิดขึ้นเพราะความผิดอย่างหนึ่งอย่างใดของโจทก์ผู้ต้องเสีหายประกอบด้วยตามป.พ.พ. มาตรา 442
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6054/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีตามตั๋วแลกเงิน: สิทธิไล่เบี้ยและการโอนสิทธิเรียกร้อง
ธนาคาร น. เป็นผู้จ่ายเงินตามตั๋วแลกเงิน การที่ ธนาคาร น. ลงลายมือชื่อรับรองในตั๋วแลกเงินจึงเป็นผู้รับรองตาม ป.พ.พ. มาตรา 927 ต้องผูกพันในอันจะจ่ายเงินจำนวนที่รับรองตามเนื้อความแห่งคำรับรองของตนตามมาตรา 937 ธนาคาร น. ย่อมอยู่ในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นอย่างเดียวกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายตั๋วแลกเงิน จำเลยที่ 1 ไม่ได้อยู่ในฐานะที่มีความผูกพันอยู่แล้วก่อนธนาคาร น. ตามมาตรา 967 วรรคสาม ดังนั้น เมื่อธนาคาร น. ได้จ่ายเงินให้บริษัท ต. ซึ่งเป็นผู้รับเงินไปแล้ว ธนาคาร น. จึงหามีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 1 ผู้สั่งจ่ายได้ไม่ เมื่อไม่มีสิทธิไล่เบี้ยแล้วก็ย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องที่จะโอนให้แก่โจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยทั้งสองจะสละประเด็นพิพาทข้อนี้ไปแล้ว แต่จำเลยทั้งสองก็มีสิทธิยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6054/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีตั๋วแลกเงิน: ธนาคารผู้รับรองไม่มีสิทธิไล่เบี้ยผู้สั่งจ่าย จึงไม่มีอำนาจโอนสิทธิเรียกร้อง
การที่ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้จ่ายได้ลงลายมือชื่อรับรองในตั๋วแลกเงินจึงเป็นผู้รับรองตาม ป.พ.พ. มาตรา 927 ต้องผูกพันในอันจะจ่ายเงินจำนวนที่รับรองตามเนื้อความแห่งคำรับรองของตนตามมาตรา 937 ในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นอย่างเดียวกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้สั่งจ่าย จำเลยที่ 1 ไม่ได้อยู่ในฐานะที่มีความผูกพันอยู่แล้วก่อนธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) ตามมาตรา 967 วรรคสาม ดังนั้นเมื่อธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) ได้จ่ายเงินให้แก่บริษัทโตโยต้ามอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นผู้รับเงินตามตั๋วแลกเงินทั้ง 92 ฉบับ ไปแล้ว ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) จึงหามีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายได้ไม่ เมื่อไม่มีสิทธิไล่เบี้ยแล้ว ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) ก็ย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องที่จะโอนให้แก่โจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีนี้ ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยทั้งสองจะได้สละประเด็นข้อพิพาทข้อนี้ไปแล้ว แต่จำเลยทั้งสองก็มีสิทธิยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง