คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ตีความสัญญา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 166 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3200/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความสัญญาแบ่งพินัยกรรมและแผนที่สังเขป ต้องพิจารณาเจตนาจริงของคู่สัญญาเหนือถ้อยคำตามตัวอักษร
ป.พ.พ. มาตรา 132 เดิม (มาตรา 171 ที่แก้ไขใหม่) บัญญัติไว้ว่า "ในการตีความการแสดงเจตนานั้น ท่านให้เพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนตามตัวอักษร" ดังนั้น ในการพิจารณาปัญหาว่าโจทก์จำเลยตกลงแบ่งที่ดินกันอย่างไรจึงต้องพิจารณาจากสัญญาแบ่งพินัยกรรม และแผนที่สังเขปแนบท้ายสัญญาที่คู่ความอ้างส่งเป็นพยานหลักฐานในคดีประกอบกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 105/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความสัญญาซื้อขายข้าวสาร การบอกเลิกสัญญาที่ไม่ชอบ และผลของการผิดสัญญา
อุทธรณ์ที่ว่าศาลตีความข้อตกลงแห่งสัญญาผิดไปจากสำนวนหากตีความตามอุทธรณ์แล้วจะเห็นได้ว่าโจทก์ที่ 1 นำสืบได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา เป็นอุทธรณ์ในข้อกฎหมาย แม้ในสัญญาจะมิได้กำหนดเวลาให้ผู้ขายส่งมอบข้าวสารให้ผู้ซื้อก็ตามแต่ที่สัญญาระบุให้ผู้ซื้อต้องชำระราคาให้ผู้ขายภายในวันที่ 30 กันยายน 2529 นั้นพออนุมานได้ว่า คู่กรณีตกลงให้ผู้ขายส่งมอบข้าวสารให้ผู้ซื้อภายในกำหนดเวลาดังกล่าวด้วย ตามป.พ.พ. มาตรา 203 ส่วนสิทธิในการเลิกสัญญาย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายหรือตามข้อความในสัญญาที่ระบุให้สิทธิไว้เมื่อไม่ปรากฏสิทธิดังกล่าวแล้ว จำเลยผู้ขายย่อมไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา การที่จำเลยบอกเลิกสัญญาก่อนที่จะส่งมอบข้าวสารให้แก่โจทก์ที่ 1 จึงไม่ชอบ ดังนั้น เมื่อจำเลยไม่ยอมส่งมอบข้าวสารแก่โจทก์ที่ 1 ภายในวันที่ 30 กันยายน 2529 จำเลยจึงเป็นผู้ผิดสัญญา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 105/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความสัญญาซื้อขายข้าวสาร การบอกเลิกสัญญา และการผิดสัญญา
โจทก์ที่ 1 อุทธรณ์ว่า ศาลชั้นต้นตีความข้อตกลงแห่งสัญญาเอกสารหมาย จ.1 ผิดทำให้ศาลชั้นต้นฟังพยานหลักฐานผิดไปจากสำนวน หากตีความตามที่โจทก์ที่ 1 อุทธรณ์ จะเห็นได้ว่าโจทก์ที่ 1 สืบได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา อุทธรณ์ของโจทก์ที่ 1เช่นนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมาย สัญญาแม้จะมิได้กำหนดเวลาให้ผู้ขายส่งมอบข้าวสารให้ผู้ซื้อก็ตามแต่ที่สัญญาระบุว่าผู้ซื้อจะต้องชำระราคาข้าวสารให้ผู้ขายภายในวันที่ 30 กันยายน 2529 นั้น พอจะอนุมานได้ว่าคู่กรณีตกลงให้ผู้ขายส่งมอบข้าวสารให้แก่ผู้ซื้อภายในกำหนดเวลาดังกล่าวด้วยทั้งนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 203 และเมื่อเกิดสัญญากันขึ้นแล้ว คู่กรณีย่อมต้องผูกพันชำระหนี้กันตามสัญญาส่วนฝ่ายใดจะมีสิทธิเลิกสัญญาหรือไม่นั้นย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายหรือมีข้อความในสัญญาระบุให้สิทธิเลิกสัญญาไว้ เมื่อข้อความในสัญญาตามเอกสารหมาย จ.1 ไม่ได้ระบุให้ผู้ขายมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ก่อนหนี้ถึงกำหนดชำระ ทั้งไม่มีกฎหมายให้สิทธิผู้ขายบอกเลิกสัญญาได้ จำเลยย่อมไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา เมื่อจำเลยให้การว่าจำเลยได้บอกเลิกสัญญากับโจทก์เมื่อวันที่ 17 กันยายน2529 แล้วเช่นนี้ย่อมถือว่าจำเลยได้บอกเลิกสัญญาก่อนที่จะส่งมอบข้าวสารให้แก่โจทก์ที่ 1 ตามสัญญา การบอกเลิกสัญญาของจำเลยจึงไม่ชอบ เมื่อจำเลยไม่ยอมส่งมอบข้าวสารให้แก่โจทก์ที่ 1 ภายในวันที่ 30 กันยายน 2529 จำเลยจึงเป็นผู้ผิดสัญญา โจทก์ที่ 1ย่อมได้รับความเสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2205/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความสัญญาจำนอง: ข้อสงสัยต้องตีความเป็นคุณแก่ลูกหนี้
หนังสือสัญญาต่อท้ายหนังสือจำนองมีข้อความว่า ผู้จำนองได้จำนองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันเงินซึ่งผู้จำนองเป็นหนี้ผู้รับจำนองอยู่ในเวลานี้หรือในเวลาใดเวลาหนึ่งต่อไปภายหน้าเป็นจำนวนเงิน 160,000 บาท หรือในเรื่องเงินจำนวนใดจำนวนหนึ่งซึ่งผู้จำนองเป็นหนี้ผู้รับจำนองอยู่ในเวลานี้หรือจะเป็นหนี้ต่อไปในภายหน้า ผู้จำนองยอมรับผิดชอบทั้งสิ้น ข้อความในสัญญาดังกล่าวในตอนแรกระบุว่า การจำนองรายนี้เป็นประกันหนี้เงิน 160,000 บาทซึ่งเท่ากับจำนวนเงินที่โจทก์กู้ยืมไปจากจำเลย ส่วนข้อความในตอนหลังที่ระบุให้การจำนองเป็นประกันเงินจำนวนใดจำนวนหนึ่งซึ่งผู้จำนองเป็นหนี้ผู้รับจำนองอยู่ในเวลานี้หรือจะเป็นหนี้ต่อไปในภายหน้านั้นไม่ได้ระบุให้ชัดแจ้งว่า ให้เป็นประกันถึงหนี้อันเกิดจากมูลละเมิดหรือหนี้อย่างอื่นคนละประเภทกันที่จะเกิดขึ้นในภายหน้า กรณีจึงมีข้อสงสัย ดังนั้น การตีความถึงเจตนาของคู่สัญญาในกรณีที่มีข้อสงสัยเช่นนี้ ต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่คู่กรณีฝ่ายที่จะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้น ต้องฟังว่าสัญญาจำนองรายนี้ไม่ได้ประกันถึงหนี้อันเกิดจากมูลละเมิดซึ่งโจทก์จะต้องรับผิดต่อจำเลยอีกประเภทหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6312/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: การตีความกำหนดเวลา และการปฏิบัติตามสัญญา
แม้ว่าตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลพิพากษาตามยอมจะระบุว่าผู้ร้องกับพวกจะต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกให้เสร็จภายในวันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาคดีอีกเรื่องหนึ่งก็ตาม แต่เมื่อศาลชั้นต้นได้พิพากษาคดีนั้นและออกคำบังคับโดยวิธีปิดหมายซึ่งจะมีผลบังคับให้เป็นไปตามคำพิพากษาต่อเมื่อกำหนด 15 วันได้ล่วงพ้นไปแล้วดังนี้ เมื่อผู้ร้องได้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปเสร็จภายในกำหนดระยะเวลาที่คำบังคับมีผล จึงถือว่าผู้ร้องได้ปฏิบัติตามกำหนดเวลาในสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2988/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: การตีความเงื่อนไขการบอกกล่าวติดตามหนี้
ที่จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ว่า หาก ซ.บิดพลิ้วไม่ชำระหนี้ให้จำเลยรับผิดชอบในจำนวนเงินดังกล่าวโดยจะติดตาม ซ. ให้มาชดใช้ให้ ถ้าติดตามไม่ได้ จำเลยจะขอรับชดใช้เองจนครบจำนวนนั้น ไม่มีข้อความตอนใดบังคับว่าโจทก์จะต้องบอกกล่าวให้จำเลยติดตามตัว ซ. ก่อน ข้อความตามสัญญามีความหมายเพียงว่าถ้า ซ. ไม่ชำระ จำเลยต้องชำระแทนเท่านั้น ส่วนข้อความที่ว่าโดยจะติดตาม ซ. ให้มาชดใช้นั้น เป็นเรื่องเปิดโอกาสให้จำเลยมีเวลาติดตามลูกหนี้ที่แท้จริง ไม่ใช่เงื่อนไขให้โจทก์ต้องบอกกล่าวจำเลยก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2988/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: เงื่อนไขการบอกกล่าวติดตามหนี้ การตีความสัญญา
ที่จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ว่า หาก ซ.บิดพลิ้วไม่ชำระหนี้ให้จำเลยรับผิดชอบในจำนวนเงินดังกล่าวโดยจะติดตาม ซ. ให้มาชดใช้ให้ ถ้าติดตามไม่ได้ จำเลยจะขอรับชดใช้เองจนครบจำนวนนั้น ไม่มีข้อความตอนใดบังคับว่าโจทก์จะต้องบอกกล่าวให้จำเลยติดตามตัว ซ. ก่อน ข้อความตามสัญญามีความหมายเพียงว่าถ้า ซ. ไม่ชำระ จำเลยต้องชำระแทนเท่านั้น ส่วนข้อความที่ว่าโดยจะติดตาม ซ. ให้มาชดใช้นั้น เป็นเรื่องเปิดโอกาสให้จำเลยมีเวลาติดตามลูกหนี้ที่แท้จริง ไม่ใช่เงื่อนไขให้โจทก์ต้องบอกกล่าวจำเลยก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4470/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความสัญญาจ้าง: การคืนเงินประกันเมื่อลาออกระหว่างทดลองงาน ไม่ถือเป็นการผิดสัญญา
สัญญาจ้างระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานกับบริษัทจำเลยนายจ้างข้อ 2 มีข้อความว่า บริษัทฯ ตกลงรับพนักงานเข้าปฏิบัติงานเป็นการทดลองงาน เป็นระยะเวลา 180 วัน ในระหว่างทดลองงานบริษัทฯจะให้การอบรมเกี่ยวกับหน้าที่การงาน... ฯลฯ ... ข้อ 4 มีข้อความว่าในกรณีที่พนักงานผ่านการอบรมครบกำหนดระยะเวลาดังกล่าวและบริษัทฯ เห็นควรว่าจ้างพนักงานต่อไป บริษัทฯ ตกลงว่าจ้างให้พนักงานเป็นพนักงานประจำของบริษัทฯ... ข้อ 5 มีข้อความว่าในกรณีบริษัทฯ ตกลงว่าจ้างพนักงานตามข้อ 4 แล้วพนักงานสัญญาว่าจะทำงานให้แก่บริษัทฯ เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปี นับแต่วันครบกำหนดการทดลองงาน... และข้อ 16 มีข้อความว่า เพื่อเป็นหลักประกันในการปฏิบัติงานของพนักงานตามสัญญานี้ พนักงานได้วางเงินประกันการทำงานไว้แก่บริษัทฯ เป็นจำนวนเงิน 5,000 บาท เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2531 ถ้าพนักงานมีความประสงค์ที่จะลาออกและได้ทำงานไม่น้อยกว่า 3 ปีแล้ว ทางบริษัทฯ จะคืนเงินประกันจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยตามอัตราดอกเบี้ยธนาคารให้ ข้อสัญญาดังกล่าวย่อมมีความหมายว่า พนักงานที่จำเลยจะคืนเงินประกันเมื่อพนักงานผู้นั้นลาออกตามสัญญาข้อ 16 หมายถึงพนักงานที่จำเลยได้ตกลงว่าจ้างให้เป็นพนักงานประจำของจำเลยตามสัญญาข้อ 4, 5 ดังนั้นเมื่อโจทก์ซึ่งเป็นเพียงพนักงานที่จำเลยตกลงว่าจ้างให้ปฏิบัติงานเป็นการทดลองงานขอลาออกจากงานในระหว่างทดลองงาน จึงไม่เป็นการผิดสัญญาจ้างจำเลยจะอ้างเป็นเหตุไม่คืนเงินประกันให้แก่โจทก์ไม่ได้
การตีความสัญญานั้นต้องพิจารณาข้อความในสัญญาทั้งฉบับ จะหยิบยกแต่เฉพาะข้อสัญญาข้อใดข้อหนึ่งหรือเพียงบางข้อขึ้นวินิจฉัยหาเป็นกาถูกต้องไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4470/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างทดลองงาน การคืนเงินประกัน และการตีความสัญญาตามวัตถุประสงค์
สัญญาจ้างระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานกับบริษัทจำเลยนายจ้างข้อ 2 มีข้อความว่า บริษัทฯ ตกลงรับพนักงานเข้าปฏิบัติงานเป็นการทดลองงาน เป็นระยะเวลา 180 วัน ในระหว่างทดลองงานบริษัทฯจะให้การอบรมเกี่ยวกับหน้าที่การงาน... ฯลฯ ... ข้อ 4มีข้อความว่าในกรณีที่พนักงานผ่านการอบรมครบกำหนดระยะเวลาดังกล่าวและบริษัทฯ เห็นควรว่าจ้างพนักงานต่อไป บริษัทฯ ตกลงว่าจ้างให้พนักงานเป็นพนักงานประจำของบริษัทฯ... ข้อ 5 มีข้อความว่าในกรณีบริษัทฯ ตกลงว่าจ้างพนักงานตามข้อ 4 แล้วพนักงานสัญญาว่าจะทำงานให้แก่บริษัทฯ เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปี นับแต่วันครบกำหนดการทดลองงาน... และข้อ 16 มีข้อความว่า เพื่อเป็นหลักประกันในการปฏิบัติงานของพนักงานตามสัญญานี้ พนักงานได้วางเงินประกันการทำงานไว้แก่บริษัทฯ เป็นจำนวนเงิน 5,000 บาท เมื่อวันที่ 15พฤศจิกายน 2531 ถ้าพนักงานมีความประสงค์ที่จะลาออกและได้ทำงานไม่น้อยกว่า 3 ปีแล้ว ทางบริษัทฯ จะคืนเงินประกันจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยตามอัตราดอกเบี้ยธนาคารให้ ข้อสัญญาดังกล่าวย่อมมีความหมายว่า พนักงานที่จำเลยจะคืนเงินประกันเมื่อพนักงานผู้นั้นลาออกตามสัญญาข้อ 16 หมายถึงพนักงานที่จำเลยได้ตกลงว่าจ้างให้เป็นพนักงานประจำของจำเลยตามสัญญาข้อ 4,5 ดังนั้นเมื่อโจทก์ซึ่งเป็นเพียงพนักงานที่จำเลยตกลงว่าจ้างให้ปฏิบัติงานเป็นการทดลองงานขอลาออกจากงานในระหว่างทดลองงาน จึงไม่เป็นการผิด สัญญาจ้างจำเลยจะอ้างเป็นเหตุไม่คืนเงินประกันให้แก่โจทก์ไม่ได้ การตีความสัญญานั้นต้องพิจารณาข้อความในสัญญาทั้งฉบับ จะหยิบยกแต่เฉพาะข้อสัญญาข้อใดข้อหนึ่งหรือเพียงบางข้อขึ้นวินิจฉัยหาเป็นกาถูกต้องไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 401/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความเจตนาในสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับการชำระหนี้แทนและการโอนที่ดิน
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยมีเจตนาให้โจทก์ชำระหนี้เงินกู้แทนจำเลยแล้วจำเลยจะโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ แต่เนื่องจากโจทก์จำเลยเข้าใจว่าการที่จำเลยกู้เงินโดยมอบใบน.ส.3 ก. ให้เจ้าหนี้ไว้นั้นเป็นจำนองจึงระบุในสัญญาประนีประนอมว่าให้โจทก์เป็นผู้ไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทดังนี้ตามสัญญาประนีประนอมนั้นโจทก์มีหน้าที่ต้องชำระเงินกู้แทนจำเลย
คดีในชั้นฎีกาพิพาทกันเกี่ยวกับการแปลเจตนาของคู่ความในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความในศาล โจทก์ฎีกาเกี่ยวกับคำสั่งอันเกี่ยวด้วยคำขอเพื่อจะบังคับคดีตามคำพิพากษาต่อไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 228(2) ตอนท้าย จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 ข..
of 17