พบผลลัพธ์ทั้งหมด 351 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6933/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความละเมิดจากการก่อสร้างต่อเนื่อง และความรับผิดร่วมกันของหลายฝ่าย
แม้จะฟังได้ความว่า จำเลยทำการตอกหรือหล่อเสาเข็มแล้วเสร็จ แต่งานก่อสร้างอาคารชุดพิพาทก็ยังคงต้องดำเนินการต่อเนื่องไปจนเสร็จบริบูรณ์ จะถือเอางานช่วงใดช่วงหนึ่งที่จำเลยก่อสร้างเสร็จเป็นวันเริ่มนับอายุความฟ้องร้องหาได้ไม่ ดังนั้น ตราบใดที่จำเลยยังกระทำการก่อสร้างต่อไปซึ่งเป็นเหตุให้อาคารโจทก์ได้รับความเสียหาย ย่อมถือ ได้ว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 กระทำละเมิดต่อโจทก์ติดต่อกันตลอดมาอยู่ตราบนั้น โจทก์มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลย เพราะการกระทำนั้นได้ นับแต่วันที่จำเลยก่อสร้างอาคารชุดพิพาทเสร็จเมื่อเดือนมีนาคม 2535 อันถือได้ว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนคือจำเลยตั้งแต่วันดังกล่าว โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2535 ยังไม่เกิน 1 ปี คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคแรก
จำเลยฎีกาอ้างว่า ผู้ทำการตอกเจาะหล่อเสาเข็มในการก่อสร้างอาคารชุดนั้น คือ บริษัท ส. จำกัด ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก จำเลยไม่จำต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์นั้น เป็นกรณีบุคคลหลายคนก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์โดยร่วมกันทำละเมิด แม้จะไม่สามารถรู้ตัวได้แน่ว่าคนไหนเป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายนั้นก็ตาม จำเลยก็ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ตามมาตรา 432
จำเลยฎีกาอ้างว่า ผู้ทำการตอกเจาะหล่อเสาเข็มในการก่อสร้างอาคารชุดนั้น คือ บริษัท ส. จำกัด ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก จำเลยไม่จำต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์นั้น เป็นกรณีบุคคลหลายคนก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์โดยร่วมกันทำละเมิด แม้จะไม่สามารถรู้ตัวได้แน่ว่าคนไหนเป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายนั้นก็ตาม จำเลยก็ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ตามมาตรา 432
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6441/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานกระทำชำเราหลายกรรมต่างกัน แม้กระทำต่อเนื่องใกล้เคียงกัน
จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายในปี 2536 รวม 3 ครั้ง และในปี 2537 รวม 2 ครั้ง หลังจากกระทำความผิดในแต่ละครั้ง จำเลยมิได้ควบคุมหรือหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายไว้เพื่อกระทำชำเราผู้เสียหายในครั้งต่อไปแต่อย่างใดผู้เสียหายคงอยู่ที่บ้านและไปโรงเรียนตามปกติ ดังนี้ ผู้เสียหายได้พ้นจากภยันตรายอันเกิดจากการกระทำความผิดของจำเลยแต่ละครั้งแล้ว แม้จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายครั้งที่สองห่างจากครั้งแรกประมาณ 2 ถึง 3 วัน ครั้งที่สามห่างจากครั้งที่สองเพียง 1 วัน และครั้งที่ห้าห่างจากครั้งที่สี่เพียง 1 วัน และในแต่ละครั้งจำเลยกระทำไปโดยมีเจตนากระทำชำเราเหมือนกันก็ตาม การกระทำความผิดของจำเลยในแต่ละครั้งจึงเป็นการกระทำต่อผู้เสียหายคนละวันต่างวาระกันและมิได้เป็นการกระทำต่อเนื่องกันแต่อย่างใด จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายรวม 5 ครั้ง จึงเป็นความผิดรวม 5 กระทง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6192/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์จากการส่งมอบการครอบครองต่อเนื่อง
ป.ได้ออกเงินชำระหนี้เงินกู้ของ ด.ให้ ช. ด.จึงยกที่พิพาทให้แก่ ป.ตั้งแต่ปี 2497 ต่อมา ป.ให้ ล.และจำเลยที่ 1 เช่าที่พิพาททำนาหลังจากนั้น ป.ขายที่พิพาทให้แก่โจทก์และได้ส่งมอบที่พิพาทให้โจทก์เข้าครอบครองทำนาในที่พิพาทต่อจากการครอบครองของ ป.ตั้งแต่ปี 2525 ติดต่อมาจนปัจจุบันแม้การยกให้ที่พิพาทระหว่าง ป.กับ ด. กับการขายที่พิพาทระหว่าง ป.กับโจทก์ไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ตาม แต่การที่ ด.ส่งมอบการครอบครองที่พิพาทให้ ป. แสดงว่า ด.ได้เจตนาสละการครอบครองที่พิพาทให้แก่ ป.แล้ว การครอบครองของ ด.ย่อมสิ้นสุดลง ป.จึงมีสิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1377, 1378 ครั้น ป.ขายที่พิพาทให้แก่โจทก์และส่งมอบที่พิพาทให้โจทก์แสดงว่า ป.ได้เจตนาสละการครอบครองที่พิพาทให้แก่โจทก์โจทก์จึงมีสิทธิครอบครองเช่นกัน และในกรณีเช่นนี้โจทก์ย่อมนับระยะเวลาที่ ป.ครอบครองที่พิพาทรวมติดต่อกับระยะเวลาที่โจทก์ครอบครองที่พิพาทเข้าด้วยกันได้ตาม มาตรา 1385
ป.ได้ครอบครองที่พิพาทของ ด.โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตั้งแต่ปี 2497 และโจทก์ได้ครอบครองที่พิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของสืบต่อจาก ป.ตั้งแต่ปี 2525ตลอดมาเกินกว่าสิบปีแล้วเช่นนี้ โจทก์ย่อมได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ตามมาตรา 1382
ป.ได้ครอบครองที่พิพาทของ ด.โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตั้งแต่ปี 2497 และโจทก์ได้ครอบครองที่พิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของสืบต่อจาก ป.ตั้งแต่ปี 2525ตลอดมาเกินกว่าสิบปีแล้วเช่นนี้ โจทก์ย่อมได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ตามมาตรา 1382
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5759/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในสัญญาจ้างต่อเนื่อง: ตั๋วเครื่องบินและค่าขนย้ายสัมภาระยังคงมีผลผูกพัน แม้สัญญาจ้างแรกสิ้นสุด
สัญญาจ้างระหว่างโจทก์จำเลยฉบับแรกในส่วนที่เกี่ยวกับตั๋วเครื่องบินมีข้อความว่า "เริ่มต้นของสัญญานี้ ท่านไม่มีสิทธิได้รับตั๋วเครื่องบินไปกลับและจากบ้าน อย่างไรก็ดีเมื่อสัญญาฉบับ 1 ปีเต็ม ได้ตกลงกัน ปี 2539ท่านมีสิทธิได้รับตั๋วเครื่องบินชั้นประหยัดในการเดินทางแบบเที่ยวเดียว จำนวน4 ใบ จากภูเก็ตไปที่ใด ๆ สำหรับท่านและครอบครัวของท่านทันที นอกจากนั้นค่าธรรมเนียมในการขนย้ายทรัพย์สินของท่านไปภูเก็ต และจากภูเก็ตไปที่อื่นจะได้รับการชดใช้โดยรีสอร์ทในวงเงินสูงสุดเท่ากับเงินเดือนที่ท่านได้รับ 1 เดือน"โดยสัญญาจ้างฉบับแรกนี้ทำขึ้นเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2538 มีระยะเวลาการจ้างตั้งแต่วันที่ 8 ตุลาคม 2538 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2538 ต่อมาจึงมีการทำสัญญาจ้างตามเอกสารหมาย จ.2 ขึ้นก่อนสัญญาจ้างฉบับแรกครบกำหนด โดยมีกำหนดระยะเวลาการจ้าง 1 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2538 ถึงวันที่30 พฤศจิกายน 2539 มีข้อความในตอนแรกว่า "ตามสัญญาจ้างของเรากับท่านฉบับลงวันที่ 26 ตุลาคม 2538 และอาศัยการตกลงด้วยวาจาโดยการอนุมัติของไคจ์แอนดรีเซ่น เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2538 ข้าพเจ้ามีความยินดีต่อสัญญาจ้างให้ท่านใหม่อีก 1 ปี..." ข้อความในสัญญาจ้างฉบับหลังดังกล่าวย่อมแสดงโดยชัดแจ้งว่าการทำสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.2 เป็นผลสืบเนื่องมาจากสัญญาจ้างฉบับแรกเมื่อสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.2 จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจ้างโจทก์ต่อมีกำหนด1 ปี ซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขในสัญญาจ้างฉบับแรก ดังนี้ สิทธิของโจทก์ที่จะได้รับค่าตั๋วเครื่องบินและค่าขนย้ายสัมภาระก็ย่อมเกิดขึ้นทันทีเมื่อมีการทำสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.2 ตามที่ระบุไว้ในสัญญาจ้างฉบับแรก โดยไม่จำต้องระบุสิทธิของโจทก์ในเรื่องนี้ไว้ในสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.2 อีก และสิทธิของโจทก์ดังกล่าวจะลบล้างได้ก็โดยคู่กรณีตกลงกันยกเลิกเท่านั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าตามสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.2 มีการยกเลิกสิทธิเกี่ยวกับค่าตั๋วเครื่องบินและค่าขนย้ายสัมภาระของโจทก์แต่อย่างใด จึงต้องถือว่าข้อตกลงในเรื่องดังกล่าวตามสัญญาจ้างฉบับแรก ยังคงมีผลผูกพันจำเลยทั้งสองให้ต้องปฏิบัติตามสัญญานั้นต่อไป แม้ว่าสัญญาจ้างฉบับแรกจะสิ้นสุดลงแล้วก็ตาม
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 5 ให้คำนิยามคำว่า นายจ้างในทำนองเดียวกันกับที่บัญญัติไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2 เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการทั่วไปและมีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ย่อมมีฐานะเป็นนายจ้างของโจทก์ด้วยตามบทบัญญัติดังกล่าว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ได้ แต่กิจการใดอันตัวแทนได้กระทำไปในขอบอำนาจของตัวแทนนั้นเป็นการกระทำของตัวการ จำเลยที่ 1ผู้เป็นตัวการจึงต้องผูกพันต่อบุคคลภายนอกในการกระทำของจำเลยที่ 2 ที่ได้กระทำไปภายในวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ไม่ต้องผูกพันรับผิดเป็นส่วนตัวต่อโจทก์ด้วย
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 5 ให้คำนิยามคำว่า นายจ้างในทำนองเดียวกันกับที่บัญญัติไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2 เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการทั่วไปและมีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ย่อมมีฐานะเป็นนายจ้างของโจทก์ด้วยตามบทบัญญัติดังกล่าว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ได้ แต่กิจการใดอันตัวแทนได้กระทำไปในขอบอำนาจของตัวแทนนั้นเป็นการกระทำของตัวการ จำเลยที่ 1ผู้เป็นตัวการจึงต้องผูกพันต่อบุคคลภายนอกในการกระทำของจำเลยที่ 2 ที่ได้กระทำไปภายในวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ไม่ต้องผูกพันรับผิดเป็นส่วนตัวต่อโจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5392/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิสมัครรับเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้าน: การพิจารณาภูมิลำเนาต่อเนื่อง แม้ทำงานต่างประเทศ
ข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการเลือกผู้ใหญ่บ้านพ.ศ. 2535 ข้อ 6 กำหนดให้นายอำเภอดำเนินการเลือกผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งนายอำเภอจะต้องเป็นผู้ประกาศกำหนดวันเวลาสถานที่เลือก เวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการลงคะแนน ระยะเวลาการสมัครรับเลือก นอกจากนี้ให้นายอำเภอจัดทำบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือก บัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือก การแต่งตั้งคณะกรรมการเลือก แต่งตั้งเจ้าหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยณ ที่เลือกและเป็นประธานหรือมอบหมายให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดเป็นประธานคณะกรรมการเลือกและอื่น ๆ ตามข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยฯ พ.ศ. 2535 ข้อ 5 ข้อ 7 ข้อ 8 และข้อ 9ดังนี้ นายอำเภอจึงเป็นผู้รับผิดชอบสูงสุดที่จะดำเนินการเลือกผู้ใหญ่บ้านแต่ละครั้งให้สำเร็จลุล่วงด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรม โจทก์เป็นผู้สมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยฯ พ.ศ. 2535 ข้อ 8 วรรคสอง กำหนดว่าก่อนนายอำเภอจะรับใบสมัครของผู้สมัครรับเลือกผู้ใหญ่บ้านให้คณะกรรมการเลือกตรวจสอบคุณสมบัติและหลักฐานประกอบการสมัครรับเลือกของผู้สมัครทุกราย และให้นายอำเภอจัดทำบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านแล้วประกาศให้ ราษฎรทราบก่อนวันเลือกไม่น้อยกว่าสามวัน แสดงว่าแม้คณะกรรมการเลือกจะต้องตรวจสอบคุณสมบัติและหลักฐานประกอบการสมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านของผู้สมัครทุกรายก็ตามแต่ผู้ที่จะรับสมัครในชั้นที่สุดและประกาศแสดงให้ผู้สมัครหรือราษฎรทราบว่าผู้สมัครรายใดมีสิทธิหรือไม่มีสิทธิรับเลือกบ้างก็คือนายอำเภอซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบสูงสุดในการดำเนินการเลือก หาใช่กรรมการเลือกแต่เพียงฝ่ายเดียวไม่ดังนั้น การรับสมัครและการจัดทำบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านจึงยังตกอยู่ในความรับผิดชอบของนายอำเภอ เพียงแต่ต้องให้คณะกรรมการเลือกเป็นผู้กลั่นกรองตรวจสอบคุณสมบัติและหลักฐานประกอบการสมัครรับเลือกของผู้สมัคร อันพอถือได้ว่าเป็นการถ่วงดุลมิให้นายอำเภอรับสมัครบุคคลใด ๆ ได้ตามอำเภอใจ การที่จำเลยซึ่งเป็นนายอำเภอท้องที่ที่มีการเลือกผู้ใหญ่บ้านและเป็นผู้ดำเนินการเลือกไม่รับสมัครโจทก์เป็นผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน ด้วยการไม่ประกาศรายชื่อโจทก์ในบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านโดยอ้างว่าโจทก์ไม่ได้มีภูมิลำเนาและมีชื่อในทะเบียนบ้านในหมู่บ้านที่มีการเลือกผู้ใหญ่บ้านติดต่อกันมาแล้ว ไม่น้อยกว่าสองปีจนถึงวันเลือกตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครอง ท้องที่ พ.ศ. 2457 มาตรา 12(3) ที่แก้ไขแล้ว ย่อมทำให้ โจทก์เสียสิทธิดังกล่าวโดยไม่มีทางเยียวยาได้ในทางปกครอง การกระทำของจำเลยจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์โดยตรงหากข้อเท็จจริงปรากฏว่าคุณสมบัติและหลักฐานประกอบการสมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านของโจทก์ตามที่คณะกรรมการเลือกผู้ใหญ่บ้านได้ตรวจสอบไว้แล้วนั้นครบถ้วนถูกต้องเพียงแต่จำเลยวินิจฉัยและจัดทำบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกดังกล่าวขัดต่อบทกฎหมายข้างต้น โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีขอให้ศาลมีคำสั่งบังคับให้จำเลยรับสมัครโจทก์และจัดทำบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน เสียใหม่ แล้วประกาศให้ราษฎรทราบเพื่อดำเนินการเลือก ผู้ใหญ่บ้านต่อไปได้ คำสั่งดังกล่าวของศาลย่อมลบล้าง ข้อวินิจฉัยของจำเลยไปในตัว หาเป็นการบังคับให้จำเลย กระทำการใดอันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย หรือเป็นการก้าวล่วง อำนาจของฝ่ายปกครองที่ได้วินิจฉัยสั่งการไปโดย มิชอบด้วยกฎหมายนั้นไม่ ข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยฯ พ.ศ. 2535 ข้อ 26 กำหนดว่าเมื่อประกาศผลการเลือกผู้ใหญ่บ้านแล้ว ผู้สมัครหรือผู้มีสิทธิเลือกผู้ใดเห็นว่าการเลือกเป็นไปโดยมิชอบ ให้มีสิทธิร้องคัดค้านการเลือกต่อผู้ว่าราชการจังหวัดภายสิบห้าวันนับแต่วันเลือกเพื่อให้มีการเลือกใหม่ แต่เรื่องข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยฯ พ.ศ. 2535 ข้ออื่น ๆ ได้กำหนดขั้นตอนการเลือกผู้ใหญ่บ้านไว้เป็นลำดับ ตั้งแต่กำหนดวันเวลาสถานที่เลือก ระยะเวลาการสมัครรับเลือกการตั้งคณะกรรมการเลือก การตรวจคุณสมบัติและหลักฐานของผู้สมัครรับเลือกการจัดทำบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน บัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกผู้ใหญ่บ้านการประกาศและประชุมราษฎรในหมู่บ้านเพื่อแจ้งวัตถุประสงค์ในการเลือก คุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือก คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือก ตลอดจนวิธีการเลือกให้ราษฎรทราบโดยทั่วกัน ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเพียงขั้นตอนการเตรียมการเลือกผู้ใหญ่บ้านตามข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยฯ พ.ศ. 2535ข้อ 5 ข้อ 6 ข้อ 7 ข้อ 8 ข้อ 9 และข้อ 10 เท่านั้น ต่อจากนั้นเป็นขั้นตอนการเลือกผู้ใหญ่บ้านซึ่งอาจเป็นการเลือกโดยวิธีลับหรือโดยวิธีเปิดเผย การลงคะแนน การนับคะแนนที่นายอำเภอและคณะกรรมการเลือกผู้ใหญ่บ้านจะต้องควบคุม ดูแลการเลือกและการประกาศผลการเลือกผู้ใหญ่บ้านให้เป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรมตามข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยฯพ.ศ. 2535 ข้อ 11 ถึงข้อ 24 และขั้นตอนสุดท้ายเป็นการรายงานผลการเลือกผู้ใหญ่บ้านให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทราบตามข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยฯ พ.ศ. 2535 ข้อ 25ดังนี้ การที่จำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์โดยตัดสิทธิไม่ให้โจทก์สมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน ด้วยการไม่ประกาศชื่อโจทก์ในบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านจึงเกิดขึ้นก่อนการเลือกผู้ใหญ่บ้าน ดังนั้น จึงไม่มีการเลือกผู้ใหญ่บ้านที่จะให้โจทก์อ้างว่าการเลือกเป็นไปโดยมิชอบในขณะนั้นที่โจทก์จะต้องร้องคัดค้านต่อผู้ว่าราชการจังหวัด เมื่อโจทก์มิได้คัดค้านว่าการเลือกตั้งเป็นไปโดยมิชอบ แต่อ้างเพียงว่าจำเลยไม่รับสมัครโจทก์ทำให้โจทก์เสียสิทธิไม่ได้ลงสมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านเท่านั้น กรณีจึงไม่ต้องด้วยข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยพ.ศ. 2535 ข้อ 26 ทั้งไม่มีข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยฯข้ออื่นใดที่บังคับให้โจทก์ต้องร้องคัดค้านต่อผู้ว่าราชการจังหวัดก่อนที่จะฟ้องคดีในกรณีเช่นนี้โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง โจทก์เกิดเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2501 ที่หมู่ที่ 7ตำบลโคกบีบอำเภอศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นสายสามัญ (ม.ศ.3) จากโรงเรียนโคกปีบวิทยาคม และโจทก์อยู่บ้านเลขที่ 144/1หมู่ที่ 7 ตำบลโคบปีบ มาตั้งแต่เกิดและย้ายทะเบียนบ้านไปอยู่อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว เมื่อวันที่18 กรกฎาคม 2532 ต่อมาอีกเพียง 3 เดือนเศษ ก็ย้ายกลับมาอยู่ที่บ้านเลขที่ดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 6 ตุลาคม 2532แสดงว่าโจทก์ถือเอาบ้านเลขที่ 144/1 หมู่ที่ 7 ตำบลโคกปีบซึ่งเป็นท้องที่ที่จำเลยประกาศให้มีการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านเป็นแหล่งที่อยู่สำคัญมาตั้งแต่เกิดเป็นเวลากว่า 30 ปีแล้วบ้านเลขที่ดังกล่าวจึงเป็นภูมิลำเนาของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 37 ส่วนการที่โจทก์ไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่นโจทก์มิได้แจ้งย้ายไปอยู่ที่อื่นหรือแสดงเจตนาอย่างชัดแจ้งว่าโจทก์จะถือเอาประเทศญี่ปุ่นเป็นภูมิลำเนา การไปอยู่ประเทศญี่ปุ่นจึงเป็นเพียงเพราะสภาพของานบังคับให้ไปอยู่ที่นั่น ทั้งระยะทางก็อยู่ห่างไกลกันคนละประเทศ จะให้โจทก์เทียวไปเทียวมาระหว่างบ้านกับประเทศญี่ปุ่นเพื่อที่จะแสดงว่าโจทก์ไม่ได้ย้ายภูมิลำเนาย่อมเป็นไปไม่ได้ กรณีต้องถือว่าโจทก์ไปทำงานเพียงชั่วคราวเท่านั้น การที่โจทก์ไม่ประสงค์จะเปลี่ยนหรือย้ายภูมิลำเนาและโจทก์มีความรักและความผูกพันในหมู่บ้านซึ่งเป็นบ้านเกิดของตนอย่างแน่นแฟ้นเป็นเวลานานพอสมควรในการอยู่ในหมู่บ้าน สมดังเจตนารมณ์ของกฎหมายลักษณะปกครองท้องถิ่นที่ที่ประสงค์จะให้ผู้สมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านมีความผูกพันในหมู่บ้านที่จะสมัครรับเลือกตั้งนั้นแล้ว และเมื่อโจทก์กลับมาแล้วก็ได้ประกอบอาชีพอยู่ในหมู่บ้านเป็นหลักฐานตลอดมา ต้องถือว่าโจทก์มีภูมิลำเนาและมีชื่อในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรในหมู่บ้านนั้นติดต่อกันมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี จนถึงวันเลือก มิเช่นนั้นก็จะกลายเป็นว่านอกจากโจทก์จะมีภูมิลำเนาและมีชื่อในทะเบียนบ้านแล้ว โจทก์ต้องอยู่ที่หมู่บ้านนั้นเป็นประจำตลอดจะไปไหนไม่ได้เลยระหว่างนั้นแม้เป็นการทำงานเพียงชั่วคราว อันเป็นการแปลกฎหมายไปในทางที่ตัดสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 มาตรา 12(3)การที่จำเลยไม่รับสมัครโจทก์เป็นผู้มีสิทธิรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านด้วยข้ออ้างดังกล่าวจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3884/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ทางข้ามที่ดินของผู้อื่นโดยอาศัยอนุญาต ไม่เป็นภารจำยอม แม้ใช้ต่อเนื่องนาน
เมื่อจำเลยซื้อที่ดินมาแล้วก็ได้สร้างกำแพงกั้นตลอดแนวระหว่างที่ดินของโจทก์จำเลย คงเว้นเป็นช่องกว้าง 3.85 เมตรเพื่อให้โจทก์ใช้ผ่านเข้าออกแต่ได้สร้างประตูเหล็กบานเลื่อนกั้นไว้ในที่ดินของจำเลย มีสายยูคล้องกุญแจและสามารถใส่กุญแจได้เมื่อไม่ประสงค์ให้โจทก์ใช้ แสดงถึงการหวงกันมิให้โจทก์หรือบุคคลอื่นใช้ทางพิพาทโดยพลการ จึงถือได้ว่า โจทก์ใช้ทางพิพาทโดยอาศัยสิทธิและการอนุญาตให้ใช้จากฝ่ายจำเลยดังนั้น ไม่ว่าโจทก์จะใช้ทางพิพาทมานานเท่าใดก็ไม่ทำให้ทางพิพาทตกเป็นทางภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2782/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมโดยอายุความ: การใช้ทางต่อเนื่องโดยไม่ถูกขัดขวางเกิน 10 ปี ถือเป็นการได้มาซึ่งภารจำยอม
ภารจำยอมอาจเกิดจากการยินยอมอนุญาตให้ใช้ทางในเบื้องต้นก่อนต่อมาเมื่อเริ่มใช้ทางแล้วหากผู้ใช้ได้ใช้ทางนั้นในลักษณะเป็นการใช้โดยถือสิทธิเป็นปรปักษ์ต่อเจ้าของทางตลอดมาเป็นเวลาเกินกว่า10ปีโดยเจ้าของทางมิได้หวงห้ามหรือสงวนสิทธิในอสังหาริมทรัพย์ของตนทั้งแสดงว่าได้ยอมรับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบกระเทือนต่อสิทธิในอสังหาริมทรัพย์ของตนโ่ดยสมัครใจแล้วการใช้ทางดังกล่าวจึงทำให้เกิดสิทธิภารจำยอมโดยอายุความได้ดังนั้นแม้โจทก์ที่1และที่3จะเบิกความว่าได้ขออนุญาตต. และค.เดิมในทางพิพาทก็น่าจะมีความหมายว่าเป็นการขออนุญาตเดินในตอนแรกๆเท่านั้นเมื่อโจทก์ทั้งสี่ได้ใช้ทางพิพาทเป็นเวลา40-50ปีโดยไม่ปรากฎว่าต. และค.ห้ามปรามหรือขัดขวางการใช้ทางพิพาทหรือบอกสงวนสิทธิในทางพิพาทแต่ประการใดนอกจากนี้หลังจากจำเลยทั้งสองซื้อที่ดินมาจากต. แล้วก็มิได้หวงห้ามมิให้โจทก์ทั้งสี่ใช้ทางพิพาทต่อไปแสดงว่าจำเลยทั้งสองได้ยอมรับสิทธิของโจทก์ทั้งสี่ในการใช้ทางพิพาทเป็นทางเดินออกไปสู่ทางสาธารณะพฤติการณ์ของโจทก์ทั้งสี่ในการใช้ทางพิพาทของจำเลยทั้งสองในลักษณะเช่นนี้ถือได้ว่าเป็นการใช้ในลักษณะที่เป็นปรปักษ์ต่อเจ้าของทางพิพาทมิใช่เป็นการใช้ทางพิพาทโดยได้รับอนุญาตเป็นการเฉพาะตัวแต่อย่างใดเมื่อโจทก์ทั้งสี่ใช้ทางพิพาทติดต่อกันมาเป็นเวลาเกินกว่า10ปีแล้วโจทก์ทั้งสี่ย่อมได้ภารจำยอมในทางพิพาทโดยอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 114/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ้างงานต่อเนื่องในโครงการก่อสร้าง ไม่ถือเป็นการจ้างงานครั้งคราว
จำเลยรับเหมางานก่อสร้างทั่วไปตามที่จะประมูลได้ ต้องหมายความว่า การรับเหมางานก่อสร้างทุกชนิดเป็นงานปกติของธุรกิจหรือการค้าของจำเลย โครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกเกาะสีชังที่จำเลยประมูลได้เป็นงานก่อสร้าง จึงเป็นงานปกติของธุรกิจหรือการค้าของจำเลย
ตามสัญญาจ้างเอกสารหมาย จล.1 ถึง จล.9 จำเลยว่าจ้างโจทก์ให้ทำงานในโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกเกาะสีชัง ระยะที่ 1 ซึ่งแม้ตามสัญญาจ้างจะกำหนดวันสิ้นสุดสัญญาจ้างไว้ แต่ตามสัญญาจ้างข้อ 15 การต่อสัญญาจ้างมีข้อความว่า ในกรณีที่สัญญาสิ้นสุดตามกำหนดแต่โครงการยังไม่แล้วเสร็จ จำเลยอาจพิจารณาต่อสัญญากับลูกจ้างตามความจำเป็นของงาน ทั้งนี้จะได้ทำการตกลงกับลูกจ้างที่ได้รับการต่อสัญญาเป็นราย ๆ ไป สัญญาจ้างที่จำเลยว่าจ้างโจทก์ซึ่งเป็นการว่าจ้างให้ทำงานในโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกเกาะสีชัง ระยะที่ 1ทั้งโครงการ และเมื่อครบกำหนดเวลาตามสัญญาจ้างหากโครงการยังไม่เสร็จก็มีการต่อสัญญากันได้อีก เช่นนี้ จึงไม่ใช่เป็นการจ้างให้ทำงานในลักษณะที่เป็นครั้งคราวตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46
ตามสัญญาจ้างเอกสารหมาย จล.1 ถึง จล.9 จำเลยว่าจ้างโจทก์ให้ทำงานในโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกเกาะสีชัง ระยะที่ 1 ซึ่งแม้ตามสัญญาจ้างจะกำหนดวันสิ้นสุดสัญญาจ้างไว้ แต่ตามสัญญาจ้างข้อ 15 การต่อสัญญาจ้างมีข้อความว่า ในกรณีที่สัญญาสิ้นสุดตามกำหนดแต่โครงการยังไม่แล้วเสร็จ จำเลยอาจพิจารณาต่อสัญญากับลูกจ้างตามความจำเป็นของงาน ทั้งนี้จะได้ทำการตกลงกับลูกจ้างที่ได้รับการต่อสัญญาเป็นราย ๆ ไป สัญญาจ้างที่จำเลยว่าจ้างโจทก์ซึ่งเป็นการว่าจ้างให้ทำงานในโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกเกาะสีชัง ระยะที่ 1ทั้งโครงการ และเมื่อครบกำหนดเวลาตามสัญญาจ้างหากโครงการยังไม่เสร็จก็มีการต่อสัญญากันได้อีก เช่นนี้ จึงไม่ใช่เป็นการจ้างให้ทำงานในลักษณะที่เป็นครั้งคราวตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9541/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิภารจำยอมโดยอายุความจากการใช้ทางต่อเนื่องโดยเปิดเผยและสงบ แม้มีการโอนกรรมสิทธิ์
ว. ใช้ที่พิพาทเป็นทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะโดยสงบเปิดเผยด้วยเจตนาให้เป็นทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะตลอดมาเกินกว่า 10 ปีแล้ว ว. จึงได้สิทธิภารจำยอมในที่พิพาทโดยอายุความ โจทก์ซึ่งรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างจาก ว. ย่อมได้สิทธิภารจำยอมโดยอายุความในที่พิพาทด้วย ฎีกาของจำเลยที่ว่า ว. โอนขายที่ดินทั้งสองแปลงให้แก่ส.เมื่อปี2524และว.ซื้อคืนมาในปี2528ว.ใช้ที่พิพาทเป็นทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะติดต่อกันไม่ถึง10 ปี จึงไม่ได้สิทธิภารจำยอมโดยอายุความ ข้อปัญหานี้จำเลยไม่ได้ให้การไว้ ศาลชั้นต้นมิได้หยิบยกขึ้นวินิจฉัยการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายกรณีต้องถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ อีกทั้งมิได้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงต้องห้ามฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6636/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อสู้ทำร้ายร่างกายซึ่งกันและกันและเหตุป้องกัน
บ.เพื่อนของจำเลยเป็นผู้ก่อเหตุโดยใช้ขวดน้ำอัดลมตีทำร้ายร่างกายพวกของผู้ตายก่อนแล้ววิ่งหนี ในทันทีทันใดนั้นผู้ตายกับพวกวิ่งไล่ตามแล้วผู้ตายแทงทำร้าย บ.และจำเลยได้แทงทำร้ายผู้ตายเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อเนื่องเกี่ยวพันกันเป็นการสมัครใจเข้าต่อสู้ทำร้ายร่างกายซึ่งกันและกัน จำเลยจึงอ้างเหตุป้องกัน บ.ไม่ได้