คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ต่างประเทศ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 229 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1015/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่เสียภาษีเงินได้จากการเป็นตัวแทนติดต่อซื้อขายสินค้าต่างประเทศ
การที่โจทก์แนะนำบริษัท ม.ซึ่งเป็นบริษัทต่างประเทศให้แก่บริษัท ท.ซึ่งเป็นลูกค้าของโจทก์ในประเทศไทย ได้มีการติดต่อผ่านโจทก์จนทำการซื้อขายสินค้ากัน แม้ผู้ซื้อซึ่งเป็นลูกค้าของโจทก์จะทำสัญญาซื้อขายและชำระค่าสินค้าให้แก่ผู้ขายซึ่งเป็นบริษัทต่างประเทศโดยตรง โดยโจทก์มิได้มีส่วนรับผิดเกี่ยวกับการซื้อขายหรือการชำระค่าสินค้าก็ตาม แต่การที่บริษัทต่างประเทศสามารถขายสินค้าให้แก่ลูกค้าในประเทศไทยได้ก็เนื่องมาจากโจทก์เป็นตัวเชื่อมให้ผู้ซื้อและผู้ขายติดต่อกัน จึงถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อให้แก่บริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ เมื่อบริษัทต่างประเทศได้รับชำระค่าสินค้าย่อมมีเงินได้หรือผลกำไรรวมอยู่ด้วย โจทก์จึงมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นแบบรายการและเสียภาษีเงินได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 76 ทวิ
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 70 ทวิ ผู้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้ในการจำหน่ายกำไรออกไปจากประเทศไทยนั้น ต้องเป็นผู้จำหน่ายเงินกำไรหรือเงินที่ถือได้ว่าเป็นเงินกำไร โจทก์เป็นเพียงผู้แทนทำการติดต่อกับลูกค้าในประเทศไทยในการขายสินค้าแทนบริษัทต่างประเทศ เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์เป็นสาขาของบริษัทต่างประเทศและเป็นผู้จำหน่ายเงินกำไร หากแต่ลูกค้าของโจทก์ในประเทศไทยได้ติดต่อทำสัญญาซื้อขายและชำระค่าสินค้าให้แก่บริษัทต่างประเทศโดยตรง แม้ค่าสินค้าที่ลูกค้าชำระจะมีเงินกำไรรวมอยู่ด้วย แต่โจทก์ก็มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการส่งเงินไปชำระค่าสินค้า จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้จำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย จึงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีจากการจำหน่ายกำไรออกไปจากประเทศไทย ตามมาตรา 70 ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1015/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้จากการเป็นตัวแทนติดต่อซื้อขายสินค้าต่างประเทศ และการจำหน่ายกำไรออกนอกประเทศ
การที่โจทก์แนะนำบริษัทม.ซึ่งเป็นบริษัทต่างประเทศให้แก่บริษัทท.ซึ่งเป็นลูกค้าของโจทก์ในประเทศไทยได้มีการติดต่อผ่านโจทก์จนทำการซื้อขายสินค้ากันแม้ผู้ซื้อซึ่งเป็นลูกค้าของโจทก์จะทำสัญญาซื้อขายและชำระค่าสินค้าให้แก่ผู้ขายซึ่งเป็นบริษัทต่างประเทศโดยตรงโดยโจทก์มิได้มีส่วนรับผิดเกี่ยวกับการซื้อขายหรือการชำระค่าสินค้าก็ตามแต่การที่บริษัทต่างประเทศสามารถขายสินค้าให้แก่ลูกค้าในประเทศไทยได้ก็เนื่องมาจากโจทก์เป็นตัวเชื่อมให้ผู้ซื้อและผู้ขายติดต่อกันจึงถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อให้แก่บริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศเมื่อบริษัทต่างประเทศได้รับชำระค่าสินค้าย่อมมีเงินได้หรือผลกำไรรวมอยู่ด้วยโจทก์จึงมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นแบบรายการและเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากรมาตรา76ทวิ ตามประมวลรัษฎากรมาตรา70ทวิผู้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้ในการจำหน่ายกำไรออกไปจากประเทศไทยนั้นต้องเป็นผู้จำหน่ายเงินกำไรหรือเงินที่ถือได้ว่าเป็นเงินกำไรโจทก์เป็นเพียงผู้แทนทำการติดต่อกับลูกค้าในประเทศไทยในการขายสินค้าแทนบริษัทต่างประเทศเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์เป็นสาขาของบริษัทต่างประเทศและเป็นผู้จำหน่ายเงินกำไรหากแต่ลูกค้าของโจทก์ในประเทศไทยได้ติดต่อทำสัญญาซื้อขายและชำระค่าสินค้าให้แก่บริษัทต่างประเทศโดยตรงแม้ค่าสินค้าที่ลูกค้าชำระจะมีเงินกำไรรวมอยู่ด้วยแต่โจทก์ก็มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการส่งเงินไปชำระค่าสินค้าจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้จำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทยจึงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีจากการจำหน่ายกำไรออกไปจากประเทศไทยตามมาตรา70ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1009/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดจำหน่ายสินค้าต่างประเทศ: การไม่มีสถานประกอบการถาวรและฐานะตัวแทนทางภาษี
โจทก์กล่าวในฟ้องว่า โจทก์ไม่ใช่สถานประกอบการถาวรในประเทศไทยของบริษัทผู้ผลิตหรือผู้ขายสินค้าซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของประเทศญี่ปุ่นผู้ผลิตหรือผู้ขายสินค้าดังกล่าวได้รับประโยชน์จากอนุสัญญาระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่นเพื่อการยกเว้นการเก็บภาษีซ้อนและป้องกันการเลี่ยงการรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ ดังนั้น ผู้ผลิตและผู้ขายสินค้าจึงไม่อยู่ในข่ายที่จะต้องเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 76 ทวิ แห่ง ป.รัษฎากร โจทก์ไม่มีหน้าที่เป็นตัวแทนในการชำระภาษีเงินได้ดังกล่าวด้วย ดังนี้ คำฟ้องนี้เป็นคำฟ้องที่ได้ความชัดแจ้งแล้ว ส่วนอนุสัญญาดังกล่าวจะทำกันเมื่อใด รัฐบาลทั้งสองประเทศได้แลกเปลี่ยนสัตยาบันสารกันเมื่อใด และอนุสัญญาดังกล่าวมีเงื่อนไขเกี่ยวกับการยกเว้นภาษีอย่างไรนั้น เป็นรายละเอียดที่จะนำสืบกันในชั้นพิจารณา คำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์เป็นผู้จัดจำหน่ายของบริษัทซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ รวม 9 บริษัท การจัดจำหน่ายสินค้าของบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศทั้ง 9 บริษัทนั้น ไม่ว่าจะเป็นกรณีขายให้แก่หน่วยราชการหรือรัฐวิสาหกิจหรือเอกชนผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุนนั้น โจทก์ต้องทำสัญญาซื้อขายกับลูกค้าในประเทศไทย แล้วโจทก์จึงทำใบสั่งซื้อสินค้าไปยังบริษัทผู้ขายในต่างประเทศโดยโจทก์เป็นผู้กำหนดราคาขายสินค้าให้แก่ลูกค้าเอง โจทก์มีอิสระในการขาย ถ้าสินค้าที่ขายชำรุดบกพร่อง โจทก์ก็ต้องรับผิดต่อลูกค้าตามสัญญาซื้อขายที่โจทก์ทำไว้กับลูกค้า ผลประโยชน์ที่โจทก์ได้รับอยู่ในรูปของกำไร ไม่ใช่ค่าบำเหน็จจากการเป็นตัวแทนหรือนายหน้า แม้ลูกค้าจะเป็นผู้ดำเนินการชำระเงินให้แก่บริษัทผู้ขายต่างประเทศก็เป็นความประสงค์ของลูกค้าเองเพื่อให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่ลูกค้าตกลงไว้กับสถาบันการเงินผู้ให้กู้หรือตามบัตรส่งเสริมการลงทุนเพื่อยกเว้นอากรขาเข้า ไม่ถือว่าโจทก์มีฐานะเป็นตัวแทนของนิติบุคคลต่างประเทศ นิติบุคคลต่างประเทศดังกล่าวจึงไม่ได้ชื่อว่าประกอบกิจการในประเทศไทย โจทก์ได้กระทำไปในฐานะที่โจทก์เป็นผู้ซื้อมาขายไป ไม่เข้าลักษณะเป็นกิจการตัวแทนของนิติบุคคลต่างประเทศตาม ป.รัษฎากร มาตรา 76 ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1009/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษี: โจทก์ซื้อมาขายไป ไม่เป็นตัวแทนบริษัทต่างประเทศ ไม่เข้าข่ายภาษีตามมาตรา 76 ทวิ
โจทก์กล่าวในฟ้องว่า โจทก์ไม่ใช่สถานประกอบการถาวรในประเทศไทยของบริษัทผู้ผลิตหรือผู้ขายสินค้าซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของประเทศญี่ปุ่น ผู้ผลิตหรือผู้ขายสินค้าดังกล่าวได้รับประโยชน์จากอนุสัญญาระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่นเพื่อการยกเว้นการเก็บภาษีซ้อนและป้องกันการเลี่ยงการรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ดังนั้น ผู้ผลิตและผู้ขายสินค้าจึงไม่อยู่ในข่ายที่จะต้องเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 76 ทวิแห่งประมวลรัษฎากร โจทก์ไม่มีหน้าที่เป็นตัวแทนในการชำระภาษีเงินได้ดังกล่าวด้วยดังนี้ คำฟ้องนี้เป็นคำฟ้องที่ได้ความชัดแจ้งแล้ว ส่วนอนุสัญญาดังกล่าวจะทำกันเมื่อใดรัฐบาลทั้งสองประเทศได้แลกเปลี่ยนสัตยาบันสารกันเมื่อใด และอนุสัญญาดังกล่าวมีเงื่อนไขเกี่ยวกับการยกเว้นภาษีอย่างไรนั้น เป็นรายละเอียดที่จะนำสืบกันในชั้นพิจารณาคำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์เป็นผู้จัดจำหน่ายของบริษัทซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ รวม 9บริษัท การจัดจำหน่ายสินค้าของบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศทั้ง 9 บริษัทนั้น ไม่ว่าจะเป็นกรณีขายให้แก่หน่วยราชการหรือรัฐวิสาหกิจหรือเอกชนผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุนนั้น โจทก์ต้องทำสัญญาซื้อขายกับลูกค้าในประเทศไทย แล้วโจทก์จึงทำใบสั่งซื้อสินค้าไปยังบริษัทผู้ขายในต่างประเทศโดยโจทก์เป็นผู้กำหนดราคาขายสินค้าให้แก่ลูกค้าเอง โจทก์มีอิสระในการขาย ถ้าสินค้าที่ขายชำรุดบกพร่อง โจทก์ก็ต้องรับผิดต่อลูกค้าตามสัญญาซื้อขายที่โจทก์ทำไว้กับลูกค้า ผลประโยชน์ที่โจทก์ได้รับอยู่ในรูปของกำไร ไม่ใช่ค่าบำเหน็จจากการเป็นตัวแทนหรือนายหน้า แม้ลูกค้าจะเป็นผู้ดำเนินการชำระเงินให้แก่บริษัทผู้ขายต่างประเทศก็เป็นความประสงค์ของลูกค้าเองเพื่อให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่ลูกค้าตกลงไว้กับสถาบันการเงินผู้ให้กู้หรือตามบัตรส่งเสริมการลงทุนเพื่อยกเว้นอากรขาเข้า ไม่ถือว่าโจทก์มีฐานะเป็นตัวแทนของนิติบุคคลต่างประเทศ นิติบุคคลต่างประเทศดังกล่าวจึงไม่ได้ชื่อว่าประกอบกิจการในประเทศไทย โจทก์ได้กระทำไปในฐานะที่โจทก์เป็นผู้ซื้อมาขายไป ไม่เข้าลักษณะเป็นกิจการตัวแทนของนิติบุคคลต่างประเทศตามประมวลรัษฎากร มาตรา 76 ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1009/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายสินค้าโดยไม่ถือเป็นตัวแทนของบริษัทต่างประเทศ และการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล
โจทก์เป็นผู้จัดจำหน่ายสินค้าของบริษัทผู้ขายในต่างประเทศการจำหน่ายสินค้าของโจทก์มี2วิธีวิธีที่1โจทก์เป็นผู้สั่งซื้อสินค้าและเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตชำระเงินเองเมื่อสินค้ามาถึงประเทศไทยแล้วโจทก์จะขายต่อให้ลูกค้าส่วนวิธีที่2โจทก์เป็นผู้สั่งซื้อสินค้าแต่ให้ลูกค้าเป็นผู้ดำเนินการชำระเงินเองวิธีนี้ไม่ว่าลูกค้าจะเป็นหน่วยราชการหรือรัฐวิสาหกิจหรือเอกชนผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุนโจทก์ต้องทำสัญญาซื้อขายกับลูกค้าในประเทศไทยแล้วโจทก์จึงทำใบสั่งซื้อสินค้าไปยังบริษัทผู้ขายในต่างประเทศโดยโจทก์เป็นผู้กำหนดราคาขายสินค้าให้แก่ลูกค้าเองโจทก์มีอิสระในการขายถ้าสินค้าที่ขายชำรุดบกพร่องโจทก์ต้องรับผิดต่อลูกค้าตามสัญญาซื้อขายที่โจทก์ทำไว้กับลูกค้าผลประโยชน์ที่โจทก์ได้รับอยู่ในรูปของกำไรไม่ใช่ค่าบำเหน็จจากการเป็นตัวแทนหรือนายหน้าแม้ลูกค้าจะเป็นผู้ดำเนินการชำระเงินให้แก่บริษัทผู้ขายในต่างประเทศก็เป็นความประสงค์ของลูกค้าเองเพื่อให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่ลูกค้าตกลงไว้กับสถาบันการเงินผู้ให้กู้หรือตามบัตรส่งเสริมการลงทุนเพื่อยกเว้นอากรขาเข้าการจำหน่ายสินค้าตามวิธีนี้จึงไม่ถือว่าโจทก์มีฐานะเป็นตัวแทนของบริษัทผู้ขายในต่างประเทศบริษัทผู้ขายในต่างประเทศดังกล่าวจึงไม่ได้ชื่อว่าประกอบกิจการในประเทศไทยโจทก์ได้กระทำไปในฐานะที่โจทก์เป็นผู้ซื้อมาขายไปไม่เข้าลักษณะเป็นกิจการ ตัวแทนของ นิติบุคคลต่างประเทศตามประมวลรัษฎากรมาตรา76ทวิโจทก์จึงไม่มีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสีย ภาษีเงินได้นิติบุคคลแทนนิติบุคคลต่างประเทศ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7731/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลอกเลียนเครื่องหมายการค้า: สิทธิของเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนในต่างประเทศ
การที่โจทก์ที่ 1 ระบุว่าเครื่องหมายการค้าคำว่า 0101 ของโจทก์ที่ 1 อ่านออกเสียงในภาษาญี่ปุ่นว่า โออิโออิ นั้น แสดงให้เห็นโดยชัดแจ้งว่าโจทก์ที่ 1 ได้นำเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 1 นั้นมาจากภาษาญี่ปุ่น ดังนั้นเมื่อจำเลยได้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า คำว่า 0101 ซึ่งเป็นตัวเลขอารบิคประดิษฐ์ไว้ในประเทศญี่ปุ่นสำหรับสินค้า 33 จำพวก ตั้งแต่ปี 2516 และได้จด-ทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นสำหรับสินค้าจำพวกเครื่องแต่งกาย จำพวกกระเป๋าและจำพวกกระดาษในปี 2522 ปี 2520 และปี 2520 ตามลำดับ จำเลยจึงเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นและโจทก์ที่ 1 ได้เห็นและลอกเครื่องหมายการค้าตัวเลขอารบิคประดิษฐ์ 0101 ของจำเลยไปเป็นภาคส่วนของเครื่องหมายการค้าในส่วนที่เป็นตัวเลขอารบิคประดิษฐ์ของเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 1 นอกจากนี้โจทก์ที่ 1 ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างใดกับคำว่า MARUI ซึ่งเป็นชื่อของจำเลยแต่กลับปรากฏจากภาพถ่ายร้านค้าที่โจทก์ที่ 1 เพิ่งเปิดว่า โจทก์ที่ 1 ได้ติดแผ่นป้ายหน้าร้านว่า MARUI 0101 ตรงกับชื่อ MARUI ของจำเลยตามที่ปรากฏอยู่ที่หน้าร้านหลายแห่งของจำเลย ทั้งยังปรากฏอีกด้วยว่าถุงบรรจุสินค้า และกระดาษห่อสินค้าซึ่งโจทก์ที่ 1 ใช้บรรจุและห่อสินค้าของโจทก์ที่ 1 ให้แก่ลูกค้าของโจทก์ที่ 1 ไม่มีคำว่า youngs fashion ซึ่งเป็นภาคส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 1คงมีแต่ตัวเลยอารบิคประดิษฐ์ 0101 ขนาดใหญ่บนถุงบรรจุสินค้าและกระดาษห่อสินค้าเหล่านั้น การที่โจทก์ที่ 1 ติดป้ายหน้าร้านว่า MARUI 0101 และใช้ถุงบรรจุสินค้าและกระดาษห่อสินค้าเช่นนั้น ถือได้ว่าโจทก์ที่ 1 จงใจลอกเครื่องหมายการค้าตัว-เลขอารบิคประดิษฐ์ 0101 ของจำเลยซึ่งได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ในประเทศญี่ปุ่นมาก่อนนานประมาณถึง 15 ปี แล้ว ดังนั้น แม้จำเลยยังไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวในประเทศไทย จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของเครื่องหมาย-การค้าคำว่า 0101 ก็มีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าโจทก์ที่ 1 เมื่อโจทก์ที่ 1ไม่มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทคำว่า 0101 ดีกว่าจำเลยและโจทก์ที่ 1 ให้นำเครื่องหมายการค้าคำว่า 0101 younge fashion ไปจดทะเบียนเครื่อง-หมายการค้า โจทก์ที่ 2 ก็ย่อมไม่มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลยด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3266/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขบวนการหลอกลวงส่งไปค้าประเวณีต่างประเทศ: การกระทำผิดกรรมเดียวและความชอบด้วยกฎหมายในการสอบสวน
จำเลยทั้งสองใช้อุบายหลอกลวงโจทก์ร่วมทั้งสองว่า สามารถติดต่อส่งโจทก์ร่วมทั้งสองไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่น และสามารถเรียนหนังสือต่อได้ เมื่อโจทก์ร่วมทั้งสองไปถึงประเทศญี่ปุ่นแล้วมีคนมารับโจทก์ร่วมทั้งสองไปควบคุมตัวไม่ให้หลบหนี เพื่อให้โจทก์ร่วมทั้งสองทำการค้าประเวณีสำเร็จความใคร่ของผู้อื่น แสดงว่าจำเลยทั้งสองมีเจตนาที่แท้จริงในการจัดส่งโจทก์ร่วมทั้งสองออกไปนอกราชอาณาจักรเพื่อให้สำเร็จความใคร่ของผู้อื่นประการเดียวการกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดกรรมเดียว
ร้อยตำรวจโท อ. และพันตำรวจโท พ.เป็นพนักงานสอบสวนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 18 วรรคสอง และเป็นพนักงานสอบสวนของหน่วยเฉพาะกิจเมื่อได้รับอนุมัติให้ทำการสอบสวนจากผู้บังคับบัญชาแล้ว ร้อยตำรวจโท อ. และพันตำรวจโท พ. จึงมีอำนาจทำการสอบสวน และเป็นการสอบสวนโดยชอบด้วยกฎหมาย พนักงานอัยการจึงมีอำนาจฟ้องได้
การจัดตั้งหน่วยเฉพาะกิจตามคำสั่งกรมตำรวจเป็นเพียงการปฏิบัติงานภายในกรมตำรวจ มิใช่เป็นการแบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ จึงไม่จำต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองกับพวกที่หลบหนีเพื่อให้สำเร็จความใคร่ของผู้อื่น ได้ร่วมกันเป็นธุระจัดหา ล่อไป ชักพาไปเพื่อการอนาจารโจทก์ร่วมทั้งสอง โดยหลอกลวงว่าจะส่งโจทก์ร่วมทั้งสองไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่น และสามารถเรียนหนังสือได้ด้วย ซึ่งไม่เป็นความจริง ความจริงจำเลยทั้งสองมิได้เจตนาจะส่งโจทก์ร่วมทั้งสองไปทำงานและเรียนหนังสือ หากแต่มีเจตนาจะส่งไปเพื่อทำการค้าประเวณี โจทก์ร่วมทั้งสองหลงเชื่อจึงสมัครไปทำงานแล้วจำเลยทั้งสองกับพวกที่หลบหนีได้ร่วมกันส่งโจทก์ร่วมทั้งสองไปประเทศ-ญี่ปุ่น ให้พวกของจำเลยทั้งสองนำไปขายให้แก่ร้านมีชื่อแห่งหนึ่งเพื่อทำการค้าประเวณีสำเร็จความใคร่ของผู้อื่น คำฟ้องดังกล่าวโจทก์ได้บรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำผิดเพียงพอที่จะทำให้จำเลยทั้งสองเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว จึงไม่เคลือบคลุม
ปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยทั้งสองฎีกานอกจากที่ได้วินิจฉัยมาแล้ว แม้ศาลฎีกาจะวินิจฉัยให้ก็ไม่อาจเปลี่ยนแปลงผลของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังนี้ ปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าว จึงเป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2468/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายสิทธิในการนำเรือกลับจากต่างประเทศ ไม่ใช่การซื้อขายเรือโดยตรง สัญญาจึงไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือ
เรือ ด.และเรือ ก.มีชื่อ ส.และ ก.เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ตามลำดับ แต่เรือทั้งสองลำดังกล่าวได้ทำการประมงเข้าไปในเขตน่านน้ำประเทศสหภาพพม่า จึงถูกเจ้าหน้าที่ของประเทศสหภาพพม่าจับกุมและยึดเรือไว้ โจทก์เป็นผู้ประมูลซื้อเรือดังกล่าวจากเจ้าหน้าที่ของประเทศสหภาพพม่าแล้วมาทำสัญญาขายต่อให้แก่จำเลย ซึ่งจำเลยก็ทราบดีอยู่แล้วว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของเรือทั้งสองลำดังกล่าวและไม่สามารถที่จะทำการโอนกรรมสิทธิ์เรือทั้งสองลำให้แก่จำเลยได้ จึงเป็นที่เห็นได้ว่า ขณะที่โจทก์และจำเลยทำสัญญากันนั้นทั้งสองฝ่ายต่างทราบดีอยู่แล้วว่าประเทศสหภาพพม่าหรือรัฐบาลสหภาพพม่าก็ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์เรือทั้งสองลำนั้นแต่รัฐบาลสหภาพพม่ามีสิทธิยึดเรือไว้เพราะทำผิดกฎหมายของประเทศสหภาพพม่าดังนั้นที่โจทก์ซื้อเรือทั้งสองลำจากประเทศสหภาพพม่าจึงเป็นเพียงการซื้อสิทธิที่จะได้รับอนุญาตให้นำเรือกลับประเทศไทยได้เท่านั้น ดังนั้น ที่โจทก์ขายสิทธิดังกล่าวให้แก่จำเลยจึงเป็นการขายสิทธิจะได้รับเรือคืนจากประเทศสหภาพพม่ามิใช่การซื้อขายเรือตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 456 วรรคแรก ข้อตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยจึงไม่จำต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่มีผลบังคับได้และไม่เป็นโมฆะ จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทเพื่อชำระค่าซื้อสิทธินำเรือกลับประเทศไทยจากโจทก์และโจทก์ยังไม่ได้รับเงินตามเช็คจำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์
ค่าอ้างเอกสารเป็นค่าธรรมเนียมอื่น ๆ เมื่อไม่ปรากฏว่า โจทก์จงใจที่จะไม่ชำระค่าธรรมเนียมเช่นนี้ก็ไม่มีบทกฎหมายจะให้ถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะอ้างเอกสารเป็นพยาน ป.วิ.พ.มาตรา 87 ก็บัญญัติแต่เพียงว่า ห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานที่คู่ความมิได้แสดงความจำนงที่จะอ้างอิงเท่านั้น ทั้งยังยกเว้นไว้ด้วยว่าถ้าเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี แม้จะฝ่าฝืนบทบัญญัติในอนุมาตรานี้ก็ให้อำนาจศาลที่จะรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านี้ได้ ดังนั้นการที่ศาลล่างทั้งสองรับฟังพยานเอกสารดังกล่าว จึงไม่ใช่เรื่องที่ศาลรับฟังพยานหลักฐานที่ไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2468/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายสิทธิในการรับเรือคืนจากต่างประเทศ ไม่ใช่การซื้อขายเรือตามกฎหมาย จึงไม่ต้องจดทะเบียน
มีผู้นำเรือทำการประมงเข้าไปในเขตน่านน้ำประเทศสหภาพพม่าจึงถูกเจ้าหน้าที่ของประเทศสหภาพพม่าจับกุมและยึดไว้โจทก์เป็นผู้ประมูลซื้อเรือจากเจ้าหน้าที่ของประเทศสหภาพพม่าแล้วมาทำสัญญาขายต่อให้แก่จำเลยดังนั้นการที่โจทก์ซื้อเรือจากประเทศสหภาพพม่าจึงเป็นเพียงการซื้อสิทธิที่จะได้รับอนุญาตให้นำเรือกลับประเทศไทยได้เท่านั้นการที่โจทก์ขายสิทธิดังกล่าวให้แก่จำเลยจึงเป็นการขายสิทธิจะได้รับเรือคืนจากประเทศสหภาพพม่า มิใช่การซื้อขายเรือตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา456วรรคแรกข้อตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยจึงไม่จำต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่มีผลบังคับได้และไม่เป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2258/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การคุ้มครองเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนในต่างประเทศและสิทธิที่ดีกว่า
คำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 22 วรรคสี่ (1) เป็นการวินิจฉัยข้อพิพาทของโจทก์และจำเลยในชั้นแรกเกี่ยวกับเรื่องเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ยื่นขอจดทะเบียนว่ามีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วหรือไม่ ซึ่งคำวินิจฉัยดังกล่าวโจทก์จะนำเรื่องเดียวกันนั้นมาฟ้องต่อศาลอีกไม่ได้ตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น แต่ในคดีนี้สภาพแห่งข้อหาของโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์อ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลยผู้ที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว จึงขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยอันเป็นการใช้สิทธิตามที่โจทก์ได้รับความคุ้มครองดังที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 41 (1) อันเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ ซึ่งเป็นคนละกรณีกับคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่วินิจฉัยว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ขอจดทะเบียนเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว การฟ้องคดีของโจทก์หาใช่การใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
เครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนไว้ในต่างประเทศนั้น แม้ไม่มีผลบังคับในประเทศไทย แต่อาจเป็นข้อเท็จจริงที่จะใช้ฟังถึงสิทธิแห่งการเป็นเจ้าของและการใช้เครื่องหมายการค้านั้นได้
โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า "CELINE"มาก่อน โดยจดทะเบียนไว้ที่ประเทศฝรั่งเศสและใช้กับสินค้าของโจทก์ตั้งแต่ พ.ศ.2506 และประเทศอื่น ๆ เกือบทั่วโลก ตั้งแต่ พ.ศ.2517 สินค้าของโจทก์มีจำหน่ายแพร่หลายตามห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ ในประเทศไทย การที่จำเลยได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า "CE'LINE" อยู่ใต้รูปนกยูงเกาะตัว "C"เมื่อ พ.ศ.2523 โดยอักษรโรมันคำว่า "CE'LINE" เหมือนหรือคล้ายกับอักษร-โรมันคำว่า "CELINE" ซึ่งโจทก์เป็นเจ้าของและใช้เป็นเครื่องหมายการค้ามาก่อนจำเลย จึงต้องถือว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า "CELINE"หรือ "CE'LINE" ดีกว่าจำเลย
of 23