คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ทางจำเป็น

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 307 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4305/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิใช้ทางจำเป็นและการขัดขวางการปรับปรุงทาง กรณีที่ดินไม่มีทางออก
เดิมที่ดินโฉนดเลขที่ 5400 มี ส.และ อ.เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม ต่อมาโจทก์ และ ร. กับพวกได้ซื้อในส่วนของ อ.โดยจดทะเบียนลงชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธ์รวมในโฉนดกับพวก แต่มิได้มีการแบ่งแยกโฉนดที่ดินต่อมา ร.ได้ฟ้องเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมขอให้แบ่งแยกโฉนด แล้วมีการตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลได้พิพากษาตามยอมให้แบ่งที่ดินดังกล่าวเป็น3 แปลง คือแปลงโฉนดเลขที่ 94774, 94775 และ 5400 โดยไม่มีการตกลงให้กันส่วนเป็นถนนให้แต่ละแปลงออกสู่ถนนสาธารณะ ต่อมาได้มีการจดทะเบียนแบ่งแยกโฉนดตามสัญญาประนีประนอมยอมความ เป็นเหตุให้ที่ดินแปลงโฉนดเลขที่94775 และ 5400 ซึ่งโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม และเจ้าของกรรมสิทธิ์ไม่มีทางออกสู่ถนนสาธารณะ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องเอาทางบนที่ดินแปลงที่แบ่งแยกไปโดยมีทางออกสู่ถนนสาธารณะโดยไม่ต้องเสียค่าทดแทนตาม ป.พ.พ.มาตรา 1350 เมื่อทางพิพาทอยู่บนที่ดินของจำเลยตามโฉนดที่ดินเลขที่ 94774ทางพิพาทจึงเป็นทางจำเป็นสำหรับที่ดินของโจทก์
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1349 วรรคสาม นั้น ที่และวิธีทำทางผ่านนั้นต้องเลือกให้พอควรแก่ความจำเป็นของผู้มีสิทธิจะผ่าน กับทั้งให้คำนึงถึงที่ดินที่ล้อมอยู่ให้เสียหายแต่น้อยที่สุดที่จะเป็นได้ เมื่อปรากฏว่าสภาพถนนลูกรังที่มีและใช้อยู่ในขณะพิพาทขนาดกว้าง 5 เมตร ย่อมแสดงอยู่ในตัวว่าทางพิพาทกว้างประมาณ 5 เมตรพอควรแก่ความจำเป็นของโจทก์แล้ว หาจำต้องมีไหล่ทางข้างละ 1 เมตรไม่
เมื่อโจทก์มีสิทธิใช้ทางจำเป็นในที่ดินของจำเลยโดยอำนาจของกฎหมายแล้ว จำเลยก็ไม่จำต้องไปจดทะเบียนทางจำเป็นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
แม้ทางพิพาทจะตกเป็นทางจำเป็นตามกฎหมาย แต่กรรมสิทธิ์ที่จะครอบครองดูแลทางพิพาทก็ยังเป็นของจำเลย การที่มีผู้นำดินลูกรังมากองในทางพิพาท แม้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1349 วรรคสาม บัญญัติให้สิทธิผู้มีสิทธิจะผ่านทางถ้าจำเป็นสามารถสร้างถนนผ่านทางได้ โดยจำเลยไม่มีสิทธิขัดขวางการปรับปรุงบำรุงรักษาทางพิพาทนั้น ก็ตาม แต่กฎหมายดังกล่าวได้บัญญัติถึงวิธีทำทางผ่านจะต้องเลือกให้พอสมควรแก่ความจำเป็น ทั้งต้องคำนึงถึงที่ดินที่ล้อมอยู่ให้เสียหายแต่น้อยที่สุดด้วย ดังนั้น การนำดินลูกรังมากองในทางพิพาทเป็นจำนวนมากพอสมควรโดยมิได้บอกกล่าวให้จำเลยทราบ อาจมีการฉวยโอกาสเกลี่ยดินลูกรังขยายทับหน้าดินริมทางเพื่อให้สภาพผิวถนนลูกรังกว้างขึ้น จำเลยจึงมีสิทธิขัดขวางได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1336 การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4305/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทางจำเป็น การแบ่งแยกที่ดิน และสิทธิในการผ่านที่ดินของเจ้าของที่ดินติดกัน
เดิมที่ดินโฉนดเลขที่ 5400 มี ส.และอ. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม ต่อมาโจทก์ และ ร. กับพวกได้ซื้อในส่วนของ อ. โดยจดทะเบียนลงชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในโฉนดกับพวก แต่มิได้มีการแบ่งแยกโฉนดที่ดิน ต่อมา ร.ได้ฟ้องเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมขอให้แบ่งแยกโฉนด แล้วมีการตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลได้พิพากษาตามยอมให้แบ่ง ที่ดินดังกล่าวเป็น 3 แปลง คือแปลงโฉนดเลขที่ 94774,94775และ 5400 โดยไม่มีการตกลงให้กันส่วนเป็นถนนให้แต่ละแปลงออกสู่ถนนสาธารณะ ต่อมาได้มีการจดทะเบียนแบ่งแยกโฉนดตามสัญญาประนีประนอมยอมความ เป็นเหตุให้ที่ดินแปลงโฉนดเลขที่ 94775 และ 5400 ซึ่งโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม และเจ้าของกรรมสิทธิ์ไม่มีทางออกสู่ถนนสาธารณะ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องเอาทางบนที่ดินแปลงที่แบ่งแยกไปโดยมีทางออกสู่ถนนสาธารณะโดยไม่ต้องเสียค่าทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350 เมื่อทางพิพาทอยู่บนที่ดินของจำเลยตามโฉนดที่ดินเลขที่ 94774 ทางพิพาทจึงเป็นทางจำเป็นสำหรับที่ดินของโจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 วรรคสามนั้น ที่และวิธีทำทางผ่านนั้นต้องเลือกให้พอควรแก่ความจำเป็นของผู้มีสิทธิจะผ่าน กับทั้งให้คำนึงถึงที่ดินที่ล้อมอยู่ให้เสียหายแต่น้อยที่สุดที่จะเป็นได้ เมื่อปรากฏว่าสภาพถนนลูกรังที่มีและใช้อยู่ในขณะพิพาทขนาดกว้าง 5 เมตรย่อมแสดงอยู่ในตัวว่าทางพิพาทกว้างประมาณ 5 เมตร พอควรแก่ความจำเป็นของโจทก์แล้ว หาจำต้องมีไหล่ทางข้างละ1 เมตร ไม่ เมื่อโจทก์มีสิทธิใช้ทางจำเป็นในที่ดินของจำเลย โดยอำนาจของกฎหมายแล้ว จำเลยก็ไม่จำต้องไปจดทะเบียนทางจำเป็น ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แม้ทางพิพาทจะตกเป็นทางจำเป็นตามกฎหมาย แต่กรรมสิทธิ์ที่จะครอบครองดูแลทางพิพาทก็ยังเป็นของจำเลย การที่มีผู้นำดินลูกรังมากองในทางพิพาท แม้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1349 วรรคสาม บัญญัติให้สิทธิผู้มีสิทธิจะผ่านทางถ้าจำเป็นสามารถสร้างถนนผ่านทางได้ โดยจำเลยไม่มีสิทธิขัดขวางการปรับปรุงรักษาทางพิพาทนั้น ก็ตาม แต่กฎหมายดังกล่าวได้บัญญัติถึงวิธีทำทางผ่านจะต้องเลือกให้พอสมควรแก่ความจำเป็น ทั้งต้องคำนึงถึงที่ดินที่ล้อมอยู่ให้เสียหายแต่น้อยที่สุดด้วย ดังนั้น การนำดินลูกรังมากองในทางพิพาท เป็นจำนวนมากพอสมควรโดยมิได้บอกกล่าวให้จำเลยทราบ อาจมีการฉวยโอกาสเกลี่ยดินลูกรังขยายทับหน้าดินริมทางเพื่อให้สภาพผิวถนนลูกรังกว้างขึ้น จำเลยจึงมีสิทธิขัดขวางได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 389/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงสภาพทางสาธารณประโยชน์และทางจำเป็น: ข้อจำกัดในการนำสืบเปลี่ยนแปลงเอกสารมหาชน
ทางสาธารณประโยชน์ที่ระบุไว้ในแผนที่หนังสือรับรองการทำประโยชน์ของที่ดินโจทก์ปัจจุบันหมดสภาพเป็นทางสาธารณประโยชน์แล้วนอกจากทางพิพาทแล้วที่ดินโจทก์ไม่มีทางอื่นใดออกสู่ทางสาธารณะอีก ทางพิพาทจึงเป็นทางจำเป็นของที่ดินโจทก์ซึ่งโจทก์และบริวารใช้เป็นทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะการที่จำเลยมาล้อมรั้วลวดหนามปิดกั้นทางดังกล่าว โจทก์ย่อมฟ้องขอให้รื้อถอนรั้วลวดหนามเพื่อเปิดทางพิพาทได้ ตามนัยแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 1349 วรรคหนึ่ง
ปัญหาว่า ตามแผนที่ในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของที่ดินโจทก์ระบุว่า ที่ดินโจทก์ตั้งอยู่ติดกับทางสาธารณประโยชน์ อันเป็นเอกสารมหาชนการที่โจทก์นำสืบว่าปัจจุบันทางสาธารณประโยชน์ดังกล่าวสิ้นสภาพ และไม่มีอีกต่อไปเป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร ต้องห้ามมิให้นำสืบตาม ป.วิ.อ.มาตรา 94หรือไม่นั้น เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จำเลยเพิ่งยกขึ้นมากล่าวอ้างในคำแก้ฎีกา จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 389/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทางจำเป็น: แม้แผนที่ระบุทางสาธารณะ แต่หากหมดสภาพแล้ว สามารถฟ้องขอทางจำเป็นได้
ทางสาธารณประโยชน์ที่ระบุไว้ในแผนที่หนังสือรับรองการทำประโยชน์ของที่ดินโจทก์ปัจจุบันหมดสภาพเป็นทางสาธารณประโยชน์แล้วนอกจากทางพิพาทแล้วที่ดินโจทก์ไม่มีทางอื่นใดออกสู่ทางสาธารณะอีก ทางพิพาทจึงเป็นทางจำเป็น ของที่ดินโจทก์ซึ่งโจทก์และบริวารใช้เป็นทางเข้าออกสู่ ทางสาธารณะการที่จำเลยมาล้อมรั้วลวดหนามปิดกั้นทางดังกล่าว โจทก์ย่อมฟ้องขอให้รื้อถอนรั้วลวดหนามเพื่อเปิดทางพิพาทได้ ตามนัยแห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 วรรคหนึ่ง ปัญหาว่า ตามแผนที่ในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของที่ดินโจทก์ระบุว่า ที่ดินโจทก์ตั้งอยู่ติดกับทางสาธารณประโยชน์อันเป็นเอกสารมหาชนการที่โจทก์นำสืบว่าปัจจุบันทางสาธารณประโยชน์ดังกล่าวสิ้นสภาพ และไม่มีอีกต่อไปเป็นการนำสืบ เปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร ต้องห้ามมิให้นำสืบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 หรือไม่นั้นเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จำเลยเพิ่งยกขึ้นมากล่าวอ้างในคำแก้ฎีกาจึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3505/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิใช้ทางจำเป็นและภาระจำยอม: การพิจารณาความสะดวก, ความเสียหาย และแหล่งน้ำทางเลือก
แม้ทางด้านทิศเหนือของที่ดินโจทก์จะเคยมีทางสาธารณะอยู่แต่ได้ขุดเป็นลำเหมืองสำหรับปล่อยน้ำทิ้งมานานประมาณ 20 ปีแล้ว ปัจจุบันมีสภาพตื้นเขิน ไม่มีน้ำตลอดทั้งปี ไม่สามารถใช้เรือสัญจรไปมาได้ ทางดังกล่าวจึงไม่เป็นทางสาธารณะตามของ ป.พ.พ.มาตรา 1349 ส่วนทางที่โจทก์จะสามารถใช้ออกสู่ทางสาธารณะใช้อีกทางหนึ่งคือ คันคลองส่งน้ำด้านทิศตะวันตกของที่ดินโจทก์ แต่ทางดังกล่าวต้องผ่านที่ดินของผู้อื่นจำนวนหลายแปลงด้วยกัน และมีระยะทางยาวประมาณ 1 กิโลเมตร ทั้งโจทก์ไม่เคยใช้เป็นเส้นทางเดินออกสู่ทางสาธารณะเป็นปกติมาก่อนเลย เมื่อเปรียบเทียบกับทางพิพาทซึ่งเป็นทางตรงมีระยะทางเพียง 18เมตร ทางพิพาทย่อมสะดวกและมีความเหมาะสมมากกว่า ทั้งทำให้เกิดความเสียหายแก่ที่ดินที่ล้อมอยู่น้อยที่สุด เพราะทางพิพาทผ่านที่ดินของจำเลยเพียงแปลงเดียวจำเลยจะเกี่ยงให้โจทก์ไปใช้เส้นทางอื่นในที่ดินคนอื่นที่โจทก์ไม่ได้ใช้เป็นปกติมาก่อนเป็นทางเข้าออกไม่ได้ และเมื่อคำนึงถึงอนาคต โจทก์อาจใช้รถยนต์เป็นยานพาหนะเข้าออกทางพิพาท เห็นสมควรกำหนดให้ทางพิพาทมีขนาดความกว้าง 2.50 เมตรซึ่งไม่เกินคำขอของโจทก์ได้
โจทก์อ้างความจำเป็นที่จะต้องนำน้ำจากคลองชลประทานเข้าไปใช้ในที่ดินของโจทก์ซึ่งอยู่ติดต่อกับที่ดินของจำเลยโดยวางท่อระบายน้ำผ่านที่ดินของจำเลย พร้อมทั้งเสนอให้ค่าทดแทนเป็นรายปี แต่เมื่อปรากฏว่าทางด้านทิศตะวันตกของที่ดินโจทก์มีคลองส่งน้ำ และทางด้านทิศเหนือก็มีลำเหมืองสาธารณะอยู่และคลองส่งน้ำนั้นมีน้ำบริบูรณ์ ส่วนลำเหมืองสาธารณะนั้น แม้จะมีสภาพตื้นเขินอยู่บ้างแต่ยังก็มีน้ำมากพอสมควร ประกอบกับจะมีน้ำที่ปล่อยจากบ่อเลี้ยงกุ้งของผู้อื่นหลายรายลงมาในลำเหมืองอยู่เสมอ ๆ โจทก์จึงสามารถใช้น้ำจากแหล่งน้ำทั้งสองแห่งนี้ได้อย่างเพียงพอแล้ว จึงไม่ควรที่จะให้จำเลยจำต้องยอมรับภาระจำยอมในอันที่จะให้โจทก์วางท่อระบายน้ำและตั้งเครื่องสูบน้ำบนที่ดินของจำเลยอีก
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยเปิดทางจำเป็น และให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายที่มาตักดินบริเวณที่จอดรถยนต์ที่โจทก์ทำไว้เป็นเงิน 15,000 บาทพร้อมดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยเปิดทางจำเป็น ส่วนคำขอในเรื่องค่าเสียหายให้ยก ดังนี้ เมื่อค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องมาในชั้นอุทธรณ์ เป็นค่าเสียหายในมูลละเมิด และมิใช่เป็นคำขอต่อเนื่องในเรื่องเดียวกันกับเรื่องทางจำเป็น จึงเป็นคนละมูลกรณีกัน สิทธิในการอุทธรณ์ของโจทก์ย่อมต้องแยกพิจารณา เมื่อคดีในส่วนค่าเสียหายมีทุนทรัพย์ไม่เกิน50,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา224 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3505/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทางจำเป็น: ศาลฎีกาตัดสินให้ใช้ทางผ่านในที่ดินของผู้อื่นได้ หากเป็นทางสะดวกและเหมาะสมที่สุด
แม้ทางด้านทิศเหนือของที่ดินโจทก์จะเคยมีทางสาธารณะ อยู่แต่ได้ขุดเป็นลำเหมืองสำหรับปล่อยน้ำทิ้งมานาน ประมาณ 20 ปีแล้ว ปัจจุบันมีสภาพตื้นเขิน ไม่มีน้ำตลอดทั้งปี ไม่สามารถใช้เรือสัญจรไปมาได้ ทางดังกล่าวจึงไม่เป็น ทางสาธารณะตามของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 ส่วนทางที่โจทก์จะสามารถใช้ออกสู่ทางสาธารณะใช้อีกทางหนึ่ง คือ คันคลองส่งน้ำด้านทิศตะวันตกของที่ดินโจทก์แต่ทางดังกล่าวต้องผ่านที่ดินของผู้อื่นจำนวนหลายแปลงด้วยกันและมีระยะทางยาวประมาณ 1 กิโลเมตร ทั้งโจทก์ไม่เคยใช้เป็น เส้นทางเดินออกสู่ทางสาธารณะเป็นปกติมาก่อนเลยเมื่อเปรียบเทียบกับทางพิพาทซึ่งเป็นทางตรงมีระยะทางเพียง 18 เมตร ทางพิพาทย่อมสะดวกและมีความเหมาะสมมากกว่า ทั้งทำให้เกิดความเสียหายแก่ที่ดินที่ล้อมอยู่น้อยที่สุดเพราะทางพิพาทผ่านที่ดินของจำเลยเพียงแปลงเดียว จำเลยจะเกี่ยงให้โจทก์ไปใช้เส้นทางอื่นในที่ดินคนอื่นที่โจทก์ไม่ได้ใช้เป็นปกติมาก่อนเป็นทางเข้าออกไม่ได้ และเมื่อคำนึงถึงอนาคต โจทก์อาจใช้รถยนต์เป็นยานพาหนะเข้าออกทางพิพาท เห็นสมควรกำหนดให้ทางพิพาทมีขนาดความกว้าง 2.50 เมตร ซึ่งไม่เกินคำขอของโจทก์ได้ โจทก์อ้างความจำเป็นที่จะต้องนำน้ำจากคลองชลประทาน เข้าไปใช้ในที่ดินของโจทก์ซึ่งอยู่ติดต่อกับที่ดินของจำเลย โดยวางท่อระบายน้ำผ่านที่ดินของจำเลย พร้อมทั้งเสนอ ให้ค่าทดแทนเป็นรายปี แต่เมื่อปรากฏว่าทางด้านทิศตะวันตก ของที่ดินโจทก์มีคลองส่งน้ำ และทางด้านทิศเหนือก็มี ลำเหมืองสาธารณะอยู่และคลองส่งน้ำนั้นมีน้ำบริบูรณ์ ส่วนลำเหมืองสาธารณะนั้น แม้จะมีสภาพตื้นเขินอยู่บ้าง แต่ยังก็มีน้ำมากพอสมควร ประกอบกับจะมีน้ำที่ปล่อยจาก บ่อเลี้ยงกุ้งของผู้อื่นหลายรายลงมาในลำเหมืองอยู่เสมอ ๆ โจทก์จึงสามารถใช้น้ำจากแหล่งน้ำทั้งสองแห่งนี้ได้ อย่างเพียงพอแล้ว จึงไม่ควรที่จะให้จำเลยจำต้องยอมรับ ภารจำยอมในอันที่จะให้โจทก์วางท่อระบายน้ำและตั้ง เครื่องสูบน้ำบนที่ดินของจำเลยอีก โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยเปิดทางจำเป็น และให้จำเลยทั้งสอง ชดใช้ค่าเสียหายที่มาตักดินบริเวณที่ จอดรถยนต์ที่โจทก์ ทำไว้เป็นเงิน 15,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่ง ต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ ศาลชั้นต้นพิพากษา ให้จำเลยเปิดทางจำเป็น ส่วนคำขอในเรื่องค่าเสียหายให้ยก ดังนี้ เมื่อค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องมาในชั้นอุทธรณ์ เป็นค่าเสียหายในมูลละเมิด และมิใช่เป็นคำขอต่อเนื่อง ในเรื่องเดียวกันกับเรื่องทางจำเป็น จึงเป็นคนละมูลกรณีกัน สิทธิในการอุทธรณ์ของโจทก์ย่อมต้องแยกพิจารณา เมื่อคดี ในส่วนค่าเสียหายมีทุนทรัพย์ไม่เกิน 50,000 บาท จึงต้องห้าม มิให้โจทก์อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3371/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทางจำเป็นและภาระจำยอม: การรื้อถอนสิ่งกีดขวางทางผ่านเพื่อใช้ประโยชน์ที่ดิน
ฟ้องโจทก์บรรยายว่า หลังจากโจทก์และบุคคลอื่นซื้อที่ดินจากจำเลยแล้ว โจทก์กับบริวารและบุคคลอื่นใช้ทางภาระจำยอมและทางจำเป็นตามพื้นสีแดงเอกสารท้ายฟ้องอันเป็นทางพิพาททั้งแปลง โดยใช้รถยนต์เป็นพาหนะเข้าออกสู่ทางสาธารณะเรื่อยมา ต่อมาจำเลยได้ทำประตูรั้วโลหะขึ้นบนทางภาระจำยอมและทางจำเป็นกับนำโซ่มาคล้องประตูและปิดล็อกใส่กุญแจ จนทางพิพาทถูกปิดกั้นทำให้โจทก์กับบริวารไม่สามารถใช้ประโยชน์ถนนทางพิพาทได้ดังเดิมฟ้องโจทก์แสดงให้เห็นชัดอยู่แล้วว่า ที่ดินโจทก์และบุคคลอื่นถูกที่ดินแปลงอื่นที่จำเลยแบ่งแยกออกนั้นล้อมไว้โดยรอบ ไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธาณะได้ คงมีทางออกทางเดียวคือทางพิพาทที่จำเลยปิดกั้น ทางพิพาทจึงเข้าลักษณะเป็นทางจำเป็นทั้งคำขอท้ายฟ้องโจทก์ระบุขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนประตูรั้วโลหะหรือสิ่งปลูกสร้างในทางถนน และทำให้ทางถนนนั้นกลับคืนดีในสภาพเดิมเพื่อให้โจทก์และบริวารใช้ทางถนนนั้นได้อีกต่อไป การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นไม่เป็นการเกินคำขอ
เมื่อความประสงค์ของจำเลยตั้งแต่เดิมยินยอมให้เจ้าของที่ดินข้างเคียงรวมทั้งโจทก์ใช้ทางพิพาททางกว้าง 5 เมตร และจำเลยยินยอมจดทะเบียนให้ที่ดินของจำเลยแปลงคงเหลือทั้งแปลงเป็นภาระจำยอมในเรื่องทางเดินทางรถยนต์กับประปา และสาธารณูปโภคอื่น ๆ เพื่อให้เจ้าของที่ดินบางรายในบริเวณนั้นใช้เป็นทางเดินผ่านสู่ทางสาธารณะ ดังนั้น การให้ใช้กว้าง 5 เมตร จึงถือว่าเป็นการใช้พอควรแก่ความจำเป็นที่โจทก์กับบุคคลอื่นผู้มีสิทธิจะผ่านทางพิพาทให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยน้อยที่สุดในสภาพเป็นถนนให้โจทก์กับบริวารใช้รถยนต์แล่นผ่านทางพิพาทได้เข้าออกได้โดยสะดวก ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1349 วรรคสาม
จำเลยฎีกาว่า ค่าทดแทนเป็นไปตามข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยซึ่งจะต้องช่วยกันทำถนนทางพิพาทออกสู่ซอยสาธารณะ แม้ไม่ได้ทำเป็นหนังสือก็บังคับได้ในฐานะเป็นบุคคสิทธิ แต่ตามคำฟ้องแย้งของจำเลยขอให้บังคับโจทก์ใช้ค่าทดแทน เนื่องจากโจทก์ได้ใช้ทางผ่านที่ดินของจำเลย ฎีกาของจำเลยในข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่าง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3371/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทางจำเป็น-ภาระจำยอม: ศาลยืนตามสิทธิใช้ทางเดิม กว้าง 5 เมตร แม้จำเลยอ้างความเสียหาย
ฟ้องโจทก์บรรยายว่า หลังจากโจทก์และบุคคลอื่นซื้อที่ดินจากจำเลยแล้ว โจทก์กับบริวารและบุคคลอื่นใช้ทางภารจำยอมและทางจำเป็นตามพื้นสีแดงเอกสารท้ายฟ้องอันเป็นทางพิพาททั้งแปลง โดยใช้รถยนต์เป็นพาหนะเข้าออกสู่ทางสาธารณะเรื่อยมา ต่อมาจำเลยได้ทำประตูรั้วโลหะขึ้นบนทางภาระจำยอมและทางจำเป็น กับนำโซ่มาคล้องประตูและปิดล็อกใส่กุญแจ จนทางพิพาทถูกปิดกั้น ทำให้โจทก์กับบริวารไม่สามารถใช้ประโยชน์ถนนทางพิพาทได้ ดังเดิมฟ้องโจทก์แสดงให้เห็นชัดอยู่แล้วว่า ที่ดินโจทก์ และบุคคลอื่นถูกที่ดินแปลงอื่นที่จำเลยแบ่งแยกออกนั้นล้อมไว้ โดยรอบ ไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะได้ คงมีทางออกทางเดียวคือทางพิพาทที่จำเลยปิดกั้น ทางพิพาทจึงเข้าลักษณะเป็นทางจำเป็นทั้งคำขอท้ายฟ้องโจทก์ระบุขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนประตูรั้วโลหะหรือสิ่งปลูกสร้างในทางถนน และทำให้ทางถนนนั้นกลับคืนดีในสภาพเดิมเพื่อให้โจทก์และบริวารใช้ ทางถนนนั้นได้อีกต่อไป การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นไม่เป็นการเกินคำขอ เมื่อความประสงค์ของจำเลยตั้งแต่เดิมยินยอมให้เจ้าของ ที่ดินข้างเคียงรวมทั้งโจทก์ใช้ทางพิพาททางกว้าง 5 เมตร และจำเลยยินยอมจดทะเบียนให้ที่ดินของจำเลยแปลงคงเหลือ ทั้งแปลงเป็นภาระจำยอมในเรื่องทางเดินทางรถยนต์กับประปา และสาธารณูปโภคอื่น ๆ เพื่อให้เจ้าของที่ดินบางรายในบริเวณ นั้นใช้เป็นทางเดินผ่านสู่ทางสาธารณะ ดังนั้น การให้ใช้ กว้าง 5 เมตร จึงถือว่าเป็นการใช้พอสมควรแก่ความจำเป็นที่ โจทก์กับบุคคลอื่นผู้มีสิทธิจะผ่านทางพิพาทให้เกิดความ เสียหายแก่จำเลยน้อยที่สุดในสภาพเป็นถนนให้โจทก์กับบริวาร ใช้รถยนต์แล่นผ่านทางพิพาทได้เข้าออกได้โดยสะดวก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 วรรคสาม จำเลยฎีกาว่า ค่าทดแทนเป็นไปตามข้อตกลงระหว่างโจทก์ กับจำเลยซึ่งจะต้องช่วยกันทำถนนทางพิพาทออกสู่ซอยสาธารณะ แม้ไม่ได้ทำเป็นหนังสือก็บังคับได้ในฐานะเป็นบุคคลสิทธิ แต่ตามคำฟ้องแย้งของจำเลยขอให้บังคับโจทก์ใช้ค่าทดแทน เนื่องจากโจทก์ได้ใช้ทางผ่านที่ดินของจำเลย ฎีกาของจำเลย ในข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบ ในศาลล่าง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2041/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการขอเปิดทางจำเป็นและการวางท่อระบายน้ำผ่านที่ดินของผู้อื่นเพื่อประโยชน์ในการประกอบธุรกิจ
ที่ดินของโจทก์มีที่ดินของจำเลยทั้งสองและของผู้อื่นล้อมอยู่ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ แต่เส้นทางต่าง ๆ ที่โจทก์จะต้องผ่านเข้าไปในที่ดินบุคคลอื่นหลายราย จึงจะออกสู่ถนนสาธารณะได้ โดยเส้นทางที่หนึ่งจะต้องผ่านคันดินของผู้อื่นแล้วเลียบกำแพงของหมู่บ้าน ส.ไปเรื่อย ๆ จนถึงถนนของหมู่บ้านไปสู่ถนนสาธารณะประมาณ 100 เมตร แต่หมู่บ้านได้ทำรั้วขนาดสูงประมาณเอวกั้นรอบจดติดถนนสาธารณะไว้ ทั้งถนนในหมู่บ้านก็มิใช่ถนนสาธารณะ เส้นทางที่สองและที่สามจะต้องผ่านรั้วของ ก. และใช้ถนนของ ก.ซึ่งมิใช่ถนนสาธารณะเช่นกันและใช้ระยะทางประมาณ 400 ถึง 500 เมตร จึงจะออกสู่ถนนสาธารณะได้ ส่วนเส้นทางที่สี่และที่ห้านั้นเมื่อผ่านที่ดินของบริษัท ส. ระยะทางประมาณ 80 เมตรและ 84 เมตร ตามลำดับแล้ว ก็ต้องข้ามคลองมีสะพานไม้สำหรับคนเดินข้าม และเมื่อข้ามคลองไปแล้วก็ไม่ปรากฏว่ามีเส้นทางที่จะออกสู่ถนนสาธารณะได้โดยสะดวกส่วนเส้นทางอีกเส้นหนึ่งก็เป็นกรรมสิทธิ์ ก็มิใช่ทางสาธารณะ หากโจทก์หรือบุคคลอื่นขอใช้ต้องขออนุญาตจากเจ้าของที่ดินก่อน จึงเป็นทางส่วนบุคคลที่เจ้าของหวงแหนอยู่และเป็นเส้นทางที่ไกลกว่าทางที่จะตัดผ่านออกมาทางที่ดินของจำเลยทั้งสอง ดังนี้เมื่อเส้นทางพิพาทเส้นทางตรงที่ผ่านที่ดินจำเลยที่ 1 เป็นระยะทาง 180 เมตรแล้วหักเลี้ยวผ่านที่ดินจำเลยที่ 2 อีกประมาณ 30 เมตร ก็ถึงถนนสาธารณะ เป็นเส้นทางที่ใกล้และสะดวกที่สุด อีกทั้งตามสภาพที่ดินของจำเลยที่ 1 เป็นบ่อและที่ว่างเปล่าบางส่วนใช้เป็นบ่อเลี้ยงปลาและเล้าไก่ในส่วนที่โจทก์ขอตัดถนนผ่านก็ไม่ได้ผ่านไปตรงที่เล้าไก่ และที่ดินของจำเลยที่ 2 เป็นที่ว่างเปล่าและให้โจทก์เช่าอยู่แล้วจึงไม่ทำให้จำเลยทั้งสองเสียหายมากนัก โจทก์ย่อมมีสิทธิขอเปิดทางจำเป็นผ่านที่ดินของจำเลยทั้งสองได้
โจทก์ซื้อที่ดินแปลงพิพาทมาเพื่อประกอบธุรกิจก่อสร้างโรงแรมและบ้านพักชั่วคราว เพื่อขายหรือให้เช่า ธุรกิจดังกล่าวทางที่จะออกถนนสาธารณะจะต้องกว้างประมาณ 8 ถึง 12 เมตร ที่โจทก์เช่าที่ดินจำเลยที่ 2 ก็โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำกิจการโรงแรมทางที่จะทำเข้านั้นคงจะกว้างประมาณ 6 เมตร เมื่อการทำธุรกิจโรงแรมผู้ที่มาพักอาศัยจะต้องใช้รถยนต์เป็นส่วนมากและจะต้องแล่นเข้าออกสวนกันเป็นประจำ รถยนต์แต่ละคันกว้างประมาณ 2 เมตรเศษ การกำหนดทางจำเป็นกว้าง 6 เมตร ย่อมเหมาะสมแล้ว
แม้ ป.พ.พ.มาตรา 1352 เป็นบทบังคับให้จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินต้องยอมให้โจทก์มีสิทธิวางท่อน้ำ ท่อระบายน้ำ สายไฟฟ้า หรือสิ่งอื่นซึ่งคล้ายกันผ่านที่ดินของจำเลยทั้งสองต่อเมื่อได้รับค่าทดแทนตามสมควรแล้ว และคดีนี้โจทก์จะมิได้เสนอค่าทดแทนให้แก่จำเลยทั้งสองก็ตาม แต่กรณีของโจทก์เป็นการขอวางไปตามแนวทางจำเป็นซึ่งจำเลยทั้งสองมีสิทธิได้รับค่าทดแทนในส่วนทางจำเป็นอยู่แล้ว ซึ่งมิได้เป็นการเพิ่มภาระให้แก่ที่ดินของจำเลยทั้งสองในส่วนที่ตกเป็นทางจำเป็น แต่กลับจะเป็นประโยชน์แก่ที่ดินของจำเลยทั้งสองและที่ดินบริเวณใกล้เคียงที่มีท่อระบายน้ำเพื่อป้องกันน้ำท่วมอีกด้วย จำเลยทั้งสองจึงต้องยอมให้โจทก์วางท่อระบายน้ำ สายไฟฟ้าหรือสาธารณูปโภคอย่างอื่นผ่านที่ดินของจำเลยทั้งสอง เพราะค่าทดแทนนั้นได้กำหนดรวมอยู่ในค่าทดแทนการใช้ทางจำเป็นไว้แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2041/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิใช้ทางจำเป็น ค่าทดแทน และการวางท่อสาธารณูปโภคบนที่ดินของผู้อื่น
ที่ดินของโจทก์มีที่ดินของจำเลยทั้งสองและของผู้อื่นล้อมอยู่ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ แต่เส้นทางต่าง ๆ ที่โจทก์จะต้องผ่านเข้าไปในที่ดินบุคคลอื่นหลายราย จึงจะออกสู่ถนนสาธารณะได้ โดยเส้นทางที่หนึ่งจะต้องผ่านคันดินของผู้อื่นแล้วเลียบกำแพงของหมู่บ้าน ส. ไปเรื่อย ๆ จนถึงถนนของหมู่บ้านไปสู่ถนนสาธารณะประมาณ 100 เมตรแต่หมู่บ้านได้ทำรั้วขนาดสูงประมาณเอวกั้นรอบจดติดถนนสาธารณะไว้ ทั้งถนนในหมู่บ้านก็มิใช่ถนนสาธารณะ เส้นทางที่สองและที่สาม จะต้องผ่านรั้วของ ก. และใช้ถนนของ ก. ซึ่งมิใช่ถนนสาธารณะเช่นกันและใช้ระยะทางประมาณ 400 ถึง 500 เมตร จึงจะออกสู่ถนนสาธารณะได้ ส่วนเส้นทางที่สี่และที่ห้านั้น เมื่อผ่านที่ดินของบริษัทส. ระยะทางประมาณ 80 เมตรและ 84 เมตร ตามลำดับแล้ว ก็ต้องข้ามคลองมีสะพานไม้ สำหรับคนเดินข้าม และเมื่อข้ามคลองไปแล้วก็ไม่ปรากฏว่า มีเส้นทางที่จะออกสู่ถนนสาธารณะได้โดยสะดวกส่วนเส้นทาง อีกเส้นหนึ่งก็เป็นกรรมสิทธิ์ ก็มิใช่ทางสาธารณะ หากโจทก์ หรือบุคคลอื่นขอใช้ต้องขออนุญาตจากเจ้าของที่ดินก่อน จึงเป็น ทางส่วนบุคคลที่เจ้าของหวงแหนอยู่และเป็นเส้นทางที่ไกลกว่า ทางที่จะตัดผ่านออกมาทางที่ดินของจำเลยทั้งสอง ดังนี้ เมื่อเส้นทางพิพาทเส้นทางตรงที่ผ่านที่ดินจำเลยที่ 1 เป็นระยะทาง 180 เมตรแล้วหักเลี้ยวผ่านที่ดินจำเลยที่ 2 อีกประมาณ 30 เมตร ก็ถึงถนนสาธารณะ เป็นเส้นทางที่ใกล้และสะดวกที่สุด อีกทั้งตามสภาพที่ดินของจำเลยที่ 1 เป็นบ่อและที่ว่างเปล่า บางส่วนใช้เป็นบ่อเลี้ยงปลาและเล้าไก่ในส่วนที่โจทก์ ขอตัดถนนผ่านก็ไม่ได้ผ่านไปตรงที่เล้าไก่ และที่ดินของจำเลยที่ 2เป็นที่ว่างเปล่าและให้โจทก์เช่าอยู่แล้วจึงไม่ทำให้จำเลยทั้งสอง เสียหายมากนัก โจทก์ย่อมมีสิทธิขอเปิดทางจำเป็นผ่านที่ดิน ของจำเลยทั้งสองได้ โจทก์ซื้อที่ดินแปลงพิพาทมาเพื่อประกอบธุรกิจก่อสร้างโรงแรม และบ้านพักชั่วคราว เพื่อขายหรือให้เช่า ธุรกิจดังกล่าวทางที่ จะออกถนนสาธารณะจะต้องกว้างประมาณ 8 ถึง 12 เมตรที่โจทก์เช่าที่ดินจำเลยที่ 2 ก็โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำกิจการโรงแรมทางที่จะทำเข้านั้นคงจะกว้างประมาณ 6 เมตรเมื่อการทำธุรกิจโรงแรมผู้ที่มาพักอาศัยจะต้องใช้รถยนต์เป็นส่วนมากและจะต้องแล่นเข้าออกสวนกันเป็นประจำรถยนต์แต่ละคันกว้างประมาณ 2 เมตรเศษ การกำหนดทางจำเป็นกว้าง 6 เมตร ย่อมเหมาะสมแล้ว แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1352เป็นบทบังคับให้จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินต้องยอมให้โจทก์มีสิทธิวางท่อน้ำ ท่อระบายน้ำ สายไฟฟ้าหรือสิ่งอื่นซึ่งคล้ายกันผ่านที่ดินของจำเลยทั้งสองต่อเมื่อได้รับค่าทดแทนตามสมควรแล้ว และคดีนี้โจทก์จะมิได้เสนอค่าทดแทนให้แก่จำเลยทั้งสองก็ตาม แต่กรณีของโจทก์เป็นการขอวางไปตามแนวทางจำเป็นซึ่งจำเลยทั้งสองมีสิทธิได้รับค่าทดแทนในส่วนทางจำเป็นอยู่แล้ว ซึ่งมิได้เป็นการเพิ่มภาระให้แก่ที่ดินของจำเลยทั้งสองในส่วนที่ตกเป็นทางจำเป็น แต่กลับจะเป็นประโยชน์แก่ที่ดินของจำเลยทั้งสองและที่ดินบริเวณใกล้เคียงที่มีท่อระบายน้ำเพื่อป้องกันน้ำท่วมอีกด้วย จำเลยทั้งสองจึงต้องยอมให้โจทก์วางท่อระบายน้ำ สายไฟฟ้าหรือสาธารณูปโภคอย่างอื่นผ่านที่ดินของจำเลยทั้งสอง เพราะค่าทดแทนนั้นได้กำหนดรวมอยู่ในค่าทดแทนการใช้ทางจำเป็นไว้แล้ว
of 31