พบผลลัพธ์ทั้งหมด 301 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1154/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องอุทธรณ์เนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลเกี่ยวกับการนำส่งสำเนาอุทธรณ์ แม้จะวางค่าพาหนะแล้ว
ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งในวันเดียวกันกับที่โจทก์ยื่นอุทธรณ์ให้โจทก์ทั้งหกนำส่งสำเนาอุทธรณ์ใน7วันส่งไม่ได้ให้แถลงใน7วันนับแต่วันส่งไม่ได้มิฉะนั้นจะถือว่าทิ้งฟ้องอุทธรณ์ถือว่าโจทก์ได้ทราบคำสั่งในวันนั้นแล้วเมื่อไม่แถลงให้ศาลทราบว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไปภายในกำหนด7วันนับแต่วันส่งไม่ได้จึงถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา174(2)ประกอบมาตรา246แม้โจทก์จะได้วางเงินค่าพาหนะและค่าป่วยการในการนำส่งสำเนาอุทธรณ์ล่วงหน้าก็ไม่ทำให้โจทก์หมดหน้าที่ที่จะต้องจัดการนำส่งสำเนาตามคำสั่งของศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8780/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิบัติตามคำสั่งศาลของเจ้าหน้าที่ที่ดิน ไม่ถือเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ และการทิ้งฟ้องฎีกา
การที่จำเลยซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ของสำนักงานที่ดินจังหวัดผู้มีหน้าที่ดำเนินการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินได้รับคำขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของโจทก์ไว้แล้วไม่ดำเนินการโอนให้แก่โจทก์เนื่องจากจำเลยต้องปฏิบัติตามคำสั่งที่ให้รอการโอนกรรมสิทธิ์ไว้ก่อน อันเป็นการกระทำตามหน้าที่โดยชอบและเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของทางราชการถือไม่ได้ว่าจำเลยกระทำการอย่างใดอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง เมื่อศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์แล้ว ต้องถือว่าคดีอยู่ในอำนาจของศาลฎีกา การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 2 เพราะเหตุโจทก์ทิ้งฟ้องฎีกาจึงไม่ถูกต้อง แต่เมื่อคดีมาสู่ศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาจึงสั่งให้จำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 2 เพราะเหตุโจทก์ทิ้งฟ้องฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2),132(1)และมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7975/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องเนื่องจากไม่ชำระค่าขึ้นศาล: ศาลอุทธรณ์มีอำนาจจำหน่ายคดี
ผู้ร้องยื่นอุทธรณ์ในรูปคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง แต่อุทธรณ์ของผู้ร้องเป็นการอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้ผู้ร้องเลื่อนคดีและยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาจึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็น ราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 149 วรรคหนึ่งและตาราง 1(2)(ก) ในอัตรา 200 บาท แต่ผู้ร้องเสียเป็นค่าคำร้อง 40 บาท เท่านั้นจึงไม่ถึงต้อง ซึ่งศาลอุทธรณ์ได้มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นเรียกค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์จากผู้ร้องเพิ่มเติม ผู้ร้องทราบคำสั่งแล้วไม่นำเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาชำระภายในระยะเวลาตามคำสั่งของศาลชั้นต้นตามคำสั่งศาลอุทธรณ์ ถือได้ว่าผู้ร้องเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีอันเป็นการทิ้งฟ้องตามมาตรา 174(2) ประกอบมาตรา 246ศาลอุทธรณ์ต้องมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความตาม มาตรา 132(1) แต่ศาลอุทธรณ์กลับวินิจฉัยว่าการที่ผู้ร้องไม่นำเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาชำระเพิ่มเติมจึงเป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้ามตามกฎหมายและพิพากษายกอุทธรณ์ของผู้ร้องเช่นนี้คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7812/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายแจ้งคำสั่งศาลไปยังทนายโจทก์ชอบด้วยกฎหมาย แม้จะไม่ได้ส่งถึงตัวโจทก์โดยตรง ไม่ถือว่าทิ้งฟ้อง
คำว่า"โจทก์"ในคดีแพ่งแม้ไม่มีบทวิเคราะห์ศัพท์ไว้โดยตรงก็ตามย่อมหมายความว่าผู้ยื่นคำร้องต่อศาลหรือนัยหนึ่งหมายความถึงผู้เป็นคู่ความตามบทวิเคราะห์ศัพท์ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา1(11)ซึ่งรวมถึงบุคคลผู้มีสิทธิกระทำการแทนบุคคลนั้นๆตามกฎหมายหรือในฐานะทนายความด้วยฉะนั้นการส่งหมายหรือแจ้งคำสั่งของศาลไปยังตัวโจทก์หรือทนายโจทก์ก็ย่อมมีผลตามกฎหมายเช่นเดียวกันและไม่มีกฎหมายใดบังคับไว้ว่าต้องส่งหมายหรือแจ้งคำสั่งของศาลไปให้ตัวโจทก์เมื่อพนักงานเดินหมายได้นำหมายแจ้งคำสั่งดังกล่าวที่แจ้งถึงการส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยไม่ได้และให้โจทก์แถลงเพื่อดำเนินการต่อไปภายใน7วันนับแต่วันทราบไปส่งให้แก่ทนายโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลที่โจทก์ได้แต่งตั้งและให้มีอำนาจดำเนินคดีแทนตามใบแต่งทนายและเป็นคู่ความตามมาตรา1(11)จึงถือว่าเป็นการส่งหมายให้โจทก์ทราบโดยชอบเมื่อโจทก์ไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดจึงถือว่าทิ้งอุทธรณ์ตามมาตรา174(2)ประกอบมาตรา246
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7540/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดระยะเวลาอุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดี และการทิ้งฟ้องที่มิชอบด้วยกระบวนพิจารณา
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2535 ว่าโจทก์ทิ้งฟ้องจำหน่ายคดี วันที่ 6 มีนาคม 2535 โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดี เพราะโจทก์ไม่ได้จงใจทิ้งฟ้อง ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งคำร้องดังกล่าวเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2535 ว่า เมื่อโจทก์ได้ลงชื่อในท้ายคำร้องทราบคำสั่งศาลชั้นต้นในวันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง ถือว่าโจทก์ได้ทราบคำสั่งของศาลในวันนั้นแล้วให้ยกคำร้อง โจทก์อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้จำหน่ายคดี เมื่อวันที่ 8 เมษายน2535 ดังนี้ ก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งยกคำร้องของโจทก์นั้น ศาลชั้นต้นมีอำนาจเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีดังกล่าวเสียได้หากมีเหตุผลสมควร กรณีจึงต้องถือว่ากำหนดระยะเวลาอุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดีต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 11 มีนาคม 2535อันเป็นวันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องของโจทก์ เมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์ในวันที่ 8เมษายน 2535 จึงไม่พ้นกำหนด 1 เดือน ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 229
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การและนัดสืบพยานโจทก์โดยให้โจทก์เป็นผู้นำส่งหมายแจ้งวันนัดให้จำเลยที่ 1 และทนายจำเลยที่ 2 ทราบภายใน 7 วัน มิฉะนั้นถือว่าทิ้งฟ้อง ดังนี้เมื่อปรากฏว่าโจทก์วางเงินค่าธรรมเนียมการนำส่งหมายแก่จำเลยที่ 2 ถือได้ว่าเป็นการวางเงินค่าธรรมเนียมการนำส่งหมายแก่ทนายจำเลยที่ 2 ตามคำสั่งของศาลชั้นต้นแล้วการที่เจ้าพนักงานกรมบังคับคดีรายงานต่อศาลชั้นต้นว่าโจทก์หรือผู้แทนโจทก์ไม่มาเสียค่าธรรมเนียมในการส่งหมาย ซึ่งหมายถึงค่าธรรมเนียมการส่งหมายแก่จำเลยที่ 2 จึงเป็นรายงานที่ไม่ถูกต้อง กรณียังไม่อาจถือได้ว่าโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีตามคำสั่งของศาลชั้นต้น คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งว่าโจทก์ทิ้งฟ้องให้จำหน่ายคดีโจทก์เฉพาะจำเลยที่ 2 จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การและนัดสืบพยานโจทก์โดยให้โจทก์เป็นผู้นำส่งหมายแจ้งวันนัดให้จำเลยที่ 1 และทนายจำเลยที่ 2 ทราบภายใน 7 วัน มิฉะนั้นถือว่าทิ้งฟ้อง ดังนี้เมื่อปรากฏว่าโจทก์วางเงินค่าธรรมเนียมการนำส่งหมายแก่จำเลยที่ 2 ถือได้ว่าเป็นการวางเงินค่าธรรมเนียมการนำส่งหมายแก่ทนายจำเลยที่ 2 ตามคำสั่งของศาลชั้นต้นแล้วการที่เจ้าพนักงานกรมบังคับคดีรายงานต่อศาลชั้นต้นว่าโจทก์หรือผู้แทนโจทก์ไม่มาเสียค่าธรรมเนียมในการส่งหมาย ซึ่งหมายถึงค่าธรรมเนียมการส่งหมายแก่จำเลยที่ 2 จึงเป็นรายงานที่ไม่ถูกต้อง กรณียังไม่อาจถือได้ว่าโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีตามคำสั่งของศาลชั้นต้น คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งว่าโจทก์ทิ้งฟ้องให้จำหน่ายคดีโจทก์เฉพาะจำเลยที่ 2 จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7540/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีเนื่องจากทิ้งฟ้อง: การพิจารณาความชอบด้วยกระบวนพิจารณาและกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2535ว่าโจทก์ทิ้งฟ้องจำหน่ายคดี วันที่ 6 มีนาคม 2535 โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดี เพราะโจทก์ไม่ได้จงใจทิ้งฟ้อง ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งคำร้องดังกล่าวเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2535 ว่า เมื่อโจทก์ได้ลงชื่อในท้ายคำร้องทราบคำสั่งศาลชั้นต้นในวันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งถือว่าโจทก์ได้ทราบคำสั่งของศาลในวันนั้นแล้วให้ยกคำร้อง โจทก์อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้จำหน่ายคดี เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2535 ดังนี้ก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งยกคำร้องของโจทก์นั้นศาลชั้นต้นมีอำนาจเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีดังกล่าวเสียได้หากมีเหตุผลสมควร กรณีจึงต้องถือว่ากำหนดระยะเวลาอุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดีต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 11 มีนาคม 2535 อันเป็นวันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้อง ของโจทก์ เมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์ในวันที่8 เมษายน 2535 จึงไม่พ้นกำหนด 1 เดือนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การและนัดสืบพยานโจทก์โดยให้โจทก์เป็นผู้นำส่งหมายแจ้งวันนัดให้จำเลยที่ 1 และทนายจำเลยที่ 2 ทราบภายใน 7 วันมิฉะนั้นถือว่าทิ้งฟ้อง ดังนี้เมื่อปรากฏว่าโจทก์วางเงินค่าธรรมเนียมการนำส่งหมายแก่จำเลยที่ 2 ถือได้ว่าเป็นการวางเงินค่าธรรมเนียมการนำส่งหมายแก่ทนายจำเลยที่ 2 ตามคำสั่งของศาลชั้นต้นแล้วการที่เจ้าพนักงานกรมบังคับคดีรายงานต่อศาลชั้นต้นว่าโจทก์หรือผู้แทนโจทก์ไม่มาเสียค่าธรรมเนียมในการส่งหมายซึ่งหมายถึงค่าธรรมเนียมการส่งหมายแก่จำเลยที่ 2 จึงเป็นรายงานที่ไม่ถูกต้อง กรณียังไม่อาจถือได้ว่าโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีตามคำสั่งของศาลชั้นต้น คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งว่าโจทก์ทิ้งฟ้องให้จำหน่ายคดีโจทก์เฉพาะจำเลยที่ 2 จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7447/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำหลังทิ้งฟ้อง: ศาลพิจารณาฟ้องแย้งเดิมได้ และจำกัดสิทธิการบังคับคดีกับจำเลยที่ 3
โจทก์เคยฟ้องจำเลยทั้งสามในเรื่องเดียวกันกับคดีนี้ในศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าวจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การและฟ้องแย้งว่า โจทก์ออก น.ส.3 ก.ทับที่ดินของจำเลย ขอให้เพิกถอน น.ส.3 ก. ของโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 3 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าวโจทก์ไม่เสียค่าขึ้นศาลภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งว่าโจทก์ทิ้งฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) และให้สืบพยานจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามฟ้องแย้งต่อไป แล้วพิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ชนะคดีตามฟ้องแย้งโจทก์อุทธรณ์ ขณะที่คดีดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 3 โจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นคดีนี้เกี่ยวกับที่ดินแปลงเดียวกันและมีประเด็นขอให้เพิกถอน น.ส.3 ก.เช่นเดียวกัน แม้การทิ้งฟ้องของโจทก์ในคดีก่อนจะมีผลลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องนั้น รวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่น ๆ อันมีมาต่อภายหลังยื่นคำฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 176 แต่ก็มีผลเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องของโจทก์เท่านั้น หามีผลไปถึงฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ยังคงมีอยู่ให้ศาลต้องพิจารณาต่อไป เมื่อโจทก์ยังมีฐานะเป็นคู่ความฝ่ายจำเลยตามฟ้องแย้ง การที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสามในเรื่องเดียวกันเข้ามาใหม่ ขณะที่คดีตามฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 และที่ 2 อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 3 จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 วรรคหนึ่ง
ปัญหาเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาซึ่งเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียร้อยของประชาชน แม้จะไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ภาค 3 เห็นสมควรก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษาคดีไปได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 246 ประกอบมาตรา 142 (5)
ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเฉพาะจำเลยที่ 3 โดยให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาคดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 3แล้วมีคำสั่งหรือคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดี แต่เมื่อคำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 กับที่ 3 และจำเลยที่ 2 กับที่ 3 ร่วมกันเพิกถอน น.ส.3 ก.ซึ่งจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นเจ้าของในแต่ละแปลง โดยโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 3ในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ออก น.ส.3 ก.ทั้งสองฉบับ เมื่อไม่อาจบังคับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้เพิกถอน น.ส.3 ก. ดังกล่าวได้แล้ว สภาพคำขอบังคับของโจทก์อันเกี่ยวกับจำเลยที่ 3 จึงไม่เปิดช่องที่จะบังคับตามคำขอของโจทก์ได้ คดีสำหรับจำเลยที่ 3 จึงไม่มีประโยชน์ที่จะพิจารณาอีกต่อไป
ปัญหาเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาซึ่งเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียร้อยของประชาชน แม้จะไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ภาค 3 เห็นสมควรก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษาคดีไปได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 246 ประกอบมาตรา 142 (5)
ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเฉพาะจำเลยที่ 3 โดยให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาคดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 3แล้วมีคำสั่งหรือคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดี แต่เมื่อคำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 กับที่ 3 และจำเลยที่ 2 กับที่ 3 ร่วมกันเพิกถอน น.ส.3 ก.ซึ่งจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นเจ้าของในแต่ละแปลง โดยโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 3ในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ออก น.ส.3 ก.ทั้งสองฉบับ เมื่อไม่อาจบังคับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้เพิกถอน น.ส.3 ก. ดังกล่าวได้แล้ว สภาพคำขอบังคับของโจทก์อันเกี่ยวกับจำเลยที่ 3 จึงไม่เปิดช่องที่จะบังคับตามคำขอของโจทก์ได้ คดีสำหรับจำเลยที่ 3 จึงไม่มีประโยชน์ที่จะพิจารณาอีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6488/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง: ศาลไม่ปฏิบัติตามขั้นตอน ป.วิ.พ. มาตรา 174(2) ไม่ถือเป็นการทิ้งฟ้อง
โจทก์ยื่นฟ้อง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่ารับคำฟ้อง หมายเรียก และสำเนาให้จำเลยแบบคดีมโนสาเร่ ให้โจทก์นำส่งภายใน 7 วัน ถ้าส่งไม่ได้ให้โจทก์แถลงเพื่อดำเนินการต่อไปภายใน 7 วัน นับแต่วันส่งไม่ได้ มิฉะนั้นถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องซึ่งเมื่อโจทก์นำส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยทั้งสองในครั้งแรกไม่ได้โจทก์ได้ยื่นคำแถลงภายในกำหนด ขอให้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยทั้งสองอีกครั้งหนึ่ง อันเป็นการปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวแล้ว ส่วนในการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยทั้งสองครั้งที่สองนั้น ศาลชั้นต้นไม่ได้มีคำสั่งให้โจทก์แถลงเพื่อดำเนินการต่อไปภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดในกรณีที่ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยทั้งสองไม่ได้ ทั้งไม่ได้สั่งให้โจทก์นำส่ง และเมื่อศาลแขวงตลิ่งชันมีหนังสือแจ้งให้ศาลชั้นต้นทราบว่าได้นำหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไปส่งให้จำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2537 แต่ส่งไม่ได้ ศาลชั้นต้นก็เพียงมีคำสั่งว่า"รอโจทก์แถลง" ทั้งเมื่อพนักงานเดินหมายของศาลชั้นต้นรายงานว่าส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องในครั้งที่สองให้แก่จำเลยที่ 1 ไม่ได้เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2537ศาลชั้นต้นก็เพียงมีคำสั่งเช่นเดิมว่า "รอโจทก์แถลง" โดยศาลชั้นต้นมิได้ส่งคำสั่งที่สั่งในรายงานเจ้าหน้าที่ดังกล่าวทั้งสองฉบับให้โจทก์ทราบ ดังนั้นแม้โจทก์มิได้แถลงว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไปจนกระทั่งเจ้าหน้าที่ของศาลชั้นต้นรายงานเมื่อวันที่ 4มีนาคม 2537 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากวันที่ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้ถึง 25 วัน และ 32 วัน ตามลำดับแล้วก็ตาม ก็ไม่เป็นการทิ้งฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6488/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียกและการทิ้งฟ้อง: ศาลต้องแจ้งคำสั่งให้โจทก์ทราบชัดเจนก่อนจำหน่ายคดี
โจทก์ยื่นฟ้อง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่ารับคำฟ้อง หมายเรียกและสำเนาให้จำเลยแบบคดีมโนสาเร่ ให้โจทก์นำส่งภายใน 7 วัน ถ้าส่งไม่ได้ให้โจทก์แถลงเพื่อดำเนินการต่อไปภายใน 7 วัน นับแต่วันส่งไม่ได้ มิฉะนั้นถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องซึ่งเมื่อโจทก์นำส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยทั้งสอง ในครั้งแรกไม่ได้ โจทก์ได้ยื่นคำแถลงภายในกำหนด ขอให้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยทั้งสองอีกครั้งหนึ่งอันเป็นการปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวแล้ว ส่วนในการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยทั้งสองครั้งที่สองนั้นศาลชั้นต้นไม่ได้มีคำสั่งให้โจทก์แถลงเพื่อดำเนินการต่อไปภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดในกรณีที่ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยทั้งสองไม่ได้ ทั้งไม่ได้สั่งให้โจทก์นำส่ง และเมื่อศาลแขวงตลิ่งชันมีหนังสือแจ้งให้ศาลชั้นต้นทราบว่าได้นำหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไปส่งให้จำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2537 แต่ส่งไม่ได้ศาลชั้นต้นก็เพียงมีคำสั่งว่า "รอโจทก์แถลง" ทั้งเมื่อพนักงานเดินหมายของศาลชั้นต้นรายงานว่าส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องในครั้งที่สองให้แก่จำเลยที่ 1 ไม่ได้เมื่อวันที่6 กุมภาพันธ์ 2537 ศาลชั้นต้นก็เพียงมีคำสั่งเช่นเดิมว่า"รอโจทก์แถลง" โดยศาลชั้นต้นมิได้ส่งคำสั่งที่สั่งในรายงานเจ้าหน้าที่ดังกล่าวทั้งสองฉบับให้โจทก์ทราบ ดังนั้นแม้โจทก์มิได้แถลงว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไปจนกระทั่งเจ้าหน้าที่ของศาลชั้นต้นรายงานเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2537 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากวันที่ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยที่ 1และที่ 2 ไม่ได้ ถึง 25 วัน และ 32 วัน ตามลำดับแล้วก็ตามก็ไม่เป็นการทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 174(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6488/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องโดยชอบ การเพิกเฉยของศาลที่ไม่แจ้งคำสั่งและกำหนดเวลาให้โจทก์ดำเนินการ อาจไม่ถือเป็นการทิ้งฟ้อง
โจทก์ยื่นฟ้องศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่ารับคำฟ้องหมายเรียกและสำเนาให้จำเลยแบบคดีมโนสาเร่ให้โจทก์นำส่งภายใน7วันถ้าส่งไม่ได้ให้โจทก์แถลงเพื่อดำเนินการต่อไปภายใน7วันนับแต่วันส่งไม่ได้มิฉะนั้นถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องซึ่งเมื่อโจทก์นำส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยทั้งสองในครั้งแรกไม่ได้โจทก์ได้ยื่นคำแถลงภายในกำหนดขอให้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยทั้งสองอีกครั้งหนึ่งอันเป็นการปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวแล้วส่วนในการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยทั้งสองครั้งที่สองนั้นศาลชั้นต้นไม่ได้มีคำสั่งให้โจทก์แถลงเพื่อดำเนินการต่อไปภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดในกรณีที่ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยทั้งสองไม่ได้ทั้งไม่ได้สั่งให้โจทก์นำส่งและเมื่อศาลแขวงตลิ่งชันมีหนังสือแจ้งให้ศาลชั้นต้นทราบว่าได้นำหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไปส่งให้จำเลยที่2เมื่อวันที่30มกราคม2537แต่ส่งไม่ได้ศาลชั้นต้นก็เพียงมีคำสั่งว่า"รอโจทก์แถลง"ทั้งเมื่อพนักงานเดินหมายของศาลชั้นต้นรายงานว่าส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องในครั้งที่สองให้แก่จำเลยที่1ไม่ได้เมื่อวันที่6กุมภาพันธ์2537ศาลชั้นต้นก็เพียงมีคำสั่งเช่นเดิมว่า"รอโจทก์แถลง"โดยศาลชั้นต้นมิได้ส่งคำสั่งที่สั่งในรายงานเจ้าหน้าที่ดังกล่าวทั้งสองฉบับให้โจทก์ทราบดังนั้นแม้โจทก์มิได้แถลงว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไปจนกระทั่งเจ้าหน้าที่ของศาลชั้นต้นรายงานเมื่อวันที่4มีนาคม2537ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากวันที่ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยที่1และที่2ไม่ได้ถึง25วันและ32วันตามลำดับแล้วก็ตามก็ไม่เป็นการทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา174(2)