พบผลลัพธ์ทั้งหมด 507 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6856/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการทรัพย์มรดก: การโอนที่ดินพิพาทเพื่อชำระหนี้มรดกและการแบ่งปันให้ทายาท
จำเลยทั้งสองในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้จัดการมรดกได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกให้แก่ จ.ในราคา 30,000,000 บาท ฝ่ายผู้จะซื้อชำระราคาแล้ว1,500,000 บาท ส่วนที่เหลือจะชำระในวันโอนกรรมสิทธิ์สัญญาจะซื้อขายดังกล่าวโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ได้รู้เห็น และยินยอมให้จำเลยทั้งสองทำสัญญาด้วย ต่อมา ว. กับพวกรวม 5 คน ทายาทของเจ้ามรดกฟ้องจำเลยทั้งสอง ขอแบ่งทรัพย์มรดก ศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยทั้งสองแบ่งมรดก ให้แก่ ว. กับพวกเป็นเงิน 12,328,712.70 บาท และดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของจำนวนเงินดังกล่าวนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ ถ้าจำเลยทั้งสองไม่ชำระให้เอาที่ดินพิพาท ออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระแทน ซึ่งคดีดังกล่าวศาลฎีกา พิพากษาเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2531 ต่อมาวันที่ 22 พฤษภาคม2532 จ. ฟ้องจำเลยทั้งสองขอให้ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อขายจำเลยทั้งสองกับ จ. ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยจำเลยทั้งสองยอมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่ฝ่ายผู้ซื้อ ตามสัญญาและยอมรับเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือ ศาลชั้นต้น พิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุด และได้มีการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่ฝ่ายผู้ซื้อแล้ว ดังนี้ เมื่อทรัพย์มรดก ของเจ้ามรดกคงเหลือที่ดินเพียงแปลงเดียวคือที่ดินพิพาท การที่ศาลฎีกามีคำพิพากษาให้จำเลยทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกชำระเงินให้แก่ ว. กับพวกเป็นเงินประมาณ 22,000,000 บาทแต่จำเลยทั้งสองไม่มีทรัพย์มรดกเหลือเพียงพอจะชำระเงินให้แก่ ว.กับพวกและว. กับพวกก็จะบังคับคดีโดยนำที่ดินออกขายทอดตลาดซึ่งระหว่างนั้น จ. ผู้ซื้อก็ฟ้องจำเลยทั้งสองให้ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อขายฉบับลงวันที่ 4 เมษายน 2524จำเลยทั้งสองจึงได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยยอมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทและยอมรับเงินค่าซื้อที่ดินส่วนที่เหลือและจำเลยทั้งสองได้นำเงินที่ได้ไปชำระแก่ ว. กับพวกแล้ว ถือได้ว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำการตามหน้าที่ ของผู้จัดการมรดกโดยชอบ เพราะหากให้ ว.กับพวกบังคับคดีโดยนำที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาดก็อาจไม่ได้ราคาและอาจเกิดความเสียหายแก่ทายาทได้ ทั้งการที่จำเลยทั้งสอง ยอมปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อขายโดยโอนที่ดินพิพาทให้ แก่ ผู้ซื้อตามข้อสัญญา ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองปฏิบัติผิดหน้าที่แต่อย่างใด แม้ขณะโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ยื่นฟ้องคดีนี้ ที่ดินพิพาทยังไม่ได้โอนไปยังบุคคลภายนอกยังเป็นมรดกที่จำเลยทั้งสองสามารถจะนำมาแบ่งปันแก่ทายาทได้ แต่เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาคดีนี้ได้มีการโอนที่ดินพิพาทไปยังบุคคลภายนอกแล้วจึงไม่เป็นมรดกที่จะนำมาแบ่งแก่ทายาทได้อีก ตามคำขอท้ายฟ้องที่ ม. ได้รับมอบอำนาจจาก จ.ให้ฟ้องคดีนั้นระบุว่าขอให้บังคับจำเลยในคดีดังกล่าวโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ ซึ่งก็คือ ม. นั่นเอง ที่สัญญาประนีประนอมยอมความ ระบุว่าให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่ ม. จึงตรงกับ คำขอท้ายฟ้อง เมื่อไม่ขัดต่อกฎหมายศาลย่อมพิพากษาตามยอมได้ประกอบการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทได้ทำตามสัญญา ประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอม ทั้งคดีดังกล่าว ก็ถึงที่สุดแล้ว การโอนที่ดินพิพาทจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนการโอน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6666/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท: การโอนมรดกโดยเสน่หา vs. การครอบครองเพื่อตนเอง
เดิมที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดิน น.ส.3 ก. เป็นทรัพย์สินของ ส.ซึ่งเป็นบุตรของม.ที่เกิดกับสามีคนเดิม ส่วนโจทก์เป็นบุตรของม.กับสามีคนใหม่จำเลยที่ 1 เป็นบุตรของอ.กับ สามีเดิมของม. จำเลยที่ 2 และที่ 3เป็นบุตรของจำเลยที่ 1ส.ถึงแก่ความตายโดยไม่มีบุตรและภริยา และศาลมีคำสั่งตั้งม.เป็นผู้จัดการมรดกของส. ม.ได้จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์โดยเสน่หาเมื่อปรากฏว่า ส. ยกที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 1การมีชื่อใน น.ส.3 ก. ของโจทก์โดยรับโอนให้มาโดยเสน่หาจาก ม. ผู้จัดการมรดกของส. แต่มิได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดิน ซึ่งต่างกับจำเลยที่ 1 ที่ได้ยึดถือที่ดินที่ได้รับการยกให้โดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตน จำเลยที่ 1จึงได้ไปซึ่งสิทธิครอบครอง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1367 และมาตรา 1369การกระทำของจำเลยทั้งสามที่ตัดฟันต้นยางพารา ซึ่งเป็น ไม้ยืนต้นซึ่งเป็นส่วนควบกับที่ดินของจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 145 จึงหาเป็นการละเมิดต่อโจทก์ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6659/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ สิทธิฎีกาจำกัด ผู้ร้องสอดไม่มีสิทธิครอบครอง
จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ประเด็นข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงไม่มีว่าจำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทหรือไม่ จำเลยจึงไม่มีสิทธิฎีกาว่าจำเลยได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทเพราะเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่มิได้ให้การไว้ ขัดต่อ ป.วิ.พ.มาตรา 249
ผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สามตาม ป.วิ.พ.มาตรา57 (1) อ้างว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท หาใช่ผู้ร้องสอดแล้ว หากศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีและมีคำสั่งให้ขับไล่จำเลย คำสั่งที่ให้ขับไล่นี้ย่อมใช้บังคับแก่ผู้ร้องสอดได้ตามมาตรา 142 (1)
ผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สามตาม ป.วิ.พ.มาตรา57 (1) อ้างว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท หาใช่ผู้ร้องสอดแล้ว หากศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีและมีคำสั่งให้ขับไล่จำเลย คำสั่งที่ให้ขับไล่นี้ย่อมใช้บังคับแก่ผู้ร้องสอดได้ตามมาตรา 142 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6495/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีมีทุนทรัพย์พิจารณาจากราคาที่ดินพิพาท แม้ฟ้องเพิกถอน น.ส.3 ก. แต่มีประเด็นกรรมสิทธิ์เกี่ยวข้อง
แม้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3 ก.) ซึ่งเป็นการขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้แต่เมื่อเป็นคดีเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ และจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ ซึ่งหากศาลพิพากษาให้เพิกถอน น.ส.3 ก.พิพาท ตามคำขอของโจทก์ ก็ย่อมเป็นผลต่อเนื่องในเรื่องกรรมสิทธิ์ในที่ดิน อันเป็นการให้แสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั่นเอง จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ปรากฎว่าโจทก์ซื้อที่ดินจาก บ.เนื้อที่4 ไร่ 3 งาน 59 ตารางวา ในราคา 10,000 บาท และจำเลยที่ 1 ขอออกน.ส.3 ก. ทับที่ดินของโจทก์เพียงบางส่วน และจำเลยที่ 2 ซื้อที่ดินจากจำเลยที่ 1เนื้อที่ 3 ไร่ 55 ตารางวา ในราคา 60,000 บาท จำเลยที่ 3 ซื้อที่ดินจากจำเลยที่ 1 เนื้อที่ 3 งาน 88 ตารางวา ในราคา 20,000 บาท โจทก์ฟ้องคดีนี้หลังจากที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซื้อที่ดินมาจากจำเลยที่ 1 เพียงประมาณ 1 ปี ราคาของที่ดินจึงไม่น่าจะต่างกันมากนัก ที่ดินเฉพาะในส่วนที่พิพาทกันมีเนื้อที่เป็นส่วนน้อยเมื่อเทียบกับทั้งแปลง ราคาของที่ดินพิพาทซึ่งถือเป็นทุนทรัพย์ของคดีนี้ย่อมไม่เกิน 50,000 บาทจึงต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6237/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินพิพาทของคู่สมรส: เจตนาให้ร่วมกรรมสิทธิ์และลักษณะเจ้าของรวม
ที่ดินพิพาทตาม น.ส.3 ก. มีชื่อโจทก์จำเลยซึ่งเป็น สามีภริยากันในขณะนั้นเป็นผู้ครอบครองและทำประโยชน์ โดยในบันทึกการสอบสวนสิทธิและพิสูจน์การทำประโยชน์ เพื่ออก น.ส.3 ก. ได้ระบุว่าจำเลยยินยอมให้โจทก์ มีกรรมสิทธิ์ร่วมด้วย จึงต้องฟังว่าจำเลยมีเจตนาให้โจทก์มีสิทธิในที่ดินพิพาทครึ่งหนึ่ง แม้นับแต่โจทก์หย่าขาดกับจำเลยเป็นต้นมาเป็นเวลากว่า 10 ปี โจทก์ไม่เคยครอบครอง ทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์มีเจตนา สละการครอบครอง เพราะกรณีต้องด้วยลักษณะเจ้าของรวม ซึ่งมีผลในทางกฎหมายว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์ ตราบใดที่จำเลยยังมิได้มีการบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือว่าไม่เจตนาจะยึดถือที่ดินพิพาทแทนโจทก์อีกต่อไป สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทของโจทก์ย่อมไม่สิ้นสุดลง โจทก์มีสิทธิเรียกเอาที่ดินพิพาทจากจำเลยได้ครึ่งหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 60/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นการรุกล้ำที่ดิน, สัญญาจะซื้อขาย, และการฟ้องขับไล่ที่มิชอบเมื่อจำเลยมิได้ผิดสัญญา
จำเลยมิได้ให้การต่อสู้คดีเรื่องปลูกสร้างโรงเรือนบนที่ดินพิพาทรุกล้ำโดยสุจริต และศาลชั้นต้นก็มิได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยปลูกสร้างโรงเรือนรุกล้ำที่ดินของโจทก์โดยสุจริตหรือไม่ นอกจากนี้ที่ดินพิพาทที่จำเลยปลูกสร้างโรงเรือนทั้งหมดนั้นก็ยังเป็นที่ดินของโจทก์ เพียงแต่จำเลยมีสิทธิเข้าไปปลูกสร้างโรงเรือนได้ตามสัญญาจะซื้อจะขาย ไม่มีที่ดินส่วนใดที่เป็นของจำเลย กรณีจึงไม่อาจปรับด้วย ป.พ.พ.มาตรา 4 และมาตรา 1312 วรรคหนึ่ง ได้ ดังนี้ เมื่อคดีไม่มีประเด็นดังกล่าวให้ต้องวินิจฉัย การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกประเด็นในเรื่องความสุจริตตามบทมาตราดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น และไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาเพราะมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
จำเลยเข้าไปถมที่ดินและปลูกบ้านในที่พิพาทโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาจะซื้อขาย โดยโจทก์ก็ทราบและไม่ได้คัดค้าน การที่จำเลยเข้าไปปลูกบ้านในที่ดินของโจทก์โดยอาศัยสิทธิตามสัญญาจะซื้อขาย และเมื่อถึงวันโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโจทก์ไม่สามารถโอนที่พิพาทให้แก่จำเลยได้เพราะการแบ่งแยกไม่เสร็จ จำเลยจึงไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา และกรณีไม่จำเป็นต้องต่ออายุสัญญาเพราะสัญญาไม่ได้กำหนดวันสิ้นสุดไว้ ดังนั้นโจทก์จึงบอกเลิกสัญญาและฟ้องขับไล่จำเลยโดยอ้างว่าจำเลยผิดสัญญาไม่ได้ โจทก์จำเลยยังคงมีความผูกพันตามสัญญาจะซื้อขายที่โจทก์ตกลงยินยอมให้จำเลยผู้จะซื้อเข้าครอบครองและใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาทก่อนที่จะมีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ จึงเป็นกรณีที่โจทก์จะต้องไปบังคับแก่จำเลยตามสัญญาจะซื้อขาย
จำเลยเข้าไปถมที่ดินและปลูกบ้านในที่พิพาทโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาจะซื้อขาย โดยโจทก์ก็ทราบและไม่ได้คัดค้าน การที่จำเลยเข้าไปปลูกบ้านในที่ดินของโจทก์โดยอาศัยสิทธิตามสัญญาจะซื้อขาย และเมื่อถึงวันโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโจทก์ไม่สามารถโอนที่พิพาทให้แก่จำเลยได้เพราะการแบ่งแยกไม่เสร็จ จำเลยจึงไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา และกรณีไม่จำเป็นต้องต่ออายุสัญญาเพราะสัญญาไม่ได้กำหนดวันสิ้นสุดไว้ ดังนั้นโจทก์จึงบอกเลิกสัญญาและฟ้องขับไล่จำเลยโดยอ้างว่าจำเลยผิดสัญญาไม่ได้ โจทก์จำเลยยังคงมีความผูกพันตามสัญญาจะซื้อขายที่โจทก์ตกลงยินยอมให้จำเลยผู้จะซื้อเข้าครอบครองและใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาทก่อนที่จะมีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ จึงเป็นกรณีที่โจทก์จะต้องไปบังคับแก่จำเลยตามสัญญาจะซื้อขาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5762/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์คดีมีทุนทรัพย์จำกัดตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง: การคำนวณมูลค่าที่ดินพิพาท
โจทก์ฟ้องว่าเป็นเจ้าของที่ดินพิพาท จำเลยทั้งสองบุกรุกเข้ามาสร้างโรงเรือนในที่ดินดังกล่าว จำเลยทั้งสองให้การและฟ้องแย้งว่าตนเป็นเจ้าของมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทคนละส่วนแยกต่างหากจากกัน เนื้อที่เท่ากันคนละ 77ตารางวา เนื้อที่ดินทั้งแปลงมีราคา 52,000 บาท ที่ดินพิพาทส่วนของจำเลยแต่ละคนจึงมีราคาครึ่งหนึ่งของที่ดินพิพาททั้งแปลงคือมีราคาแปลงละ 26,000 บาท ซึ่งต้องถือราคานี้เป็นทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์ของจำเลยแต่ละคน ดังนั้น อุทธรณ์ของจำเลยแต่ละคนจึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ 26,000 บาท ไม่เกิน 50,000 บาท ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 570/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโต้แย้งคำสั่งศาลและการรับฟังพยานหลักฐานเอกสาร การออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาท
การชี้สองสถานของศาลชั้นต้น หากจำเลยเห็นว่าศาลชั้นต้นสั่งไม่ชอบอย่างไรก็ชอบที่จะโต้แย้งคำสั่งนั้นไว้เพราะคำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จำเลยจึงจะใช้สิทธิอุทธรณ์หรือฎีกาคำสั่งนั้นต่อไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(2) เมื่อจำเลยมิได้ดำเนินกระบวนพิจารณาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวจำเลยจึงไม่อาจฎีกาในปัญหานี้ได้ การที่ศาลชั้นต้นไม่ได้มีการนำชี้หรือทำแผนที่พิพาทประกอบคดีซึ่งหากจำเลยมีความจำนงที่จะดำเนินการเช่นนั้นก็ชอบที่จะแสดงความจำนงต่อศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 แต่จำเลยมิได้ดำเนินกระบวนพิจารณาให้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว จำเลยจึงฎีกาว่าศาลชั้นต้นไม่ได้มีการนำชี้หรือทำแผนที่พิพาทประกอบคดีเป็นการไม่ชอบไม่ได้ แบบแจ้งการครอบครองที่ดินแบบบันทึกการสอบสวนสิทธิและพิสูจน์การทำประโยชน์และหนังสือรับรองการทำประโยชน์แม้จะเป็นสำเนาเอกสารก็ตาม แต่เมื่อเอกสารดังกล่าวมีเจ้าหน้าที่บริหารงานที่ดินรับรองความถูกต้องแล้วและคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมิได้ซักค้านหรือนำสืบให้เห็นว่าเจ้าหน้าที่บริหารงานที่ดินนั้นไม่มีหน้าที่รับรองเอกสารดังกล่าวอย่างไร ย่อมรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5625/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินพิพาท: การแย่งการครอบครองและคำฟ้องเรียกอสังหาริมทรัพย์ ผู้ร้องสอดมีสิทธิเสมือนฟ้อง/ถูกฟ้องคดีใหม่
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและบริวาร ให้ขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากที่พิพาทตาม น.ส.3 เลขที่ 485 ซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องสอดต่อสู้คดีว่า เดิมที่ดินตาม น.ส.3 ก. เลขที่ 465 มีจำนวน 12 ไร่เป็นของ ป.มารดาผู้ร้องสอด แต่ ป.ได้เข้าครอบครองทำประโยชน์เป็นเนื้อที่ 17ไร่เศษ ต่อมาเมื่อ พ.ศ.2529 ผู้ร้องสอดได้รับมรดกที่ดินแปลงดังกล่าวจาก ป. แล้วผู้ร้องสอดได้ครอบครองทำประโยชน์ตลอดมาและได้ซื้อเพิ่มเติมจากบุคคลภายนอกทางทิศตะวันออกของที่ดิน รวมแล้ว 23 ไร่เศษ ผู้ร้องสอดให้จำเลยทั้งสองเป็นผู้อาศัยทำกิน ตามคำร้องสอดดังกล่าวเท่ากับว่าผู้ร้องสอดอ้างว่า ที่พิพาทเป็นของผู้ร้องสอดทั้งหมด ข้อต่อสู้ของผู้ร้องสอดจึงไม่มีปัญหาเรื่องการแย่งการครอบครองที่พิพาทของโจทก์เพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดขึ้นได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น ผู้ร้องสอดจึงไม่อาจอ้างสิทธิตาม ป.พ.พ.มาตรา 1375 วรรคสอง ได้
คำร้องสอดของผู้ร้องสอดเป็นการเข้ามาเป็นคู่ความตามป.วิ.พ.มาตรา 57 (1) ซึ่งตามมาตรา 58 ผู้ร้องสอดมีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนได้ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ ดังนี้ ย่อมถือว่าผู้ร้องสอดได้ถูกฟ้องเป็นจำเลยด้วย ทั้งคดีระหว่างโจทก์และผู้ร้องสอดเป็นคดีฟ้องเรียกอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งมาตรา142 (1) บัญญัติว่า ให้พึงเข้าใจว่าเป็นประเภทเดียวกับฟ้องขอให้ขับไล่ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ ศาลย่อมพิพากษาให้ขับไล่ผู้ร้องสอดได้หาเกินคำขอไม่
คำร้องสอดของผู้ร้องสอดเป็นการเข้ามาเป็นคู่ความตามป.วิ.พ.มาตรา 57 (1) ซึ่งตามมาตรา 58 ผู้ร้องสอดมีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนได้ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ ดังนี้ ย่อมถือว่าผู้ร้องสอดได้ถูกฟ้องเป็นจำเลยด้วย ทั้งคดีระหว่างโจทก์และผู้ร้องสอดเป็นคดีฟ้องเรียกอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งมาตรา142 (1) บัญญัติว่า ให้พึงเข้าใจว่าเป็นประเภทเดียวกับฟ้องขอให้ขับไล่ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ ศาลย่อมพิพากษาให้ขับไล่ผู้ร้องสอดได้หาเกินคำขอไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5625/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินพิพาท: การครอบครอง การทำประโยชน์ และการเข้ามาเป็นคู่ความในคดีขับไล่
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและบริวาร ให้ขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากที่พิพาทตาม น.ส.3 เลขที่ 485 ซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องสอดต่อสู้คดีว่าเดิมที่ดินตาม น.ส.3 ก. เลขที่ 465 มีจำนวน 12 ไร่เป็นของ ป.มารดาผู้ร้องสอด แต่ ป. ได้เข้าครอบครองทำประโยชน์เป็นเนื้อที่ 17 ไร่เศษ ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2529ผู้ร้องสอดได้รับมรดกที่ดินแปลงดังกล่าวจาก ป. แล้วผู้ร้องสอดได้ครอบครองทำประโยชน์ตลอดมาและได้ซื้อเพิ่มเติม จากบุคคลภายนอกทางทิศตะวันออกของที่ดิน รวมแล้ว 23 ไร่เศษ ผู้ร้องสอดให้จำเลยทั้งสองเป็นผู้อาศัยทำกิน ตามคำร้องสอดดังกล่าวเท่ากับว่าผู้ร้องสอดอ้างว่า ที่พิพาทเป็นของผู้ร้องสอดทั้งหมด ข้อต่อสู้ของผู้ร้องสอดจึงไม่มีปัญหาเรื่องการแย่งการครอบครองที่พิพาทของโจทก์เพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดขึ้นได้ก็แต่ในที่ดินของ ผู้อื่นเท่านั้น ผู้ร้องสอดจึงไม่อาจอ้างสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 วรรคสอง ได้ คำร้องสอดของผู้ร้องสอดเป็นการเข้ามาเป็นคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1)ซึ่งตามมาตรา 58 ผู้ร้องสอดมีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนได้ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ ดังนี้ ย่อมถือว่าผู้ร้องสอดได้ถูกฟ้องเป็นจำเลยด้วย ทั้งคดีระหว่างโจทก์และผู้ร้องสอดเป็นคดีฟ้องเรียกอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งมาตรา 142(1) บัญญัติว่า ให้พึงเข้าใจว่าเป็นประเภทเดียวกับฟ้องขอให้ขับไล่ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่พิพาทเป็น ของโจทก์ ศาลย่อมพิพากษาให้ขับไล่ผู้ร้องสอดได้ หาเกินคำขอไม่