คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ธนาคาร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 399 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 996/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดประเภทภาษีการค้า: กิจการซื้อสิทธิเรียกร้องคล้ายธนาคารพาณิชย์ ต้องเสียภาษีประเภทธนาคาร ไม่ใช่นายหน้า/ตัวแทน
การที่โจทก์ซื้อสิทธิเรียกร้องจากลูกค้าด้วยเงินสดโดยรับโอนสิทธิเรียกร้องจากลูกค้าและให้ลูกค้าค้ำประกันการเรียกเก็บเงินตามสิทธิเรียกร้องนั้นเมื่อโจทก์เรียกเก็บเงินตามสิทธิเรียกร้องที่รับโอนจากลูกหนี้ไม่ได้ลูกค้าโจทก์ยังต้องรับผิดชดใช้เงินแก่โจทก์เท่าจำนวนที่ยังเรียกเก็บไม่ได้และในการรับซื้อสิทธิเรียกร้องโจทก์รับซื้อในราคาต่ำกว่าราคาสิทธิเรียกร้องกิจการของโจทก์จึงเป็นกิจการให้กู้ยืมเงินโดยส่วนต่างของราคาสิทธิเรียกร้องที่โจทก์ได้รับก็คือดอกเบี้ยนั่นเองกิจการของโจทก์ดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นกิจการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์หาใช่เข้าลักษณะเป็นการรับจัดธุรกิจให้ผู้อื่นตามประเภทการค้า1นายหน้าและตัวแทนไม่โจทก์จึงมีหน้าที่ชำระภาษีการค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภท12ธนาคาร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 888/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หลักประกันทุเลาการบังคับคดีไม่ใช่การชำระหนี้ โจทก์ต้องใช้หมายบังคับคดีเพื่อเรียกเงินจากธนาคาร
จำเลยนำสมุดเงินฝากของธนาคารมาเป็นหลักฐานประกันในการขอทุเลาการบังคับคดีระหว่างฎีกาศาลชั้นต้นมีหนังสือห้ามจำเลยถอนเงินจากสมุดเงินฝากดังกล่าวสมุดเงินฝากของธนาคารซึ่งจำเลยนำมาวางต่อศาลชั้นต้นเป็นเพียงหลักประกันในการขอทุเลาการบังคับคดีระหว่างฎีกาเท่านั้นว่าจำเลยมีทรัพย์สินพอที่จะชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้โจทก์สมุดเงินฝากดังกล่าวจึงมิใช่เป็นตัวเงินซึ่งจำเลยนำมาวางต่อศาลเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาแม้จำเลยแถลงต่อศาลขอชำระหนี้โดยยอมให้โจทก์รับเงินฝากดังกล่าวไปจากศาลชั้นต้นได้ก็ตามโจทก์ไม่อาจขอให้ศาลมีคำสั่งให้ธนาคารจ่ายเงินตามสมุดเงินฝากนั้นให้โจทก์ได้วิธีการที่ศาลจะให้ธนาคารส่งเงินตามสมุดเงินฝากมาเพื่อจ่ายให้โจทก์จำต้องดำเนินการตามหมายบังคับคดีถือไม่ได้ว่าจำเลยชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์ ส่วนที่จำเลยฎีกาว่าเมื่อจำเลยแถลงต่อศาลขอให้โจทก์รับเงินจากสมุดเงินฝากดังกล่าวไปจากศาลชั้นต้นย่อมเป็นการโอนสิทธิเรียกร้องให้โจทก์แล้วหนี้ตามคำพิพากษาย่อมระงับโจทก์จึงไม่อาจบังคับคดีแก่จำเลยได้อีกนั้นประเด็นข้อนี้จำเลยมิได้อุทธรณ์ไว้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 678/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาขายลดเช็คและขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
สัญญาขายลดเช็คเป็นสัญญาต่างตอบแทนประเภทหนึ่งที่ไม่ได้มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะว่ามีลักษณะหรือรูปแบบใด เมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติห้ามไว้การที่จำเลยที่ 1 ออกเช็คให้ธนาคารและจำเลยที่ 1 ได้รับเงินไปจากธนาคาร จึงเป็นการขายลดเช็คตามที่ได้ตกลงกันไว้ได้
ธนาคารโจทก์สาขา ส.และสาขา ร.ต่างเป็นตัวแทนของโจทก์และตามสัญญาค้ำประกันระบุไว้อย่างชัดแจ้งว่า จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันไว้ต่อธนาคารโจทก์เท่านั้น หาได้ระบุไว้แต่อย่างใดว่าเจตนาค้ำประกันหนี้จำเลยที่ 1ต่อโจทก์สาขาหนึ่งสาขาใดเลย ฉะนั้น ไม่ว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาขายลดเช็คต่อโจทก์สาขาใดก็ตาม จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันย่อมต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6660/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิเสธการใช้เงินตามเช็ค: การปฏิเสธด้วยวาจายังถือว่าเป็นการปฏิเสธตามกฎหมาย
ในวันครบกำหนดการใช้เงินตามเช็คพิพาท โจทก์ร่วมได้นำเช็คไปเบิกเงิน แต่ปรากฏว่าเงินในบัญชีของจำเลยมีไม่พอจ่าย ธนาคารซึ่งมีหน้าที่ต้องใช้เงินตามเช็คตาม ป.พ.พ.มาตรา 991 จึงให้ไปติดต่อกับผู้สั่งจ่ายก่อน กรณีเช่นนี้ถือว่าธนาคารได้ปฏิเสธการใช้เงินตามเช็คนั้นแล้ว แม้จะเป็นการปฎิเสธด้วยวาจาก็ตาม
ตาม ป.พ.พ.ว่าด้วยเช็คและตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค ไม่ได้บัญญัติไว้ว่าการปฏิเสธการใช้เงินตามเช็คนั้นต้องทำเป็นหนังสือ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4123/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนหนังสือค้ำประกันสัญญา และความรับผิดของเจ้าหน้าที่ผู้คืน แม้ธนาคารคืนหลักประกันแล้ว
แม้ผู้ค้ำประกันสัญญาว่าจ้างจะได้รับการเวนคืนหนังสือค้ำประกันสัญญาว่าจ้างซึ่งเป็นเอกสารแห่งหนี้ เข้าข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 327 วรรคสาม ว่า หนี้เป็นอันระงับสิ้นไปแล้วก็ตาม แต่ข้อสันนิษฐานดังกล่าวมิใช่ข้อสันนิษฐานเด็ดขาด เมื่อผู้รับจ้างยังมิได้ชำระหนี้ตามสัญญาว่าจ้างแก่โจทก์ ทั้งไม่ปรากฏว่าหนี้ดังกล่าวระงับไปด้วยเหตุประการอื่น และกรณีไม่ต้องด้วยบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยความระงับสิ้นไปแห่งการค้ำประกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 698 ถึง 701 โจทก์ยังมีสิทธิเรียกร้องให้ผู้ค้ำประกันรับผิดตามหนังสือค้ำประกันสัญญาว่าจ้างได้ก็ตาม แต่หากธนาคารคืนหลักทรัพย์ที่ผู้รับจ้างนำมาวางเป็นหลักประกัน เนื่องจากผู้รับจ้างนำหนังสือค้ำประกันมาคืนธนาคารมีสิทธิที่จะปฏิเสธความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันโดยเฉพาะคดีนี้เจ้าหน้าที่และลูกจ้างของโจทก์คือจำเลยทั้งสามคืนหนังสือค้ำประกันให้แก่ผู้รับจ้างไปเองยากที่โจทก์จะให้ธนาคารผู้ค้ำประกันรับผิด ถือได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายแล้วจำเลยทั้งสามจึงต้องมีส่วนรับผิดตามสัญญาว่าจ้างร่วมกับผู้รับจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4001/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารประมาทเลินเล่อตรวจสอบลายมือชื่อผู้ถอนเงิน ทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ฝาก
ธนาคารจำเลยที่ 1 เป็นผู้มีอาชีพรับฝากเงินจึงต้องใช้ความระมัดระวังในการตรวจสอบลายมือชื่อของโจทก์ผู้ฝากเงินให้ละเอียดรอบคอบ เมื่อเปรียบเทียบลายมือชื่อโจทก์ในใบถอนเงินฝากกับลายมือชื่อโจทก์ในบัตรตัวอย่างลายมือชื่อผู้ฝากและสมุดคู่ฝากแล้ว เห็นได้ว่าลักษณะการเขียนและลายเส้นลายหนาแตกต่างกัน เช่นตัว "ย" เป็นต้น เมื่อปรากฏด้วยว่าลายมือในใบถอนเงินฝากก็มิใช่เป็นของโจทก์ทั้งหมด จึงเป็นสิ่งผิดปกติ เพราะหากโจทก์มาถอนเงินด้วยตนเองก็น่าจะต้องกรอกข้อความทั้งหมดด้วยตนเอง จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 จึงควรจะต้องสอบถามให้ได้ความว่าผู้ใดเป็นผู้กรอกข้อความร่วมกับผู้ถอนหรือขอตรวจดูบัตรประจำตัวประชาชนหรือใช้ความระมัดระวังในการตรวจสอบลายมือชื่อให้ละเอียดรอบคอบมากขึ้น แต่ปรากฏว่าจำเลยที่ 4 มิได้กระทำ จึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 4 ได้ตรวจลายมือชื่อโจทก์โดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งผู้ตรวจในภาวะเช่นจำเลยที่ 4 จักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ จำเลยที่ 4 อาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่ จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์
โจทก์เพียงแต่ทำสมุดคู่ฝากหายไปเท่านั้น ซึ่งเป็นเหตุปกติที่อาจเกิดขึ้นได้ เหตุที่เกิดขึ้นในคดีนี้เพราะมีผู้ปลอมลายมือชื่อโจทก์ในใบถอนเงินและนำไปถอนเงินจากจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ได้จ่ายเงินให้ผู้ปลอมไปโดยประมาทเลินเล่อโดยโจทก์ไม่มีส่วนรู้เห็นเป็นใจด้วย ดังนี้เหตุที่โจทก์ทำสมุดหาย จึงไม่ใช่ผลโดยตรงที่ทำให้เกิดเหตุในคดีนี้ โจทก์จึงไม่มีส่วนร่วมในความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 ด้วย
จำเลยทั้งสี่ให้การว่าโจทก์ใช้สิทธิฟ้องคดีนี้โดยไม่สุจริต เพราะโจทก์มาถอนเงินด้วยตนเอง และเป็นความผิดของโจทก์เองที่ทำสมุดหาย ซึ่งศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยทั้งสี่ต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ โจทก์มีส่วนประมาทเลินเล่อด้วยหรือไม่ และโจทก์เรียกค่าเสียหายได้เพียงใด ที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ว่าโจทก์มีส่วนรู้เห็นในการปลอมใบถอนเงินฝาก จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4001/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารต้องตรวจสอบลายมือชื่อผู้ถอนเงินอย่างละเอียดรอบคอบเพื่อป้องกันการปลอมแปลงเอกสาร
ธนาคารจำเลยที่ 1 เป็นผู้มีอาชีพรับฝากเงินจึงต้องใช้ความระมัดระวังในการตรวจสอบลายมือชื่อของโจทก์ผู้ฝากเงินให้ละเอียดรอบคอบ เมื่อเปรียบเทียบลายมือโจทก์ในใบถอนเงินฝากกับลายมือโจทก์ในบัตรตัวอย่างลายมือชื่อผู้ฝากและสมุดคู่ฝากแล้ว เห็นได้ว่าลักษณะการเขียนและลายเส้นลายหนาแตกต่างกัน เช่นตัว "ย" เป็นต้น เมื่อปรากฎด้วยว่าลายมือในใบถอนเงินฝากก็มิใช่เป็นของโจทก์ทั้งหมด จึงเป็นสิ่งผิดปกติ เพราะหากโจทก์มาถอนเงินด้วยตนเองก็น่าจะต้องกรอกข้อความทั้งหมดด้วยตนเอง จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 จึงควรจะต้องสอบถามให้ได้ความว่าผู้ใดเป็นผู้กรอกข้อความร่วมกับผู้ถอนหรือขอตรวจดูบัตรประจำตัวประชาชนหรือใช้ความระมัดระวังในการตรวจสอบลายมือชื่อให้ลายละเอียดรอบคอบมากขึ้น แต่ปรากฎว่าจำเลยที่ 4 มิได้กระทำ จึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 4 ได้ตรวจลายมือชื่อโจทก์โดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งผู้ตรวจในภาวะเช่นจำเลยที่ 4 จักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ จำเลยที่ 4 อาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่ จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ โจทก์เพียงแต่ทำสมุดคู่ฝากหายไปเท่านั้น ซึ่งเป็นเหตุปกติที่อาจเกิดขึ้นได้ เหตุที่เกิดขึ้นในคดีนี้เพราะมีผู้ปลอมลายมือชื่อโจทก์ในใบถอนเงินและนำไปถอนเงินจากจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ได้จ่ายเงินให้ผู้ปลอมไปโดยประมาทเลินเล่อโดยโจทก์ไม่มีส่วนรู้เห็นเป็นใจด้วย ดังนี้เหตุที่โจทก์ทำสมุดหาย จึงไม่ใช่ผลโดยตรงที่ทำให้เกิดเหตุในคดีนี้ โจทก์จึงไม่มีส่วนร่วมในความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 ด้วย จำเลยทั้งสี่ให้การว่าโจทก์ใช้สิทธิฟ้องคดีนี้โดยไม่สุจริต เพราะโจทก์มาถอนเงินด้วยตนเอง และเป็นความผิดของโจทก์เองที่ทำสมุดหาย ซึ่งศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทที่ว่า จำเลยทั้งสี่ต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ โจทก์มีส่วนประมาทเลินเล่อด้วยหรือไม่ และโจทก์เรียกค่าเสียหายได้เพียงใด ที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ว่าโจทก์มีส่วนรู้เห็นในการปลอมใบถอนเงินฝาก จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2918/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารต้องรับผิดชอบการนำเช็คขีดคร่อมเข้าบัญชีบุคคลอื่นโดยไม่ชอบ แม้ผู้รับผลประโยชน์เป็นผู้เยาว์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ท.ได้สั่งจ่ายเช็คขีดคร่อมเฉพาะ สั่งจ่ายเงินฉบับละ 2,000,000 บาท ระบุชื่อให้แก่โจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 ตามลำดับโดยขีดฆ่าคำว่า "หรือผู้ถือ" โดยห้ามเปลี่ยนมือทั้งสองฉบับ พ.บิดาของโจทก์ทั้งสองรับเช็คดังกล่าวไว้แล้วนำไปเข้าบัญชีเงินฝากของ พ.ที่ธนาคารสาขาของจำเลยที่ 1เจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ได้นำเช็คดังกล่าวเข้าบัญชี พ.โดยไม่มีอำนาจที่จะกระทำเช่นนั้นได้ เพราะเช็คดังกล่าวทั้งสองฉบับเป็นเช็คขีดคร่อมระบุชื่อโจทก์ทั้งสองเป็นผู้รับเงินตามเช็ค และเจ้าหน้าที่ของจำเลยจะต้องนำเช็คทั้งสองฉบับเข้าบัญชีเฉพาะของโจทก์ทั้งสอง หากโจทก์ทั้งสองยังไม่มีบัญชีกับธนาคารจำเลยที่ 1เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ก็ต้องเปิดบัญชีให้แก่โจทก์ทั้งสองเพื่อจะได้นำเงินตามเช็คทั้งสองฉบับเข้าบัญชีของโจทก์ทั้งสอง อันเป็นการปฏิบัติตามกฎหมายและธรรมเนียมประเพณีของธนาคารพาณิชย์ การกระทำดังกล่าวเป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหาย การกระทำของเจ้าหน้าที่จำเลยที่ 1 จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งสองแล้ว จำเลยที่ 1 ในฐานะนายจ้างย่อมต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้อง
ที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่าโจทก์ทั้งสองใช้สิทธิโดยไม่สุจริต เป็นข้อเท็จจริงที่นำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายเรื่องอำนาจฟ้อง แต่เป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
แม้โจทก์จะกล่าวในคำฟ้องว่า ด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่อของเจ้าหน้าที่จำเลยที่ 1 เป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหาย ซึ่งเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์มีมูลหนี้มาจากการละเมิด อันจะต้องฟ้องเรียกค่าเสียหายภายในอายุความ 1 ปี ก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาคำฟ้องเป็นการฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิอ้าง ป.พ.พ.มาตรา 1000 เพื่อยกเว้นความรับผิดทั้งเป็นการเรียกเอาทรัพย์จากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้คืน ตามมาตรา 1336ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความ ดังนี้จะนำอายุความเรื่องละเมิด 1 ปี มาใช้บังคับไม่ได้ฟ้องโจทก์ทั้งสองจึงไม่ขาดอายุความ
แม้ขณะเกิดเหตุโจทก์ทั้งสองยังเป็นผู้เยาว์ พ.บิดาในฐานะผู้ใช้อำนาจปกครองของโจทก์ทั้งสองในขณะนั้นย่อมมีอำนาจจัดการแทนโจทก์ทั้งสองได้ก็ตาม แต่เมื่อเงินได้ตามเช็คพิพาทเป็นเงินได้ที่ต้องนำเข้าบัญชีส่วนตัวของโจทก์ทั้งสองเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ก็ชอบที่จะจัดการนำเช็คดังกล่าวของโจทก์ทั้งสองเข้าบัญชีโจทก์ทั้งสอง และในทางปฏิบัติ หากโจทก์ทั้งสองไม่มีบัญชีในธนาคารจำเลยที่ 1เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ก็ย่อมดำเนินการเปิดบัญชีใหม่ให้โจทก์ทั้งสองได้ เมื่อความเป็นผู้เยาว์ของโจทก์ทั้งสองไม่เป็นอุปสรรคขัดขวางต่อการเปิดบัญชีใหม่แต่ประการใด ดังนั้น การที่เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 นำเช็คขีดคร่อมของโจทก์ทั้งสองเข้าบัญชีส่วนตัวของ พ.แล้วเป็นเหตุให้ พ.ถอนเงินจำนวนดังกล่าวไปได้นั้นเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อ จำเลยที่ 1 ในฐานะนายจ้างย่อมต้องรับผิดคืนเงินพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2103/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารประมาทเลินเล่อจ่ายเช็คปลอมทำให้ลูกค้าเสียหาย ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย
ธนาคารจำเลยที่ 1 จ่ายเงินตามเช็คจำนวน 16 ฉบับ เป็นการจ่ายเงินฝากของโจทก์ส่วนหนึ่งและอีกส่วนหนึ่งเป็นการจ่ายเงินตามข้อตกลงตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ก็ได้นำจำนวนเงินตามเช็คพิพาทไปหักทอนบัญชีกระแสรายวันของโจทก์โดยอ้างว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 ถูกต้องแล้ว และเมื่อโจทก์ได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดกับสัญญาบัญชีกระแสรายวันและแจ้งจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 สมุห์บัญชีธนาคารจำเลยที่ 1 ให้เพิกถอนรายการเช็คพิพาทที่นำมาลงบัญชีกระแสรายวันของโจทก์โดยไม่ถูกต้องออกเสีย แต่จำเลยที่ 1 และที่ 3 ก็มิได้ปฏิบัติตามและยังคงถือว่าโจทก์เป็นหนี้จำเลยที่ 1 ตามรายการที่ลงในบัญชีกระแสรายวัน ดังนี้ การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 3 ดังกล่าวย่อมเป็นเหตุให้โจทก์เสียหายและเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ผลการตรวจพิสูจน์ของกองพิสูจน์หลักฐานกรมตำรวจซึ่ง ส.ผู้เชี่ยวชาญของศาลเป็นผู้ตรวจพิสูจน์โดยเปรียบเทียบลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายในเช็คพิพาทกับลายมือชื่อตัวอย่างของโจทก์ที่ให้ไว้แก่จำเลยที่ 1 และลายมือชื่อของโจทก์ซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายในเช็คแล้ว ส.มีความเห็นว่าไม่ใช่ลายมือชื่อของบุคคลคนเดียวกัน แม้ ส.จะมิได้มาเบิกความประกอบ รายงานการตรวจพิสูจน์ก็รับฟังได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 130
ลายมือชื่อของผู้สั่งจ่ายในเช็คพิพาทมิใช่ลายมือชื่อของโจทก์และเป็นลายมือชื่อปลอม การที่จำเลยที่ 1 ประกอบธุรกิจการธนาคารซึ่งเป็นธุรกิจอันเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน การรับฝากเงินและการจ่ายเงินตามเช็คที่มีผู้มาขอเบิกเงินจากธนาคารเป็นธุรกิจส่วนหนึ่งของจำเลยที่ 1 ซึ่งจะต้องปฏิบัติอยู่เป็นประจำ และโดยที่จำเลยที่ 3 เป็นสมุห์บัญชีลูกจ้างของจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องแท้จริงของข้อความในเช็คและลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายในเช็คที่นำมาขอเบิกเงินจากธนาคารของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 3 ย่อมมีความชำนาญในการตรวจสอบลายมือชื่อในเช็คว่าเป็นลายมือชื่อของลูกค้าผู้สั่งจ่ายหรือไม่ ยิ่งกว่าบุคคลธรรมดา ทั้งจำเลยที่ 3 จะต้องมีความระมัดระวังในการจ่ายเงินตามเช็คยิ่งกว่าวิญญูชนทั่ว ๆ ไปเพราะเป็นงานในหน้าที่ของจำเลยที่ 3 ที่ปฏิบัติอยู่เป็นประจำ การที่จำเลยที่ 2ซึ่งเป็นผู้จัดการธนาคารจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 จ่ายเงินตามเช็คพิพาทให้แก่ผู้นำมาเรียกเก็บเงินไปโดยที่ลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายในเช็คดังกล่าวไม่ใช่ลายมือชื่อโจทก์ทั้งที่มีตัวอย่างลายมือชื่อโจทก์ที่ให้ไว้แก่จำเลยที่ 1 กับมีเช็คอีกหลายฉบับที่โจทก์เคยสั่งจ่ายไว้อยู่ที่จำเลยที่ 1 ยิ่งกว่านั้นลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายในเช็คพิพาทก็มีลักษณะแตกต่างกับตัวอย่างลายมือชื่อของโจทก์ที่ให้ไว้แก่จำเลยที่ 1 ค่อนข้างชัดเจน ซึ่งหากได้ใช้ความระมัดระวังในการปฏิบัติหน้าที่โดยละเอียดรอบคอบจะต้องทราบว่าลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายในเช็คพิพาทเป็นลายมือชื่อปลอม การกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงเป็นการกระทำที่ขาดความระมัดระวังในฐานะที่จำเลยเป็นผู้มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบการจ่ายเงินตามเช็คพิพาท อันเป็นการประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 1 ในฐานะนายจ้าง และจำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 420 และมาตรา 425
โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดและแจ้งให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 เพิกถอนรายการที่ไม่ถูกต้อง ขอให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 เพิกถอนรายการตามใบแจ้งรายการบัญชีโดยให้ถือว่ามิได้มีการเบิกถอนเงินตามเช็คพิพาทและงดคิดดอกเบี้ยตามเช็คดังกล่าว หรือมิฉะนั้นให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ร่วมกันหรือแทนกันนำเงินจำนวน 625,365 บาท พร้อมทั้งดอกเบี้ยซึ่งคิดเอาจากบัญชีของโจทก์ส่งคืนบัญชีโจทก์พร้อมทั้งดอกเบี้ยตามกฎหมาย และให้จำเลยที่ 1 หักทอนบัญชีเพื่อจะทราบว่ามียอดหนี้ค้างชำระกันในขณะนี้เป็นจำนวนเท่าใด แต่จำเลยที่ 1และที่ 3 ไม่ยอมที่จะเพิกถอนรายการตามใบแจ้งรายการบัญชีโดยให้ถือว่ามิได้มีการเบิกถอนเงินตามเช็คพิพาท และงดคิดดอกเบี้ยตามเช็คดังที่โจทก์เรียกร้องและโจทก์ได้เลือกฟ้องคดีเพื่อเรียกร้องเงินจำนวนดังกล่าวที่จำเลยที่ 1 คิดเอาจากโจทก์โดยกล่าวหาว่าจำเลยที่ 1 และที่ 3 กระทำละเมิดต่อโจทก์ จึงเท่ากับโจทก์ยอมรับยอดเงินตามรายการในบัญชีเดินสะพัดที่จำเลยที่ 1 เรียกร้องเอาจากโจทก์และฟ้องเรียกค่าเสียหายเป็นตัวเงินเอาจากจำเลยที่ 1 และที่ 3 ซึ่งโจทก์ชอบที่จะเลือกได้ เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 3 จะต้องรับผิดในการกระทำละเมิดต่อโจทก์และจำเลยที่ 1 และที่ 3 ไม่ยอมเพิกถอนรายการในบัญชีเดินสะพัดเช่นนี้ จึงชอบที่จะบังคับให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ชดใช้ค่าเสียหายตามที่โจทก์เลือก จำเลยที่ 1 และที่ 3จึงต้องร่วมกันชำระเงินจำนวน 625,365 บาท พร้อมทั้งดอกเบี้ยซึ่งจำเลยที่ 1 และที่ 3 คิดเอาจากบัญชีของโจทก์คืน อันถือได้ว่าเป็นค่าเสียหายอันเกิดจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 และที่ 3 ให้แก่โจทก์ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 438 ซึ่งจำนวนดอกเบี้ยที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 คิดเอาจากโจทก์เป็นจำนวน 16,170.94 บาทโจทก์ก็ชอบที่จะได้รับชดใช้คืนเป็นค่าเสียหายด้วย สำหรับอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 15ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ก็เป็นอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าอัตราที่จำเลยที่ 1 เรียกเก็บจากโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวจากจำเลยที่ 1 และที่ 3 ได้ โดยเป็นค่าเสียหายส่วนหนึ่งที่โจทก์ได้รับเนื่องจากจำเลยที่ 1 และที่ 3 คิดดอกเบี้ยเอาจากโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2103/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารจ่ายเช็คปลอมทำให้เสียหาย ผู้เสียหายมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากธนาคารและดอกเบี้ย
ธนาคารจำเลยที่ 1 จ่ายเงินตามเช็คจำนวน 16 ฉบับ เป็นการจ่ายเงินฝากของโจทก์ส่วนหนึ่งและอีกส่วนหนึ่งเป็นการจ่ายเงินตามข้อตกลงตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1และจำเลยที่ 1 ก็ได้นำจำนวนเงินตามเช็คพิพาทไปหักทอนบัญชีกระแสรายวันของโจทก์โดยอ้างว่าการกระทำของจำเลยที่ 1ถูกต้องแล้ว และเมื่อโจทก์ได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดกับสัญญาบัญชีกระแสรายวันและแจ้งจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3สมุห์บัญชีธนาคารจำเลยที่ 1 ให้เพิกถอนรายการเช็คพิพาทที่นำมาลงบัญชีกระแสรายวันของโจทก์โดยไม่ถูกต้องออกเสีย แต่จำเลยที่ 1และที่ 3 ก็มิได้ปฏิบัติตามและยังคงถือว่าโจทก์เป็นหนี้จำเลยที่ 1 ตามรายการที่ลงในบัญชีกระแสรายวัน ดังนี้ การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 3 ดังกล่าวย่อมเป็นเหตุให้โจทก์เสียหายและเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ผลการตรวจพิสูจน์ของกองพิสูจน์หลักฐานกรมตำรวจซึ่ง ส.ผู้เชี่ยวชาญของศาลเป็นผู้ตรวจพิสูจน์โดยเปรียบเทียบลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายในเช็คพิพาทกับลายมือชื่อตัวอย่างของโจทก์ที่ให้ไว้แก่จำเลยที่ 1 และลายมือชื่อของโจทก์ซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายในเช็คแล้วส.มีความเห็นว่าไม่ใช่ลายมือชื่อของบุคคลคนเดียวกันแม้ ส. จะมิได้มาเบิกความประกอบ รายงานการตรวจพิสูจน์ก็รับฟังได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 130 ลายมือชื่อของผู้สั่งจ่ายในเช็คพิพาทมิใช่ลายมือชื่อของโจทก์และเป็นลายมือชื่อปลอม การที่จำเลยที่ 1 ประกอบธุรกิจการธนาคารซึ่งเป็นธุรกิจอันเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน การรับฝากเงินและการจ่ายเงินตามเช็คที่มีผู้มาขอเบิกเงินจากธนาคารเป็นธุรกิจส่วนหนึ่งของจำเลยที่ 1 ซึ่งจะต้องปฏิบัติอยู่เป็นประจำ และโดยที่จำเลยที่ 3 เป็นสมุห์บัญชีลูกจ้างของจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องแท้จริงของข้อความในเช็คและลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายในเช็คที่นำมาขอเบิกเงินจากธนาคารของจำเลยที่ 1 จ ำเลยที่ 3 ย่อมมีความชำนาญในการตรวจสอบลายมือชื่อในเช็คว่าเป็นลายมือชื่อของลูกค้าผู้สั่งจ่ายหรือไม่ ยิ่งกว่าบุคคลธรรมดา ทั้งจำเลยที่ 3 จะต้องมีความระมัดระวังในการจ่ายเงินตามเช็คยิ่งกว่าวิญญูชนทั่ว ๆ ไป เพราะเป็นงานในหน้าที่ของจำเลยที่ 3ที่ปฏิบัติอยู่เป็นประจำ การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้จัดการธนาคารจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 จ่ายเงินตามเช็คพิพาทให้แก่ผู้นำมาเรียกเก็บเงินไปโดยที่ลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายในเช็คดังกาวไม่ใช่ลายมือชื่อโจทก์ทั้งที่มีตัวอย่างลายมือชื่อโจทก์ที่ให้ไว้แก่จำเลยที่ 1 กับมีเช็คอีกหลายฉบับที่โจทก์เคยสั่งจ่ายไว้อยู่ที่จำเลยที่ 1 ยิ่งกว่านั้นลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายในเช็คพิพาทก็มีลักษณะแตกต่างกับตัวอย่างลายมือชื่อของโจทก์ที่ให้ไว้แก่จำเลยที่ 1ค่อนข้างชัดเจน ซึ่งหากได้ใช้ความระมัดระวังในการปฏิบัติหน้าที่โดยละเอียดรอบคอบจะต้องทราบว่าลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายในเช็คพิพาทเป็นลายมือชื่อปลอม การกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3จึงเป็นการกระทำที่ขาดความระมัดระวังในฐานะที่จำเลยเป็นผู้มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบการจ่ายเงินตามเช็คพิพาท อันเป็นการประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 1 ในฐานะนายจ้างและจำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 และมาตรา 425 โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดและแจ้งให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 เพิกถอนรายการที่ไม่ถูกต้อง ขอให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 เพิกถอนรายการตามใบแจ้งรายการบัญชีโดยให้ถือว่ามิได้มีการเบิกถอนเงินตามเช็คพิพาทและงดคิดดอกเบี้ยตามเช็คดังกล่าวหรือมิฉะนั้นให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ร่วมกันหรือแทนกันนำเงินจำนวน625,365 บาท พร้อมทั้งดอกเบี้ยซึ่งคิดเอาจากบัญชีของโจทก์ส่งคืนบัญชีโจทก์พร้อมทั้งดอกเบี้ยตามกฎหมาย และให้จำเลยที่ 1หักทอนบัญชีเพื่อจะทราบว่ามียอดหนี้ค้างชำระกันในขณะนี้เป็นจำนวนเท่าใด แต่จำเลยที่ 1 และที่ 3 ไม่ยอมที่จะเพิกถอนรายการตามใบแจ้งรายการบัญชีโดยให้ถือว่ามิได้มีการเบิกถอนเงินตามเช็คพิพาท และงดคิดดอกเบี้ยตามเช็คดังที่โจทก์เรียกร้องและโจทก์ได้เลือกฟ้องคดีเพื่อเรียกร้องเงินจำนวนดังกล่าวที่จำเลยที่ 1 คิดเอาจากโจทก์โดยกล่าวหาว่าจำเลยที่ 1 และที่ 3กระทำละเมิดต่อโจทก์ จึงเท่ากับโจทก์ยอมรับยอดเงินตามรายการในบัญชีเดินสะพัดที่จำเลยที่ 1 เรียกร้องเอาจากโจทก์และฟ้องเรียกค่าเสียหายเป็นตัวเงินเอาจากจำเลยที่ 1 และที่ 3 ซึ่งโจทก์ชอบที่จะเลือกได้ เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 3 จะต้องรับผิดในการกระทำละเมิดต่อโจทก์และจำเลยที่ 1 และที่ 3 ไม่ยอมเพิกถอนรายการในบัญชีเดินสะพัดเช่นนี้ จึงชอบที่จะบังคับให้จำเลยที่ 1 และที่ 3ชดใช้ค่าเสียหายตามที่โจทก์เลือก จำเลยที่ 1 และที่ 3 จึงต้องร่วมกันชำระเงินจำนวน 625,365 บาท พร้อมทั้งดอกเบี้ยซึ่งจำเลยที่ 1และที่ 3 คิดเอาจากบัญชีของโจทก์คืน อันถือได้ว่าเป็นค่าเสียหายอันเกิดจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 และที่ 3 ให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 438 ซึ่งจำนวนดอกเบี้ยที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 คิดเอาจากโจทก์เป็นจำนวน 16,170.94 บาทโจทก์ก็ชอบที่จะได้รับชดใช้คืนเป็นค่าเสียหายด้วย สำหรับอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ก็เป็นอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าอัตราที่จำเลยที่ 1 เรียกเก็บจากโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวจากจำเลยที่ 1 และที่ 3 ได้ โดยเป็นค่าเสียหายส่วนหนึ่งที่โจทก์ได้รับเนื่องจากจำเลยที่ 1 และที่ 3 คิดดอกเบี้ยเอาจากโจทก์
of 40