คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
นายทะเบียน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 79 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 470/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าต้องทำตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด ห้ามฟ้องศาลโดยตรง
ในกรณีตามมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2504 ถ้าโจทก์ไม่พอใจในคำวินิจฉัยหรือคำสั่งของนายทะเบียนโจทก์จะต้องอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าภายใน 90 วัน นับแต่วันที่โจทก์ผู้ขอจดทะเบียนทราบคำสั่งของนายทะเบียน เมื่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าวินิจฉัยหรือสั่งอย่างใดแล้ว คำวินิจฉัยหรือคำสั่งนั้นเป็นที่สุด ฉะนั้น เมื่อกฎหมายได้กำหนดวิธีการอุทธรณ์คัดค้านคำวินิจฉัยหรือคำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าสำหรับในกรณีนี้ไว้แล้ว โจทก์จะเลือกไปดำเนินการคัดค้านโดยวิธีอื่น เช่น โดยฟ้องคดีต่อศาล หาได้ไม่
สิทธิอุทธรณ์ตามมาตรา 16 และ 19 หมายถึงว่าเป็นสิทธิที่จะอุทธรณ์หรือไม่อุทธรณ์ก็ได้ และกฎหมายกำหนดวิธีการที่จะอุทธรณ์ต่อใครอย่างไรไว้ ฉะนั้น เมื่อจะอุทธรณ์ก็ต้องปฏิบัติตามวิธีการนั้น ถ้ากฎหมายจะให้โจทก์มีสิทธิเลือกอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า หรือจะนำคดีไปสู่ศาลก็ได้ ก็จะบัญญัติไว้ดังในมาตรา 22.
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 9/2509)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 470/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำวินิจฉัยนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า: ต้องใช้วิธีการตามที่กฎหมายกำหนด
ตามมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2504 ถ้าโจทก์ไม่พอใจในคำวินิจฉัยหรือคำสั่งของนายทะเบียนโจทก์จะต้องอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าภายใน 90 วันนับแต่วันที่โจทก์ผู้ขอจดทะเบียนทราบคำสั่งของนายทะเบียนเมื่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าวินิจฉัยหรือสั่งอย่างใดแล้ว คำวินิจฉัยหรือคำสั่งนั้นเป็นที่สุด ฉะนั้นเมื่อกฎหมายได้กำหนดวิธีการอุทธรณ์คัดค้านคำวินิจฉัยหรือคำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าสำหรับในกรณีนี้ไว้แล้ว โจทก์จะเลือกไปดำเนินการคัดค้านโดยวิธีอื่นเช่น โดยฟ้องคดีต่อศาลหาได้ไม่
สิทธิอุทธรณ์ตามมาตรา 16 และ 19 หมายถึงว่าเป็นสิทธิที่จะอุทธรณ์หรือไม่อุทธรณ์ก็ได้ และกฎหมายกำหนดวิธีการที่จะอุทธรณ์ต่อใครอย่างไรไว้ ฉะนั้น เมื่อจะอุทธรณ์ก็ต้องปฏิบัติตามวิธีการนั้นถ้ากฎหมายจะให้โจทก์มีสิทธิเลือกอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าหรือจะนำคดีไปสู่ศาลก็ได้ ก็จะบัญญัติไว้ดังในมาตรา 22

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 535/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่กรรมการบริษัท, ความถูกต้องของบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น, และผลผูกพันตามเอกสารที่ส่งนายทะเบียน
ตามบันทึกรายงานการประชุม งบดุลและบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นของบริษัทที่ส่งต่อกองทะเบียนหุ้นส่วน ปรากฏว่า ผู้ร้องลงชื่อเป็นประธานในที่ประชุมและลงชื่อรับรองในฐานะกรรมการไว้ในงบดุลย์ด้วยและตามบัญชีผู้ถือหุ้นนั้นปรากฏว่าผู้ร้องถือหุ้นบุริมสิทธิ 20 หุ้น และหุ้นสามัญ 226 หุ้น ดังนี้ ผู้ร้องจะปฏิเสธว่าไม่รู้ไม่เห็นและไม่ได้เป็นผู้ถือหุ้นตามบัญชีที่ปรากฏอยู่ที่นายทะเบียนนั้นหาได้ไม่
เอกสารต่างๆ ของบริษัทซึ่งต้องส่งต่อนายทะเบียนนั้นกรรมการลงชื่อรับรองเพียงคนเดียวก็ใช้ได้
การคืนหุ้นจะทำได้ก็โดยวิธีโอน ซึ่งต้องกระทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนในสมุดทะเบียนของบริษัทจึงจะใช้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 720/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งกระทรวงที่ขัดกฎหมาย ไม่อาจใช้บังคับกับบุคคลทั่วไป นายทะเบียนต้องปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย
คำสั่งกระทรวงที่มิได้อาศัยอำนาจตามบทกฎหมายนั้น ย่อมเป็นเพียงระเบียบภายในระหว่างเจ้าหน้าที่ของกระทรวงด้วยกันเท่านั้น จะใช้บังคับแก่บุคคลทั่วไปไม่ได้ ฉะนั้น เมื่อจำเลยมีหน้าที่ตามกฎหมาย ให้รับจดทะเบียนสมรส ก็ย่อมจะอ้างคำสั่งที่ขัดต่อกฎหมายมาเป็นเหตุไม่ยอมปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 875/2504

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องหนี้บริษัทจำกัดหลังชำระบัญชี เริ่มนับจากวันจดทะเบียน นายทะเบียนสั่งรับ
ในคดีฟ้องให้บริษัทจำกัดชำระหนี้ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1272 ที่ว่า ต้องฟ้องภายในกำหนด 2 ปี นับแต่วันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชีนั้น อายุความต้องเริ่มนับแต่วันที่นายทะเบียนสั่งรับจดทะเบียนแล้ว เพราะคำสั่งเช่นนี้ต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้บุคคลทั้งปวงรับรู้มิใช่เริ่มนับแต่วันที่ยื่นคำขอจดทะเบียน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1289/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีสัญชาติ: การบังคับรับใบสำคัญคนต่างด้าวและการโต้แย้งหน้าที่ของนายทะเบียน
ฟ้องของโจทก์กล่าวอ้างว่าเป็นคนไทยถูกจำเลยบังคับให้รับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ดังนี้หาใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ร้องขอคืนสัญชาติไม่ จึงไม่ต้องไปร้องต่อร.ม.ต.ว่าการกระทรวงมหาดไทย ตาม พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2495 มาตรา 20
จำเลยเป็นผู้โต้แย้งสิทธิและหน้าที่กับโจทก์ โจทก์ย่อมต้องฟ้องจำเลย หาใช่จะไปฟ้องกรมตำรวจซึ่งมิได้โต้แย้งสิทธิและหน้าที่ของโจทก์ไม่
การที่โจทก์ถูกโต้แย้งหน้าที่โดยนายทะเบียนคนต่างด้าว โจทก์ย่อมฟ้องผู้บังคับกองตำรวจผู้เป็นนายทะเบียนคนต่างด้าวโดยพ.ต.ต.สง่า อินทวณิช เป็นผู้ครองตำแหน่งอยู่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1289/2498

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีสัญชาติ: การโต้แย้งหน้าที่นายทะเบียนคนต่างด้าวและการฟ้องจำเลยที่ถูกต้อง
ฟ้องของโจทก์กล่าวอ้างว่าเป็นคนไทยถูกจำเลยบังคับให้รับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ดังนี้หาใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ร้องขอคืนสัญชาติไม่ จึงไม่ต้องไปร้องต่อร.ม.ต.ว่าการกระทรวงมหาดไทย ตาม พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2495 มาตรา 20
จำเลยเป็นผู้โต้แย้งสิทธิและหน้าที่กับโจทก์ โจทก์ย่อมต้องฟ้องจำเลย หาใช่จะไปฟ้องกรมตำรวจซึ่งมิได้โต้แย้งสิทธิและหน้าที่ของโจทก์ไม่
การที่โจทก์ถูกโต้แย้งหน้าที่โดยนายทะเบียนคนต่างด้าว โจทก์ย่อมฟ้องผู้บังคับกองตำรวจผู้เป็นนายทะเบียนคนต่างด้าวโดยพ.ต.ต.สง่า อินทวณิช เป็นผู้ครองตำแหน่งอยู่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1624/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมีอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต หลังนายทะเบียนไม่อนุญาตและไม่ดำเนินการเรียกคืน
บิดาได้รับอนุญาตให้มีอาวุธปืน 1 กระบอก เมื่อบิดาตายบุตรจึงไปแจ้งต่อนายทะเบียน และขออนุญาตมีอาวุธปืนกระบอกนั้น แต่นายทะเบียนไม่อนุญาตกลับสั่งให้ขายปืนนั้นเสียภายใน 6 เดือนแต่บุตรขายปืนนั้นไม่ได้ นายทะเบียนก็มิได้เรียกเอาปืนนั้นไปขายทอดตลาดเสียเองและมิใช่สั่งอย่างไรอีก ปืนนั้นจึงคงอยู่กับบุตรอย่างเดิม ดังนี้ จะว่าบุตรมีอาวุธปืนโดยไม่รับอนุญาตเป็นการผิดกฎหมายไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 460/2485 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความเท็จต้องสืบให้ตรงตามฟ้อง การแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานระดับล่าง ไม่ถือเป็นแจ้งความเท็จต่อนายทะเบียน
ฟ้องว่าจำเลยแจ้งความเท็จต่อนายอำเภอ แต่นำสืบได้ความว่าจำเลยแจ้งเท็จแก่เสมืยนฝึกหัด เป็นการสืบไม่สมฟ้อง การพูดโต้ตอบกับนายอำเภอไม่เป็นการแจ้งความเท็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 493/2477

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญ: นายทะเบียนต้องรับจดทะเบียนเมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนตกลงจัดการทรัพย์สินโดยวิธีอื่นถูกต้องตามกฎหมาย
ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนนั้นเมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนได้ตกลงจัดการทรัพย์สินโดยวิธีอื่นถูกต้องตามมาตรา 1061 แล้วผู้เป็นหุ้นส่วนย่อมขอให้นายทะเบียนจดทะเบียนการเลิกห้างได้ เมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนหรือตัวแทนบอกกล่าวยืนยันว่าห้างห้างหุ้นส่วนเลิกจากกันและจัดการทรัพย์สินแล้ว ทั้งคำขอขีดชื่อห้ามหุ้นส่วนไม่ขัดต่อมาตรา 1019 แล้วนายทะเบียนต้องรับจดทะเบียนให้ โดยไม่มีหน้าที่ปฏิเสธข้อความเหล่านั้น วิธีพิจารณาความแพ่ง ลักษณพะยาน คู่ความฝ่าย 1 ส่งเอกสารเป็นพะยานอีกฝ่าย 1 มิได้ปฏิเสธความแท้จริงของเอกสารแลข้อความในเอกสารทั้งไม่มีหน้าที่ปฏิเสธข้อความในเอกสารนั้นตามกฎหมายแล้วศาลยอมรับฟังเป็นความจริงตามเอกสารนั้นได้ โดยไม่ต้องมีพะยานบุคคลประกอบ
of 8