คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
นายอำเภอ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 84 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 719/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจออกบัตรประชาชน: ปลัดอำเภอไม่ใช่ผู้รักษาราชการแทนหากนายอำเภอยังปฏิบัติหน้าที่
คำว่า 'ผู้รักษาการแทน' ตามกฎกระทรวงมหาดไทยดั่งกล่าวหมายถึงผู้รักษาราชการแทนโดยธรรมดา เช่นไม่มีตัวนายอำเภอหรือนายอำเภอไม่ได้มาปฏิบัติราชการผู้มีอาวุโสตามระเบียบแบบแผนทำงานแทน เรียกว่าเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้ามีตัวนายอำเภอและนายอำเภอมาปฏิบัติราชการอยู่ แม้จะมีงานมากและนายอำเภอได้สั่งให้ปลัดอำเภอช่วยทำแทนให้งานสำเร็จลุล่วงไปโดยรวดเร็วผู้รับคำสั่งจากนายอำเภอคือปลัดอำเภอก็เป็นแต่เพียงผู้ทำงานแทนนายอำเภอไม่ใช่เป็นผู้รักษาราชการแทน
เมื่อปลัดอำเภอไม่ใช่เป็นผู้รักษาราชการแทนนายอำเภอแต่ปลัดอำเภอได้ลงนามออกบัตรประชาชนให้แก่ผู้อื่นไป การกระทำของปลัดอำเภอก็เป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจและหน้าที่ปลัดอำเภอไม่มีความผิดตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา230
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 10/2500)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 503/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความแบ่งมรดก: หนังสือถึงนายอำเภอถือเป็นสัญญาที่ผูกพันได้
โจทก์จำเลยร่วมกันทำหนังสือถึงนายอำเภอ ขอให้จัดการทำนิติกรรมแบ่งที่ดินซึ่งเป็นมรดกตามที่ตกลงกันไว้เช่นนี้ เป็นสัญญาประณีประนอมยอมความกันโดยชอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 850.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 47/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการออกคำสั่งของปลัดอำเภอเมื่อนายอำเภอปฏิบัติหน้าที่ได้ตามปกติ
เมื่อไม่ปรากฏว่านายอำเภอไม่อาจปฏิบัติราชการได้ตามปกติและปลัดอำเภอได้รักษาราชการแทน ปลัดอำเภอนั้นย่อมไม่มีอำนาจที่จะออกคำสั่งตาม ม. 122 พ.ร.บ.ปกครองท้องที่ได้ จำเลยขัดขืนคำสั่งปลัดอำเภอจึงไม่เป็นความผิดก.ม.อาญา ม. 334(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 47/2498

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจออกคำสั่งของปลัดอำเภอ: ปลัดอำเภอไม่มีอำนาจออกคำสั่งแทนนายอำเภอหากนายอำเภอยังปฏิบัติหน้าที่ได้ตามปกติ
เมื่อไม่ปรากฏว่านายอำเภอไม่อาจปฏิบัติราชการได้ตามปกติและปลัดอำเภอได้รักษาราชการแทนปลัดอำเภอนั้นย่อมไม่มีอำนาจที่จะออกคำสั่งตาม มาตรา122 พ.ร.บ.ปกครองท้องที่ได้จำเลยขัดขืนคำสั่งปลัดอำเภอจึงไม่เป็นความผิด กฎหมายอาญามาตรา 334(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 153/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจหน้าที่นายอำเภอในการดูแลรักษาที่สาธารณประโยชน์ แม้มีกฎหมายใหม่ให้อำนาจผู้ว่าฯ สูงกว่า
ที่สาธารณะประโยชน์เดิมเป็นอำนาจและหน้าที่ของกรมการอำเภอที่จะตรวจตรารักษาตาม พ.ร.บ.ปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 ม. 122 ต่อมาอำนาจหน้าที่นี้ได้โอนมาเป็นอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอโดย พ.ร.บ.ระเบียบราชการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2495 ม.40 วรรค.3 และไม่มีข้อความแห่งใดใน พ.ร.บ.นี้เพิกถอนอำนาจนายอำเภอที่มีอยู่ตาม พ.ร.บ.ปกครองท้องที่ดังกล่าว (พ.ศ. 2457) ดังนี้เมื่อนายอำเภอสั่งให้จำเลยออกไปจากที่สาธารณะประโยชน์ จำเลยขัดขืนก็มีความผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน ก.ม. อาญา ม. 334 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 153/2498

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจนายอำเภอในการดูแลรักษาที่สาธารณประโยชน์ แม้มีกฎหมายให้อำนาจผู้ว่าฯ สูงกว่า
ที่สาธารณะประโยชน์เดิมเป็นอำนาจและหน้าที่ของกรมการอำเภอที่จะตรวจตรารักษาตาม พระราชบัญญัติปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 มาตรา122 ต่อมาอำนาจหน้าที่นี้ได้โอนมาเป็นอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอโดย พระราชบัญญัติระเบียบราชการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2495 มาตรา 40 วรรคสามและไม่มีข้อความแห่งใดใน พระราชบัญญัตินี้เพิกถอนอำนาจนายอำเภอที่มีอยู่ตาม พระราชบัญญัติปกครองท้องที่ดังกล่าว(พ.ศ.2457)ดังนี้เมื่อนายอำเภอสั่งให้จำเลยออกไปจากที่สาธารณะประโยชน์จำเลยขัดขืนก็มีความผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงานตามกฎหมายอาญา มาตรา334(2)(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 12/98)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1259/2496

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกที่ดินสาธารณประโยชน์เพื่อประโยชน์ส่วนตัว นายอำเภอมีอำนาจสั่งให้รื้อถอน
ที่ดินที่เป็นทำเลเลี้ยงสัตว์สาธารณประโยชน์สำหรับราษฎรใช้เลี้ยงสัตว์ร่วมกันนั้น เป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304(2) และเป็นหน้าที่ของกรมการอำเภอจะต้องคอยตรวจตรารักษามิให้ผู้ใดเกียดกันเอาไปเป็นประโยชน์เฉพาะตัวตาม พระราชบัญญัติปกครองท้องที่ 2457 ฉะนั้นเมื่อปรากฏว่ามีบุคคลบุกรุกเข้ามาทำนาหรือครอบครองเป็นประโยชน์ส่วนตัวเสีย กรมการอำเภอย่อมมีอำนาจมีคำสั่งให้ผู้บุกรุกนั้นออกไปได้ ถ้าผู้นั้นฝ่าฝืนก็ย่อมมีความผิดฐานขัดคำสั่งตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 334

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1045/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายอำเภอต่อการยักยอกเงินหลวง: การประมาทเลินเล่อและการรับสภาพหนี้
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยรับราชการเป็นนายอำเภอปฏิบัติราชการฝ่าฝืนระเบียบเป็นเหตุให้สมุห์บัญชียักยอกเงินหลวง และจำเลยได้รับสารภาพตามสิทธิเรียกร้องของกระทรวงการคลัง ยอมรับใช้เงินที่ขาดหายไปทั้งหมด และจำเลยได้ ผ่อนใช้เงินจำนวนนี้บ้างแล้ว จึงขอให้จำเลยใช้เงินที่ขาดหายไปให้ควบ ดังนี้ เมื่อทางพิจารณาฟังว่าจำเลยไม่ต้อง รับผิดฐานละเมิดต่อโจทก์สำหรับเงินที่ขาดหายไปตามที่โจทก์ฟ้องแล้ว ศาลก็ไม่จำต้องวินิจฉัยถึงประเด็นเรื่องการ รับสภาพหนี้และผ่อนชำระหนี้ตามที่โจทก์ฟ้องต่อไป เพราะเมื่อไม่มีการละเมิดก็ย่อมไม่มีมูลหนี้ และเมื่อไม่มีหนึ้ก็ ไม่อาจรับสภาพหนี้ หรือผ่อนชำระหนี้กันได้โดยชอบ./

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1953/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจนายอำเภอในการสั่งให้เลิกบุกรุกหนองสาธารณะประโยชน์ และความผิดต่อ ก.ม.ลักษณะอาญา
หนองน้ำที่เป็นที่สาธารณะประโยชน์สำหรับราษฎรใช้ด้วยกันและอยู่ในหน้าที่กรมการอำเภอตรวจตรารักษาไม่ให้ผู้ใดเกียดกันเอาไปเป็นอาณาประโยชน์แต่เฉพาะตัว ตามความในมาตรา 122 แห่ง พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 นั้น นายอำเภอย่อมมีอำนาจสั่งให้ผู้ที่ทำการบุกรุกหนองน้ำนั้นให้เลิกทำการบุกรุกได้ ถ้าผู้นั้นขัดขืน ก็ต้องมีความผิดตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 334 ข้อ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1953/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจนายอำเภอสั่งรื้อการบุกรุกหนองน้ำสาธารณะ และความผิดตามกฎหมายอาญา
หนองน้ำที่เป็นที่สาธารณะประโยชน์สำหรับราษฎรใช้ด้วยกันและอยู่ในหน้าที่กรมการอำเภอตรวจตรารักษาไม่ให้ผู้ใดเกียดกันเอาไปเป็นอาณาประโยชน์แต่เฉพาะตัวตามความในมาตรา 122 แห่งพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 นั้น นายอำเภอย่อมมีอำนาจสั่งให้ผู้ที่ทำการบุกรุกหนองน้ำนั้นให้เลิกทำการบุกรุกได้ ถ้าผู้นั้นขัดขืน ก็ต้องมีความผิดตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 334 ข้อ 2
of 9