คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
นำเข้า

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 161 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4172/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระภาษีอากรกรณีนำเข้าสินค้าเพื่อส่งออกที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไข และอายุความฟ้องร้อง
จำเลยนำเข้าซึ่งสินค้าเส้นด้ายใย ประดิษฐ์ โดยแสดงว่าจะใช้ผลิตหรือผสมหรือประกอบส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศเพื่อขอคืนอากรโดยจำเลยได้สำแดงรายการเสียภาษีอากรไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าแล้วว่าต้องเสียภาษีอากรประเภทใด เป็นจำนวนเงินเท่าใด โดยมีธนาคารทำหนังสือค้ำประกันระบุจำนวนเงินไว้ต่อโจทก์ เพื่อขอรับของที่นำเข้าไปจากโจทก์ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ชำระภาษีอากรแล้ว เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ประเมินมิได้ทักท้วงเกี่ยวกับจำนวนภาษีอากรที่จำเลยสำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าว่าไม่ถูกต้องอย่างใด จึงไม่มีปัญหาเกี่ยวกับจำนวนค่าภาษีอากรสำหรับของที่จำเลยนำเข้า เมื่อจำเลยไม่ใช้ของที่นำเข้ามาผลิตหรือผสมหรือประกอบส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศภายใน 1 ปี จึงเป็นหน้าที่ของจำเลยจะต้องชำระภาษีอากรตามจำนวนที่สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าพร้อมด้วยเงินเพิ่ม และมิใช่หน้าที่โจทก์จะต้องติดตามทางถาม หรือแจ้งให้จำเลยนำค่าภาษีอากรไปชำระและมิได้มีบทบัญญัติมาตราใด แห่ง พ.ร.บ. ศุลกากร บัญญัติให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประเมินเรียกเก็บเงินจากธนาคารผู้ค้ำประกันทันทีดังนั้นพนักงานเจ้าหน้าที่ประเมินจะเรียกให้จำเลยหรือผู้ค้ำประกันชำระค่าภาษีอากรเมื่อใดก็ได้ภายในอายุความ จำเลยนำของเข้ามาในราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2518แต่จำเลยมิได้ใช้ของที่นำเข้ามานั้นผลิตหรือผสมหรือประกอบสินค้าส่งออกไปยังต่างประเทศภายใน 1 ปี ดังนี้โจทก์เกิดสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระภาษีอากรตามจำนวนที่จำเลยสำแดงไว้ นับถัด จากวันที่ครบ 1 ปี คือ วันที่ 1 มิถุนายน เป็นต้นไป เมื่อนับถึงวันฟ้องคือวันที่ 30 พฤษภาคม 2529 ยังไม่เกิน 10 ปี ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 379/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระค่าอากรและภาษีหลังนำเข้าสินค้า การวางประกัน และการเรียกเก็บเงินจากผู้ค้ำประกัน
ในกรณีที่ผู้นำของเข้ามาในราชอาณาจักรไม่ว่าจะเป็นผู้ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมศุลกากรให้คืนเงินอากรขาเข้า ตามพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 มาตรา 19 ทวิ หรือไม่ก็ตาม จะนำของไปจากอารักขาของศุลกากรก็มีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรจนครบถ้วนเสียก่อน เว้นแต่จะได้วางประกันค่าอากร ไว้ต่ออธิบดีกรมศุลกากร ตามมาตรา 40 และมาตรา 112 ซึ่งกระทำได้ 2 วิธี คือ วิธีหนึ่งวางเงินไว้เป็นประกัน อีกวิธีหนึ่งนำหนังสือค้ำประกันของกระทรวงการคลังหรือธนาคารมาวางเป็นประกัน
ในการวางเงินเป็นประกัน ถ้าผู้นำของเข้าไม่ชำระค่าอากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาลตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ประเมินและแจ้งให้ทราบภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง และเงินประกันที่วางไว้คุ้มค่าอากรที่พนักงานเจ้าหน้าที่ประเมินแล้ว ก็ให้เก็บเงินประกันดังกล่าวเป็นค่าอากรตามจำนวนที่ประเมินได้ทันที และให้ถือเสมือนว่าผู้นำของเข้าได้ชำระเงินอากรที่ได้แจ้งภายในเวลาที่กำหนดดังกล่าวข้างต้นแล้วตามมาตรา 112 ทวิ วรรคสอง
กรณีการนำหนังสือค้ำประกันของกระทรวงการคลัง หรือธนาคารมาวางเป็นประกันมิได้มีบทบัญญัติมาตราใดแห่งพระราชบัญญัติศุลกากรบัญญัติไว้ว่า ถ้าผู้นำของเข้าไม่ชำระค่าอากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาลตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ประเมินแจ้งให้ทราบแล้วภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ก็ให้เรียกเก็บเงินจากผู้ค้ำประกันได้ทันที และให้ถือเสมือนว่าผู้นำของเข้าได้ชำระเงินอากรที่ได้แจ้งภายในเวลาที่กำหนดข้างต้นแล้ว
จำเลยนำของเข้ามาผลิต ผสม หรือประกอบ เพื่อส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศหรือส่งไปเป็นของใช้สิ้นเปลืองในเรือเดินทางไปเมืองต่างประเทศเพื่อขอคืนอากรตามพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 มาตรา 19 ทวิ ได้นำหนังสือค้ำประกันของธนาคารไปวางเป็นประกันและรับของมาจากศุลกากรยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ชำระค่าอากรขาเข้า ภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลแล้ว การที่ศุลกากรปล่อยหรือมอบของให้จำเลยมาโดยยอมรับหนังสือค้ำประกันของธนาคารเป็นประกันก็เป็นเพียงผ่อนผันการชำระค่าอากรขาเข้าให้แก่จำเลย เมื่อจำเลยมิได้ผลิตผสม หรือประกอบของที่นำเข้ามาส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศภายในกำหนด 1 ปี ตามบทกฎหมายดังกล่าว จำเลยก็ไม่มีสิทธิที่จะได้รับคืนอากรขาเข้าตามมาตรา 19 ทวิ(ง) และเป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะนำอากรขาเข้าตามที่เจ้าหน้าที่ได้ประเมินไว้ไปชำระมิใช่เป็นหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ประเมินจะต้องติดตามทวงถามให้จำเลยชำระค่าอากรดังกล่าว และตามพระราชบัญญัติศุลกากรก็ดี ประมวลรัษฎากรก็ดีมิได้กำหนดระยะเวลาให้เจ้าหน้าที่ประเมินติดตามทวงถามไว้แต่อย่างใด ดังนั้น เจ้าหน้าที่ประเมินจะเรียกให้จำเลยหรือผู้ค้ำประกันชำระค่าอากรขาเข้าเมื่อใดก็ได้ ภายในอายุความเมื่อจำเลยไม่ชำระค่าอากรที่ต้องเสีย ก็ต้องเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 112 จัตวา
สำหรับภาษีการค้า ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89 ทวิ วรรคท้ายได้บัญญัติไว้ว่า เงินเพิ่มตามมาตรานี้มิให้เกินกว่าจำนวนภาษีที่ต้องชำระโดยไม่รวมเบี้ยปรับตามมาตรา 89 ซึ่งคำว่าเงินเพิ่มตามมาตรานี้หมายความว่าเงินเพิ่มที่คิดร้อยละ 1 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระไม่ว่าจะเป็นเงินเพิ่มที่คิดก่อนหรือภายหลังนำเงินที่วางประกันหรือที่ผู้ค้ำประกันมาหักเมื่อรวมแล้วเงินเพิ่มจะต้องไม่เกินเงินภาษีการค้าที่ต้องชำระ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 379/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระภาษีอากรนำเข้าและการวางประกัน โดยกรณีไม่ชำระภายในกำหนด เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกเก็บจากผู้ค้ำประกันได้
ในกรณีที่ผู้นำของเข้ามาในราชอาณาจักรไม่ว่าจะเป็นผู้ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมศุลกากรให้คืนเงินอากรขาเข้า ตามพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 มาตรา 19 ทวิ หรือไม่ก็ตาม จะนำของไปจากอารักขาของศุลกากรก็มีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรจนครบถ้วนเสียก่อน เว้นแต่จะได้วางประกันค่าอากรไว้ต่ออธิบดีกรมศุลกากร ตามมาตรา 40 และมาตรา 112 ซึ่งกระทำได้ 2 วิธีคือ วิธีหนึ่งวางเงินไว้เป็นประกัน อีกวิธีหนึ่งนำหนังสือค้ำประกันของกระทรวงการคลังหรือธนาคารมาวางเป็นประกัน
ในการวางเงินเป็นประกัน ถ้าผู้นำของเข้าไม่ชำระค่าอากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาลตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ประเมินและแจ้งให้ทราบภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง และเงินประกันที่วางไว้คุ้มค่าอากรที่พนักงานเจ้าหน้าที่ประเมินแล้ว ก็ให้เก็บเงินประกันดังกล่าวเป็นค่าอากรตามจำนวนที่ประเมินได้ทันที และให้ถือเสมือนว่าผู้นำของเข้าได้ชำระเงินอากรที่ได้แจ้งภายในเวลาที่กำหนดดังกล่าวข้างต้นแล้วตามมาตรา 112 ทวิ วรรคสอง
กรณีการนำหนังสือค้ำประกันของกระทรวงการคลัง หรือธนาคารมาวางเป็นประกันมิได้มีบทบัญญัติมาตราใดแห่งพระราชบัญญัติศุลกากรบัญญัติไว้ว่า ถ้าผู้นำของเข้าไม่ชำระค่าอากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาลตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ประเมินแจ้งให้ทราบแล้วภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งก็ให้เรียกเก็บเงินจากผู้ค้ำประกันได้ทันที และให้ถือเสมือนว่าผู้นำของเข้าได้ชำระเงินอากรที่ได้แจ้งภายในเวลาที่กำหนดข้างต้นแล้ว
จำเลยนำของเข้ามาผลิต ผสม หรือประกอบ เพื่อส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศหรือส่งไปเป็นของใช้สิ้นเปลืองในเรือเดินทางไปเมืองต่างประเทศเพื่อขอคืนอากรตามพระราชบัญญัติศุลกากร(ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 มาตรา 19 ทวิ ได้นำหนังสือค้ำประกันของธนาคารไปวางเป็นประกันและรับของมาจากศุลกากรยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ชำระค่าอากรขาเข้า ภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลแล้ว การที่ศุลกากรปล่อยหรือมอบของให้จำเลยมาโดยยอมรับหนังสือค้ำประกันของธนาคารเป็นประกันก็เป็นเพียงผ่อนผันการชำระค่าอากรขาเข้าให้แก่จำเลย เมื่อจำเลยมิได้ผลิตผสมหรือประกอบของที่นำเข้ามาส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศภายในกำหนด 1 ปี ตามบทกฎหมายดังกล่าว จำเลยก็ไม่มีสิทธิที่จะได้รับคืนอากรขาเข้าตามมาตรา 19 ทวิ(ง) และเป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะนำอากรขาเข้าตามที่เจ้าหน้าที่ได้ประเมินไว้ไปชำระมิใช่เป็นหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ประเมินจะต้องติดตามทวงถามให้จำเลยชำระค่าอากรดังกล่าว และตามพระราชบัญญัติศุลกากรก็ดี ประมวลรัษฎากรก็ดีมิได้กำหนดระยะเวลาให้เจ้าหน้าที่ประเมินติดตามทวงถามไว้แต่อย่างใด ดังนั้น เจ้าหน้าที่ประเมินจะเรียกให้จำเลยหรือผู้ค้ำประกันชำระค่าอากรขาเข้าเมื่อใดก็ได้ ภายในอายุความเมื่อจำเลยไม่ชำระค่าอากรที่ต้องเสียก็ต้องเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 112 จัตวา
สำหรับภาษีการค้า ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89 ทวิ วรรคท้ายได้บัญญัติไว้ว่า เงินเพิ่มตามมาตรานี้มิให้เกินกว่าจำนวนภาษีที่ต้องชำระโดยไม่รวมเบี้ยปรับตามมาตรา 89 ซึ่งคำว่าเงินเพิ่มตามมาตรานี้หมายความว่าเงินเพิ่มที่คิดร้อยละ 1 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระไม่ว่าจะเป็นเงินเพิ่มที่คิดก่อนหรือภายหลังนำเงินที่วางประกันหรือที่ผู้ค้ำประกันมาหักเมื่อรวมแล้วเงินเพิ่มจะต้องไม่เกินเงินภาษีการค้าที่ต้องชำระ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2488/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำเข้าสินค้าข้ามพรมแดน การหลีกเลี่ยงภาษี และการคำนวณเงินเพิ่มที่ถูกต้องตามกฎหมาย
แม้ฎีกาของจำเลยจะคัดลอกข้อความในอุทธรณ์มา แต่ก็เป็นฎีกาในเหตุเดียวกับที่จำเลยอุทธรณ์ จึงเป็นฎีกาที่โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ กรณีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57(3) นั้น คำว่าอาจฟ้องหรือถูกคู่ความเช่นว่านั้นฟ้องจะต้องเป็นเรื่องที่สืบเนื่องมาจากคดีที่กำลังพิพาทกันอยู่โดยตรง เมื่อจำเลยให้การรับว่าเครื่องรับโทรทัศน์รายพิพาทไม่ใช่เครื่องรับโทรทัศน์ชนิดแบบวงจรปิดตามที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนให้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้าและภาษีการค้า จำเลยจึงต้องรับผิดชำระอากรขาเข้า ภาษีการค้ารวมทั้งภาษีบำรุงเทศบาลตามที่โจทก์ฟ้องดังนั้นศาลชั้นต้นย่อมสั่งงดสืบพยานและพิพากษาให้จำเลยชำระภาษีอากรได้ การที่จำเลยได้รับการส่งเสริมการลงทุนสั่งและนำเข้ามาในราชอาณาจักร ซึ่งเครื่องรับโทรทัศน์สีชนิดแบบวงจรปิด โดยให้ได้รับงดเว้นการเสียอากรขาเข้าและภาษีการค้า แต่จำเลยกลับนำเข้าโทรทัศน์สีซึ่งใช้รับภาพจากสถานีส่งภายนอกได้ด้วย และมีราคาแพงกว่าเช่นนี้จำเลยอ้างไม่ได้ว่าจำเลยไม่มีเจตนาจะหลีกเลี่ยงภาษีอากร การคิดเงินเพิ่มภาษีอากรไม่ถูกต้องและการให้เสียดอกเบี้ยของเงินเพิ่มซึ่งไม่ถูกต้องนั้นเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้ เมื่อกฎหมายได้บัญญัติทางแก้ ในกรณีที่ไม่ชำระภาษีอากรตามกำหนดเวลาไว้ใน พ.ร.บ. ศุลกากรฯ มาตรา 112 จัตวา และ ป.รัษฎากรมาตรา 89 ทวิ อยู่แล้ว โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องให้จำเลยชำระเงินเพิ่มตามบทกฎหมายดังกล่าวเท่านั้น ไม่มีสิทธิฟ้องให้จำเลยชำระดอกเบี้ยตาม ป.พ.พ. มาตรา 224.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1401/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกคืนภาษีอากรศุลกากร: ต้องฟ้องภายใน 2 ปีนับจากวันนำของเข้า
พระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469 มาตรา 10 วรรคห้า มีความหมายว่าสิทธิในการเรียกร้องหรือในการฟ้องคดีเพื่อเรียกคืนเงินอากรเพราะเหตุที่ได้เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียนั้น จะต้องฟ้องเสียภายในสองปีนับแต่วันที่นำของเข้า และถ้าเป็นการเรียกร้องหรือฟ้องคดีเพื่อขอคืนอากรเพราะเหตุอันเกี่ยวกับชนิด คุณภาพ ปริมาณ น้ำหนักหรือราคาแห่งของใด ๆ หรือเกี่ยวกับอัตราอากรสำหรับของใด ๆ นอกจากจะต้องเรียกร้องหรือฟ้องคดีภายในสองปีแล้ว กฎหมายยังบัญญัติไว้อีกว่าจะต้องแจ้งความไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนการส่งมอบว่าจะยื่นคำเรียกร้องด้วย
โจทก์นำของเข้ามาในราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2521 อ้างว่าเจ้าหน้าที่ศุลกากรสั่งเพิ่มราคาของให้สูงขึ้น เพื่อประเมินเรียกเก็บภาษีอากรแต่โจทก์ฟ้องคดีเรียกคืนภาษีอากรที่เสียเพิ่มขึ้นดังกล่าว เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2529 ดังนี้ แม้โจทก์จะได้แจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนการส่งมอบของว่าจะยื่นคำเรียกร้องขอคืนอากร คดีของโจทก์ก็ขาดอายุความตาม มาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469 แล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1179/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยประเภทสินค้า (แจกัน) เพื่อกำหนดสิทธิในการนำเข้าและคืนเงินภาษีอากร
โจทก์นำแจกันขนาดต่าง ๆ เข้ามาในราชอาณาจักร เป็นแจกันที่มีเนื้อกระเบื้องหรือวัสดุที่ใช้ผลิตไม่ขาวใส ลวดลายและการป้ายสีแม้แปลก ตา แต่ก็ไม่มีความประณีตสวยงาม แจกันบางใบมีรอยตำหนิ เป็นจุด ๆ ในเนื้อกระเบื้อง ราคาที่โจทก์ซื้อมาเป็นราคาไม่แพง ไม่มีคุณค่าพอที่จะนำไปเป็นเครื่องประดับบ้านเรือน คงมีความเหมาะสมเพื่อใช้ปักดอกไม้อันเป็นการใช้ตามสภาพของแจกันเท่านั้น จึงเป็นสินค้าเครื่องใช้ในบ้านเรือนตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 69.11 มิใช่เครื่องประดับบ้านเรือนตามพิกัดประเภทที่ 69.13 โจทก์นำแจกันเข้ามาในราชอาณาจักรโดยสำแดงในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าว่าเป็นสินค้าอยู่ในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 69.13 ซึ่งเป็นสินค้าที่ไม่ต้องห้ามนำเข้า ตามประกาศของกระทรวงพาณิชย์เรื่อง การนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร(ฉบับที่ 86) พ.ศ. 2521 และได้ชำระภาษีประเภทต่าง ๆ ให้แก่จำเลยตามหน้าที่ การที่จำเลยรับชำระภาษีจากโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นการรับชำระไว้โดยชอบ ต่อมาจำเลยไม่ยอมตรวจปล่อยแจกันบางส่วนซึ่งเป็นส่วนใหญ่ที่นำเข้าให้แก่โจทก์ โดยอ้างว่าแจกันพิพาทเป็นสินค้าในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 69.11 ซึ่งเป็นสินค้าต้องห้ามนำเข้าตามประกาศของกระทรวงพาณิชย์ฯ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากกระทรวงพาณิชย์เสียก่อน โจทก์โต้แย้งว่าแจกันนั้นอยู่ในพิกัดตามที่สำแดงไว้ในใบขนสินค้า ดังนี้เมื่อประกาศของกระทรวงพาณิชย์ฯมิได้ห้ามการนำเข้าซึ่งสินค้าในพิกัดประเภทที่ 69.11 ไว้อย่างเด็ดขาด หากได้รับอนุญาตก็สามารถนำเข้าได้ โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิรับเงินภาษีอากรประเภทต่าง ๆ ที่ชำระไว้คืนจนกว่าโจทก์จะไม่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงพาณิชย์ให้นำเข้าแจกันดังกล่าว และหรือโจทก์ส่งแจกันนั้นออกไปยังเมืองต่างประเทศ จำเลยจึงยังไม่ต้องคืนเงินค่าภาษีอากรขาเข้า ภาษีการค้า ภาษีบำรุงเทศบาล และเงินประกันค่าภาษีที่รับชำระไว้ให้แก่โจทก์ การที่พนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องโจทก์ในข้อหานำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากรและสำแดงเท็จ กับนำของต้องพิกัดเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตและสั่งให้คืนแจกันของกลางให้แก่โจทก์ โดยเห็นว่าแจกันนั้นมิได้อยู่ในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 69.11 ซึ่งเป็นสินค้าต้องห้ามนำเข้าแต่จำเลยไม่คืนแจกันแก่โจทก์โดยเห็นว่าเป็นสินค้าอยู่ในพิกัดประเภทที่ 69.11 เช่นนี้ความเห็นของพนักงานอัยการและจำเลยยังไม่เป็นยุติ จำเลยจึงยังมีอำนาจตาม พ.ร.บ. ศุลกากรฯที่จะกักแจกันของโจทก์ไว้โดยชอบจนกว่าโจทก์จะได้รับอนุญาตให้นำแจกันนั้นเข้ามาในราชอาณาจักรได้หรือจัดการส่งแจกันออกไปยังเมืองต่างประเทศ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1179/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดประเภทพิกัดศุลกากรสินค้า (แจกัน) และสิทธิในการรับคืนค่าภาษีเมื่อนำเข้าสินค้าต้องห้าม
สินค้าเครื่องประดับบ้านเรือนซึ่งจัดอยู่ในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 69.13 ตามพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากรพ.ศ. 2503 หมายความว่าสิ่งของที่ใช้ตกแต่งให้สวยงาม ทำให้บ้านเรือนที่ใช้วัตถุหรือสิ่งของนั้นประดับหรือตกแต่งมีความสวยงามไปด้วย ความสวยงามของวัตถุหรือสิ่งของดังกล่าวตามลักษณะจึงควรเป็นวัตถุหรือสิ่งของที่มีคุณค่าในตัวเองมีความประณีต สวยงาม เหมาะสมที่จะใช้ประดับหรือตกแต่งบ้านเลือนเท่านั้น โดยผู้ซื้อมิได้นำไปใช้ตามสภาพเช่นสิ่งของทั่ว ๆ ไปที่ใช้ในบ้านเรือน ส่วนสินค้าเครื่องใช้ในบ้านเรือนซึ่งจัดอยู่ในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 69.11 ตามพระราชกำหนดดังกล่าว มีความหมายว่าสิ่งของที่ทำขึ้นใช้การต่าง ๆ ของใช้ เครื่องใช้ไม้สอยเป็นวัตถุหรือสิ่งของที่ตามลักษณะเหมาะสมสำหรับใช้สอยในบ้านเรือนเท่านั้น ไม่มีคุณค่าหรือความสวยงามในทางที่จะประดับหรือตกแต่งบ้านเรือนให้สวยงาม
แจกันที่โจทก์นำเข้ามาในราชอาณาจักรตั้งแต่ขนาด 6 นิ้วถึง14 นิ้วเป็นเนื้อกระเบื้องหรือวัตถุที่ผลิตไม่ขาวใส ลวดลายและการป้ายสีถึงแม้ว่าจะดูแปลกตา แต่ก็ไม่มีความประณีตสวยงาม แจกันบางใบมีรอยตำหนิเป็นจุดในเนื้อกระเบื้องราคาที่โจทก์ซื้อมาเป็นราคาไม่แพง จึงไม่มีคุณค่าพอที่จะนำไปเป็นเครื่องประดับบ้านเรือน ประกอบกับตามสภาพและขนาดของแจกันดังกล่าวมีความเหมาะสมที่จะนำไปเป็นเครื่องใช้ในบ้านเรือนทั่ว ๆ ไป จึงเป็นสินค้าในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 69.11 ซึ่งเป็นสินค้าต้องห้ามนำเข้ามาในราชอาณาจักรตามประกาศกระทรวงพาณิชย์เรื่องการนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร(ฉบับที่86) พ.ศ. 2521 ไม่ใช่สินค้าในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 69.13
จำเลยรับชำระค่าภาษีไว้จากโจทก์โดยชอบ ต่อมาโจทก์จำเลยโต้เถียงกันว่า แจกันขนาด 6 นิ้วถึง 14 นิ้วที่โจทก์นำเข้ามาในราชอาณาจักรอยู่ในพิกัดอัตราศุลกากร ประเภทที่ 69.11 หรือประเภทที่ 69.13ซึ่งถ้าเป็นสินค้าในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 69.11 แล้วก็ต้องห้ามนำเข้าเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากกระทรวงพาณิชย์ โจทก์จึงสามารถนำเข้าได้ ดังนั้นโจทก์จึงยังไม่มีสิทธิรับเงินภาษีอากรต่าง ๆ ที่ชำระไว้แก่จำเลยคืน จนกว่าโจทก์จะไม่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงพาณิชย์ให้นำแจกันขนาดต่าง ๆ ดังกล่าวเข้ามาในราชอาณาจักรและหรือโจทก์ส่งแจกันขนาดต่าง ๆ ดังกล่าวออกไปยังเมืองต่างประเทศ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1028-1029/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีผู้ประกอบการนำเข้ากระดาษแล้วพิมพ์ลาย ไม่ถือเป็นการผลิตกระดาษชนิดใหม่
โจทก์สั่งกระดาษม้วนใหญ่มีความกว้าง 782 มิลิเมตร ยาวประมาณ 6,100 เมตร จากต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักร ได้เสียภาษีการค้าในฐานะผู้นำเข้าร้อยละ 7 ของรายรับ ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าท้ายหมวด 4 ประมวลรัษฎากร ประเภทการค้า 1 การขายของชนิด 1 (ก) แล้ว โจทก์นำกระดาษดังกล่าวมาพิมพ์เป็นลายไม้ก๊อก ตัดให้มีความกว้าง 48 มิลลิเมตร ยาว 2,000 เมตร ม้วนเป็นม้วนเล็ก ๆ ขายให้โรงงานยาสูบไปใช้พันก้นกรองบุหรี่ เช่นนี้ การประกอบกิจการของโจทก์ไม่เข้าลักษณะเป็นการผลิตกระดาษใช้พันก้นกรองบุหรี่ ตามนัยประมวลรัษฎากร มาตรา 77 เพราะการที่โจทก์นำกระดาษม้วนใหญ่มาพิมพ์เป็นลายไม้ก๊อกแล้วตัดทำเป็นม้วนเล็ก ๆ นั้น เป็นการทำให้เหมาะสมและสะดวกแก่การใช้พันก้นกรองบุหรี่ สินค้ากระดาษที่โจทก์นำเข้ามายังเป็นกระดาษอย่างเดิม มิได้แปรรูปหรือแปรสภาพเป็นสินค้าใหม่ โจทก์จึงไม่ต้องเสียภาษีการค้าในฐานะผู้ผลิตกระดาษทุกชนิด ตามบัญชี 1 หมวด 8 (9) ท้ายพระราชกฤษฎีกา ฯ (ฉบับที่ 54) พ.ศ. 2517 ในอัตราร้อยละ 7 ของรายรับตามบัญชีอัตราภาษีการค้าท้ายหมวด 4 ประเภทการค้า 1 การขายของชนิด 1 (ก) อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1028-1029/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีการค้ากรณีนำเข้ากระดาษแล้วนำมาตัดเป็นม้วนเล็กขาย ไม่ถือเป็นการผลิตกระดาษชนิดใหม่
หมวด8(9) โจทก์สั่งกระดาษม้วนใหญ่มีความกว้าง782มิลิเมตรยาวประมาณ6,100เมตรจากต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักรได้เสียภาษีการค้าในฐานะผู้นำเข้าร้อยละ7ของรายรับตามบัญชีอัตราภาษีการค้าท้ายหมวด4ประมวลรัษฎากรประเภทการค้า1การขายของชนิด1(ก)แล้วโจทก์นำกระดาษดังกล่าวมาพิมพ์เป็นลายไม้ก๊อกตัดให้มีความกว้าง48มิลลิเมตรยาว2,000เมตรม้วนเป็นม้วนเล็กๆขายให้โรงงานยาสูบไปใช้พันก้นกรองบุหรี่เช่นนี้การประกอบกิจการของโจทก์ไม่เข้าลักษณะเป็นการผลิตกระดาษใช้พันก้นกรองบุหรี่ตามนัยประมวลรัษฎากรมาตรา77เพราะการที่โจทก์นำกระดาษม้วนใหญ่มาพิมพ์เป็นลายไม้ก๊อกแล้วตัดทำเป็นม้วนเล็กๆนั้นเป็นการทำให้เหมาะสมและสะดวกแก่การใช้พันก้นกรองบุหรี่สินค้ากระดาษที่โจทก์นำเข้ามายังเป็นกระดาษอย่างเดิมมิได้แปรรูปหรือแปรสภาพเป็นสินค้าใหม่โจทก์จึงไม่ต้องเสียภาษีการค้าในฐานะผู้ผลิตกระดาษทุกชนิดตามบัญชี1หมวด8(9)ท้ายพระราชกฤษฎีกาฯ(ฉบับที่54)พ.ศ.2517ในอัตราร้อยละ7ของรายรับตามบัญชีอัตราภาษีการค้าท้ายหมวด4ประเภทการค้า1การขายของชนิด1(ก)อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 758/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนบัตรไม่ใช่ 'ของ' ตามกฎหมายศุลกากร การนำเข้า-ส่งออกเงินตราจึงไม่ผิด
ธนบัตรของกลางเป็นธนบัตรรัฐบาลไทย และเป็นเงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมายในประเทศไทย มิใช่สิ่งของอันอาจนำไปจำหน่ายเป็นสินค้าอย่างธรรมดาทั่ว ๆ ไปได้ ธนบัตรของกลางจึงมิใช่ "ของ" ตามความหมายในมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 ฉะนั้นการกระทำของจำเลยที่นำธนบัตรของกลางออกไปและเข้ามาในราชอาณาจักรจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27
ธนบัตรและเรือเพลายาวของกลางมิใช่ทรัพย์สินที่จำเลยมีไว้เป็นความผิดได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำผิด หรือได้มาโดยการกระทำผิด หรือได้มาโดยการกระทำผิด และการกระทำของจำเลยก็มิได้เป็นความผิด ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 จึงริบธนบัตรและเรือของกลางไม่ได้ทั้งจ่ายรางวัลให้เจ้าพนักงานก็ไม่ได้ด้วย
of 17