พบผลลัพธ์ทั้งหมด 206 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3959/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพราง: สัญญาจำนองไม่ใช่การอำพรางสัญญาซื้อขาย หากทำตามข้อตกลงได้
โจทก์ทั้งสามทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทจากจำเลย แต่ยังจดทะเบียนโอนกันไม่ได้เพราะผู้เช่าที่ดินพิพาทคัดค้าน โจทก์จำเลย ตกลงกัน ให้จำเลยจำนองที่ดินพิพาทไว้แก่โจทก์เพื่อนำเงินไปไถ่ การขายฝากที่ดินพิพาทจาก จ. และให้จำเลยไปดำเนินการฟ้องขับไล่ ผู้เช่าออกจากที่ดินพิพาทก่อนแล้วจำเลยจะจดทะเบียนโอนขายกรรมสิทธิ์ ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ต่อไปเมื่อคู่กรณีเจรจาตกลงกันเช่นนี้คู่กรณี ทั้งสองฝ่ายสามารถปฏิบัติตามข้อตกลงที่ตกลงกันนั้นได้ทั้งสัญญาจำนอง และสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทตามเจตนาที่ตกลงกัน มิใช่ไม่สามารถ ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายหรือสัญญาจำนองอย่างหนึ่งอย่างใดได้ ดังนั้น สัญญาจำนองจึงมิใช่เป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาท สัญญาจำนองย่อมมีผลบังคับได้ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3670/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิซื้อคืนที่ดิน: สัญญาประนีประนอมมีผลผูกพัน ไม่ใช่นิติกรรมอำพราง
ทำสัญญาซื้อขายที่ดินจดทะเบียนไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว โจทก์จำเลยทำสัญญาต่อกันอีกฉบับหนึ่งว่า โจทก์มีสิทธิซื้อที่ดินคืนได้ภายใน 10 ปี ดังนี้ สัญญาที่ทำต่อกันไม่ใช่สัญญาขายฝากหรือนิติกรรมอำพราง แต่ข้อกำหนดที่ให้ โจทก์มีสิทธิซื้อที่ดินคืนจากจำเลยได้ภายใน 10 ปี เป็นคำมั่นในการซื้อขายทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคสอง จึงมีผลผูกพันคู่กรณีใช้บังคับกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3670/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิซื้อคืนที่ดิน: สัญญาประนีประนอมมีผลผูกพัน ไม่ใช่นิติกรรมอำพราง
ทำสัญญาซื้อขายที่ดินจดทะเบียนไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว โจทก์จำเลยทำสัญญาต่อกันอีกฉบับหนึ่งว่า โจทก์มีสิทธิซื้อที่ดิน คืนได้ภายใน 10 ปีดังนี้ สัญญาที่ทำต่อกัน ไม่ใช่สัญญาขายฝาก หรือนิติกรรมอำพรางแต่ข้อกำหนดที่ให้ โจทก์มีสิทธิซื้อที่ดินคืนจาก จำเลยได้ภายใน 10 ปีเป็นคำมั่นในการซื้อขายทรัพย์สินตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา456วรรคสองจึงมีผลผูกพัน คู่กรณีใช้บังคับกัน ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3147/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้เงินที่ไม่เป็นนิติกรรมอำพราง แม้มีการฝากเงินไว้กับผู้ให้กู้ ผู้กู้ต้องรับผิดตามสัญญา
จำเลยต้องการตั๋วสัญญาใช้เงินมาวางเป็นหลักทรัพย์ประกันในการเล่นหุ้นต่อโจทก์จึงได้ทำสัญญากู้เงินโจทก์ โจทก์ได้ออกเช็คตามจำนวนเงินที่กู้แก่จำเลยแล้ว จำเลยมิได้นำเช็คไปรับเงินจากธนาคาร แต่สลักหลังให้โจทก์เพื่อฝากเงินไว้แก่โจทก์ โจทก์จึงได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินแก่จำเลยเพื่อนำไปวางเป็นหลักทรัพย์ประกันในการเล่นหุ้นต่อโจทก์ดังนี้ การที่จำเลยกู้เงินจากโจทก์แล้วฝากเงินไว้แก่โจทก์ แม้จะมีผลทำให้จำเลยเป็นทั้งลูกหนี้และเจ้าหนี้โจทก์ในขณะเดียวกันก็เป็นความสมัครใจของจำเลยเองวัตถุที่ประสงค์ของนิติกรรมไม่เป็นการต้องห้ามโดยกฎหมายเพื่อเป็นการขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อยศีลธรรมอันดีของประชาชน เมื่อสัญญากู้ที่จำเลยทำขึ้นกับโจทก์เป็นนิติกรรมที่ทำขึ้นโดยตั้งใจจะให้มีผลผูกพัน มิได้มีการอำพรางนิติกรรมอื่นใดจึงมิใช่นิติกรรมอำพราง จำเลยจึงต้องรับผิดตามสัญญากู้ จะอ้างว่าไม่ได้รับเงินตามสัญญากู้มิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3147/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมกู้ยืมเงินและการสลักหลังเช็ค/ตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อประกันการเล่นหุ้น ไม่เป็นนิติกรรมอำพราง
จำเลยต้องการตั๋วสัญญาใช้เงินมาวางเป็นหลักทรัพย์ประกันในการเล่นหุ้นต่อโจทก์จึงได้ทำสัญญากู้เงินโจทก์ โจทก์ได้ออกเช็คตามจำนวนเงินที่กู้แก่จำเลยแล้ว จำเลยมิได้นำเช็คไปรับเงินจากธนาคาร แต่สลักหลังให้โจทก์เพื่อฝากเงินไว้แก่โจทก์ โจทก์จึงได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินแก่จำเลยเพื่อนำไปวางเป็นหลักทรัพย์ประกันในการเล่นหุ้นต่อโจทก์ดังนี้ การที่จำเลยกู้เงินจากโจทก์แล้วฝากเงินไว้แก่โจทก์ แม้จะมีผลทำให้จำเลยเป็นทั้งลูกหนี้และเจ้าหนี้โจทก์ในขณะเดียวกันก็เป็นความสมัครใจของจำเลยเองวัตถุที่ประสงค์ของนิติกรรมไม่เป็นการต้องห้ามโดยกฎหมายเพื่อเป็นการขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อยศีลธรรมอันดีของประชาชนเมื่อสัญญากู้ที่จำเลยทำขึ้นกับโจทก์เป็นนิติกรรมที่ทำขึ้นโดยตั้งใจจะให้มีผลผูกพันมิได้มีการอำพรางนิติกรรมอื่นใดจึงมิใช่นิติกรรมอำพราง จำเลยจึงต้องรับผิดตามสัญญากู้ จะอ้างว่าไม่ได้รับเงินตามสัญญากู้มิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2065/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่นำสืบของจำเลยเมื่ออ้างนิติกรรมอำพราง – เงินกู้
โจทก์ฟ้องเรียกเงินกู้จากจำเลยโดยอาศัยหลักฐานแห่งการ กู้ยืมเป็นหนังสือ จำเลยให้การว่าหลักฐานการกู้ยืมที่ทำ ขึ้นนั้นเป็นนิติกรรมอำพรางในการที่สามีโจทก์มอบเงินให้ จำเลยไว้เป็นค่าใช้จ่ายในการจัดหาหญิงส่งไปเป็นนางบำเรอพวก เศรษฐีในฮ่องกงเป็นมูลหนี้ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงไม่มีมูลหนี้ต่อกัน โจทก์ไม่อาจฟ้องร้องบังคับคดีเอาแก่จำเลยได้ ดังนี้ เท่ากับจำเลยรับว่าได้ทำเอกสารซึ่งเป็นหลักฐานที่จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ไปตามฟ้องแล้ว แต่จำเลยกล่าวอ้างข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ว่าเป็นเงินที่สามีโจทก์มอบให้จำเลย เพื่อให้กระทำการในสิ่งที่ขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน เช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยกล่าวอ้างข้อเท็จจริงอย่างใดๆเพื่อสนับสนุนคำให้การของ ตน หน้าที่นำสืบย่อมตกอยู่แก่จำเลยซึ่งเป็นฝ่ายที่กล่าวอ้างข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ ทั้งนี้ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2065/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่นำสืบเมื่ออ้างนิติกรรมอำพราง: จำเลยต้องพิสูจน์ข้ออ้าง หากศาลเชื่อว่ากู้ยืมเงินจริง
โจทก์ฟ้องเรียกเงินกู้จากจำเลยโดยอาศัยหลักฐานแห่งการ กู้ยืมเป็นหนังสือ จำเลยให้การว่าหลักฐานการกู้ยืมที่ทำ ขึ้นนั้นเป็นนิติกรรมอำพรางในการที่สามีโจทก์มอบเงินให้ จำเลยไว้เป็นค่าใช้จ่ายในการจัดหาหญิงส่งไปเป็นนางบำเรอพวก เศรษฐีในฮ่องกง เป็นมูลหนี้ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขัดต่อ ความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงไม่มีมูลหนี้ ต่อกัน โจทก์ไม่อาจฟ้องร้องบังคับคดีเอาแก่จำเลยได้ ดังนี้ เท่ากับจำเลยรับว่าได้ทำเอกสารซึ่งเป็นหลักฐานที่จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ไปตามฟ้องแล้ว แต่จำเลยกล่าวอ้าง ข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ว่าเป็นเงินที่สามีโจทก์มอบให้จำเลย เพื่อให้กระทำการในสิ่งที่ขัดขวางต่อ ความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนเช่นนี้ถือได้ว่า จำเลยกล่าวอ้างข้อเท็จจริงอย่างใดๆเพื่อสนับสนุนคำให้การของ ตน หน้าที่นำสืบย่อมตกอยู่แก่จำเลยซึ่งเป็นฝ่ายที่ กล่าวอ้างข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ ทั้งนี้ตามบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 165/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพรางสัญญาขายฝาก สัญญาซื้อขายเป็นโมฆะ ต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม
โจทก์ต้องการกู้เงินจำเลย จำเลยไม่มีเงิน จึงตกลงจดทะเบียนซื้อขายที่พิพาทมี น.ส.3 ก. เพื่อจำเลยจะได้นำ น.ส.3 ก. ไปยืมเงินเพื่อนมาให้โจทก์กู้ หลังจากนั้นอีก 4 วัน โจทก์มารับเงินจากจำเลย แล้วโจทก์จำเลยทำสัญญาขายฝากที่พิพาทกันเอง ดังนี้ ถือได้ว่าการทำสัญญาซื้อขายที่พิพาทเพื่ออำพรางสัญญาขายฝาก สัญญาซื้อขายจึงเป็นการแสดงเจตนาลวงด้วยสมรู้กันระหว่างคู่กรณีที่จะไม่ผูกพันกันตามเจตนาที่แสดงออกมานั้น ย่อมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 118 วรรคแรก ส่วนนิติกรรมขายฝากที่ถูกอำพรางไว้ เมื่อไม่ได้จดทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมายจึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 115 กรณีต้องบังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้ โจทก์ต้องคืนเงินให้จำเลยและจำเลยต้องคืนที่ดินให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3847/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมขายฝากสมบูรณ์ ไม่เป็นนิติกรรมอำพราง แม้ตกลงซื้อคืนภายหลังได้ โดยมีค่าปรับ
จำเลยมิได้ตกลงทำสัญญาจำนองตามความประสงค์ของโจทก์เพียงแต่ให้คำมั่นว่าให้โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทคืนได้ภายหลังครบกำหนดเวลาในสัญญาขายฝากแล้วเท่านั้น โดยการซื้อคืนโจทก์จะต้องเพิ่มเงินชดเชยให้จำเลย ดังนั้น สัญญาจำนองจึงมิได้เกิดขึ้น ที่โจทก์ยินยอมทำสัญญาขายฝากที่พิพาทไว้แก่จำเลยโดยมีสัญญาผูกพันกันไว้อีกฉบับหนึ่งว่าโจทก์มีสิทธิซื้อที่พิพาทคืนหลังจากครบกำหนดสัญญาขายฝากแล้ว ถือว่าโจทก์ทำสัญญาขายฝากโดยความสมัครใจ มิใช่เกิดจากเจตนาลวงด้วยสมรู้กับจำเลยแต่อย่างใด นิติกรรมขายฝากจึงสมบูรณ์ บังคับกันได้ไม่เป็นโมฆะ และ มิใช่นิติกรรมอำพราง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3527/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนขายที่ดินเพื่อหลีกเลี่ยงการบังคับชำระหนี้จากการครอบครองปรปักษ์ ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 350
จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนขายที่ดินของตนให้จำเลยที่2 ขณะที่โจทก์ทั้งสองฟ้องจำเลยที่ 1 ขอให้ศาลบังคับจำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินมีโฉนดนั้นให้โดยการครอบครองปรปักษ์ การครอบครองปรปักษ์นั้นมิได้ก่อให้เกิดหนี้แก่จำเลยที่ 1 เป็นเพียงกฎหมายรับรองหรือให้สิทธิโจทก์ทั้งสองได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นเท่านั้น จำเลยที่ 1 ไม่มีหนี้จะต้องชำระแก่โจทก์ทั้งสอง จึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350