คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
บทบัญญัติ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 100 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1543/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องอาศัยข้อเท็จจริงที่ไม่ตรงกับบทบัญญัติกฎหมาย ถือเป็นเหตุให้ยกฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยได้กระทำการขายถ่าน (ขายปลีก)โดยใช้รถเข็นบรรทุกถ่านไปขายตามสถานที่ต่างๆ เพื่อการค้า เป็นการประกอบกิจการค้าเป็นที่น่ารังเกียจหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพโดยไม่ได้รับอนุญาต ขอให้ลงโทษตามพ.ร.บ.สาธารณสุข พ.ศ.2484 มาตรา 8, 68 เทศบัญญัติเทศบาลนครกรุงเทพฯ เรื่องควบคุมการค้าเป็นที่น่ารังเกียจหรืออาจเป็นอันตรายแก่สุขภาพ(ฉบับที่ 3) 2494 ข้อ 4(40) แต่บทกฎหมายที่โจทก์อ้างทั้งหมดรวมทั้งเทศบัญญัติที่อ้างข้อ 4(40) นั้นระบุถึง 'การสะสมถ่าน' จึงไม่ตรงกับข้อเท็จจริงที่โจทก์บรรยายฟ้อง จึงไม่เป็นความผิดเป็นข้อวินิจฉัยของศาลชั้นต้นเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 579/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความบทบัญญัติกฎหมายจราจรในอดีตและการพิพากษาคดีตามกฎหมายที่ใช้ ณ ขณะกระทำผิด
พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2477 มาตรา 10 ซึ่งใช้ในขณะโจทก์หาว่าจำเลยกระทำผิดบัญญัติว่า 'เมื่อรถเดินสวนกันให้หลีกด้านซ้าย และเมื่อขึ้นหน้ารถคันอื่นให้ขึ้นด้านขวา' การที่จำเลยขับรถล้ำกึ่งกลางถนนออกไปประมาณ 10 เซ็นติเมตรขณะที่รถอีกคันหนึ่งแล่นสวนมา ไม่เป็นความผิดตามกฎหมายมาตรานี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1664/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปล้นทรัพย์ด้วยอาวุธปืนและการลดโทษจำคุกตามบทบัญญัติของกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกับพวกมีปืนเป็นอาวุธ ร่วมกับปล้นทรัพย์ โดยจำเลยกับพวกใช้ปืนขู่เข็ญไม่ให้พวกเจ้าทรัพย์ขัดขวาง มิฉะนั้นจะใช้ปืนยิงให้ตาย ดังนี้ แม้ทางพิจารณาจะได้ความว่า เมื่อเจ้าทรัพย์กับพวกตามจำเลยกับพวกไปทัน พวกจำเลยเอาปืนยิงเจ้าทรัพย์ เจ้าทรัพย์ก็ยิงโต้ตอบกันหลายนัด ก็ดี ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 340 วรรค 2 จะลงโทษจำคุกจำเลยได้ไม่เกิน 15 ปีเท่านั้น เพราะตามฟ้องโจทก์ไม่ได้บรรยายว่า จำเลยยิงปืน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 454/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลคดีเด็กฯ ในคดีเปลี่ยนผู้ปกครอง: การพิจารณาจากบทบัญญัติที่เกี่ยวข้อง
โจทก์ยื่นฟ้องต่อศาลคดีเด็กฯ ขอให้ถอนอำนาจปกครองจากจำเลยแต่งตั้งโจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองแทน แม้ว่าคำฟ้องของโจทก์อาศัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1503 เป็นหลักซึ่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กฯ พ.ศ.2494 มาตรา 8(2) ไม่ได้บัญญัติให้มาตรา 1503 นี้อยู่ในอำนาจศาลคดีเด็กฯก็ตามแต่การที่โจทก์ขอให้ศาลสั่งเปลี่ยนอำนาจปกครองจากจำเลยให้อยู่แก่โจทก์ผู้เป็นมารดาซึ่งเป็นเรื่องที่ศาลจะสั่งตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1538(6) ด้วย และมาตรานี้พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กฯ พ.ศ.2494 มาตรา 8(2)บัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลคดีเด็กฯ ฉะนั้นศาลคดีเด็กและเยาวชนกลางจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1990/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินบาดแผลเพื่อลงโทษอาญา: ความผิดฐานทำร้ายร่างกาย vs. วิวาท และการมิได้ขอลงโทษตามบทบัญญัติที่ต่างกัน
โจทก์บรรยายฟ้องอ้างว่าจำเลยทำร้ายร่างกายซึ่งกันและกันในท้องถนนหลวงถึงบาดเจ็บ ขอให้ลงโทษตาม กฎหมายลักษณะอาญามาตรา 254 เมื่อทางพิจารณาได้ความว่าบาดแผลที่จำเลยกระทำร้ายคู่วิวาทอีกฝ่ายหนึ่งไม่ถึงบาดเจ็บ เมื่อโจทก์ไม่ได้ขอให้ลงโทษจำเลยตามมาตรา 335(6) มาด้วยจะลงโทษตามมาตรานี้ไม่ได้ เพราะเป็นความผิดคนละประเภทและบทบัญญัติความผิดก็คนละหมวดหมู่กัน ถือได้ว่าโจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ
รายงานชันสูตรบาดแผลท้ายฟ้องย่อมเป็นส่วนหนึ่งของฟ้องเมื่อจำเลยรับสารภาพว่าได้กระทำผิดดังฟ้องโจทก์ทุกข้อหา แต่รายงานชันสูตรบาดแผลผู้ถูกทำร้ายเพียงฟกช้ำเท่านั้น ยังไม่ถึงเกณฑ์บาดเจ็บจะลงโทษตาม มาตรา 254 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1178/2499

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขกฎหมายอาญาและการลงโทษตามบทบัญญัติที่แก้ไข ศาลไม่ถือว่าเป็นการนอกฟ้อง
การที่ฟ้องของโจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยตาม มาตรา 104 และศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ก็พิพากษาลงโทษจำเลยตามมาตราที่ฟ้อง แต่ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์อ้างพระราชบัญญัติที่แก้ไขมาตราที่กล่าวมานั้นต่างกันเช่นนี้หาใช่เป็นการตัดสินนอกฟ้องไม่ เพราะบทบัญญัติของการแก้ไขแต่ละคราวก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของมาตราเดิมนั่นเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 635/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการลงโทษตามบทบัญญัติที่อยู่ในหมวดความผิดเดียวกัน แม้โจทก์มิได้ขอให้ลงโทษตามบทนั้นโดยตรง
โจทก์ฟ้องว่า+ขอให้ลงโทษจำเลยตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 249,60, ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยทำร้ายร่างกายบาดเจ็บ ศาลก็ลงโทษจำเลยตามมาตรา 254 ได้ตาม ป.ม.วิ.อาญามาตรา 192 วรรคท้าย ไม่เกินคำขอ ( อ้างฎีกาที่ 971/2494 )

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 195/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดอำนาจศาล: ศาลลงโทษทันทีได้ไม่ต้องสอบสวน หากใช้บทบัญญัติ ป.ม.วิ.แพ่งมาตรา 31, 33
การหมิ่นประมาทศาลในเวลาพิจารณาคดีนั้น เมื่อศาลมีคำสั่งลงโทษฐานละเมิดอำนาจศาลตาม ป.ม.วิ.แพ่งมาตรา 31,33 เท่านั้นก็ไม่จำต้องสอบสวนก่อน ศาลลงโทษไปได้ทันที ทีเดียวได้
กรณีละเมิดอำนาจศาลนั้นป.ม.วิ.อาญามิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะฉะนั้นโดยอาศัย ป.ม.วิ.อาญามาตรา 15 จึงนำบทบัญญัติ ป.ม.วิ.แพ่งมาตรา 31,33,ว่าด้วยละเมิดอำนาจศาลมาใช้บังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 729/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องทำร้ายร่างกาย: ศาลใช้บทบัญญัติมาตรา 258 แม้ฟ้องไม่ระบุ หากพิจารณาได้ความจริง
ฟ้องใช้ถ้อยคำว่า "จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ฝ่ายหนึ่ง กับจำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 4 อีกฝ่ายหนึ่ง ต่างสมัครใจเข้า
วิวาทต่อสู้ทำร้ายร่างกาย ซึ่งกันและกัน โดยจำเลยที่ 1 - 2 สมคบกันใช้เหล็กแหลมแทงทำร้ายจำเลยที่ 3 บาดเจ็บสา หัส จำเลยที่ 3 -4 สมคบกันใช้กำลังชกต่อยทำร้ายจำเลยที่ 1 - 2 ถึงบาดเจ็บทุพพลภาพ" ขอให้ลงโทษตาม ก.ม.
ลักษณะอาญามาตรา 254, 256, นั้น ย่อมถือได้ว่า มีข้อหาว่าจำเลยทำผิดตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 258 ด้วย แม้ ท้ายฟ้องไม่ระบุมาตรา 258 ถ้าทางพิจารณาได้ความจริง ก็ใช้มาตรา 258 ลงแก่จำเลยได้./

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 653/2496

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานขายเครื่องชั่งตวงวัดโดยไม่ได้รับอาชญาบัตรและบทบัญญัติมาตรา 30 ที่เกี่ยวข้อง
ความผิดสำหรับผู้ไม่ได้รับอาชญาบัตรให้เป็นผู้ขายและได้ขายเครื่องชั่งเครื่องตวงเครื่องวัดผิดกฎหมายนั้นบัญญัติไว้แล้วในมาตรา 29ส่วนในมาตรา 30 หมายถึงความผิดสำหรับผู้ใดผู้หนึ่งซึ่งได้รับอาชญาบัตรให้เป็นผู้ขายและได้ขายเครื่องชั่งเครื่องตวงเครื่องวัด ผิดกฎหมาย
of 10