คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
บริษัท

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 286 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 48/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งเอกสารทางไปรษณีย์โดยชอบต่อบริษัท ที่มีบริษัทแม่มอบหมายให้บริษัทอื่นดูแลและใช้พนักงานร่วมกัน
โจทก์ประกอบพาณิชยกิจในประเทศไทย โดยมีสำนักงานอยู่ที่อาคารเลขที่ 2160 แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร และใช้อาคารเลขที่ดังกล่าวเป็นสำนักงานประกอบพาณิชยกิจตลอดมาจนถึงปัจจุบัน ดังนั้น การที่จำเลยส่งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไปยังที่อยู่ของโจทก์ตามอาคารเลขที่ดังที่ระบุไว้ดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นการส่งโดยชอบแล้ว
โจทก์เป็นบริษัทในเครือของบริษัท อ.แต่โจทก์ยังมีพนักงานไม่ครบสมบูรณ์ บริษัทแม่ในประเทศอังกฤษจึงมอบหมายให้บริษัท อ.เป็นผู้ดูแล การที่โจทก์ใช้พนักงานของบริษัท อ.มาโดยตลอดในการปฏิบัติงานจนเป็นปกติ ถือได้ว่าโจทก์ได้ใช้หรือยอมรับเอาพนักงานของบริษัท อ.เป็นผู้ดำเนินงานเสมือนหนึ่งว่าบุคคลเหล่านั้นเป็นพนักงานของโจทก์เอง ฉะนั้นการที่พนักงานไปรษณีย์ส่งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้โจทก์ที่อาคารเลขที่ 2160 ดังกล่าว โดยมี ค.พนักงานของบริษัท อ.เป็นผู้รับเอกสารดังกล่าวไว้แทน จึงถือได้ว่าเป็นการส่งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้แก่บุคคลซึ่งอยู่หรือทำงานในบ้านหรือสำนักงานที่ปรากฏว่าเป็นของโจทก์แล้ว จึงเป็นการส่งโดยชอบตาม ป.รัษฎากร มาตรา 8

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4530/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของผู้ถือหุ้น: กรณีบริษัทไม่ดำเนินการเรียกทรัพย์สินคืนจากผู้จัดการมรดก
โจทก์กล่าวมาในฟ้องแต่เพียงว่าตั้งแต่ ป.ถึงแก่ความตายจนถึงปัจจุบันนี้ ยังไม่มีกรรมการบริษัทหรือผู้ถือหุ้นได้เรียกให้ผู้จัดการมรดกของ ป.ส่งทรัพย์สินต่าง ๆ คืนให้แก่บริษัท ตามคำฟ้องและทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏว่าบริษัทไม่ยอมฟ้องร้องแต่อย่างใด โจทก์ในฐานะผู้ถือหุ้นจะยกคดีขึ้นว่ากล่าวหาได้ไม่โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4530/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องผู้ถือหุ้น: กรณีบริษัทไม่ฟ้องเอง ผู้ถือหุ้นฟ้องแทนทำได้หรือไม่
โจทก์กล่าวมาในฟ้องแต่เพียงว่าตั้งแต่ ป. ถึงแก่ความตายจนถึงปัจจุบันนี้ ยังไม่มีกรรมการบริษัทหรือผู้ถือหุ้นได้เรียกให้ ผู้จัดการมรดกของ ป. ส่งทรัพย์สินต่าง ๆ คืนให้แก่บริษัทตามคำฟ้องและทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏว่าบริษัทไม่ยอมฟ้องร้องแต่อย่างใด โจทก์ในฐานะผู้ถือหุ้นจะยกคดีขึ้นว่ากล่าวหาได้ไม่โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4530/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของผู้ถือหุ้น: กรณีบริษัทไม่ฟ้องกรรมการที่ทำให้เกิดความเสียหาย
โจทก์กล่าวมาในฟ้องแต่เพียงว่าตั้งแต่ ป. ถึงแก่ความตายจนถึงปัจจุบันนี้ ยังไม่มีกรรมการบริษัทหรือผู้ถือหุ้นได้เรียกให้ผู้จัดการมรดกของ ป.ส่งทรัพย์สินต่าง ๆ คืนให้แก่บริษัทตามคำฟ้องและทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏว่าบริษัทไม่ยอมฟ้องร้องแต่อย่างใด โจทก์ในฐานะผู้ถือหุ้นจะยกคดีขึ้นว่ากล่าวหาได้ไม่โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6905/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขาดแรงงาน: อำนาจฟ้องของบิดามารดาเมื่อบุตรช่วยเหลือการดำเนินงานบริษัท
ค่าขาดแรงงานนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 445ประกอบมาตรา 1567(1),(3) หากบิดาหรือมารดาซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองได้มอบหน้าที่ให้บุตรทำการงานอันใดอันหนึ่งในครัวเรือนแล้วปรากฏว่ามีบุคคลใดทำละเมิดต่อบุตรซึ่งมีความผูกพันตามกฎหมายที่จะต้องทำการงานให้แก่บิดามารดาจนถึงแก่ความตาย ผู้ทำละเมิดจะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนคือค่าขาดแรงงานในครัวเรือนให้แก่บิดามารดาที่ต้องขาดแรงงานอันนั้นด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3825/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมการบริษัทต้องรับผิดในฐานะผู้แทนของบริษัท ไม่ใช่ฐานะส่วนตัว แม้ทุนจดทะเบียนน้อยกว่ามูลค่างาน
จำเลยที่1จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายแล้วจำเลยที่1ย่อมมีสิทธิและหน้าที่ต่างๆต้องตามบทบัญญัติทั้งปวงแห่งกฎหมายภายในของวัตถุที่ประสงค์ของจำเลยที่1ดั่งมีกำหนดไว้ในข้อบังคับหรือตราสารจัดตั้งจำเลยที่1ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา69เดิมที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้และตามมาตรา75เดิมบัญญัติว่าอันความประสงค์ของนิติบุคคลย่อมแสดงปรากฎจากผู้แทนทั้งหลายของนิติบุคคลนั้นเมื่อจำเลยที่2และที่4เป็นกรรมการของจำเลยที่1จึงเป็นผู้แทนที่ดำเนินการหรือแสดงความประสงค์ของจำเลยที่1การที่จำเลยที่2ในฐานะกรรมการของจำเลยที่1ได้ลงลายมือชื่อในสัญญาว่าจ้างหรือจำเลยที่4ในฐานะกรรมการของจำเลยที่1มอบหมายให้จำเลยที่3ลงลายมือชื่อแทนจำเลยที่4ในสัญญาว่าจ้างโจทก์ก็ดีก็เป็นการกระทำในฐานะเป็นผู้แทนของจำเลยที่1ซึ่งเป็นนิติบุคคลจำเลยที่1ได้รับผลงานจากการจ้างที่จำเลยที่2และที่4ได้ลงลายมือชื่อเป็นผู้ว่าจ้างก็ดีลงลายมือชื่อในเอกสารยอมรับชำระหนี้ให้แก่โจทก์ก็ดีหรือจำเลยที่4ลงลายมือชื่อรับรองยอดหนี้ของจำเลยที่1ก็ดีตลอดจนที่จำเลยที่4ลงลายมือชื่อรับมอบงวดงานตามเอกสารต่างๆก็ดีแม้มิได้ระบุว่ากระทำการแทนจำเลยที่1ก็พึงเห็นได้ว่าจำเลยที่2และที่4กระทำการในฐานะเป็นกรรมการหรือผู้แทนของจำเลยที่1นั่นเองและแม้ทุนจดทะเบียนของจำเลยที่1จะมีน้อยกว่าการงานที่จำเลยที่1ว่าจ้างโจทก์แต่ก็ได้ความว่าหากขาดเงินทุนหมุนเวียนจำเลยที่1ก็จะไปขอสินเชื่อจากธนาคารนอกจากนี้ตามสัญญาว่าจ้างจำเลยที่1เป็นผู้ว่าจ้างโจทก์ไม่มีข้อความที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่2และที่4ว่าจ้างโจทก์ในฐานะส่วนตัวแต่อย่างใดจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่2และที่4ว่าจ้างโจทก์ในฐานะส่วนตัวด้วยจำเลยที่2และที่4ซี่งเป็นกรรมการของจำเลยที่1จึงหาจำต้องรับผิดในฐานะส่วนตัวร่วมกับจำเลยที่1ต่อโจทก์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3775/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจกรรมการหลังการเปลี่ยนแปลงกรรมการและการกระทำโดยชอบด้วยกฎหมายของกรรมการ
เมื่อที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นมีมติถอน ว. และแต่งตั้งจำเลยที่6เป็นกรรมการมีอำนาจทำการแทนบริษัทและศาลยังมิได้พิพากษาเพิกถอนตามที่ ว. ยื่นฟ้องขอเพิกถอนมติดังกล่าวก็ต้องถือว่าจำเลยที่6เป็นกรรมการมีอำนาจทำการแทนบริษัทและมีอำนาจเอาห้องพิพาทของบริษัทที่ ว. เคยอนุญาตให้โจทก์เข้าไปอยู่แต่ได้ย้ายออกไปแล้วไปให้ ส. เช่าได้และเมื่อโจทก์ไม่ยอมขนย้ายทรัพย์สินของโจทก์ตามที่จำเลยที่6ได้มีหนังสือให้โจทก์ขนย้ายออกไปการที่จำเลยที่6สั่งให้จำเลยที่1ถึงที่4ขนย้ายทรัพย์สินดังกล่าวทั้งได้ขอร้องให้จำเลยที่5ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจมาเป็นพยานจึงเป็นการกระทำโดยไม่มีเจตนาบุกรุกทำให้ทรัพย์สินของโจทก์เสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3269/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมการล้มละลายหมดอำนาจลงนามในฐานะกรรมการของบริษัท
จำเลยที่ 2 ถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายเมื่อวันที่17 มีนาคม 2530 และคดีถึงที่สุดแล้ว เมื่อจำเลยที่ 2 ตกเป็นบุคคลล้มละลายจำเลยที่ 2 ในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ก็ต้องเป็นอันขาดจากตำแหน่งกรรมการจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1154 การที่จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อและประทับตราจำเลยที่ 1 แต่งตั้งทนายความไปยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นภายหลังจากเป็นบุคคลล้มละลายแล้ว เพื่อขอให้ยกเลิกการขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3269/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมการล้มละลายขาดอำนาจลงนามในคำร้อง แม้เป็นกรรมการของบริษัทผู้ร้อง
จำเลยที่2ถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายเมื่อวันที่17มีนาคม2530และคดีถึงที่สุดแล้วเมื่อจำเลยที่2ตกเป็นบุคคลล้มละลายจำเลยที่2ในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่1ก็ต้องเป็นอันขาดจากตำแหน่งกรรมการจำเลยที่1ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1154การที่จำเลยที่2ลงลายมือชื่อและประทับตราจำเลยที่1แต่งตั้งทนายความไปยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นภายหลังจากเป็นบุคคลล้มละลายแล้วเพื่อขอให้ยกเลิกการขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยที่1จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2531/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนหุ้นและการรับผิดชอบค่าหุ้นค้างชำระ กรณีผู้รับโอนเป็นกรรมการบริษัท
การโอนหุ้นชนิดระบุชื่อลงในใบหุ้นที่ยังไม่ได้จดแจ้งการโอนลงในทะเบียนผู้ถือหุ้นจะนำมาใช้ยันแก่บริษัทไม่ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1129 วรรคสามนั้น หมายถึงกรณีที่ผู้โอนและผู้รับโอนโอนหุ้นกันเองโดยบริษัทมิได้ร่วมรู้เห็นอยู่ด้วยกฎหมายจึงบัญญัติให้ถือตามที่ปรากฏอยู่ในทะเบียนผู้ถือหุ้น
ขณะโอนขายหุ้นกัน ส. ผู้รับโอนเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลย แม้ ส. จะรับโอนหุ้นไว้ในฐานะส่วนตัวก็ต้องถือว่าบริษัทจำเลยร่วมรู้เห็นและยินยอมให้มีการโอนหุ้นแล้ว บริษัทจำเลยจึงมีหน้าที่ต้องดำเนินการจดแจ้งการโอนลงในทะเบียนผู้ถือหุ้นโดยไม่จำต้องให้ผู้โอนหรือผู้รับโอนคนหนึ่งคนใดแจ้งให้ดำเนินการอีก การที่บริษัทจำเลยไม่ดำเนินการจดแจ้งการโอนลงในทะเบียนผู้ถือหุ้นจึงเป็นความผิดของบริษัทจำเลยเอง นอกจากนี้ยังเป็นที่เห็นได้ว่า การที่บริษัทจำเลยมีหน้าที่จดแจ้งการโอนลงในทะเบียนผู้ถือหุ้นแต่กลับละเลยเพิกเฉยไม่จดแจ้งการโอนแล้วจะกลับมายกเหตุที่ไม่มีการจดแจ้งการโอนขึ้นเป็นข้ออ้างเพื่อให้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้โอนรับผิดเช่นนี้ย่อมเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 5 อีกด้วย บริษัทจำเลยหรือผู้คัดค้านจะเรียกให้ผู้ร้องชำระเงินค่าหุ้นที่ยังค้างชำระโดยอ้างเหตุว่าการโอนหุ้นไม่สมบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1129 วรรคสาม ไม่ได้
ป.พ.พ. มาตรา 1133 เกี่ยวกับความรับผิดของผู้โอนหุ้นสำหรับจำนวนเงินที่ยังส่งใช้ไม่ครบตามมูลค่าของหุ้นที่โอนนั้น หมายถึงความรับผิดต่อเจ้าหนี้ของบริษัทที่ผู้โอนเคยถือหุ้นอยู่ หาได้หมายถึงว่าผู้โอนยังจะต้องรับผิดต่อบริษัทในเงินค่าหุ้นซึ่งตนยังส่งใช้ไม่ครบแม้จะได้โอนหุ้นดังกล่าวไปแล้วแต่อย่างใดไม่ ดังจะเห็นได้จากบทบัญญัติใน (1) และ (2) ที่ให้รับผิดเฉพาะในหนี้ของบริษัทซึ่งได้ก่อให้เกิดขึ้นก่อนโอน และให้รับผิดต่อเมื่อผู้ที่ยังถือหุ้นอยู่นั้นไม่สามารถออกส่วนใช้หนี้อันเขาจะพึงต้องออกใช้นั้นได้ ซึ่งแสดงถึงความเกี่ยวพันระหว่างเจ้าหนี้ของบริษัทกับผู้ถือหุ้นของบริษัทโดยเฉพาะ ฉะนั้นคดีนี้จึงไม่ใช่กรณีที่บริษัทจำเลยมีสิทธิเรียกร้องให้ผู้ร้องชำระเงินค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบ อันผู้คัดค้านจะเรียกให้ผู้ร้องชำระเงินแก่ผู้คัดค้านตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 119 ได้
of 29