พบผลลัพธ์ทั้งหมด 108 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 674/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความและสิทธิอาศัย: ศาลไม่อาจบังคับสิทธิเกินขอบเขตที่ตกลงกันไว้
เมื่อโจทก์จำเลยได้ประนีประนอมยอมความกันและศาลพิพากษาตามยอมไปแล้ว ถ้าจำเลยขัดขวางไม่ยอมปฏิบัติตามข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์ก็ชอบที่จะขอให้ศาลบังคับจำเลยให้ปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอมในคดีเดิม จะนำคดีเรื่องเดียวกันที่ศาลชี้ขาดแล้วมาฟ้องขอให้ศาลบังคับเป็นอีกคดีหนึ่งโดยอ้างเหตุว่าจำเลยขัดขวาง ไม่ยอมปฏิบัติตามคำพิพากษาในคดีเดิม ซึ่งยังมีผลบังคับได้อยู่ ย่อมไม่เป็นการถูกต้อง ส่วนการที่โจทก์จำเลยได้ทำสัญญากันเองนอกเหนือจากสัญญาประนีประนอมยอมความอีกนั้น เมื่อโจทก์มาฟ้องเป็นคดีใหม่ อ้างว่าจำเลยผิดสัญญาประนีประนอมยอมความและผิดข้อตกลงตามสัญญาที่ทำกันเอง เรื่องผิดสัญญาประนีประนอมยอมความหรือไม่อย่างไร เป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันในคดีเดิม ศาลย่อมวินิจฉัยให้ในคดีหลังเฉพาะในข้อที่ว่าจำเลยผิดสัญญาที่ทำกันเองหรือไม่ และจะบังคับตามคำขอของโจทก์ได้หรือไม่เท่านั้น
โจทก์จดทะเบียนสิทธิอาศัยและภารติดพันในอสังหาริมทรัพย์ให้แก่จำเลยตามสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว จำเลยจึงเป็นผู้ทรงทรัพย์สิทธินั้นโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1406 ได้บัญญัติให้สิทธิแก่ผู้อาศัยไว้ว่า ถ้าผู้ให้อาศัยมิได้ห้ามไว้โดยชัดแจ้ง ผู้อาศัยจะเก็บดอกผลธรรมดาหรือผลแห่งที่ดินมาใช้เพียงที่จำเป็นแก่ความต้องการของครัวเรือนก็ได้ และมาตรา 1429 บัญญัติว่าอสังหาริมทรัพย์อาจตกอยู่ในภาระติดพันอันเป็นเหตุให้ผู้รับประโยชน์มีสิทธิ ฯลฯ ได้ใช้และถือเอาซึ่งประโยชน์แห่งทรัพย์สินตามที่ระบุไว้ ในเรื่องนี้โจทก์ได้จดทะเบียนภารติดพันในอสังหาริมทรัพย์ไว้ว่า โจทก์ตกลงยินยอมให้จำเลยอาศัยและทำกินในที่ดินพิพาทได้ตลอดชีวิต เมื่อโจทก์มิได้ตั้งรูปคดีที่จะฟ้องขอเพิกถอนสิทธิอาศัยและสิทธิภารติดพันในอสังหาริมทรัพย์ หรือฟ้องโดยอาศัยบทบัญญัติต่าง ๆ ในมาตรา 1409 ศาลก็จะบังคับตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยส่งมอบอาคารในบริเวณที่ดินที่จำลยอาศัยให้แกโจทก์และห้ามมิให้จำเลยเกี่ยวข้องกับอาคารดังกล่าวหาได้ไม่
โจทก์จดทะเบียนสิทธิอาศัยและภารติดพันในอสังหาริมทรัพย์ให้แก่จำเลยตามสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว จำเลยจึงเป็นผู้ทรงทรัพย์สิทธินั้นโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1406 ได้บัญญัติให้สิทธิแก่ผู้อาศัยไว้ว่า ถ้าผู้ให้อาศัยมิได้ห้ามไว้โดยชัดแจ้ง ผู้อาศัยจะเก็บดอกผลธรรมดาหรือผลแห่งที่ดินมาใช้เพียงที่จำเป็นแก่ความต้องการของครัวเรือนก็ได้ และมาตรา 1429 บัญญัติว่าอสังหาริมทรัพย์อาจตกอยู่ในภาระติดพันอันเป็นเหตุให้ผู้รับประโยชน์มีสิทธิ ฯลฯ ได้ใช้และถือเอาซึ่งประโยชน์แห่งทรัพย์สินตามที่ระบุไว้ ในเรื่องนี้โจทก์ได้จดทะเบียนภารติดพันในอสังหาริมทรัพย์ไว้ว่า โจทก์ตกลงยินยอมให้จำเลยอาศัยและทำกินในที่ดินพิพาทได้ตลอดชีวิต เมื่อโจทก์มิได้ตั้งรูปคดีที่จะฟ้องขอเพิกถอนสิทธิอาศัยและสิทธิภารติดพันในอสังหาริมทรัพย์ หรือฟ้องโดยอาศัยบทบัญญัติต่าง ๆ ในมาตรา 1409 ศาลก็จะบังคับตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยส่งมอบอาคารในบริเวณที่ดินที่จำลยอาศัยให้แกโจทก์และห้ามมิให้จำเลยเกี่ยวข้องกับอาคารดังกล่าวหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 152/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความผิดนัดชำระหนี้ การบังคับตามสัญญา และผลของการผิดนัด
โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับค่าเสียหายไว้ว่าต้องเสียเงินเพื่อเป็นค่าทำศพ 10,000 บาท ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม ส่วนค่าทำศพจะมีอะไรบ้าง จำนวนเงินเท่าใดเป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องนำสืบในชั้นพิจารณา
เมื่อลูกจ้างของจำเลยขับรถด้วยความประมาทแล้ว แม้ผู้ขับรถคันที่ผู้ตายโดยสารมาจะประมาทด้วยก็ตาม จำเลยก็จะยกขึ้นอ้างเพื่อให้ความรับผิดในความเสียหายของจำเลยลดลงหาได้ไม่
เมื่อลูกจ้างของจำเลยขับรถด้วยความประมาทแล้ว แม้ผู้ขับรถคันที่ผู้ตายโดยสารมาจะประมาทด้วยก็ตาม จำเลยก็จะยกขึ้นอ้างเพื่อให้ความรับผิดในความเสียหายของจำเลยลดลงหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 149/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความผิดนัดชำระหนี้ ศาลสั่งโอนที่ดินได้ตามสัญญา
สัญญาประนีประนอมยอมความมีความว่า จำเลยจะผ่อนชำระเงินให้โจทก์เป็นงวด ๆ ละ 3 เดือน โดยให้จำเลยชำระงวดที่สองนับแต่วันที่ชำระงวดแรก ปรากฏว่าจำเลยได้ชำระเงินงวดแรกในวันที่ 20 สิงหาคม 2512 จำเลยจึงต้องชำระเงินงวดที่สองให้โจทก์ในวันที่ 20 พฤศจิกายน 2512 และชำระเงินงวดที่สามในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2513 เมื่อจำเลยไม่ชำระเงินตามเวลาดังกล่าว ก็ต้องถือว่าจำเลยผิดสัญญา
สัญญาประนีประนอมยอมความมีความต่อไปว่า ถ้าจำเลยผิดนัดชำระเงินตั้งแต่งวดที่สอง สองงวดติดกัน ให้โจทก์ริบเอาที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นกรรมสิทธิ์ของโจกท์ได้ทันที และจำเลยต้องไปโอนใน 3 วัน ถ้าไม่ไปก็ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย เช่นนี้ เห็นได้ว่า กำหนดเวลาที่จำเลยจะต้องโอนที่ดินดังกล่าวได้ล่วงพ้นมาตั้งแต่วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2513 จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดนัดผิดสัญญาตามสัญญาประนีประนอมยอมความในข้อนี้อีกด้วย เมื่อศาลฎีกาไม่อนุญาตให้จำเลยทุเลาการบังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินโอนที่ดินให้แก่โจทก์ได้ หาใช่จะต้องมาเริ่มนับเวลาชำระหนี้กันใหม่ตั้งแต่วันถัดจากวันที่จำเลยฟังคำสั่งของศาลฎีกาที่ไม่อนุญาตให้จำเลยทุเลาการบังคับไม่ เพราะการให้ทุเลาการบังคับ เป็นเรื่องรอการบังคับไว้จนกว่าศาลจะพิพากษา เป็นคนละเรื่องกันกับกำหนดเวลาชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ศาลได้มีคำพิพากษาและมีคำบังคับตามยอมแล้ว
สัญญาประนีประนอมยอมความมีความต่อไปว่า ถ้าจำเลยผิดนัดชำระเงินตั้งแต่งวดที่สอง สองงวดติดกัน ให้โจทก์ริบเอาที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นกรรมสิทธิ์ของโจกท์ได้ทันที และจำเลยต้องไปโอนใน 3 วัน ถ้าไม่ไปก็ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย เช่นนี้ เห็นได้ว่า กำหนดเวลาที่จำเลยจะต้องโอนที่ดินดังกล่าวได้ล่วงพ้นมาตั้งแต่วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2513 จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดนัดผิดสัญญาตามสัญญาประนีประนอมยอมความในข้อนี้อีกด้วย เมื่อศาลฎีกาไม่อนุญาตให้จำเลยทุเลาการบังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินโอนที่ดินให้แก่โจทก์ได้ หาใช่จะต้องมาเริ่มนับเวลาชำระหนี้กันใหม่ตั้งแต่วันถัดจากวันที่จำเลยฟังคำสั่งของศาลฎีกาที่ไม่อนุญาตให้จำเลยทุเลาการบังคับไม่ เพราะการให้ทุเลาการบังคับ เป็นเรื่องรอการบังคับไว้จนกว่าศาลจะพิพากษา เป็นคนละเรื่องกันกับกำหนดเวลาชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ศาลได้มีคำพิพากษาและมีคำบังคับตามยอมแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 525/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาแท้จริงในสัญญายอมความ ศาลมีอำนาจบังคับตามเจตนาแม้ข้อความในสัญญาไม่ชัดเจน
ในกรณีที่คู่ความได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความไว้ต่อศาลเมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับข้อตกลงในสัญญาว่ามีความหมายตามเจตนาที่แท้จริงของคู่สัญญาอย่างไร ศาลมีอำนาจไต่สวนข้อเท็จจริงเพื่อตีความให้เป็นไปตามเจตนาที่แท้จริงของคู่สัญญา
ข้อความในสัญญายอมความ ซึ่งคู่สัญญาตกลงแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างกัน ระบุให้ห้องแถวไม้สองชั้น 10 ห้องเป็นของจำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 2 อ้างว่าข้อความดังกล่าวพิมพ์ตกคำว่า "พร้อมด้วยที่ดิน" ซึ่งตามเจตนาแท้จริงของคู่สัญญาหมายรวมถึงที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งของห้องแถวนั้นด้วย เมื่อศาลเห็นว่า ตามเจตนาที่แท้จริงของคู่สัญญาหมายถึงห้องแถวดังกล่าวพร้อมด้วยที่ดินแล้วก็มีอำนาจบังคับคดีให้เป็นไปตามนั้น
ข้อความในสัญญายอมความ ซึ่งคู่สัญญาตกลงแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างกัน ระบุให้ห้องแถวไม้สองชั้น 10 ห้องเป็นของจำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 2 อ้างว่าข้อความดังกล่าวพิมพ์ตกคำว่า "พร้อมด้วยที่ดิน" ซึ่งตามเจตนาแท้จริงของคู่สัญญาหมายรวมถึงที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งของห้องแถวนั้นด้วย เมื่อศาลเห็นว่า ตามเจตนาที่แท้จริงของคู่สัญญาหมายถึงห้องแถวดังกล่าวพร้อมด้วยที่ดินแล้วก็มีอำนาจบังคับคดีให้เป็นไปตามนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2510/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความ: สิทธิในบ้านต้องฟ้องใหม่หากไม่ได้ระบุในสัญญา
ตามสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสามซึ่งศาลได้พิพากษาตามยอมไปแล้ว ไม่ปรากฏว่ามีบ้านของจำเลยที่ 2ปลูกอยู่ในที่ดินที่ตกลงแบ่งให้จำเลยที่ 3 และมีข้อตกลงให้จำเลยที่ 2รื้อไปได้ การที่จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องอ้างว่ามีบ้านของตนอยู่ในที่ดินนั้นและจะรื้อไป แต่จำเลยที่ 3 ขัดขวาง จึงขอให้ศาลห้ามนั้น เป็นการร้องขอนอกเหนือจากสัญญาประนีประนอมยอมความ หากจำเลยที่ 2จะมีสิทธิในบ้านดังกล่าวประการใด และจำเลยที่ 3 กระทำการขัดขวางอันเป็นการโต้แย้งสิทธิ จำเลยที่ 2 ก็ชอบที่จะต้องฟ้องร้องเป็นคดีใหม่จะร้องขอให้ศาลบังคับในคดีเดิมหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 825/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความมีเงื่อนไข สัญญาต่างตอบแทน การชำระหนี้เป็นเงื่อนไขก่อนบังคับตามสัญญา
โจทก์จำเลยทำสัญญาแบ่งที่ดินมรดกโดยจำเลยยอมแบ่งให้โจทก์เพื่อไม่ต้องเป็นความกัน ดังนี้ เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ใช่สัญญายกให้โดยเสน่หา
ข้อความในสัญญามีว่าโจทก์จะต้องแบ่งครึ่งหนึ่งของที่ดินที่ได้รับให้แก่บุตรโจทก์ด้วยแล้วลงลายมือชื่อโจทก์ จำเลย พยาน และผู้เขียน แต่โจทก์จำเลยยังตกลงกันอีกด้วยว่า บุตรของโจทก์จะต้องเสียเงิน 2,000 บาทให้แก่จำเลย จำเลยจึงจะโอนที่ดินให้และบอกให้ผู้เขียนสัญญาเขียนข้อตกลงนี้ลงในสัญญาในขณะนั้นเองผู้เขียนจึงเขียนข้อตกลงนี้ไว้ใต้ลายมือชื่อที่ได้ลงกันไว้นั้น แล้วผู้เขียนลงลายมือชื่อกำกับข้อความตอนท้ายนี้ไว้คนเดียว ดังนี้ ก็ต้องถือว่าข้อความตอนท้ายนี้เป็นส่วนหนึ่งของสัญญาประนีประนอมยอมความ และสัญญานี้มีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนด้วย ตราบใดที่ฝ่ายโจทก์ยังไม่ได้ปฏิบัติการชำระหนี้.โดยให้เงินแก่จำเลย 2,000 บาทโจทก์ก็จะฟ้องบังคับให้จำเลยโอนที่ดินให้โจทก์ยังไม่ได้
ข้อความในสัญญามีว่าโจทก์จะต้องแบ่งครึ่งหนึ่งของที่ดินที่ได้รับให้แก่บุตรโจทก์ด้วยแล้วลงลายมือชื่อโจทก์ จำเลย พยาน และผู้เขียน แต่โจทก์จำเลยยังตกลงกันอีกด้วยว่า บุตรของโจทก์จะต้องเสียเงิน 2,000 บาทให้แก่จำเลย จำเลยจึงจะโอนที่ดินให้และบอกให้ผู้เขียนสัญญาเขียนข้อตกลงนี้ลงในสัญญาในขณะนั้นเองผู้เขียนจึงเขียนข้อตกลงนี้ไว้ใต้ลายมือชื่อที่ได้ลงกันไว้นั้น แล้วผู้เขียนลงลายมือชื่อกำกับข้อความตอนท้ายนี้ไว้คนเดียว ดังนี้ ก็ต้องถือว่าข้อความตอนท้ายนี้เป็นส่วนหนึ่งของสัญญาประนีประนอมยอมความ และสัญญานี้มีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนด้วย ตราบใดที่ฝ่ายโจทก์ยังไม่ได้ปฏิบัติการชำระหนี้.โดยให้เงินแก่จำเลย 2,000 บาทโจทก์ก็จะฟ้องบังคับให้จำเลยโอนที่ดินให้โจทก์ยังไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1898/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของการบอกเลิกสัญญาต่อการฟ้องขอให้บังคับตามสัญญาเดิม ศาลไม่ถือว่าสัญญาสิ้นสุดและไม่อาจบังคับให้รื้อถอนได้
ในคดีก่อน ศาลเพียงแต่ตรวจดูคำฟ้องแล้ววินิจฉัยในทำนองว่าเมื่อตามคำฟ้องมีความหมายเท่ากับโจทก์กล่าวไว้เองว่า โจทก์จำเลยไม่มีสัญญาต่อกันแล้ว ถ้าเป็นความจริงดังที่โจทก์กล่าวอ้างก็ไม่มีสัญญาอะไรที่โจทก์จะนำมาฟ้องขอให้ศาลสั่งเป็นโมฆะได้อีกส่วนที่โจทก์ขอให้จำเลยรื้อถอนเสาออกไปจากที่ของโจทก์นั้น ตามคำฟ้องก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้เคยบอกกล่าวให้จำเลยรื้อถอนและจำเลยขัดขืน จึงยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ อันจะเป็นเหตุให้ศาลบังคับจำเลยได้ แล้วพิพากษายกฟ้องคำพิพากษา ดังนี้ ไม่อาจถือได้ว่าศาลได้ฟังว่าสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยเลิกกันแล้ว ต่อมาโจทก์แจ้งให้จำเลยรื้อถอนเสา แล้วมาฟ้องเป็นคดีใหม่ ขอให้บังคับให้จำเลยรื้อถอนเสาออกจากที่ของโจทก์ โดยอาศัยผลแห่งคำพิพากษาในคดีก่อน ดังนี้ หาบังคับได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 286/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับตามคำพิพากษาตามยอม: จำเลยต้องปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมก่อน แม้จะรังวัดที่ดินแล้ว
โจทก์จำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อหน้าศาล ศาลได้พิพากษาคดีเสร็จเด็ดขาดและได้มีคำบังคับให้โจทก์จำเลยปฏิบัติสัญญานั้นแล้ว
ต่อมาโจทก์จำเลยต่อโต้เถียงกันว่าฝ่ายหนึ่งผิดสัญญา โดยโจทก์ว่าจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความไม่โอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทให้ จำเลยว่าโจทก์ไม่ไปรับโอนกรรมสิทธิ์ตามนัด ถือว่าโจทก์ผิดสัญญา จำเลยจึงไม่ยอมโอนกรรมสิทธิ์ได้จะโอนขายให้ผู้อื่นซึ่งให้ราคาสูงกว่า
ตามสัญญาจำเลยจะต้องทำการรังวัดให้ทราบเนื้อที่ให้แน่นอนและมีหน้าที่แบ่งแยกที่ดินพิพาทกับเจ้าของร่วมคนอื่นก่อน แล้วจึงจะโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์ได้ จำเลยยังไม่ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวนี้ จะถือว่าโจทก์ผิดสัญญาไม่ได้ โจทก์จึงคงมีสิทธิบังคับให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทตามคำพิพากษาตามยอมได้ บทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 388 เป็นบทใช้กับการเลิกสัญญา แต่กรณีนี้เป็นการบังคับตามคำพิพากษา
ต่อมาโจทก์จำเลยต่อโต้เถียงกันว่าฝ่ายหนึ่งผิดสัญญา โดยโจทก์ว่าจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความไม่โอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทให้ จำเลยว่าโจทก์ไม่ไปรับโอนกรรมสิทธิ์ตามนัด ถือว่าโจทก์ผิดสัญญา จำเลยจึงไม่ยอมโอนกรรมสิทธิ์ได้จะโอนขายให้ผู้อื่นซึ่งให้ราคาสูงกว่า
ตามสัญญาจำเลยจะต้องทำการรังวัดให้ทราบเนื้อที่ให้แน่นอนและมีหน้าที่แบ่งแยกที่ดินพิพาทกับเจ้าของร่วมคนอื่นก่อน แล้วจึงจะโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์ได้ จำเลยยังไม่ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวนี้ จะถือว่าโจทก์ผิดสัญญาไม่ได้ โจทก์จึงคงมีสิทธิบังคับให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทตามคำพิพากษาตามยอมได้ บทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 388 เป็นบทใช้กับการเลิกสัญญา แต่กรณีนี้เป็นการบังคับตามคำพิพากษา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 474/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องบังคับตามสัญญาซื้อขายที่ดิน เริ่มนับจากวันที่จำเลยโอนกรรมสิทธิ์และมอบที่ดินให้โจทก์ครอบครอง
จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนขายกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดที่ 2257 เนื้อที่ 6 ไร่ 45 วา ซึ่งแบ่งแยกจากที่ดินโฉนดที่ 13 ให้แก่บิดาโจทก์โดยใส่ชื่อโจทก์ เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2491 ต่อมาโจทก์ทราบว่าที่ดินที่โจทก์ครอบครองเป็นที่ดินโฉนดที่ 13 ที่เหลือมีเนื้อที่ 5 ไร่ 78 วา ไม่ใช่ที่ดินโฉนดที่ 2257 ส่วนที่ดินโฉนดที่ 2257 จำเลยที่ 1 เป็นผู้ครอบครองแล้วโอนขายให้แก่จำเลยที่ 2 ไป ดังนี้ แม้ที่ดินที่โจทก์เป็นเรื่องครอบครองที่ดินสับแปลงกัน ซึ่งโจทก์มีสิทธิฟ้องขอบังคับจำเลยก็ดี แต่โจทก์จะต้องจัดการฟ้องร้องบังคับจำเลยที่ 1 ให้ปฏิบัติตามสัญญาภายใน 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
จำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์และมอบที่ดินให้โจทก์ครอบครองตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม 2491 ฉะนั้น อายุความฟ้องร้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 17 มีนาคม 2491 เป็นต้นไป เพราะโจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้แล้ว ไม่ใช่นับแต่วันที่ 14 ตุลาคม 2506 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์รู้ว่าที่ดินที่โจทก์ครอบครองไม่ใช่ที่ดินโฉนดเลขที่ 2257 แต่โจทก์เพิ่งมาฟ้องขอให้บังคับจำเลยเมื่อวัน ที่ 27 พฤศจิกายน 2506 เป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี แล้วคดีโจทก์ขาดอายุความตามมาตรา 163
จำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์และมอบที่ดินให้โจทก์ครอบครองตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม 2491 ฉะนั้น อายุความฟ้องร้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 17 มีนาคม 2491 เป็นต้นไป เพราะโจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้แล้ว ไม่ใช่นับแต่วันที่ 14 ตุลาคม 2506 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์รู้ว่าที่ดินที่โจทก์ครอบครองไม่ใช่ที่ดินโฉนดเลขที่ 2257 แต่โจทก์เพิ่งมาฟ้องขอให้บังคับจำเลยเมื่อวัน ที่ 27 พฤศจิกายน 2506 เป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี แล้วคดีโจทก์ขาดอายุความตามมาตรา 163
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 305/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายนาที่พิพาทจากการชำระหนี้ การบังคับตามสัญญา
จำเลยกู้เงินมารดาโจทก์และน้องชายโจทก์ จำเลยตกลงยกนาให้มารดาโจทก์และน้องชายโจทก์ชำระหนี้แทนเงิน มารดาโจทก์และน้องชายโจทก์ยอมรับ แต่ให้จำเลยโอนนานั้นให้แก่โจทก์ จำเลยตกลง โจทก์จำเลยจึงได้ไปทำคำขอทำสัญญาซื้อขายนานั้นที่อำเภอ ดังนี้ถือได้ว่า โจทก์จำเลยได้ทำสัญญาจะซื้อขายนานั้นแล้ว โดยหักเงินที่จำเลยเป็นหนี้มารดาโจทก์และน้องชายโจทก์เป็นราคานานั้นเมื่อจำเลยไม่ยอมโอนขาย โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อขายนั้นได้