พบผลลัพธ์ทั้งหมด 71 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1218/2480
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ได้รับอนุญาตจำหน่ายฝิ่นเมื่อมีมูลฝิ่นเกินบัญชี โดยไม่มีข้อพิสูจน์ว่าไม่ใช่ของร้าน
ร้านจำหน่ายฝิ่นซึ่งมีมูลฝิ่นไว้เกินกว่าบัญชี เจ้าของผู้ได้รับอนุญาตต้องมีความผิดตาม ม . 57 (2) เมื่อนำสืบหักล้างไม่ได้ว่ามูลฝิ่นเกินบัญชีนั้นไม่ใช่ของร้านตน อ้างฎีกาที่ 920/2478
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 44/2478
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมีมูลฝิ่นเกินบัญชี แต่ไม่เกินปริมาณที่ควรมีตามกฎหมาย ไม่เป็นความผิด
จำเลยมีมูลฝิ่นเกินบัญชีประจำร้าน แต่ไม่เกินปริมาณอันควรมีตามบัญชี ไม่เป็นผิดตามกฎหมายข้างต้น พ.ร.บ.ฎีกาอุทธรณ์ ม.8
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 711/2475
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงื่อนไขบังคับก่อนในสัญญาประกันภัย: การส่งบัญชีสิ่งของเสียหายและขอบเขตความรับผิด
เงื่อนไขให้ลงบัญชีแสดง สิ่งของเสียหาย เป็นเงื่อนไขบังคับก่อน เอาประกันไฟสำหรับทรัพย์หลายชนิดในสัญญาฉบับเดียวกัน ผู้เอาประกันไฟส่งบัญชีให้ได้แต่ทรัพย์บางอย่างผู้+ประกันต้องรับผิดชอบต่อทรัพย์อื่น ๆ ที่ไม่มีบัญชีด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 740/2474
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ใหญ่บ้านไม่มีหน้าที่จดบัญชีสัตว์พาหนะ จึงไม่ถือเป็นความผิดตามกฎหมายอาญา
ผู้ใหญ่บ้านไม่มีหน้าที่จดบัญชีสัตว์พาหนะ พ.ร.บ.ปกครองท้องที่หน้าที่ผู้ใหญ่บ้าน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 630/2474
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานทุจริตบัญชีทรัพย์ของหลวง แม้มิได้อ้างบทลงโทษเฉพาะเจาะจง ศาลลงโทษได้ตามกฎหมาย
สมุดต้นขั้วใบเสร็จรับเงินของโรงพิมพ์กระทรวงธรรมการเป็นหนังสือราชการ
ฟ้องกล่าวความขัดแต่ไม่ได้อ้างบทลงโทษได้ (เทียบฎีกาที่ 571/71)
ฟ้องกล่าวความขัดแต่ไม่ได้อ้างบทลงโทษได้ (เทียบฎีกาที่ 571/71)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5046/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ: การลงข้อความเท็จในบัญชีและการปลอมแปลงเอกสารเพื่อหลอกลวงนักลงทุน
ตามฟ้องข้อ (ข) เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องว่า จำเลยลงข้อความเท็จในบัญชีและทำบัญชีไม่ถูกต้องกรณีบริษัท ส. ซื้อที่ดินจาก ป. ในราคา 580,500,000 บาท จำเลยได้สั่งจ่ายเช็คถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของบริษัท ส. จำนวน127,500,000 บาท โดยจำเลยบันทึกในบัญชีของบริษัทว่าได้ชำระเป็นค่าซื้อที่ดินให้แก่ ป. แล้ว อันเป็นความเท็จ ความจริงไม่มีการนำเงินจำนวนดังกล่าวไปชำระค่าซื้อที่ดินโดยโจทก์บรรยายฟ้องให้รายละเอียดชัดแจ้งถึงเส้นทางของเงินจำนวนดังกล่าวว่าได้โอนไปเข้าบัญชีของผู้ใด จำนวนกี่บัญชี บัญชีละเท่าใด และมีการโอนเงินจำนวนดังกล่าวออกจากบัญชีที่รับไว้ไปชำระหนี้ให้แก่ผู้ใดหรือนำเข้าบัญชีของใคร จำนวนเท่าใด และเมื่อไร จึงเป็นการบรรยายฟ้องถึงการกระทำทั้งหลายของจำเลยที่อ้างว่าได้กระทำความผิดให้เข้าใจได้ว่าจำเลยลงข้อความเท็จหรือทำบัญชีไม่ถูกต้องอย่างไร ส่วนการบันทึกบัญชีอันเป็นเท็จจะหมายถึงบัญชีใด อยู่ในเอกสารใด รายละเอียดของข้อความที่ลงไว้อย่างไร แม้ไม่ได้บรรยายไว้ก็ไม่ทำให้ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมเพราะเป็นรายละเอียดที่โจทก์นำสืบได้ในชั้นพิจารณา คำฟ้องโจทก์ในข้อ (ข) จึงไม่เคลือบคลุม ส่วนคำฟ้องข้อ (ค) และ (ง) เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยลงข้อความเท็จในบัญชีและทำบัญชีไม่ถูกต้องกรณีบริษัท ป. และบริษัท ฟ. ทำสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดในโครงการจัดสรรของบริษัท ส. โดยโจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทำปลอมสัญญาจะซื้อจะขายว่าทั้งสองบริษัทดังกล่าวเป็นคู่สัญญาผู้จะซื้อกับบริษัท ส. ผู้จะขาย และตกแต่งลงข้อความเท็จในบัญชีว่าผู้จะซื้อดังกล่าวได้ผ่อนชำระค่างวดในโครงการดังกล่าวและยังค้างชำระค่างวดแก่บริษัท ส. ซึ่งความจริงบริษัท ป. ไม่เคยเป็นหนี้สินและไม่เคยทำสัญญาจะซื้อห้องชุดในโครงการดังกล่าวกับบริษัท ส. ส่วนบริษัท ฟ. ไม่มีเจตนาแท้จริงจะซื้อห้องชุดกับบริษัท ส. เพราะบริษัทดังกล่าวไม่ได้ประกอบธุรกิจและไม่มีรายได้ที่จะชำระค่างวด ทั้งนี้เพื่อลวงนักลงทุนและผู้ถือหุ้น ประชาชนและคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ให้เข้าใจว่า บริษัท ส. ประสบความสำเร็จในโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ จึงเป็นการบรรยายฟ้องที่ชัดแจ้งแล้วว่า จำเลยลงข้อความเท็จในบัญชีอย่างไร ส่วนข้อความเท็จในบัญชีมีว่าอย่างไร อยู่ส่วนไหนของบัญชีเป็นรายละเอียดที่โจทก์นำสืบได้ในชั้นพิจารณา สำหรับคำฟ้องที่บรรยายว่าจำเลยปลอมสัญญาจะซื้อจะขายหรือปลอมบัญชีเอกสารก็เพียงมีความมุ่งหมายให้เข้าใจว่าเป็นส่วนหนึ่งของการลงข้อความเท็จในบัญชีอันเป็นองค์ประกอบความผิดเท่านั้น หาใช่เป็นคำฟ้องที่ขัดแย้งกันแต่อย่างใด ฟ้องโจทก์ข้อ (ค) (ง) จึงไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13995/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีมูลค่าเพิ่ม: การประเมินจากความแตกต่างของยอดซื้อในบัญชี ภ.ง.ด. และ ภ.พ. 30, วิธีการคำนวณที่ถูกต้องตามหลักการบัญชี
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 87/3 และมาตรา 86/12 บัญญัติให้ผู้ประกอบการเก็บและรักษาเอกสารหลักฐาน และกำหนดหลักเกณฑ์ให้ผู้ประกอบการ (ผู้ขายสินค้า) ออกใบแทนใบกำกับภาษี หากไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของกฎหมายแล้ว ผู้ประกอบการ (ผู้ซื้อสินค้า) ไม่สามารถนำใบกำกับภาษีซื้อดังกล่าวมาหักในการคำนวณภาษี ซึ่งเป็นคนละประเด็นกับการที่เจ้าพนักงานประเมินนำข้อมูลที่ปรากฏตามสำเนาใบกำกับภาษีที่โจทก์นำมามอบให้นั้น เพื่อใช้ตรวจสอบยอดซื้อสินค้าของโจทก์ ซึ่งโดยปกติผู้ขายจะออกใบกำกับภาษีให้โจทก์เมื่อส่งมอบสินค้าให้แก่โจทก์แล้ว ดังนั้น เจ้าพนักงานประเมินสามารถนำข้อมูลเกี่ยวกับการซื้อสินค้าดังกล่าว มาพิสูจน์หายอดต้นทุนขายจากการเปรียบเทียบรายได้และรายจ่ายในงบกำไรขาดทุนอันเป็นตัวเลขที่เกิดจากการประกอบการของโจทก์ได้ ดังนั้น การที่โจทก์ขายสินค้าต่ำกว่าราคาทุน และได้แสดงหลักฐานในชั้นพิจารณาอุทธรณ์โดยส่งเอกสารเพิ่มเติม และอุทธรณ์อ้างว่าเงินสนับสนุนการขายหรือ SWAP มิใช่เป็นฐานภาษีมูลค่าเพิ่มจึงไม่ชอบที่จะนำมารวมคำนวณหาอัตรากำไรขั้นต้น แต่เจ้าพนักงานประเมิน ได้วิเคราะห์งบการเงินจากแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล (ภ.ง.ด. 50) ในส่วนต้นทุนขาย เทียบกับยอดซื้อในแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ. 30) จากการคำนวณโจทก์มียอดขายขาดไป 18,540,232.21 บาท ซึ่งเป็นการคำนวณตามหลักการบัญชีที่ยอมรับโดยทั่วไป เมื่อโจทก์ไม่สามารถนำหลักฐานมาพิสูจน์ได้ว่าเป็นยอดขายขาดของเดือนภาษีใด เจ้าพนักงานประเมินจึงถัวเฉลี่ยยอดขายขาดเดือนละ 1,545,019.35 บาท และเดือนภาษีธันวาคม 2543 โจทก์ไม่สามารถนำหลักฐานพิสูจน์ยอดซื้อ และทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏว่าสินค้าของโจทก์สูญหายหรือเสียหายจากอุทกภัยแต่อย่างใด จึงถือว่าเป็นยอดซื้อแจ้งไว้ขาดไป ถือว่าโจทก์ขายสินค้าโทรศัพท์เคลื่อนที่ตามคำนิยาม "ขาย" มาตรา 77/1 (8) (จ) เจ้าพนักงานประเมิน ประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มแก่โจทก์ เป็นการประเมินภาษีตามที่รู้เห็นหรือพิจารณาว่าถูกต้องตามมาตรา 88/2 (6) จึงเป็นการประเมินที่ชอบแล้ว
เจ้าหน้าที่ผู้พิจารณาอุทธรณ์ พิสูจน์หายอดต้นทุนขายสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีพิพาทเปรียบเทียบกับยอดขายที่โจทก์แสดงรายการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ. 30) ในช่วงดังกล่าว ปรากฏว่ายอดซื้อสุทธิ 60,480,554.29 บาท ได้ต้นทุนขาย 49,070,721.39 บาท แล้วคำนวณหายอดขายตามการตรวจสอบโดยนำต้นทุนขายคำนวณกลับเพื่อหายอดขายจากอัตรากำไรขั้นต้นตามงบการเงินร้อยละ 4.35 ได้ยอดขาย 51,302,374.68 บาท นำไปหักกับยอดขายที่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ. 30) ในช่วง 12 เดือนดังกล่าว จำนวน 32,762,142.47 บาท คงเหลือยอดขายที่ยื่นไว้ขาดไป 18,540,232.31 บาท ซึ่งโจทก์พิสูจน์ไม่ได้ว่าเป็นยอดขายของเดือนภาษีใด เจ้าพนักงานประเมินจึงถัวเฉลี่ยยอดขายขาด มียอดขายขาดไปเดือนละ 1,545,019.35 บาท วิธีการคำนวณอาศัยข้อมูลทางการเงินจากการบันทึกบัญชีของโจทก์และมีผู้สอบบัญชีรับอนุญาตได้รับรองและแสดงความคิดเห็นต่องบการเงินว่าได้จัดทำขึ้นตามมาตรฐานการบัญชีทั่วไป ทั้งเป็นข้อมูลทางบัญชีที่โจทก์บันทึกเกี่ยวกับกิจกรรมการประกอบการของโจทก์เอง จึงเชื่อว่าโจทก์แสดงเหตุการณ์ทางบัญชีตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น และการที่เจ้าหน้าที่ผู้พิจารณาอุทธรณ์นำตัวเลขของผู้ประกอบการลักษณะเดียวกันจำนวนถึง 29 ราย ซึ่งประกอบกิจการอยู่ในท้องที่นั้นในรอบระยะเวลาบัญชีเดียวกันมาเปรียบเทียบกำไรขั้นต้น ค่าเฉลี่ยที่ได้ย่อมถือว่าได้ตัวเลขที่มีข้อมูลน่าเชื่อว่าเกิดจากการดำเนินงานตามปกติของธุรกิจนั้น ๆ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้พิจารณาโดยชอบและให้ความเป็นธรรมแก่โจทก์แล้ว
เจ้าหน้าที่ผู้พิจารณาอุทธรณ์ พิสูจน์หายอดต้นทุนขายสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีพิพาทเปรียบเทียบกับยอดขายที่โจทก์แสดงรายการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ. 30) ในช่วงดังกล่าว ปรากฏว่ายอดซื้อสุทธิ 60,480,554.29 บาท ได้ต้นทุนขาย 49,070,721.39 บาท แล้วคำนวณหายอดขายตามการตรวจสอบโดยนำต้นทุนขายคำนวณกลับเพื่อหายอดขายจากอัตรากำไรขั้นต้นตามงบการเงินร้อยละ 4.35 ได้ยอดขาย 51,302,374.68 บาท นำไปหักกับยอดขายที่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ. 30) ในช่วง 12 เดือนดังกล่าว จำนวน 32,762,142.47 บาท คงเหลือยอดขายที่ยื่นไว้ขาดไป 18,540,232.31 บาท ซึ่งโจทก์พิสูจน์ไม่ได้ว่าเป็นยอดขายของเดือนภาษีใด เจ้าพนักงานประเมินจึงถัวเฉลี่ยยอดขายขาด มียอดขายขาดไปเดือนละ 1,545,019.35 บาท วิธีการคำนวณอาศัยข้อมูลทางการเงินจากการบันทึกบัญชีของโจทก์และมีผู้สอบบัญชีรับอนุญาตได้รับรองและแสดงความคิดเห็นต่องบการเงินว่าได้จัดทำขึ้นตามมาตรฐานการบัญชีทั่วไป ทั้งเป็นข้อมูลทางบัญชีที่โจทก์บันทึกเกี่ยวกับกิจกรรมการประกอบการของโจทก์เอง จึงเชื่อว่าโจทก์แสดงเหตุการณ์ทางบัญชีตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น และการที่เจ้าหน้าที่ผู้พิจารณาอุทธรณ์นำตัวเลขของผู้ประกอบการลักษณะเดียวกันจำนวนถึง 29 ราย ซึ่งประกอบกิจการอยู่ในท้องที่นั้นในรอบระยะเวลาบัญชีเดียวกันมาเปรียบเทียบกำไรขั้นต้น ค่าเฉลี่ยที่ได้ย่อมถือว่าได้ตัวเลขที่มีข้อมูลน่าเชื่อว่าเกิดจากการดำเนินงานตามปกติของธุรกิจนั้น ๆ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้พิจารณาโดยชอบและให้ความเป็นธรรมแก่โจทก์แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6740/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารจ่ายเช็คปลอมเกินบัญชี ผู้เสียหายไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินจากธนาคาร
โจทก์เก็บสมุดเช็คไว้ในลิ้นชักโต๊ะในห้องทำงานซึ่งเป็นห้องส่วนตัว มีกระจกโดยรอบ ปกติไม่มีผู้ใดเข้าไป ผู้ที่ลักเช็คพิพาททั้งสองฉบับไปคือ ศ. และ พ. ซึ่งเป็นลูกจ้างในร้านของโจทก์นั่นเอง ตามข้อเท็จจริงดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์ได้เก็บรักษาเช็คพิพาทดังเช่นวิญญูชนจะพึงกระทำแล้ว ส่วนการที่โจทก์เคยมอบหมายให้บุคคลอื่นกรอกข้อความในเช็คแทนนั้น ก็หาใช่เป็นข้อที่แสดงว่าโจทก์ปล่อยปละละเลยไม่เก็บเช็คพิพาทไว้ให้ดีไม่ โจทก์จึงมิใช่เป็นฝ่ายประมาทเลินเล่ออันจะถือว่าเป็นผู้ต้องตัดบทมิให้ยกข้อลายมือชื่อปลอมขึ้นต่อสู้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1008 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 1 ประกอบธุรกิจการธนาคารพาณิชย์เป็นที่ไว้วางใจของประชาชนการจ่ายเงินตามเช็คที่มีผู้มาขอเบิกเงินจากธนาคารเป็นงานส่วนหนึ่งของจำเลยที่ 1 ซึ่งจะต้องปฏิบัติอยู่เป็นประจำ จำเลยที่ 1 ย่อมมีความชำนาญในการตรวจสอบลายมือชื่อในเช็คว่าเป็นลายมือชื่อของผู้สั่งจ่ายหรือไม่ยิ่งไปกว่าบุคคลธรรมดา ทั้งต้องมีความระมัดระวังในการจ่ายเงินตามเช็คยิ่งกว่าวิญญูชนทั่ว ๆ ไป ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาททั้งสองฉบับเป็นลายมือชื่อปลอมมิใช่ลายมือชื่อของโจทก์ การที่จำเลยที่ 1 จ่ายเงินตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับให้แก่ผู้ที่นำมาเรียกเก็บเงินทั้งที่มีตัวอย่างลายมือชื่อของโจทก์ที่ให้ไว้แก่จำเลยที่ 1 กับมีเช็คอีกหลายฉบับที่โจทก์เคยสั่งจ่ายไว้อยู่ที่จำเลยที่ 1 จึงเป็นการขาดความระมัดระวังของจำเลยที่ 1 ผู้ประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ถือได้ว่าการจ่ายเงินตามเช็คพิพาทดังกล่าวเป็นความบกพร่องของจำเลยที่ 1 เอง ข้อเท็จจริงได้ความว่าขณะมีการนำเช็คพิพาททั้งสองฉบับไปเรียกเก็บเงินจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของโจทก์ที่ธนาคารจำเลยที่ 1 เงินในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของโจทก์ที่ธนาคารจำเลยที่ 1 เงินในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของโจทก์ไม่มีจ่ายเงินตามเช็ค แต่จำเลยที่ 1 ได้อนุมัติให้จ่ายเงินตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับไปก่อน ดังนี้ เงินที่จำเลยที่ 1 จ่ายไปตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับจึงเป็นเงินของจำเลยที่ 1 มิใช่ของโจทก์ ความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นความเสียหายที่เกิดแก่จำเลยที่ 1 เอง เมื่อโจทก์ไม่ใช่เป็นผู้สั่งจ่ายตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับ จำเลยที่ 1 ย่อมไม่มีสิทธินำเงินจำนวนนี้ไปลงรายการเบิกเงินเกินบัญชีในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของโจทก์ ส่วนโจทก์ก็ไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินตามเช็คทั้งสองฉบับแก่โจทก์ ดังนั้น ศาลฎีกาเห็นสมควรให้เพิกถอนรายการลงบัญชีเงินฝากของโจทก์ในบัญชีกระแสรายวันในส่วนที่เกี่ยวกับเช็คพิพาททั้งสองฉบับ แม้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามชำระเงินแก่โจทก์ หาได้ฟ้องขอให้เพิกถอนรายการที่ลงบัญชีดังกล่าว แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธินำเงินจำนวนตามเช็คไปลงรายการเบิกเงินเกินบัญชีในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของโจทก์ ศาลมีอำนาจพิพากษาให้เพิกถอนรายการดังกล่าวได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำฟ้องสำหรับจำเลยที่ 2 และที่ 3 เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเงินที่จำเลยที่ 1 จ่ายไปตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับเป็นเงินของจำเลยที่ 1 มิใช่ของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้ร่วมกันคืนเงินตามเช็คพิพาทแก่โจทก์ได้
จำเลยที่ 1 ประกอบธุรกิจการธนาคารพาณิชย์เป็นที่ไว้วางใจของประชาชนการจ่ายเงินตามเช็คที่มีผู้มาขอเบิกเงินจากธนาคารเป็นงานส่วนหนึ่งของจำเลยที่ 1 ซึ่งจะต้องปฏิบัติอยู่เป็นประจำ จำเลยที่ 1 ย่อมมีความชำนาญในการตรวจสอบลายมือชื่อในเช็คว่าเป็นลายมือชื่อของผู้สั่งจ่ายหรือไม่ยิ่งไปกว่าบุคคลธรรมดา ทั้งต้องมีความระมัดระวังในการจ่ายเงินตามเช็คยิ่งกว่าวิญญูชนทั่ว ๆ ไป ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาททั้งสองฉบับเป็นลายมือชื่อปลอมมิใช่ลายมือชื่อของโจทก์ การที่จำเลยที่ 1 จ่ายเงินตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับให้แก่ผู้ที่นำมาเรียกเก็บเงินทั้งที่มีตัวอย่างลายมือชื่อของโจทก์ที่ให้ไว้แก่จำเลยที่ 1 กับมีเช็คอีกหลายฉบับที่โจทก์เคยสั่งจ่ายไว้อยู่ที่จำเลยที่ 1 จึงเป็นการขาดความระมัดระวังของจำเลยที่ 1 ผู้ประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ถือได้ว่าการจ่ายเงินตามเช็คพิพาทดังกล่าวเป็นความบกพร่องของจำเลยที่ 1 เอง ข้อเท็จจริงได้ความว่าขณะมีการนำเช็คพิพาททั้งสองฉบับไปเรียกเก็บเงินจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของโจทก์ที่ธนาคารจำเลยที่ 1 เงินในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของโจทก์ที่ธนาคารจำเลยที่ 1 เงินในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของโจทก์ไม่มีจ่ายเงินตามเช็ค แต่จำเลยที่ 1 ได้อนุมัติให้จ่ายเงินตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับไปก่อน ดังนี้ เงินที่จำเลยที่ 1 จ่ายไปตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับจึงเป็นเงินของจำเลยที่ 1 มิใช่ของโจทก์ ความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นความเสียหายที่เกิดแก่จำเลยที่ 1 เอง เมื่อโจทก์ไม่ใช่เป็นผู้สั่งจ่ายตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับ จำเลยที่ 1 ย่อมไม่มีสิทธินำเงินจำนวนนี้ไปลงรายการเบิกเงินเกินบัญชีในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของโจทก์ ส่วนโจทก์ก็ไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินตามเช็คทั้งสองฉบับแก่โจทก์ ดังนั้น ศาลฎีกาเห็นสมควรให้เพิกถอนรายการลงบัญชีเงินฝากของโจทก์ในบัญชีกระแสรายวันในส่วนที่เกี่ยวกับเช็คพิพาททั้งสองฉบับ แม้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามชำระเงินแก่โจทก์ หาได้ฟ้องขอให้เพิกถอนรายการที่ลงบัญชีดังกล่าว แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธินำเงินจำนวนตามเช็คไปลงรายการเบิกเงินเกินบัญชีในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของโจทก์ ศาลมีอำนาจพิพากษาให้เพิกถอนรายการดังกล่าวได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำฟ้องสำหรับจำเลยที่ 2 และที่ 3 เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเงินที่จำเลยที่ 1 จ่ายไปตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับเป็นเงินของจำเลยที่ 1 มิใช่ของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้ร่วมกันคืนเงินตามเช็คพิพาทแก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2561/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมกันของกรรมการและบริษัทจากการกระทำผิดสัญญาจองห้องพักและการจัดการบัญชีที่ไม่โปร่งใส
การปรับข้อเท็จจริงตามฟ้องว่าจะเข้าลักษณะมูลหนี้สัญญาหรือมูลหนี้ละเมิดนั้น เป็นข้อหารือบทซึ่งเป็นหน้าที่ของศาลที่จะปรับบทกฎหมายเอง โดยโจทก์ต้องบรรยายข้อเท็จจริงที่จำเลยได้กระทำ อันเป็นการโต้แย้งสิทธิก็เพียงพอแล้ว
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1167 บัญญัติให้ความเกี่ยวพันกันในระหว่างกรรมการและบริษัทและบุคคลภายนอกนั้น ต้องบังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยตัวแทน ดังนั้น หากกรรมการของบริษัทกระทำการในขอบอำนาจของบริษัท การกระทำของกรรมการย่อมผูกพันบริษัทซึ่งเป็นตัวการ กรรมการไม่ต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกเป็นส่วนตัว แต่อย่างไรก็ตาม ข้อเท็จจริงได้ความว่า พฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการของบริษัทจำเลยที่ 3 ในการทำธุรกรรมทางการเงินส่อไปในทางไม่โปร่งใส โดยมุ่งประสงค์ให้จำเลยที่ 3 ต้องรับผิดแต่เพียงผู้เดียว ย่อมทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงไม่สุจริต จำเลยที่ 2 จึงหาหลุดพ้นความรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1167 แต่อย่างใดไม่
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1167 บัญญัติให้ความเกี่ยวพันกันในระหว่างกรรมการและบริษัทและบุคคลภายนอกนั้น ต้องบังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยตัวแทน ดังนั้น หากกรรมการของบริษัทกระทำการในขอบอำนาจของบริษัท การกระทำของกรรมการย่อมผูกพันบริษัทซึ่งเป็นตัวการ กรรมการไม่ต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกเป็นส่วนตัว แต่อย่างไรก็ตาม ข้อเท็จจริงได้ความว่า พฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการของบริษัทจำเลยที่ 3 ในการทำธุรกรรมทางการเงินส่อไปในทางไม่โปร่งใส โดยมุ่งประสงค์ให้จำเลยที่ 3 ต้องรับผิดแต่เพียงผู้เดียว ย่อมทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงไม่สุจริต จำเลยที่ 2 จึงหาหลุดพ้นความรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1167 แต่อย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7947/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สนับสนุนการค้ายาเสพติด: รู้เห็นใช้บัญชีรับเงินค้ายา ถือผิดฐานสนับสนุน
ณ. ให้ ท. เก็บรักษาเมทแอมเฟตามีนไว้เพื่อรอคำสั่งให้นำไปส่งต่อ จำเลยเป็นคนรักของ ณ. และนั่งรถมากับ ณ. เวลามาส่งเมทแอมเฟตามีนให้ ท. บ่อยครั้ง ว. และ ช. ไปรับเมทแอมเฟตามีนจาก ท. ไปส่งให้ลูกค้าตามคำสั่งของ ณ. ผู้ว่าจ้าง และรับเมทแอมเฟตามีนบางส่วนไปจำหน่ายเอง ณ. สั่งให้ ช. โอนเงินค่าเมทแอมเฟตามีนเข้าบัญชีเงินฝากทั้งสองบัญชีของจำเลย ในแต่ละวันมีการนำเงินเข้าฝากหลายจำนวนแล้วถอนเงินออกจากบัญชีโดยตลอด จำเลยมอบบัตรเอทีเอ็มให้ ณ. นำไปใช้เบิกถอนเงินจากบัญชีเงินฝากดังกล่าว พฤติการณ์ดังกล่าวฟังได้ว่า จำเลยรู้เห็นเป็นใจให้การสนับสนุนหรือช่วยเหลือ ณ. ในการซื้อขายเมทแอมเฟตามีนของ ว. และ ช. โดยใช้บัญชีเงินฝากดังกล่าวชำระเงินค่าเมทแอมเฟตามีนให้แก่ ณ. อันเป็นการสนับสนุนหรือช่วยเหลือผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดก่อนหรือขณะกระทำความผิด